กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ผล สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า หากนำมาจำแนกกลุ่มพันธุ์ทุเรียนจากลักษณะที่ค่อนข้างคงที่ ไม่แปรปรวนไปตามสภาพแวดล้อม ได้แก่ รูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และหนามผล สามารถจำแนกกลุ่มพันธุ์ทุเรียน ได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มกบ มีลักษณะรูปร่างใบเป็นแบบ oval-oblong ลักษณะปลายใบเป็นแบบ acuminate-curve ลักษณะฐานใบเป็นแบบ rounded-obtuse ลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน 3 ลักษณะ คือ กลม กลมรี กลมแป้น มีรูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ

สำหรับทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มกบ มีทั้งสิ้น 46 พันธุ์ ได้แก่ กบแม่เฒ่า กบเล็บเหยี่ยว กบตาขำ กบพิกุล กบวัดกล้วย กบชายน้ำ กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) กบสุวรรณ กบเจ้าคุณ กบตาท้วม (กบดำ) กบตาปุ่น กบหน้าศาล กบจำปา (กบแข้งสิงห์) กบเบา กบรัศมี กบตาโห้ กบตาแจ่ม กบทองคำ กบสีนาค กบทองก้อน กบไว กบงู กบตาเฒ่า กบชมพู กบพลเทพ กบพวง กบวัดเพลง กบก้านเหลือง กบตานวล กบตามาก กบทองเพ็ง กบราชเนตร กบแก้ว กบตานุช กบตามิตร กลีบสมุทร กบตาแม้น การะเกด กบซ่อนกลิ่น กบตาเป็น กบทองดี กบธีระ กบมังกร กบลำเจียก กบหลังวิหารและ กบหัวล้าน

กลุ่มลวง มีลักษณะรูปร่างใบเป็นรูปไข่ขอบขนาน ลักษณะปลายใบแหลมเรียว ลักษณะฐานใบแหลมและมน ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอก และรูปรี ลักษณะหนามผลเว้า
ส่วนรายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มลวงมี 12 พันธุ์ ได้แก่ ลวง ชะนี ลวงทอง ลวงมะรุม ชะนีกิ่งม้วน ชมพูศรี ย่ำมะหวาด สายหยุด ชะนีก้านยาว ชะนีน้ำตาลทราย มดแดงและ สีเทา

กลุ่มก้านยาว มีลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมปลายใบ ลักษณะปลายใบเรียวแหลม ลักษณะฐานใบเรียว ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับและรูปกลม รูปร่างหนามผลนูน โดยรายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มก้านยาวมี 8 พันธุ์ ได้แก่ ก้านยาว ทองสุก ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) ก้านยาวสีนาค ก้านยาวพวง ก้านยาวใบด่าง ชมภูบาน และ ต้นใหญ่

กลุ่มกำปั่น มีลักษณะรูปร่างใบยาวเรียว ลักษณะปลายใบเรียวแหลม ลักษณะฐานใบแหลม ลักษณะทรงผลทรงขอบขนาน รูปร่างหนามผลแหลมตรง ทั้งนี้ รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มกำปั่นมี 13 พันธุ์ ได้แก่ หมอนทอง กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) กำปั่นแดง กำปั่นตาแพ กำปั่นพวง ชายมะไฟ ลุงเกตุ ปิ่นทอง เม็ดในกำปั่น เห-รา หมอนเดิม และ กำปั่นบางสีทอง

กลุ่มทองย้อย มีลักษณะรูปร่างใบแบบป้อมปลายใบ ลักษณะปลายใบเรียวแหลม ลักษณะฐานใบมน ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ รูปร่างหนามผลนูนปลายแหลม ซึ่งรายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มทองย้อยมี 14 พันธุ์ ได้แก่ ฉัตร ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ฉัตรสีนาคฉัตรสีทอง พวงฉัตร ทองใหม่ นมสวรรค์ ทับทิม ธรณีไหว นกหยิบ แดงรัศมี อีอึ่งและอีทุย

กลุ่มเบ็ดเตล็ด ทุเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 5 กลุ่มแรก ขณะเดียวกัน ก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น รูปร่างใบ จะมีลักษณะป้อมกลางใบ หรือรูปไข่ขอบขนาน ลักษณะของปลายใบเป็นแหลมเรียว ลักษณะฐานใบแหลมหรือมน ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน 3 ลักษณะ คือ กลมแป้น กลมรี และทรงกระบอก หนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม หรือนูนปลายแหลม

รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ดมีมากถึง 81 พันธุ์ ได้แก่ ยินดี อีล่ากะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง กระดุมทอง กระดุมสีนาค กระโปรงทอง กระปุกทอง (กระปุกทองดี) ก้อนทอง เขียวตำลึง ขุนทอง จอกลอย ชายมังคุด แดงช่างเขียน แดงตาน้อย แดงตาเผื่อน แดงสาวน้อย ดาวกระจาย ตะพาบน้ำ ตะโก (ทองแดง) ตุ้มทอง ทศพิณ ทองคำตาพรวด ทองม้วน ทองคำ นกกระจิบ บาตรทองคำ (อีบาตร) บางขุนนนท์เป็ดถบ ฝอยทอง พวงมาลัย พวงมณี เม็ดในยายปราง เม็ดในบางขุนนนท์ นมสดลำเจียก ไอ้เข้ สีทอง สีไพร สาวชมเห็ด สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) หางสิงห์ เหรียญทอง อินทรชิต อีลีบ อียักษ์ อีหนัก ตอสามเส้า ทองนพคุณ ทองหยอด ทองหยิบ เนื้อหนา โบราณ ฟักข้าว พื้นเมืองเกาะช้าง มะนาว เม็ดในกระดุม เม็ดในก้านยาว เม็ดในลวง ลุงไหล เมล็ดพงษ์พันธุ์ เมล็ดเผียน เมล็ดลับแล เมล็ดสม เมล็ดอารีย์ ย่ามแม่วาด ลวงเพาะเมล็ด สาเก ลูกหนัก สาวใหญ่ หมอนข้าง หมอนละอองฟ้า หลงลับแล เหมราช อีงอน ไอ้เม่น ไอ้ใหม่ กะเทยขั้วสั้น เหลืองทอง และห้าลูกไม่ถึงผัว

การทำสวนผลไม้ เช่น สวนส้มโอ ต้นไม้ผลที่จะปลูกจะต้องปลูกขวางตะวัน เพราะจะช่วยระบายลมถ้ามีอากาศร้อน ต้นไม้จะได้รับแสงแดดทั้งเช้าและเย็น มีการเจริญเติบโตที่ดี “ส้มโอ” เป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชรากตื้นและหากินที่ผิวดิน การเตรียมดินและบำรุงดินจะต้องดี ควบคุมการให้น้ำส้มโออย่างพอเหมาะ เพราะส้มโอเป็นพืชชอบน้ำแต่กลัวน้ำขังแฉะ

หลายคนทราบดีว่า ส้มโอไทยเป็นหนึ่งในโลก โดยเฉพาะพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและพันธุ์ทองดี มีตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา ส้มโอ เป็นไม้ผลที่มีปัญหาเรื่องการตลาดน้อยมาก และเป็นไม้ผลที่ขายได้ราคาดีแม้ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดพร้อมกันในช่วงฤดูกาล

คุณพงษ์พัน เมืองทอง เจ้าของสวน “เมืองทอง” บ้านเลขที่ 133/3 หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตรศ โทร. (089) 267-9764 ตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูก “ส้มโอพันธุ์ทองดี” มานาน และปัจจุบันนั้นเน้นผลผลิตส้มโอทองดีเพื่อส่งออกเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีราคารับซื้อที่สูงกว่าราคาซื้อขายส้มโอภายในประเทศ แต่ชาวสวนก็ต้องทำผลผลิตส้มโอออกมาให้มีคุณภาพตามที่ผู้ค้าส่งออกต้องการเช่นกัน

