กลุ่มนาแปลงใหญ่ สกต.ร้อยเอ็ด จำกัด ทำนาด้วยการใช้เครื่อง

และทำนาหว่านและนาดำ มีผลผลิตข้าว 400 กิโลกรัม ต่อไร่ ปัจจุบันทางกลุ่มได้ขอรับรอง GAP ทั้งหมด 10 กลุ่มย่อย ผ่านการรับรอง GAP จำนวน 6 กลุ่มย่อย จำนวน 197 ราย พื้นที่ 3,026 ไร่

ต่อมา คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว ได้มอบหมายให้ คุณนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว นำคณะเจ้าหน้าที่จากกรมการข้าว ได้แก่ คุณประสงค์ ทองพันธุ์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าว ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน เดินทางตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อตรวจประเมินโรงสีข้าว GMP ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.4403) และผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.4000) รวมทั้งการแสดงเครื่องหมายรับรอง GMP โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q และเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้จากกรมการข้าว

สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด เกิดจากการรวมตัวของ 4 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด สหกรณ์การเกษตรพลาญชัย จำกัด สหกรณ์การเกษตรห้วยแอ่ง จำกัด และสหกรณ์การเกษตรหลักเมือง จำกัด เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2516 ปัจจุบันสหกรณ์แห่งนี้มีพื้นที่ดำเนินการ 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอศรีสมเด็จ และอำเภอจังหาร มีสมาชิกจำนวน 6,400 คน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาศัยน้ำฝนเป็นหลักและทำนาปรังบางส่วน หลังฤดูทำนา มีรายได้เสริมจากการปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่และรับจ้างทั่วไป

สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด มีนโยบายส่งเสริมสมาชิกปลูกข้าวให้มีคุณภาพระบบ GAP นาแปลงใหญ่และการทำนาแบบครบวงจร โดยสนับสนุนงบตรวจแปลงและตรวจสอบคุณภาพจากส่วนราชการ เพื่อผลิตข้าวที่มีคุณภาพให้กับผู้บริโภค และส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ในระยะยาว โดยสหกรณ์จัดหาเงินทุนและปัจจัยการผลิตให้สมาชิกในลักษณะสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยและรับซื้อผลผลิตคืนในราคาสูงกว่าท้องตลาดทั่วไป

ข้าวเปลือกหอมมะลิที่รับซื้อจากสมาชิกจะถูกนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าออกจำหน่าย โดยใช้เครื่องหมายการค้า “พลาญชัย” ที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานจากกระทรวงพาณิชย์ ตรามือพนมและมาตรฐานการผลิตระบบ GMP HACCP ข้าว Q อย. และ มก. (มาตรฐานโรงงาน) ทุกวันนี้ ทางสหกรณ์ได้รับเครื่องหมายข้าวพันธุ์แท้จากกรมการข้าว เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวกล้องงอก เป็นต้น

ทางสหกรณ์มียอดขายข้าวโดยรวมประมาณ 200,000 กิโลกรัม ต่อเดือน โดยมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านห้างบิ๊กซี ห้างโลตัส ทุกสาขา นอกจากนี้ ทางสหกรณ์ยังเป็นผู้ผลิตข้าวส่งขายบริษัท แอมเวย์ มาเป็นระยะเวลานาน เป็นสิ่งรับประกันคุณภาพสินค้าและสร้างความเชื่อมั่น ในระบบคุณภาพและความปลอดภัยของข้าวไทยได้เป็นอย่างดี

ชื่ออื่นๆ บ้านเราเรียก “มะนาวนิ้วมือ” หรือ “มะนาวคาเวียร์” ซึ่งมะนาวนิ้วมือ เป็นพืชในสกุลเดียวกันกับส้ม มะนาว และเกรปฟรุต มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย เนื้อผลให้รสเปรี้ยว มีกลิ่นหอม มักใช้ปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นอาหารให้มีรสชาติอร่อย หรือแม้กระทั่งใช้ผสมในเครื่องดื่มหรือใช้ตกแต่งในจานอาหารให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น ขณะนี้ มะนาวนิ้วมือ ได้รับความสนใจและนิยมปลูก เพื่อกินผล หรือปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นของมะนาวนิ้วมือมีความสูงประมาณ 5-6 เมตร มีใบขนาดเล็ก ผิวใบเรียบ ปลายใบหยักมน มีความกว้างประมาณ 3-25 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีขาว ยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกหรือโค้ง เปลือกผลและเนื้อในมีหลากหลายสีตามสายพันธุ์ และในแต่ละสีก็จะมีกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป ขนาดความยาวของผล ประมาณ 4-8 เซนติเมตร ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10 เมล็ด ซึ่งจัดว่ามะนาวนิ้วมือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเรียวเล็กคล้ายมะขวิด มะสัง ในบ้านเรา มีหนามแหลมเล็กเป็นจำนวนมาก

