อาหารไทย และใช้ดอกไม้ไทยประดับสถานที่ ในการจัดประชุมสัมมนา

กรมส่งเสริมการเกษตรได้คัดเลือกเกษตรกร และเกษตรกรแปลงใหญ่ลงทะเบียนกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดปลายทาง เรียบร้อยแล้ว เป้าหมาย 2,000 ตัน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4) เชิญชวนภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย SCG ฯลฯ ช่วยซื้อผลไม้ เป้าหมาย 1,000 ตัน 5) ส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ เช่น Alibaba, Shopee, Lazada

โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีการอบรมเกษตรกรให้ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมโครงการขายผ่าน Lazada ในส่วนของ อ.ต.ก. มีการดำเนินการจำหน่ายผ่านระบบ อ.ต.ก. Online และ อ.ต.ก. Market ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ เป้าหมาย 2,000 ตัน 6) กรมส่งเสริมสหกรณ์จะบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้ของสถาบันเกษตรกร โดยขอใช้งบกลาง จำนวน 45.0372 ล้านบาท เป้าหมาย 80,000 ตัน

(3) โครงการสินค้าเกษตรไทยปลอดภัยจาก COVID-19 ขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่ให้เข้มงวดเกี่ยวกับสุขอนามัยของแรงงาน เช่น การแต่งกายที่รัดกุม มีหน้ากากป้องกันขณะปฏิบัติงาน และขอความร่วมมือกรมการค้าภายใน กระทรวงสาธารณสุขในการจัดสรรโควตาหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการชาวสวนผลไม้ให้ระมัดระวังการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในลักษณะบุฟเฟ่ต์ผลไม้ และมอบหมาย คพจ. ติดตามผลการปฏิบัติการควบคุมโรคระบาดในพื้นที่อย่างเข้มงวด และรายงานต่อ Fruit Board เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าเกษตรไทย

(4) โครงการหาตลาดใหม่สินค้าเกษตรเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดแคมเปญ/นิทรรศการ/Road Show/Exhibition ในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมจัดกิจกรรมในระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน ณ ประเทศ ออสเตรเลีย UAE ตุรกี จีน และญี่ปุ่น โดยเจรจากับประเทศตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ตุรกี อินโดนีเซีย รัสเซีย อาร์เจนตินา อินเดีย เกาหลี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมความพร้อม นอกจากนี้ ได้เร่งศึกษากฎระเบียบการส่งออกผลไม้ไปประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพ การเจรจาข้อจำกัดกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) สุขอนามัยพืช สุขอนามัยสัตว์ มาตรฐานสินค้า รวมทั้งขอให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน GAP โดยมีเป้าหมายการตรวจรับรอง 70,000 แปลง และ GMP โรงคัดบรรจุ 180 โรง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการที่ 2 การช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ได้แก่ มาตรการช่วยลดภาระทางการเงิน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ผ่อนปรนการชำระหนี้ให้กับเกษตรกร โดยบอร์ด ธ.ก.ส. ได้พิจารณาอนุมัติมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร คือ 1) ให้ปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้โดยปลอดการชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ระยะเวลาการดำเนินมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และ 2) สนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกร สถาบันเกษตร และผู้ประกอบการเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องดำเนินธุรกิจ

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา “เกษตรก้าวไกล” ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรชานเมืองกรุง หลังจากที่สัปดาห์ก่อนโน้นไปได้แรงบันดาลใจจากชุมชนที่ชื่อ “คลองปักหลักพัฒนา” นั่นคือ กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัด “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่” https://youtu.be/-y5Ws2Eye2k ขึ้นที่โรงเรียนคลองปักหลัก เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และมีผู้นำชุมชนคนหนึ่งชักชวนให้ไปเที่ยวด้านหลังโรงเรียน ไปพบเกษตรกรที่เลี้ยงปลาจาระเม็ดน้ำจืด…ทำให้คิดว่าในกรุงเทพฯที่เป็นเมืองหลวงยังมีพื้นที่การเกษตรหลงเหลืออยู่บ้าง