ดูแลผิวส้มโอให้สวย

ต้องการให้ผิวส้มโอสวย ต้องคอยฉีดป้องกันเพลี้ยไฟ ไร และเชื้อราทำลาย การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกเรื่องของผิวส้มโอ ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ผิวจะต้องสวยเท่านั้น ส่วนรสชาติก็จะต้องหวานนำเปรี้ยว จึงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ อย่างแมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ หากฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ สารป้องกันกำจัดที่นำมาใช้ฉีดพ่นสลับกันไปในแต่ละรอบนั้น เช่น สารอิมิดาคลอพริด เมโทมิล ฉีดพ่นสลับกันไปเพื่อป้องกันแมลงดื้อยา (ใช้เป็นตัวหลักของสวน เพราะสามารถควบคุมแมลงได้กว้าง) ส่วน ไรแดง ก็ใช้ยากลุ่มไพริดาเบน อีไทออน อามิทราซ ใช้สลับกันไปเพื่อไม่ให้แมลงดื้อสารเคมี

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมี ก็ระวังสารเคมีบางชนิดที่ไม่ควรฉีดพ่นช่วงออกดอกจนถึงระยะติดผลอ่อน ซึ่งจะทำให้ผลร่วง เช่น สารอะบาแม็กติน ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมตรงช่วง สารป้องกันกำจัดเชื้อราทั่วไป ก็จะใช้พวกสารป้องกันเชื้อราทั่วไป เช่น คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ ฉีดสลับกันไป แต่ถ้าช่วงเวลาสำคัญ คือช่วงออกดอก ช่วงติดผลอ่อน ก็จะใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแบบจำเพาะที่เน้นป้องกันราเข้าทำลายขั้วผลส้มโอ ทำให้ผลส้มโอหลุดร่วงเป็นจำนวนมาก ก็ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ก่อนดอกบาน-ช่วงติดผลอ่อน ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา กลุ่มโพรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซล ซึ่งได้ผลดี

ตอนนี้ชาวสวนที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง สวนใหญ่จะใช้รถพ่นสารเคมีอย่างแอร์บัสกันเกือบทั้งหมดเนื่องจากปัญหาแรงงานในการฉีดยา จึงต้องนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทน ซึ่งก็ได้ผลดี เพราะสามารถทำงานได้รวดเร็วในพื้นที่ขนาดใหญ่ ประหยัดไม่สิ้นเปลืองการใช้สารเคมีเลย ฉีดได้ทั่วถึงพอสมควร ซึ่งอย่างที่บอกไว้ว่าสวนส้มโอทองดี 22 ไร่ ตอนนี้ก็จะดูแลกันแค่ 2 คน กับภรรยาเท่านั้นเอง

ผลผลิตต่อไร่ก็อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของต้นส้มโอ ถ้าอายุ 7-10 ปีขึ้นไป การติดผลก็จะดีมาก ทรงพุ่มก็จะสอดคล้องกับอายุต้นส้มโอเช่นกัน เมื่อทรงพุ่มกว้างใหญ่ย่อมมีโอกาสติดผลได้จำนวนมาก การดูแลรักษา เช่น การใส่ปุ๋ยทางดินจะต้องมีการใส่ให้บ่อยครั้งในหนึ่งรอบปี เนื่องจากนิสัยของส้มโอมักจะชอบปุ๋ย ถ้าได้ปุ๋ยน้อย ต้นก็จะแสดงอาการใบเหลืองต้นโทรม เป็นต้น

ยกตัวอย่าง ปีที่ส้มโอดกมากๆ นั้น 100 ต้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากถึง 20,000 ผล ถ้าคูณด้วยน้ำหนักเพียงผลละ 1 กิโลกรัม ก็จะได้น้ำหนักมากถึง 20,000 กิโลกรัม หรือ 20 ตัน ต่อต้นส้มโอ 100 ต้น โดยส้มโอ 1 ไร่ จะปลูกส้มโอได้ประมาณ 33 ต้น ปัจจัยเรื่องของธรรมชาติ เช่นปีที่ผ่านมาอากาศร้อนจัด สภาพอากาศแปรปรวนก็ส่งผลในเรื่องของการออกดอกและการติดผล เป็นต้น