การแตกกิ่งแตกยอดจะออกรอบต้น ดอกเล็กๆ สีขาวเหมือนมะนาวทั่วไป ออกดอกตามซอกใบ ติดผลลักษณะเดี่ยว ไม่เป็นพวงเหมือนมะนาวทั่วไป รูปทรงผล เรียวยาวเหมือนนิ้วมือคน ขนาดเท่านิ้วชี้คน สีเปลือกหลากหลาย เช่น เปลือกเขียว แดง น้ำตาล เหลือง
ส่วนสีเนื้อนั้น ก็มีสีสันหลากหลายเช่นกัน เช่น เนื้อสีขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ม่วง โดยเนื้อมะนาวมีลักษณะเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ อัดแน่นอยู่ในผล มองดูคล้ายหรือเปรียบเทียบว่ากินไข่ปลาคาเวียร์ ที่จะแตกในปากเวลาเคี้ยวนั่นเอง

แต่เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีก่อน ในบ้านเรานั้น มะนาวนิ้วมือ หรือ มะนาวคาเวียร์ ที่คนไทยเรียกกันได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เป็นของใหม่ในบ้านเรา สายพันธุ์มะนาวนิ้วมือถูกนำเข้ามาหลายสิบสายพันธุ์จากต่างประเทศ ราคาซื้อขายต้นพันธุ์ในตอนนั้นคือ หลักหมื่นไปจนถึงหลักหลายๆ พันบาทเลยทีเดียว

แต่เวลาผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เริ่มขยายพันธุ์และจำนวนได้มากขึ้น ทำให้ราคาก็ถูกลง ซึ่งตอนนี้ก็จะเหลือราคาหลักร้อย ซื้อหาต้นพันธุ์ได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อนในช่วงแรกที่นำเข้าต้นพันธุ์มานั้น ก็ยังคงไม่ทราบว่า มะนาวนิ้วมือแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะผล สี เหมือนกับที่ปลูกในต่างประเทศหรือไม่ และนิสัยการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร ซึ่งบ้านเราอากาศค่อนข้างร้อน 35-40 องศาเซลเซียส เกือบตลอดทั้งปี ทำให้ผู้ซื้อพันธุ์มะนาวนิ้วมือในช่วงแรกๆ ก็ต้องปลูกเพื่อศึกษาว่า มะนาวนิ้วมือแต่ละสายพันธุ์เหมาะกับบ้านเรามากน้อยเพียงใด มีการออกดอกติดผลหรือไม่

ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ จ.อ. สิทธิเดช อ่องเภา เจ้าของ “สวนจ่ามด” ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โทร. 083-535-4559, 080-099-9361 หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก “มะนาวคาเวียร์ บ้านสวนจ่ามด”

เป็นสวนมะนาวนิ้วมือปลูกจำหน่ายผลในเชิงการค้า ที่เริ่มต้นในยุคแรกๆ ที่มีการปลูกต้นมะนาวนิ้วมือในบ้านเรา โดย จ.อ. สิทธิเดช เล่าย้อนไปว่า เดิมตนเองและครอบครัวปลูกมะนาวเป็นอาชีพอยู่แล้ว จึงมีความสนใจพืชตระกูลมะนาวเป็นพิเศษ ก็เริ่มจากซื้อต้นพันธุ์เข้ามาปลูกเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ปีแรก เป็นการปลูกและศึกษามะนาวคาเวียร์หลายๆ สายพันธุ์ ว่ามะนาวนิ้วมือสายพันธุ์ไหนที่มีคุณสมบัติที่ดีปลูกในพื้นที่สวนของตนเองได้ดีบ้าง เนื่องจากพื้นที่สวนมีสภาพอากาศร้อนตลอดทั้งปี อุณหภูมิสูง 35-42 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว

พบว่า มีมะนาวนิ้วมือมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี ออกดอกและติดผลได้ดี จากกว่า 10 สายพันธุ์ ที่ปลูกไว้ในสวน ซึ่งมีจำนวนต้นมะนาวนิ้วมือราวๆ 800 ต้น ที่ปลูกคละพันธุ์เอาไว้ จนเกิดความมั่นใจในสายพันธุ์ ก็กำลังขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น ในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ทดแทนของเก่าที่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เหมาะกับพื้นที่สภาพแวดล้อมของสวน ซึ่งไม่ทนต่อสภาพอากาศร้อน การเจริญเติบโตไม่ดี การติดผลไม่ดีหรือไม่ออกดอกติดผล เป็นต้น

สายพันธุ์ มะนาวคาเวียร์ หรือ มะนาวนิ้วมือ ที่พิสูจน์แล้วว่าเหมาะกับสภาพแวดล้อมของสวนตัวเอง โดย จ.อ. สิทธิเดช เล่าว่า สายพันธุ์ที่ตนเองมั่นใจว่าจะขยายพื้นที่ปลูกให้มากเป็นพิเศษเพื่อผลิตผลมะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์จำหน่าย ตอนนี้มีอยู่ 4 สายพันธุ์หลักๆ ที่เก็บข้อมูล สังเกตนิสัยการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตออกดอกติดผลง่าย และที่สำคัญทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี ถือว่าเป็นข้อสำคัญในการเลือกสายพันธุ์อย่างที่บอกว่า ที่สวนในเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิค่อนข้างสูง 38-42 องศาเซลเซียส คือ
1. สายพันธุ์ “ไบร่อน ซันไรส์” (Byron Sunrise) ซึ่งจะมีเนื้อในสีชมพู-แดง
2. สายพันธุ์ “ดิ เอ็มเมอรัล” (D’Emerald) ซึ่งเนื้อในจะมีสีเขียว
3. สายพันธุ์ “เมีย โรส” (Mia Rose) เปลือกสีม่วงแดง ซึ่งเนื้อในจะมีสีชมพูเข้ม-แดง
4. สายพันธุ์ “ริกก์ เรด” (Rick Red) ซึ่งจะมีเนื้อในสีชมพู-แดง

ส่วนมะนาวนิ้วมือสายพันธุ์อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็มีข้อดีแตกต่างออกไป โดยแต่ละสวนอาจจะมองเห็นข้อดีที่แตกต่างกันไป เช่น

สายพันธุ์ “ลิตเติ้ล รูบี้” (Littie Ruby) เนื้อในสีแดง จะมีเอกลักษณ์เด่นๆ คือ ต้นเป็นทรงพุ่มหนาแน่น ใบมีขนาดเล็กมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ชัดเจน มีหนามถี่แหลมคม เนื้อมีสีแดง ออกดอกได้ตลอดทั้งปี เหมาะมากในการปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับตามบ้านเป็นอย่างมาก เป็นสายพันธุ์ที่ติดดอกได้เร็วที่สุด ประมาณ 8-12 เดือน เท่านั้น แล้วสามารถออกดอกติดผลดกได้ตลอดทั้งปีถ้าต้นมีความสมบูรณ์ โดยลูกชุดแรกๆ อาจจะเล็ก แต่เนื้อจะเป็นไข่ปลาเมื่อผลใหญ่สมบูรณ์ แต่เมื่อต้นมีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จะให้ลูกที่ใหญ่ขึ้น ขนาดผลประมาณ 70-90 ผล ต่อกิโลกรัม

สายพันธุ์ “เรด แชมเปญ” (Red Champange) เปลือกสีแดง เนื้อในแดงเข้ม นิยมใส่ในเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทำให้มีกลิ่นหอมและมีรสชาติที่แตกต่างออกไป
สายพันธุ์ “เทสตี้ กรีน” (Tasty Green) เปลือกสีเขียว แต่เนื้อในสีขาว มีกลิ่นแรง ดมแล้วจะสดชื่นกระปรี้กระเปร่า รสชาติเปรี้ยวมาก ทำให้บ้านเรานิยมนำไปผสมใส่ยำต่างๆ เป็นต้น

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของมะนาวนิ้วมือ หรือมะนาวคาเวียร์ นอกจากรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม คือการนำมาใช้ประโยชน์เมื่อใช้มีดผ่าผล เมื่อใช้มือบีบผลมะนาวเนื้อในจะไหลออกมา จะไม่เกาะติดเปลือกและไม่เกาะติดกันเอง ทำให้เวลาผ่าหรือบีบออกจากผล เนื้อจึงทะลักเป็นเม็ดๆ คล้ายไข่ปลา