เมื่อเป็นเช่นนั้นก็คิดว่า ทำไมไม่ปักหลักลงพื้นที่รอบๆเมืองกรุงสำรวจพื้นที่การเกษตรดูบ้าง ความคิดนี้เกิดขึ้นระหว่างที่โควิด 19 กำลังสร้างความวิกฤตให้กับผู้คนทั้งโลก (ทำให้คิดว่าไม่ควรไปไหนไกล ควรจะปักหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่งไปก่อน-#อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ ไม่มีเหตุผลใดที่เราจะไม่ให้ความร่วมมือต่อเหตุการณ์ครั้งนี้) ในขณะที่พื้นที่รอบๆเมืองหลวงก็กำลังถูกความเจริญถาโถม ไล่ให้ออกไปอยู่ไกลๆ เกษตรกรคนใดที่จิตใจไม่แกร่งพอก็จะขายพื้นที่ทำกิน…

เราจึงเดินทางไปที่ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมนี้ ที่นั่นได้พบกับ คุณสุขุม ไตลังคะ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีหัวใจเกษตรเต็มร้อย เดิมนั้นเราตั้งใจจะไปดูแปลงปลูกผักที่เขารวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรให้ข้อมูลมา แต่วันนั้นนัดเขาไปพบที่บ้านก่อนก็พบว่ารอบบ้านของเขามีแต่พืชอาหาร โดยเฉพาะมะม่วงนั้นมีรอบบ้าน แถมยังมีพืชผักชนิดอื่นๆ มีเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ครบถ้วน

ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 เราคิดว่าการใช้ชีวิตอยู่อย่างไทย ดังที่หลายคนบอกว่า โควิดทำให้คนบนโลกต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเสียใหม่ (หลายเมืองมีการตุนอาหาร) เมื่อมาเหลือบมองดูไทยอดีต พบว่าคนไทยเรานั้นปลูกพืชอาหารกินเองกันทุกบ้าน…ดังเช่นเรื่องของคุณสุขุมตามคลิปนี้

อนึ่ง “เกษตรก้าวไกล” ต้องปรับแผนงานใหม่หมดตามเดิมที่เรามีกำหนดจะจัดงานเปิดตัวโครงการ Missiom for Farmer 2020” (ภารกิจติดอาวุธให้เกษตรกรไทยพร้อมรบในโลกออนไลน์) ตามที่เคยเรียนให้ทราบก่อนหน้านี้ แผนงานใหม่ที่ว่าก็คงจะปรับให้กระชับแบบเจาะจงพื้นที่หรือกลุ่มก้อนให้มากขึ้น ดังเช่นการรายงานพิเศษ “เกษตรแกร่งรอบกรุง” ที่ดำเนินไปตามคลิปวิดีโอข้างต้นนี้ และจะมีต่อเนื่องอีก 2-3 ชุด รวมทั้งการวางแผนงาน “เกษตรแกร่งสุดๆแดนใต้” ที่คาดว่าจะขยับออกไปช่วงกลางปีไปแล้ว (อยู่ที่ว่าโควิด 19 คลี่คลายไประดับใด

นโยบายของภาครัฐเป็นเช่นไร) ทั้งหมดนี้ขอเรียนว่า เราไม่สามารถเดินไปคนเดียวได้ พันธมิตรเดิมของเราได้คุยกันไว้คร่าวๆ (ว่าจะเดินไปด้วยกัน) แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ต้องมากระชับกันใหม่ เพราะองค์กรใหญ่ๆได้รับผลกระทบมหาศาล เราเป็นองค์กรเล็กๆจึงบาดเจ็บน้อยนิดแบบเทียบกันได้ เอาเป็นว่าผมจะสื่อสารรายละเอียดมาให้ทราบอีกครั้ง…ขอยืนยันว่าไม่ว่าวิกฤตโควิด 19 จะหนักหนาสากรรจ์เพียงใดก็ไม่มีมีวันที่จะทำลายความคิดดีๆที่จะทำให้เกิดขึ้นกับภาคเกษตรไทย ขอเพียงเราทุกคนร่วมมือร่วมใจสู้ไปด้วยกันนะครับ

