กข 43 เป็นข้าวเจ้าที่มีกลิ่นหอมอ่อน นุ่ม ให้ผลผลิตประมาณ

561 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกข 6 เป็นข้าวเหนียว ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 666 กิโลกรัม ต่อไร่ ทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง มีกลิ่นหอม คุณภาพการสีดี และต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล

นายประสงค์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กรมการข้าว ยังได้จัดเตรียมกระบุงข้าว หรือที่เรียกว่า คู่หาบเงิน – คู่หาบทอง สำหรับให้เทพีคู่หาบเงิน–คู่หาบทอง ใช้หว่านในวันพระราชพิธีฯ ซึ่งกระบุงข้าว ประกอบด้วย ไม้ไผ่สีสุกนำมาจักเป็นเส้น แล้วหลาวให้ได้ขนาดเดียวกัน นำมาจักสานเป็นกระบุงข้าว จำนวน 8 ใบ พ่นสีเงิน 4 ใบ และพ่นสีทอง 4 ใบ สำหรับใช้กับเทพีคู่หาบเงิน 2 ชุด และคู่หาบทอง 2 ชุด

ในส่วนไม้คาน จะแกะสลักด้วยไม้สักทอง โดยส่วนหัวไม้คานจะแกะสลักเป็นรูปหัวพญานาค ส่วนหางไม้คานจะแกะสลักเป็นหางพญานาค ตัวไม้คานจะใช้ไม้ไผ่สีสุกที่มีจำนวน 8 ข้อ ความยาวประมาณ 110 เซนติเมตร หรือ 46 นิ้ว โดยแต่ละข้อจะมีความหมายว่า ข้อที่ 1 คาน – ข้อที่ 2 แคน – ข้อที่ 3 ยาก – ข้อที่ 4 แค้น – ข้อที่ 5 มั่ง – ข้อที่ 6 มี – ข้อที่ 7 สี – ข้อที่ 8 สุก เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่อาชีพเกษตรกรรม สำหรับสาแหรก ทำจากหวายหอมที่มีความสมบูรณ์ของลำต้นที่สม่ำเสมอ นำมาสานเป็นหัวสาแหรกรูปหัวแหวนพิรอด ซึ่งแสดงถึงการนำพาพืชพันธุ์ธัญหารเจริญเติบโตสมบูรณ์รอดปลอดภัยในปีนั้น ๆ

ในส่วนไม้ค้างคาน จะทำด้วยไม้สักทองแกะสลักตกแต่งด้วยสีเงินและสีทอง สำหรับใช้ค้ำไม้คานและกระบุงข้าวคู่หาบเงิน – คู่หาบทอง ให้สง่างาม และไม้รองกันกระบุง เป็นไม้ที่ใช้รองเมล็ดพันธุ์ข้าวที่บรรจุในกระบุงข้าวให้มีปริมาณข้าวแต่ละข้างน้อยลง ไม่หนักจนเกินไป ทำให้เทพีสามารถหาบข้าวได้นาน ในการนี้ กรมการข้าวได้เตรียมเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 100 กิโลกรัม สำหรับใช้ซ้อมและในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

“ผ้าปาเต๊ะ” หรือผ้าบาติก (Batik) เป็นเครื่องนุ่งห่มที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย คำว่า “ปาเต๊ะ”หรือ “บาติก” มาจากภาษาชวา ใช้เรียกชื่อผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ซึ่งวิธีการทําผ้าปาเต๊ะจะใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าปาเต๊ะบางชิ้นอาจผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และย้อมสีหลายๆ ครั้ง ส่วนผ้าปาเต๊ะอย่างง่าย อาจทําโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนําไปย้อมสีที่ต้องการ

