เปิดตัวคึกคัก “เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ”

กระทรวงเกษตรฯ เปิดโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ “เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ”อย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมระดมทัพมืออาชีพด้านการตลาด ติวเข้มเกษตรกรสู่นักขายออนไลน์บนแพลทฟอร์มยักษ์ใหญ่ “ลาซาด้า” หลังพบปัจจุบันมีผู้ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์วันละถึง 5 ล้านคน “เฉลิมชัย” ชี้เป็นโอกาสทองทางการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ของไทย

ตอกย้ำตลาดนำการเกษตร ลั่นต่อไปไม่ใช่แค่ขายเป็น แต่ต้องขายได้ เพิ่มเงินเข้าประเป๋าด้วย ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สตาร์ทเครื่องขับเคลื่อนล่วงหน้าแล้ว ล่าสุดจับมือ 3 องค์กร “ศูนย์เครือข่ายเกษตร–สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์–บริษัท ไปรษณีย์ไทย” จัดอบรมเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมจำหน่ายสินค้าผ่าน 24 Shopping และTHAILANDPOSTMART.COM

วันที่ 4 มีนาคม 2563 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดตัวโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ “เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ” ณ สำนักบริหารคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 Auditorium 306 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ว่า ปัจจุบันเทรนด์การค้าออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมและมีอัตราการเติบโตที่สูงยิ่งขึ้น จากการสำรวจพบว่า การซื้อขายผ่านทางช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม (Platform) ในปัจจุบันมีมากถึงวันละ 4 – 5 ล้านคน นับเป็นโอกาสทางการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงจัดทำโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ขึ้น ตามนโยบายตลาดนำการเกษตร โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ มีนายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ผสานความร่วมมือกับแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ที่มีศักยภาพและมีชื่อเสียงอย่าง ลาซาด้า (LAZADA) ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่าวันละ 2 ล้านคน เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกรได้ขายผลผลิตแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตร และกระจายผลผลิตสินค้าเกษตรในรูปผลสดในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพ เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาและมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพจากกลุ่มเกษตรกร 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร และกลุ่ม Young Smart Farmer

ทั้งนี้ มีวัตุประสงค์หลัก คือ 1. เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรสามารถขายผลผลิตแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตร และกระจายผลผลิตสินค้าเกษตรในรูปผลสดในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก, 2. จัดอบรมเกษตรกรให้เป็นผู้ขายสินค้าเกษตรออนไลน์อย่างมืออาชีพ, 3. สร้างการรับรู้นโยบายการตลาดนำการเกษตรด้วยการพัฒนาเกษตรกรมาเป็นผู้ค้าออนไลน์, และ 4. เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วประเทศเข้าถึงสินค้าเกษตรได้สะดวก ง่าย และได้บริโภคสินค้าดี มีคุณภาพ ราคาดี ส่งตรงจากเกษตรกร

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า จากความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับ บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์อันดับหนึ่งของไทย มาเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดในการขายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย ทำให้วันนี้เป็นโอกาสดีที่จะ Kick off เปิดตัวโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ “เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ” อย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการค้าสินค้าในปัจจุบัน ที่นิยมซื้อขายบนออนไลน์เพิ่มขึ้น มีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน

นอกจากนี้ในวันที่ 3 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมฝึกอบกรมเกษตรกร 4 กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเข้าร่วม จำนวน 107 คน รวมถึงข้าราชการเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ไปสอนขยายความรู้ต่ออีกกว่า 80 คน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ ลาซาด้า เป็นผู้สอนด้านการตลาดทั้งการนำสินค้าเกษตรขึ้นขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เทคนิคการถ่ายภาพ และการเขียนสตอรี่(Story) ให้ดูน่าสนใจ รวมถึงการทำโปรโมชั่นสินค้าเกษตรของตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ไม่เพียงแค่ให้เกษตรกรขายเป็นเท่านั้น แต่เกษตรกรจะต้องขายได้ และมีเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้น

