กรณีพบบนกิ่งหรือที่โคนต้น ให้เกษตรกรถากหรือขูดผิว

เปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หากพบต้นที่ใบเริ่มมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา หรือใบเหลืองหลุดร่วง ให้ใช้สารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการของโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น หรือราดดินด้วยสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สลับกับสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ที่เป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนต้นที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ควรขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และราดดินด้วยสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้ตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงปลูกทดแทน ส่วนการเก็บผลทุเรียนต้องระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง เกษตรกรควรปูพื้นดินด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาดเพื่อวางผลทุเรียน วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับพื้นดินที่มีเชื้อสาเหตุโรคได้ และให้ระวังการขนย้ายไม่ให้เกิดบาดแผลขึ้นกับผลทุเรียน

อินทผลัม เป็นไม้ผลเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากอินทผลัมเป็นพันธุ์พืชต่างถิ่นจากต่างประเทศ แม้จะนำพันธุ์มาปลูกในไทยได้หลายปี แต่ยังถือเป็นพันธุ์ใหม่สำหรับคนไทย ดังนั้น หากใครสนใจที่จะปลูกไม้ผลชนิดนี้ ก็จำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้เพื่อเข้าใจธรรมชาติของไม้ผลชนิดนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คุณชัยอารีย์ วงศ์หาญ (เบอร์โทร./ไลน์ 082-198-2255) เจ้าของกิจการ “บ้านสวนอำพันธ์อินทผลัม” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นประธานชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ได้พาผู้เขียนแวะไปเยี่ยมชม “อินทผลัมสวนพูนทวี” อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนของ คุณสุภารวี ฐานจารุกาญจน์ และ คุณปาริชาติ ชาลีเครือ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งปัจจุบันรับตำแหน่งที่ปรึกษา ฝ่ายยุทธศาสตร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

คุณชัยอารีย์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “บังรี” รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเรื่องการปลูกดูแลต้นอินทผลัมให้กับสวนพูนทวีมานานหลายปีแล้ว บังรี เล่าว่า สวนพูนทวีนำเข้าอินทผลัมสายพันธุ์แท้จากอาบูดาบี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) มาปลูกในระยะแรก เช่น พันธุ์นาวาเดอร์ (Nawader) และพันธุ์กาซาอิ๊ฟ อัล อัสฟูร์ (Khasaif Al asfoor) หลังจากนั้น ผสมปรับปรุงพันธุ์จนได้อินผลัมลูกผสมจากต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ตั้งแต่เมื่อ 3-4 ปีก่อน เคยติดผลผลิตทะวายทั้งปี และได้ต้นลูกผสมเจนเนอเรชั่น (รุ่น) ที่ 1/1 และ 1/2 ออกมาให้เห็น มีทั้งลูกผสมชนิดต้นฤดู กลางฤดู และลูกผสมทะวาย ซึ่งยังต้องติดตามและศึกษากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม บังรี เชื่อว่า อินทผลัมจากต้นลูกผสมระหว่างต้นพ่อ ต้นแม่ ที่สามารถออกดอก/ผลทะวายทั้งปีนั้น มีโอกาสที่จะได้ลูกผสมที่มีพัฒนาการที่ดีและมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งลูกผสมชนิดทะวายทั้งปี ต้นฤดู และปลายฤดู ที่สำคัญต้นไหนเก็บผลผลิตช่วงฤดูร้อน มีนาคม-เมษายน เราจะได้เก็บผลผลิตสุกคาต้น คุณภาพทัดเทียมต่างประเทศได้อย่างแน่นอน

คุณสุภารวี ฐานจารุกาญจน์ และ คุณปาริชาติ ชาลีเครือ เจ้าของสวนพูนทวี ร่วมพูดคุยให้ข้อมูลเรื่องความเป็นมาของการปลูกอินทผลัมในสวนแห่งนี้ว่า โดยส่วนตัวแล้ว ทั้งสองท่านชื่นชอบการบริโภคอินทผลัมอย่างมาก เพราะเป็นไม้ผลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปัจจุบันสวนพูนทวีปลูกอินทผลัมหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งที่นำเข้าอินทผลัมต้นพันธุ์แท้จากตะวันออกกลางมาปลูก รวมทั้งปลูกอินทผลัมโดยใช้วิธีการเพาะเมล็ด ประมาณ 100 ต้น

ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ เข้าเยี่ยมชมและพันธมิตรต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฯลฯ เข้าเยี่ยมชมกิจการเป็นระยะ นอกจากนี้ ยังแบ่งพื้นที่บางส่วนปลูกไม้ผลนานาชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย แตงโมจินตหรา และมะขามเทศ ในอนาคตวางแผนเปิดสวนแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกอินทผลัม รวมทั้งปลูกผักสลัดออร์แกนิก ป้อนตลาดคนรักสุขภาพ