สมัยก่อนคนชวานิยมใช้ผ้าปาเต๊ะ ในลักษณะ 1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว 2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษ หรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย 3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ซุรบาน” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า “คิมเบ็น” (kemben) ต่อมามีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายประเภทอื่นๆ ใช้กันทุกเพศทุกวัย จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของอินโดนีเซีย ทำให้ผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก กลายเป็นสินค้าส่งออกไปขายทั่วโลก และมีการเผยแพร่เทคนิคการทำผ้าชนิดนี้ไปประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา

กศน.ปากพนังจัดอบรมอาชีพ

“ผ้าปาเต๊ะ” กลายเป็นสินค้าขายดี อินเทรนด์สุดๆ ในยุคคนไทยนิยมนุ่งชุดผ้าพื้นเมืองในชีวิตประจำวัน เพราะผ้าปาเต๊ะนับเป็นงานศิลปะบนผ้าที่มีการเขียนลวดลายหลากหลายบนเนื้อผ้า เช่น ลายต้นหมาก ลายดอกดาหลา ลายดอกไม้ ฯลฯ ผ้าปาเต๊ะแต่ละผืนมีการสร้างลวดลายที่มีความซับซ้อนสวยงามวิจิตร ใน 1 ผืน จะมี 2 ลาย และสีหลัก 2 สี มีลวดลายสีสันที่สดใส สวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมีกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติก ที่มีฝีมือด้านการออกแบบลายผ้า และตัดเย็บผ้าบาติกจำนวนมาก จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จัดทำแผนในการพัฒนาให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองแห่งบาติก โดยขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ร่วมสวมใส่ผ้าบาติกทุกวันพฤหัสบดี เพื่อสร้างกระแสความนิยมใช้ผ้าบาติก ตามนโยบายสานพลังประชารัฐ ให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองแห่งบาติก เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

ทุกวันนี้ ผ้าปาเต๊ะ เป็นสินค้าขายดี เพราะเป็นสินค้าแฟชั่นที่เข้ากับยุคสมัยและผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เช่น เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมผม หมวก ฯลฯ คุณสุรศักดิ์ อนันต์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอปากพนัง มองเห็นโอกาสและช่องทางในการพัฒนารูปแบบและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะให้มีความหลากหลาย สร้างมูลค่าได้สูงขึ้น จึงจัดกิจกรรมอบรมอาชีพ “การเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์” หลักสูตร 30 ชั่วโมง เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ว่างงาน ผู้เกษียณอายุ และประชาชนทั่วไป ได้มีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืน

คุณชมภู ชุตินันทกุล ครู กศน.ตำบลปากพนัง กล่าวว่า “ผ้าปาเต๊ะ” เครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชายแดนใต้ ด้วยสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม ทำให้ผ้าปาเต๊ะมีความสวยงามโดดเด่นสะดุดตา การเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดี เนื่องจากผ้าปาเต๊ะเพ้นต์มือ เป็นงานฝีมือที่มีมูลค่าสูง การเพ้นต์สีผ้าปาเต๊ะทำได้ไม่ยากแค่ใช้สีอะครีลิกเขียนลวดลายบนผ้าปาเต๊ะ ใช้กากเพชร แต่งแต้มลวดลายตามจินตนาการ ยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าผ้าปาเต๊ะให้สูงขึ้น

กิจกรรมอบรมอาชีพ “การเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะ” เริ่มต้นในพื้นที่ตำบลก่อน หลังจากนั้น เชื่อมงานจากตำบล สู่โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งอาชีพ ของ กศน.อำเภอปากพนัง เรียนจากตำบลแล้ว ยังอยากเรียนอีกก็มาเรียนต่อยอดได้ที่อำเภอปากพนัง จากหลักสูตรการเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะของตำบลมาเรียนต่อยอดการทำกระเป๋าจากผ้าปาเต๊ะที่ กศน.อำเภอจัดไว้ เช่น คุณเกสร ช่อผูก จาก กศน.ตำบลบ้านเพิง

นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงเครือข่ายบูรณาการหน่วยงานเอกชน ประชาชน เครือข่ายจากเทศบาลอำเภอปากพนัง ชมรมผู้เกษียณอายุ เครือข่ายจากโรงเรียนสตรีปากพนัง ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้จังหวัดสงขลา กลุ่มอาชีพการเคหะจังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน

ทั้งนี้ กศน.ปากพนังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามากรอกใบสมัครเข้าอบรมอาชีพ โดยพิจารณาผู้สมัครเรียนที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด เช่น ผู้ไม่มีอาชีพ ผู้ที่ต้องการพัฒนาอาชีพ ฯลฯ เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพเรื่องการเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย กศน.จัดเตรียมวัสดุทุกรายการให้ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมอาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงต่อไป

คุณบำเพ็ญ บุญชูดวง วิทยากรอบรมหลักสูตร “การเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะ” กล่าวว่า การเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะ เป็นงานผลงานศิลปะ ที่ช่วยให้ผ้าปาเต๊ะมีความสวยงามมากขึ้น สามารถสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับผู้เรียนได้อย่างดี

“ราคาผ้าปาเต๊ะในท้องตลาดทั่วไป ประมาณ 120-150 บาท บวกค่าสีเขียนผ้าอะครีลิก และอุปกรณ์ทั้งหมดอีกประมาณ 200 บาท คำนวณค่าแรงงานขั้นต่ำอีกวันละ 300 บาท รวมต้นทุนประมาณ 650 บาท ต่อผืน แต่ขายผ้าปาเต๊ะที่ผ่านการเพ้นต์สีในราคาขายปลีกผืนละ 1,000 บาท หากใครจะรับไปขายต่อ สามารถบวกผลกำไรเพิ่มโดยขายในราคาผืนละ 1,200 บาท ก็สามารถหาตลาดได้อย่างสบายๆ” คุณบำเพ็ญ กล่าว

หากใครสนใจอยากเพ้นต์สีผ้าปาเต๊ะ คุณบำเพ็ญแนะนำอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้งานประกอบด้วย ผ้าปาเต๊ะ สีกากเพชร สีเขียนผ้าอะครีลิก จานสี พู่กัน (เบอร์ 1, 4, 6) กระดาษหนังสือพิมพ์ (ใช้รองผ้า) สก็อตช์เทป ถุงพลาสติก (ใช้ในการทำกรวยเพ้นต์ผ้า) เข็มหมุด แก้วขนาดเล็ก (ใช้สำหรับจุ่มล้างพู่กัน เมื่อต้องการเปลี่ยนสี)

ขั้นตอนการเพ้นต์ผ้าปาเต๊ะ

การเลือกผ้าและลวดลาย สำหรับเพ้นต์ ให้ใช้ผ้าปาเต๊ะที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป แต่เลือกลวดลายเด่นๆ หรือลายตามใจชอบ
การเลือกตำแหน่งที่จะเพ้นต์แล้วนำผ้ามาวางบนโต๊ะ สอดหนังสือพิมพ์ ไว้ใต้ผืนผ้า กลัดเข็มหมุดเป็นระยะ
เริ่มเพ้นต์โดยระบายสีขาวเป็นสีรองพื้น ให้เว้นขอบของลวดลายไว้
หลังจากนั้น ระบายสีที่เหมาะสมหรือสีที่ชอบเพื่อให้ลวดลายโดดเด่น
ระบายสีกากเพชรแต่งแต้ม ให้เกิดความแวววาว สวยงาม ตัดเส้นภาพตามขอบของลวดลายให้ลวดลายมีความคมชัด โดดเด่น
ผ้าที่เพ้นต์แล้วมีความสวยงาม เป็นงานฝีมือที่มีมูลค่า น่าสวมใส่ และทำให้ผู้เรียนสามารถจำหน่ายให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะเพ้นต์มือผลงานผู้เข้าอบรมอาชีพกับ กศน.ปากพนัง มีขาย ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนเบี้ยซัด สนใจติดต่อ คุณบำเพ็ญ บุญชูดวง โทร. (098) 446-2363 หรือติดต่อ กศน.ตำบลปากพนัง คุณครูชมภู ชุตินันทกุล โทร

