กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาท เกษตรกรมีความ

กลัวต่ออิทธิพลของผู้ประกอบการในการเผชิญหน้า ซึ่งขั้นตอนนี้บุคคลที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ประธานการไกล่เกลี่ย ควรเป็นอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งขั้นตอนในการเจรจาไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด ไม่ได้สร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรอย่างแท้จริง และทำให้เกษตรกรต้องยอมรับสภาพหนี้สิน โดยมิอาจทำการโต้แย้งได้

อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฯ ได้พิจารณาร่วมกันเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น เนื่องจากกฎหมายเพิ่งประกาศใช้จึงยังไม่สามารถเสนอปรับปรุงได้ โดยจะนำเรื่องนี้ไปหารือร่วมกัน 3 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้ต่อไป

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา จัดทำข้อมูลแจ้งเตือนเกษตรกรงดเผาในพื้นที่การเกษตร จากการคาดการณ์สภาวะทาง อุตุนิยมวิทยาล่วงหน้าทุก 7 วัน โดยในช่วงวันที่ 8-14 มีนาคม 2562 อากาศมีการไหลเวียนไม่ดี ส่งผล ต่อการสะสมของฝุ่นละอองและหมอกควัน ซึ่งกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และแพร่ งดเผาวัสดุการเกษตรอย่างเด็ดขาด และจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ เลย ขอนแก่น อุดรธานี และหนองบัวลำภู ไม่ควรเผาวัสดุการเกษตร ทั้งนี้ เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปสามารถติดตามข่าวสารสภาพอากาศ ตลอดจนคำแนะนำในการกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตรได้เพิ่มเติม ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ (02) 579-0163 และสายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา 1182

นายโอภาส เที่ยงงามดี (ที่ 2 จากขวา) หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้จัดทำรายการเดินหน้าประเทศไทย โดยทีมงานช่อง 7HD เข้าถ่ายทำรายการฯ ตอน..พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญาสร้างความมั่นคงเกษตรกรไทย โดยมี นายแสวง วรรณรัตน์ (ที่ 5 จากขวา) เกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อ กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และ นายณรงค์ เจียมใจบรรจง (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเกษตรพันธสัญญาที่ซีพีเอฟสนับสนุนเกษตรกรให้มีอาชีพมั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืน ที่สำคัญการมีพ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญา ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งเกษตรกรและบริษัทคู่ค้า ณ “ฟาร์มคุ้มเจริญ” อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น “ฟาร์ม D” เพื่อให้เกษตรกรใช้สำหรับวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรที่ไม่เหมาะสม ไปสู่สินค้าเกษตรตัวใหม่ที่เหมาะสมด้วยตัวเกษตรกรเอง และเป็นการพัฒนาให้เกษตรกรหันมาใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิตอล

สำหรับแอปพลิเคชั่น “ฟาร์ม D” มีความหมาย กล่าวคือ “ฟาร์ม” หมายถึง ที่ดินของเกษตรกรที่ปัจจุบันเกษตรกรมีอยู่แล้วใช้ประโยชน์ทำการผลิตสินค้าเกษตร ส่วน “D” คือ design หรือ ออกแบบ เมื่อรวมความหมายแล้วแอปพลิเคชั่น “ฟาร์ม D” คือ ออกแบบฟาร์ม ซึ่งต่อไปเกษตรกรจะสามารถออกแบบฟาร์มด้วยตัวเกษตรกรเองผ่านโทรศัพท์มือถือ วิเคราะห์แผนผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมหรือปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรที่ผลิตอยู่แล้วซึ่งมีผลตอบแทนต่ำไปสู่สินค้าเกษตรชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าได้ด้วยตัวเกษตรกรเอง โดยสามารถวิเคราะห์ได้ครั้งละ 3 แผนการผลิตเพื่อเปรียบเทียบแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่ดีที่สุดให้กับตนเอง

