หลักเกณฑ์การประกวด ต้องเป็นเกษตรกรที่ทำนา หรือปลูกพืชไร่อยู่

โดยทางเจ้าหน้าที่ภาคสนามของศรแดงจะทำการคัดเลือกเกษตรกรขึ้นมาจำนวน 3 คนในแต่ละพื้นที่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ภาคสนามจะเข้าไปให้ความรู้การปลูกพืชน้ำน้อยคือ ระบบน้ำหยด การคลุมแปลง การปลูกพืชน้ำน้อย ผ่านแปลงตัวอย่าง และเกษตรกรต้องนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับแปลงของตนเอง โดยต้องใช้ 1.ระบบน้ำหยด 2.การคลุมแปลง 3.การปลูกพืชน้ำน้อยไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามเป็นพี่เลี้ยง โดยค่าใช้จ่ายด้านระบบน้ำหยด การคลุมแปลง เมล็ดพันธุ์ บริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้

เกณฑ์การพิจารณา พิจารณาดูว่าเกษตรกรได้นำสิ่งที่ให้ไป ไปใช้ประโยชน์เต็มที่หรือไม่ รวมไปถึงปริมาณผลผลิตที่ได้ และความสวยงามตรงความต้องการของตลาดหรือไม่

ของรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ รางวัลที่ 1 ของรางวัลมูลค่ารวม 18,500 บาท รางวัลที่ 2 ของรางวัลมูลค่ารวม 12,000 บาท และรางวัลที่ 3 ของรางวัลมูลค่ารวม 6,500 บาท ทั้ง 3 รางวัลนี้จะมีชุดระบบน้ำหยด เมล็ดพันธุ์ผัก ให้เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดการทำเกษตรต่อไปได้

ระยะเวลาการประกวด 1-28 ก.พ. 2563 คัดเลือกเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการ, 1-31 มี.ค. 2563 เกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้, 1-30 เม.ย. 2563 เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต, 8 พ.ค. 2563 คณะกรรมการตัดสิน, 15 พ.ค. 2563 ประกาศผลผ่านทางเพจเฟสบุ๊ค : เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด โทร. 02-831-7777, เฟสบุ๊คเพจ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง, Line: @sorndaengseed

“ลุงโชค” หรือชื่อจริง โชคดี ปรโลกานนท์ เจ้าของโรงเรียนป่า-ไผ่ บ้านคลองทุนเรียน ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ตนเองนั้นเกิดที่จังหวัดทางภาคใต้ แต่มาตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยไปปลูกสร้างสวนป่าอยู่ที่วังน้ำเขียว และต่อมาได้กลายเป็นศูนย์รวมไผ่นานาชนิดและทำการแปรรูปไผ่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

“ประเทศไทยนั้นไผ่มีความหลากหลายมาก แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน และสามารถเพิ่มมูลค่ามหาศาล แต่ผู้ปลูกไผ่จะต้องศึกษาเรียนรู้แบบรู้จริง แล้วจะพบว่าไผ่นั้นสร้างโชคสร้างรายได้ไม่รู้จบจริงๆ” ลุงโชคกล่าว

ระหว่างที่กำลังสนทนากับทีมงาน “เกษตรก้าวไกล” ในเช้าวันหนึ่ง ลุงโชคบอกว่ามีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องไผ่ให้ผู้คนเห็นประโยชน์ที่แท้จริง และบอกว่าในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ตั้งใจจะจัดกิจกรรมปั่นจักรยานล่องใต้เพื่อไปตั้งวงเสวนาเรื่องไผ่กับกลุ่มผู้สนใจในจังหวัดต่างๆ

ล่าสุดลุงโชค ได้ส่งกำหนดการมาให้ทราบว่าในการปั่นจักรยานล่องใต้ครั้งนี้จะใช้ชื่อว่า “เขรถถีบ..หลบบ้าน..แลไผ” พร้อมกับข้อความสำทับมาว่า