พื้นที่บ้านโนนเขวา ต.ดอนหัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดิมทีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่นี้เคยทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ปัญหาใหญ่ที่พบเป็นประจำทุกปีคือ เรื่องน้ำที่มีไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยแทน โดยรวมกลุ่มกัน ในนาม “กลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา” กลุ่มนี้เน้นปลูกผักกลุ่มผักใบ เพราะใช้น้ำน้อยกว่า เก็บเกี่ยวได้ไวกว่า ปลูกได้ทั้งปี มีตลาดรองรับ

นายคำปั่น โยแก้ว เกษตรกรตัวอย่างจากกลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้กล่าวว่า ในพื้นที่บริเวณของกลุ่มบ้านโนนเขวา จะไม่มีชาวบ้านทำนาเลย เพราะว่าทำนาต้องใช้น้ำมาก ถ้าทำนาบ้านเดียว อีกสิบบ้านก็ไม่มีน้ำทำการเกษตรกัน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยเป็นทางเลือก

“ เมื่อปี 2561 ผมได้ทำนาบนเนื้อที่ 5 ไร่ ลงทุนไปประมาณ 12,000 บาท แต่เนื่องจากนาข้าวต้องใช้น้ำเยอะ และการดูแลอย่างทั่วถึง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ดี เมล็ดข้าวลีบ ไม่ได้น้ำหนัก ก็ขาดทุนไปครับ ส่วนอีกแปลงหนึ่ง บนเนื้อที่ 4 ไร่ ผมปลูกพืชน้ำน้อยในกลุ่มผักใบมีทั้ง คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดหอม ผักชี กวางตุ้ง สลับกันไป ตลาดผักของผม 80% จะเป็นห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ และอีก 20% ขายในตลาดสด พืชน้ำน้อยสามารถสร้างรายได้ให้ผมได้เกือบเดือนละ 30,000 บาท และผมสามารถปลูกได้ทั้งปี สร้างรายได้ให้ผมทั้งปี ผิดกับการทำนาที่ปีหนึ่งผมได้เงินรอบเดียว แถมยังต้องเสี่ยงกับภาวะน้ำน้อยอีก” นายคำปั่น กล่าว

“อีสท์ เวสท์ ซีด” ผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์ผักเบอร์ 1 ในไทยโชว์ 7 พืชน้ำน้อยที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำน้อยกว่าการทำนา 2 เท่า สร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกช่วงภัยแล้ง

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ตรา “ศรแดง” กล่าวว่า จากประกาศของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เรื่องการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำโดยรวมทั้งประเทศ จำนวน 412 แห่ง มีจำนวน 89 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ และน้ำที่ไหลลงเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับต่ำมาก รวมทั้งเขื่อนขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 13 เขื่อน ที่ไม่มีน้ำเหลือแล้ว

สอดคล้องกับประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่คาดว่าจากปรากฏการณ์เอลนีโญ อุณหภูมิในปีนี้จะสูงกว่าปีที่ผ่านมา 1-2 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สภาพอากาศร้อนแล้งยาวนานกว่าทุกปี สถานการณ์น้ำทั่วประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง จะมีน้ำสำหรับทำการเกษตรน้อยลงมาก สิ่งที่ทางเกษตรกรจะทำได้คือ การปรับตัว หรือการเลือกพืชน้ำน้อยมาปลูก ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ใช้น้ำน้อย เก็บเกี่ยวไว สร้างรายได้เร็ว พืชน้ำน้อยนี้จะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า แต่ให้รายได้มากกว่าการทำนาถึง 5 เท่า

อีสท์ เวสท์ ซีด เราเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่เล็งเห็นถึงปัญหาใหญ่ของเกษตรกรนี้ จึงได้มีโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2559 ที่เราเคยมีโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย” มาแล้ว ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง

“เราเห็นว่าพืชน้ำน้อยจะมีประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำที่ใช้น้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไว ภายใน 2 เดือน ก็สามารถสร้างรายได้แล้ว เทียบกับการทำนาที่ต้องใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน และเกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับการทำนาที่เราก็รู้อยู่แล้วว่าสถานการณ์น้ำในปีนี้น้อยขนาดไหน” คุณวิชัย กล่าว

โดยพืชน้ำน้อยที่เราแนะนำทั้งหมด 7 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่

ข้าวโพด เช่น ข้าวโพดหวานลูกผสม พันธุ์จัมโบ้สวีท ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 70 วัน สร้างรายได้ 16,000 บาท ต่อไร่
แฟง เช่น แฟงไส้ตันลูกผสม พันธุ์ปิ่นแก้ว ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 60-65 วัน สร้างรายได้ 40,000 บาทต่อไร่
แตงโม เช่น แตงโมลูกผสม พันธุ์จอมขวัญ ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้ 35,000 บาท ต่อไร่
ฟักทอง เช่น ฟักทองลูกผสม พันธุ์ข้าวตอก 573 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 75 วัน สร้างรายได้ 24,000 บาท ต่อไร่
แตงกวา แตงร้าน เช่น แตงกวาลูกผสม พันธุ์ธันเดอร์กรีน ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 30-32 วัน สร้างรายได้ 39,000 บาท ต่อไร่
ถั่วฝักยาว เช่น ถั่วฝักยาว พันธุ์ลำน้ำพอง ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้ 60,000 ต่อไร่
กลุ่มผักใบ เช่น ผักบุ้ง พันธุ์ยอดไผ่ 9 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 20-21 วัน สร้างรายได้ 43,200 บาท ต่อไร่

สำหรับ โครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” ในปีนี้ทางศรแดงได้จัดเตรียมทีมงานถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) ซึ่งเป็นทีมงานที่พร้อมจะมอบองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชน้ำน้อย ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวที่ให้เกษตรกรสามารถไปปฏิบัติได้จริง และในปัจจุบัน ทางทีมถ่ายทอดความรู้ได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้การสื่อสาร และให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หากสนใจโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางการสื่อสารต่างของบริษัท เช่น Facebook เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง, เกษตรกรบ้านบางท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมตัวกันปลูกผัก เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง มีตลาดนำส่งผักใน 14 จังหวัดภาคใต้ และที่เทสโก้ โลตัส ภายใต้การบริหารจัดการร่วมกันในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ วางแผนปลูกอย่างเป็นระบบ สร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 15,000 บาท ต่อราย ต่อเดือน พิสูจน์ความสำเร็จแนวทางการทำเกษตรแปลงใหญ่ ที่ใช้การตลาดนำการผลิต

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มาตั้งแต่ปี 2559 ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภทสินค้า สำหรับชุมชนบางท่าข้าม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมชนเกษตรกรผู้มีอาชีพการปลูกพืชผัก ซึ่งเกษตรกรได้จัดตั้งเป็นแปลงใหญ่พืชผัก ในปี 2560 มีสมาชิกจำนวน 62 ราย พื้นที่ปลูก 360 ไร่ ในขณะนั้น เกษตรกรได้ขายผลผลิตยังตลาดทั่วไป และมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิต ต่อมาในปี 2561 กรมส่งเสริมการเกษตร

ได้มีการประสานเชื่อมโยงการตลาดพืชผักแปลงใหญ่กับ บริษัท เทสโก้ โลตัส และได้ตกลงซื้อขายผลผลิตพืชผัก จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง กวางตุ้งไต้หวัน ผักบุ้ง และมะระจีน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการส่งพืชผักขายให้ บริษัท เทสโก้ โลตัส เฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาท ต่อราย สำหรับในปี 2562 เกษตรกรได้เพิ่มชนิดพืชผักที่ส่งให้ บริษัท เทสโก้ โลตัส จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ผักกาดหอม ผักชีไทย บวบเหลี่ยม และพริกขี้หนู (ยอดสน), (รวมเป็น 9 ชนิด พืชผัก)

สำหรับจุดเด่นของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ผักบางท่าข้ามคือ การลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรมีการรวมกันซื้อปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ยหรือวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ถุงบรรจุที่ใช้ขนส่งไปโรงคัดแยก และอื่นๆ ที่ทางกลุ่มต้องใช้ในกระบวนการผลิต ตามแผนการผลิตที่วางไว้ได้ในราคาถูก และยังสามารถชำระเงินภายหลังจากขายผลผลิตได้ด้วย นอกจากนี้ เกษตรกรยังใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการตรวจสอบวิเคราะห์ดิน

เพื่อให้ใส่ปุ๋ยได้ตามปริมาณที่พืชต้องการ และมีการใช้ปุ๋ยหมักในการปรับโครงสร้างดินช่วยให้การดูดซึมธาตุอาหารหลักหรือปุ๋ยที่ใส่ลงไปได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องของปุ๋ยไปได้มากขึ้น ในส่วนของการเพิ่มผลผลิต เกษตรกรมีความรู้ความชำนาญในการผลิตผักมาหลายชั่วอายุ จึงมีเทคนิควิธีในการผลิตให้ผลผลิตมีปริมาณมากและถ่ายทอดให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มนำไปปรับใช้

นอกจากนั้น เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญในการเลือกพื้นที่ ว่าพื้นที่แบบใดเหมาะที่จะปลูกผักชนิดใด และเลือกชนิดผักที่เหมาะสมกับความถนัดของสมาชิก ทำให้ผลผลิตดีตามไปด้วย อีกทั้ง เกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตด้วยการผลิตผักให้ได้มาตรฐาน GAP ซึ่งตลาดมีความต้องการ และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค นอกจากนั้น ยังผลิตผักตามเทศกาลต่างๆ ทำให้ได้ราคาสูง

ในด้านการตลาด เกษตรกรบริหารจัดการกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนและทำ MOU ซื้อขายผลผลิตกับ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือ บริษัท เทสโก้โลตัส โดยทำสัญญาครั้งละ 3 เดือน เพื่อกำหนดราคา ปริมาณ และชนิดพืชผัก แล้วต่อสัญญาเป็นรอบๆ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะมีโครงสร้างการบริหารชัดเจน มีการประชุมวางแผนปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหากันทุกวันอังคาร หรือหากสำคัญเร่งด่วนก็เรียกประชุมทันที เนื่องจากพืชผักเป็นพืชอายุสั้นต้องดำเนินการโดยความรวดเร็ว ทุกเรื่องทุกปัญหามีการประชุมและต้องมีมติที่ประชุมรับรอง

แผนการผลิตและการตลาดต้องเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคน หากไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยจะหาข้อสรุปออกมาให้ได้เพื่อให้งานดำเนินไปได้โดยไม่สะดุด และเป็นข้อดีที่ทาง บริษัท เทสโก้ โลตัส ได้ส่งเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้จัดการแปลงของบริษัทเข้ามาอยู่ในพื้นที่ซึ่งจะช่วยวางแผน และประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกขั้นตอนการผลิต ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้สามารถบริหารจัดการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เกษตรกรทุกรายมีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่การตกลงราคาที่เกษตรกรยอมรับ ชนิดและปริมาณที่จะสามารถผลิตให้ได้ตามที่บริษัทต้องการ รวมถึงร่วมวางแผนการผลิต และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ได้แนวทาง วิธีการให้กลุ่มได้พัฒนามากยิ่งขึ้น ในขณะที่ บริษัท เทสโก้ โลตัส ก็เข้ามามีส่วนร่วมในการรับซื้อผลผลิต มีการตกลงราคาในราคาที่เป็นธรรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการวางแผน ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงในขั้นตอนการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับการตลาด