กรมวิชาการเกษตรแนะวิธีป้องกัน โรค-แมลงฟ้าทะลายโจร

กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยองค์ความรู้เรื่อง “คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตฟ้าทะลายโจร” เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจนำไปปรับใช้ผลิตฟ้าทะลายโจร ให้ได้ผลผลิตที่่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ภายในคู่มือประกอบด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ฟ้าทะลายโจร สารสำคัญในฟ้าทะลายโจร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืช 1. โรคพืชสำคัญของฟ้าทะลายโจร

โดยทั่วไป ต้นฟ้าทะลายโจรที่มีอายุ 2-3 เดือน ไม่ค่อยพบการระบาดของโรค แต่จะพบโรคมากในช่วงออกดอกจนถึงติดฝัก ซึ่งเป็นโรคที่พบมาก มีดังนี้

1.1 โรคโคนเน่าและรากเน่า เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phytohpthora sp. ลักษณะอาการ ต้นเริ่มเหี่ยว เหลือง ใบร่วง โคนต้นมีอาการเน่าและต้นตาย มักพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม แนวทางป้องกันกำจัดโรค ต้องใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma harzianum อัตราตามคำแนะนำหรือหากรุนแรงมากให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแลกซิล ราดตามคำแนะนำในฉลาก

เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. ลักษณะอาการ ใบของฟ้าทะลายโจรจะมีจุดแผลแห้งเล็กๆ สีน้ำตาลและขยายเป็นงวงซ้อนกันเป็นชั้น การป้องกันกำจัด เมื่อพบให้ถอนทิ้งและโรยปูนขาวป้องกันการแพร่ระบาด และใช้เชื้อรา บาซิลลัส ซับทิลิส (บีเอส) ฉีดพ่นในอัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากรุนแรงมากให้ใช้สารกำจัดเชื้อแมนโคเซป หรือไธอะเบนดาโซล ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก

ลักษณะอาการ ต้นฟ้าทะลายโจรจะมีใบสีเหลืองซีดเป็นกลุ่มๆ ต้นจะไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น เป็นต้น การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรคให้ถอนทำลายหรือเผาทิ้งทันที เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของไวรัส

2.1 หนอนเจาะสมอฝ้าย

การเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวตามส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ใบ ก้านใบ และยอดอ่อน หนอนวัยแรกจะกัดกินทำลายต้นอ่อน การป้องกันกำจัด เมื่อพบการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายที่ความเสียหายระดับเศรษฐกิจ คือพบหนอนมากกว่า 1 ตัวต่อ 2 ต้น หรือไข่มากกว่า 1 ฟองต่อต้น ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อไวรัสนิวเคลียโพลีฮีโดรซีส อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่น 1 วันก่อนเก็บเกี่ยว หรือใช้สารคลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดฉีดพ่นสาร 7 วันก่อนเก็บเกี่ยว

การเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสือกลางคืน วางไข่เป็นกลุ่มสีน้ำตาล คล้ายฟางข้าว กัดกินทุกส่วนของพืช ทำลายได้รวดเร็ว หนอนจะเข้าดักแด้ในดิน การป้องกันกำจัด หากเป็นระยะที่ไม่รุนแรง ให้ใช้เชื้อบีที Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือเชื้อ Bacillus thuringiensis subsp.Kurstaki อัตรา 60-80 กรัมต่อ 20 ลิตร หรือใช้สารธรรมชาติ ได้แก่ เมล็ดสะเดา ฉีดพ่นในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงช้างปีกใส และด้วงเต่า ตัวห้ำ

เมื่อพบการระบาดของหนอนกระทู้หอม ที่ความเสียหายระดับเศรษฐกิจ คือพบหนอนมากกว่า 1 ตัวต่อ 2 ต้น หรือกลุ่มไข่มากกว่า 1 กลุ่มต่อ 2 ต้น ฉีดพ่นด้วยเชื้อไวรัสนิวเคลียโพลี ฮีโดรซีส อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดฉีดพ่น 1 วันก่อนเก็บเกี่่ยว หรือสารคลอร์ฟลู อาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดฉีดพ่นสาร 7-8 วันก่อนเก็บเกี่่ยว

2.3 เพลี้ยหอย และเพลี้ยอ่อน

การป้องกันกำจัด โดยฉีดพ่นสารสกัดสะเดา หรือไวท์ออยล์

3. วัชพืช

วัชพืชที่พบมากมี 3 ประเภท คือ

3.1 ประเภทใบแคบ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าแพรก หญ้าไผ่