“ผมมักพูดเสมอว่า..ผมเลือกที่เกิดไม่ได้..แต่เลือกที่จะอยู่ได้..แต่เมื่อเลือกที่จะอยู่ได้แล้ว….บางครั้ง..บางวัน..บางขณะ..หนึ่ง..คิดถึง..บ้าน..ที่เรากำเนิด..เป็นเรื่องปกติ..คิดถึงญาติ..คิดถึงบรรยากาศ..สมัยเด็กๆ..ที่เราเคยเล่น..เคยกิน เคยนอน..และช่วงหลัง..บั้นปลายชีวิต..ที่ผมมาเกี่ยวข้อง..กับไผ่..ปรากฏว่า..มีเพื่อนพ้อง..พี่น้อง..หลายๆคน..หลายๆจังหวัด..ที่ปลูก..และรวบรวมพันธุ์ไผ่..ของภาคใต้”

“การเดินกลับบ้านครั้งนี้..จะใช้จักรยานบางช่วงบางตอน..แวะพักเรียนรู้..และพูดคุย..กับพี่น้อง..ตามเส้นทาง..ท่านใด..จะร่วมเดินทางสะดวกทางไหนก็ได้..หรือจะร่วมพูดคุย..แลกเปลี่ยน..ก็ยินดี..ตามวันเวลา..ที่มีรายละเอียด..และผู้ประสานงาน..โอ๊บ.0819030860..หรือ ลุงโชค 091-8768199”

สรุปว่า ท่านที่สนใจจะเสวนาเรื่องไผ่ พบกับลุงโชคได้ระหว่างวันที่ 5-20 มีนาคม 2563 ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ไปถึงจังหวัดสงขลา (รวมทั้งหมด 16 วัน) ตามรายละเอียดโปรแกรมในภาพประกอบข่าวข้างต้นนี้

วันนี้รูปแบบการผลิตพืชผลกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราเคยหวังฤดูกาลตามธรรมชาติ “ปลูกให้เทวดาดูแล” มานานกาล แต่บัดนี้ไม่อาจไว้วางใจอีกแล้ว

เมื่อวันที่ 14-19 มกราคม 2563 สยามคูโบต้าได้ชักชวนสื่อมวลชนไปศึกษาดูงานที่เมืองโอซาก้า เกียวโต และนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น วัตถุประสงค์สำคัญก็คงเป็นเรื่องฉลองครบรอบ 130 ปี คูโบต้ากรุ๊ป https://bit.ly/3asICNQ ซึ่งได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ และที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคือ การได้ศึกษาดูงานด้านเกษตรที่ถือได้ว่าญี่ปุ่นพัฒนาไปไกลมาก

ขอเริ่มเข้าเรื่องตามที่จั่วไว้ “ญี่ปุ่นคิดค้นโดมปลูกพืชผักไร้เสา….” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า AIR DOME เรื่องนี้บอกกันก่อนว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของโลกเลยก็ว่าได้ ล่าสุดอย่างไรก็ติดตามกันดูนะครับ

เจ้าของนวัตกรรมที่ว่านี้คือ LS Farm เป็นกิจการในกลุ่ม LS-LINKS โดยมี คุณมาซาจิ โกซาไก (Masaji Kosakai) เป็นประธานและผู้แทนผู้อำนวยการ ที่วันนี้นำคณะมาต้อนรับพวกเราถึงด้านหน้าสำนักงานที่ทำการ จากนั้นพาเดินขึ้นไปชั้น 2 เข้าไปนั่งในห้องบรรยาย คุณมาซาจิ เล่าให้ฟังว่า ตัวเขานั้นเคยเป็นวิศวกรออกแบบเครื่องบินแอร์บัส ส่วน LS Farm ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 2008 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจการเกษตร โดยเฉพาะการพัฒนาบุคคลากรให้กับเกษตรกรแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของนาโงย่า และยังมีโรงสีขาวที่ทันสมัยที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน เพื่อรองรับผลผลิตข้าวที่เป็นอีกหนึ่งกิจการของบริษัท และแน่นอนที่สุดว่าเขาใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และการจัดการเกษตรกรรมอัจฉริยะจากคูโบต้า หรือ KUBOTA Smart Agri System (KSAS) อาทิ ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว ที่ใช้ระบบ KSAS ในการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่นบนแทปเล็ต โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจจับความชื้นในข้าวก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อใช้วางแผนเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม สามารถระบุตำแหน่งรถเกี่ยวนวดข้าวขณะทำงาน และปริมาณข้าวที่ได้ เพื่อส่งข้อมูลวิเคราะห์จับเก็บแยกคัดถังอบแห้ง สะดวกในการควบคุมอุณหภูมิในการอบข้าวให้แห้งสม่ำเสมอทั่วกัน เพื่อลดต้นทุน ประหยัดเวลา ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลังจากบอกเล่าถึงภารกิจของบริษัท ก็มาถึงไฮไลท์สำคัญเมื่อคุณมาซาจิ โกซาไก บอกว่าบริษัทของเขาได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของโลกที่เรียกว่า AIR DOME เพื่อการปลูกพืชผลในระบบโรงเรือน แต่โรงเรือนของเขานั้นไม่ต้องมีเสาเหมือนโรงเรือนที่เคยเห็นกันคุ้นตา

“เรากำลังปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืชบนพื้นดินที่เริ่มเป็นเรื่องยากในแง่ของสภาพภูมิอากาศและเทคโนโลยีการปลูกพืชลงบนพื้นดินไม่อาจได้ผลเหมือนแต่ก่อน เราไม่อาจสามารถผลิตพืชผักผลไม้ได้พอเพียงต่อความต้องการของพลโลก และสิ่งสำคัญที่สุดพืชผักที่เป็นอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปเราต้องมั่นใจว่าปลอดภัยต่อการใช้สารเคมีป้องกันโรคแมลงต่างๆ และการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นเพื่อให้สีและรูปร่างตามขนาดที่กำหนด” นี่เป็นเหตุผลให้ LS Farm คิดค้น AIR DOME ขึ้นมา “เรากำลังติดต่อกับ “อาณาจักรของพระเจ้า” (God’s realm) รวมถึงพันธุวิศวกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ไม่อย่างนั้นแล้วลูกหลานของเราอาจจะว่าเอาได้ว่ารุ่นของเราไม่มีความรับผิดชอบอันใดเลย”

“เราต้องการคิดหาวิธีที่จะทำสิ่งที่เราต้องทำตามการตัดสินใจที่ถูกต้องในเวลาของเรา และบรรลุผลเพื่อที่ลูกหลานจะได้มีอนาคตที่อุดมสมบูรณ์ โดนหนทางที่เรา LS Farm จะต้องก้าวไปข้างหน้าในฐานะ บริษัท ผลิตด้านการเกษตร เราไม่ได้เผชิญหน้ากับธรรมชาติ แต่เพื่อค้นหาวิธีการเกษตรที่ผสมผสานและเติบโตอย่างยั่งยืน ที่พูดนี้มันไม่เกินจริง โปรดให้ความสนใจกับความพยายามในอนาคตของเรา” คุณมาซาจิ โกซาไก พูดให้ฟัง (อ้างอิงจากเอกสารคำแถลงของประธานที่กล่าวแนะนำบริษัทต่อลูกค้าผู้มีอุปการคุณ)

AIR DOME เพื่อการปลูกพืชผลจึงเข้ามาตอบโจทย์ เพื่อแก้ไขสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมและสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมทั้งความเสี่ยงจากโรคแมลงและความเสี่ยงทางธรรมชาติที่หลากหลาย โดย LS Farm ได้คิดประดิษฐ์จนมีความมั่นใจว่าใช้งานได้ดี และเป็นแห่งแรกของญี่ปุ่น ซึ่งคุณมาซาจิ โกซาไก เปิดเผยว่าเคยมีประเทศเกาหลีคิดจะทำตามแต่ทำไม่สำเร็จ

คุณสมบัติของโรงเรือนเกษตรแบบโดม AIR DOME
“โครงสร้างไร้เสา” (นิวแมติก) โดยไม่มีท่อหรือเสาใดๆ
ไม่มีเงาแสง เพราะไร้เสา และจะมี “ฟิล์มกระจายแสง”
“การเพาะปลูกในแนวตั้งและหลายชั้น” โดยใช้ความสูง
อัตราผลตอบแทน / การเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น (เพราะเพาะปลูกแบบหลายชั้นได้มากกว่า)
ศัตรูพืชไม่เข้าสู่โรงเรือน เนื่องจากโครงสร้างที่ปิดอย่างมิดชิด “การใช้ยาฆ่าแมลงลดลงอย่างมาก”
“โครงสร้าง(โดมพลาสติก)เคลือบสองชั้น” ทำให้มีความไวต่ออากาศภายนอกน้อยลงและลดต้นทุนการทำความร้อนในฤดูหนาว
สามารถเพาะปลูกได้ทุกฤดูกาล เช่น การเพาะปลูกตามสัญญาที่ต้องการความมั่นคงของผลผลิต การเพาะปลูกเพื่อให้บริการแก่ร้านอาหารท้องถิ่น โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
ฯลฯ

