กระทรวงเกษตรฯ นำเสนอ นวัตกรรมเทคโนโลยี ตอบโจทย์

“เกษตรอัจฉริยะ 4.0” ของรัฐบาล รัฐบาลได้วางเป้าหมายพัฒนาประเทศสู่ “ยุคไทยแลนด์ 4.0” (พ.ศ. 2560-2564) โดยกำหนดโมเดลการพัฒนาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้วยนวัตกรรม เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมมือกับ สหภาพผู้ผลิตเครื่องจักรกลของประเทศฝรั่งเศส (AXEMA) และ บริษัท อิมแพคเอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด จัดงาน SIMA ASEAN Thailand 2018 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภายในงานดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ จัดแสดงนิทรรศการและการจัดสัมมนา ภายใต้แนวคิด “ศาสตร์พระราชาและนวัตกรรมเกษตร” เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาการเกษตรตามศาสตร์พระราชา พร้อมนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร สอดรับกับนโยบาย “เกษตรอัจฉริยะ 4.0” ของรัฐบาล

เกษตรกรที่เข้าร่วมชมงานต่างตื่นตาตื่นใจกับนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว และแผ่นไหม เพื่อผลิตเป็นอาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง นวัตกรรมเกี่ยวกับดิน หรือ Agri-Map Online เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกรรู้จักดิน วิธีใช้ประโยชน์ดินในการปลูกพืช นวัตกรรมที่เกี่ยวกับน้ำ เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่ใช้กับน้ำผิวดิน เช่น ฝายชะลอน้ำ พร้อมระบบส่งน้ำเข้าแปลงโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ นวัตกรรมเพื่อการผลิตทางเกษตร-จัดแสดงชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยหมักเติมอากาศ โรงเรือนผลิตพืชสมองกล กับ ระบบ IOT (Internet of Thing) เป็นต้น

ฟิล์มแครอต บรรจุภัณฑ์บริโภคได้

กรมวิชาการเกษตร นำเสนอบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายง่าย ที่ทำมาจากเศษวัสดุพืช ที่เรียกว่า พลาสติกชีวภาพ (Bio-plastic) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของอุตสาหกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ หรือหมักเป็นปุ๋ยได้ในสภาวะที่เหมาะสม

คุณศิริพร เต็งรัง นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก เป็นภาระต้นทุนในการกำจัดขยะอย่างมาก แถมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น พลาสติกชีวภาพจึงเป็นอีกทางเลือกในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ พลาสติกชีวภาพ ผลิตได้จากวัสดุธรรมชาติหลายชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย มะเขือเทศ มะม่วง แครอต พืชผักประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพถูกนำไปใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น กระถางต้นไม้ ถุงขยะสำหรับเก็บใบไม้ แผ่นฟิลม์เพื่อการเกษตร บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนวิธีการทำแผ่นฟิลม์ชีวภาพจากสตาร์ชมันสำปะหลังและสตาร์ชมันเทศ เริ่มจากนำสตาร์ชมันสำปะหลัง หรือสตาร์ชมันเทศ 10 กรัม เติมซอบิทอล 3 กรัม และน้ำกลั่น 300 มิลลิลิตร ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส กวนจนสารละลาย เกิดเป็นเจลใสด้วยเครื่องกวนแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นขึ้นรูปบนแผ่นอะคริลิก อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จนแห้ง ลอกแผ่นฟิลม์ออก สตาร์ชมันสำปะหลังหรือมันเทศ 10 กรัม จะได้แผ่นฟิลม์ชีวภาพ ขนาด 30×30 ตารางเซนติเมตร จำนวน 1 แผ่น กรมวิชาการเกษตร ได้ทดลองผลิตแผ่นฟิลม์ชีวภาพสำหรับใส่เครื่องปรุงรสประเภทพริกป่นและน้ำมันพืช เมื่อนำไปใช้งาน ปรากฏว่า พริกป่น หรือน้ำมันพืช ที่บรรจุในซองบรรจุภัณฑ์ชีวภาพที่โดนความร้อนจะละลายไปกับน้ำซุปหรือน้ำก๋วยเตี๋ยวได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 นาที