การปลูกมะนาวนิ้วมือไม่ยาก

มะนาวนิ้วมือ หรือมะนาวคาเวียร์ปลูกง่ายกว่าปลูกมะนาวมาก เนื่องจากมะนาวนิ้วมือจะไม่พบการระบาดของโรคแคงเกอร์เลย ทำให้การดูแลรักษาง่ายมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง มีเพียงแมลงศัตรูที่เหมือนมะนาว คือ เพลี้ยไฟ ไร หนอนกินใบเท่านั้น ซึ่งใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูเช่นเดียวกับมะนาวทุกๆ ประการ รวมถึงการดูแลรักษา บำรุงใส่ปุ๋ยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบก็แบบเดียวกันกับมะนาว ยิ่งมีพื้นฐานมะนาวมาก่อนก็ยิ่งง่าย ฉะนั้น สายพันธุ์ที่ปลูกได้ผลดีจึงมีผลมากกว่า

ถ้าจะปลูก ก็ต้องเลือกให้ดี เพราะมะนาวนิ้วมือก็ต้องใช้เวลาปลูกและดูแลจนกว่าออกผลราว 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี การติดผลก็จะมากขึ้นตามลำดับ ตามขนาดของทรงพุ่มและขนาดของต้น ยกตัวอย่าง มะนาวนิ้วมือ อายุ 2 ปี ทรงพุ่มประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตรวมตลอดทั้งปี 1-3 กิโลกรัม โดยประมาณ แต่ปริมาณผลผลิตจะมากขึ้นตามอายุต้นของมะนาวเอง

จากข้อมูลพบว่า มะนาวนิ้วมือนั้นมีอายุยืนในต่างประเทศ แต่ในบ้านเราก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะมีอายุได้นานขนาดไหน แต่เท่าที่ดูนิสัยการเจริญเติบโต อายุของมะนาวนิ้วมือน่าจะเกิน 10 ปีขึ้นไปแบบสบายๆ แต่ก็คงต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาประกอบกันด้วย

“สวนจ่ามด” เลือกปลูกมะนาวนิ้วมือ ลงวงบ่อซีเมนต์ เพราะสามารถปรุงดินปลูกได้ตามที่ต้องการในช่วง 1-2 ปีแรกของการปลูก เนื่องจากสภาพดินที่นี่ไม่ค่อยดีนัก ก็จำเป็นต้องปรุงดินผสมด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบดิบ แกลบดำ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ใบก้ามปู ดินร่วน เป็นต้น โดยเน้นให้ดินมีการระบายน้ำที่ดี

อีกอย่างมะนาวนิ้วมือชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขังแฉะ ซึ่งอาจจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่า แล้ววงบ่อซีเมนต์ที่นำมาใช้จะไม่ปิดก้นวงบ่อซีเมนต์ เพื่อมะนาวโตขึ้นมีความแข็งแรงมากขึ้น รากก็สามารถหยั่งลงดินหากินได้เองในอนาคต แล้วทำให้ต้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีเหมือนกับปลูกลงดิน

ในทุกๆ 6-12 เดือน หากพบว่าดินปลูกในวงบ่อซีเมนต์มีน้อยลง ก็ควรจะเติมดินผสมลงไปให้ในวงบ่อซีเมนต์ตามความเหมาะสม หรือหากเป็นฤดูร้อนซึ่งอากาศร้อนจัดเมื่อปีที่ผ่านมา อุณหภูมิสูง 39-42 องศาเซลเซียส ก็อาจจะต้องหาวัสดุคลุมโคนต้น เพื่อช่วยลดความร้อน รักษาความชื้นในวงบ่อซีเมนต์ เช่น แกลบดิบ เปลือกถั่ว ฟางข้าว เป็นต้น

ข้อดีอีกอย่างในการปลูกมะนาวนิ้วมือในวงบ่อซีเมนต์คือ สามารถจัดการเรื่องวัชพืชได้ง่าย ไม่ว่าจะตัดหญ้า เนื่องจากมีวงบ่อล้อมต้นเอาไว้ เวลาตัดหญ้าก็ไม่ต้องกลัวว่าจะตัดโดนต้นมะนาวแต่อย่างใด หรือปลูกแบบลงดินโดยการยกร่องเป็นแถวก็ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละสวน และทุกครั้งที่ปลูกต้นไม้หรือต้นมะนาวจะต้องมีไม้หลักค้ำยันต้น เพื่อไม่ให้ต้นโยกเอนจากแรงลม ซึ่งจะทำให้รากกระทบกระเทือนหยุดชะงักการเจริญเติบโตไป