ในการบรรยายให้ความรู้เรื่องนวัตกรรม โรงเรือนเกษตรแบบโดม AIR DOME ในครั้งนี้ ถือว่าได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนประเทศไทยเป็นยิ่งนัก มีการซักถามกันอีกหลายประเด็น รวมทั้งเรื่องราคาที่ทราบว่าเริ่มต้น 10 ล้านบาท (มีขนาดยาว 22 เมตร 45 เมตร และสูง 10 เมตร-เรื่องราคาจะต้องตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง) ทำให้คิดอยู่ในใจว่าแพงเหลือเกิน แต่เมื่อคิดถึงคำพูดของคุณมาซาจิ โกซาไก ในตอนต้นที่ว่า “โปรดให้ความสนใจกับความพยายามในอนาคตของเรา” ก็พอจะลดระดับความคิดให้เข้าใจว่าตัวของเขาและทีมงานทำสิ่งที่สำคัญต่อมวลมนุษย์ชาติก็ว่าได้

หลังจากบรรยายให้ข้อมูลประกอบโมเดลที่วางไว้หน้าห้องและภาพจากคลิปวิดีโอที่ฉายให้ดูเสร็จสรรพก็คิดว่าคงได้ไปดูของจริง แต่เสียดายไม่ได้ไปดู แต่ก็โชคดีได้ไปดูโรงสีข้าวของ LS Farm ที่เป็นธุรกิจเพื่อชุมชนคนส่วนใหญ่ ซึ่ง AIR DOME ที่ว่าจะเน้นในรูปแบบโมเดลธุรกิจเฉพาะของบริษัทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเสียมากกว่า

ณ โรงสีข้าวเขาใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และการจัดการเกษตรกรรมอัจฉริยะจากคูโบต้า หรือ KUBOTA Smart Agri System (KSAS) ตามข้อมูลที่กล่าวข้างต้นแล้ว ชอบใจที่ว่าโรงสีข้าวของเขาไม่ค่อยจะมีฝุ่นแบบบ้านเราเท่าไรนัก เรียกว่านั่งประชุมฟังบรรยายกันในโรงสีข้าวได้สบายใจ คุณมาซาจิ โกซาไก ได้มอบหมายให้ผู้จัดการของเขาบรรยายให้พวกเราฟัง แต่ตัวเขาก็มาเป็นกำลังใจ และโชว์ข้าวสารที่ลูกค้านำมาสีให้ดูด้วย

ที่ด้านหน้าของโรงสีข้าว LS Farm มีจักรกลเกษตรของคูโบต้าจอดอยู่ 2 คัน คันหนึ่งเป็นแทรกเตอร์ รุ่น SL60 อีกคันเป็นรถดำนา รุ่น NW6S และพวกเราทั้งหมดก็ถ่ายรูปด้านหน้าโรงสี ส่วนด้านหลังก็มีจักรกลเกษตรคูโบต้าเป็นแบล็คกราวด์นั่นเอง

ท่องโลกเกษตร…กับชมรมสื่อเกษตรดิจิทัลและเอสเอ็มไทย…ที่วังน้ำเขียว ไปเที่ยวเก็บเกี่ยวความรู้ ดูดอกไม้สวยๆ พร้อมสร้างเครือข่ายอาชีพเกษตรกัน

💓 วันที่ 7 มีนาคม 2563
07.00 น. นัดรวมพล ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน (สามารถนำรถมาจอดค้างคืนไว้ได้)

👉 เยี่ยมชมฟาร์มสมเกียรติผักอร่อย จ.สระบุรี
…ชาวสวนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจากพ่อค้าตลาดธรรมดา สู่ธุรกิจค้าส่งพืชผักให้กับโมเดิร์นเทรด 👌 ฟังแนวคิดมุมมอง การสร้างช่องทางตลาดของพืชผักจนสามารถส่งผักให้กับห้างแมคโคร ภายใต้มาตรฐานการผลิต GAP และมาตรฐานโรงแพค GMP

เยี่ยมชมสวนสุชาดา รีสอร์ท วังน้ำเขียว (พักค้างคืนที่นี่) 👌 ชมและชิมเสาวรสหม่านเทียนซิน ฝรั่งหงเป่าสือ และผักสลัดไฮโดรโปนิกส์