นอกจากนี้ คุณศิริพร ยังได้โชว์นวัตกรรม “ฟิล์มแครอต บรรจุภัณฑ์บริโภคได้” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัสดุชีวภาพแผ่นบางๆ ถูกนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ห่อมะม่วงกวนแจกจ่ายให้ผู้สนใจได้ทดลองชิม ข้อดีของบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ก็คือ กินได้พร้อมขนม ช่วยลดขยะถุงพลาสติก เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร แถมผู้บริโภคยังได้คุณค่าทางอาหารเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะบริโภคฟิลม์แครอต 1 แผ่น จะได้เบต้าแคโรทีนสูงถึง 3,465.53 ไมโครกรัม และได้สารต้านอนุมูลอิสระ 14,187 ไมโครกรัม หากใครสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมชนิดนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 940-5468-69

นวัตกรรมเด่นอีกอย่างของกรมวิชาการเกษตรคือ เครื่องปั่นฝ้ายและกรอเส้นด้ายด้วยสมองกลอัตโนมัติ เป็นผลงานประดิษฐ์ของ คุณเอกภาพ ป้านภูมิ วิศวกรการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น นวัตกรรมชิ้นนี้ ถูกพัฒนาจากหลาปั่นฝ้ายแบบเดิมมาเป็นเครื่องปั่นฝ้ายแบบติดมอเตอร์ขนาดเล็ก สามารถตีเกลียวเพิ่มความแข็งของเส้นด้ายได้มากกว่าการปั่นด้วยหลาธรรมดา แต่ยังคงความเป็นเส้นด้าย ในแบบ Hand Made ที่สำคัญนวัตกรรมชิ้นนี้ สามารถช่วยให้เกษตรกรลดระยะเวลาในการปั่นและกรอด้ายได้เป็นอย่างดี

นวัตกรรมเครื่องปั่นฝ้ายดังกล่าว ยังได้เพิ่มการติดตั้งเครื่องกรอเส้นด้ายสมองกลควบคุมอัตโนมัติ เพื่อให้เส้นด้ายไม่ขาดระหว่างการกรอ เมื่อนำไปทอแล้วสามารถลดความเป็นปุ่มปมของผ้าฝ้ายผืนได้ อัตราการทำงาน เฉลี่ย 34.8 กรัม/ชั่วโมง สูงกว่าวิธีการปั่นเส้นใยฝ้ายตามแบบเดิม 1.39 เท่า ประสิทธิภาพในการทำงาน 96.41% ผลการทดสอบคุณภาพเส้นด้าย อุปกรณ์ สามารถปั่นเส้นด้าย เบอร์ 5NE ซึ่งเป็นเบอร์เส้นด้ายปานกลาง ที่มีความยืดหยุ่นแข็งแรง

จุดเด่นสำคัญของนวัตกรรมชิ้นนี้คือ ช่วยให้เกษตรกรสามารถปั่นเส้นด้ายเบอร์ใหญ่ ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรไม่สามารถทำได้มาก่อน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเส้นใยฝ้ายหรือต้องการซื้อจากโรงงานลง นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ออกแบบอุปกรณ์กรอเส้นด้ายอัตโนมัติจัดเรียงเข้าหลอดกรอเป็นรูปทรงรักบี้ โดยการเขียนโปรแกรมและบันทึกลงในบอร์ดควบคุมมอนิเตอร์ โดยการคำนวณขนาดเส้นด้ายให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของการกรอ ซึ่งยังไม่มีผู้ใดประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อปั่นฝ้ายและกรอเส้นด้ายในเครื่องเดียวกันให้กับเกษตรกรมาก่อน ทำให้เกษตรกรสามารถนำหลอดกรอด้ายเข้าเครื่องทอผ้าต่อได้ทันที เป็นการลดการสูญเสียเวลา เพิ่มคุณค่าและความสวยงามให้กับเส้นด้ายที่ผลิตจากผลงานเกษตรกร ช่วยยกระดับคุณภาพผ้าฝ้ายของชาวบ้านให้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปได้ในอนาคต ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น เลขที่ 320 หมู่ที่ 12 ถนนมะลิวัลย์ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 255-038

ชุดเพาะพันธุ์ปลาแบบเคลื่อนที่

ด้านกรมประมง โชว์นวัตกรรมชุดเพาะพันธุ์ปลาแบบเคลื่อนที่ (Mobile Hatchery) ซึ่งเป็นผลงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น ชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ชุด 5 ถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร ประกอบไปด้วยทั้งถังพ่อแม่พันธุ์ 1 ใบ และถังฟักไข่อีก 4 ใบ มีระบบท่อจ่ายน้ำ ปั๊มน้ำ ปั๊มลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถอดประกอบได้ง่าย เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสำหรับพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ไม่มีโรงเพาะฟัก ไม่มีระบบไฟฟ้า การคมนาคมไม่สะดวก นวัตกรรมนี้ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการขนส่งพ่อแม่พันธุ์ไปไกลๆ อีกต่อไป ราคาต้นทุนค่าวัสดุ ประมาณ 8,500 บาท สามารถผลิตลูกปลาวัยอ่อนได้ครั้งละ 300,000-500,000 ตัว ระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการเพาะพันธุ์ครั้งละ 4 วัน

วิธีการใช้งาน ชุดเพาะพันธุ์ปลาแบบเคลื่อนที่ เริ่มจากนำปลาที่ฉีดฮอร์โมนแล้วนำมาใส่ในถังผสมพันธุ์ จากนั้นปิดฝา เมื่อครบเวลาที่ไข่ออกให้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาออกจากถังผสมพันธุ์ ไข่ที่อยู่ในถังผสมพันธุ์จะไหลไปตามท่อลำเลียงไข่ เพื่อไปถังฟักไข่ เมื่อไข่เริ่มฟักเป็นตัวแล้วครบกำหนด ให้นำปลาไปเลี้ยงในบ่อดินที่จัดเตรียมไว้ ชนิดปลาที่เพาะ ได้แก่ปลาที่มีไข่ประเภทครึ่งจมครึ่งลอย เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลาสร้อยขาว ฯลฯ ใช้แม่ปลาเพาะครั้งละประมาณ 2.0 กิโลกรัม อายุการใช้งานนาน 5 ปีขึ้นไป

เครื่องขอดเกล็ดปลาอเนกประสงค์

เครื่องขอดเกล็ดปลาอเนกประสงค์ คิดค้นโดย คุณสยาม เสริมทรัพย์ วิศวกรเครื่องกลชำนาญการ และ คุณเพชรรัตน์ วงษ์จันฬา นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน นับเป็นผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมของกรมประมงที่เหมาะกับกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์เป็นอย่างดี เครื่องขอดเกล็ดปลาขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนถังขอดเกล็ดปลาที่ความเร็วรอบ 80 รอบ/นาที ภายในถังประกอบด้วยเพลาขอดเกล็ด จำนวน 3 เพลา เชื่อมด้วยสกูรเกลียวโดยใช้ส่วนหัวสำหรับเฉือนเอาเกล็ดปลาออก วิธีทำงาน ชั่งน้ำหนักปลาตามชนิดและขนาดของปลา เติมน้ำ 20 กิโลกรัม ปิดฝาแล้วเปิดสวิตช์ 5-15 นาที ตามชนิดปลาแล้วปิดสวิตช์

ผลงานชิ้นนี้ สามารถขอดเกล็ดปลาได้ทั้งปลาสดและขอดเกล็ดปลาที่ผ่านการแปรรูป เช่น การเคล้าปลากับเกลือ รวมทั้งนำมาใช้คลุกเคล้าปลาสดกับส่วนผสมต่างๆ เช่น ผงเครื่องปรุง หรือกระเทียมทุบ นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถขอดเกล็ดปลาได้หลายชนิด เช่น ปลาสร้อย ปลากระดี่ ปลายี่สก ปลาตะเพียน ปลาช่อน ตั้งแต่ 15-50 กิโลกรัม ภายในเวลา 5-15 นาที และสามารถคลุกเคล้าปลากับส่วนผสมได้อย่างทั่วถึง ในเวลา 3 นาที ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมประมง โทร. (02) 562-0600-15 ในวันและเวลาราชการ

กระทรวงเกษตรฯ คาดหวังว่า การจัดแสดงนิทรรศการ ภายใต้แนวคิด “ศาสตร์พระราชาและนวัตกรรมเกษตร” จะช่วยให้เกษตรกรได้เรียนรู้นวัตกรรมเกษตรใหม่ๆ และนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ พัฒนาตนเองสู่การเป็น Startup ขยายตัวสู่การเกษตรอุตสาหกรรม หรือ SMEs ด้านเกษตร ส่งเสริมภาคเกษตรของไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและมั่นคงในระดับสากล เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำภาคการเกษตรของอาเซียนในระยะยาว

ตาล หรือต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก มีลำต้นขนาดประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีความสูงของต้นได้ถึง 25-40 เมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก

เดิมที ต้นตาลจัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา ต่อมาตาลได้ขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ จนมีอยู่ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยพบว่าต้นตาลมีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น บักตาล ตาลโตนด ตาล ตาลใหญ่ ตาลนา โหนด เป็นต้น

จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีต้นตาลอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอตระการพืชผล จะพบมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันนี้ ตาลมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะว่าชาวบ้านในอำเภอตระการพืชผลได้รับประโยชน์จากต้นตาล ด้วยการนำลูกตาลมาเฉาะขายกันสดๆ ข้างถนน จนสามารถสร้างรายได้เดือนละ 100,000 บาท

ในแต่ละปีเมื่อถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน ลูกตาลจะออกสู่ท้องตลาด และในบางปีจะมีลูกตาลขายไปจนถึงเดือนกรกฎาคม หากใครผ่านไปทางจังหวัดอุบลราชธานี จะพบคนขายลูกตาลแทบทุกอำเภอ บ้างก็ใส่ตะกร้าหาบขาย บ้างก็นั่งขายตามตลาด หรือตามสถานีขนส่ง แต่จุดขายลูกตาลเฉาะที่เยอะที่สุด ผู้คนรู้จักกันทั้งจังหวัดและนิยมซื้อไปรับประทานกันมากเพราะสดจากท้องไร่ท้องนา สะอาดและรสชาติอร่อย จะอยู่ที่ริมถนนสายเลี่ยงเมืองอุบลฯ บริเวณหน้าห้างแม็คโคร หรือด้านทิศตะวันตกของห้างบิ๊กซี อุบลราชธานี (ใกล้สถานีขนส่งอุบลราชธานี) ในแต่ละวันจะมีพ่อค้า แม่ค้า นำรถกระบะบรรทุกลูกตาลเต็มคันรถมาจอดแล้วเฉาะขายกันสดๆ ที่ริมถนน ประมาณ 10-15 คันรถ เฉาะขายกันตั้งแต่ช่วงเช้าไปจนถึงบ่ายแก่ๆ ทำให้ผู้พบเห็นต่างจอดรถซื้อกันทั้งวัน และพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ต่างก็ขายตาลเฉาะจนหมดเกลี้ยงทุกวัน

คุณชม ถานอ่อน อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 5 บ้านผักกะย่า ตำบลตระการ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกผู้หนึ่งที่มาจอดรถเฉาะลูกตาลขายกับลูกชายและภรรยา ริมถนนสายเลี่ยงเมืองอุบลฯ จนสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ คุณชม บอกว่า ตนเองมีอาชีพทำนา หลังจากเสร็จสิ้นฤดูทำนาแล้วก็ไม่มีอะไรทำ ตนกับภรรยาและลูก จึงได้พากันหันมาเฉาะลูกตาลขาย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะขายไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงกลางเดือนมิถุนายน ก็จะเลิกขาย เพราะลูกตาลหมดหาซื้อที่ไหนไม่ได้ เมื่อก่อนจะขายกันเฉพาะที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดเท่านั้น ต่อมามีเพื่อนบ้านมาขายที่นี่ จนมีรายได้ดีมาก จึงได้ตามเพื่อนบ้านมาขาย ปรากฏว่าขายดีมาก จนเฉาะตาลขายไม่ทัน เพราะมีผู้คนขับรถ-นั่งรถสัญจรไปมาเป็นจำนวนมากทั้งวัน และผู้คนเหล่านั้นจะนิยมจอดรถซื้อตาลเฉาะ (เมล็ดตาล) กันมาก อีกทั้งจุดขายนี้อยู่ใกล้ห้าง ใกล้ตลาดนัด ผู้คนพลุกพล่านทั้งวัน จึงทำให้ขายดีเป็นอย่างมาก ที่สำคัญตาลของพวกเราจะสดมาก ไม่มีประเภทค้างคืน

