กระบี่อ้าแขนรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม 6 ล้านคนกระบี่โหมโปรโมต

เที่ยวข้ามภาคโฟกัสตลาดเชียงใหม่ อุดรธานี ชูเส้นทางท่องเที่ยวเด่น 5 เส้นทางตรึงใจนักท่องเที่ยวไทย-เทศ คาดผู้มาเยือนพุ่งทะลุ 6 ล้านคนในปีนี้ นายอภิชัย อรัญญิก ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ กล่าวว่า ภาครัฐและภาคเอกชนได้ผนึกกำลังกันนำผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานไม่มีทะเล จึงเป็นการเติมเต็มจากจังหวัดกระบี่ที่มีสินค้าท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ จังหวัดเชียงใหม่ และอุดรธานี ที่เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและจังหวัดใกล้เคียง

สำหรับการจัดกิจกรรมกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวข้ามภูมิภาค เป็นการสร้างการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปยังภาคส่วนต่างๆ เป็นช่องทางให้นักท่องเที่ยวจากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางไปจังหวัดกระบี่ และเป็นโอกาสให้นักท่องเที่ยวจากจังหวัดกระบี่ได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการกระจุกตัวและความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว เป็นการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในแง่มุมใหม่แก่จังหวัดกระบี่ ที่มีสินค้าท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและความหลากหลาย พร้อมมีเส้นทางท่องเที่ยวเด่น จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ 1. ตกหลุมรักที่ปลายแหลมสัก 2. เรียบง่ายสุขสงบที่ทุ่งหยีเพ็ง 3. เสน่ห์บ้านๆ แห่งวิถีเกาะกลาง 4. วารีรักษ์สปาภูมิปัญญาไทย และ 5. ผจญภัยเหนือยอดไม้ที่อ่าวลึก

ทั้งนี้มั่นใจว่า ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จะสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคู่รัก กลุ่ม Gen-Y กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้หญิง และกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย อาทิ กิจกรรมเชิงสุขภาพ ทำสปา แช่น้ำร้อน/ร้อนเค็ม หรือกิจกรรมเชิงผจญภัย ปีนผา ท้าพายคยักตามหาลายแทงขุมทรัพย์ในหุบผาลากูน รวมไปถึงกิจกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน การสร้างบ้านปลา ปลูกป่าชายเลน หรือกิจกรรมคืนกล้วยไม้รองเท้านารีสู่ป่า เป็นต้น

“ตามวิสัยทัศน์ ททท. วางเป้าหมายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม โดยจังหวัดกระบี่เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ โดยวางคู่กับยุทธศาสตร์ของจังหวัด Krabi Goes Green ที่มุ่งไปสู่การท่องเที่ยวสีเขียว ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ซึ่งกำหนดไว้ว่า กระบี่จะต้องเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของกลุ่มอันดามันในอนาคต”

นายอภิชัยกล่าวว่า สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามายังจังหวัดกระบี่ ในปี 2559 มีจำนวนกว่า 5.8 ล้านคน เพิ่มจากปี 2558 ร้อยละ 4.09 แบ่งเป็นชาวไทยกว่า 2.16 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกว่า 3.63 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยว 8.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปี 2558 ร้อยละ12.97 ซึ่งในอนาคตภาคการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก คาดว่าในปี 2560 นักท่องเที่ยวจะเข้ามายังจังหวัดกระบี่เพิ่มขึ้นถึง 6 ล้านคน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7 – วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2560 ชีวิตประจำวันของมนุษย์ทำงานยุคปัจจุบันที่เร่งรีบไปหมดซะทุกเรื่อง ‘ไมโครเวฟ’ จึงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยในการใช้ไมโครเวฟอยู่

เทคโนโลยีไมโครเวฟได้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อสื่อสารในระบบเรดาห์ โดยจอห์น แรนดอล และเอช เอ บู๊ต ส่วนแนวคิดในการนำไมโครเวฟมาใช้ในการให้ความร้อนแก่อาหารนั้นถูกค้นพบโดย เพอร์ซี สเปนเซอร์ ซึ่งทำงานที่บริษัท เรย์ธีออน (Raytheon) ในขณะที่เขากำลังสร้างแมกนีตรอนเพื่อใช้ในระบบเรดาห์น้น เขาสังเกตเห็นว่าแท่งช็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อละลาย โดยทั้งนี้อาหารชนิดแรกที่ถูกอบโดยเตาอบไมโครเวฟคือ ข้าวโพดคั่ว และในปี 1947 เรย์ธีออนก็ผลิตเตาอบไมโครเวฟเครื่องแรกเพื่อการพาณิชย์ ชื่อ Radarange