😊 ชมแปลงปลูกเสาวรสพันธุ์ใหม่จากไต้หวัน “หม่านเทียนซิน” เสาวรสที่มีรสชาติหวาน อร่อยกว่าทุกสายพันธุ์ที่คุณเคยรู้จัก…พืชอนาคตใหม่ที่น่าสนใจ ตลาดมีความต้องการสูง สามารถขายได้ทั้งผลสด และแปรรูปเป็นน้ำเสาวรส ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว ปลูกได้ทุกพื้นที่ เพียง 5-6 เดือนหลังปลูก ก็ติดผลดกจนเก็บไม่ไหวแล้ว

ชมและชิมฝรั่งพันธุ์ฮอต “หงเป่าสือ” สุดยอดสายพันธุ์ฝรั่งที่อร่อยจนใครที่ได้ลิ้มลองต่างตามหาพันธุ์ เป็นฝรั่งที่มีเมล็ดน้อยมาก เนื้อสีแดงสวย รสชาติหวาน กรอบ อร่อย แม้วันนี้ราคากิ่งพันธุ์จะค่อนข้างสูง แต่คุณสามารถขยายพันธุ์เองได้จากต้นพันธุ์เพียงไม่กี่ต้น ราคาผลผลิตที่ซื้อขายกันตอนนี้สูงถึง กก.ละ 80-100 บาท ราคากิ่งพันธุ์ 100-300 บาท (ขึ้นกับขนาดและจำนวนกิ่ง) แต่ที่นี่คุณจะได้ซื้อกิ่งพันธุ์ในราคาพิเศษ

เรียนรู้ ฝึกหัด การขยายพันธุ์พืช ด้วยการตอนกิ่ง การทาบกิ่ง แบบจับมือทำ เพื่อให้คุณสามารถขยายพันธุ์ได้เอง จากกิ่งพันธุ์ดีที่คุณมี พร้อมแนะช่องทางสร้างอาชีพจากการผลิตกิ่งพันธุ์ขายในพื้นที่เพียง 1 งาน

💓 วันที่ 8 มีนาคม 2563
👉 ชวนไปแอคท่าถ่ายภาพสวยๆ สุดฟินท่ามกลางดงดอกไม้ ที่ ฟลอร่า ปาร์ค เขาใหญ่ อย่าลืมเตรียมชุดสวยๆ ไปนะคะ เยี่ยมชมสวนทับทิมเนื้อแดง พร้อมชิมน้ำทับทิมมากคุณค่าที่ ไร่จรัสแสง กลางดง ในพื้นที่กว่า 20 ไร่…ชิมน้ำทับทิมรสชาติอร่อย ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่สามารถจะคงคุณค่าทางอาหารของทับทิมไว้ได้ใกล้เคียงกับการกินทับทิมผลสด และยังเก็บได้นานนอกตู้เย็นถึง 2 เดือน โดยยังคงรสชาติและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ไว้อย่างครบถ้วน น้ำทับทิมมากสรรพคุณทั้งป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันมะเร็ง ป้องกันความแก่ แถมมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าพืชผลไม้อื่นๆถึง 3 เท่า จึงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนรักสุขภาพทั้งหลาย น้ำทับทิมที่นี่โกอินเตอร์ ส่งขายในตลาดต่างประเทศอีกด้วย

💓 ทริปนี้หรูตลอดการเดินทาง 💓 — เดินทางด้วยรถบัส
กินหรูทุกมื้อที่ร้านอาหาร พักค้างคืนที่ สุชาดา รีสอร์ท ชิมผลไม้อร่อยๆ ในทุกจุดที่ไปเยี่ยมชม พร้อมซื้อกิ่งพันธุ์ในราคาถูกแบบพิเศษเฉพาะผู้ร่วมทริปนี้เท่านั้น กลับถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 6 โมงเย็น

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “Durian to Go” By สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก ซึ่งการจัดงานดังกล่าวจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารขนถ่ายสินค้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีว่า ภาคตะวันออกนับเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของประเทศ และขึ้นชื่อในเรื่องของความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งความเข้มของรสชาติ และออกสู่ตลาดก่อนภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย จึงเป็นที่นิยมของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออกมีมากกว่า 700,000 ไร่ ปริมาณผลผลิตมีมากกว่า 500,000 ตัน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากสถานการณ์การขยายตัวของพื้นที่การปลูกทุเรียนในประเทศมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 20 และมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15-20 มีการขยายพื้นที่ปลูกเกือบทั่วประเทศ ประมาณ 45 จังหวัด

