‘กฤษฎา’ เข็นใช้ยางในประเทศ ถก 5 เสือส่งออก – 7 บริษัท

ผู้ผลิตยางล้อ – อิเกีย ดึงตั้งโรงงานเข็นใช้ยางในประเทศ – นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เชื่อ 7 วัน สามารถประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ระยะเร่งด่วนตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ โดยจะผลักดันการใช้ยางในประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการเดิม แต่ต้องทบทวนแนวทางปฏิบัติให้ใช้ยางแล้วเสร็จตามเป้าหมาย 1 แสนตัน เบื้องต้นได้หารือกับสำนักงบประมาณแล้ว โดยจะเร่งออกประกาศราคากลาง สำหรับการสร้างถนน ได้ภายใน 3 วัน จากนี้ หรือประมาณวันศุกร์ที่ 16 พ.ย.นี้

รวมถึงได้หารือเบื้องต้นกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อผลิตที่นอน หมอน จากยางพารานำไปแจกให้โรงพยาบาล เพื่อเปลี่ยนให้ใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะดูดซับยางออกจากระบบได้

ส่วน วันที่ 14 พ.ย. จะเชิญ 5 ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ และ 7 บริษัท ผู้ประกอบการผู้ผลิตล้อยางรถยนต์เข้ามาตั้งโรงงานในไทย และหารือกับอิเกียเพื่อตั้งโรงงานเฟอร์นิเจอร์ยางพาราในไทย โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนแรงจูงใจอย่างเข้มข้น คาดว่าจะทำให้มีการใช้ยางเพิ่มขึ้น

วันที่ 14 พฤศจิกายน รายงานข่าวแจ้งว่า บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส คลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ในช่วง 14-16 พฤศจิกายน 2561

ทั้งนี้ หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนเข้ามาในอ่าวไทยตอนล่างวันที่14 พฤศจิกายน 2561 ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของภาคใต้และอ่าวไทยในช่วงวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2561 ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

รายงานข่าวว่า ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นไป มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงมา มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนอง 60% ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดประชุมเครือข่ายที่สนใจเรื่องกัญชารักษาโรค ทั้งแพทย์ ผู้มีความชำนาญ มีความรู้ และเกี่ยวข้องกับพืชกัญชาเพื่อรักษาโรค เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติเห็นว่าควรมีการจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อขับเคลื่อนร่วมกันผลักดันนโยบายให้เป็นจริงและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยใช้ชื่อกลุ่มองค์กร ว่า “แคนนาบิส เพื่อการป้องกัน รักษาโรค (MEDICAL CANNABIS ORGANIZATION)” ทั้งนี้จะมีการประชุมหารือและเปิดตัวองค์กรฯ ในวันที่ 21 พ.ย. 2561

ทั้งนี้ สภาเกษตรกรฯ มีความสนใจเรื่องกัญชารักษาโรคมาหลายปี เพราะเกษตรกรเป็นโรคเรื้อรังยิ่งเกษตรกรใช้ยาเคมีสารเยอะก็จะเจ็บป่วยและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก ดังนั้น สภาเกษตรกรฯ จึงอยากเห็นเกษตรกรสามารถที่จะบำบัดตนเองได้ด้วยกัญชา เพราะว่าพิสูจน์มานานแล้วว่าได้ผล ที่สำคัญคือต้นทุนไม่แพง และกัญชายังเป็นโอกาสของเกษตรกรสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ให้กับตนเองและประเทศชาติ

“ปัจจุบัน กัญชาที่ซื้อ-ขาย ในตลาดโลก คุณภาพดีกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท อย่างเช่น กัญชาที่ผลิตจาก สปป.ลาว ก็มีราคาอย่างน้อยกิโลกรัมละ 5,000 บาท ซึ่งประเทศไทยสามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากพืชเกษตรกัญชาได้ อย่างไรก็ตาม หลายเดือนที่ผ่านมาภาครัฐเหมือนจะยอมรับ และปลดล็อกการใช้กัญชารักษาโรค แต่ยังมีหน่วยงานที่ข้องเกี่ยวซึ่งหน้าที่โดยตรงพยายามบิดเบือนเรื่องที่สภาเกษตรกรแห่งชาติพยายามนำเสนอมาตลอด และจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาหาประโยชน์จากสารสกัดกัญชารักษาโรค”