การเก็บเกี่ยวส้มโอ

การเลือกตัดส้มโอทองดี ก็ต้องแล้วแต่ผู้ส่งออก โดยมากก็จะตัดผลส้มโอที่ความแก่ราวๆ 90-95% ผิวผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง แต่ผู้ส่งออกบางรายจะให้ตัดส้มโอผิวผลที่ยังเขียวอยู่ ความแก่สัก 80% ซึ่งการตัดส้มส่งออกจะต้องตัดขั้วชิดผลเลย เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าสู่ขั้นตอนการแว็กซ์ผิว และการบรรจุลงกล่อง แต่ถ้าช่วงปลายสุดของการเก็บเกี่ยวตกเกรด ก็จะขายในพื้นที่ให้แม่ค้าทั่วไป หรือส่งออกไปกัมพูชาที่ไม่เน้นเรื่องของผิว แต่เน้นเก็บผลแก่เท่านั้น

การเก็บเกี่ยวส้มโอ ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยมักจะนับกันช่วงหลังดอกบาน ประมาณ 6.5-8 เดือน ก็จะพิจารณาลักษณะภายนอกประกอบ ก็อาศัยความชำนาญพอสมควรที่จะไม่เก็บเกี่ยวผลส้มโอที่ไม่แก่หรือไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ค้าส่งออกระบุลงมาจากต้นเสียก่อน เช่น การดูผลแก่จัด ให้สังเกตที่ต่อมน้ำมันใสนูนกว้าง ช่องระหว่างต่อมน้ำมันกว้าง กดที่ก้นผล (สะดือ) จะยุบตามแรงกดแล้วพองขึ้นอย่างเดิม น้ำหนักดีเมื่อเทียบกับผลอื่นที่ขนาดเท่ากัน เป็นต้น

การตัดส้มโอลงจากต้นนั้นเป็นช่วงที่สำคัญมาก จะต้องตัดลงมาด้วยความระมัดระวังมาก ไม่ให้ผิวส้มมีรอยหรือร่วงตกพื้น ซึ่งนั่นหมายถึงส้มโอผลนั้นตกเกรดทันที การเก็บก็จะใช้กรรไกรยาวแบบตัดหรือหนีบ ตัดแล้วมีใบและขั้วติดมาด้วย จะตัดได้ต่ำหรือสูงขึ้นกับความยาวของด้ามกรรไกร แบบนี้จะตัดขั้วผลและหนีบผลติดอยู่กับกรรไกร การใช้กรรไกรแบบนี้ต้องปฏิบัติอย่างนุ่มนวล ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ส้มโอหลุดออกจากปากหนีบ แล้วร่วงสู่พื้นทำให้เกิดความเสียหาย

การเก็บส้มโอลงจากต้น ตอนนี้ผู้ส่งออกจะช่วยค่าคนเก็บ กิโลกรัมละ 1 บาท เช่น วันนี้ตัดเก็บส้มโอได้ 3,000 กิโลกรัม คนเก็บหรือคนตัดส้มโอซึ่งเป็นเจ้าของสวน ก็จะได้ค่าแรงตัด 3,000 บาท เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกอาชีพยามว่างที่เจ้าของสวนส้มโอออกไปรับจ้างตัดส้มโอที่มีรายได้ต่อวันค่อนข้างสูงทีเดียว แต่คนที่จะยึดอาชีพนี้ก็ต้องใช้ความชำนาญ ประสบการณ์ที่จะต้องตัดส้มลงมาไม่ให้เกิดความเสียหาย ตัดผลส้มโอที่มีความแก่ที่ผู้ส่งออกต้องการ

