กระบะพันธุ์แกร่ง พาลุยสวนเกษตร เจาะลึกพืชเศรษฐกิจไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ฟอร์ด ประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนและกลุ่มเกษตรกรร่วมกิจกรรม “ฟอร์ด เรนเจอร์ แกร่ง…ทุกงานเกษตร” กับเดินทางพิสูจน์สมรรถนะรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ที่มาพร้อมขุมพลังอันเหนือชั้น และเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ตอบสนองต่อการขับขี่อย่างยอดเยี่ยมในเส้นทางสมบุกสมบัน ทั้งทางเรียบและออฟโรด รองรับการบรรทุกหนัก ลากจูง พร้อมฝ่าฟันทุกอุปสรรค สมกับคำนิยามรถกระบะ “เกิดมาแกร่ง” เพื่อเยี่ยมชมสวนเกษตรและพูดคุยกับเกษตรกร ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-นครนายก-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา

คณะสื่อมวลชนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครนายก โดยมีจุดหมายแรกคือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง อำเภอบ้านนา ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระดับอำเภอ ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงมีความโดดเด่นจากการเป็นชุมชนที่ริเริ่มปรับเปลี่ยนจากการเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้เรียนรู้และบริหารจัดการทรัพยากรและปัจจัยทางการเกษตร คือ ดิน น้ำ และพืช โดยมุ่งเน้นให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ มีความรู้ และแบ่งปันสู่ชุมชนเพื่อความผาสุกอย่างยั่งยืน บ้านทุ่งกระโปรงเน้นการปลูกพืชคลุมดิน เช่น ผักกูด ที่มากด้วยประโยชน์ ปลูกง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ขายคล่อง เพียบพร้อมด้วยสรรพคุณ เหมาะกับวิถีพอเพียง

ปัจจุบัน ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงเป็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ในวิถีชีวิตและวิถีทำกินด้านการเกษตร เป็นต้นแบบของบุคคลและชุมชนอื่นได้ โดยระหว่างการเดินทาง สื่อมวลชนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ปรุงโดยพืชผักและผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่ ปลอดสารพิษของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงด้วย

หลังจากนั้น สื่อมวลชนมุ่งหน้าเยี่ยมชมสวนโกโก้ของ คุณฐาณุพงษ์ ชินธนะชัยรัตน์ เกษตรกรยุคใหม่ ณ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โกโก้เป็นพืชยืนต้นที่ดูแลไม่ยุ่งยาก เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย โรคพืชและแมลงศัตรูรบกวนน้อย ใช้น้ำไม่มาก ออกลูกดกทั้งปี โดยสวนโกโก้แห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ เริ่มปลูกโกโก้ จำนวน 600 ต้น เป็นสวนโกโก้แบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกเหนือจากการปลูกโกโก้แล้วยังมีการปลูกไม้ผลอื่นๆ เช่น อ้อย หรือกล้วย ซึ่งสามารถนำซากของผลไม้มาย่อยสลายทำเป็นปุ๋ยให้กับโกโก้ได้ โดยสวนโกโก้แห่งนี้ได้เข้าร่วมกับโครงการส่งเสริมการปลูกโกโก้ออร์แกนิกของ บริษัท เอทีเอ โปรดักส์ จำกัด เพื่อส่งออกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โกโก้ระดับพรีเมี่ยมต่อไป

ต่อมา คณะสื่อมวลชนได้ไปเยี่ยมชมบ้านหมากม่วง (The Mango House Farm) ฟาร์มมะม่วงที่ดำเนินงานโดยเกษตรกรไทย ยุค 4.0 ที่ต่อยอดธุรกิจการปลูกมะม่วงของครอบครัวมานานกว่า 20 ปี ให้กลายเป็นธุรกิจแบบครบวงจร ในช่วงเริ่มต้น บ้านหมากม่วงปลูกมะม่วงหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการจำหน่ายในประเทศ ต่อมาได้พัฒนาสายพันธุ์และเพิ่มผลผลิตจนได้คุณภาพที่ส่งออกได้ ในแต่ละปีมีผลผลิตประมาณ 180-200 ตัน โดยคุณวราภรณ์ มงคลแพทย์ บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และเป็นเกษตรกรไทยรุ่นลูก ซึ่งเป็นผู้ต่อยอดธุรกิจของครอบครัว เล็งเห็นโอกาสและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการแปรรูปมะม่วงเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ไอศกรีมมะม่วงพุดดิ้ง มะม่วงลอยแก้ว แยมมะม่วง น้ำมะม่วง มะม่วงกวน กล้วยอบน้ำสมุนไพร รวมถึงข้าวเหนียวมะม่วงสูตรเฉพาะของฟาร์ม และกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงอีกหลายอย่างที่ชวนให้เราต้องติดตาม