นอกจากนี้ การเปลี่ยนกัญชา และกระท่อม จากยาเสพติดประเภท 5 ให้เป็นยาเสพติดตามบัญชีรายชื่อประเภท 2 ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษที่มีประโยชน์ทางการแพทย์นั้น หลังจากที่ศึกษาแล้ว พบว่า กัญชา กลายเป็นสารเสพติดประเภทเดียวกับมอร์ฟีน ที่บรรเทาอาการเจ็บปวด ซึ่งโทษแรงมากและสั่งโดยแพทย์แผนปัจจุบันสกัดโดยบริษัทข้ามชาติเท่านั้นจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนได้

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องที่บริษัทข้ามชาติขอขึ้นทะเบียนสารสกัดกัญชานั้น สภาเกษตรกรแห่งชาติไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อทุนใหญ่และบริษัทข้ามชาติ รวมทั้งขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยา การขออนุญาต ยุ่งยากเกินกว่าเกษตรกรและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะเข้าถึงได้ ถ้าปล่อยไปผู้ป่วย ในอนาคตจะเสียใจ เพราะจะไม่มีโอกาสเข้าถึงยากัญชารักษาโรคเลยนอกจากคนมีเงินเท่านั้น

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำคลิปหนังสั้น “กองทุนอนุรักษ์ฯ เราทำให้พลังงานไทยยั่งยืน” เผยแพร่ผลงานโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ผ่านสื่อออนไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “สร้างให้เป็นจริง ทำให้ยั่งยืน” มีผลตอบรับกว่า 4.2 ล้านวิว โดยการเล่าเรื่องราวผลงานกองทุนฯ ในคลิปนี้ได้บอกเล่าถึงผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ที่ได้สนับสนุนในโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลประหยัดพลังงาน และการพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างเช่น

โครงการสนับสนุนการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง ESCO REVOLVING FUND, โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft Loan และการจัดการอบรมพัฒนาบุคคลากร พร้อมทั้งกิจกรรมการประกวดด้านการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อกระตุ้นผลักดัน และจูงใจให้ผู้ประกอบการได้ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ส่งเสริมโครงการสนับสนุนการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลของรัฐ (Matching Fund) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไปแล้ว 138 แห่ง จากโรงพยาบาลรัฐทั้งหมด 1,027 แห่ง โดยปรับเปลี่ยนหลอดไฟ LED ระบบปรับอากาศ และหม้อไอน้ำประสิทธิภาพสูง (Boiler) สามารถประหยัดพลังงานได้ 640 ล้านบาทต่อปี

ส่งเสริมพัฒนาพลังงานทดแทนในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ลดการใช้น้ำมันเพื่อการสูบน้ำในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มผลผลิตและต้นทุนด้านพลังงานให้กับเกษตรกร

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตพลังงานจากน้ำเสีย จากฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานเกษตรอุตสาหกรรม เศษขยะอินทรีย์ และการหมักย่อยสลายของพืชพลังงาน นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ (BIOGAS) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ให้กับชาวบ้าน ผู้ประกอบการทั่วประเทศ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ

สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนทุรกันดาร ผ่านติดตั้งต้นแบบไมโครกริดชุมชน (Micro Grid) โดยผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ พร้อมระบบกักเก็บพลังงานประสิทธิภาพสูง วางโครงข่ายไฟฟ้าของชุมชน และระบบสูบน้ำ ตามชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และเป็นถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก การวางระบบสาธารณูปโภคยังเข้าไม่ถึงใน 3 ชุมชน อ.แม่ทา ได้แก่ ชุมชนบ้านปงผาง ชุมชนบ้านผาด่าน ชุมชนบ้านแม่สะแง๊ะ มีประชาชนจำนวนรวม 365 ครัวเรือน หลังจากที่กองทุนอนุรักษ์พลังงานฯ ได้เข้าไปช่วยเหลือแล้ว ทำให้ชุมชนดังกล่าว ได้มีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีไฟฟ้าและน้ำใช้อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเพียงพอกับทุกความต้องการ

และดำเนินโครงการสาธิตการพัฒนาวิธีตรวจติดตามการใช้พลังงานภายในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วยระบบ Real Time Power Monitoring จำนวน 10 โรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์พลังงานภายในสถานศึกษาและสร้างจิตสำนึกด้าน การอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน และทำให้เกิดผลประหยัด 81,592 KWh ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 12.58 ต่อปี

จากการปล่อยคลิปหนังสั้น 2 เดือนที่ผ่านมา เกิดกระแสตอบรับอย่างมากมาย ไม่ว่าจะมาจากทาง Facebook หรือ YouTube ทำให้มียอดวิวคลิปที่สูงกว่า 4.2 ล้านวิว และยอด Engagement ที่ล้นหลามถึง 67,500 Engagements เพราะพลังงานมีอยู่อย่างจำกัด ย่อมมีวันที่ใช้แล้วหมดไป กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้มุ่งมั่นมาตลอดกว่า 2 ทศวรรษ ที่จะสนับสนุน ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมแหล่งพลังงานใหม่ให้เพียงพอกับทุกความต้องการของทุกคนตลอดไป เราทำแล้ววันนี้ “สร้างให้เป็นจริง ทำให้ยั่งยืน”

ทั้งนี้ประชาชน และผู้สนใจด้านพลังงานสามารถติดตามข้อมูลผลงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมสนับสนุนชาวสวนยางทำอาชีพเสริม แปรรูปเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้มั่นคง

กยท. เดินหน้าโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เผยเตรียมรับซื้อยางเข้าสู่โครงการฯ หลังรัฐบาลอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม พร้อมสนับสนุนอาชีพเสริม ทำสวนยางแบบผสมผสาน ผลักดันเกษตรกรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ที่มั่นคง

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การดำเนินงานโครงการ ส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศผ่านหน่วยงานของรัฐ

ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 8 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงยุติธรรม โดยปี 2561 ใช้งบประมาณดำเนินการ ไปแล้วกว่า 11,996 ล้านบาท เป็นน้ำยางข้น 8,802.40 ตัน ยางแห้ง 785.85 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่นำไปสร้างหรือปรับปรุงถนน อยู่ระหว่างดำเนินการ และจัดซื้อจัดจ้างอีกกว่า 12,912 ล้านบาท เป็นน้ำยางข้น 37,823.78 ตัน สำหรับการซื้อยางตามโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐจากนี้ จะดำเนินการผ่าน กยท. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมความต้องการใช้ยาง และเป็นศูนย์กลางในการรับซื้อยางผ่านสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.

นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการติดปัญหาเรื่องงบประมาณและวิธีการจัดจ้างที่กรมบัญชีกลางยังไม่ได้กำหนดราคากลางของการทำถนนยางพาราดินซีเมนต์ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า แต่มีบางหน่วยงานใช้งบประมาณปกติเพื่อดำเนินการแล้ว ซึ่งในส่วนของงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปี 2561 ได้รับการจัดสรรเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา งบประมาณเพิ่มเติมได้รับอนุมัติไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังเตรียมการจัดซื้อยางผ่าน กยท. ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

นอกจากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวแล้ว กยท. ยังดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนแบบผสมผสาน โดยปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ร่วมในสวนยาง โดยปี 2561 กยท. กำหนดเป้าหมายการปลูกแทนแบบผสมผสานจำนวน 7,000 ไร่ ผลการดำเนินงานเกษตรกรทำการปลูกแทนแบบผสมผสาน จำนวน 8,883.20 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 126.90 สำหรับปีงบประมาณ 2562 เพิ่มเป้าหมายการปลูกแทนแบบผสมผสานเป็น 20,000 ไร่ รวมถึงดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อย เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรชาวสวนยางได้มีอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยที่ผ่านมามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 14,623 ราย โดยเป็นการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรชาวสวนยาง จำนวนไร่ละ 10,000 บาท พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้อาชีพเสริมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ได้ขยายระยะเวลาให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้วดังแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สำหรับภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ได้ให้การสนับสนุนผ่านงบประมาณกองทุนมาตรา 49 (3) และ (6)ในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อยางมาแปรรูป สนับสนุนในเรื่องของการปรับปรุงเครื่องจักร ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง แต่เนื่องจากพื้นที่การทำสวนยางของเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่เป็นพื้นที่สีเขียว

ทำให้เกิดข้อจำกัดและเงื่อนไขเรื่องการขอจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราระดับชุมชนและการขยายโรงงานแปรรูปยางพาราเพิ่มเติม ขณะนี้ กยท. กำลังดำเนินการรวบรวมข้อมูล รายละเอียด ของกลุ่มสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ทั้ง 7 เขตทั่วประเทศ จำนวน 1,018 สถาบันฯ ซึ่งมีสมาชิกสถาบันฯ ทั้งสิ้น 340,822 ราย รวมถึงผู้ประกอบการด้านยางพาราเกี่ยวกับประเด็นปัญหา อุปสรรคในเรื่องดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านกิจการผังเมือง และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่ควบคุมการจัดตั้งโรงงาน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว รักษาการ ผวก.กยท. กล่าวทิ้งท้าย

จังหวัดพังงา เมืองแห่งการเกษตร และการท่องเที่ยวของฝั่งอันดามัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งทะเล ภูเขา ถ้ำ ป่า น้ำพุร้อน น้ำตก ทะเลหมอก จุดชมวิว และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เป็นเมืองเกษตรที่คนส่วนใหญ่ของเมืองนี้ มีอาชีพการทำสวนยางพารานับล้านไร่ และสวนปาล์มน้ำมันร่วม 3 แสนไร่ ส่วนการทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง ก็มีเป็นลำดับรองๆ ลงมา และยังเป็นแหล่งปลูกทุเรียนสาลิกา ทุเรียนพื้นเมืองที่มีความอร่อยติดระดับโลก

คุณศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้กล่าวถึงการพัฒนาอาชีพการเกษตรในจังหวัดพังงาว่า วิถีชีวิตของเกษตรกรใน 8 อำเภอของจังหวัดพังงา มีความเรียบง่าย ไม่เร่งร้อน พืชที่ปลูก ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน นิยมปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว เกษตรกรมีรายได้จากทางเดียว หลังจากที่ผลผลิตของพืชหลักทั้ง 2 ชนิดนี้ ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ภาคเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดจึงมีผลกระทบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย มีที่ดินทำกินน้อย และบางรายไม่มีหลักฐานที่ดิน การเข้าถึงแหล่งทุนมีน้อย จังหวัดพังงา

โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้หยิบยกเอาเรื่องปัญหาดังกล่าว มาเป็นประเด็นให้ที่ประชุมพิจารณา และได้มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ร่วมคิดกันอย่างหลากหลาย และได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการลดพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวในจังหวัดพังงา และนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว

คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า การหาวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การมีรายได้ทางเดียวจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ไม่ใช่การตัดหรือโค่นทิ้ง แล้วไปเริ่มทำเกษตรอย่างอื่น แต่เป็นการแก้ปัญหาด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชา เรื่องการทำเกษตรผสมผสาน มาปรับใช้อย่างจริงจัง และเป็นระบบ ภายใต้แนวคิด “เพิ่มพื้นที่ทำกิน โดยไม่เพิ่มโฉนด” หมายถึง การแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปรับวิธีคิด ให้ใช้พื้นที่สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน สวนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทำกิจกรรมเกษตรอื่นๆ