ราคา ซื้อ-ขาย ส้มโอทองดี

เนื่องจากที่สวนจะเน้นการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกให้ได้มากที่สุด เนื่องจากมีการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดในประเทศเกือบเท่าตัว แต่เกษตรกรก็ต้องดูแลรักษาส้มโอให้ได้คุณภาพ ผิวจะต้องสวย ยกตัวอย่าง ราคาส้มโอทองดีเมื่อปีที่แล้ว สูงสุดถึงกิโลกรัมละ 90 บาท ทีเดียว แต่ราคาส้มโอทองดีในปีนี้ก็ราวๆ 65 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ราคาตลาดในประเทศก็ดีเช่นในปีที่แล้วเหมือนกัน อย่างส้มโอทองดี กิโลกรัมละ 45 บาท ส่วนส้มโอขาวแตงกวา กิโลกรัมละ 50-55 บาท ทีเดียว

การเก็บเกี่ยวผลส้มโอทองดี ก็จะเก็บเกี่ยวผลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 17 นิ้ว จะได้เป็นส้มโอ เบอร์ 1 ส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-17 นิ้ว ก็จะเป็นส้มโอ เบอร์ 2 และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 16 นิ้ว ก็จะเป็นส้มโอ เบอร์ 3 ราคาก็จะถูกลงมาตามขนาด ซึ่งน้ำหนักผลของส้มโอทองดีต่อผล เฉลี่ยก็ประมาณ 1.2-1.3 กิโลกรัม

การกำจัดวัชพืชในสวนส้มโอ

เน้นการตัดหญ้า เนื่องจากสวนส้มโอแห่งนี้ได้ปรับที่จนเรียบ มีระยะปลูกที่ห่างพอสมควร จึงสามารถใช้เครื่องตัดหญ้าแบบติดท้ายรถไถ ตัดหญ้าได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าแต่อย่างใด ส่วนที่สำคัญที่ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสวนส้มโอ เพราะจะมีผลกระทบต่อราก ทำลายรากส้มโอได้ง่าย ซึ่งต่อมาก็จะเป็นรากเน่าโคนเน่า เรื่องของรากส้มโอต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก รากสมบูรณ์ก็จะส่งผลให้ใบสมบูรณ์ ส่งผลให้ออกดอกติดผลได้ดี

เคล็ดลับเรื่องการใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนในส้มโอ

คุณพงษ์พัน ยกตัวอย่างว่า เช่น การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต (สูตร 13-0-46) เมื่อนำมาฉีดพ่นทางใบช่วงขยายผล ปุ๋ยสูตรนี้จะช่วยขยายขนาดผลได้เป็นอย่างดี เป็นปุ๋ยที่มีราคาไม่แพง ฉีดพ่นให้ 2-5 ครั้ง ตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถเพิ่มฉีดพ่นให้เป็นระยะๆ ตั้งแต่ติดผลอ่อนไปจนถึงขยายขนาดผลได้เลย จะช่วยขยายขนาดผลส้มโอได้เป็นอย่างดี หรือใช้ร่วมกับการฉีดพ่นฮอร์โมนแคลเซียมโบรอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเน้นการขยายผลให้น้ำหนักผลดี ส้มโอเนื้อจะค่อนข้างตันไม่กลวง และช่วยเรื่องก้นผลแตกด้วย

ปุ๋ยทางดิน เน้นใช้ สูตร 8-24-24 เป็นหลัก

คุณพงษ์พัน เล่าว่า ตนเองจะใช้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 เพียงอย่างเดียวตลอดระยะเวลาการผลิตใน 1 ปี แล้วใช้วิธีให้น้อยแต่บ่อยครั้ง ทำไมต้องเลือกใช้ปุ๋ยสูตรนี้เป็นหลัก เพราะคงเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่พบว่าใช้แล้วดี สามารถควบคุมการผลิตส้มโอได้ เช่น การสะสมอาหาร การเปิดตาดอก การบำรุงผล และการเพิ่มความหวาน ส่วนที่เพิ่มเติมก็จะปรับเปลี่ยนปุ๋ยทางใบเอา วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีโดยเน้นใส่บริเวณรอบๆ ทรงพุ่ม 3 ส่วน อีก 1 ส่วน ให้โรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้นส้มโอ เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกลำต้นส้มโอเน่าและอาจทำให้ส้มโอตายได้

สำหรับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่จะใส่ให้แก่ส้มโอนั้น ถ้าสามารถกระทำได้ควรใส่ในช่วงฤดูแล้งหรือฝนไม่ชุกมากนัก จะทำให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี อีกทั้งยังช่วยลดความเป็นกรดของดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีด้วย ส่วนเรื่องของการใช้ฮอร์โมน ช่วงส้มโอมีขนาดผลเล็ก ขนาดเท่ามะนาวใหญ่ ให้ฉีดพ่นด้วยจิบเบอเรลลิน ร่วมกับธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม โดยการฉีดพ่นทางใบ 1-2 ครั้ง จะช่วยลดอาการผลแตก ผลร่วง ได้เป็นอย่างดี

มองอนาคตของส้มโอไว้อย่างไร

คุณพงษ์พัน กล่าวว่า เท่าที่ทราบ ส้มโอของไทยนั้นเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ โดยเฉพาะส้มโอทองดีนั้นก็ยังเป็นส้มโอ เบอร์ 1 ในการส่งออกของไทย เป็นพันธุ์ที่ส่งออกมากที่สุดของไทย ส่วนตัวไม่ได้ห่วงเรื่องของตลาดเลย เพราะจีนมีความต้องการสูงมาก มีการรับซื้อจำนวนมากในแต่ละปี แต่ชาวสวนเองต่างหากที่จะต้องทำผลผลิตออกมาให้ได้ตามที่ต้องการ ทำให้ต้นส้มโอติดผลดกและมีคุณภาพเท่านั้น ส้มโอเป็นผลไม้ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเน่าเสียเลย หลังจากที่แว็กซ์ผิวแล้วสามารถเก็บหรือจำหน่ายได้นานนับเดือน หรือจะดึงเวลาในการรอจำหน่ายบนต้นได้นานพอสมควร ในกรณีที่จะรอราคาส้มโอในประเทศถ้าต้องการราคาที่จะขยับสูงขึ้น

สุดท้าย คุณพงษ์พัน เมืองทอง ทิ้งท้ายไว้ว่า การทำสวนส้มโอนั้น ก็ต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอ ต้องรู้การใช้ปุ๋ย ใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงให้ตรงจังหวะและเหมาะสม รู้เป้าหมายว่าเราผลิตส้มโอเพื่อส่งออกก็ต้องมีความประณีตในการดูแลส้มโอให้ได้คุณภาพ เพราะเราต้องการขายส้มโอในราคาที่สูง

ในตอนเช้ามีหมอกลง กลางวันอากาศร้อน และมีฝนตกเล็กน้อยเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรสวนส้มเปลือกล่อนเฝ้าระวังแมลงศัตรูพืช 3 ชนิด คือเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบส้ม จะพบในระยะที่ส้มแตกยอดอ่อนและติดผล สำหรับเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เกษตรกรควรสังเกตตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตาและยอดอ่อน โดยตัวอ่อนจะกลั่นสารสีขาวเป็นเส้นด้ายทำให้เกิดราดำ ใบถูกทำลายจะหงิกงอและแห้งเหี่ยว อีกทั้งเพลี้ยยังเป็นพาหะของโรคกรีนนิ่งที่สามารถแพร่กระจายไปเกือบทุกแหล่งที่ปลูกส้ม ทำให้ต้นส้มทรุดโทรมและตายในที่สุด ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจต้นส้มในระยะแตกตาและยอดอ่อน หากสุ่มพบเพลี้ยไก่แจ้ส้ม 5 ยอด ต่อต้น จำนวน 10-20 ต้น ต่อสวน ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 8 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ล ยูพี อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วนเพลี้ยไฟ จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและผลอ่อน ส่งผลให้ใบผิดปกติ แคบเรียว กร้าน มักพบเพลี้ยไฟทำลายรุนแรงในระยะผลอ่อน ตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนถึงผลส้ม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ผลที่ถูกทำลายจะเกิดวงสีเทาเงินบริเวณขั้วและก้นผล ผลแคระแกร็น หากพบเข้าทำลายผลมากกว่า 10% หรือพบเข้าทำลายยอดมากกว่า 50% ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบฟูแรน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

นอกจากนี้ เกษตรกรควรเฝ้าระวังหนอนชอนใบส้ม มักพบผีเสื้อหนอนวางไข่ใต้เนื้อเยื่อใกล้เส้นกลางใบส้ม เมื่อไข่ฟักเป็นหนอนจะชอนเข้าไปกัดกินระหว่างผิวใต้ใบ แรกเริ่มแผลเป็นทางสีขาวเรียวยาวสังเกตได้ง่าย ต่อมาขยายใหญ่เป็นทางคดเคี้ยวไปมาคล้ายงูเลื้อย ใบบิดงอลงด้านที่หนอนทำลาย หากระบาดมาก กิ่งอ่อนและผลอ่อนถูกทำลาย ส่งผลให้ส้มต้นเล็กชะงักการเจริญเติบโตได้ และแผลเป็นช่องทางให้โรคแคงเกอร์รุนแรงขึ้น สามารถพบระบาดได้ทุกช่วงที่มีการแตกใบอ่อนตลอดทั้งปี หากสุ่มสำรวจหนอน 5 ยอด ต่อต้น จำนวน 10-20 ต้น ต่อสวน และยอดอ่อนถูกทำลายมากกว่า 50% ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโคลไท อะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 8 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งใบ หากยังระบาดอยู่ให้พ่นซ้ำอีก เกษตรกรควรใช้อัตราน้ำในการพ่นสารให้มากกว่าการพ่นสารฆ่าแมลงทั่วไป เพื่อให้สารน้ำมันเคลือบใบพืช และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสารปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ให้ดีขึ้น

การป้องกันแก้ไขสำหรับเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้ม สล็อตออนไลน์ ควรควบคุมบังคับให้ต้นส้มแตกยอด ออกดอก และติดผลในระยะเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด ช่วยควบคุมประชากรหนอน สะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดจำนวนครั้งในการพ่นสารเคมี และช่วยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่พบมากในสวนส้ม จากนั้นให้เกษตรกรเก็บยอด ใบ หรือเด็ดผลอ่อนที่ถูกทำลายไปเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณหนอน ช่วยให้ต้นส้มฟื้นตัวเร็วขึ้น และช่วยการแตกยอดของส้มรุ่นต่อไปอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจวิธีป้องกันกำจัดแมลงแบบผสมผสาน สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ (02) 579-1061 หรือที่เว็บไซต์

พูดถึงนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดในบ้านเรา ชื่อของ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นที่รู้จักกันดี เพราะมีผลงานมากมาย ที่สำคัญท่านเป็น 1 ใน 5 ของนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดระดับโลก ปัจจุบันเป็นเจ้าของ บริษัท สวีทซีดส์ จำกัด

จุดเด่น หวานกรอบอร่อย
ล่าสุดผลงานของด็อกเตอร์ผู้นี้คือ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษสีแดง “ราชินีทับทิมสยาม” (Siam Ruby Queen) ถือเป็นข้าวโพดหวานสีแดงพันธุ์แรกของโลก ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์โดยฝีมือคนไทย ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันสวยสด รวมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่ สามารถรับประทานสดได้เลย ทำให้ได้รสชาติที่หวานและมีความกรอบในตัว และในอีกไม่ช้าจะมีพันธุ์ Siam Ruby Queen 2 เข้ามาเสริม ซึ่งพันธุ์นี้จะมีรสชาติที่หวานอร่อยกว่าเดิม