ในการทำความร้อนแก่อาหารด้วยพลังงานไมโครเวฟ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบด้วย แหล่งกำเนิดคลื่นไมโครเวฟ (Magnetron), (ช่วงความถี่ระหว่าง 0.3-300 GHz หรือในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 30 cm-0.3 mm) และใช้ท่อนำคลื่น (Wave guide) ส่งคลื่นไปยังอาหาร (Load) ที่อยู่ภายในตู้ (Applicator) ภายในอาหาร ประกอบไปด้วยโมเลกุลของน้ำ น้ำมัน อิออน ต่างๆ ที่มีขั้วทางไฟฟ้าจะมีการสั่นและเคลื่อนไหวสลับไปมาหลายล้านครั้ง (ตามความถี่ไมโครเวฟที่ใช้) ทำให้เกิดการขัดสีกันจนก่อให้เกิดความร้อนขึ้นมาในอาหารที่นำมาผ่านกระบวนการ และไม่มีคลื่นไมโครเวฟตกค้างเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ

ปัจจุบัน มีการใช้ไมโครเวฟที่มีความถี่สูงกับวัสดุต่างๆ ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การอบแห้งอาหาร สิ่งทอ ไม้และกระดาษ อุตสาหกรรมพลาสติก การทำสเตอริไลซ์ ฯลฯ ขณะเดียวกัน ไมโครเวฟก็เป็นอุปกรณ์ซึ่งมีใช้แทบทุกครัวเรือน ด้วยคุณสมบัติที่ใช้เพื่ออุ่นและปรุงอาหาร หรือละลายน้ำแข็งออกจากบรรจุภัณฑ์ อยางไรก็ตาม ข้อควรระวังในการใช้ไมโครเวฟ มีดังนี้ หากบรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ (Microwaveable package) ให้เจาะรู หรือเผยอฝาเล็กน้อย เพื่อป้องกันการปะทุของอาหาร เนื่องจากความดันที่เพิ่มขึ้นภายใน

ส่วนภาชนะที่สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ ควรเป็นภาชนะที่มีคุณสมบัติไม่ดูดกลืนคลื่นไมโครเวฟ เช่น แก้ว เซรามิก กระดาษ หรือพลาสติกชนิดที่ระบุว่าใช้กับเตาไมโครเวฟได้ ซึ่งจะปล่อยให้คลื่นผ่านเลยไป ไม่ดูดกลืนคลื่นไว้ ภาชนะที่มีรูปกลม มน ปากกว้าง จะดีกว่าภาชะที่มี่เหลี่ยมมุมซึ่งจะรับคลื่นไมโครเวฟได้น้อย อีกทั้งภาชนะต้องไม่ตกแต่งขอบหรือลดลายด้วยสีทองหรือเงิน หรือเคลือบด้วยสีฉูดฉาด ซึ่งจะมีโลหะหนักละลายออกมาปนกับอาหารภาชนะที่ทำด้วยโลหะไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับเตาไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อน อุปกรณ์เสื่อมสภาพได้ง่าย ส่วนกระดาษฟอยล์ โลหะบางๆ รวมถึงโลหะปลายแหลม จะทำให้ร้อนอย่างรวดเร็วในเตาไมโครเวฟ จนอาจทำให้เกิดประกายไฟได้

แล้วอาหารที่อุ่นหรือปรุงจากเตาไมโครเวฟ ปลอดภัยหรือไม่ คุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไร…อาหารที่อยู่ในเตาไมโครเวฟจะมีความร้อนสูงขึ้นเพราะคลื่นที่ดูดซับโดยอาหารจะถูกแปลงเป็นพลังงานความร้อนภายในอาหารโดยตรง และไม่มีคลื่นตกค้างหรือปนเปื้อนในอาหารในระหว่างกระบวนการเลย เมื่อรับประทานอาหารที่ทำให้สุกด้วยเตาไมโครเวฟจึงไม่เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนคุณค่าทางโภชาการนั้นในทุกวิธีของการปรุงอาหารล้วนสามารถทำลายวิตามินและสารอาหารต่างๆ ได้ทั้งนั้น ขึ้นกับระยะเวลาในการปรุงอาหาร ปริมาณของเหลวที่หายไป และอุณหภูมิในการปรุงอาหาร ซึ่งหากกล่าวถึงการปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟแล้ว พบว่าใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้น วิตามินที่ละลายน้ำได้ เช่น กรดโฟลิก วิตามินบี และวิตามินซี ซึ่งไวต่อการถูกทำลายด้วยความร้อนต จึงมีผลกระทบน้อย