ระยะปลูกมะนาวนิ้วมือ ตอนนี้ที่สวน ใช้ระยะปลูก 3×3 เมตร อยู่ ก็ดีในระดับหนึ่ง แต่คิดว่าระยะนี้ยังไม่เหมาะสมสำหรับแปลงปลูกที่ต้องการปลูกจำนวนมาก เพราะถ้าจะให้สะดวกเอาเครื่องจักรเล็กเข้าแปลงได้ ก็ควรจะขยับระยะปลูกให้ห่างขึ้นสัก 4×4 เมตร น่าจะเหมาะสมกว่านี้

อีกอย่าง มะนาวนิ้วมือโตค่อนข้างเร็ว อายุต้น 2-3 ปี ก็มีทรงพุ่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศร้อน หรือสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่เหมือนที่บอกว่าการดูแลไม่ยุ่งยากอะไร ใช้พื้นฐานเดียวกับการปลูกมะนาวในบ้านเรา ทั้งเรื่องการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ โรคและแมลง

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะนาวนิ้วมือในออสเตรเลีย มีข้อมูลว่า อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 15-29 องศาเซลเซียส โดยเท่าที่ทราบมะนาวนิ้วมือในออสเตรเลียจะไม่มีผลผลิตให้ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยกลับติดดอกออกผลได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิอากาศบ้านเราค่อนข้างดีเหมาะสม ไม่มีสภาพอากาศแบบหนาวจัดเหมือนออสเตรเลีย ในบ้านเราก็ปล่อยให้ออกดอกติดผลตามธรรมชาติเหมือนมะนาวแป้นในฤดูกาล คือช่วงฤดูฝนจะติดผลได้ดกมากและติดผลลดน้อยลงไปบ้างในช่วงหน้าแล้ง

เมื่อพูดถึงพริก ต้องนึกถึงความเผ็ดและสีสันที่สวยงาม ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยรสแซบนานาชนิด ไม่ว่าแกง ผัด หรือต้มยำกุ้งที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก

คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีว่า พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกในดินได้แทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย เพราะมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขังหรือชื้นแฉะซึ่งจะทำให้รากเน่าและตายได้ รูปแบบการปลูกพริกในประเทศไทยมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของดิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแบบใด เกษตรกรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การให้น้ำ รวมถึงการดูแลและป้องกันโรคและแมลง

การปลูกพริกในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ดังนี้

การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลง นำเมล็ดพันธุ์หว่านกระจายให้ทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละประมาณ 10 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียด รดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15 วัน ให้ถอนแยกต้นที่เป็นโรค ไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร และควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30–40 วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

การเพาะเมล็ดพันธุ์ในกระบะเพาะที่มีวัสดุเพาะเมล็ดเป็นส่วนผสมสำเร็จรูปที่อุ้มน้ำได้พอเหมาะ แต่ละถาดมี 104 หลุม วัสดุเพาะ 1 ถุงสามารถใส่ถาดเพาะได้ 14-16 ถาด เป็นเทคนิคการเพาะที่ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนย้ายปลูก โดยจะต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อนในวัสดุเพาะอย่างอื่น เช่น ทรายผสมแกลบดำและขุยมะพร้าว ใช้เวลาประมาณ 10-12 วันเมล็ดจะงอก หลังจากนั้นจึงย้ายไปปลูกในวัสดุเพาะสำเร็จรูปที่อยู่ในถาดเพาะโดยจะใช้เวลาอีก 14-18 วันจึงจะสามารถนำต้นกล้าย้ายปลูกในแปลงได้

ในประเทศไทยสามารถปลูกพริกได้ตลอดปี แต่จะปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่เก็บผลผลิต การเก็บผลผลิตในฤดูแล้งทำให้สะดวกในการตากแห้ง อีกทั้งเป็นช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู (24-29 องศาเซลเซียล)

แต่หากต้องการปลูกให้ได้ราคาสูงจะต้องปลูกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม และสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ปลูกพริกยากที่สุด