ประกอบกับประเทศจีนรับซื้อผลผลิตทุเรียนจากไทยร้อยละ 80 ได้เริ่มกำหนดมาตรการการส่งออก การซื้อขายที่เข้มงวดมากขึ้น และสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทุเรียน และคาดว่าอาจจะมีโอกาสเกิดปัญหาในอนาคตกับทุเรียนไทยได้ ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนส่วนใหญ่มีการผลิตทุเรียนที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ค่อนข้างมาก มีทั้งเป็นผู้ชำนาญการและเกษตรกรรายใหม่ ๆ ที่ยังขาดความรู้ในการจัดการสวนทุเรียนให้มีคุณภาพ ดังนั้น การที่จะทำให้การขับเคลื่อนทั้งกระบวนการผลิต จึงควรเกิดจากความเข้มแข็งของเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตรได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยขึ้น และได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 สำหรับภาคตะวันออก ได้คัดเลือกคณะกรรมการสมาพันธ์ฯ จากเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนใน 6 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มี นายธีรภัทร อุ่นใจ เป็นนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก

ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อให้สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกเข้มแข็ง จนสามารถเป็นที่พึ่งพาและเป็นฐานการขับเคลื่อนให้การพัฒนาทุเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ เป็นตัวแทนภาคเกษตรกรในการเป็นสื่อกลางประสานงานกับภาครัฐสำหรับให้การสนับสนุนการบริหารจัดทุเรียนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การจัดการสวน การจัดการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตทุเรียน การจัดการตลาดที่สามารถกำหนดราคาได้อย่างยุติธรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มและผลักดันผลผลิตสู่กระบวนการแปรรูปให้มากขึ้น และการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนสมาชิกให้มีความรู้และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ที่สอดคล้องและเท่าเทียม

การจัดงาน “Durain to Go” by สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก ภายใต้ Concept “พัฒนาทุเรียนไทย ก้าวไกลสู่สากล” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสมาพันธ์ฯ และภาครัฐ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี และเป็นการเปิดตัวสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกอย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างเครือข่ายขยายจำนวนสมาชิกฯ

ในการขับเคลื่อนอย่างมั่นคงต่อไป กิจกรรมหลักในงานประกอบด้วย 1) การเปิดตัวสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกอย่างเป็นทางการ 2) การจัดแสดงนิทรรศการและนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการทุเรียนจากทุกภาคส่วน 3) การเสวนาเรื่อง “ผ่าทางตัน ดับปัญหาทุเรียนอ่อน” และ “พัฒนาทุเรียนไทย ก้าวไกลสู่สากล” จากผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เจ้าหน้าที่จากสำนักกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี ตัวแทนเกษตรกรจากสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียน และผู้เชี่ยวชาญด้านทุเรียน 4) การจำหน่ายสินค้าเกษตรและอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร 5) การรับสมัครสมาชิกและเครือข่ายสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก

โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามการจัดทำบันทึกข้อตกลง “ไม่ซื้อไม่ขายสินค้าเกษตรด้อยคุณภาพ” โดย นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับ ประธานสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด เกษตรจังหวัดจันทบุรี พาณิชย์จังหวัดจันทบุรี นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดจันทบุรี ผู้แทนเกษตรกร ผู้แทนตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร และผู้แทนประกอบการแผงค้าปลีก

นายธีรภัทร อุ่นใจ นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก กล่าวว่า หลังจากตั้งสมาพันธ์ฯ ได้ร่วมกันกำหนดและจัดทำยุทธศาสตร์ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “พัฒนาทุเรียนไทย ก้าวไกลสู่สากล” และขับเคลื่อนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกร้อยละ 80 ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิต (GAP) จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในปี 2564 2)

ปริมาณการส่งออกผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 ต่อปี ภานในปี 2565 3) ผลักดันช่องทางการตลาดใหม่ เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การเข้าถึง และการจำหน่ายตรงถึงผู้บริโภค 4) ผลักดันการแปรรูปทุเรียนเพื่อการส่งออกและมีมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริง 5) เพิ่มสมาชิกจำนวนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก ร้อยละ 20 ต่อปี จากจำนวนสมาชิกเดิม โดยดำเนินการภายใต้สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ให้ทุเรียนเป็นต้นแบบการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ จนสามารถกำหนดราคา มาตรฐานผลผลิต และปริมาณผลผลิตที่สอดคล้องกับตลาดในภาพรวมของประเทศไทย