คณะสื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมสวนอะโวกาโดคุณแดง ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อะโวกาโดเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ ที่เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ ให้ผลผลิตดกและเร็ว รวมถึงเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณความต้องการสูงทั้งตลาดภายในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี สวนอะโวกาโด ของคุณสำเริง กลั่นกลิ่น ได้รับพันธุ์อะโวกาโด จากสถานีวิจัยพืชสวนปากช่องและพันธุ์จากโครงการหลวงทางภาคเหนือมาทดลองปลูกอย่างต่อเนื่อง จนมีต้นอะโวกาโดมากกว่า 500 ต้น โดยจะปลูกแซมในสวนน้อยหน่าเพชรปากช่อง ต้นหนึ่งให้ผลผลิตประมาณ 300-500 กิโลกรัม โดยจะให้ผลผลิตประปรายตลอดทั้งปี และจะมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน นอกจากนี้ สวนแห่งนี้ยังมีต้นอะโวกาโดพันธุ์พิเศษ “พันธุ์บรูนี่” มีลักษณะผลใหญ่ คุณภาพดี รสชาติอร่อย ซึ่งมีปลูก ณ สวนแห่งนี้เพียงที่เดียวเท่านั้น

จากนั้น คณะเดินทางก็มุ่งหน้าต่อไปยังศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าเยี่ยมชมพื้นที่การปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่าง โดยรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ในสวนซึ่งมีพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ บนพื้นที่ลาดเชิงเขาหินปูน ทำให้สื่อมวลชนได้สัมผัสถึงสมรรถนะอันดีเยี่ยมด้วยระบบช่วงล่างของฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการโคลงตัว มอบการควบคุมและการทรงตัวที่ยอดเยี่ยม พร้อมด้วยเหล็กแชสซีส์แข็งแกร่งพิเศษเสริมระบบกันสะเทือนมอบการควบคุมและความสะดวกสบายเหนือชั้น อีกทั้งยังขับขี่ง่าย ปลอดภัย ด้วยระบบพวงมาลัยผ่อนแรงแบบไฟฟ้า (EPAS) และระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ก่อนกลับ สื่อมวลชนได้มีโอกาสซื้อผลผลิตจากสถาบันวิจัยฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปต่างๆ เป็นของฝาก ก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

“ฟอร์ด ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย เรามั่นใจว่า ฟอร์ด เรนเจอร์ ยังคงรักษานิยาม ‘เกิดมาแกร่ง’ ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สมรรถนะการขับขี่ที่พร้อมลุยในพื้นที่สมบุกสมบัน โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตร ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ทั้งการบรรทุก ลากจูง รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ถูกติดตั้งมาเพื่อผู้ขับขี่ ที่สำคัญ ฟอร์ด เรนเจอร์ มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามความต้องการใช้งาน ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้อย่างง่ายๆ เราเชื่อมั่นว่า ฟอร์ด เรนเจอร์ พร้อมเป็นพาหนะคู่ใจที่ร่วมฝ่าฟันทุกอุปสรรคร่วมกับเกษตรกรไทยไปด้วยกัน” นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียนกล่าว

ทิ้งท้ายด้วย ฟอร์ด เรนเจอร์ มีกระบะพันธุ์แกร่ง รุ่นย่อย XL ให้เกษตรกรเลือก ทั้ง แบบกระบะตอนเดียว และกระบะแบบมีแค็บ ตอบโจทย์ทุกการใช้งานของเกษตรกร ทั้งการทำงานบรรทุกหนักสมบุกสมบัน และมอบความสะดวกสบาย เพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ในราคาที่จับต้องได้

ฟอร์ด เรนเจอร์ สแตนดาร์ดแค็บ 2.2L XL เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ในราคาเพียง 559,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ สแตนดาร์ดแค็บ 2.2L XL 4×4 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ในราคา 649,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ่นแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ในราคา 599,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ ดับเบิ้ลแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ในราคาสุดคุ้มเพียง 689,000 บาท