3.2 ประเภทใบกว้าง ได้แก่ หญ้ายาง ผักปราบ หญ้าเขมร สาบแร้งสาบกา ผักกะสัง ผักโขมหนาม ผักเสี้ยนผี ผักโขม ลูกใต้ใบ น้ำนมราชสีห์ หูปลาช่อน เงี่ยงป่า ตำแย บานไม่รู้โรยป่า หญ้าละออง สะอึก ปอวัชพืช มะระขี้นก

3.3 ประเภทกก แห้วหมู กกดอกเขียว ตะกรับ การป้องกันกำจัดวัชพืช มี 2 วิธี คือ

วิธีเขตกรรม :

1. ไถเตรียมดินก่อนปลูก อาจทำการไถ 1-2 ครั้ง ครั้งแรกไถกลบกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ ตากดินทิ้งไว้เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ทำการไถหรือคราด ครั้งที่สอง เพื่อกำจัดต้นอ่อนวัชพืชที่งอกขึ้นมาหลังการไถครั้งแรก จากนั้นจึงปลูกพืชทันทีเพื่อช่วยลดปริมาณวัชพืชได้ระดับหนึ่ง 2. ใช้วัสดุคลุมดิน เช่น การใช้ฟางข้าว เปลือกถั่ว เศษพืชและแกลบ เป็นต้น คลุมดินทันทีหลังปลูกพืช จะช่วยควบคุมวัชพืชบางชนิดและช่วยรักษาความชื้นในดิน

วิธีกล : การใช้แรงงานหรือเครื่องมือกล การใช้มือถอนหรือใช้จอบถาก อาจทำ 1-2 ครั้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือเหง้า เช่น แห้วหมู ควรเก็บออกให้มากที่สุด หากพบวัชพืชในแปลงเพาะเมล็ดหรือแปลงปลูกแบบหว่าน ให้กำจัดโดยใช้มือถอน ส่วนในแปลงปลูกแบบโรยเป็นแถว แบบหยอดหลุมและแบบปลูกด้วยต้นกล้า ซึ่่งมีระยะปลูกใช้การถอนหรือใช้เครื่องมือช่วย ควรทำการพรวนดินเข้าโคนต้นไปพร้อมกัน

ดอกกันจอง หรือ ตาลปัตรฤๅษี เป็นพืชผักพื้นบ้านที่เจริญงอกงามได้ดีในท้องนา จึงมักเก็บมาเป็นอาหารในครัวเรือนหรือขายเป็นรายได้ เป็นอีกหนึ่งพืชผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลาย เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตไว ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลตอบแทนคุ้มทุน

เกษตรกรในพื้นที่บ้านบางชัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนามาปลูกดอกกันจองในเชิงการค้า สร้างรายได้กว่าเดือนละหมื่นบาท ดอกกันจองเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของท้องถิ่น เป็นหนึ่งอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ ช่วยเสริมสร้างรายได้สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง จึงนำเรื่อง ดอกกันจอง…พืชผักพื้นบ้าน ผักปลอดภัย ปลูกขายรายได้ดี มาบอกเล่าสู่กัน

ป้าประภารัตน์ บุญเลิศ เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกดอกกันจอง พืชผักพื้นบ้าน เธอมีอาชีพหลักคือ ทำนา 29 ไร่ ปีละ 2 ครั้ง ปลูกข้าวพันธุ์ กข 31 และ ข้าวพันธุ์ กข 47 แต่การทำนาต้องใช้น้ำปริมาณมาก รายได้ไม่มั่นคง เธอจึงมองหาอาชีพเสริม พบว่า ดอกกันจองเจริญเติบโตพร้อมกับต้นข้าวในท้องนาที่เก็บมาเป็นอาหารเครื่องเคียงกินกับน้ำพริกในครัวเรือนบ่อยๆ

ประกอบกับพ่อค้าคนกลางที่เข้ามาซื้อผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนได้แจ้งความประสงค์ว่าต้องการรับซื้อดอกกันจองเพื่อนำไปขาย จะปลูกและผลิตให้ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาข้อดี-ข้อด้อย และการมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน เมื่อปี 2557 จึงได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่นา 1 ไร่ มาปลูกดอกกันจองขาย เพื่อเป็นพืชทางเลือกในการเสริมรายได้ถึงทุกวันนี้

เธอคัดเลือกต้นพันธุ์ดอกกันจองที่สมบูรณ์ ปลอดโรค ที่มีอยู่ในแปลงนามาปลูก วิธีการเก็บต้นพันธุ์ ให้จับโคนต้น แล้วค่อยๆ ดึงขึ้นมาตรงๆ เพื่อไม่ให้ต้นพันธุ์ช้ำ นำมาแช่น้ำไว้ในภาชนะ เพื่อช่วยเก็บรักษาความสดของต้นพันธุ์ไว้ให้ได้นานก่อนนำไปปลูก

การปลูกดอกกันจอง เตรียมดินปลูกด้วยการตีเทือกเหมือนการทำนาทั่วไป แปลงนาจะเป็นดินตม ดินอ่อน และควรมีน้ำขังในแปลงนาด้วย วิธีการปลูก ใช้วิธีการปักดำ ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 50×50 เซนติเมตร หรือ 1 ศอก

หลังจากปลูก 7 วัน จะเริ่มทยอยเก็บดอกกันจองไปขาย ดอกกันจองจะมีให้เก็บเกี่ยวได้เกือบทุกวัน แต่ละครั้งจะเก็บดอกกันจองได้ 250-270 ดอก นำดอกกันจองมาจัดเป็นกำ 1 กำ มี 12 ดอก แล้วจัดดอกกันจองใส่ถุงพลาสติกสะอาด 10 กำต่อถุง จะได้ 25-27 ถุง นำไปขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง 15 บาทต่อถุง ทำให้มีรายได้ 375-405 บาทต่อวัน หรือมีรายได้โดยเฉลี่ย 11,250-12,150 บาทต่อเดือน เป็นรายได้เสริมที่ทำให้วิถีครอบครัวมีความมั่นคง

คุณทองอุไร เอี่ยมลออ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เล่าให้ฟังว่า ดอกกันจองเป็นพืชผักพื้นบ้านปลอดภัย ซึ่งในกระบวนการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตดอกกันจอง ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตฮอร์โมนนมใช้ วัสดุที่ผลิตจะมี นมกล่องชนิดจืด ขนาดบรรจุ 250 มิลลิลิตร 3 กล่อง กากน้ำตาล 1 แก้วน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง 10 ช้อนแกง และผงปรุงรสอาหาร 1 ช้อนแกง นำวัสดุทั้งหมดใส่ภาชนะที่สะอาดคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน เทใส่ขวดสีชา ปิดฝา หมักไว้ 10 วัน ระหว่างนี้ต้องคอยเปิดฝาเพื่อช่วยระบายก๊าซในขวดออก เมื่อครบกำหนดจะได้หัวเชื้อฮอร์โมนนมคุณภาพ เมื่อต้องการนำไปใช้งาน ให้นำไปผสมกับน้ำ ใช้ได้ประมาณ 20 ครั้ง

วิธีการใช้ เตรียมถังที่สะอาด ใส่น้ำลงไป 20 ลิตร นำหัวเชื้อฮอร์โมนนม 5 ช้อนแกง ใส่ลงไป ใช้ไม้คนให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่นทุก 15 วันต่อครั้ง จะได้ดอกกันจองอวบ กรอบ และอร่อย การผลิตหัวเชื้อฮอร์โมนนมใช้เป็นหนึ่งทางเลือกในการลดต้นทุนการผลิตที่ทำให้ได้ผลตอบแทนคุ้มทุน และนำไปสู่การยกระดับรายได้เพื่อการมีวิถีชีวิตที่มั่นคง

สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ ป้าประภารัตน์ บุญเลิศ เกษตรกรผู้ปลูกดอกกันจอง เลขที่ 171 หมู่ที่ 6 บ้านบางชัน ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทร. 087-669-0144 หรือที่ คุณทองอุไร เอี่ยมลออ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทร. 089-801-4214 ก็ได้นะครับ

สภาพอากาศในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบติด หรือโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบบนใบ มีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง

กรณีที่มีความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบติด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบติด ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้นให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเพนทิโอไพแรด 20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูไตรอะฟอล 12.5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้นให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้ต้นทุเรียนได้รับแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการระบาดของโรค อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

เวียงแก่นเป็นอำเภอสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่เป็นแหล่งปลูกส้มโอมีคุณภาพสูงอันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เหมาะสม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

พื้นที่ปลูกส้มโอของอำเภอเวียงแก่น มีประมาณ 8,000 ไร่ ให้ผลผลิต 7,797 ไร่ หรือประมาณ 27 ล้านลูก ตลาดส้มโอเวียงแก่นที่ส่งขายในประเทศ ได้แก่ ห้างค้าส่งใหญ่ ตลาดขายส่งในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัด ห้างโมเดิร์นเทรด ส่วนตลาดต่างประเทศส่งออกไปยังตลาดในแถบเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน

ขณะเดียวกัน ยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศยุโรป หรืออียู และอีกหลายแห่งในอนาคต สร้างความสนใจและจริงจังให้กับชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกส้มโออย่างมีคุณภาพ แล้วมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มภายใต้การกำกับดูแลของภาคราชการที่รับผิดชอบเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกส้มโออย่างมีระบบ ได้มาตรฐาน

“ส้มโอแปลงใหญ่ตำบลหล่ายงาว” เป็นอีกกลุ่มที่มีผลงานปลูกส้มโอได้ดีมีคุณภาพมายาวนาน ได้รับการส่งเสริมจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอเวียงแก่น จำกัด

คุณอาทิตย์​ อินเทพ​ คณะกรรมการ​สหกรณ์​ ให้ข้อมูลว่า ส้มโอที่ได้รับการส่งเสริมจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอเวียงแก่น จำกัด คือผ่านมาตรฐานความปลอดภัยด้านการผลิต GAP และการรับรองความปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการผลิตออกสู่การตลาดเป็นส้มโอที่ได้มาตรฐาน GMP ไปถึงผู้บริโภคด้วยความปลอดภัย

สหกรณ์มีการรวมกลุ่มสมาชิกในนามกลุ่มแปลงใหญ่ส้มโอตำบลหล่ายงาว มีสมาชิกทั้งหมด 140 คน พื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 864 ไร่ พันธุ์หลักที่ปลูกคือ ทองดี ขาวใหญ่ และเซลเลอร์ ระยะปลูก 7 คูณ 7 เมตร ได้จำนวน 35 ต้นต่อไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 100 ลูกต่อต้น

ส้มโอเวียงแก่นทุกสายพันธุ์ที่ปลูก เป็นส้มโอที่มีน้ำหนักดี รสชาติเปรี้ยวอมหวาน โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พบว่ารสเปรี้ยวของส้มโอในพื้นที่นี้มีวิตามินซีสูงกว่าแล้วเกิดประโยชน์มากกว่าแหล่งอื่น ทั้งยังมีผิวสวยเพราะปลูกแบบลดใช้สารเคมี ด้วยการห่อผล ตั้งแต่อายุ 2-7 เดือน

ทั้งนี้ แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ดังนี้ 1. พันธุ์ขาวใหญ่ มีลูกใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอม เมล็ดน้อย แกะง่าย มีน้ำมาก แต่ไม่แฉะ รับประทานแล้วชุ่มคอ ผลที่สมบูรณ์ เมื่อสุกได้ขนาดจะมีน้ำหนักประมาณ 1.4-2.5 กิโลกรัม ผิวมีต่อมน้ำมันใหญ่ สีเขียวอมเหลือง มีกุ้งใหญ่สีขาวอมเหลืองเล็กน้อย แกะออกจากเปลือกง่าย 2. พันธุ์ทองดี มีเอกลักษณ์ ทรงผลกลมแป้น สีผิวเขียวอมเหลือง ไม่มีจุก สุกเต็มที่ผลมีสีเหลืองอมเขียวเล็กน้อย น้ำหนักประมาณ 1.0-2.0 กิโลกรัม เปลือกบางเนื้อหรือกุ้งมีสีชมพูอ่อน เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ หากทิ้งไว้นานจะมีรสชาติหวาน ชาวจีนนิยมซื้อเป็นมงคล และ 3. พันธุ์เซลเลอร์ เป็นส้มโอลูกผสม ที่นำเข้ามาจากฮาวาย ผิวผลเมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีแดง เป็นส้มโอที่รสชาติหวาน น้ำหนักประมาณ 1.0-2.0 กิโลกรัม เปลือกบางเนื้อหรือกุ้งมีสีแดงสด เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ ทิ้งไว้นานจะมีรสหวาน ชาวจีนนิยมซื้อเป็นมงคล

ผลผลิตส้มโอเวียงแก่นเริ่มออกสู่ตลาดเดือนเมษายนจนถึงพฤศจิกายน ช่วงที่ผลผลิตมีมากคือเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี ทั้งนี้ ผลผลิต 30 เปอร์เซ็นต์ ขายในประเทศ และ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกตลาดเอเชีย อย่าง จีน เวียดนาม ฮ่องกง เขมร และญี่ปุ่น นอกจากนั้น ยังส่งขายประเทศแถบยุโรป หรืออียู แล้วยังเปิดตลาดแห่งใหม่ที่ประเทศดูไบ