สำหรับอินทผลัมแต่ละชนิดที่ปลูกในสวนแห่งนี้ มีลักษณะเด่นแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง เช่น อินทผลัมพันธุ์นาวาเดอร์ เหมาะสำหรับรับประทานผลสดและทำผลแห้ง อินทผลัมนาวาเดอร์ที่ปลูกในสวนแห่งนี้มีคุณภาพดี ไม่แพ้กับอินทผลัมสายพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนอินทผลัมพันธุ์กาซาอิ๊ฟ อัล อัสฟูร์ สามารถรับประทานผลได้ 3 ระยะ โดยผลสดแก่จัด อาจมีรสติดฝาดเล็กน้อย แต่บางต้นก็มีผลสดรสชาติหวานกรอบพอดี ลักษณะเนื้อละเอียด ถูกใจลูกค้า

การปลูกดูแลอินทผลัม

บังรี แนะนำเรื่องการปลูกอินทผลัมว่า ควรเลือกซื้อพันธุ์อินทผลัมจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไปการปลูกอินทผลัม นิยมให้ปุ๋ยทางดิน โดยใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ทุกครั้ง และให้อาหารเสริมทางใบ หลักสำคัญคือองค์ประกอบและปัจจัย ถูกต้องเหมาะสม เช่น การให้ปุ๋ยและน้ำ การผสมเกสร แสงแดด อุณหภูมิ เป็นต้น

โดยทั่วไป ต้นอินทผลัม มักเกิดโรคเชื้อรา ใบจุดสีน้ำตาล อยู่เป็นประจำโดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือสภาพอากาศแปรปรวน น้ำค้างแรงกลางคืน ตกกลางวันร้อนอบอ้าว โรคจะระบาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การดูแลควรใช้ยาป้องกันโรคเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ แค็ปแทน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม ห่างกันทุกๆ 7-10 วัน ต่อครั้ง จนกว่าอาการระบาดจะลดลง

สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่สนใจอยากปลูกอินทผลัม บังรี ให้คำแนะนำว่า ควรหาเวลาศึกษารายละเอียด ลักษณะประจำพันธุ์ของอินทผลัมในแต่ละสายพันธุ์ ที่เกิดจากการเพาะขยายด้วยเนื้อเยื่อ สำหรับต้นอินทผลัมที่เกิดจากการเพาะเมล็ดนั้น ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพหรือดูด้วยสายตาได้ในเบื้องต้น เพราะมีความแปรปรวนของยีนลูกผสม (hybrid) ที่สลับซับซ้อนไม่แน่นอน การวิเคราะห์ในเบื้องต้น สามารถบ่งชี้ลักษณะทางกายภาพในเบื้องต้นเท่านั้น หากใครต้องการผลที่ชัดเจนถูกต้อง ต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์เรื่องพันธุกรรมพืช (DNA) เท่านั้น

บังรี กล่าวว่า อินทผลัม มีเรื่องให้ศึกษาเรียนรู้ไม่สิ้นสุด สำหรับมือใหม่ที่สนใจปลูกอินทผลัม ชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ยินดีทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้านการปลูกดูแลอินทผลัมให้กับผู้สนใจทุกท่าน เพื่อจะได้ร่วมกันเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอินทผลัมไปด้วยกัน เพื่อช่วยกันพัฒนาอินทผลัมไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป

สำหรับผู้สนใจเรื่องการปลูกดูแลอินทผลัม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก บังรี ประธานชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ได้ทางเฟซบุ๊ก “Chaiaree Wonghan” และ “Ayutthaya date palm” หรือเบอร์โทร. และไอดีไลน์ 082-198-2255 ได้ทุกวัน

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เปิดตัว แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์ แห่งแรก สาขาลาดกระบัง ต้นแบบห้างค้าส่งอัจฉริยะ โมเดลฟูดเซอร์วิส นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เชื่อมต่อพนักงาน+คู่ค้า+ลูกค้า แบบไร้รอยต่อเพื่อผู้ประกอบการ สร้างผลสัมฤทธิ์ 4 ด้าน ทั้งประสิทธิภาพการทำงาน การบริการที่ดีขึ้น ประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมประสิทธิภาพลดปัญหาสต๊อกขาด คิวยาว ควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีขึ้น พร้อมปรับสื่อภายในสาขารับสนามแข่งขันยุค 4.0 ด้วยอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้ประกอบการยุคใหม่