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกๆ ท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอ สำหรับท่านที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยในรอบนี้ หลายๆ พื้นที่ก็คงกลับเข้าบ้านได้แล้ว งานเคลียร์พื้นที่หลังน้ำลดเป็นอะไรที่หนักหนาสาหัสเหลือเกิน ผมเองก็เคยเจอน้ำเข้าบ้านระดับเหนือตาตุ่ม ดีที่ว่ารีบดำเนินการในช่วงที่น้ำยังไม่แห้งหาย มีเพื่อนบ้านที่รอจนน้ำแห้งค่อยมาล้างบ้าน นั่นคิดผิดถนัด เพราะจะมีร่องรอยคราบต่างๆ เกาะอยู่เต็มไปหมด และล้างออกยากเหลือเกิน

ลมหนาวไหวยะเยือกกระทบผิว เป็นสัญญาณของฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้น ไม่กล้าทำนายว่าปีนี้จะหนาวเหน็บถึงเพียงไหน โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลตามดงดอย ก็ทำได้คือส่งกำลังใจถึงกัน เราจะผ่านวันเวลาและฤดูกาลที่ผันเปลี่ยนไปได้ด้วยกัน โลกในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก การบริโภคที่เกินกว่าวัตถุดิบที่มี สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมไม่รู้จบและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

เอ่ยชื่อ วโรชา จันทโชติ เชื่อว่ามีไม่น้อยที่นึกถึงเรื่องราวของมะนาว เพราะเมื่อ 4 ปีที่แล้ว พี่วโรชา จันทโชติ มีชื่อเสียงในเรื่องมะนาวเป็นอย่างยิ่ง เปิดตัวขึ้นมาด้วยมะนาวแป้นวิเศษ เพราะเป็นคนอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และตามมาด้วยมะนาวแป้นวโรชา กระแสการปลูกมะนาวก็โหมกระพือ บ้างประสบผลสำเร็จ บ้างก็ปลูกเพียงดูใบ เพราะไม่ได้ผลผลิตดังที่วาดหวังเอาไว้ เพราะการปลูกไม้อะไรก็ตาม ความเข้าใจเรื่องราวของต้นไม้นั้นๆ ต้องสอดคล้องกับการใส่ใจจากเจ้าของ หากเพียงปลูกลงดินหรือวงบ่อ รดน้ำ จากนั้นก็รอผลผลิตก็คงเป็นไปไม่ได้อย่างใจนัก

เมื่อพูดถึงมะนาว ในช่วงหน้าฝนก็มีข่าวมะนาวราคาตกต่ำจนเจ้าของสวนปล่อยทิ้งให้ร่วงเกลื่อนโคนต้น มารอผลผลิตช่วงหน้าแล้งเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน มะนาวก็มีราคาขายปลีกไม่น้อยกว่าลูกละ 5-10 บาท

แล้วอาหารไทยส่วนมากก็ต้องใช้มะนาวเป็นหลัก อาจมีมะขามเปียกหรือพืชที่ให้รสเปรี้ยวอยู่บ้าง แต่ไม่มีใครปฏิเสธมะนาว จึงทำให้คนที่ทำสวนมะนาวจะอย่างไรก็ยังอยู่ได้ ราคาถัวเฉลี่ยทั้งปีก็ยังพอไหว ที่สวนพี่วโรชาเองก็ยังคงปลูกแป้นวโรชาอยู่บ้าง เพียงแต่ช่วงนี้ย้ายสวน ที่เดิมส่งมอบคืนเจ้าของที่ไปแล้ว จึงมาเริ่มปลูกใหม่ที่สวนตัวเอง และยังทำกิ่งจำหน่ายอยู่เช่นเดิม

วันนี้ผมมีนัดกับพี่วโรชา นึกอยู่ในใจว่าจะมีเมนูแปลกๆ อะไรอีกไหมหนอ เมนูที่ปรุงด้วยมะนาวแป้นวโรชาไหมหนอ เพราะจุดเด่นของมะนาวสายพันธุ์นี้คือน้ำหอม เพียงบีบลงถ้วยต้มยำก็อวลกลิ่นไปถึงไหนๆ แล้ว เรียกน้ำลายสอได้ทั่วทุกคน ในการเดินทางของผมครั้งนี้จึงหมายมั่นปั้นมือว่าจะได้ลิ้มรสดังว่าแน่นอน

