กรมพัฒนาที่ดิน ยินดีช่วยเหลือเกษตรกรว่าที่ร้อยตำรวจโทโนนุช

กรรมการและผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ร่วมหารือเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน กับ ท่านสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ณ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นไปอย่างอบอุ่น ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ท่านปราโมทย์ ยาใจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมหารือด้วย

หลังจากนั้น ท่านสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้นำ ว่าที่ร้อยตำรวจโท ดร.มนัส โนนุช เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ดิน ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาที่ดิน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บนถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงชุดดิน 62 ชุดในประเทศไทย วิวัฒนาการการสำรวจดิน การจัดทำอนุกรมวิธานดิน ปัญหาของดินในประเทศไทย และโครงการพระราชดำริอันเกี่ยวกับดิน เช่น โครงการ “แกล้งดิน” การใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดิน เป็นต้น

ว่าที่ร้อยตำรวจโท ดร.มนัส โนนุช กล่าวภายหลังการหารือว่า มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร เนื่องจากดินถือเป็นส่วนสำคัญในการทำการเกษตร องค์ความรู้ต่างๆ ของกรมพัฒนาที่ดิน อาทิ สารเร่ง พด. หญ้าแฝก พืชปุ๋ยสด ปอเทือง ถือว่ามีความสำคัญต่อการบริหารจัดการดินเป็นอย่างยิ่ง ในอนาคตอันใกล้ ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ จะนำเครือข่ายเกษตรกรมาศึกษาดูงานที่ พิพิธภัณฑ์ดิน อาคารกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อจะได้มีความรู้เกี่ยวกับชนิดต่างๆ ของดิน การแก้ปัญหาดิน และน้อมนำแนวพระราชดำริ ในการแก้ปัญหาเรื่องดินในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปปรับใช้ในการทำการเกษตรต่อไป

ประสานงานติดต่อ รองศาสตราจารย์ ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ (อาจารย์แมว) รองผู้อำนวยการ ศูนย์เกษตรหนึ่งใจ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ สำนักงานรองผู้อำนวยการ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

เกษตรจังหวัดลำปาง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ส่งมอบข้าวสารพระราชทานฯ จำนวน 290 กิโลกรัม แก่สำนักงานเกษตรอำเภอเพื่อนำไปจัดเลี้ยงประชาชนที่เข้าร่วมในพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ในพื้นที่ 5อำเภอ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ อำเภอเกาะคา อำเภอห้างฉัตร และอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

อำเภอดอกคำใต้เตรียมความพร้อมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.9 และการปลูกดอกดาวเรือง เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ท่าน โดยนายศักดิ์ชัย โชติมานนท์ นายอำเภอดอกคำใต้ นายบันเทิง เกิดศรี เกษตรอำเภอ นำเยี่ยมชมการปลูกดอกดาวเรือง พื้นที่ของนายวิเชษฐ์ วงศ์ประสิทธิ์ สจ.เขตดอกคำใต้ จ.พะเยา เมื่อเร็ว ๆ นี้

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)เป็นประธานเปิดการประชุมการอนุรักษ์พะยูนและอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลระดับประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

นายธัญญา กล่าวว่า แม้พะยูนจะเป็นสัตว์ป่าสงวน และอยู่ในบัญชี 1 ของบัญชีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์(ไซเตส) ห้ามค้าโดยเด็ดขาด แต่พะยูนในประเทศไทยยังจัดอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย และการทำลายแหล่งหญ้าทะเลอันเป็นแหล่งอาหารของพะยูน รวมทั้งการล่าและการติดเครืองมือประมงล้วนเป็นสาเหตุทำให้พะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันคาดว่าในน่านน้ำไทยมีพะยูนไม่เกิน 200 ตัว จากเดิม ก่อนหน้านี้เคยมีนับพันตัว โดยอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง เป็นแหล่งที่พบพะยูนมากที่สุด ประมาณ 130 – 150 ตัว เนื่องจากบริเวณดังกล่าว มีแหล่งหญ้าทะเลชนิดที่เป็นแหล่งอาหารหลักและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ในพื้นที่เกาะเสม็ด จ.ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ประมาณ 15 ตัว และในพื้นที่อ่าวไชยา จ.สุราษฎร์ธานีอีกประมาณ 10 ตัว