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของกลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร เรามีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับธุรกิจค้าส่งให้เติบโตไปพร้อมกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจของลูกค้าผู้ประกอบการ โดย แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์ สาขาลาดกระบัง ซึ่งเป็นสาขาแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อระบบปฏิบัติการ การบริหารจัดการร้านค้า พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า เข้าไว้ด้วยกัน”

“แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์ เป็นร้านค้าแบบฟูดเซอร์วิส ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด ทำให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ 4 ด้าน นั่นคือ บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในสาขา ประหยัดพลังงานในระยะยาว และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างประสบการณ์ความพึงพอใจรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าผู้ประกอบการยุคดิจิทัล ให้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ รวมถึงทำงานสอดคล้องกับแม็คโครแอปพลิเคชั่น ที่เพียงเดินเข้ามาในสาขาจะแจ้งเตือนให้ไม่พลาดทุกโปรโมชั่น หรือสิทธิพิเศษมากมาย”

แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์ สาขาลาดกระบัง ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 6,700 ตารางเมตร ออกแบบและวางระบบด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการภายในร้านค้าและการให้บริการต่างๆ ตั้งแต่จุดรับชำระเงิน ชั้นวางสินค้า การบริหารจัดการสินค้าคงคลังทั้งหน้าร้านและหลังร้าน การตรวจเช็คสินค้าราคา การสั่งสินค้าผ่าน อีคอมเมิร์ซ, การใช้ไฟฟ้าและการประหยัดพลังงานภายในสาขา ฯลฯ โดยติดตามผ่านการแสดงหน้าจอบนแผงตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติงาน

แม็คโครได้นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจใน 4 ด้าน คือ

– บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยี กล้อง AI อัจฉริยะ สำหรับตรวจสอบปริมาณสินค้าบนชั้นวาง เพื่อการเติมเต็มสต๊อกได้ทันท่วงที ลดโอกาสการสูญเสีย ลูกค้าจึงได้สินค้าอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังใช้ระบบคิวบัสเตอร์ ช่วยให้การชำระเงินทำได้รวดเร็ว ลดเวลารอคิวชำระเงินของลูกค้า

– เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในสาขา ด้วยเทคโนโลยี ป้ายราคาอัจฉริยะ ที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้รวดเร็วและแม่นยำเพียงแค่คลิก ประหยัดเวลาเปลี่ยนป้ายราคาที่สาขา, Picking Solution ระบบการส่งสินค้าที่รวดเร็วและแม่นยำ, ระบบทำความเย็นอัจฉริยะสำหรับตรวจจับความร้อนและทำความเย็นทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในตู้แช่ จึงทำให้คงความสด และคุณภาพสินค้าได้ยาวนานขึ้น

– ประหยัดพลังงานในระยะยาว ด้วยแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panel) ที่ผลิตไฟฟ้าให้สาขาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยให้สาขาประหยัดพลังงานและค่าไฟฟ้าได้ถึง 35%

– ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วย หน้าจอ Eco-Friendly แสดงผลการลดพลังงานภายในสาขา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 798,000 กิโลกรัมต่อปีของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ยังมีระบบทำความเย็นอัจฉริยะ ลดการใช้พลังงานจากระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ ด้วยการกระจายการทำงานเป็นชุดอิสระ ควบคุมและสั่งการผ่านระบบส่วนกลางที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านแท็บเล็ต รวมถึงจุดชาร์ตไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า บริเวณลานจอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อประหยัดพลังงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม พนักงานทุกคนในสาขาจะได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีทั้งหมดภายในสาขาอย่างเชี่ยวชาญ และในช่วงแรกพนักงานที่ได้รับการอบรมเหล่านี้จะคอยช่วยให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เพื่อให้มีความคุ้นเคย จนกว่าลูกค้าจะคุ้นเคยและสามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“แม็คโคร เชื่อมั่นว่าในยุคแห่งความท้าทายของธุรกิจค้าส่ง โอกาสการเติบโตในอนาคตข้างหน้าอย่างยั่งยืนจะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพเป็นสำคัญ โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลในการขับเคลื่อน ซึ่งแม็คโคร สาขาลาดกระบัง จะเป็นต้นแบบการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ บริษัทได้วางแผนขยายสาขารูปแบบนี้ หรือเลือกนำเทคโนโลยีบางส่วนปรับใช้กับสาขาที่สามารถทำได้เป็นลำดับต่อไปอีกด้วย”