การพัฒนาแอปพลิเคชั่น “ฟาร์ม D” สศก. ได้ใช้แนวคิดการจัดการฟาร์ม (Farm management) โดยนำข้อมูลราคาผลผลิตสินค้าเกษตร ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และผลตอบแทนสุทธิสินค้าเกษตรของพืช ปศุสัตว์ และประมง ในแต่ละจังหวัด มาวิเคราะห์แผนการผลิต โดยในระยะแรก แอปพลิเคชั่นจะกำหนดให้เกษตรกรสามารถเลือกผลิตสินค้าเกษตรในรอบปีได้ไม่เกินที่ดินที่เกษตรกรมีอยู่ และแสดงผลออกมาเป็นปฏิทินการผลิต (Calendar) ที่มีรายละเอียดประกอบด้วย สินค้าที่เกษตรกรเลือก ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ต้นทุนการผลิตรวม

และผลตอบแทนสุทธิรวม และในระยะต่อไปจะพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สามารถนำข้อจำกัดของเกษตรกร ได้แก่ แรงงาน เงินทุน และน้ำ มาวิเคราะห์ได้เพิ่มเติมต่อไป โดยการใช้แอปพลิเคชั่นนั้นง่ายมาก เริ่มจากเกษตรกรเลือกจังหวัด จากนั้นกำหนดจำนวนที่ดินที่จะวางแผนการผลิต และเลือกสินค้าที่จะผลิต ประกอบด้วย พืชไร่ พืชสวน พืชผัก ปศุสัตว์ ประมง และไม้ดอกไม้ประดับ เมื่อเลือกสินค้าแล้ว จึงกำหนดจำนวนพื้นที่ที่จะใช้ผลิตอีกครั้ง โดยหากสินค้าที่เลือกมาในช่วงเวลาเดียวกันเต็มพื้นที่ดินที่มีอยู่ ก็จะไม่สามารถเลือกสินค้าที่เลือกมาหลังสุดได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจแอปพลิเคชั่น “ฟาร์ม D” สามารถศึกษารายละเอียดและเข้าใช้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ สศก. โดยดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นผ่านระบบแอนดรอยด์ หรือสามารถใช้งาน On Website ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ทาง http://aginfo.oae.go.th/oaemodel/ หรือ QR Code ด้านล่างนี้ ซึ่งขณะนี้ สศก. อยู่ระหว่างเร่งพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับระบบ iOS ให้สามารถใช้งานได้ต่อไป ท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทรศัพท์ 0 2561 2870 Email : prcai@oae.go.th

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและ นวัตกรรมเกษตร (อะกรีเทค) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ภายในศูนย์ฝึกอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ชุมชนชนบท และถิ่นทุรกันดาร ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่นของ

สวทช.ภาคเหนือ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จำนวน 5 หมวดความรู้ 10 หลักสูตร เพื่อเป็นการขยายผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. สู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งในชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อาทิ การจัดการปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการนา การผลิตอาหารโปรตีน ปศุสัตว์/อาหารสัตว์ พลังงานในชุมชน และการจัดการของเสียทางการเกษตรหรือชุมชน

รวมถึงยังมีโครงการต้นแบบการใช้เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในถิ่นทุรกันดารเพื่อการเกษตร จากเนคเทค-สวทช. เป็นหลักสูตรการประกอบและติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเกษตรกรในถิ่นทุรกันดาร และโครงการการใช้แผ่นยางธรรมชาติความเป็นพิษต่ำรองบ่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำ จากเอ็มเทค-สวทช. ซึ่งอยู่ระหว่างปรับพื้นที่บ่อเพื่อดำเนินโครงการในระยะต่อไป