เสริมเข้าไป เช่น การปลูกพืชประเภทไม้ตัดใบ ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชกินใบ พืชกินหัว พืชสมุนไพร พืชไร่ ไม้เศรษฐกิจ เพาะเห็ด เลี้ยงปศุสัตว์ เลี้ยงปลา เลี้ยงผึ้ง และแมลงเศรษฐกิจอื่นๆ ฯลฯ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมทางการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป พื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวจะลดลง และพื้นที่เกษตรผสมผสานจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรจะมีรายได้จากอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น ส่วนแปลงเกษตรที่จะทำใหม่ จะง่ายขึ้นเมื่อเริ่มคิดวางแผน และจัดการแปลงอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำที่เกื้อกูลกัน

แนวทางการดำเนินงาน จังหวัดพังงาได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อลดพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวในจังหวัดพังงาปี 2562-2564 มีสาระสำคัญ ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น คือ 1. คนพังงารวมใจเป็นหนึ่งเดียว 2. ลดพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวด้วยศาสตร์พระราชา 3. สร้างนักการค้าการตลาดชุมชน และ 4. การจัดการแปลงพืชผลรองรับการท่องเที่ยว

โดยมีแนวทางการพัฒนาตั้งแต่การระดมความคิด การรณรงค์เพื่อขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการนำยุทธศาสตร์ไปใช้เป็นวาระของคนพังงา ในการนำศาสตร์พระราชา “เกษตรผสมผสาน” มาใช้อย่างจริงจังในทุกพื้นที่ ตั้งแต่การจัดหาแหล่งงบประมาณ การค้นหาเกษตรกรต้นแบบที่ทำเรื่องนี้สำเร็จอยู่แล้ว การรับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ การจัดอบรม การถ่ายทอดความรู้ แนะนำ ศึกษาดูงาน การตั้งกลุ่ม/เครือข่าย การจัดทำแปลงสาธิตเกษตรแปลงใหญ่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการน้ำ การลดต้นทุนการผลิต การเลิกใช้สารเคมี การผลิตสินค้าตามที่ตลาดต้องการ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการคัดเลือกสมาชิกโครงการที่มีใจรัก และมีความรู้เรื่องการตลาด อบรมเพิ่มทักษะ เสริมความสามารถ และความชำนาญเฉพาะทางให้เป็นนักการตลาดชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มหรือชุมชน ในการติดต่อค้าขายผลผลิตแทนสมาชิก การสร้างแปลงของสมาชิกหรือของกลุ่มให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานทางการเกษตรในเรื่อง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาคครัวเรือนและมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรของชุมชน ตามแนวทาง “ทำสวนเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตร เรียนรู้ ดูงาน ทำบ้านให้เป็นแหล่ง ช็อป ชิม อิ่ม พัก ค้นหาเกษตรกรที่มีใจรักเข้ามาร่วมงานและทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

ความคาดหวังของการจัดทำยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการเพื่อลดพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวในจังหวัดพังงา โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร คนในชุมชน พ่อค้า ประชาชน นักเรียน สถาบันการศึกษา สถาบันทางสังคม ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ หน่วยงานราชการทุกหน่วย ได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กันอย่างจริงจัง ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เลิกใช้สารเคมี อนุรักษ์พันธุกรรมพืช สัตว์ แมลงท้องถิ่น ไส้เดือน พันธุ์ไม้หายาก พืชสมุนไพร ฯลฯ ให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และอุดมสมบูรณ์

การทำเกษตรผสมผสานเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ประหยัด อดออมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่เป้าเหมาย “มีไว้กิน มีไว้ขาย มีไว้ใช้ และมีไว้เป็นยา” ความอุดมสมบูรณ์ก็จะกลับคืนมา เกษตรกรรายย่อยและคนในชุมชนจะร่ำรวยทรัพยากร มีอยู่มีกิน ไม่ขาดแคลนมุ่งสู่เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างแน่นอน โดยจะเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในปี 2562 เป็นต้นไป โดยการนำประเด็นยุทธศาสตร์ในแต่ละด้านมาจัดทำเป็นโครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนงานตามลำดับความสำคัญ เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ยุทธศาสตร์คือแนวคิดนำทางอย่างเป็นระบบ แต่การจะขับเคลื่อนมุ่งสู่ความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างจริงจังของคนพังงา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หากเป็นไปได้จริงตามประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว การทำเกษตรผสมผสาน การผลิตอาหารปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นผลจริง จะช่วยรองรับการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดพังงา ในการพัฒนาการเกษตรและการท่องเที่ยว หลังจากนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 4-5 ล้านคน หากภาคเกษตรสามารถสร้างงานรองรับ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้จริง เศรษฐกิจภาคเกษตรของจังหวัดพังงาก็จะโตขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลติดตามโครงการส่งเสริมการให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร ปี 2561 ซึ่งภาครัฐได้สนับสนุนเงินอุดหนุนแก่สหกรณ์ ร้อยละ 70 และสหกรณ์สมทบเพิ่มอีก ร้อยละ 30 เพื่อจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้สหกรณ์รวม 53 แห่ง ช่วยลดต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานรวมทั้งให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกสหกรณ์ ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตามตัวอย่างกลุ่มสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก สหกรณ์โคนมเชียงราย สหกรณ์โคนมผาตั้ง และ สหกรณ์โคนมลำพูน พบว่า

สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ได้ขอรับการสนับสนุนเป็นรถโฟล์คลิฟท์ระบบไฟฟ้าก้านสูง 2 ตัน จำนวน 1 คัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์นม โดยสหกรณ์ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ (70%) เป็นเงิน 883,820 บาท และสหกรณ์สมทบ (30%) เป็นเงิน 378,780 บาทรวม 1,262,600 บาท ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สหกรณ์สามารถขนนมได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยส่งได้ 150,000 กล่อง/วัน หรือ 39 ล้านกล่อง/ปี จากเดิมที่เคยขนได้ 75,000 กล่อง/วัน หรือ19.5 ล้านกล่อง/ปี

นอกจากนี้ ยังขอรับการสนับสนุนเครื่องชั่งรถบรรทุก ขนาด 50 ตัน สหกรณ์ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ (70%) เป็นเงิน 385,000 บาท และสหกรณ์สมทบ (30%) เป็นเงิน 165,000 บาท รวม 550,000 บาท เพื่อนำไปใช้งานที่จุดรับนม ณ ศูนย์มิตรภาพ ทำให้สามารถรักษาคุณภาพนมได้ดีขึ้น จากเดิมที่ต้องไป ชั่งน้ำหนักที่ศูนย์มวกเหล็ก ซึ่งห่างไกลจากเกษตรกร

สหกรณ์โคนมเชียงราย จังหวัดเชียงราย ขอรับการสนับสนุน เครื่องบรรจุนมพาสเจอร์ไรซ์ จำนวน 3 เครื่อง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนมบรรจุถุงของสหกรณ์โดยได้รับเงินอุดหนุน (70%) เป็นเงิน 1,050,000 บาท และสหกรณ์สมทบ (30%) เป็นเงิน 873,000 บาท รวม1,923,000 บาท (ราคา 641,000 บาท/เครื่อง) ส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยกำลังการผลิตเครื่องใหม่ 3 เครื่อง สามารถผลิตนมบรรจุถุงได้ 2 ตัน ในเวลา 1 ชั่วโมง ในขณะที่เครื่องบรรจุนมพาสเจอร์ไรซ์เครื่องเก่าที่มีการใช้งานมาตั้งแต่ ปี 2546 ให้กำลังการผลิต 3 เครื่อง ได้เพียง 1 ตัน ในเวลา 1 ชั่วโมง

สหกรณ์โคนมผาตั้ง จังหวัดเชียงใหม่ ขอรับการสนับสนุนโกดังเก็บสินค้า ขนาด 800 ตารางเมตร โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ (70%) เป็นเงิน 713,300 บาท และสหกรณ์จ่ายสมทบ (30%) เป็นเงิน 307,700 บาท มูลค่ารวม 1,021,000 บาทส่งผลให้สหกรณ์เก็บอาหารสัตว์ได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมเก็บได้ 10,000 กระสอบ เพิ่มเป็น 20,000 กระสอบ