การเตรียมดินปลูกพริก ควรพิจารณาความแตกต่างตามสภาพของดินและระดับน้ำ แปลงปลูกควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด ส่วนการเตรียมดินปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน ต้องพิจารณาเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 เมตร และให้ระยะระหว่างแถว 0.50 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 เมตร และเมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200–3,000 กิโลกรัม ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดิน แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200–400 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับระยะปลูกพริกที่เหมาะสม พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้าเป็นพริกที่มีทรงพุ่มใหญ่ ควรใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร พริกหยวกใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพริกยักษ์ซึ่งเป็นพริกที่มีทรงพุ่มเล็ก ควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร

หลังจากปลูกพริกลงแปลงแล้ว เกษตรกรผู้ปลูกต้องให้ความสำคัญในเรื่องการให้น้ำพริก เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดังนั้น ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดี อย่าให้เปียกแฉะเกินไป จะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของเม็ดสวย

นอกจากนี้ ภายในแปลงต้องกำจัดวัชพืชและพรวนดิน หากเป็นช่วงระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครั้ง หากวัชพืชคลุมต้นพริกช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็น คุณภาพผลผลิตไม่ดี

ส่วนการใส่ปุ๋ย เนื่องจากพริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตราส่วน 25-50 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบบ้างโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับสภาพและคุณสมบัติของดิน โดยเฉพาะค่า pH ความชื้น และระยะการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งปริมาณอินทรียวัตถุที่อยู่ในดินต้องมีอย่างเหมาะสม

การใส่ปุ๋ยเคมีลงในดิน เว็บแทงบอลออนไลน์ จำเป็นต้องมีความชื้นอย่างเพียงพอ ถ้าไม่เช่นนั้น ปุ๋ยเคมีจะไม่ละลายและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้น บางครั้งอาจใช้วิธีละลายปุ๋ยเคมีด้วยน้ำให้มีความเข้มข้นพอดี

สำหรับการใส่ปุ๋ย ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้น พรวนกลบลงในดินและโรยปุ๋ย ไนโตรเจนใส่ด้านข้าง ห่างจากโคนต้นประมาณ 2 นิ้ว และเมื่ออายุประมาณ 10-14 วัน หลังจากย้ายกล้า ให้ใส่ครั้งที่สอง โดยโรยด้านข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนและพรวนกลบลงในดิน

การป้องกันกำจัดศัตรูพริก

นอกจากการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย หรือการกำจัดวัชพืชแล้ว ยังมีศัตรูพริกต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการ

ปลูกพริกเป็นอย่างมาก ศัตรูพริกที่สำคัญที่พบได้โดยทั่วไปมีดังนี้ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวแคบยาว มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขอบปีกมีขนเป็นแผง มักพบอยู่บนใบและยอดอ่อน อีกทั้งพบบริเวณฐานดอกและขั้วผลอ่อน ขณะหากินไม่ชอบเคลื่อนย้ายตัว เมื่อมีการกระทบกระเทือนจะเคลื่อนไหวรวดเร็ว มีการขยายพันธุ์ทั้งแบบผสมพันธุ์และไม่ต้องผสมพันธุ์ ตัวเมียมีอายุประมาณ 15 วัน และเมื่อได้รับการผสมจะออกไข่ได้ประมาณ 40 ฟอง ตัวเมียที่ไม่ผสมพันธุ์ออกไข่ได้ประมาณ 30 ฟอง วงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ 15 วัน ระยะไข่ 4-7 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 1 มีชีวิต 2 วัน วัยที่ 2 มีชีวิต 4 วัน วัยที่ 3 ใช้เวลาฟักตัว 3 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัยสมบูรณ์

เพลี้ยไฟจะระบาดมากในฤดูแล้ง หรือเมื่อมีฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยจะทำลายใบอ่อนและตาดอก ลักษณะการทำลาย ใบจะห่อปิด ขอบใบม้วนขึ้นข้างบน ทำให้ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ทำลายผลพริกให้หงิกงอ ไม่ได้คุณภาพ

สำหรับการป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟชอบหลบอยู่ตามใต้ใบ ตามซอกยอดอ่อนในดอก เวลาพ่นยาควรใช้เครื่องมือที่สามารถพ่นได้อย่างทั่วถึง การเลือกยาที่เหมาะสมควรทำดังนี้ คือ ถ้าปลูกพริกในแหล่งที่มีการระบาดมานาน ควรเลือกใช้ยาที่ทำลายได้เฉพาะ เช่น อิมิดาคลอพริดแลนเนท เป็นต้น หรือใช้ระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์