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด สนับสนุนเพื่อจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID -19 (Coronavirus Disease 2019) ที่แพร่ระบาดไปยังทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วนเกิดภาวะขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงอุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการสนับสนุนในครั้งนี้ว่า “สยามคูโบต้า เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาด รวมไปถึงลดภาระ และความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเฝ้าระวังและรักษาผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนมีความจำเป็น และนับวันยิ่งขาดแคลนเนื่องจากมีอัตราผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยในครั้งนี้ สยามคูโบต้าได้ให้การสนับสนุน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเร่งด่วน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้สยามคูโบต้ายังมอบเงินสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลสนาม 308 เตียงในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ที่กำลังเปิดรับผู้ป่วยคนแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา อีกจำนวน 500,000 บาท โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐพล ธรรมโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากายภาพ เป็นผู้แทนรับมอบ ซึ่งเป็นภารกิจเร่งด่วนที่มีความต้องการในภาวะวิกฤต และมีความจำเป็นในการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับใช้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม สยามคูโบต้าได้ให้ความสำคัญอย่างสูงสุด ต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ รวมถึงผู้มาติดต่อทุกท่าน รวมทั้งขอยืนยันและให้ความมั่นใจว่า ทุกท่านสามารถใช้บริการและติดต่อกับบริษัทฯ ได้อย่างต่อเนื่อง สยามคูโบต้ายึดมั่นในการเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ความร่วมมือกับภาครัฐ ตลอดจนตระหนักและให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบทางสังคมตลอดไป

พร้อมกันนี้ สยามคูโบต้าขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและแบ่งปันความห่วงใยสู่สังคม เหนือสิ่งอื่นใดคือกำลังใจที่ส่งต่อไปยังพี่น้องเกษตรกร ประชาชนชาวไทย ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ให้ผ่านพ้นวิกฤตไวรัส COVID -19 ได้โดยเร็วที่สุด

ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดแบบนี้ การก้าวเท้าออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านแต่ละทีมีแต่ความเสี่ยง แม้แต่การออกไปจ่ายตลาดเพื่อเลือกซื้อผักผลไม้สด หลายคนจึงอาจกำลังมองหาตัวช่วยในการหาผักสด ปลอดภัยมารับประทานกัน ในยามที่เราทุกคนต้อง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”

ในยามวิกฤตนี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ขอแบ่งปันเคล็ดลับดีๆ จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรกว่า 99 ปี มาช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับทั้งเกษตรกรและบุคคลทั่วไป ด้วยการปลูกผักโตโวที่สามารถเก็บรับประทานได้ภายใน 7-10 วัน ซึ่งจะปลูกไว้ทานเองก็ได้ หรือจะปลูกต้นอ่อนผักขายก็เป็นทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้อีกเช่นกัน

ปัจจุบัน เจียไต๋มีเมล็ดพันธุ์ผักโตไวให้เลือกหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่ปลูกง่าย โตไว ใช้เวลาไม่นานก็สามารถเก็บรับประทานได้ โดยขอแนะนำวิธีการปลูกต้นอ่อนผักโดยมีวิธีการปลูกง่ายๆ ดังนี้

ต้นอ่อนหัวไชเท้า
ต้นอ่อนหัวไชเท้า หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “ไควาเระ” เป็นอาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทาน อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย เช่น สารไฟโตนิวเทรียนท์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารรูตินที่ช่วยต้านการอักเสบต่างๆ ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ทำให้การแพ้ฝุ่นละอองและหอบหืดดีขึ้น