ดังนั้น หากผู้ใช้งานเลือกซื้อเตาไมโครเวฟที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพ อ่านคู่มือการใช้งานและใช้งานเตาไมโครเวฟหรือพลังงานจากไมโครเวฟอย่างถูกวิธีแล้ว จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะรวดเร็ว สะดวก ประหยัด เหมาะสมกับชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบ อีกทั้งอันตรายจากเตาไมโครเวฟก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

กรมประมงเปิดงานวิจัยเปลี่ยนเศษ “หนังปลานิล” เหลือทิ้ง เป็น “คอลลาเจน” คุณภาพสูง

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงได้ศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการนำเศษเหลือทิ้งจากหนัง เกล็ด ครีบ และก้างปลานิล มาใช้ประโยชน์ โดยผลิตเป็นคอลลาเจน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นการช่วยลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ปลานิลถือเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยจากข้อมูลในปี 2559 มีปริมาณผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยงถึง 176,463 ตัน มีการส่งออกปลานิลและผลิตภัณฑ์กว่า 7,975.4 ตัน คิดเป็นมูลค่า 598.5 ล้านบาท โดยส่งออกในรูปแบบของเนื้อปลานิลแปรรูปแช่แข็งและแช่เย็น ถึงร้อยละ 38.1 ซึ่งการแปรรูปดังกล่าวนี้ทำให้เกิดเศษเหลือทิ้งจากหนัง เกล็ด ครีบ และก้างปลา ปริมาณมากถึงร้อยละ 50-70 ของวัตถุดิบเริ่มต้น

นายปวเรศวร์ อินทุเศรษฐ นักวิชาการผลิตภัณฑ์อาหารชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง นักวิจัยผู้ศึกษาวิจัย เรื่อง “การสกัดคอลลาเจนที่ละลายในกรดจากหนังปลานิล” กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำส่วนใหญ่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการทำปุ๋ย ซึ่งนับว่ามีมูลค่าค่อนข้างต่ำ จึงมีแนวคิดที่จะนำเศษเหลือทิ้งจากปลานิลมาศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ด้วยการสกัดเป็นคอลลาเจนเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องหนัง ยารักษาโรค วัสดุทางการแพทย์ เครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ที่ผ่านมามีการศึกษาการสกัดคอลลาเจนจากหนังและก้างปลา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล มีการศึกษาสกัดคอลลาเจนจากหนังปลาน้ำจืดน้อยมาก จึงนับเป็นความท้าทายของงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ประโยชน์เศษเหลือทิ้งจากสัตว์น้ำจืดชนิดอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต

สำหรับขั้นตอนการศึกษาสกัดคอลลาเจนจากหนังปลานิลนั้น เริ่มต้นจากการนำหนังปลามากำจัดโปรตีนที่ไม่ใช่คอลลาเจนออกโดยการแช่ในสารละลายด่าง จากนั้นกำจัดไขมันในหนังปลาออกโดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ แล้วจึงทำการสกัดคอลลาเจนโดยใช้กรดอะซิติก จากนั้นกรองเอาส่วนของเหลวมาตกตะกอนคอลลาเจนโดยการเติมเกลือ แล้วแยกตะกอนโดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง และนำตะกอนคอลลาเจนที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์โดยการทำไดอะไลซิส แล้วจึงทำให้แห้ง จะได้เป็นคอลลาเจนบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลและสัตว์บกทั่วไป

ซึ่งหนังปลานิลจำนวน 100 กรัม จะสามารถผลิตคอลลาเจนได้ปริมาณถึง 30 กรัม ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมต่อยอดทางความคิดอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้นำเอาเศษเหลือทิ้งส่วนอื่นๆ ของปลา เช่น เกล็ดมาสกัดเป็นคอลลาเจนได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและลดเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำให้เหลือน้อยที่สุด

ทั้งนี้ หากภาคเอกชนรายใดต้องการนำงานวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม เข้ามาหารือกับกรมประมงได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7 – วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2560 ร้านอาหารสงขลาตรึงราคาเดิม สวนกระแสการปรับราคาก๊าซหุงต้ม ใช้เตาถ่านแทนก๊าซเพื่อลดต้นทุน ไม่ต้องการผลักภาระให้ผู้บริโภค

วันที่ 6 ก.ย. รายงานข่าวว่าคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)มีมติให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี ในอัตรา 0.67 บาท ต่อ กกก. จากเดิม กก.ละ 20.49 บาท เป็น 21.15 บาท หรือปรับราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 10 บาทต่อถังขนาด15 กก. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.

รายงานข่าวว่าจากการสำรวจบรรดาร้านอาหารใน จ.สงขลา โดยเฉพาะร้านข้าวแกงริมทาง ซึ่งเป็นปากท้องส่วนใหญ่ของประชาชน เช่น ที้ร้านข้าวแกงป้าไพ ในย่านชุมชนวชิรา เขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งจำหน่ายอาหารราคาต่ำกว่าที่อื่น โดยเฉพาะแกงถุงและกับข้าวขายเพียงถุงละ 10 บาท พบว่ายังไม่มีการปรับราคาขึ้นแต่อย่างใดและอาหารทุกอย่างยังขายราคาเดิม

นางประไพ ทองมณี อายุ 65 ปี กล่าวว่า แม้ราคาก๊าซหุงต้มซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักจะเพิ่มขึ้นถึงถังละ10 บาท แต่ก็ยังขายราคาเดิมทุกเมนู เนื่องจากไม่ต้องการผลักภาระให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ และนักเรียนนักศึกษา อาจจะปรับเปลี่ยนนำเตาถ่านเข้ามาใช้ประกอบอาหารแทนเตาแก๊สบ้างบางส่วน เพื่อประหยัดต้นทุนโดยที่ไม่ต้องขึ้นราคา

ฟิลิปปินส์ มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทั้งตอนเหนือสุดและใต้สุด อยู่ในระดับเดียวกับประเทศไทย จึงมีนักเศรษฐศาสตร์มีชื่อบางท่านให้ประเทศทั้งสองเป็นประเทศคู่แฝด แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือ ฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ในเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นที่พัดผ่านอย่างรุนแรงหลายลูกในทุกๆ ปี ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอบริโภคภายในประเทศ จำเป็นต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศทุกปี

ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศหมู่เกาะ มีพื้นที่รวม 300,000 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง เกาะลูซอนเป็นเกาะเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ มะนิลา แม้ว่าฟิลิปปินส์มีพื้นที่น้อยกว่าประเทศไทย แต่กลับมีประชากรมากกว่าประเทศไทย ตามสถิติปี 2558 มีประชากร 70 ล้านคนเศษ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประจำชาติ

ฟิลิปปินส์ เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสหลายร้อยปี ต่อมาสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อ และได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2489

ฟิลิปปินส์ได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute : IRRI) หรือ อีรี่ เป็นองค์กรที่ไม่หวังกำไร ด้วยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์และรัฐบาลฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 อีรี่เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อมีการปรับปรุงข้าวพันธุ์ IR8 ที่มีต้นเตี้ย ให้ผลผลิตสูง มีผู้นิยมเรียกว่า ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์ หรือมิราเคิลไรซ์ ได้กระจายพันธุ์ปลูกไปเกือบทุกประเทศที่ปลูกข้าว ช่วงดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคปฏิวัติเขียวก็ว่าได้ ข้าวพันธุ์ดังกล่าวแม้ว่าประเทศต่างๆ