“ในอนาคตกระทรวงเกษตรฯจะร่วมมือกับ ลาซาด้า และพันธมิตรในการขยายความร่วมมือกันโดยจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่เราจะพัฒนาไปสู่ แพลตฟอร์มอื่นๆ ต่อไป โดยมุ่งหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เกษตรกรมีช่องการทางจำหน่ายที่กว้างขึ้น พร้อมทั้งจะดำเนินการฝึกอบรม สร้างองค์ความรู้ จัดอบรมให้กับเกษตรกรแปลงใหญ่ กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ Young Smart Farmer รวมถึงเกษตรกรอื่น ๆ นับเป็นความร่วมมือมิติใหม่ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการ การปลูก การแปรรูปให้ได้มาตรฐาน และ LAZADA ให้องค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพการขายออนไลน์ให้กับเกษตรกร หากเกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ของท่านได้”รมว.เกษตรฯ กล่าว

นายแจ๊ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ทางลาซาด้ามีทีมงานที่ค่อยให้คำปรึกษา และให้ความรู้เกษตรกรในด้านการขายสินค้าออนไลน์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงทางลาซาด้ายังมีระบบโลจิสติกส์ ที่จะช่วยให้การซื้อขายของเกษตรมีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ลาซาด้ายังได้นำสินค้าเกษตรแปรรูปส่งขายในแพลตฟอร์มของอาลีบาบา ไปจำหน่ายที่ประเทศจีน เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับเกษตรกรอีกด้วย

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการขับเคลื่อนโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขับเคลื่อนนโยบายนี้มาตลอด ที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อถ่ายทอดความรู้การขายสินค้าเกษตรในตลาดออนไลน์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ ภายใต้หลักการตลาดนำการเกษตร และเกษตร 4.0 ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์เครือข่ายเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดเป็นต้น โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จะผู้จัดจัดอบรมการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ พร้อมที่จะประกอบธุรกิจร่วมกับ 24 Shopping ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าวางจำหน่ายทั้งหมด 14 รายการจากเกษตรกร 17 คน เช่น ทุเรียนป่าละอู ทุเรียนนนท์ กล้วยไม้นนท์ พริกไทย มะพร้าวแปรรูป อโวคาโดพบพระ ฯลฯ โดยสินค้าสดตามฤดูกาลชนิดแรกที่กำลังออกสู่ตลาดในเร็วๆ นี้ คือ ทุเรียนนนท์

ส่วนบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์แพลตฟอร์ม https://www.thailandpostmart.com/ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานตลาดเกษตรกรระดับจังหวัด และผู้จัดการแปลงใหญ่ทุกจังหวัด พร้อมรับสมัครเกษตรกรทั้งจากระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ Young Smart Farmer วิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมจำหน่ายสินค้าออนไลน์ บนแพลตฟอร์ม https://www.thailandpostmart.com/ ปัจจุบันมีการจำหน่ายผลไม้เกรดพรีเมี่ยมจากระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เช่น ชมพู่เพชรสายรุ้ง จ.เพชรบุรี ทุเรียน จ.จันทบุรี มังคุด ส้มโอทับทิมสยาม จ.นครศรีธรรมราช ลำไยอีดอ จ.ลำพูน ลองกอง จ.นราธิวาส ลิ้นจี่ จ.พะเยา เมล่อน สับปะรด จ.เชียงราย ส้มเขียวหวาน จ.เชียงใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสินค้าเกษตรอื่นๆ อีกกว่า 30 กลุ่ม ทั้งผลผลิตสดและแปรรูป เช่น ทุเรียน แคนตาลูป มะม่วง ทุเรียนป่าละอู มะพร้าวแปรรูป กาแฟ ผลิตภัณฑ์จากพริกไทย หัตถกรรม ข้าว ส้มโอบรรจุ ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง มะม่วงกวน ฝรั่ง อะโวกาโด ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ กล้วยไม้ฯลฯ ซึ่งในปี 2562 มีผลผลิตการเกษตรบน https://www.thailandpostmart.com/ กว่า 28 รายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 25 ล้านบาท

นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า สถานการณ์แล้งในขณะนี้ต้องยอมรับว่า ภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเกษตรทุกด้าน จังหวัดจันทบุรีขึ้นชื่อเรื่องเมืองผลไม้ขณะนี้ ต้นลำไยกำลังจะยืนต้นตายที่กำลังตามมาคือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ถึงแม้ค่าเฉลี่ยปริมาณฝน 3,200 มิลลิเมตร/ปี แต่ในบางพื้นที่ เช่น อ.โป่งน้ำร้อน อ.สอยดาว ซึ่งมีสวนลำไยค่อนข้างมากเป็นพื้นที่มีปริมาณฝนน้อย ถึงแม้มีอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธแต่ระบบการกระจายน้ำยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งมีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรปริมาณน้ำจึงไม่เพียงพอ ซึ่งขณะนี้ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยประทังต้นลำไยของเกษตรกรอยู่รอดให้ได้ก่อนและจังหวัดควรประกาศภัยพิบัติจากนั้นจึงเริ่มดำเนินการแบ่งปันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธโครงการ 1 ไปสู่โครงการ 3 จะแบ่งปันน้ำกันอย่างไรต้องให้เกษตรกร ประชาชนมาหารือร่วมกันเพื่อให้ทุกคนรอดให้ได้ ซึ่งคาดหวังว่าภายในระยะช่วงสิ้นเดือนต้นลำไยจะต้องรอดเพราะหากเริ่มปลูกใหม่ต้องรอเติบโต 3 – 6 ปี จึงจะได้ผลผลิต ทั้งนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีได้ลงไปดูพื้นที่ทั้งหมดแล้วว่าสามารถที่จะกระจายน้ำเข้าไปช่วยให้ต้นลำไยเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งระยะแรกต้องไม่หวังผลผลิต เกษตรกรต้องตัดใบเพื่อลดการคายน้ำรวมทั้งผลทิ้งให้หมดพร้อมด้วยการคลุมโคนต้นเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดินป้องกันความชื้นระเหย

“ไม่เชื่อว่าความแห้งแล้งจะมีแค่เดือนสองเดือนถ้ามันยาวนาน 3 เดือน หรือกว่านั้น เราอาจจะตายไปพร้อมๆกับเขาก็ได้ เพราะฉะนั้นพี่น้องเกษตรกรต้องพยายามหาแหล่งน้ำมาเพิ่มเติมในพื้นที่เกษตรให้ได้ ทุกวันนี้เรามองการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าการเกษตรไปแล้ว และสภาเกษตรกรคงยอมไม่ได้หากปล่อยให้เกษตรกรล้มตายไปแล้วหันไปเชิดชูภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตเพื่อให้ได้เงินเข้าประเทศมากๆซึ่งเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาด” นายธีระ กล่าว

อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีได้เสนอแนวทางไปยังจังหวัดจันทบุรีให้ชาวสวนทุกส่วนในขณะนี้ต้องมีแหล่งน้ำสำรองของตัวเองอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของสวน, ต้องปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ซับความชื้นอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของทุกสวน, ทำระบบกระจายน้ำคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง ซึ่งสามารถทำได้เลยไม่ต้องรอการออกแบบ, เงินทุนปลอดดอกเบี้ย 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรขุดสระน้ำในพื้นที่ 10% ของสวนจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยปกติ

สยามคูโบต้า เดินหน้าเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง จังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นศูนย์เรียนรู้แห่งที่ 5 โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา และได้จัดพิธิเปิดเปิดศูนย์เรียนรู้ขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 โดย นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี หวังสร้างชุมชนต้นแบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ชูการเพาะปลูกด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สร้างชุมชนเกษตรที่ยั่งยืน

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า หนึ่งในนโยบายที่สำคัญของสยามคูโบต้า คือการตอบแทนสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ จึงได้จัดทำ “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” หรือ SIAM KUBOTA Community Enterprise (SKCE) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 โดยคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันระหว่างสยามคูโบต้ากับกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและส่งเสริมให้ชุมชนมีความอยู่ดีกินดี

“จากความสำเร็จของศูนย์ฯ ที่ผ่านมาทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดศรีสะเกษ 2 แห่ง และจังหวัดอุดรธานี 1 แห่ง และภาคเหนือที่เพิ่งเปิดไปเมื่อเร็วๆ นี้ ในจังหวัดแพร่อีก 1 แห่ง สยามคูโบต้าได้ส่งเสริมความรู้ทางการเกษตรแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รวมถึงแก้ปัญหาด้านการเกษตรได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในการเป็นชุมชนต้นแบบถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถขยายจำนวนกลุ่มสมาชิกให้เพิ่มขึ้น”

สำหรับศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง ตั้งอยู่ที่ตําบลนายม อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจุดเด่นในการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการนำองค์ความรู้การทำการเกษตรแบบครบวงจร KUBOTA (Agri) Solutions มาใช้ในชุมชน ส่งเสริมระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ข้าว-ถั่วเขียว-ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง วางแผนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยการขุดสระน้ำสำหรับเป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติเพื่อ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและน้ำแล้งในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือได้ว่าเป็นโมเดลการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาเพื่อการเกษตรของภาคเหนือ เกษตรกรภายในกลุ่มมีความสามัคคี เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

“สยามคูโบต้ามีแผนที่จะพัฒนาชุมชนต้นแบบ “ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” ในภาคกลางและภาคใต้ เพื่อขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง และคาดว่าจะดำเนินการเปิดศูนย์ฯ ได้อย่างครบถ้วนตามเป้าหมายในปีพ.ศ. 2566” นายพิษณุ กล่าว

นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานในพิธี เปิดเผยว่า “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ได้มุ่งมั่นพัฒนาตนเองจนกลายเป็น “ชุมชนต้นแบบ” ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ช่วยพลิกฟื้นผืนดินของเพชรบูรณ์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง ด้วยการเลือกปลูกพืชหมุนเวียนที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ให้สามารถต่อยอดความสำเร็จในการพัฒนาชุมชน”

นางบุญเลิศ ปราบภัย ประธานกลุ่มหนองผักบุ้ง เปิดเผยว่า “กลุ่มหนองผักบุ้งของเรา เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว โดยนำเทคโนโลยีและแนวทางการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย มาปรับปรุงการปลูกพืชหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเรียนรู้ระบบจัดการน้ำและสร้างแหล่งเก็บกักน้ำในชุมชนเพื่อทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองได้ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกตลอดทั้งปี และพวกเรามีความพร้อมที่จะส่งต่อองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนากลุ่มของตนเองเพื่อสร้างความยั่งยืนเช่นกัน”

สยามคูโบต้ามุ่งมั่นพัฒนากลุ่มเกษตรเพื่อสร้างเป็นชุมชนต้นแบบทางการเกษตรที่มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาวิธีการทำเกษตรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรในชุมชนมีความอยู่ดีกินดี และประยุกต์เครือข่ายอาชีพในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน เกิดการพัฒนาทั้งชุมชน และเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

ผศ.ดร.สุธีร์ ดวงใจ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมด้วย ดร.สมราน สุดดี และ นายสุคิด เรืองเรื่อ นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ Dr. David Middleton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญประจำสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ได้ร่วมกันศึกษาตรวจสอบพืชในสกุลมะเกลือ (Diospyros) ที่ไม่ทราบชนิด ซึ่งได้มีเก็บตัวอย่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬโดยทีมงานนักพฤกษศาสตร์และเจ้าหน้าที่ของสำนักหอพรรณไม้ และได้ข้อสรุปว่าพืชดังกล่าวเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกเนื่องจากมีลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมที่แตกต่างจากชนิดที่ได้รายงานไว้เดิมอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ได้ตั้งชื่อพืชชนิดใหม่ดังกล่าวว่า Diospyrosphuwuaensis Duangjai, Rueangr. & Suddee หรือมะพลับภูวัว คำระบุชนิด phuwuaensis มาจากพื้นที่ที่พืชชนิดนี้กระจายพันธ์อยู่นั้นคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวมะพลับภูวัว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรีหลังใบเขียวเข้ม ท้องใบเขียวนวล ดอกออกตามซอกใบหรือกิ่งอ่อนที่ทิ้งใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวน 4 – 5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว ผลทรงรูปไข่ ขนาด 1.3 – 1.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีม่วงดำ และดำกลีบจุกผลที่มีลักษณะเรียวยาว และบิด เป็นพรรณไม้ในสกุลนี้เพียงชนิดเดียวของไทยที่มีลักษณะกลีบจุกผลยาวเลยตัวผลอย่างชัดเจน มะพลับภูวัวเป็นพืชเฉพาะถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มักขึ้นตามริมลำห้วยในป่าดิบแล้ง (ภาพที่ 1) มะพลับภูวัวเป็นพืช

ผศ.ดร.สุธีร์ ดวงใจ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ Dr. David Middleton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญประจำสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ได้ร่วมกันศึกษาตรวจสอบพืชในสกุลมะเกลือ (Diospyros) ที่ไม่ทราบชนิด ซึ่งได้มีเก็บตัวอย่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬโดยทีมงานนักพฤกษศาสตร์และเจ้าหน้าที่ของสำนักหอพรรณไม้ และได้ข้อสรุปว่าพืชดังกล่าวเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกเนื่องจากมีลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมที่แตกต่างจากชนิดที่ได้รายงานไว้เดิมอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ได้ตั้งชื่อพืชชนิดใหม่ดังกล่าวว่า Diospyrosphuwuaensis Duangjai, Rueangr. & Suddee หรือมะพลับภูวัว คำระบุชนิด phuwuaensis มาจากพื้นที่ที่พืชชนิดนี้กระจายพันธ์อยู่นั้นคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