สยามคูโบต้า ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร แห่งแรกในภาคเหนือ ถือเป็น “ชุมชนต้นแบบ” ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย โชว์จุดเด่นผู้นำผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ชูระบบ KUBOTA (Agri) Solutions ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการได้จัดขึ้น ณ ที่ทำการศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมี นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด นายศรัทธา ศรีทิพงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ ในนามของตัวแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มากล่าวแสดงความยินดี และ นางสาวณัฐกมล ลักขณาวราภารณ์ ผู้จัดการส่วนอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ในการสนับสนุนศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ

โดยในงานนอกจากจะมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียงแล้ว ยังมีพี่น้องเกษตรกรหลายหมู่บ้านมาร่วมงานและในงานยังได้จัดให้มีการออกร้านค้าของกลุ่มเกษตรกรมาจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานราชการมาจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้อีกด้วย

สยามคูโบต้า เปิดศูนย์เรียนรู้แห่งแรกของภาคเหนือ
นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า สยามคูโบต้ามีความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย จึงได้ดำเนินนโยบายเพื่อตอบแทนสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 สยามคูโบต้ามุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง จึงเกิดเป็น “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” หรือ SIAM KUBOTA Community Enterprise (SKCE) โดยคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการทำงานร่วมกันระหว่างสยาม

คูโบต้ากับกลุ่มเกษตรกร นำไปสู่การช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตในการทำการเกษตร ส่งเสริมให้ชุมชนมีความอยู่ดีกินดี และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาสยามคูโบต้าได้เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้าทั้งสิ้นจำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดศรีสะเกษ 2 แห่งและจังหวัดอุดรธานี 1 แห่ง ซึ่งสยามคูโบต้าให้การส่งเสริมกิจกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทำให้ทั้ง 3 ศูนย์ฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

สำหรับในปีนี้ สยามคูโบต้าจึงเดินหน้าเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร ณ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นศูนย์เรียนรู้แห่งที่สี่ และยังเป็นแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบ ซึ่งได้นำระบบ KUBOTA (Agri) Solutions การจัดการเกษตรกรรมครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร เป็น “ชุมชนต้นแบบ” ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย โดยมีความโดดเด่นด้านมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพในระดับประเทศ และยังมีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการเกษตรภายในชุมชนด้วยระบบการรวมกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาด้านการเกษตรแบบครบวงจรได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ถือเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีแผนเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้าที่มีความพร้อมอีกแห่งของภาคเหนือ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงต้นเดือนมีนาคมนี้” นายสมศักดิ์ กล่าว

ด้าน นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ประธานในพิธี เปิดเผยว่า “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร ถือเป็นศูนย์ฯ แห่งแรกในภาคเหนือ โดยมีหน่วยงานภาครัฐช่วยสนับสนุนให้ชุมชนแห่งนี้เติบโตและประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทุกหน่วยงานมีบทบาทร่วมกันในการสร้างสังคมเกษตรสมัยใหม่ที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างความรู้ และสร้างอาชีพผ่านการพัฒนาบุคลากรในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อให้เข้าถึงการทำเกษตรกรรมในชุมชนได้อย่างแท้จริง”

นายศรัทธา ศรีทิพงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำ ฃทั้งระบบและการพัฒนาการเกษตรอย่างบูรณาการ ยกระดับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตลอดจนมุ่งเน้นให้เกษตรกรรู้จักใช้ระบบการตลาดนำการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการขยายโอกาสให้กับผู้ผลิตสินค้าเกษตร ขอแสดงความยินดีกับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร และขอขอบคุณบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ได้นำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังคัดเลือกพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนนิมิต โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมที่จะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้สามารถพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

นายสุนทร จำรูญ ประธานกลุ่มตอนิมิตร เปิดเผยว่า “กลุ่มตอนิมิตรผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลืองและพืชผัก และได้รับการยอมรับว่าสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีเด่นในระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายคือ “พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เรียนรู้เทคนิคและวิธีการทำเกษตรสมัยใหม่ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้” ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากสยามคูโบต้าในเรื่องความรู้ด้านเกษตร การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การสร้างรายได้เพิ่ม และร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข้ง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนดีขึ้น”

หลังจากพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ จบลง ทางสยามคูโบต้า และคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ได้นำนางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เดินชมศูนย์เรียนรู้จนครบทั้ง 14 สถานี ต่อจากนั้นได้เดินไปเยี่ยมชมร้านค้าของพี่น้องเกษตรกรและชมนิทรรศการของหน่วยงานราชการต่างๆ

ในตอนท้าย นางสาวณัฐกมล ลักขณาวราภารณ์ ผู้จัดการส่วนอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สยามคูโบต้ามุ่งมั่นพัฒนากลุ่มเกษตรเพื่อสร้างเป็นชุมชนต้นแบบทางการเกษตรที่มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาวิธีการทำเกษตรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรในชุมชนมีความกินดีอยู่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ และประยุกต์เครือข่ายอาชีพในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน เกิดการพัฒนาทั้งชุมชน และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในพื้นที่ต่อไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 3-5 มีนาคม 2563 โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจจะมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยเฉพาะสวนไม้ผลซึ่งเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภัยแล้ง ลมพายุ และน้ำท่วมไว้ล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้ผลไม้ภาคตะวันออกหลายชนิดใกล้จะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ส่วนภาคเหนือ ได้แก่ ลำไยและลิ้นจี่ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำวิธีการดูแลสวนไม้ผลในระยะก่อนและหลังการเกิดพายุฤดูร้อน เพื่อบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

ระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน
1. ขอให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ระวังผลผลิตที่อยู่ในระยะพัฒนาจากผลอ่อนใกล้จะเป็นผลแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวอาจได้รับความเสียหายได้ และระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิงในการทำกิจกรรมต่างๆ ในระยะนี้ไว้ด้วย เนื่องจากบางช่วงอากาศจะแห้งมาก เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้
2. เกษตรกรควรปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน และสะเดาอินเดีย เพื่อลดความรุนแรงของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้หรือพื้นที่เพาะปลูก จะช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้
3. ควรตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควรใช้เชือกโยงกิ่งและต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงไม่ให้โค่นลงได้ง่าย
4. สำหรับสวนที่เริ่มให้ผลผลิต ควรทยอยเก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหายที่อาจได้รับจากพายุ กรณีผลไม้บางชนิดที่อ่อน ไม่สมบูรณ์ รูปทรงไม่ปกติหรือมีขนาดเล็ก เช่น มะม่วง อาจเก็บไปจำหน่ายก่อนได้ เพื่อลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง

ระยะหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน
1. สวนไม้ผลที่ได้รับผลกระทบจากพายุ สามารถที่จะฟื้นฟูได้โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง
2. ขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เกษตรกรไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย
3. กรณีที่มีดินโคลนทับถมเข้ามาในสวน เมื่อดินแห้งให้ขุดหรือปาดเอาดินโคลนที่ทับถมออกจากบริเวณทรงพุ่มให้ลึกถึงระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น และหากต้นไม้เอนลง ให้ใช้เชือกหรือลวดดึงลำต้นให้ตั้งตรง โดยยึดไว้กับหลักหรือไม้ผลต้นอื่น พร้อมตัดแต่งกิ่งออก 1 ใน 3 ของที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น จากนั้นควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่ไม้ผล และเมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ซึ่งจะทำให้ราก แตกใหม่ได้ดีขึ้น และควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นด้วย
4. หากสังเกตเห็นต้นไม้ผลใบเหี่ยวเฉา ควรให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง หรือให้น้ำปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช เพื่อช่วยให้ไม้ผลผ่านช่วงแล้งไปได้

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ เว็บแทงบอลออนไลน์ กรมส่งเสริมการเกษตรยึดหลักปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 โดยมีหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรไว้ก่อนเกิดภัย ตามจำนวนพื้นที่จริงที่ได้รับความเสียหาย รายละไม่เกิน 30 ไร่ ได้แก่ ข้าว อัตราไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 1,148 บาท และพืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 1,690 บาท ทั้งนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติและผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเขตพื้นที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เกษตรกรต้องยื่นแบบความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) โดยให้ผู้นำท้องถิ่นรับรอง ก่อนจะมีการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกร และพื้นที่เสียหายจริงเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป