กระท้อนสายพันธุ์ปุยฝ้ายลูกจะเล็กกว่า น้ำหนักสูงสุด 8 กรัม

รสชาติหวาน กว่าจะออกดอกและสุกเร็วกว่าสายพันธุ์อีหล้า 1 เดือน สายพันธุ์อีหล้า น้ำหนักสูงสุด 1.8 กิโลกรัม น้ำหนักจะดี เพราะมีเปลือกหนา รสชาติหวานอมเปรี้ยว แต่ต้องรอให้กระท้อนสุกจริงๆ ค่อยเก็บเกี่ยว ทำให้กระท้อนมีรสชาติที่อร่อย

การปลูกกระท้อน ต้องใช้เทคนิค แม้ว่าจะเป็นผลไม้ที่ปลูกไม่ยากก็ตาม

“กระท้อน ปลูกที่ใหนก็ขึ้น ดูแลรักษาง่าย ปรับการดูแลตามสภาพภูมิอากาศ กระท้อนมักจะชอบดินทราย เปรี้ยว ไม่แน่น น้ำแห้งเร็วไม่เก็บน้ำ พอดินแห้งจะทำให้กระท้อนหวาน ถ้าดินสมบูรณ์มากเกินไปจะคุมต้นไม่อยู่ ต้นจะสูงเกินไป เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่การห่อ ถ้ามีความสามารถในการห่อและมีเวลาดูแล ก็จะสามารถปลูกและสร้างรายได้ให้เจ้าของสวนที่ปลูกได้อย่างงาม”

“ปีแรกๆ ขายกิโลกรัมละ 35 บาท พาไปขายตลาดนัดใกล้บ้าน ขายไม่ดีเลย แต่ช่วงหลังไปขายตลาดกิมหยง ที่หาดใหญ่ ได้กิโลละ 70 บาท มีเท่าไรก็ไม่พอขาย รายได้จากสวนกระท้อน ในเนื้อที่ 1 ไร่ จำนวน 26 ต้น ปีที่แล้วเก็บรุ่นเดียวได้ 2,600 กิโลกรัม ได้เงิน 120,000 บาท”

ปกติ ทุกปีจะออกเดือนธันวาคม แต่บางปีดอกกระท้อนออกตอนเดือนพฤศจิกายน จะได้ผลผลิต 2 รุ่น รุ่นแรกขายได้ 80,000 บาท รุ่นที่ 2 อยู่ อีกประมาณ 500 กิโลกรัม จะมีรายได้ประมาณ 25,000 บาท”

“เคยมีพ่อค้ามาเหมาแปลง แต่ไม่สามารถขายให้ได้ เพราะจะไม่พอต่อลูกค้าที่มาซื้อเป็นประจำจะไม่ได้รับประทานด้วย ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือคนทั่วไป ที่เคยทานแล้วติดใจในรสชาติกระท้อนจากสวนนี้ มีเจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. สาธารณสุข อนามัย ฯลฯ ซื้อไปรับประทานไปเป็นของฝาก เวลาขายจะขายตามออเดอร์ ลูกค้าจะโทร.มาสั่ง ถุงละ 3-20 กิโลกรัม แม่ค้ารายใหญ่ก็ประมาณ 100 กิโลกรัม แต่ไม่เคยได้ออกไปขายตลาดหรือข้างนอกเลย ลูกค้าก็จะเข้ามาหาซื้อเองจนหมด”

บังเหม ยังมีแผนพัฒนาปรับปรุงในสวนกระท้อนด้วยการเก็บข้อมูล การนับวันห่อ การจำหน่าย และการพัฒนาเทคนิคให้เป็นระบบมากขึ้นในปีต่อไป

ใครที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมผลไม้ที่สวนบังเหม บ้านนาปริก จังหวัดสตูล ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม คงได้อิ่มและเอร็ดอร่อยกับผลไม้หลากหลายชนิด ทั้ง กระท้อน เงาะ ลำไย มะนาว ทุเรียน จำปาดะ ขนุน แล้วยังได้ซึมซับบรรยากาศทั้งแหล่งน้ำ ภูเขา และพื้นที่ราบ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์และเป็นส่วนสำคัญที่เอื้อให้ผลไม้ออกผลผลิตงดงาม โดยเจ้าของสวนไม่ต้องยุ่งยากในการดูแล