ทั้งนี้ แม็คโครได้ประกาศเจตนารมณ์ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการดำเนินธุรกิจ ด้วยการเดินหน้ายกระดับสู่ “แม็คโคร 4.0 คู่คิด…เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ภายใต้แนวคิด “เคียงข้าง สร้างสรรค์ มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน” มุ่งเป็นที่หนึ่ง เรื่องการจัดหาสินค้า เพื่อผู้ประกอบการแบบครบวงจร โดยคัดสรรสินค้าที่หลากหลาย ครบครัน มีคุณภาพดี ในราคาที่คุ้มค่า ตอกย้ำเป้าหมายที่จะเป็นคู่คิดทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

นายสุรขัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการปล่อยข่าวลือตามชายแดนไทยว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ระบาดถึงไทยแล้ว ส่งผลในเชิงจิตวิทยาไปยังเกษตรกรหลายรายที่เร่งขายหมูก่อนเวลาอันควร ทำให้ระดับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรบางรายก็เว้นวรรคไม่ลงหมูเข้าเลี้ยง เพื่อเลี่ยงที่จะเผชิญความเสี่ยง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อปริมาณผลผลิตสุกรในประเทศ

“ระดับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงอย่างต่อเนื่องมาหลายสัปดา ห์แล้ว จากราคา กิโลกรัมละ 75 บาท ไล่ลงมาที่ 71 และ 69 บาท ตามลำดับ ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 68.4 บาท ใกล้จุดขาดทุนเต็มที ซึ่งเกิดจากภาวะข่าวลือดังกล่าวที่ทำให้เกษตรกรเกิดความตื่นตระหนก เนื่องจากโรคนี้สามารถทำลายฟาร์มเลี้ยงหมูได้ทั้งฟาร์ม เกษตรกรจึงหวาดกลัวกันมาก พากันเทขายออกมาและงดลงหมูเข้าเลี้ยง”

ทั้งนี้ ขอให้ทุกฝ่ายหยุดการปล่อยข่าวลือดังกล่าว เพราะหากทำเพื่อกดราคาซื้อหมูจากเกษตรกร ถือเป็นสิ่งที่ซ้ำเติมความเดือดร้อนของเกษตรกรที่มีความกังวลอยางยิ่งกับสถานการณ์โรค ASF ที่กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังต้องเพิ่มการเฝ้าระวังและวางระบบป้องกันโรค ASF ขั้นสูงสุด

ปัจจุบัน ปริมาณสุกรยังเพียงพอต่อความ ต้องการบริโภค และระดับราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง อยู่ที่ 138-140 บาท/กิโลกรัม นั้นเป็นค่าการตลาดด้วย โดยในหมู 1 ตัว ราว 100 กิโลกรัมอ จะมีส่วนที่เป็นเนื้อแดงซึ่งเป็นส่วนที่ขายได้ในราคาดีที่สุดเพียง 40 กิโลกรัม เท่านั้น

นายกสมาคมหมูระบุอีกว่า และ ASF ยังไม่ได้ระบาดเข้ามาในประเทศไทย และขอให้เกษตรกรรับฟังข้อมูลจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น อย่าหลงเชื่อข่าวลือ รวมทั้งขอให้ทุกฟาร์มปฏิบัติการตามระบบการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดดังที่ผ่านมา พร้อมทั้งขอร้องสื่อมวลชนและผู้คนในสังคม ออนไลน์ งดแชร์ภาพหมูป่วยในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยลดความตื่นตระหนกและตื่นกลัวของทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ได้ให้การรับรองข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ) ประกอบด้วย

ข้าวนาปี (ปีเพาะปลูก 2561/62) มีเนื้อที่เพาะปลูก 20 จังหวัด รวม 36,892,659 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 32,883,508 ไร่ ผลผลิตรวม 11,731,482 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 357 กิโลกรัม/ไร่ (ณ ความชื้น 15%) เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก 2560/61 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1 ส่วนเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงประมาณ ร้อยละ 2 ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลง ร้อยละ 4 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องมาจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62 จึงทำให้มีการนำที่นารกร้าง และที่ว่างเปล่า กลับมาทำนาอีกครั้ง ในขณะที่สถานการณ์ภาวะฝนทิ้งช่วงต้นฤดูกาล มีน้ำไม่เพียงพอ และเกิดอุทกภัยหลายพื้นที่ช่วงเดือนกันยายน 2561 จึงทำให้ผลผลิตลดลง

หอมแดง (ปีเพาะปลูก 2561/62) มีเนื้อที่เพาะปลูก 6 จังหวัด (ยโสธร อุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ) รวม 26,304 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 24,731 ไร่ ผลผลิตรวม 46,513 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,768 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก 2560/61 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกลดลง ร้อยละ 3 เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง ร้อยละ 8 ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง ร้อยละ 46 และผลผลิตรวมลดลง ร้อยละ 48 โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลงเนื่องมาจากเกษตรกรหันไปขายเป็นต้นหอม ประกอบกับมีการเกิดโรคและเชื้อรารบกวนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญส่งผลให้เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ และ ผลผลิตรวมลดลง

ยางพารา ปี 2561 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 20 จังหวัด รวม 5,570,276 ไร่ เนื้อที่กรีด 4,641,348 ไร่ ผลผลิตรวม 1,030,364 ตัน ผล ผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่กรีด 222 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับ ปี 2560 พบว่า เนื้อที่ยืนต้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 เนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 และผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่กรีดต่อไร่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 โดยเนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีต้นยางพาราที่ปลูกในปี 2554 สามารถเปิดกรีดได้แล้ว ประกอบกับปี 2561 ฝนไม่ตกชุกจึงไม่เป็นอุปสรรคในการกรีดยางพาราของเกษตรกร และส่วนใหญ่ต้นยางพาราอยู่ในช่วงอายุที่ให้อัตราน้ำยางเพิ่มขึ้น ผลผลิตต่อไร่และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น

สับปะรดโรงงาน ปี 2561 มีเนื้อที่เพาะปลูก 6 จังหวัด (เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ) รวม 46,001 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 44,886 ไร่ ผลผลิตรวม 198,054 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 4,412 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับปี 2560 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 เนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวต่อไร่ลดลง ร้อยละ 3 โดยเนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปี 2559 – กลางปี 2560 ราคาสับปะรดค่อนข้างดี เกษตรกรจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปี 2561 เกิดปัญหาสับปะรดราคาตก เกษตรกรจึงไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษา

นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้เห็นชอบข้อมูลพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระเทียม ปี 2561/62 ปาล์มน้ำมัน ปี 2561 และมันฝรั่ง ปี 2562 ซึ่งหลังจากนี้ คณะทำงานจะนำเสนอข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตรด้านพืชเพื่อพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตรพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นข้อมูลเอกภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัด

ท้องถิ่นที่ราบสูงแดนอีสาน สัมผัสนครงามลานวีรชนคนกล้า มนต์เสน่ห์แห่ง “เมืองย่าโม” ในสไตล์ “จ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร” ชวนม่วนอีหลีไปกับหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา บุกถิ่นด่านเกวียนชุมชนคนปั้นดินแห่งลุ่มน้ำมูล พร้อมสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน สมบัติอันล้ำค่าที่ควรอนุรักษ์

ม่วนคักมักหลาย กับเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมอีสาน ณ เมืองหญิงกล้าแดนย่าโม ถิ่นวีรสตรีไทยผู้อยู่ในหัวใจของชาวโคราช เยือนชุมชนคนปั้นดิน “บ้านด่านเกวียน” ชุมชนเก่าแก่แห่งลุ่มน้ำมูล สุดยอด 1 ใน 4 หมู่บ้าน OTOP ต้นแบบ ที่การันตีโดยฝีมือแชมป์เครื่องปั้นดินเผา โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ศิลปะการปั้นดินแบบนูนต่ำ ปั้นแต่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ต่อยอดสู่งานดีไซน์ไอเดียเก๋ จากนั้นไปชมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจรของกลุ่มไหมไทยหลุ่งประดู่ ภูมิใจกับผ้าทอลายมัดหมี่ สุดยอดผ้าทอโบราณ ของดี “บ้านหลุ่งประดู่สามัคคี” พร้อมพาไปชิมของดีฝีมือแชมป์อาหารพื้นถิ่น พรีเซนต์เมนูสุดแซ่บอีสาน นัวคักปลาร้าบองกับแกงผักหวานป่าไข่มดแดง ตามด้วยเปิปพิสดาร ดักแด้คั่ว มากินนำกันตามแบบฉบับคนโคราช ก่อนจะปิดท้ายความสนุกกับการแสดงพื้นบ้าน รำเซิ้งผ้าไหม พร้อมคึกคักกับโชว์เป่าแคนเสียงอีสาน สืบสานตำนานเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่พรรณาวิถีชีวิตของชาวภาคอีสานได้อย่างเสนาะหู

เที่ยวมักหลายแดนอีสาน สัมผัสเมืองงามถิ่นหญิงกล้าแห่ง จังหวัดนครราชสีมา ได้พร้อมกัน ในรายการ สมุดโคจร On The Way : ม่วนคัก ฮักISAN – นครราชสีมา EP.1 วันเสาร์ ที่ 20 กรกฎาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 28 (3SD) หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้