วิธีปลูก

แช่น้ำทิ้งไว้ 5-10 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมเข้าเมล็ด
นำดินปลูกใส่ในถาดเพาะ หว่านเมล็ดบนดินปลูก เกลี่ยให้เมล็ดไม่ทับกัน รดน้ำให้ชุ่ม นำไปไว้ในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเท
ในระยะ 1-2 วันแรก หาวัสดุคลุมดินเพื่อบังคับให้รากแทงลงดิน รดน้ำเช้าและเย็นพอให้ชุ่ม ระวังอย่าให้แฉะ
วันที่ 3 เป็นต้นไป สามารถเปิดให้รับแสงแดดอ่อนๆ ได้ พอปลูกได้ระยะประมาณ 7-10 วัน สามารถตัดเพื่อนำมาประกอบอาหารหรือจำหน่ายได้ทันที

ต้นอ่อนผักบุ้ง
ต้นอ่อนผักบุ้งอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินเอ บำรุงสายตา และยังช่วยบำรุงโลหิต บำรุงผิวพรรณ ช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญ มีเส้นใยสูงช่วยเรื่องการขับถ่าย

วิธีปลูก

แช่น้ำทิ้งไว้ 18-24 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมเข้าเมล็ด
หว่านเมล็ดบนถาดเพาะที่เตรียมดินแล้ว โดย 1 ถาดเพาะต้นอ่อนสีดำควรใส่เมล็ดไม่เกิน 1 ขีด ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นจนเกินไป เพราะจะไม่มีพื้นที่ให้ลำต้นขยาย ส่งผลให้เน่าและล้มเหลืองตายก่อนถึงเวลาตัด
รดน้ำพอชุ่ม พยายามอย่าให้แฉะ
เมื่อต้นอ่อนผักบุ้งมีอายุ 8-9 วัน ใบจะกางออก มีขนาดใหญ่ขึ้น และจะดีดเปลือกออกเอง ส่วนเปลือกที่เหลือติดเล็กน้อยให้ใช้มือปัดหรือหยิบออกก่อนจะตัดต้นอ่อน 1 วัน

นอกจากนั้น เจียไต๋โฮมการ์เด้นยังมีชุดสนุกปลูกไมโครกรีน แกะกล่องปุ๊บ พร้อมปลูกได้ทันที โดยชุดสนุกปลูกไมโคกรีนมีพันธุ์ผักพื้นบ้านให้เลือกถึง 4 ชนิด ได้แก่ กะเพรา โหระพา ผักโขมแดง และแมงลัก ที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ใส่กล่องมาให้พร้อมกระถาง พีทมอส และคำแนะนำการปลูกที่เข้าใจง่าย ให้ลองทำตามได้ทันที และหากกังวลเรื่องความปลอดภัย ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อให้เสี่ยงกับโรคโควิด-19 ก็เข้าไปเลือกหาเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวอีกมากมายได้ที่ที่เว็บไซต์ https://www.ct-homegarden.com/ หรือ แอปพลิเคชัน Chia Tai My Garden มีบริการส่งไปรษณีย์เดลิเวอรี่ถึงบ้านแน่นอน

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ขอส่งกำลังใจให้สังคมไทยฝ่าฝันวิกฤตนี้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งนอกจากเคล็ดลับต่างๆและผลิตภัณฑ์ชุดสนุกปลูกไมโครกรีนแล้ว เจียไต๋โฮมการ์เด้นยังขอมอบเมล็ดพันธุ์คุณภาพให้กับผู้ที่สนใจ คลิกที่ลิงก์เพื่อร่วมกิจกรรม รับเมล็ดพันธุ์คุณภาพจากเจียไต๋ ได้ฟรีตั้งแต่วันนี้ – 10 เมษายน 2563 นี้*

*มีจำนวนจำกัด ร่วมสนุกก่อนมีสิทธิ์ก่อน และบริษัทขอสงวนสิทธิ์จัดส่งให้กับผู้ที่สนใจเพียง 1 ท่าน/ 1 สิทธิ์เท่านั้น