“ปัจจุบันยังพบว่ามีกลุ่มผู้ล่าพะยูนอยู่ เนื่องจากมีความเชื่อผิดๆ เช่น กระดูกพะยูน สามารถนำไปทำยาโด๊ป และรักษาโรคมะเร็ง ส่วนเขี้ยวพะยูน นำไปเป็นเครื่องรางของขลัง เนื้อพะยูนนำไปทานเป็นอาหารราคากิโลกรัมละ 150 บาท เมนูยอดนิยม คือ พะยูนผัดพริก ความเชื่อเหล่านี้ทำให้พะยูนยังเป็นที่ต้องการของตลาดมืด สิ่งที่จะช่วยแก้ไขได้คือการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่เป็นจริงว่า กระดูกหรือเขี้ยวพะยูนไม่สามารถนำไปรักษาโรคหรือเป็นเครื่องรางของขลังได้”

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้กรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ได้ติดสัญญาณดาวเทียมพะยูน 3 ตัวเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนเพื่อที่จะกำหนดแนวเขตในการอนุรักษ์ดูแลพะยูนอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำรวจประชากรพะยูนในประเทศไทยว่ามีอยู่ในจำนวนเท่าไร โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงเดือน ธันวาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561

ด้านนายณัฐพล รัตนพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนกิจการทางทะเลแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า สถานการณ์พะยูนเวลานี้ ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรเหลือน้อยเต็มที โดยพะยูนจะมีอายุขัยประมาณ 70 ปี ตั้งท้องใช้เวลา 13-18 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และออกทุก 3 ปีเท่านั้น พะยูน 1 ตัว ถ้าไม่ถูกเครื่องมือประมงทำลายจะออกลูกตลอดในช่วงชีวิต 70 ปีจะออกลูกได้แค่ 10 ตัว ทำให้จำนวนประชากรพะยูนมีไม่มากนัก ดังนั้นการสำรวจประชากรพะยูนเพื่อให้ทราบจำนวนที่แท้จริงจะได้หาแนวทางอนุรักษ์

ส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทยปี”61 คาดขยายตัว 3-5% รับอานิสงส์บอลโลก เอกชนหันลงทุนเมียนมาแทนเวียดนาม หลัง TPP สะดุด

นายถาวร กนกวลีวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มในปี 2561 จะขยายตัว 3-5% เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้น ส่งผลดีกับตลาดนำเข้า อีกทั้งปีหน้าจะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก ทำให้ความต้องการเสื้อกีฬาจะมีมากขึ้น เพราะผู้ส่งออกไทยเป็นผู้ผลิตให้กับเจ้าของ

เบรนด์สำคัญในสหรัฐและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักของการส่งออกกว่าคิดเป็น 50% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ทางสมาคมมีแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกโดยการไปโรดโชว์ในหลายตลาด เช่น ญี่ปุ่น จะนำเสนอสินค้าเทคโนโลยีในเชิงการออกแบบนวัตกรรม การใช้งานของสินค้าเครื่องนุ่งห่ม ส่วนตลาดยุโรปจะนำเสนอด้านแฟชั่น ดีไซน์ เป็นต้น

นายถาวรกล่าวว่า ในปี 2561 เมียนมาเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้ผลิตสนใจขยายการลงทุนเพิ่ม เนื่องจากมีนโยบายดึงดูดนักลงทุน รวมถึงกฎระเบียบการลงทุน การอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษด้านการส่งออกจากประเทศผู้นำเข้าด้วย

“ตอนนี้มีบริษัทเครื่องนุ่งห่มไทยไปลงทุนในเมียนมามากกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มจะขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นในปีหน้า ส่วนเวียดนามซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ไทยขยายไปมาก เพื่อรองรับความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิกหรือ TPP แต่ขณะนี้ TPP ยังไม่มีความชัดเจน ผู้ผลิตจึงหันไปให้ความสนใจลงทุนในประเทศที่ได้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนแทน ส่วนการลงทุนในกัมพูชายังไม่ขยายเพิ่ม เนื่องจากนโยบายค่าแรงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนไปลงทุน”