คุณภาพการตัดเก็บผลผลิตจากต้นถ้าส่งขายในประเทศประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดต่างประเทศไม่ต่างกันประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิในตู้คอนเทนเนอร์ได้ แต่ที่สำคัญผู้ซื้อต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรปจะให้ความสำคัญเรื่องโรคแคงเกอร์กับจุดดำเป็นหลัก ซึ่งทางกลุ่มสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนขนาดผลทางยุโรปไม่ต้องการผลใหญ่ แต่นิยมผลขนาดกลางมากกว่า

กลุ่มส้มโอแปลงใหญ่ตำบลหล่ายงาว ปลูก ดูแล สมัครเล่น GClub และเก็บผลผลิตตามมาตรฐาน GAP มีโรงคัดบรรจุตามมาตรฐาน GMP อีกทั้งยังเป็นส้มโอที่รับรองปลอดสารเคมีเพราะผ่านการตรวจสอบสารพิษตกค้าง 4 กลุ่มหลัก ของผลผลิตส้มโอ ซึ่งรับรองโดยบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย จำกัด สาขาเชียงใหม่

สำหรับตลาดขายส้มโอของกลุ่มแปลงใหญ่มีลูกค้าหลักในพื้นที่ทางเหนือและใกล้เคียงอย่างห้างสยามแม็คโคร ห้างโมเดิร์นเทรด ส่วนตลาดต่างประเทศในช่วงโควิดได้รับผลกระทบพอสมควร มีส่งไปขายที่เขมรทางอำเภอสระแก้ว นอกจากนั้น ก็มีทางเวียดนาม จีน อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาปริมาณผลผลิตในช่วงที่ประสบปัญหานี้จำเป็นต้องเปิดขายทางตลาดออนไลน์ควบคู่ไปด้วย

คุณอาทิตย์ กล่าวว่า ในอนาคตได้วางแผนผลิตส้มโอนอกฤดู เพราะปัจจัยหลายอย่างมีความพร้อมสามารถทำได้ โดยมีเป้าหมายให้มีผลผลิตส้มโอส่งตลาดทั้งปี

ท่านที่สนใจต้องการชิมความอร่อยของส้มโอเวียงแก่นสามารถติดต่อเพื่อขอทราบแหล่งจำหน่ายได้ที่ คุณสมเจตน์​ บุดดี​ ประธานสหกรณ์เวียงแก่น​ จำกัด หรือ คุณจักรพล​ ปงใจ​ ผู้จัดการ​สหกรณ์ โทรศัพท์ 087-763-7245 และคุณอาทิตย์​ อินเทพ​ คณะกรรมการ​สหกรณ์​

ผู้เขียนมีโอกาสไปเที่ยวชมสวนส้มกาที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ที่อำเภอทองผาภูมิ สวนส้มแห่งนี้ชื่อสวนลุงแกละ เจ้าของคือ “ลุงสมนึก ชูปัญญา” ความจริงลุงสมนึกเป็นอดีตเจ้าของสวนส้มบางมด ที่ยึดอาชีพปลูกส้มมาตั้งรุ่นคุณพ่อ ยาวนานกว่า 40 ปี แต่เจอวิกฤตน้ำเน่าเสียและโรคระบาดทำให้ต้นส้มตาย ลุงสมนึกจึงตัดสินใจมาซื้อที่ดินผืนใหม่ที่อำเภอทองผาภูมิเพื่อทำสวนปลูกผลไม้ตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอ เพราะที่นี่ดินดี น้ำดี อากาศดีกว่าแหล่งอื่น

สวนลุงแกละ มีเนื้อที่ประมาณ ในเนื้อที่ 42 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลไม้ที่เป็นพระเอกของสวนแห่งนี้ ที่ลุงภาคภูมิใจมากก็คือ ส้มกา คนรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นหูกับพันธุ์ส้มชนิดนี้ ความจริงส้มกาก็คือ ส้มเช้ง เป็นส้มเปลือกหนาอีกสายพันธุ์หนึ่ง ชาวสวนบางรายมักเรียก “ส้มตรา” หรือ “ส้มกา”

ความจริงส้มกา มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเมืองจีน เป็นผลไม้กึ่งเมืองร้อนตระกูลเดียวกันกับส้มทั่วๆ ไป คนจีนในสมัยก่อนได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาหากินอยู่ในเมืองไทยก็ได้นำสายพันธุ์ส้มชนิดนี้เข้ามาปลูกด้วย โดยแหล่งใหญ่ที่ปลูกก็คือ ย่านบางมดนั่นเอง

ส้มกา มีผลผลิตปีละหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนิยมใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษ คำว่า ส้มในภาษาจีนออกเสียงว่า “ไต่กิ๊ก” แปลได้ 2 ความหมาย คือคำว่า “ทอง” และคำว่า “ความสงบ”