เครือซีพีตอกย้ำนโยบายสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษา ชูมิติการศึกษาเพื่อพัฒนาบ้านเกิด สุดภาคภูมิใจกับบัณฑิตรุ่นแรก โครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” ก้าวแรกสู่ความสำเร็จของลูกหลานเกษตรกรน่าน พลังแห่งความมุ่งมั่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ ณ สำนักงานด้านความยั่งยืนเเละพัฒนาชุมชน เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.น่าน – นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย นายจิระศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ดร.นริศ ธรรมเกื้อกูล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ ดร.มนตรี คงตระกูล คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต โครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ที่คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 10 คน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งสนับสนุนด้านการศึกษาแก่ลูกหลานเกษตรกรในครอบครัวที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน พร้อมส่งเสริมให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับกลับมาพัฒนาบ้านเกิดต่อไปในอนาคต

ดร.มนตรี คงตระกูล คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เครือซีพี ร่วมกับจังหวัดน่าน เริ่มดำเนินโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” ในปีการศึกษา 2559 โดยสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีพร้อมที่พักและค่าครองชีพ ที่คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปีละ 10 ทุน ปัจจุบันมีจำนวน 2 รุ่น โดยเยาวชนผู้ได้รับทุนจะได้เรียนรู้วิชาการเกษตร เทคโนโลยี การจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จริยธรรมในการทำธุรกิจ พร้อมฝึกปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Work based Learning ได้รับการถ่ายทอดเรื่องนวัตกรรมด้านพืชหลากชนิด และเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด การเรียนรู้การผลิตในฟาร์มเพื่อเพิ่มศักยภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการในการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อนำองค์ความรู้กลับไปช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตด้านการเกษตรของ จ.น่านต่อไปในอนาคต

ด้าน นายชัยชนะ แซ่โซ้ง หรือ น้องชัย บัณฑิตในโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 เปิดเผยว่า โครงการนี้ส่งเสริมให้ได้ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กัน ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งในช่วงปีที่ 1- ปีที่ 3 ได้เลือกฝึกปฏิบัติงานตามความสนใจของตัวเอง เพื่อให้ได้เรียนรู้ความต้องการของตัวเองมากขึ้น และในปีที่ 4 ได้ฝึกปฏิบัติงานที่ บริษัท เจียไต๋ จำกัด จ.ศรีสะเกษ โดยรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพริกปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจบการศึกษาแล้ว จะนำทักษะต่างๆที่ได้เรียนรู้มาตลอด 4 ปี กลับไปพัฒนาบ้านเกิดและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ที่เป็นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ ที่จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการสินค้าเกษตร ซึ่งให้ผลดีกว่าการปลูกข้าวโพดหรือพืชเชิงเดี่ยวที่ทำลายป่าเหมือนที่ผ่านมา

น.ส.นิชธาวัลย์ มีอาจ หรือ น้องบิว หนึ่งในบัณฑิตในโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 กล่าวว่า การได้รับทุนในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว แล้ว ยังสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนด้านการเกษตรแทน ซึ่งการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโครงการนี้ มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เน้นเรื่องการจัดการด้านธุรกิจเกษตร ทำให้ระหว่างเรียนมีโอกาสได้ทำงานและมีรายได้ดูแลตัวเองได้ โดยในชั้นปีที่ 3 ได้เลือกไปฝึกปฏิบัติงานที่บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด เกี่ยวกับการปลูกกาแฟเบื้องต้นและทักษะการชิมกาแฟ หรือที่เรียกว่า Q-Grader นักประเมินคุณภาพกาแฟ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพ ครั้งที่ 1 ปี 2563 ซึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฏร์ธานี (สศท.8) ร่วมกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 (สสก.5) จังหวัดสงขลา ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) สำนักงานเกษตรจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา (นายสุพิท จิตรภักดี) เป็นประธานการประชุม ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาผลพยากรณ์ไม้ผลภาคใต้ ครั้งที่ 1 ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกองในพื้นที่ 14 จังหวัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู

สำหรับผลพยากรณ์ปี 2563 ครั้งที่ 1 (ข้อมูล ณ 10 มีนาคม 2563) พบว่า เนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,018,651 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 1,002,587 ไร่ (เพิ่มขึ้น 16,064 ไร่ หรือร้อยละ 1.60) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.96 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.10 ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 11.68 และลองกอง ลดลงร้อยละ 10.98

เนื้อที่ให้ผล ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 855,815 ไร่ ลดลงจากปี 2562 ที่มีจำนวน 869,276 ไร่ (ลดลง 13,461 ไร่ หรือร้อยละ 1.55) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.51 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 13.02 และลองกอง ลดลงร้อยละ 10.73

ผลผลิตรวม ทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 865,037 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 800,598 ตัน (เพิ่มขึ้น 64,439 ตัน หรือ ร้อยละ 8.05) โดยผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งคาดว่าผลผลิตรวมของทุเรียนจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 16.29 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาดีต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาต้นทุเรียนดี ส่วนมังคุด เงาะ และลองกอง คาดว่าผลผลิตรวมลดลง โดยมังคุดจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.01 เนื่องจากในแหล่งผลิตที่สำคัญ คือ จังหวัดชุมพร ฝนตกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทำให้ต้นมังคุดแตกยอดอ่อนแทน ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 6.87 และลองกอง ลดลงร้อยละ 7.55

ผลผลิตต่อไร่ ทั้ง 4 ชนิด ภาพรวมมีทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพต้นสมบูรณ์ พร้อมต่อการออกดอกติดผล ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้ไม้ผลออกดอกมากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของทุเรียน มีปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น คือ ราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาเพิ่มมากขึ้น มีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ ในส่วนเพิ่มเติม และมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อผลิตทุเรียน GAP เพิ่มขึ้น

ด้าน นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้อำนวยการ สศท.8 กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ ทุเรียนออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 42 ผลผลิตที่ติดในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก โดยจะทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม มังคุดออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 9 โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นแหล่งผลิต ที่สำคัญ มีฝนตกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทำให้มังคุดแตกใบอ่อนแทนการออกดอก สามารถเก็บผลผลิตรุ่นแรกได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม เงาะออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 15 จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบแรกได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนลองกองสถานการณ์ขณะนี้ยังคาดการณ์การออกดอกไม่ชัดเจน เนื่องจากยังมีฝนประปราย ต้นลองกองยังไม่ขาดน้ำ ทำให้ต้น ใบยังไม่สลด แต่คาดว่าจะเริ่มมองเห็นการติดดอกที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายมีนาคม-เมษายน

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้ปริมาณผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศที่มีฝนตกทิ้งช่วงไปเร็วกว่าปีที่ผ่านมา อีกทั้งสภาพอากาศหนาวเย็น ส่งผลให้ทุเรียน มังคุด และเงาะ มีการติดดอกออกผลเร็วขึ้น และจะเริ่มเห็นพัฒนาการออกดอกได้ชัดเจนหลังกลางเดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งหลังจากนี้ สศท.8 จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจะร่วมกับคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทันทีหลังจากสถานการณ์โรค COVID – 19 คลี่คลายเพื่อวางแผนบริหารจัดการไม้ผลและรายงานผลพยากรณ์ ครั้งที่ 2 ให้คณะทำงานฯทราบโดยเร็วต่อไป สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลไม้ผลภาคใต้เพิ่มเติมได้ที

ทีมงานเกษตรก้าวไกล…มาเรียนรู้นอกห้องเรียน “กลางคอกควาย” กับ “ดร.ต๋อง คนเลี้ยงควาย” หรือ ดร.สมจิตร กันธาพรหม อาจารย์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ในหัวข้อ “หัวใจของการเลี้ยงควาย….ทำอย่างไรให้ได้เงินล้าน” (ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านที่ https://bit.ly/2JBE7Ew)

ดร.ต๋อง กล่าวว่า หัวใจการเลี้ยงควายให้ได้เงินล้านอันดับแรก คือมีแปลงหญ้า ในส่วนของตนปลูกหญ้าแพงโกล่า ซึ่งเป็นหญ้าที่ปลูกง่ายเพียงแต่ไถพรวนแล้วถอนไปหว่าน เขาก็จะขึ้นเองและตัดได้ทั้งชีวิต เราปลูกเพียงครั้งเดียว แต่หญ้าชนิดนี้ไม่ชอบการเหยียบย้ำหรือแทะเล็ม เราต้องตัดหญ้าไปให้ควายกิน ตนเลิกงานมาแล้วจะตัดหญ้าไปให้ควายกินในช่วงเย็น หัวใจสำคัญขอให้มีแปลงหญ้า 1 ไร่ ต่อ 1ตัว ต่อปี ตนทำมา 12 ปี หญ้าแพงโกล่าเหมาะสมที่สุดในการให้ควายกิน เราทำด้วยตัวเองจึงรู้รายละเอียดดี เราต้องลงมือทำเกษตรด้วยตัวเอง เราลงทุนเองต้องทำเอง อย่าส่งเงินมาให้ญาติเลี้ยง เขาไม่มีความรักต่อควาย จะไปไม่รอด คนที่ทำเกษตรด้วยตัวเองไม่มีใครจน ตนทำมา 10 กว่าปี ไม่เคยขาดทุน

สำหรับคุ้มควายกาฬสินธุ์ตรงนี้(เราคุยกันที่คุ้มควายกาฬสินธุ์)เป็นของส่วนตัว อยู่บ้านน้ำโจก ต.นิคม อ.สหัสขันธ์ อยู่ข้างศูนย์ฝึกอบรมภูสิงห์ ตอนนี้มีแปลงหญ้าอยู่ 12 ไร่ เลี้ยงควายได้ 12 ตัว (ได้เงินมาจากการเลี้ยงควายจึงสามารถซื้อที่ดินปลูกหญ้าได้) บางช่วงไม่มีเวลาก็ปล่อยให้ไปกินหญ้าขน ซึ่งเป็นหญ้าที่ตอบโจทก์ได้ดี ส่วนการปล่อยควายไปให้กินหญ้าทั่วไป ตนไม่เป็นห่วง เพราะตนเลือกปล่อยควายไปในแปลงหญ้าธรรมชาติ ทำเลที่อยู่เหนือเขื่อน เป็นทำเลที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงปศุสัตว์ เราเป็นมิตรกับชาวบ้านจึงไม่มีการใช้ยาฆ่าหญ้า หรือยาดูดซึมใดๆ ฉีดแปลงหญ้าเลย

สำหรับ คอกควาย เราใช้วัสดุที่อยู่ตามธรรมชาติมาสร้าง มีรางหญ้า พื้นไม่ต้องเทคอนกรีต ถ้าเทพื้นมันจะแข็ง เวลาควายตัวเล็กๆ นอน แล้วโดนแม่ไปเหยียบหางขาด ทำให้เสียราคา บางตัวเขามัดจำไว้แล้ว ทำให้เสียราคาเหลือไม่กี่บาท คอกของตนลงทุนเพียง 4 หมื่นบาท การออกแบบด้านหน้าควรจะอยู่ด้านตะวันตก เมื่อบ่ายแสงแดดจะฆ่าเชื้อได้ดี ของเราคอกจะแห้งตลอด ขี้ควายก็เป็นฝุ่นมันจะนุ่ม ทำให้การลุกของควายไม่มีปัญหา อากาศที่คอกโปร่งจึงไม่ต้องกางมุ้ง หากพื้นที่ใดคอกอยู่ใกล้ป่าก็ควรมีมุ้งให้ควาย เพื่อให้เขานอนหลับได้เต็มที่