จะชื่นชอบก็ตาม แต่รสชาติไม่เป็นที่ต้องการของคนไทย เพราะว่าเป็นข้าวร่วนและแข็งเมื่อหุงต้มแล้วจึงเพียงนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ และในที่สุดนักวิชาการไทยประสานความสำเร็จได้ข้าวพันธุ์ กข 1 กข 2 และ กข 3 เลขคี่หมายถึงข้าวเจ้า ส่วนเลขคู่หมายถึงข้าวเหนียว นอกจากนี้แล้ว อีรี่ยังมีการแลกเปลี่ยนนักวิจัยข้าวของประเทศต่างๆ มาทำการค้นคว้าวิจัยที่นี่และมีการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการผลิตข้าวอีกหลายสิบหลักสูตรให้กับนักวิชาการจากทั่วโลก นับจำนวนได้กว่าหมื่นคน ตลอดเวลา 54 ปี อีรี่ได้ทำประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาติอย่างอเนกอนันต์

จี๊ปนี่ เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของฟิลิปปินส์ โดยนำเอารถจี๊ปทหารอเมริกันสีเขียว ที่ปลดระวางแล้วหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง นำมาตกแต่งแต้มสีสันให้สดใสสวยงาม ใช้บริการขนส่งมวลชน เหมือนกับรถประจำทางของไทย ชาวต่างชาติเดินทางไปฟิลิปปินส์จะต้องไปรับบริการกันทุกคน คล้ายกับตุ๊กตุ๊ก สัญลักษณ์ประจำกรุงเทพมหานครของไทย

เนื่องจากฟิลิปปินส์เคยถูกบุกจี้ปล้นธนาคารและโรงแรมหรูในเมืองใหญ่ๆ หลายครั้งหลายหน ทำให้โรงแรมและธนาคารทุกแห่งต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจเข้มอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของอาคาร แขกเมืองที่ไปเยือนจึงรู้สึกอุ่นใจ ระคนกับความแปลกใจของการปฏิบัติการดังกล่าว แต่ชาวฟิลิปปินส์เองคุ้นเคยกันจนชินตาไปแล้ว

เมื่อย่างกรายเข้าไปที่ห้างสรรพสินค้าในมะนิลา หรือแม้แต่ในเมืองใหญ่ก็ตาม มักพบเห็นแผนกจำหน่ายพืชผัก ผลไม้ ที่ถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกใสดูสวยงามน่าซื้อ อาจเพราะว่าฟิลิปปินส์มีอากาศเย็นและชื้นกว่าบ้านเรา การห่อหุ้มดังกล่าวทำให้การเน่าเสียน้อยกว่า

ฟิลิปปินส์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีทัศนยภาพของประเทศที่สวยงาม มีเกาะใหญ่น้อย มีภูเขาไฟที่ยังกรุ่นอยู่หลายแห่ง อีกทั้งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีวัฒนธรรมพื้นบ้านผสมผสานกับวัฒนธรรมยุโรป ใครได้ไปเยือนสักครั้งก็จะประทับใจ ประเทศนี้จึงมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอาเซียน หรือของโลกอีกประเทศหนึ่ง

เปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ “เกษตรมหัศจรรย์ ” ตื่นตากับ 100 พันธุ์พืชกินได้ ไม้ขายดี อัดแน่นด้วยกิจกรรมสาระความรู้ทางการเกษตร ชม-ชิมช็อปผลไม้อร่อยจากทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 เครือมติชน sportboard.net โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดพิธีเปิดงาน “เกษตรมหัศจรรย์ พืชกินได้ ไม้ขายดี” ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2560 ณ ชั้น 3 SKY HALL เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กรมการข้าว องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บมจ.ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บริษัทตรีเพชร อีซูซุ เซลล์ จำกัด บริษัทอีสท์เวสท์ซีด จำกัด บริษัทกรีน ฮาร์เวสท์(ประเทศไทย)จำกัด บมจ.โทเทิ่ลแอ็คเซสคอมมูนิเคชั่น บริษัท ทีพีไอจำกัด บมจ.เบทาโกร และกรมการพัฒนาชุมชน

คุณพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ว่า เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปี นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คณะผู้ทำงานได้จัดงาน “เกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี 30 ปีเทคโนโลยีชาวบ้าน” เพื่อเป็นเวทีการสื่อสารระหว่างคนทำหนังสือ เกษตรกร ผู้อ่านและผู้สนใจทั่วไป โดยนำเสนอความมหัศจรรย์พันธุ์พืช แบ่งเป็น พืชอร่อยที่สุด แพงที่สุด หายากที่สุด พันธุ์พิเศษ ไม้ขายดี เน้นไม้เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับมอบรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2560 โดยเชิดชูเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตร สร้างฐานะและรายได้ที่มั่นคงทัดเทียมอาชีพอื่น