ด้าน พล.ต.ต. รุ่งสุริยา เผือกประพันธ์ ผบก.ตชด.ภาค 3 กล่าวเสริมว่า ศูนย์ฝึกอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ชุมชนชนบท และถิ่นทุรกันดาร เป็นสถานศึกษาที่ดําเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีโรงเรียนในสังกัดรับผิดชอบ จํานวน 67 แห่งในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ในการบ่มเพาะเพื่อให้ความรู้กับเด็กหรือผู้ด้อยโอกาส คือการให้อาวุธทางปัญญาในการสร้างคน สร้างความมั่นคง สร้างอาชีพแก่บุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถแก้ปัญหากระบวนการสร้างอาชีพได้อย่างเหมาะสมต่อสภาพสังคมที่เป็นที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางเลือกของการดำเนินชีวิต โดยการสนับสนุนเรื่องการส่งเสริมการศึกษาทุกๆ ด้าน ทั้งเรื่องทางสังคม เข้าใจในกฎหมายบ้านเมือง รวมถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและสังคมไทย เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างเสริมศักยภาพต่อการพัฒนาประเทศ

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายผลงานวิจัยของ สวทช. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ภายในศูนย์ฝึกอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ชุมชนชนบท และถิ่นทุรกันดาร ให้มีการบรรจุองค์ความรู้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทางเลือกของเด็กนักเรียนและชุมชน เพื่อสามารถพัฒนาไปสู่ศูนย์เรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชุนในพื้นที่ได้

นายนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในช่วงหน้าแล้งนี้เป็นช่วงที่มะม่วงในฤดูกำลังออกดอก ติดผล ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ว่าสภาพอากาศในฤดูร้อนปีนี้ คาดว่าจะร้อนกว่าปี 2561 อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปฤดูร้อนจะมีลักษณะสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยจักจั่น

โดยเพลี้ยจักจั่นที่พบการระบาดจะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ตัวที่มีลำตัวสีเทาปนดำ และตัวที่มีลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ลักษณะส่วนหัวโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ทำให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็ก มองดูด้านบนเหมือนรูปลิ่ม ขนาดความยาวลำตัว 5.5-6.5 mm. เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ รูปร่างยาวรีสีเหลืองอ่อน จะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอก ปรากฏเป็นแผลเล็กๆ คล้ายมีดกรีด

หลังจากวางไข่แล้วประมาณ 1-2 วัน ระยะฟักไข่ 7-10 วัน เมื่อออกเป็นตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบตัวอ่อนเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ 4 ครั้ง กินเวลา 17-19 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย การเคลื่อนไหวว่องไวตัวอ่อนมักพบอยู่เป็นกลุ่มตามช่อดอกและใบ โดยเฉพาะบริเวณโคนของก้านช่อดอกและก้านใบ เนื่องจากบริเวณโคนจะมีเยื่อบางๆ สีน้ำตาลหุ้มไว้ เมื่อแดดร้อนจัดจะหลบซ่อนอยู่ตามหลังใบ

ระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้งและร่วงหล่น ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียกเยิ้ม หลังจากนั้นตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาด (ใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง

ดังนั้น จึงขอแจ้งเตือนเกษตรกรที่ปลูกมะม่วง หมั่นสำรวจต้นมะม่วงของตนเอง หากพบแมลงขนาดเล็กคล้ายจักจั่น กระโดดไป-มา เวลาเดินเข้าใกล้ต้นมะม่วง หรือพบน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และมีราดำขึ้นปกคลุม ให้ป้องกันกำจัด ดังนี้

– ฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วงที่มะม่วงแทงช่อดอกจนถึงก่อนดอกบาน สัปดาห์ 1 ครั้ง และควรหลีกเลี้ยงการฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรียช่วงที่ดอกมะม่วงบานเพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร การฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรียนั้น ควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นเพื่อป้องกันแมลงที่หลบซ่อนอยู่ในส่วนอื่นของต้น และควรฉีดพ่นในช่วงที่แดดไม่ร้อน แนะนำให้ฉีดพ่นในตอนเย็น

– ในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น แต่ควรปรับหัวฉีดอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป และเป็นการชะล้างราดำที่เกาะติดอยู่บนใบมะม่วงอีกด้วย

– หากระบาดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย แนะนำให้ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงปากดูดจำพวกเพลี้ย เช่น อิมิดาคลอพริด (โปรวาโด), ไดโนที่ฟูแรน (สตาร์เกิ้ล), ฟีโนบูคาร์บ เป็นต้น อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก

คุณพิเชษฐ กันทะวงค์ เกษตรกรรุ่นใหม่ วัย 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 12 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้บริหารจัดการพื้นที่ 3 ไร่ 3 งาน ให้เป็นทั้งฟาร์ม/แหล่งเรียนรู้/แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร/ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย/ร้านอาหาร และที่พักอาศัย จนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้ 2-3 แสนบาท ต่อเดือน

สร้างสินค้าคุณภาพสูง สู่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

หลังจากเรียนจบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2546 ได้มีโอกาสเรียนรู้สะสมประสบการณ์ด้านการทดสอบสายพันธุ์พืชและการควบคุมศัตรูพืชกับบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นกว่า 10 ปี จึงได้ตัดสินใจออกมาทำฟาร์มเมล่อนปลอดสารพิษ ในปี 2555 บนพื้นที่ของตนเอง 3 ไร่ 3 งาน จากเดิมที่เป็นทุ่งนา มาเป็นฟาร์มระบบโรงเรือนแบบปิด เพื่อผลิตเมล่อนปลอดสารพิษคุณภาพสูงเกรดพรีเมี่ยม (Premium) สาเหตุที่เลือกทำฟาร์มเมล่อนปลอดสารพิษ เนื่องจากเมล่อนโดยทั่วไปเป็นผลไม้ที่มีโรคและแมลงศัตรูมาก จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด การผลิตเมล่อนปลอดสารพิษจึงเป็นความท้าทาย แต่คุ้มค่าต่อการลงทุนและเมล่อนปลอดสารพิษ มีราคาและความต้องการของตลาดสูง โดยเฉพาะผู้บริโภคหรือลูกค้าที่รักสุขภาพ

รวมทั้งสร้างเครือข่ายช่วยเหลือกัน

คุณพิเชษฐ ได้วางแผนการผลิตเมล่อน เพื่อออกจำหน่าย จำนวน 250 ลูก ต่อ 15 วัน โดยวางจำหน่ายที่ร้านค้าภายในฟาร์ม จำหน่ายทางออนไลน์ https://www.facebook.com/ozonefarm และ http://ozonefarm.lnwshop.com/ รวมทั้งห้างสรรพสินค้า (Trade Market) นอกจากนี้แล้วยังผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยชนิดอื่นๆ ได้แก่ มะเดื่อฝรั่ง มะเขือเทศเชอร์รี่ สตรอเบอรี่ ราสป์เบอรี่ และพืชผักสมุนไพร ภายใต้แบรนด์สินค้าโอโซนฟาร์ม ปัจจุบัน ได้ขยายพื้นที่และสร้างสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ของจังหวัดเชียงราย เพื่อผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยกว่า 100 โรงเรือน มีการบริหารจัดการร่วมกับสมาชิก โดยวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยคุณภาพสูง เพื่อป้องกันสินค้าล้นตลาด (Over Supply) สำหรับราคาที่จำหน่ายเมล่อนผลสด เกรดพรีเมี่ยม กิโลกรัมละ 180 บาท, เมล่อนผลสด เกรดเอ กิโลกรัมละ 150 บาท, มะเดื่อฝรั่งแบบรับประทานสด กิโลกรัมละ 350 บาท, มะเขือเทศเชอร์รี่ กิโลกรัมละ 150 บาท