“สำหรับขี้ควายเราขายกระสอบละ 50-60 บาท ควายเราไม่ได้มองแค่การขายเนื้อ แต่เรามองถึงมูลค่าของมันเช่นขายขี้ควาย และเป็นตัวดึงดูดการท่องเที่ยว เช่นที่ จ.อุดรธานี เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว แต่ดึงแขกให้ไปขี่ควาย” ดร.ต๋อง กล่าวและว่า คอกที่เห็นนี้ตนใส่ไว้ 10 แม่ ไม่เคยมีปัญหาเบียดเสียดกัน ควายเป็นสัตว์สังคม เวลานอนแล้วเขาจะนิ่ง ไม่รบกวนกัน

สำหรับควายที่สวยงามต้องมีเขา ไม่เหมือนกับวัวพันธุ์ การมีเขาทำให้มีราคาแพงและควายไว้ใช้ป้องกันตัวอีกด้วย ในคอกของตนจะมีแร่ธาตุก้อนไว้ให้ควายได้เลีย เพื่อเพิ่มแร่ธาตุทำให้มีความสมบูรณ์ของพันธุ์

“สิ่งสำคัญอีกอย่างคือต้องมีฟางข้าว ซื้อมามัดละ 25 บาท ถือเป็นหัวใจหลักจะช่วยในการย่อย ถ้ากินหญ้าอ่อนท้องจะเสีย เมื่อให้ฟางข้าวแล้วจะช่วยลดการท้องเสีย เราต้องเตรียมฟางไว้ 100 ก้อนต่อตัวต่อปี เราซื้อฟางจากชาวบ้านที่ไว้ใจ ซึ่งเป็นการลดเผาตอซัง ชาวบ้านมีรายได้จากการอัดฟางข้าวขาย สร้างรายได้เป็นหมื่น ถือเป็นลูกโซ่ของการสร้างรายได้จากการเลี้ยงควาย”

สำหรับเริ่มต้นการเลี้ยงควายในแต่ละวัน ตนจะตื่นประมาณหกโมงเช้าปล่อยให้ควายเดินเล็มหญ้า แล้วเดินตามควายประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อเจอแหล่งหญ้าแล้วก็จะผูกจ่าฝูงไว้ ลูกฝูงก็จะเล็มหญ้าอยู่ไม่ไกล ประมาณแปดโมงเช้า ตนจะจูงเข้าร่มไม้เย็นๆ ริมน้ำ จากนั้นตนก็จะไปทำงาน ประมาณ 4 โมงเย็น ตนจะปล่อยให้มันลงน้ำ จากนั้นก็ปล่อยให้หากินหญ้า ประมาณ 6 โมงเย็น มันก็จะเดินกลับคอก ควายจะรักษาเวลามาก รู้ว่าจะกลับคอกเมื่อไหร่ เราต้องฝึกมัน แล้วมันจะจำเวลาได้ดีมากกว่าคน เป็นการเลี้ยงที่ง่ายมาก ส่วนการให้อาหารเสริม ควรให้เฉพาะลูกควายที่เพิ่งหย่านม

“สิ่งสำคัญอีกอย่างเวลาเราบังคับควาย เว็บแทงบอลออนไลน์ ต้องมีซองเข้า ครั้งแรกเราต้องบังคับให้อยู่ ถ้าครั้งแรกมันยอม มันจะยอมตลอด ถ้าครั้งแรกไม่ยอมเราปล่อยไป มันก็จะดื้อตลอด ตั้งแต่ผมเลี้ยงควายมา 10 กว่าปี ไม่เคยทำร้ายผมเลย เขารู้ว่าเราเป็นเจ้าของ เว้นแต่ตัวพ่อพันธุ์เราต้องระวัง มีข่าวเหมือนกันว่าเคยทำร้ายคน” ดร.สมจิตร กล่าว