แต่ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน สิ่งใดที่คิดว่าใช่ก็อาจไม่เป็นไปตามนั้น วันนี้พี่วโรชานัดผมมาที่สวนแห่งใหม่ บ้านทรงไทยภาคกลาง ดูโดดเด่น และมีต้นนุ่น (ต้นงิ้ว) ใหญ่ยืนเด่น มีบ้านอีกหลังสร้างเคียงข้าง เป็นบ้านต้นไม้ไต่ไปตามต้นนุ่นต้นนี้ ด้านหน้ายืนต้นด้วยกลุ่มต้นตาลสูงเด่น ที่บ้านต้นไม้นี้เองที่พี่วโรชาเปิดเป็นสถานที่นัดพบและอบรม

ที่คาดไม่ถึงก็คือวันนี้เมนูเปลี่ยนไป ใครจะคิดว่าสภาพคนบ้านๆ แบบนี้จะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่น ทำซูชิ ปลาดิบ โดยเฉพาะแซลมอนที่เป็นจุดขายของร้าน แต่ก็ยังไม่ทิ้งเมนูพื้นบ้าน เช่น ขนมจีนน้ำยา ผัดไทยสูตรอ่างทอง และอาหารตามสั่งต่างๆ วัตถุดิบส่วนมากก็ปลูกเองในสวน พืชผักสดๆ เก็บแล้วนำมาปรุงตามเมนูอาหาร ทำให้ได้อรรถรสแห่งความสด ใหม่ กรอบ หวาน อร่อยยิ่งนัก

วันนี้พี่วโรชากำลังเดินหน้าในอีกหนึ่งอาชีพ เมื่อได้คุยกันจึงรู้ว่าตัวพี่วโรชาเองก็เป็นเคยเชฟมาก่อน ในช่วงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เปิดใหม่ๆ พี่วโรชาไปเปิดร้านอาหารที่นั่น เมนูขึ้นชื่อก็คือหอยดีดดิ้น (หอยกระทะ เสิร์ฟในกระทะร้อน) ผัดไทย และอาหารตามสั่ง

วันนี้พี่วโรชาเปิดร้านใหม่ที่ตลาดในวัดม่วง วัดที่มีพระหลวงพ่อใหญ่ นามว่า พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ ขนาดหน้าตักกว้าง 63 เมตร สูง 95 เมตร เทียบเท่าตึก 40 ชั้น มีพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวเข้ามาสักการะและเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ที่นี่พี่วโรชาทำร้านเป็นกระท่อมมุงหญ้าคา มีเมนูอาหารที่น่าสนใจและฉีกแนวกันอย่างสิ้นเชิงอยู่ 2 เมนู คือ ผัดไทยเต็มสูตรสไตล์อ่างทอง และขนมครกแซลมอน

“อะไรนะพี่ ขนมครกก็ขนมครกสิ มีสองกา หยอดแป้งเสร็จแล้วก็หยอดหน้ากระทิ”

“ทำแบบนั้นก็ไม่ใช่วโรชาสิ เราต้องจัดเมนูอาหารที่เขาเรียกอะไรนะ ฟิกชั่นเหรอ”

“ฟิวชั่น”

“นั่นแหละ การดัดแปลงเพื่อหาสิ่งที่ดีและแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองกับคนยุคใหม่ 4.0”

“มันไปกันได้เหรอพี่ขนมครกหวานๆ มันๆ แล้วยังเติมหน้าด้วยแซลมอน” “บอกเลยว่าอร่อย หอม มัน ไม่เคยกินที่ไหนแน่นอน ที่สำคัญ ไม่ใช่ขนมครกแบบญี่ปุ่นด้วยนะ อะไรนะ ทาโกะน่ะ ไม่ใช่ ของเราขนมครกแบบไทยๆ สูตรแป้งปรุงมาโดยเฉพาะ”

ผมมองเบ้าขนมครกที่เคยรับรู้และคุ้นเคย เช็ดเบ้าด้วยผ้าชุบน้ำมันพอให้ไม่ติดเบ้า จากนั้นหยอดแป้งสูตรวโรชา ปิดฝาสักครู่พอแป้งเซ็ทตัว โปะหน้าด้วยเนื้อปลาแซลมอน สาหร่าย ไข่กุ้ง หรือหน้าอื่นๆ ตามสั่ง พอสุกได้ที่ก็หยอดมายองเนสเพิ่มความหวานมันอีกครั้ง

อย่าถามผมนะครับ ไม่อยากบรรยายเลยว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ที่อร่อยมากมายจริงๆ แป้งกรอบ เนื้อปลาก็หอมมัน สาหร่าย ไข่กุ้ง และรสมายองเนสมารวมอยู่ในปาก เวลาเคี้ยวผมมีความสุข ไม่อยากกลืนเลยจริงๆ

อีกเมนูที่ยอมรับเลยว่าอร่อย แม้ไม่หิวก็กินจนเกลี้ยง จานนั่นคืดผัดไทยเต็มสูตร น้ำปรุงผัดไทยที่ปรุงสูตรเฉพาะ ใช้น้ำมันหมูมาผัดแบบโบราณ เส้นที่เหนียว นุ่ม ไข่เป็ดไล่ทุ่งแดงสดหอมมันจริงๆ ถั่วคั่วและบดเอง พริกป่นตำเอง มะม่วงน้ำดอกไม้ หรือโชคอนันต์สับ มะเฟืองหั่นชิ้น ยังแถมมีกุ้งสดตัวโตๆ เคียงมาด้วย ส่วนผักแนมน่ะรึ ถั่วงอก ใบกุยช่าย ใบบัวบก และหัวปลี มีให้หยิบเติมเองแบบไม่หวงของ สำคัญสุด มะนาวแป้นวโรชาหอมๆ สักชิ้น บีบโรยลงไป ที่เหลือก็นึกภาพตามนะครับ ผมกำลังอร่อย

“พี่ อร่อยแบบนี้ แปลกๆ แบบนี้ ถามจริงๆ หวงสูตรไหม”

“ไม่หวงครับ ผมเปิดอบรมให้คนที่สนใจนำไปประกอบอาชีพได้เลย”

“มีอะไรมั่งที่อบรม”

“การปลูกมะนาว การทำสวนครัวยุคใหม่ ผัดไทยสูตรโบราณ หอยดีดดิ้น ซูชิ และทีเด็ดล่าสุดก็ขนมครกแซลมอน”

“ต้องจองคิวไหม และติดต่อยังไงพี่”

“โทร.มาล่วงหน้าครับ ผมจะได้จัดกลุ่มให้ (086) 765-6845 รับรองว่าอบรมเสร็จไปเปิดร้านได้เลย”

วันนี้ขอจบดื้อๆ เลยนะครับ แบบว่าหนังท้องตึง หนังตาชักหย่อน สวัสดีครับคร้าบบบบบบ ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ นับเป็นหนึ่งในทำเลทองของการเพาะปลูกสินค้าเกษตรของจังหวัดกาญจนบุรี ที่นี่ดินดี น้ำดี อากาศดี เพาะปลูกพืชใดก็เจริญเติบโตงอกงาม ให้ผลผลิตคุณภาพดีตามไปด้วย ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมทั้ง “กล้วยไข่” คือพืชเศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นแห่งนี้

นับเป็นความโชคดีของทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน ที่ คุณสุเมธ หงษ์สาชุม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 086-769-3465 และ คุณศิริพร พณิชย์สานนท์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟ-บุกบ้านขนุนคลี่ ให้เกียรติสละเวลาพาทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านไปเยี่ยมชมกิจการส่งออกกล้วยไข่ ของ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ตำบลลิ่นถิ่น ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 30/4 หมู่ที่ 1 ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

คุณสุเมธ หงษ์สาชุม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ตำบลลิ่นถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกรายใหญ่อันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ที่นี่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอทองผาภูมิอีกด้วย โดยเกษตรกรต้นแบบเจ้าของแปลงเรียนรู้แห่งนี้ คือ คุณวีระ โซวเซ็ง มีประสบการณ์ด้านการส่งออกกล้วยไข่มานานกว่า 20 ปี

คุณวีระ เป็นแกนนำรวมกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อร่วมมือกันผลิตและจำหน่ายกล้วยไข่คุณภาพดี เกรดส่งออกให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีเท่าเทียมกันทุกต้น รวมทั้งเปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกกล้วยไข่ เกษตรกรที่เข้ามาเยี่ยมชมจะได้เรียนรู้แนวทางลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยคุณวีระส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

ปุ๋ย นับเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของการปลูกพืช หากเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ประกอบด้วยอินทรียวัตถุและแร่ธาตุต่างๆ เมื่อนำมาใช้ในแปลงปลูกกล้วยไข่จะช่วยปรับปรุงดินให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ และมีแร่ธาตุอาหารแก่พืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตงอกงามได้ดีขึ้น

ต่อมา ปี 2560 สำนักเกษตรอำเภอทองผาภูมิ ได้ยกระดับการพัฒนากล้วยไข่ในชุมชนแห่งนี้ ในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ รวมทั้งตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันแปลงใหญ่กล้วยไข่แห่งนี้ มีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่เพื่อการส่งออก รวมกันกว่า 1,000 ไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่มุ่งป้อนตลาดส่งออก คือ ฮ่องกง จีน ฯลฯ ผลผลิตที่เหลือป้อนตลาดห้างสรรพสินค้าชั้นนำในประเทศ

กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ตำบลลิ่นถิ่น

คุณวีระ โซวเซ็ง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ตำบลลิ่นถิ่น โทร. 089-258-5825 เล่าให้ฟังว่า ผมเป็นเกษตรกรรายแรกที่บุกเบิกการปลูกกล้วยไข่เพื่อการส่งออกของตำบลลิ่นถิ่น โดยลงทุนซื้อต้นพันธุ์กล้วยไข่ สินค้าเด่นของดีของจังหวัดกำแพงเพชรมาปลูกในท้องถิ่นแห่งนี้ ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ระยะแรกปลูกเพียงแค่ 5 ไร่ก่อนจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กล้วยไข่ลิ่นถิ่น มีคุณภาพดี ถูกใจผู้ซื้อ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ เพราะกล้วยไข่ลิ่นถิ่นมีเนื้อแน่น หอม หวาน รสชาติอร่อย ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยงาม สะดุดตาผู้ซื้อ ปลูกก็ง่าย ขายได้คล่อง แถมขายได้ราคาดีกว่ากล้วยไข่ทั่วไป ทำให้พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากกล้วยไข่ลิ่นถิ่นได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ปลูกในสภาพดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ อากาศดี รวมทั้งมีการบริหารจัดการสวนที่เป็นระบบ จึงได้ผลผลิตคุณภาพดี รสชาติหวาน อร่อย ไม่แพ้ใคร ครองใจผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างยาวนานหลายสิบปี

“ที่ผ่านมา ตลาดทั้งในประเทศและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากกล้วยไข่จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้เพื่อสุขภาพ จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบัน ฮ่องกง ซึ่งเป็นตลาดหลักสำคัญ เจอปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ทำให้ยอดสั่งซื้อกล้วยไข่ในตลาดแห่งนี้ลดลงไปกว่าครึ่ง ผมจึงเร่งประสานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนในอนาคต” คุณวีระ กล่าว

การปลูกดูแล

หากใครมีพื้นที่ว่างและสนใจปลูกกล้วยไข่ เว็บเดิมพันออนไลน์ คุณวีระ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกกล้วยไข่ดังนี้ เริ่มจากคัดเลือกหน่อพันธุ์คุณภาพดีมาปลูก ในแปลงที่เตรียมไว้ โดยขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ก่อนปลูก รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยคอก หลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือน ควรพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด วิธีนี้ยังเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก

คุณวีระ แนะนำว่า ควรกำจัดวัชพืช ปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกทำไปพร้อมกับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่ควรทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ ส่วนการให้ปุ๋ยนั้น ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง ก่อนปลูก ในอัตรา 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม และใส่ปุ๋ยเคมี จำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 46-0-0+16-20-0 ในอัตราส่วน 125-250 กรัม ต่อต้น ต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน เป็นระยะที่ต้นกล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ครั้งที่ 3 ควรให้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24 อัตรา 125-250 กรัม ต่อต้น ต่อครั้ง ภายหลังจากปลูกไปแล้ว 5 เดือน ให้ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 4 เป็นปุ๋ย สูตร 13-13-21 อัตรา 125-250 กรัม ต่อต้น ต่อครั้ง เมื่อต้นกล้วยอายุได้ 7 เดือน เพียงเท่านั้น ต้นกล้วยไข่ก็จะเจริญเติบโตได้ดี

นอกจากนี้ คุณวีระ ยังให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรพูนโคนต้นกล้วยไข่ โดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย เพื่อลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วย เมื่อเจอลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้น ทำให้ต้นกล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย

ขั้นตอนต่อมา เกษตรกรควรตัดแต่งหน่อหลังปลูกกล้วย ประมาณ 5 เดือน ปาดหน่อ ทุกๆ 20-30 วัน ครั้งแรก ควรปาดเฉียงตัดขวางเพื่อให้ลำต้นกล้วยเอียงทำมุม 45 องศา สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว ครั้งต่อไปให้รอยปาดครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยปาดครั้งแรก หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงเฉือนหน่อ ครั้งที่ 2 ให้รอบ เฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว แต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่า จะถึงกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม