กรณีที่สินค้าไม่ได้คุณภาพ ผู้ซื้อสามารถคืนสินค้าได้

ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคมากขึ้น จากปัจจุบันผู้บริโภครวทั้งคนไทยจะเชื่อมั่นเว็บไซต์ของต่างประเทศมากกว่า ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ลงทะเบียนซื้อขายสินค้า 1 ล้านบัญชีภายใน 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. 2561 เพื่อซื้อขายสินค้าบนเว็บไซต์ ดิจิทัลฟาร์ม

“ผมไม่เกรงกลัวโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) จีน หรือบริษัทอาลีบาบา แต่อยากจะเน้นว่าทั้งผู้ขายและซื้อ โดยเฉพาะเกษตรกรจะต้องมีความซื่อสัตย์ ถ้าโชว์รูปสินค้าแบบไหนก็ต้องส่งสินค้าตามรูปภาพ สินค้าต้องมีคุณภาพ เนื่องจากที่ผ่านมาคนไทยจะนิยมซื้อขายผ่านเว็บไซต์ของต่าชาติมากกว่า เพราะซื้อจากเว็บไซต์ไทย บางทีก็เสีย คืนไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องจัดทำมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนสินค้าให้กับลูกค้า ยอมให้เคลมสินค้าได้ถ้าไม่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การขายสินค้าเกษตรของไทยแข่งขันกับต่างชาติได้”

นายกฤษฎา กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เป็นโครงการประชารัฐ มีสถาบันเกษตรกร เอกชน และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เข้าร่วมด้วย ซึ่งจะซื้อขายสินค้าใน 3 กลุ่มหลักคือ 1. ตลาดเกษตรอินทรีย์ 2. ตลาดสินค้าการเกษตรที่ดี (จีเอพี) และแปลงใหญ่ และ 3. ตลาด QR trace หรือ สินค้าที่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร คาดว่าจะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

พาณิชย์ ชง ที่ประชุมกนป.เคาะ 5 มาตรการแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ 11 พ.ค. นี้ หวังดันให้ราคาผลปาล์มสูงขึ้นกว่า 3 บาทต่อก.ก.
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ว่า ในที่ประชุมเห็นชอบ 5 มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่ได้รับผลกระทบจากราคาปาล์มตกต่ำลงเหลือกก.ละไม่ถึง 3 บาทโดยจะเสนอเข้าสู่ที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.) ที่มีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 นี้ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

สำหรับ มาตรการที่จะเข้าช่วยเหลือ ได้แก่ 1)การกำหนดมาตรฐานโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้โรงงานสกัดแยก (A) และโรงสกัดรวม (B) ต้องสกัดน้ำมันจากปาล์มทะลายได้ไม่ต่ำกว่า 18% หรือ 30%

2) ปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศผลักดันการส่งออก 3 แสนตัน ภายใน 4 เดือน 3) การพัฒนาคุณภาพปาล์ม ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมัน 4) การดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่มีสต็อกสูงเพื่อผลิตเป็นบี20 ให้ได้ปีละ 2.5 แสนตัน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างดำเนินการโดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2-3 เดือนต่อจากนี้

และ 5) มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเพิ่มความเข้มงวดของสินค้าผ่านแดน และป้องกันการนำเข้าน้ำมันปาล์มตามชายแดนไม่ให้เกิน 40,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ จาก 5 มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถดึงราคาปาล์มให้มีราคาสูงขึ้น หรือมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาทได้ อย่างไรก็ดี ยังได้สั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการทำงานขึ้นมาศึกษาแผนรักษาเสถียรภาพปาล์มในระยะยาว เพื่อสร้างสมดุลระหว่างปริมาณและความต้องในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูก การต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และ การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มเเละโอลิโอเคมี เป็นต้น

สำหรับ สถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันปัจจุบัน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์จะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด 15.39 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบเปอร์เซนน้ำมันปาล์ม 18% ปริมาณ 2.71 ล้านตันCPO ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 2.34 ล้านตันCPO ซึ่งเป็นความต้องการใช้สำหรับการบริโภคและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการผลิตไบโอดีเซลปริมาณ 2.34 ล้านตันCPO จึงทำให้ปัจจุบันมีปริมาณสต๊อกส่วนเกิน อยู่ที่ 6 แสนตัน CPO