ภายในงาน มีกิจกรรมแจกฟรีไม้พันธุ์ดี, ชิมผลไม้พันธุ์พิเศษ, เสวนาเวทีเกษตร กิจกรรมเวิร์กช็อปทางการเกษตร, นิทรรศการอาชีพยอดนิยมในสื่อออนไลน์, กิจกรรมชิงโชครับรางวัลใหญ่ และจัดจำหน่ายพันธุ์พืช ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ สินค้าเกษตรและอุปกรณ์ตกแต่งสวน ของกินของใช้ระดับ 5 ดาวจากผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ กว่า 200 บูธ

คุณสุรพล จารุพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานเกษตรมหัศจรรย์ พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ 30 ปีเทคโนโลยีชาวบ้านกับ ปัจจุบัน ความหวังและอนาคตเกษตรกรไทย ” ว่า ผมรู้จัก นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มานานเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ แล้ว เทคโนโลยีชาวบ้านใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ ได้ทั้งความรู้ ความเพลิดเพลิน ให้แง่คิดที่นำไปปฏิบัติได้ ไม่ล้าสมัย

สังเกตจากในเล่ม มีเนื้อหาแน่นมาก คนที่สนใจจะทำเกษตร เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง การแปรรูปสินค้าทางการเกษตร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร แม้แต่เรื่องธรรมะ ก็ยังนำมาเสนอไว้ และมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ทัวร์เกษตร จัดสัมมนาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนงาน โครงการเร่งด่วน ที่ต้องทำความเข้าใจต่อเกษตรกร ก็ต้องอาศัย นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นสื่อกลางส่งต่อความรู้เข้าถึงทุกชุมชน ด้านข้อมูลการผลิต การตลาด ช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ดีขึ้น เทคโนโลยีชาวบ้านรวมทั้งสื่อในเครือ ทั้งมติชนรายวัน ข่าวสด และประชาชาติธุรกิจมีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน รูปแบบการนำเสนอข่าวเปลี่ยนไป ผมในฐานะที่ติดตามเทคโนโลยีชาวบ้านมานาน เชื่อมั่นว่า ทีมงานจะทำได้ดีในทุกๆ รูปแบบ ทราบว่า เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ของเทคโนโลยีชาวบ้านได้รับการพัฒนา โอกาสต่อไปยอดคนดูคงสูงสุด เหมือนอย่างที่ยอดจำหน่ายหนังสือเล่มสูงสุดเมื่อเทียบกับสื่อเกษตรด้วยกัน ในโอกาสครบรอบ 30 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ผมในฐานะข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอแสดงความยินดี และอวยพรให้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

คุณสุรพล จารุพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2560 ประกอบด้วย “นพชัย ผิวเกลี้ยง” เกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดสุพรรณบุรีที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการเลี้ยงไก่พันธุ์ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ “ ประกิต โพธิ์ศรี ” เกษตรกรรุ่นใหม่จากจังหวัดระยอง ที่ประสบความสำเร็จในการปลูก “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” ป้อนตลาดทั้งในประเทศและส่งออก “ กานต์รวี บัวบุญ ” Young Smart Farmer อดีตพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม ที่ผันตัวเองมาทำอาชีพด้านเกษตรกรรม โดยลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่, ไก่ไข่ และไก่ประดู่หางดำ จนประสบความสำเร็จ

หลังจากนั้นคุณสุรพล จารุพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดงานร่วมทั้งแขกผู้มีเกียรติและผู้บริหารเครือมติชนได้เดินชมงานนิทรรศการ “เกษตรมหัศจรรย์ พืชกินได้ ไม้ขายดี” ที่รวบรวมพันธุ์พืชกว่า 100 ชนิดจากทั่วประเทศมาให้ชมในงานครั้งนี้ เช่น “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” น้อยหน่าพันธุ์ใหม่ที่การันตีความอร่อยถูกปากคนทานมากขึ้น เพราะ ได้ทั้งรสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียว และเพชรปากช่อง “มณีอีสาน” ส้มโอพันธุ์พื้นเมือง เนื้อสีแดง ของ อ.เกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจก มะเร็งและหัวใจได้ “ฮาโวเทีย” ไม้อวบน้ำ สายพันธุ์หายาก ขายได้ราคาดี