หากจะกล่าวว่า การดูแลรักษาธรรมชาติ มีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของสวนและความยั่งยืนของเกษตรกรในพื้นที่นี้ ก็ไม่น่าจะผิด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ทดลองปลูกกัญชาในรูปแบบต่างๆ พบว่า การปลูกกัญชาระบบแปลงเปิดกลางแจ้งเหมาะสำหรับปลูกกัญชาสายพันธุ์ไทยเพราะมีต้นทุนต่ำและได้ผลผลิตที่ดี

อภัยภูเบศรปลูกกัญชาในระบบแปลงเปิดโดยเริ่มจากใช้แผ่นพลาสติกปูพื้นรองเพื่อป้องกันวัชพืชและเชื้อโรคที่มาจากดิน จากนั้นนำกิ่งพันธุ์กัญชาสายพันธุ์ไทย เช่น กัญชาหางกระรอกที่ได้จากวิธีปักชำต้นแม่พันธุ์นำมาปลูก เพื่อนำราก ใบ ลำต้น มาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตตำรับยาแผนไทย

อย่างไรก็ตาม แปลงเพาะปลูกกัญชากลางแจ้ง จำเป็นต้องติดตั้งตาข่ายคลุมอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้นกเข้ามาจิกทำลายผลผลิต จากการสังเกตพบว่า ในระยะแรกนกมาเป็นฝูง เมื่อขับไล่นกจะบินหนีตามธรรมชาติ ผ่านไปสักระยะ นกจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หากคนเดินไปไล่ นกจะไม่บินหนี แต่เดินหลบซ่อนตัวอยู่ในภาชนะปลูกหรือต้นกัญชาที่มีลักษณะใหญ่แทน

อ้างอิงข้อมูลจากเวทีเสวนาหัวข้อ “‘กัญชา’ ครบวงจรกับอภัยภูเบศร” โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในงานมหกรรมกัญชง กัญชา 360 องศา จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564

เกษตรกรไทยจำนวนมากเคยชินกับปลูกพืชเชิงเดี่ยว บางรายมีที่นาในเขตชลประทานก็ปลูกข้าวนาปี ทำนาปรังหมุนเวียนติดต่อกันในพื้นที่เดียวกันตลอดปี หากปีไหน ฝนดี ราคาข้าวดี ก็มีรายได้ก้อนโต แต่ปีไหน เจอฝนแล้ง น้ำท่วม ข้าวล้นตลาด ก็มีรายได้ติดลบ บางรายขาดทุนแทบหมดกระเป๋า

คุณสุรชัย สุขพร้อม หนุ่มชาวนา อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 8 ตําบลบางแม่นาง อําเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เจอทางรอดจากวิกฤตพืชเชิงเดี่ยวเพราะได้รับโอกาสจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางใหญ่เข้าอบรมความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงที่ดินทำกิน ให้กลายเป็นไร่นาสวนผสม เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงทางการตลาด มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี ทำให้เขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น ประเภทไร่นาสวนผสมประจำปี 2563 ของจังหวัดนนทบุรีอีกด้วย

พลิกชีวิต ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
คุณสุรชัย กล่าวว่า เมื่อก่อนตนเองทำไร่นาแบบเชิงเดี่ยว ได้มีโอกาสเดินทางกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางใหญ่ไปศึกษาดูงาน โครงการส่วนพระองค์ จึงเกิดแนวคิดทำไร่นาสวนผสม โดยยึดหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง จากเดิมใช้พื้นที่ทำไร่นาเพียงอย่างเดียว แต่ปรับเปลี่ยนมาเริ่มขุดบ่อปลา ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล และไม้ใช้สอย เป็นต้น ในหลักการ 30 : 30 : 30 : 10 ให้เหมาะกับพื้นที่ของผมเอง

“ผมแบ่งที่ดิน 30% ทำนา อีก 30% ปลูกไม้ยืนต้นและปลูกพืชผักสวนครัว อีก 30% ต่อมาเป็นสระน้ำสำหรับใช้ในฤดูแล้งหรือช่วงที่น้ำเค็มรุกเข้าคลองชลประทาน ที่เหลืออีก 10% เป็นที่อยู่อาศัย ผมดำเนินชีวิตโดยยึดหลักพอกินพอใช้ เริ่มต้นจากการเพาะปลูกพืชทำกินในครัวเรือน ให้เพียงพอก่อนในอันดับแรก เมื่อมีกินเพียงพอแล้วจึงเริ่มแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เมื่อเหลือจากการบริโภค จึงขายให้กับผู้สนใจ ผมมีความเชื่อว่า เมื่อตัวเองบริโภคได้ ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านบริโภคได้ แสดงว่าผลผลิตต่างๆ เหล่านั้นมีคุณภาพดีสำหรับทุกคน” คุณสุรชัย บอก

ใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าทุกตารางนิ้ว
ทุกวันนี้ คุณสุรชัยใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่า ที่ดิน 14 ไร่ เขาแบ่งปลูกข้าว 10 ไร่ ปลูกผัก 1 ไร่ เลี้ยงปลา 2 งาน ปลูกไม้ผลรอบๆ บ้าน เขาปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวหอมนิลจักรพรรดิ, ข้าวเหนียวแม่โจ้, ข้าว กข 43, ข้าวหอมช่อราตรี, ข้าว กข 77 เพื่อแปรรูปเป็นข้าวสารจำหน่าย

เขาตั้งโรงสีชุมชนขึ้นสำหรับครอบครัวของเขา และเพื่อนเกษตรกรในชุมชน…แล้วยังมีผลพลอยได้จากโรงสีที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่าได้มากมาย เช่น รำและปลายข้าว นำมาเลี้ยงไก่ เป็ด ปลา ทำปุ๋ยหมัก หากเหลือนำไปจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10 บาท ส่วนแกลบนำมาทำปุ๋ยหมักและจำหน่ายแก่ผู้สนใจในราคากระสอบละ 10 บาท

ส่วนไม้ผลที่ปลูกแซมรอบแปลงนา เช่น มะม่วง กล้วยน้ำว้า มะละกอ และมะนาว ใช้บริโภคในครัวเรือนก่อน เหลือจึงนำมาจำหน่าย แปลงไม้ผลเหล่านี้ ยังใช้เป็นแนวกันชนสำหรับป้องกันการฟุ้งกระจายของสารเคมีจากแปลงอื่นๆ อีกด้วย สินค้ามะม่วงของเขาเป็นหนึ่งในสินค้าขายดี ที่ได้รับความนิยมจากตลาด เช่น มะม่วงพันธุ์ยายกล่ำ มะม่วงอาร์ทูอีทู มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงเขียวใหญ่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี

นอกจากนี้ เขายังมีผลไม้อื่นๆ ที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เช่น กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องพื้นบ้าน มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ พันธุ์แขกดำ มะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร พันธุ์ทูลเกล้า และยังมีพืชผักสวนครัวนานาชนิด เช่น ถั่วฝักยาว ฟักแฟง มะระขี้นก ฟักทอง พริก มะเขือ เก็บผลผลิตออกขายได้ตลอดปี

นอกจากพืชผักไม้สวนแล้ว ที่นี่ยังมีสินค้าสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อปลา ขนาด 2 งาน เลี้ยงปลาหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอ จับปลาออกขายปีละ 2 ครั้งโดยใช้อวนลาก สินค้าปศุสัตว์ก็มี เขาเลี้ยงไก่ไข่และเป็ดไข่ เพื่อนำไปบริโภคในครัวเรือน ถ้าเหลือจากบริโภคจะนำไปจำหน่ายหน้าบ้าน

ไร่นาสวนผสม สร้างรายได้ตลอดปี
ทุกวันนี้ ไร่นาสวนผสมแห่งนี้สร้างรายได้หลายช่องทาง เพราะสามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี เขามีรายได้รายวัน จากการปลูกพืชผักสวนครัวและประมง ที่เหลือจากบริโภคเอง ได้ประมาณปีละ 8,000 บาท ส่วนรายได้รายเดือน มาจากการปลูกข้าว เมื่อก่อนปลูกข้าวแป้ง 5-6 บาท ต่อกิโลกรัม ได้เต็มที่ประมาณ 5,000-7,000 บาท ต่อเกวียน ปัจจุบันขายข้าวเปลือก ตันละ 10,000 บาท และมีสีแปรรูปขายเองด้วย กิโลกรัม 35-60 บาท แล้วแต่พันธุ์ข้าว รายได้ต่อปีประมาณ 360,000 บาท