คุณชม ได้เล่าถึงวิธีการได้มาซึ่งลูกตาลว่า สำหรับลูกตาลที่นำมาเฉาะขายนี้ จะตระเวนซื้อลูกตาลตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะซื้อด้วยการเหมาเป็นต้น ในราคาต้นละ 200-300 บาท แต่ช่วงหลังๆ มีคนหันมายึดอาชีพเสริมด้วยการเฉาะลูกตาลขายมากขึ้น จึงมีการแย่งชิงพื้นที่หรือชิงต้นตาลกัน ดังนั้น จึงต้องซื้อล่วงหน้ากันเป็นปีหรือสองปีเลยทีเดียว พอถึงช่วงที่ลูกตาลสามารถออกสู่ตลาดได้ คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปี

ตนเองกับสามีและลูกๆ ก็จะออกตระเวนเก็บลูกตาลตามไร่นาหรือตามบ้านคนที่เราไปทำการซื้อเอาไว้ การเก็บลูกตาลก็ต้องจ้างคนที่มีความชำนาญในการขึ้นต้นตาลมาขึ้นเก็บผลผลิตให้ จากนั้นก็จะนำขึ้นรถบรรทุกส่วนตัวแล้วนำมาเฉาะขายอย่างที่เห็น ซึ่งแต่ละวันจะบรรทุกลูกตาลมาเต็มคันรถกระบะ แล้วมาจอดเฉาะขายที่จุดดังที่ได้กล่าวข้างต้น ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 09.00 น. ไปจนเวลา 14.00 น. ก็จะขายหมด เวลามาขายจะมากับภรรยาและลูกชายอีก 1 คน โดยตนเองและลูกจะเป็นคนเฉาะ ส่วนภรรยาจะคอยหยิบบรรจุลงถุง ถุงละ 4-5 เมล็ด แล้วขายในราคาถุงละ 20 บาท หากซื้อเยอะก็จะลดหรือแถมให้ลูกค้า บางครั้งบางวันมีลูกค้ามาซื้อพร้อมๆ กันหลายคน แต่ละคนจะสั่งเยอะ ทำให้เราเฉาะขายแทบไม่ทัน แต่ก็ยังโชคดีที่ลูกชายมีความชำนาญในการเฉาะตาลเป็นอย่างมาก ทั้งเฉาะได้รวดเร็ว เมล็ดตาลไม่มีตำหนิและสะอาดด้วย ทำให้ลูกค้าอดทนรอซื้อจากเรา ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นในการเฉาะตาลขายของครอบครัวของตนเอง

เมื่อถามถึงรายได้จากการเฉาะตาลขาย คุณชมบอกว่า พูดไปจะเหมือนโม้ แต่ขอบอกว่านี่คือเรื่องจริง ตนเองมีรายได้จากการขายตาลเฉาะหรือเมล็ดตาล เดือนละ 70,000 บาท โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนมีนาคม มาจนถึงช่วงปลายเดือนเมษายน อากาศจะร้อนมากๆ คนจะนิยมรับประทานตาลเฉาะแก้กระหายน้ำ และในเมล็ดตาลก็จะมีน้ำรสหวานอยู่ข้างในด้วย คนจึงนิยมซื้อไปรับประทานในช่วงเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายน ทำให้ช่วงดังกล่าวมีรายได้จากการขายตาลเฉาะเดือนละ 90,000 บาท เป็นอย่างต่ำ นอกจากตนเองแล้ว พ่อค้าคนอื่นๆ ที่มาจอดรถเฉาะตาลขายในบริเวณเดียวกับตนเองก็จะมีรายได้ใกล้เคียงกันทุกคน คือจะมีรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายหรือหักต้นทุนแล้ว วันละ 3,000 บาท เป็นอย่างต่ำ เดือนหนึ่งก็ได้กำไร 90,000 บาท

“โชคยังดีที่เจ้าของต้นตาลยังไม่ขึ้นราคา ทำให้พวกเราลงทุนไม่สูง แต่มีกำไรงดงาม และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกตาลออกสู่ตลาดใหม่ๆ ก็ขายดีมาก บางวันขายได้เงิน 4,000-5,000 บาท ก็ตกเดือนละเป็นแสนบาท ก็พอมีเงินเก็บจำนวนไม่น้อย ถึงจะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่ขัดสน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก หากลูกตาลมีให้ขายทั้งปี คงเป็นเศรษฐีไปแล้ว” คุณชม กล่าวอย่างอารมณ์ดี

กระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถวอินโดจีนและมาเล เซียตะวันตก ก่อนจะแพร่ขยายไปในอินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์ จนกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป จัดเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบคล้ายรูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง กว้าง 6-15 ซ.ม. ยาว 8-20 ซ.ม. กลีบดอกสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง และ มีดอกย่อยจำนวนมาก

ผลรูปทรงกลมแป้น ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลง ผลกระท้อนขนาดประมาณ 5-15 ซ.ม. ภายในมีเมล็ด 4-5 เมล็ด และ มีปุยสีขาวหุ้มเมล็ดอยู่ เมล็ดรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้ม

นายมนตรี บาซอรี เกษตรกรจ.นครนายก ให้สัมภาษณ์ว่า ครอบครัวทำนากว่า 40 ไร่ ที่อ.องครักษ์ จ.นครนายก ปีหนึ่งปลูก 2 รอบ ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะไม่ใช้วิธีการเผา แต่จะใช้จุลินทรีย์เพื่อสลายตอซังข้าว ปรากฏว่าได้ผล ไม่เกิน 7 วันตอซังข้าวก็ย่อยสลายหมด และอินทรีย์วัตถุ เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปในตัว แต่การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าวนี้จะต้องใช้น้ำให้ท่วมตอซังข้าวถึงจะได้ผลดี

สำหรับการใช้จุลินทรีย์ นี้ ตนใช้มาหลายปีแล้ว เพราะถือว่าคุ้มเนื่องจากไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม เป็นการลดต้นทุน อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ชอบเผา ส่วนใหญ่เป็นแปลงนาที่ใช้ปุ๋ยเคมี เกษตรกรรายใดมีปัญหาหลังการเก็บเกี่ยว โทรมาพูดคุยปรึกษาหารือกับตนได้ที่ 087-0087698

นายชะเอม คงกระพันธ์ เกษตรกรอ.แสวงหา จ.อ่างทอง กล่าวว่า ตนปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณ 40 ไร่ ที่ผ่านมาประสบปัญหาข้าวดีด ข้าววัชพืช และเพลี้ยกระโดดลงนาข้าวเป็นอย่างมาก หลังจากได้ใช้จุลินทรีย์สลายตอซังข้าว และใช้รถย่ำตอซังข้าว ทั้งที่ยังสดๆ ตามที่ได้รับคำแนะนำ พอผ่านไป 5 วัน ฟางข้าวและข้าววัชพืชก็ย่อยสลายไปเกือบหมด จากนั้นไถ่ปั่นและหว่านเมล็ดข้าวลงไปทันที พบว่าเมล็ดข้าวออกทุกเมล็ด ส่วนเรื่องที่หวั่นวิตกจุลินทรีย์ที่ใช้จะไปย่อยเมล็ดพันธุ์ข้าวไปด้วยนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร

ด้านนางวิริยา รัชเวทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฉัตรวัฎฎ์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว “จามิน่า” เปิดเผยว่า เป็นเวลาเกือบ10ปีแล้วที่ชาวนาจำนวนหนึ่งทั่วทั้งประเทศเลิกเผาตอซังข้าวแล้วหันมาใช้จามิน่าซึ่งหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมการข้าวก็เคยสั่งซื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร จะได้ไม่ต้องเผาตอซังข้าว ทำให้เกิดมลพิษ และทำให้ดินเสื่อม

นางวิริยากล่าวว่า ปัจจุบันจามิน่ามีช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย อย่างเช่นผ่านทางออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถสั่งผ่านลาซาด้า หรือสั่งตรงกับทางบริษัทก็ได้ ที่ผ่านมาเกษตรกรที่เคยใช้ก็มักจะสั่งซื้อเป็นประจำเพราะเห็นผลที่เกิดขึ้นชัดเจน เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น โดยเฉพาะการย่อยสลายตอซังข้าว และลดจำนวนข้าวดีดที่เป็นปัญหาใหญ่ของชาวนาได้เป็นอย่างดี

แม้จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี และนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ผล เส้นใย ไม่เว้นแม้กระทั่งส่วนของยอด แถมนิยมบริโภคทั้งสดทั้งแปรรูป จนเรียกได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีคุณสารพัด แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ “มะพร้าว” เท่าที่ควรจะเป็น มิหนำซ้ำสวนมะพร้าวในพื้นที่หลายจังหวัดกลับถูกโค่นทิ้ง ปรับเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันแทนที่ ไม่น่าแปลกใจที่พื้นที่ปลูกมะพร้าวของไทยจะลดลงต่อเนื่อง

ข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ช่วงปี 2551-2556 เนื้อที่ให้ผลและผลผลิตมะพร้าวลดลงจาก 1.536 ล้านไร่ เมื่อปี 2551 เป็น 1.316 ล้านไร่ ในปี 2556 ปี 2557 คาดว่า จะมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวให้ผลผลิต 1.031 ล้านไร่ และผลผลิตลดลงจาก 1.484 ล้านตัน ในปี 2551 เหลือ 1.058 ล้านตัน ในปี 2556 ส่วนปี 2557 คาดว่าจะมีผลผลิต 1.072 ล้านตัน

ข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ว่า ผลผลิตมะพร้าวส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคโดยตรง ร้อยละ 60 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือใช้เพื่อการแปรรูปในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันมะพร้าว ร้อยละ 5 และใช้เพื่อการแปรรูปในอุตสาหกรรมกะทิสำเร็จรูป ร้อยละ 35 ส่วนการส่งออกมะพร้าวผลแก่ และเนื้อมะพร้าวแห้งมีจำนวนไม่มากนัก

ที่น่าเป็นห่วงและหลายคนอาจคิดไม่ถึงคือ ผลผลิตมะพร้าวภายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง ทั้งถูกโค่นทิ้งไปปลูกพืชอื่น ทั้งเกิดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว นอกจากจะทำให้ราคามะพร้าวปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ยังต้องนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเข้ามาสำหรับการบริโภคทดแทนอีกด้วย โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.65 นำเข้าจากอินโดนีเซีย ซึ่งราคาถูกกว่าไทย และส่วนหนึ่งนำเข้าเพื่อผลิตเป็นกะทิกระป๋องส่งออกไปสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ นอกนั้นส่งออกเป็นมะพร้าวฝอยไปตุรกี ส่งออกเป็นน้ำมะพร้าวไปเมียนมา ฮ่องกง เป็นต้น

ตัวเลขจากการสำรวจเมื่อปี 2555 แหล่งผลิตมะพร้าวสำคัญๆ ของไทย ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 4.2 แสนไร่ ชุมพร 2.1 แสนไร่ สุราษฎร์ธานี 2.1 แสนไร่ ชลบุรี 6.4 หมื่นไร่ นครศรีธรรมราช 9.9 หมื่นไร่ และอื่นๆ 2.6 แสนไร่ รวมทั้งประเทศ 1.3 ล้านไร่ แต่ปัจจุบันอาจน้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ และมีแนวโน้มลดน้อยลงต่อเนื่อง

ล่าสุด ปลายปี 2560 ที่ผ่านมา คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ. 2561-2564 และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 3 ต.ค. 2560 ให้เดินหน้า 5 ยุทธศาสตร์หลักส่งเสริมการผลิต การบริโภค และการตลาดมะพร้าวไทย

แยกเป็น 1.การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการผลิตมะพร้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม คือมีผลผลิตมะพร้าวไม่ต่ำกว่า 1.7 ล้านตัน ต่อปี

2.พัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว 3.พัฒนาการแปรรูปมะพร้าว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และมีมูลค่าเพิ่ม 4.แผนด้านการตลาด รักษาเสถียรภาพของราคามะพร้าวให้เหมาะสมเป็นธรรมทั้งกับเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก 5.พัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มะพร้าว จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด คงต้องใช้เวลาอีกระยะในการพิสูจน์