ปัจจุบัน การแข่งขันด้านการตลาดสูง เกษตรกรต้องรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ สร้างแบรนด์/สร้างความแตกต่าง/จุดเด่นเพื่อเป็นจุดขาย พัฒนาการบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ ประชาสัมพันธ์สินค้าทุกช่องทางและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย สำหรับผู้ที่จะผลิตเมล่อน ต้องมีใจรัก มีความดูแลเอาใจใส่อย่างดีทุกระยะการเจริญเติบโตและเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า คุณพิเชษฐ กันทะวงค์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดเชียงราย มีสมาชิกเครือข่าย 170 ราย และในทุก 2 เดือน จะจัดเวทีสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานที่ของสมาชิกแต่ละคนหมุนเวียนกันไป เพื่อพบปะพูดคุย/วางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ พร้อมทั้งให้คำชี้แนะแก่สมาชิกรายใหม่ นอกจากนี้แล้วโอโซนฟาร์ม ยังเป็นแหล่งที่รวบรวมและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มช่องทางและส่งเสริมขยายโอกาสทางการตลาด

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) เพื่อทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุและสืบทอดอาชีพการเกษตร และ คุณพิเชษฐ กันทะวงค์ เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและสร้างช่องทางการตลาด สามารถจำหน่ายเอง อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง น่ายกย่อง และเป็นตัวอย่างที่ดีในการขยายผลสร้างอนาคตใหม่ให้แก่เกษตรกรต่อไป เกษตรกรที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิเชษฐ กันทะวงค์ บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 12 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทร. (089) 201-6654

พันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่ ทาดาชิ กรีนสวีท โอโซนนัมเบอร์วัน

– วิธีการปลูก เพาะกล้า 7 วัน ย้ายปลูกลงกระถาง (1 ต้น/กระถาง)

– วัสดุปลูก กากมะพร้าวสับ ทราย 1 : 1

– โรงเรือน ขนาด 5×20 เมตร ปลูกได้ 250 ต้น/โรงเรือน

– ให้ปุ๋ย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสร้างต้น ระยะสร้างใบ ระยะสร้างตาดอก

– เก็บผลผลิตไว้เพียง 1 ลูก ต่อต้น

– งดปุ๋ยก่อนตัดเมล่อนเป็นระยะเวลา 10 วัน ก่อนตัด เพื่อลดปัญหาสารไนเตรตที่ตกค้างในเมล่อน

– ใช้ชีววิธีมาจัดการแมลงศัตรูพืชและโรคพืช เช่น ใช้เชื้อ Tricoderma sp. และเชื้อ Bacillus Subtilis ในการป้องกันกำจัดโรคพืช – เชื้อ Beauveria bassiana และเชื้อ Bacillus Thuringiensis ในการป้องกันกำจัดแมลง

– หลังปลูก 75 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้

– เมล่อน มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในปริมาณสูง มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ซึ่งล้วนให้ประโยชน์แก่ร่างกายทั้งนั้น แถมยังไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล อีกทั้งแคลอรีต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเอนไซม์ในน้ำเมล่อน ชื่อว่า superoxide dismutase มีสรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดกระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย ส่งผลให้สามารถลดระดับความเครียดของคนเราได้ และสร้างกระบวนการรับรู้ที่ดีขึ้น เช่น มีสมาธิมากขึ้น สามารถปรับพฤติกรรม ลดอารมณ์ฉุนเฉียวโมโหง่าย ดูเป็นมิตร เป็นต้น

มาแล้ว! กรมอุตุฯ เตือน 19 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม-ลูกเห็บตก รอบนี้โดนยาวถึง 19 มี.ค. นี้ ได้รับผลกระทบทั่วไทย แนะประชาชนควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง เกษตรกรป้องกันความเสียหายด้วย
กรมอุตุฯ / เมื่อวันที่ 14 มี.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศร้อนในตอนกลางวันไว้ด้วย

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ในวันนี้ (14 มีนาคม 2562) และจะแผ่เข้ามาต่อเนื่องถึงวันที่ 17 มีนาคม 2562 หลังจากนั้น ในช่วง วันที่ 18-19 มีนาคม 2562 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันนี้ ถึงเวลา 06.00 น.ของวันที่ 15 มี.ค.นี้ ภาคเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 15-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.