สำหรับภาพรวมการส่งออกเครื่องนุ่งห่มปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 0-1% เทียบเท่าปี 2559 ถือว่าปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งติดลบต่อเนื่อง เพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น ผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐมีปัญหาด้านเศรษฐกิจการส่งออกเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบตามไปด้วย และไทยไม่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า มีผลกระทบด้านการส่งออกทำให้ต้นทุนภาษีสูง การแข่งขันลำบากขึ้น แต่ปีนี้ผู้นำเข้า เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน ยังขยายตัวไปในทิศทางที่ดี จึงมองว่าการส่งออกปีนี้ยังเป็นบวกอยู่ และในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ STYLE 2017 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2560 เชื่อว่าจะผลักดันให้การส่งออกและขยายตลาดลูกค้าได้เพิ่มขึ้น แม้จะไม่ได้ตามเป้าที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปีที่คาดการณ์ว่าการส่งออกอยู่ที่ 2-3%

การส่งออกเครื่องนุ่งห่มเดือนสิงหาคม 2560 มีมูลค่า 203.20 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 0.96% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 205.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 8 เดือนแรกของปี (มกราคม-สิงหาคม 2560) มีมูลค่า 1,574.90 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 4.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 1,643.62 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดสหรัฐ ยังคงเป็นอันดับหนึ่งสัดส่วน 30% ยุโรป 20% ญี่ปุ่น 17% และประเทศอื่น ๆ เช่น กลุ่มประเทศในอาเซียน จีน ฮ่องกง เป็นต้น

กันยายน 60 ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มร้อยละ 7.03 ขณะที่ดัชนีราคาปรับตัวลง ร้อยละ 6.12 ดันดัชนีรายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับกันยายน 59 คาดตุลาคม ดัชนีรายได้เกษตรกรจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 59 ส่วนเดือนพฤศจิกายน 2560 จะยังทรงตัว

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งวัดจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรประจำเดือนกันยายน 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 6.12 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (กันยายน 2559) โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ สุกร ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับหลายพื้นที่มีฝนตกชุกต่อเนื่อง ทำให้การซื้อขายไม่คล่องตัว ส่งผลต่อความต้องการบริโภคชะลอตัวลงเล็กน้อย ไข่ไก่ ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นช่วงโรงเรียนปิดภาคเรียน ทำให้ปริมาณการบริโภคไข่ไก่ชะลอตัว กุ้งขาวแวน นาไม ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดปริมาณเพิ่มขึ้น และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ยังคงได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ประกอบกับมีการใช้วัตถุดิบชนิดอื่นทดแทนในการผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง

สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาครัฐขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้เข้าซื้อขายยางพารา ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น และ ไก่เนื้อ ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย l สำหรับเดือนตุลาคม 2560 คาดว่า ดัชนีราคาจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2559 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลองกอง สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ในขณะเดียวกันแนวโน้มเดือนพฤศจิกายน 2560 คาดว่าดัชนีราคาลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ อาทิ ข้าวนาปี และยางพารา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนกันยายน 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (กันยายน 2559) สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม ส่วนสินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ลองกอง และเงาะโรงเรียน สำหรับเดือนตุลาคม 2560 คาดว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรจะลดลงเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2559 โดยสินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ในขณะที่แนวโน้มเดือนพฤศจิกายน 2560 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ภาพรวมดัชนีรายได้ของเกษตรกร เดือนกันยายน 2560 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2559 ร้อยละ 0.48 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.03 และดัชนีราคาปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.12 โดยในเดือนตุลาคม 2560 คาดว่าดัชนีรายได้เกษตรกรจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2559 ในขณะที่แนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรเดือนพฤศจิกายน 2560 คาดว่าอยู่ในระดับทรงตัว

กรมป่าไม้นับหนึ่งลุยร่างยุทธศาสตร์และแผนส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ ที่จะรวมไม้ยูคาลิปตัส-ยางพาราและอื่น ๆ ให้เป็นไม้เศรษฐกิจ วางเป้าหมายทั้งยุทธศาสตร์-แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคอุตสาหกรรมไม้ต้องเสร็จทันรัฐบาลชุดนี้ ด้านเอกชนติงให้รัฐแก้ไขตั้งแต่คำนิยามของป่า และควรส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้ที่ป้อนการผลิตพลังงานทดแทนด้วย

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมป่าไม้และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษา ได้เปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อร่างยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร ที่จะนำไปสู่การปลดล็อกให้กับอุตสาหกรรมไม้และสร้างมูลค่าให้กับไม้เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 26 ล้านไร่ เพิ่มรายได้เฉลี่ยของเกษตรผู้ปลูกไม้เศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 420,000 บาท/คน/ปี และให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคป่าไม้ของประเทศไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ จัดหาพื้นที่รองรับการขยายตัว เพิ่มมาตรการทางการคลัง การเงิน รวมถึงระบบตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจ นอกจากนี้ต้องพัฒนาเกษตรกรและผู้ประกอบการไม้เศรษฐกิจ และพัฒนาระบบการรับรองป่าไม้ จากเดิมที่ไม่มีหน่วยงานมารับรอง