แต่อย่าลืมจับตาประเทศเพื่อนบ้าน สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย เจ้าแห่งการผลิตมะพร้าว ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงจาการ์ตา ระบุว่า กำลังเร่งส่งเสริมพัฒนาการผลิตมะพร้าวขนานใหญ่

โดยเขตปกครองท้องถิ่นทั่วอินโดนีเซียได้รวมตัวกันภายใต้พันธมิตรรัฐบาลเขตปกครองท้องถิ่นที่ปลูกมะพร้าว เป้าหมายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของพื้นที่ที่มีการปลูกมะพร้าว และมุ่งเน้นการจัดการสวนมะพร้าวแบบมืออาชีพมากขึ้น ในจำนวนนี้มีเขตปกครองท้องถิ่น 248 แห่ง จากทั้งหมด 514 แห่ง ของอินโดนีเซีย ที่เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวมีหลายภารกิจที่ต้องดำเนินการ ตั้งแต่การจัดทำฐานข้อมูลมะพร้าว การปรับปรุงเทคนิคการปลูกมะพร้าว ที่ส่วนใหญ่ถูกปลูกโดยไม่ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม โดยรัฐบาลอินโดนีเซียให้เงินอุดหนุนเรื่องปุ๋ย การจัดงบประมาณปลูกมะพร้าวทดแทนต้นเดิมที่หมดอายุ การสนับสนุนส่งเสริมด้านการผลิตและการตลาดอื่นๆ โดยมีทางการคอยติดตามช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ฯลฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ปลูกมะพร้าวให้ดีขึ้นไปอีกขั้น

อีกไม่นานคงพิสูจน์ได้ว่า ยุทธศาสตร์มะพร้าวไทย สมัครเว็บ UFABET กับแผนส่งเสริมยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ปลูกมะพร้าวของอินโดนีเซีย ใครจะเวิร์กกว่ากัน ผมรู้จักคุณหน่อย หรือป้าหน่อย ที่เราเรียกกัน ป้าหน่อย – รุจีรา จุลบุตร สาว (เหลือ) น้อย แห่งหมู่ที่ 4 ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จากเรื่องราวการเล่าเรื่องผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค

เรื่องราวของสาวบ้านนอก ผู้เดินทางมุ่งหน้าเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ จากสาวนาเมืองชาละวันมาเป็นสาวออฟฟิศในเมืองกรุง ชีวิตก็ดูสวยงามดังหนึ่งความฝัน แต่วันเวลาที่ผ่านไปก็เริ่มได้คิด ‘เราทำงานหาเงินเดือนเอาไปทำอะไร ในเมื่อได้เงินมาแล้วก็เอาไปซื้ออาหาร ทำไมเราจึงไม่ทำงานสร้างอาหารเสียเลย’

ตั้งแต่วันที่เริ่มได้คิดก็เริ่มมองหาตัวตนจากสายตาแห่งความเป็นจริง ความอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำดังหนึ่งหนูถีบจักร จึงปรึกษากับแม่ เพราะแม่ยังเป็นเกษตรกร และที่สำคัญอยากกลับไปดูแลแม่ด้วย จึงเริ่มด้วยการเป็นเกษตรกรวันหยุด เกษตรกรมือถือ

“ป้าหน่อยเริ่มจากอะไรน่ะ”

“เริ่มจากเบื่อ ชีวิตเป็นสิบปีที่วนๆ เวียนๆ อยู่กับบ้าน ออฟฟิศ และท้องถนน คือนั่งรถไปกลับวันละหลายชั่วโมงมาก ยังคิดว่าหากเอาเวลานั่งรถไปทำอาชีพอื่น น่าจะสร้างรายได้อีกไม่น้อย”

“เรื่องเกษตร เล่าที่มาที่ไปสักนิด”

“หน่อยเป็นลูกชาวนา ลูกเกษตรกรจ้า ก็เข้าเรียนตามเรื่องไปจนจบปริญญา หางานได้ตามที่คิดฝัน ทำงานอยู่เป็นสิบปีก็มาคิดว่าเราเดินมาถูกทางจริงหรือ ได้เงินเดือนมาก็หาซื้อของมากิน แล้วทำไมเราไม่ทำของกินเสียเลย แต่ความตั้งใจอีกอย่างคืออยากมาอยู่กับแม่ มาทำงานพร้อมกับดูแลแม่”