มะพลับภูวัว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบเขียวนวล ดอกออกตามซอกใบหรือกิ่งอ่อนที่ทิ้งใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวน 4 – 5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว ผลทรงรูปไข่ ขนาด 1.3 – 1.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีม่วงดำ และดำกลีบจุกผลที่มีลักษณะเรียวยาว และบิด เป็นพรรณไม้ในสกุลนี้เพียงชนิดเดียวของไทยที่มีลักษณะกลีบจุกผลยาวเลยตัวผลอย่างชัดเจน มะพลับภูวัวเป็นพืชเฉพาะถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มักขึ้นตามริมลำห้วยในป่าดิบแล้ง (ภาพที่ 1)

มะพลับภูวัว เป็นพืชในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) พรรณไม้หลายชนิดในวงศ์นี้สามารถใช้ประโยชน์ในรูปเนื้อไม้ บางชนิดมีผลที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดมีการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม

อนึ่งเนื่องจากมะพลับภูวัวมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมะเกลือ (Diospyros mollis) ซึ่งมีรายงานการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม ดังนั้นผู้ศึกษาจักได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวของมะพลับภูวัว ผลงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) ฉบับที่ 48 (1) หน้า 34–44. ปี พ.ศ. 2563 เรื่อง Diospyros phuwuaensis (Ebenaceae), a new species from North-Eastern Thailand ในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) พรรณไม้หลายชนิดในวงศ์นี้สามารถใช้ประโยชน์ในรูปเนื้อไม้ บางชนิดมีผลที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดมีการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม

อนึ่ง เนื่องจากมะพลับภูวัวมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมะเกลือ (Diospyros mollis) ซึ่งมีรายงานการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม ดังนั้นผู้ศึกษาจักได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวของมะพลับภูวัว ผลงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) ฉบับที่ 48 (1) หน้า 34–44. ปี พ.ศ. 2563 เรื่อง Diospyros phuwuaensis (Ebenaceae), a new species from North-Eastern Thailand

พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ณ บ้านหนองผักบุ้ง ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ได้ร่วมดำเนินการก่อตั้งขึ้น โดยมี นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี (ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ https://bit.ly/33aFuCS)

สำหรับพิธีเปิดนั้น จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ดังรายละเอียดตามคลิปที่นำมาเสนอข้างต้นนี้ (คลิปที่ 1-สำหรับคลิปที่ 2 จะเป็นการนำเสนอเรื่องราวของชุมชนหนองผักบุ้ง ตั้งแต่เริ่มแรกจนได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ) ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ขั้นตอนสำคัญ ความยาว 45.19 นาที

การแสดงชุดนวัตกรรมสร้างสุข ชุมชนอุ่นใจ โดยเยาวชนโรงเรียนเพชรพิทยาคม (นาที 00-7.00)
คำกล่าวรายงานของป้าเภา (นางบุญเลิศ ปราบภัย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา) (นาที 19-11.00)
คำกล่าววัตถุประสงค์การตัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ โดยนายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด (นาที 30-15.45)
คำกล่าวเปิดของประธานในพิธี โดย นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (นาที 16.00-20.45)
พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนต่างๆ (นาที 21.00-26.00)
ประธานในพิธีเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ ซึ่งมีทั้งหมด 12 สถานี (นาที่ 26.20—30.40)
ประธานในพิธีเยี่ยมชมแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างศูนย์เรียนรู้ฯ (นาที 45-35.07)
ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (นาที 35.08-45.19)
เหตุผลที่ “เกษตรก้าวไกล” นำคลิปมาให้ดูแบบเต็มๆ ก็เพื่อที่จะให้เป็นเป็นแนวทางของชุมชนอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาเพื่อยกระดับสู่การเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป

อนึ่ง ชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกรในปี 2548 ด้วยพลังผู้หญิงที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นที่ร่วมมือบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ในปี 2549 ที่เกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทั้งชุมชน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดอีกทั้งชอบเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้และปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกที่มาจากลูกหลานเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ เข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มทำให้กลุ่มมีไอเดียสร้างสรรค์มีความเข้าใจ และความพร้อมเปิดรับและยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ มีความโดดเด่นเรื่องการบริหารจัดการน้ำและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ผลผลิตหลักของกลุ่มนี้คือการปลูกข้าวรวมถึงปลูกพืชหมุนเวียนเมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวได้แก่ถั่วเขียวข้าวโพดและดอกปอเทือง

กระทรวงเกษตรฯ เผยมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่มีต่อผลไม้ไทย ทำให้ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเงาะ รวม 84,275 ตัน พร้อมงัด 2 มาตรการหลัก คือ การช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร COVID-19 และการช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 2/2563 ณ กรมส่งเสริมการเกษตรว่า คณะทำงานจัดทำข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้วิเคราะห์สถานการณ์การผลิตไม้ผล เมื่อมีการระบาดของโรค COVID-19 โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผลผลิตในปี 2563 คือ ทุเรียน 584,712 ตัน โดยจะออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 มังคุด 201,741 ตัน จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563 และเงาะ 220,946 ตัน จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563

ทั้งนี้ ในภาวะปกติหากไม่มีผลกระทบโรค COVID-19 คาดว่าจะส่งออกทุเรียน 409,298 ตัน มังคุด 121,045 ตัน และเงาะ 15,466 ตัน ปริมาณรวม 545,809 ตัน แต่หากได้รับผลกระทบ COVID-19 มีการวิเคราะห์ว่าจะส่งออกทุเรียนได้ 350,827 ตัน มังคุด 108,940 ตัน และเงาะ 1,767 ตัน ปริมาณรวม 461,534 ตัน จึงมีส่วนต่างของผลผลิตที่ส่งออกไม่ได้ครบตามภาวะปกติ ดังนี้ ทุเรียน 58,471 ตัน มังคุด 12,105 ตัน และเงาะ 13,699 ตัน รวมทั้งสิ้น 84,275 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต้องบริหารจัดการในกรณีที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ทำให้ส่งออกตลาดจีนไม่ได้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย อุปนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก และนายกสมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ได้ข้อสรุป 2 มาตรการหลักในส่วนของผลไม้ คือ 1) มาตรการช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร และ 2) มาตรการช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งในแต่ละมาตรการจะมีโครงการย่อยและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ในการร่วมรณรงค์บริโภคผลไม้และกระจายผลผลิตไปยังแหล่งต่าง ๆ จำนวน 84,275 ตัน

ด้านนายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวว่า มาตรการที่ 1 การช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร มี 4 โครงการย่อย ประกอบด้วย

(1) โครงการประสานใจเกษตรกรไทยสู่พี่น้องชาวจีนสู้ วิกฤต COVID-19 ส่งมอบผลไม้ไทยให้พี่น้องชาวจีน ช่วงวันที่ 25 เม.ย. – 10 พ.ค. 2563 ซึ่งหากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 สงบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านการเกษตร และทูตพาณิชย์ จะเดินทางไปจัด Road Show และส่งมอบผลไม้ด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค เป้าหมาย ทุเรียน 20 ตัน และมังคุด 20 ตัน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย, สำนักการเกษตร ต่างประเทศ, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

(2) โครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ Eat Thai First ได้แก่ 1) จัดสถานที่จำหน่ายผลไม้ที่จะออกช่วง เม.ย. – พ.ค. เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้บริโภคผลไม้ไทยเกรด Premium ในราคายุติธรรมตามฤดูกาล ซึ่งขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานกับตลาดไทและ Home pro เรียบร้อยแล้ว มี เป้าหมายการจำหน่ายสินค้าทั้ง 2 แห่ง รวม 1,200 ตัน

โดยตลาดไทยินดีให้ใช้พื้นที่ในช่วงฤดูกาลผลิต Royal Online V2 นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรอยู่ระหว่างติดต่อกับ ซีคอนสแควร์ Home pro, IT Square, Tesco Lotus, Big C, Tops, iconsaim และสถานีบริการน้ำมัน เป้าหมาย 3,000 ตัน (ตลาดไทและ Home pro 1,200 ตัน ตลาดอื่นๆ 1,800 ตัน) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2) ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่สนับสนุนการบริโภคผลไม้ไทย