สาระสำคัญของร่างดังกล่าวแบ่งออกเป็น 7 ยุทธศาสตร์สำคัญคือ

1) พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ มีกฎหมายออกมากำกับดูแลทั้งระบบ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจทั้งในและนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ควบคู่กับสร้างขีดความสามารถการแข่งขันด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ 2) จัดเตรียมพื้นที่รองรับการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ เพื่อกำหนดพื้นที่ส่งเสริมให้ชัดเจน ลดความขัดแย้งด้านปัญหาที่ดินป่าไม้ 3) พัฒนามาตรการทางการคลัง การเงิน และระบบตลาด สร้างแรงจูงใจในการปลูกไม้เศรษฐกิจ กำหนดมาตรการทางการคลัง การเงินเพื่อส่งเสริมการปลูก 4) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรและผู้ประกอบการ ผลักดันให้มีการตั้งกลุ่ม เช่น สมาคม ชมรม เครือข่ายเพื่อส่งต่อความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ 5) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ 6) เพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารงานเพื่อส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ และ 7) พัฒนาระบบรับรองป่าไม้ คือ การขึ้นทะเบียน การรับรองที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้จะเร่งผลักดันยุทธศาสตร์ไม้เศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรมภายในรัฐบาลชุดนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะเน้นเพิ่มพื้นที่ป่า และการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพราะในอนาคตมีการประเมินแล้วว่าสวนป่าธรรมชาติจะลดลง สำหรับพื้นที่ป่าเศรษฐกิจตามร่างนี้คือ พื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ และพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม ซึ่งจะต้องมาพิจารณาว่าจะบริหารจัดการอย่างไร และสิ่งสำคัญที่จะต้องผลักดัน

คือ กฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมไม้ ทั้งนี้สำหรับชนิดของไม้ที่จะกำหนดให้เป็นไม้เศรษฐกิจ ในเบื้องต้นจะรวมไม้ยูคาลิปตัสและไม้ยางพาราเข้ามาไว้ในร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย

“กรมป่าไม้รวบรวมข้อมูลมากว่า1 ปี แต่การผลักดันยุทธศาสตร์รอบนี้ ถือเป็นความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะเห็นภาพชัดขึ้นเร็ว ๆ นี้ หลังจากนี้จะลงลึกถึงว่าหน่วยงานใดที่จะเข้ามาดูแล และนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งต้องรอดูว่าร่างดังกล่าวรวมไปจนถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่จะจัดทำจะผ่านการพิจารณาจากรัฐบาลหรือไม่”

ด้านนายวัฒนพงษ์ ทองสร้อย สมาคมการค้าชีวมวลไทย กล่าวว่า files-store.com ต้องการให้ภาครัฐปรับปรุงตั้งแต่คำนิยามของคำว่าป่า ในพระราชบัญญัติป่าไม้ที่ใช้ในปัจจุบันให้ชัดเจนมากขึ้น และเพิ่มเติมนิยามของป่าเศรษฐกิจให้ชัดเจนด้วย รวมถึงการกำหนดไม้บางประเภทว่าเป็น “ไม้หวงห้าม” นั้น ภาคเอกชนมองว่าจะหวงห้ามทำไม ในเมื่อไม้เหล่านั้นมีประโยชน์และมีมูลค่า

นอกจากนี้ในร่างดังกล่าวไม่มีการระบุถึงการใช้ประโยชน์จากไม้ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนที่กำลังขยายตัวต่อเนื่อง และขอให้เพิ่มรายละเอียดส่วนนี้ลงไปด้วย นายอุทัย นพคุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกันเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรและอาหารนั้น กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างจากแหล่งผลิตพืชทั่วประเทศ ทั้งหมด 196 ชนิดพืช รวม 4,518 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 – กรกฎาคม 2560 แบ่งเป็น

แปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (จีเอพี) จำนวน 1,608 ตัวอย่าง และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐานจีเอพี จำนวน 2,904 ตัวอย่าง และแปลงเกษตรอินทรีย์ (ออแกนิค) จำนวน 6 ตัวอย่าง ทั้งนี้สรุปผลการตรวจสอบพบว่าผ่าน ผัก ผลไม้ ผ่านมาตรฐานปลอดภัย 100% เช่น หอมแดง มะเขือยาว ผักสลัด/ไฮโดรโพนิกส์ ผักกาดหอม กระเจี๊ยบเขียว บลอคโคลี ชะอม ถั่วแขก เห็ด กล้วย สตรอเบอร์รี ส้มโอ เป็นต้น สินค้าเกษตรที่เก็บจากแปลงที่ได้มาตรฐาน จีเอพี ผ่านมาตรฐานสารพิษตกค้าง 92.2 % และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐาน จีเอพี ผ่านมาตรฐาน 93.6% ส่วนแปลงเกษตรอินทรีย์ 6 แปลง ไม่พบสารตกค้างทั้งหมด

นายพิศาล พงศาพิชณ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ผักผลไม้ที่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน สูงกว่าผักผลไม้อื่น พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานประมาณ 7% ของตัวอย่างทั้งหมด ในขณะที่ผักผลไม้บางชนิด เช่น คะน้า 8% พริก 14% มะเขือเทศ 15% กะเพรา/ โหระพา 18% ผักชี 24% ผักชีฝรั่ง36% มะม่วง 8% ลำไย 9% แก้วมังกร 15% ฝรั่ง 18% มังคุด 26% และองุ่น 29% เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชที่ยังมีมาตรฐานสารพิษตกค้าง (MRLs) กำหนดไว้น้อยมาก ซึ่งผลการพบสารพิษตกค้างนั้นแม้พียงปริมาณน้อยๆ ก็สรุปว่าเกินมาตรฐานแล้ว สินค้าที่พบสารตกค้างเกินมาตรฐานส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทพืชผักสวนครัว ซึ่งบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีการเพาะปลูกในประเทศอื่นๆ จึงยังไม่มีข้อมูลการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อกำหนดมาตรฐาน ในเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. จะเร่งดำเนินการกำหนดมาตรฐานตามหลักสากลร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้ในการกำหนดค่ามาตรฐานต่อไป

นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สธ. ได้สำรวจผลผลิตด้านการเกษตร ที่เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร 130 ชนิดรวมน้ำอีก 1 ชนิดเป็น 131 ชนิดที่คนไทยรับประทานประจำ ที่นำมาประกอบอาหารทั้ง หุง ต้ม ลวก ผัดและย่าง เอประเมินความเสี่ยงของอาหารที่บริโภคเป็นประจำ พบว่า คนไทยปลอดภัยไม่ได้รับสารพิษตกค้าง จากอาหารที่บริโภค ตลอดชั่วอายุคนหากบริโภคให้ถูกสุขลักษณะ คนไทยจะปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในอาหารต่างๆ สารพิษตกค้างชนิดที่พบสูงสุด พบเพียงไม่เกิน 15% ของค่าปลอดภัย และส่วนใหญ่พบไม่ถึง 1% ของค่าปลอดภัย

ซึ่งหากพบสารพิษตกค้างมากกว่า 100% ของค่าปลอดภัย บ่งชี้ว่าการปนเปื้อนโลหะหนักจากอุตสาหกรรมการผลิตภาคเกษตร และการกำกับดูแลควบคุมการใช้สารเคมีต่างๆ ที่เป็นปัจจัยการผลิตของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าว และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ในระยะต่อไป กระทรวงเกษตรฯ และ กระทรวงสาธารณสุข จะร่วมมือกันในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค ทั้งจากแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องต่อไป

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯยกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรพระเมรุมาศ 18 ต.ค. พร้อมเปิดให้สื่อเข้าชมความสง่างามสมบูรณ์ 20 ต.ค. ย้ำหลังงานพระราชพิธีฯจัดนิทรรศการ 2-30 พ.ย.เปิดให้ทั้งคนไทยต่างประเทศเข้าชม

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า งานก่อสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะพระเมรุมาศที่ยังเหลือนั่งร้านไว้ตรงกลาง โดยวันที่ 17 ต.ค. จะมีการซักซ้อมยกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ก่อนที่วันที่ 18 ต.ค. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินยกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งเมื่อพิธียกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะรื้อนั่งร้านออก ซึ่งทุกอย่างก็จะเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการและวันที่ 20 ต.ค. จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าชมความสมบูรณ์ของการก่อสร้างทั้งหมด