ข้าวแป้ง ในที่นี้เป็นข้าวสำหรับนำไปเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากแข็งมากคนกินไม่ได้ แข็งกว่าข้าวเสาไห้มาก นอกจากนี้ เขายังมีรายได้รายปี จากไม้ยืนต้นและไม้ผล เฉลี่ยปีละประมาณ 31,000 บาท ส่วนนาข้าว เขามีรายได้หมุนเวียนเข้ามาตลอด ปีหนึ่งจะปลูกข้าวได้ประมาณ 3-4 รอบ จุดเด่นแปลงนาแห่งนี้คือ ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ที่มีความแตกต่างกัน กลายเป็นจุดขายที่โดดเด่น สร้างฐานลูกค้าได้จำนวนมาก

ข้าว กข 43 มีความโดดเด่นทางด้านสุขภาพที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำมากกว่าข้าวขาวปกติ ดัชนีน้ำตาล (GI) อยู่ที่ 40-45 เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่อยากอ้วน แต่อยากรับประทานข้าว

ส่วน ข้าวหอมนิลจักรพรรดิ เป็นพ่อพันธุ์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ คุณสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่อร่อยและนุ่มกว่า ในตลาดไม่ค่อยนิยมปลูกมากนักเพราะว่าดูแลยาก และผลผลิตให้น้อยกว่า

ข้าวเหนียวหอมแม่โจ้ ข้อดีของข้าวเหนียวหอมแม่โจ้ คือหอมอร่อยและสามารถปลูกได้ตลอดปี

ข้าวทับทิมสยาม เป็นข้าวที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า ข้าว กข 43 ถึงครึ่งหนึ่ง ดัชนีน้ำตาล (GI) อยู่ที่ 20-25

‘‘ข้าวของผมเหนือกว่าท้องตลาด ราคาถูกกว่า แถมปลอดสารเคมีและปุ๋ยเคมี ข้าวของผมเน้นเรื่องสุขภาพมากที่สุด สีของข้าวอาจจะไม่สวย แต่ผู้บริโภคได้รับประทานวิตามินที่ดีของข้าวอย่างเต็มที่’’ คุณสุรชัย กล่าวในที่สุด

หากใครสนใจอยากเยี่ยมชมกิจการไร่นาสวนผสมของคุณสุรชัยหรือสนใจอยากสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ คุณสุรชัย สุขพร้อม ได้ที่ บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 8 ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เบอร์โทรศัพท์ 062-658-1117 หรือเฟซบุ๊ก FB : Tt Orgnic Rice By Surachai

ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงเฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นถั่วลิสงออกดอกจนถึงในระยะติดฝัก

เริ่มแรกจะพบต้นถั่วลิสงแสดงอาการเหี่ยวและยุบตัวเป็นหย่อมๆ ในแปลงปลูก ส่วนบริเวณโคนต้นเหนือผิวดินจะพบแผลสีน้ำตาลที่มีเส้นใยสีขาวหยาบของเชื้อราสาเหตุโรค ต่อมาเส้นใยจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็กสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำคล้ายเมล็ดผักกาด จากนั้นต้นจะแห้งและตาย ซึ่งโรคนี้มักพบระบาดมากในระยะติดฝักจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

สำหรับการป้องกันกำจัดโรคลำต้นเน่าในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี อีกทั้งเกษตรกรควรเตรียมดินก่อนปลูก โดยการไถพรวนพลิกหน้าดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก เพราะเชื้อราสาเหตุโรคสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน จากนั้นให้โรยด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์ก่อนปลูกเพื่อปรับสภาพดิน อีกทั้งควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม ให้โคนต้นโปร่งและมีแสงแดดส่องถึง เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูงที่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุโรค เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นถั่วลิสงที่เริ่มแสดงอาการของโรคลำต้นเน่า ให้ถอนต้นและขุดดินบริเวณที่พบเป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นให้รดดินในหลุมที่ขุดและบริเวณใกล้เคียง เพื่อป้องกันเชื้อราสาเหตุโรคแพร่ไปยังต้นข้างเคียง ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลโคลฟอส-เมทิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรทำลายซากต้นถั่วลิสงด้วยการไถกลบหน้าดินให้ลึก เพื่อตัดวงจรการระบาดของเชื้อราสาเหตุโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง ส่วนในแปลงที่พบการระบาดของโรคลำต้นเน่า เกษตรกรควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด เป็นต้น เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค

ขนุนปีเดียวทวาย เป็นสายพันธุ์ที่มีความน่าสนใจไม่น้อย ด้วยจุดเด่นคือ ติดผลเร็ว รสชาติหวานกรอบ ใช้เวลาปลูก 8 เดือน ถึง 1 ปี จะมีผลผลิตออกมาให้เก็บมากมาย ปัจจุบันชาวสวนจันทบุรีเริ่มให้ความสนใจหันมาปลูกขนุนปีเดียวทวายมากขึ้น และมีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ขึ้นมา เพื่อบุกตลาดต่างประเทศ ทั้งในจีน เวียดนาม ฝั่งตะวันออก และโซนยุโรป ด้วยการเริ่มต้นเปิดตลาดส่งไปพร้อมกับขนุนทองประเสริฐที่ติดตลาดต่างประเทศมาก่อนแล้ว

คุณศักรินทร์ กันสำอาง หรือ พี่เต้ย เจ้าของสวนฟาร์มพอดีโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่ 85 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรชาวสวนลำไยผู้ได้รับผลกระทบปัญหาผลผลิตราคาตก สู่การเริ่มต้นปลูกขนุนทวายปีเดียวเป็นพืชทางรอด ปลูกแซมในสวนลำไยกว่า 2,600 ต้น ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ เตรียมเดินหน้าผลิตส่งตลาดต่างประเทศ

พี่เต้ย เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการปลูกขนุนให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ทำสวนลำไยเป็นพืชเชิงเดี่ยวมาก่อน ขนุนเป็นพืชที่เพิ่งนำมาปลูกแซมในสวนลำไยเป็นระยะเวลา 2 ปีกว่า เนื่องจากช่วงหลายปีหลังมานี้ลำไยต้องประสบกับปัญหาหลายด้านในการทำสวนลำไย ทั้งการส่งออก ปัญหาแรงงานที่มีผลกระทบและความจำเป็นอย่างมากในการผลิต เพราะการทำสวนลำไยต้องใช้แรงงานมากในการผลิต รวมถึงปัญหาด้านราคาตกต่ำ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงเป็นเหตุให้ต้องมองหาพืชชนิดอื่นมาปลูกแซม เพื่อในวันข้างหน้าหากสวนลำไยไปไม่รอดจริงๆ ยังมีผลไม้อื่นๆ มารองรับ ซึ่งก่อนที่จะเลือกปลูกขนุน ก็มีการทดลองปลูกไม้ผลมาหลายชนิด แต่สุดท้ายฟันธงที่การเลือกปลูกขนุนทวายปีเดียว เพราะเป็นพืชที่ตอบโจทย์ในเรื่องของผลผลิตที่พืชอย่างอื่นไม่สามารถทำได้คือ ให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง และไม่ว่าจะผลอ่อน ผลแก่ สามารถตัดขายได้ทั้งหมด สร้างจุดคุ้มทุนได้เร็วและมีศักยภาพมากกว่าพืชชนิดอื่น ใช้แรงงานน้อย สามารถใช้แรงงานภายในครอบครัวได้ ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงที่จะขาดแคลนแรงงานก็ไม่ประสบปัญหาเหมือนเมื่อก่อน

สอดคล้องกับการตลาดที่กำลังไปได้สวยเนื่องด้วยตอนนี้ขนุนทวายปีเดียวเป็นสายพันธุ์ที่มีการส่งออกเป็นเบอร์ 1 ในประเทศเวียดนาม จึงได้มองไปถึงอนาคตว่าอาจจะเป็นข้อดีในการส่งออก ด้วยจุดเด่นของขนุนปีเดียวทวายที่นอกจากติดผลเร็วแล้ว ในส่วนของรสชาติก็ไม่ธรรมดา รสชาติหวาน กรอบ อร่อย ยางน้อย ถือเป็นข้อดีสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ชอบแกะขนุนเพราะยางเยอะ สายพันธุ์ทวายถือว่าตอบโจทย์

“ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่รวมทั้งหมดประมาณ 40,000 ต้น แบ่งเป็นของผมเอง 2,600 ต้น ผลผลิตล็อตแรกของที่สวนได้มีการทำคอนแทร็กต์กับเวียดนามบางส่วน รวมถึงการส่งไปพร้อมกับขนุนทองประเสริฐเพื่อไปเปิดตลาดที่ปลายทาง เป้าหมายคือ จีน ตะวันออกกลาง โซนยุโรป เวียดนาม และตอนนี้ทางสวนได้ทดลองส่งผลผลิตขนุนทวายปีเดียวไปที่ประเทศจีนได้สำเร็จแล้ว ผลตอบรับกลับมาดีมากๆ จึงได้วางแผนการผลิตในปีหน้าให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากของที่สวนต้นอายุยังน้อยประมาณ 2 ปีกว่า ผลผลิตยังให้ไม่เต็มร้อยสักเท่าไหร่”

ยึดเวียดนามเป็นสวนต้นแบบ ทางลัดสู่ความสำเร็จ
พี่เต้ย บอกว่า เทคนิคการปลูกขนุนทวายปีเดียวของที่สวนจะยึดรูปแบบและเทคนิคการปลูกของเวียดนามเป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่เวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกขนุนปีเดียวทวายส่งออกเป็นหลัก จึงมีความเชี่ยวชาญและผ่านช่วงลองผิดลองถูกมาก่อนแล้ว

ขนุนเป็นพืชที่ทนแล้งมาก สามารถปลูกได้กับทุกสภาพดิน ขอแค่ให้เป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ขนุนเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำเยอะ จึงถือเป็นพืชทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการลดต้นทุน

การปลูก ของที่สวนจะเป็นการปลูกแซมขนาบข้างไปกับสวนลำไยจำนวน 30 ไร่ สามารถปลูกขนุนได้ 2,600 ต้น โดยกิ่งพันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นกิ่งพันธุ์ที่ทาบกิ่งมาจะไม่ค่อยมีรากแก้ว จะขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 1 กำมือ หรือปรับสภาพดินด้วยปูนขาว แต่ของที่สวนจะมีการปรุงดินและให้ปุ๋ยลำไยในปริมาณมากทุกปีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องบำรุงอะไรมาก เพียงขุดหลุมปลูกตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วทำการปลูกได้เลย ไม่ต้องบำรุงมากมาย เพราะขนุนเป็นพืชทนแล้ง สามารถจะเจริญเติบโตได้กับทุกสภาวะ

ระยะห่างระหว่างต้น ตามมาตรฐานเดิมที่คนไทยชอบปลูกส่วนใหญ่คือระยะ 6×6 เมตร แต่ของที่สวนเน้นการทำเกษตรแนวใหม่ และมีต้นแบบการปลูกจากเวียดนาม ในการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าเปลี่ยนมาปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 3×3 เมตร จะได้ระยะต้นที่มากกว่า แต่ไว้ลูกต้นละ 1-2 ลูก และได้ลำดับไซซ์ประมาณ 10 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกและความสามารถในการจัดการของแต่ละสวนด้วย เนื่องจากขนุนเป็นพืชที่มีขนาดผลใหญ่ น้ำหนักเยอะ การเก็บเกี่ยวถ้าใช้แรงงานคนอย่างเดียวเป็นเรื่องที่ยาก จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขนย้ายผลผลิตออกนอกพื้นที่ เพราะฉะนั้นระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างร่องถือเป็นเรื่องสำคัญ หรือปรับสภาพพื้นที่ตามความเหมาะสมในแต่ละแปลงให้สอดคล้องกับพาหนะที่เข้ามาใช้ในการขนส่ง

ระบบน้ำ ในช่วงอาทิตย์แรกๆ ให้น้ำวันเว้นวัน หลังจากนั้นเมื่อยอดเริ่มเดินแล้ว จะเปลี่ยนการให้น้ำอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละประมาณ 15 นาที

ปุ๋ย ตั้งแต่เริ่มปลูกมาเป็นระยะเวลา 2 ปีกว่า coresysit.com ที่สวนยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีสักครั้ง เน้นการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลวัว มูลไก่ เป็นส่วนหลัก แต่ขนุนจะชอบปุ๋ยมูลไก่เป็นพิเศษ เพราะมีไนโตรเจนสูง ทำให้ต้นโตเร็ว อัตราการใส่ 3 เดือนครั้ง รอบละ 1 กำมือ ใส่รอบๆ โคนต้น หรือให้ดูจากใบที่แสดงออกมา ถ้าใบเหลืองก็เติมปุ๋ยเข้าไปเพิ่ม

และเมื่ออายุต้นมากแล้วควรใส่ปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีเพื่อบำรุงธาตุอาหารในส่วนที่ปุ๋ยคอกให้ไม่เพียงพอ ก็ต้องอาศัยปุ๋ยเคมีเข้ามาช่วยในการบำรุงต้นและการติดผล สลับหมุนเวียนกัน เพราะถ้าจะให้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวคงไม่ไหว และการปลูกแบบอินทรีย์จะให้รสชาติที่หวาน กรอบ กำลังดี รสชาติไม่โดดเกินไป รวมถึงได้น้ำหนักมาตรฐาน ในต้นทุนที่ต่ำด้วย

ใช้เวลาปลูกเท่าไหร่ ก่อนอื่นต้องแยกวัตถุประสงค์ก่อนว่าจะปลูกไว้รับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเชิงการค้า เพราะหากปลูกไว้รับประทานเองในครอบครัวใช้ระยะเวลาปลูก 8 เดือนให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกเชิงการค้าควรจะให้ต้นแข็งแรงก่อนสัก 2 ปี จึงค่อยไว้ลูก หรือประมาณ 1 ปี 8 เดือน ไว้ต้นละลูก เพื่อให้ต้นมีกำลังดูแลลูกให้โตได้ตามมาตรฐานและได้คุณภาพที่ดี

ผลผลิต เฉลี่ยน้ำหนักต่อลูก 10 กิโลกรัมขึ้นไปถือเป็นไซซ์มาตรฐานสามารถส่งออกเป็นเกรดเอของจีนได้เลย สำหรับสายพันธุ์ทวาย

ราคา อ้างอิงจากตลาดเวียดนามและตลาดกลางที่ประจวบคีรีขันธ์ โดยเบื้องต้นต้องบอกก่อนว่าขนุนสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่ราคาจะขึ้นไปสูงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 1 เท่าตัว หากราคาไม่ชนกับทุเรียนจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-40 บาท ซึ่งสำหรับชาวสวนแล้วถ้าราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ถือว่าอยู่ได้สบาย เพราะขนุนไม่ต้องดูแลอะไรมากมาย การดูแลรักษาตลอดทั้งปีต่อต้นไม่เกิน 50 บาท

ปัจจัยเสี่ยงก็มี แต่ไม่ใช่ปัญหา
พี่เต้ย บอกต่อว่า การปลูกขนุนไม่ใช่มีแต่ข้อดี แต่ยังมีข้อที่ต้องระวังเช่นกัน คือเรื่องของโรคสนิม ที่จะพบได้กับขนุนทุกสายพันธุ์ และนอกจากโรคสนิม ก็จะมีเรื่องของหัวเน่า เนื่องจากในส่วนของฐานหัวขั้วมีความลึกทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

“ในส่วนของโรคแมลงโรคพืชต่างๆ ก็มีในส่วนของสายพันธุ์ที่ปลูกจะมีปัญหาของเรื่องสนิม แต่ต้องเกริ่นนำก่อนว่า สนิมมีอยู่กับขนุนทุกสายพันธุ์ นอกจากเรื่องสนิม ก็จะมีเรื่องของขั้วเน่าด้วย เนื่องจากในส่วนของฐานหัวขั้วของขนุนทวายจะไม่เหมือนกับทองประเสริฐ ฐานขั้วจะไม่ปิดสนิท ทำให้กลายเป็นแหล่งรวบรวมน้ำไว้ที่ขั้ว เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา วิธีแก้ก็คือการใช้ปูนขาวไปพอกไว้ที่ขั้วเพื่อไม่ให้น้ำขัง และมีในส่วนของการกางร่มให้ขั้ว คือส่วนของการหาอุปกรณ์ที่สามารถนำมาดัดแปลง ได้ไปครอบไว้แล้วพันที่ขั้วปิดหัวไม่ให้น้ำขัง หรือในส่วนของโรคสนิมก็จะใช้ยากลุ่มคาร์เบนดาซิม ฉีดเป็นประจำ”