เกษตรกรปากน้ำโพ เดือดร้อนหนักแห่นำเครื่องมือการเกษตรมาจำนำล้นสถานธนานุบาล นายกเทศมนตรี เผย สำรองเงินไว้รับมือจำนวน 160 ล้านบาทเตรียมขยายโกดังรับมือ ที่ผ่านมาเดือดร้อนหนักต้องแจกบัตรคิวรอจำนำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศรชัย อธิปฏิเวชช นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า จากปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้เกษตรกรเดือดร้อนจำนวนมาก ได้นำเอาเครื่องมือการเกษตร เช่น รถไถนาคูโบต้า เครื่องสูบน้ำ หัวรถไถนา มาจำนำที่สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองชุมแสงจำนวน 80-90 เครื่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำขณะนี้ โดยขณะนี้ทางเทศบาลเมืองชุมแสงได้ใช้เงินรับจำนำไปแล้วจำนวน 60 ล้านบาท และได้สำรองเงินไว้เพื่อรับมือเกษตรกรที่จะนำเครื่องมือการเกษตรมาจำนำอีก 80 ล้านบาท รวมเงินสำรองไว้ประมาณ 160 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนช่วงนี้

นอกจากนี้ยังได้เรียกประชุมปลัดเทศบาลเมืองชุมแสง เพื่อหารือขยายสถานที่เก็บของรับจำนำเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่นำเครื่องมือการเกษตรรมาจำนำ เพราะว่าขณะนี้ยังมีเกษตรกรจำนวนมากประสงค์จะเอาเครื่องมือการเกษตรมาจำนำ เพราะว่าเกษตกรในจังหวัดพิจิตร อำเภอบางมูลนาก ตะพานหิน โรงรับจำนำไม่รับจำนำเครื่องมือการเกษตร แต่สถานธนานุบาลเมืองชุมแสงแห่งเดียวยังรับจำนำเครื่องมือการเกษตร ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวไร่ ชาวนา เพราะว่าช่วงนี้ยังว่างเว้นจากการทำนา เครื่องมือการเกษตรก็แปรเปลี่ยนมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในครอบครัว

นายศรชัย เปิดเผยต่อว่า สำหรับราคาเครื่องมือการเกษตรที่นำมาจำนำ ทางเทศบาลเมืองชุมแสงจะมีเจ้าหน้าที่สถานธนานุบาลประเมินว่าเครื่องมือเกษตกรนั้นมีสภาพอย่างไร โดยจะดูว่าต้องมีความสมบูรณ์ประมาณร้อยละ 70-80 จะได้ราคาดี โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 2 หมื่น ถึง 3 หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับสภาพประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งช่วงที่ผ่านมานั้น มีชาวนานำเครื่องมือการเกษตรมาจำนำ แต่ปัญหาของโรงรับจำนำคือสถานที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถนำมาจำนำได้ ต้องรอจำนวนมากซึ่งที่ผ่านมาทางเทศบาลเมืองชุมแสงได้ แจกบัตรคิวและเบอร์โทรให้เกษตรรอจนกว่าจะมีใครมาไถ่ถอนออกไป ทางเทศบาลจะติดต่อให้ชาวนานำเอาเครื่องมือการเกษตรมาจำนำ ซึ่งช่วงนี้ก็ยังมีไถ่ถอนน้อยเพราะว่าอยู่ในช่วงว่างเว้นจากการทำนา ส่วนใหญ่จะนำดอกเบี้ยมาส่งต่อยอดมากกว่า

“วันนี้เราจึงทราบปัญหาและความต้องการของชาวไร่ ชาวนา ที่เดือดร้อนจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเรียกปลัดเทศบาล เจ้าหน้าที่มาประชุมเพื่อหารือขยายโกดังเก็บของรับจำนำ จึงแจ้งไปยังลูกค้าเกษตรชาวชุมแสง ชาวบางมูลนาก ตะพานหิน ที่เดือดร้อนสามารถประสานหรือรอนำเครื่องมือการเกษกรตรมาจำนำได้ เพราะว่าขณะนี้ได้สำรองวงเงินไว้จำนวนกว่า 160 ล้านบาท เหลือแต่ขยายสถานที่เก็บของเท่านั้นซึ่งคงใช้เวลาไม่นานนัก แต่สิ่งของอื่นๆเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า ทองรูปพรรณ ยังสามารถรับจำนำได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ทางเทศบาลต้องการบรเทาความเดือดร้อนให้ชาวไร่ชาวนามีเงินหมุนเวียนช่วงวิกฤตนี้”นายกเทศบาลเมืองชุมแสงกล่าวและว่าจึงขอฝากไปยังรัฐบาลส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรุณาลงมาแก้ปัญหาให้ประชาชนรากหญ้าบ้าง โดยเฉพาะปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำมากขณะนิ้เพราะว่าชาวนาข้าวขาดทุน และส่วนหนึ่งก็ต้องฟืนทำนาทั้งที่รู้ดีว่าขาดทุนเพราะไม่มีทางเลือกอื่นและจึงเดือดร้อนมีมเงิหมุนเวียนต้องนำเครื่องมือการเกษตรกรมาจำนำ

เกษตรกรชาวไร่อ้อยสระแก้ว อุ่นใจ ไม่ง้อแรงงานเขมร ข้าราชการที่ว่างจากภารกิจทุกที่หนุน ลงแขกตัดอ้อย ส่งทันโรงงานปิดหีบ 30 พ.ค นี้

หลังจากนายพรพจน์ เพ็ญพาส ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ตัดอ้อยไม่ทันโรงงานปิดหีบ ในวันที่ 15 พฤษภาคม ต้องขอขยายเวลาปิดหีบถึงสิ้นเดือน พฤษภาคม 2561 นี้ ในขณะที่ ขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง อีกด้วย

ต่อมา จึงสั่งการให้ข้าราชการ ที่ว่างจากภารกิจทางราชการ และผู้มีจิตอาสา ช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ลงแขกตัดอ้อย โดยผลัดกันตัดหมุนเวียนกันไปไปจนครบทุกคน ในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว ได้ขอความอนุเคราะห์แรรงานจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ประชาชน และผู้มีจิตอาสา ทำการลงแขกตัดอ้อยที่ บ้านแก้วเพชรพลอย หมู่ 8 ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว และนายปราชญา อุ่นเพชรวรากร นายอำเภอวังน้ำเย็น พร้อมด้วย พล.ท.ชวลิต สาลีติ๊ด อดีตหัวหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงหลาโหม ข้าราชการทหาร ตำรวจ ประชาชน อบต.ตาหลังใน และผู้มีจิตอาสา ร่วมลงแขกตัดอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ยังคั่งค้างสวนอยู่ที่ บ้านวังไทร หมู่ 6 ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เช่นเดียวกัน สร้างความปลื้มปีติให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี ความสามัคคี คือพลังอย่างดียิ่ง

“คูโบต้า” ชวนเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจเกษตรเข้าร่วมโครงการ “KUBOTA Smart Farmer Camp 2018″ภายใต้แนวคิด “คลุก ดิน ฟิน เฟร่อ”

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp 2018 สร้างประสบการณ์การทำเกษตรให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ เปิดโอกาสให้นิสิต และนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้มาร่วมสัมผัสเครื่องจักรกลการเกษตรและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของดินพร้อมทั้งเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำเกษตรยุค 4.0 (Precision Farming) ระหว่างวันที่ 5 – 9 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – ห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี เปิดรับแล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึง 20 พฤษภาคมนี้ รับจำนวน 100 ท่านเท่านั้น

นายสมศักดิ์ มาอุธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อสร้างทัศคติที่ดีในเรื่องการทำเกษตร ด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศแล้วกว่า 500 คน และมีเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการไปประกอบอาชีพในสายงานด้านการเกษตรแล้วอีกจำนวนมาก ดังนั้น ในปีนี้ บริษัทฯ จึงยังคงเดินหน้าปลูกฝังทัศนคติที่ดีในเรื่องการเกษตรให้กับเยาวชน และสร้างเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“สำหรับโครงการในปีนี้ ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “คลุก ดิน ฟิน เฟร่อ” โดยอัดแน่นด้วยกิจกรรมและสาระความรู้ต่างๆ มากมาย เริ่มจากกิจกรรม ‘คลุกดิน’ เป็นการให้ความรู้ในเรื่องของดินอย่างลึกซึ้ง ทั้งการตรวจและวิเคราะห์สภาพดิน พร้อมทั้งการบำรุงรักษาดินอย่างถูกวิธีกับกูรูตัวจริง รวมไปถึง ‘การลงพื้นที่จริง’ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ลงมือทำจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกถั่วเหลือง ไถกลบตอซัง เพื่อบำรุงดินหลังการเพาะปลูกพืชไร่ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัชพืชที่เหลือใช้จากการทำการเกษตรในชุมชนเกษตรต้นแบบที่มีความเข้มแข็งอย่างศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี นอกจากนี้ น้องๆ ยังได้ ‘ทดลองและสัมผัส’ กับเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ล้ำสมัย ด้วยการใช้งานบนพื้นที่ในการทำการเกษตรจริง และยังได้ ‘เปิดมุมมอง’ การทำเกษตรในยุค 4.0 (Precision Farming) อีกด้วย และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น น้องๆ ทุกคนยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการทำเกษตรปลอดสารพิษจากแขกรับเชิญผู้ก่อตั้ง ‘โอ้กะจู๋’ ฟาร์มผักออร์แกนิกขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย”

นิสิต นักศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp สามารถสมัครได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. Line: @kubotacamp2018 2. FB Fanpage: KUBOTA Smart Farmer Camp และ3. www.siamkubota.co.th ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 พฤษภาคม 2561 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 097-176-1188 รับจำนวน 100 ท่านเท่านั้น ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดทั้งโครงการ

พาณิชย์ ชง ที่ประชุมกนป.เคาะ 5 มาตรการแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ 11 พ.ค. นี้ หวังดันให้ราคาผลปาล์มสูงขึ้นกว่า 3 บาทต่อก.ก.
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ว่า ในที่ประชุมเห็นชอบ 5 มาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่ได้รับผลกระทบจากราคาปาล์มตกต่ำลงเหลือกก.ละไม่ถึง 3 บาทโดยจะเสนอเข้าสู่ที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.) ที่มีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 นี้ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

สำหรับ มาตรการที่จะเข้าช่วยเหลือ ได้แก่ 1)การกำหนดมาตรฐานโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศให้โรงงานสกัดแยก (A) และโรงสกัดรวม (B) ต้องสกัดน้ำมันจากปาล์มทะลายได้ไม่ต่ำกว่า 18% หรือ 30%

2) ปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศผลักดันการส่งออก 3 แสนตัน ภายใน 4 เดือน 3) การพัฒนาคุณภาพปาล์ม ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมัน 4) การดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่มีสต็อกสูงเพื่อผลิตเป็นบี20 ให้ได้ปีละ 2.5 แสนตัน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างดำเนินการโดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ 2-3 เดือนต่อจากนี้
และ 5) มอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศเพิ่มความเข้มงวดของสินค้าผ่านแดน และป้องกันการนำเข้าน้ำมันปาล์มตามชายแดนไม่ให้เกิน 40,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ จาก 5 มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถดึงราคาปาล์มให้มีราคาสูงขึ้น หรือมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาทได้ อย่างไรก็ดี ยังได้สั่งการให้ตั้งคณะอนุกรรมการทำงานขึ้นมาศึกษาแผนรักษาเสถียรภาพปาล์มในระยะยาว เพื่อสร้างสมดุลระหว่างปริมาณและความต้องในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูก การต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร และ การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มเเละโอลิโอเคมี เป็นต้น

สำหรับ สถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันปัจจุบัน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์จะมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด 15.39 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบเปอร์เซนน้ำมันปาล์ม 18% ปริมาณ 2.71 ล้านตันCPO ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 2.34 ล้านตันCPO ซึ่งเป็นความต้องการใช้สำหรับการบริโภคและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการผลิตไบโอดีเซลปริมาณ 2.34 ล้านตันCPO จึงทำให้ปัจจุบันมีปริมาณสต๊อกส่วนเกิน อยู่ที่ 6 แสนตัน CPO

เมื่อเวลา 20.30น.วันที่ 9 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานมีพลเมืองดีแจ้งสำนักงานเกษตร จ.ระยอง ว่าจะมีรถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสัน ทะเบียน บน 1045 ระยอง บรรทุกทุเรียนอ่อนวิ่งมาจากอ.เขาชะเมา จ.ระยองมุ่งหน้าไปทางหมู่บ้านศิลาทอง หมู่ 10 ต.กองดิน อ.แกลง จ.ระยอง เพื่อจะหลบด่านตรวจทุเรียนอ่อนมุ่งหน้า จ.จันทบุรี เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ด่านตรวจประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เกษตร อ.แกลงพร้อมกำลังเข้าตรวจสอบ

ขณะที่รถยนต์กระบะบรรทุกทุเรียนมาเต็มคันรถ ยี่ห้อและทะเบียนตรงตามที่ได้รับแจ้ง เจ้าหน้าที่จึงส่งสัญญาณเรียกตรวจสอบทุเรียน โดยสุ่มตรวจผ่าทุเรียน 3 ลูก พบทุเรียนอ่อนทั้ง 3 ลูก เจ้าหน้าที่ใช้มีดสับเนื้อทุเรียนเป็นชิ้นเล็กๆใส่ภาชนะ นำเข้าตู้ไมโครเวป ผลเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำกว่า 32% เป็นทุเรียนอ่อน

เจ้าหน้าที่ด่านตรวจได้รายงานนายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอแกลง ทราบ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำรถบรรทุกทุเรียนอ่อนคันดังกล่าวพร้อมคนขับ ไปที่สภ.ปากน้ำประแสร์ เพื่อดำเนินคดีต่อไป

นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอขอให้พิจารณาปรับปรุงการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินของภาคเกษตรกรรม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560

จากกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายโดยเหมาร้อยละ 60 เป็นกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายโดยเหมาร้อยละ 85 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยขอให้การพิจารณาปรับปรุงมีผลบังคับใช้ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ ปีปัจจุบัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาเรื่องนี้ ปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้แจ้งเป็นหนังสือถึงสภาเกษตรกรแห่งชาติว่าการกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินแบบเหมาจ่าย

ไม่สามารถสะท้อนต้นทุนที่สูงของเกษตรกรได้ การที่เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพสูงนั้น การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจะสามารถสะท้อนต้นทุนได้ดีกว่า กรมสรรพากรจึงได้ดำเนินการให้คำแนะนำแก่เกษตรกรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร และการจัดทำเอกสารหลักฐานที่สามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษี นอกจากนี้ ได้จัดทำคู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ได้แสดงความกังวลต่อการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการหักรายจ่ายทางภาษีของเกษตรกรจึงให้แจ้งผลการพิจารณาข้อเสนอนี้ต่อสภาเกษตรกรจังหวัดทราบ และขอรับฟังความคิดเห็นต่อผลกระทบกับเกษตรกรต่อไป

ชาวประมงเฮ หลังสั่งพัฒนาระบบตรวจเอกสารแจ้งเข้า-ออกทำประมง ยันไม่กระทบประสิทธิภาพระบบตรวจประมงIUU-เตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขประมงไอยูยู คาดมีผล 17 พ.ค.นี้ ด้านสมาคมประมงวอนรัฐพิจารณามาตรการเร่งซื้อเรือ

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย พร้อมนำคณะกรรมการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยชุดใหม่เข้าพบ ณ ห้องประชุม 302 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ว่า ตามที่ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเข้า-ออกการทำประมง (PIPO) ประชุมหารือร่วมกับสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจเอกสารแจ้งเข้า-ออกเรือประมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชาวประมง และผู้ประกอบการประมงให้เกิดความรวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้นนั้น

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและสมาคมประมงฯ หารือในแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการพัฒนาระบบการตรวจเอกสารแจ้งเข้า-ออกเรือประมงให้สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในพื้นที่ และไม่ขัดกับข้อกฎหมาย โดยในส่วนเอกสารทั้งหมด 17 รายการ พบว่า มีจำนวน 10 รายการที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ PIPO สามารถสืบค้นได้จากระบบฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้ทันที เช่น ทะเบียนลูกจ้าง บัญชีคนประจำเรือ ใบรายงานตัวลูกจ้าง สัญญาจ้างแรงงาน ทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ เป็นต้น แต่ยังให้คงเอกสารตรวจเรือประมงที่ชาวประมงต้องสำแดงจำนวน 7 รายการ ได้แก่ บัญชีรายชื่อคนประจำเรือ (Seabook) สมุดบันทึกการทำประมง (Logbook) ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ การจ่ายค่าจ้าง ดังนั้น การปรับลดขั้นตอนการแสดงเอกสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลฐานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

“ การปรับระบบการตรวจเอกสารเข้า-ออกเรือประมงของศูนย์รับแจ้งเข้า-ออกการทำประมง (PIPO) จะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายพิจารณาในวันที่ 16 พ.ค.นี้ เพื่อให้มีผลปฏิบัติทันทีตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดภาระและอำนวยความสะดวกให้กับชาวประมง และมั่นใจว่ามาตรการนี้จะทำให้ชาวประมงที่ปฏิบัติดีได้รับความสะดวก ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะสามารถดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น และแสดงให้เห็นถึงการกำกับดูแลการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2559 มีการพัฒนาระบบการควบคุมการประมงและแรงงานดีขึ้น สามารถแยกน้ำดีออกจากน้ำเสียได้อย่างชัดเจน” พลเอกฉัตรชัย กล่าว

พลเอกฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมถึง ข้อเสนอของทางสมาคมฯ ให้รัฐบาลเร่งรัดการรับซื้อเรือคืนนั้น พบว่า ปัจจุบันมีเรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาตถูกล็อกอยู่ที่ท่า จำนวน 766 ลำ มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ซึ่งได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าและกรมประมงเร่งรัดติดตามเรือประมงที่ยังไม่ทราบสถานะที่ชัดเจน ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน เพื่อให้ได้จำนวนเรือชัดเจนแน่นอน ที่รัฐจะต้องใช้มาตรการบริหารจัดการ เช่น การควบรวมเรือ การแลกเปลี่ยนเรือ และการซื้อเรือคืน เพื่อให้แก้ปัญหาได้ตรงความต้องการของชาวประมงที่เป็นเจ้าของเรือแต่ละประเภท อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ พิจารณาดำเนินการต่อไป

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ จับมือบูรณาการหาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 – 2579 เน้นการเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ไม่น้อยกว่า 18% (OER ไม่น้อยกว่า 18%) และราคาจำหน่ายตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมกำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดปาล์มให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้าร่วมประชุมเพื่อบูรณาการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันขณะนี้ว่ายังมีปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ในโรงงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาผลผลิตปาล์มดิบของเกษตรกรลดลง

ประกอบกับเกษตรกรตัดทะลายปาล์มที่ยังไม่สุกไปจำหน่าย ทำให้อัตราการสกัดปาล์มน้ำมันดิบต่ำ จึงได้เร่งหาแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเน้นเรื่องการกำหนดอัตราการสกัดขั้นต่ำของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้อยู่ที่ 18% และราคาที่โรงงานรับซื้อเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของกระทรวงพาณิชย์

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้พิจารณาแนวทางการกำหนดราคาวัตถุดิบ การกำกับควบคุมลานเท และการบริหารสต๊อกน้ำมันปาล์ม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและให้ราคาเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการส่งออกเพื่อระบายสต๊อกออกไป และจัดทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด