กล้วยเล็บมือนางพันธุ์ชุมพร 1 มีลักษณะเด่น คือ เครือใหญ่

น้ำหนักเครือ 5.7 กิโลกรัม พันธุ์พื้นเมืองน้ำหนักเครือ 4.9 กิโลกรัม ผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักผล 33.8 กรัม พันธุ์พื้นเมืองน้ำหนักผล 32.8 กรัม น้ำหนักหวี 664 กรัม พันธุ์พื้นเมืองน้ำหนักหวี 631 กรัม เนื้อแน่น เหมาะสำหรับการแปรรูปทั้งทำกล้วยอบและฉาบ และบริโภคผลสุก รวมทั้งการจัดเรียงของผลในหวีเป็นระเบียบเหมาะแก่การบรรจุหีบห่อในการขนส่งหรือส่งออก ในขณะที่กล้วยเล็บมือนางพันธุ์อื่นๆ ส่วนใหญ่การจัดเรียงของผลในหวีไม่เป็นระเบียบทำให้ยากต่อการบรรจุหีบห่อ

เครือและหวีขนาดใหญ่ของกล้วยเล็บมือนางพันธุ์ชุมพร 1 มองดูสวยงาม สะดุดตา เป็นที่ต้องการของผู้ขายและผู้บริโภค เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ทำให้ง่ายต่อการแปรรูป โดยเฉพาะการทำกล้วยฉาบเพราะทำได้ง่ายกว่าพันธุ์พื้นเมือง ผลขนาดใหญ่ทำให้สะดวกต่อการหั่น เมื่อทอดเสร็จแล้ว จะได้แผ่นกล้วยฉาบขนาดใหญ่มองดูน่ารับประทาน

ในปี 2562 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร ได้ทำแปลงหน่อพันธุ์ภายในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 800 กอ และเพาะเลี้ยงต้นกล้าพันธุ์กล้วยเล็บมือนางพันธุ์ชุมพร 1 โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้ 10,000 ต้น เกษตรกรที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร กรมวิชาการเกษตร โทร.0-7761-1025

ระยะนี้เข้าสู่ช่วงที่ต้นมะม่วงพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังช่วงที่อากาศร้อน และมีฝนตกเล็กน้อย บางพื้นที่ ให้สังเกตการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ มักพบแมลงวันผลไม้เพศเมียใช้อวัยวะแทงเข้าไปวางไข่ในผลมะม่วง พบรอยช้ำใต้ผิวเปลือก ตัวหนอนจะฟักจากไข่และอาศัยชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น

เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะเจาะรูออกมาจากผลมะม่วงเพื่อเข้าดักแด้ในดิน และกลายเป็นแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัย ส่วนผลที่หนอนเจาะเป็นรูจะมีน้ำไหลเยิ้ม ผลเละ เน่าเสีย และร่วงหล่น ผลที่ถูกทำลายมักมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ

เกษตรกรควรหมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเก็บผลที่เน่าเสียออกจากแปลงและนำไปฝังกลบให้หน้าดินหนา อย่างน้อย 15 เซนติเมตร จากนั้น ให้ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลหรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้ประมาณ 60 วัน และใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทิลยูจินอลผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4 :1 นำไปแขวนไว้ในทรงพุ่มที่ระดับความสูง 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก

หากพบระบาดมาก ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และพ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ในน้ำ 5 ลิตร โดยพ่นเป็นแถบ แถวละ 1 แถบ หรือถ้าพ่นแถวละ 2 แถบ ให้พ่นแถวเว้นแถว ขนาดกว้าง แถบละ 30 เซนติเมตร ในเวลาเช้าตรู่ และควรเริ่มพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับ คำขวัญเมืองโพธาราม ที่กล่าวว่า “คนสวยโพธาราม งดงามน้ำใจ ค่ายหลวงบ้านไร่ หนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนนุ่มชั้นนำ ถ้ำค้างคาวร้อยล้าน งามตุ๊กตาน่าพิศ จิตรกรรมฝาผนัง หนองโพดังนมสด เลิศรสผักกาดหวาน”

ความจริงเมืองโพธารามยังมีของดีอีกอย่างเรียกว่า “ข้าวโพดแปดแถว” อยู่ในกลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว มีลักษณะพิเศษคือ ขนาดฝักเล็ก เมล็ดข้าวโพดสีขาวมีจำนวนแปดแถว รสชาติหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม ไม่ติดฟัน สามารถปลูกได้ตลอดปี แค่ชิมครั้งแรก มีตกหลุมรักรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้เสียแล้ว เพราะอร่อย นุ่มและหวาน ไม่เหมือนข้าวโพดต้มที่เคยกินในพื้นที่อื่นเลย

เมื่อ 30 ปีก่อน “นายดำรง มินทนนท์” หรือ ลุงดำ ได้พันธุ์ข้าวโพดแปดแถวมาจากเพื่อนคนหนึ่ง จึงนำมาปลูกครั้งแรกในพื้นที่อำเภอโพธาราม และนำออกต้มขายที่หน้าวัดโบสถ์ ปรากฏว่า ชาวบ้านชอบใจในรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้ จึงหันมาปลูกเป็นพืชเสริมหลังฤดูทำนากันอย่างแพร่หลาย ในพื้นที่ตำบลคลองตาคต และตำบลบ้านเลือก จนถึงทุกวันนี้

ที่ผ่านมา ข้าวโพดแปดแถวเป็นที่รู้จักของชาวโพธาราม และคนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยววัดโบสถ์ โพธารามในระดับหนึ่ง ต่อมาข้าวโพดแปดแถวมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น หลังจากถูกส่งเข้าถวายในวัง ทำให้ข้าวโพดแปดแถวกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของท้องถิ่น ที่นักท่องเที่ยวต้องแวะซื้อข้าวโพดแปดแถวเพื่อเป็นของฝากติดมือก่อนกลับบ้านกันเพิ่มมากขึ้น

ทุกวันนี้ แหล่งใหญ่ที่ขายข้าวโพดแปดแถว อยู่ที่วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม นั่นเอง ที่นี่มีแผงขายข้าวโพดแปดแถวอยู่หลายราย ร้านดังที่มีชื่อเสียงติดปากลูกค้าคือ ร้าน “ป้าแสงเดือน” ในช่วงวันหยุดและเทศกาลสำคัญจะขายดีมาก ไม่ถึงช่วงบ่ายก็ขายหมดเกลี้ยงแล้ว เรียกว่า ขายข้าวโพดต้มจนร่ำรวยกันเลยทีเดียว

ปลูกข้าวโพดแปดแถว

โดยทั่วไปเกษตรกรแต่ละรายจะมีเนื้อที่ปลูกข้าวโพดแปดประมาณ 1 ไร่ จะแบ่งการปลูกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 2 งาน เมื่อปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นแรกเสร็จ จะพักหน้าดิน และเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดในแปลงที่สอง เมื่อเก็บเกี่ยวรุ่นสองแล้วจะหมุนเวียนกลับมาปลูกในแปลงแรกอีกครั้งหนึ่ง วางแผนการปลูกในลักษณะนี้ ทำให้มีผลผลิตข้าวโพดแปดแถวป้อนเข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ

ข้าวโพดแปดแถวปลูกได้ทั่วไป ในสภาพดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทราย ระดับหน้าดินลึก 25-30 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-6.8 ต้นข้าวโพดเติบโตดีในแหล่งที่มีแสงแดดจัด อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตร ต่อปี อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 24-35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อาจจะมีปัญหาในการผสมเกสร ทำให้การติดเมล็ดไม่ดีเท่าที่ควร

ขั้นตอนการปลูก เริ่มจากไถดินและตากดิน 7 วัน ยกร่องปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก ขุดหลุม 10 นิ้ว หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหลุมละ 6-7 เมล็ด รดน้ำตาม หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน เมล็ดข้าวโพดก็จะงอกขึ้นเป็นต้นกล้า

เมื่อต้นข้าวโพดอายุ 15-20 วัน หว่านปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ในอัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากนั้น คอยพรวนดิน และถอนแยกให้เหลือ 4-5 ต้น ต่อหลุม เมื่อปลูกไปได้ 40 วัน ต้นข้าวโพดจะเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อีกครั้ง ข้าวโพดจะให้ผลผลิตเพียง 1 ฝัก ต่อต้น เมื่อต้นข้าวโพดอายุ 55-60 วัน ก็เก็บฝักออกขายได้ ส่วนต้นข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยวก็นำไปเลี้ยงวัวนมต่อไป

ชาวบ้านจะใช้วิธีปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง โดยแบ่งที่ดินประมาณ 1 ร่อง สำหรับปลูกข้าวโพดแปดแถวไว้ใช้ทำพันธุ์โดยเฉพาะ เพื่อรักษาคุณภาพความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 3-4 เดือนเพื่อเก็บฝักแก่ไว้ทำพันธุ์ โดยเกษตรกรจะคัดเลือกฝักแก่ที่มีลักษณะเป็นข้าวโพดแปดแถวเพียงอย่างเดียว เพื่อเก็บไว้ปลูกและขยายพันธุ์ในฤดูถัดไป

ข้าวโพดแปดแถวปลูกดูแลยากกว่าข้าวโพดที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ทั่วไป ข้าวโพดแปดแถวจะให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เมื่อถึงช่วงฤดูร้อน มักเจอปัญหาหนอนเจาะลำต้นรบกวน ทำให้ต้นข้าวโพดไม่มีฝัก แต่แก้ไขได้โดยฉีดยาฆ่าหนอน

นอกจากนี้ ในช่วงฤดูฝน ต้นข้าวโพดแปดแถวมักเกิดปัญหาเชื้อรารบกวน ทำให้เกิดอาการใบเหลืองลาย ไม่มีฝัก เมื่อเกิดอาการดังกล่าว จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็ต้องถางไร่ข้าวโพดทิ้งและนำต้นข้าวโพดไปเลี้ยงวัวได้อย่างเดียว เกษตรกรส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดในช่วงหน้าฝน หรือพยายามป้องกันโรคเชื้อรา โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมาคลุกยาก่อนปลูก ก็ได้ผลดีในระดับหนึ่ง

ข้าวโพดแปดแถวให้ผลกำไรสูง

ทุกวันนี้ ข้าวโพดแปดแถวได้รับความนิยมจากท้องตลาดอย่างแพร่หลาย ไร้กังวลเรื่องการหาตลาดเพราะมีแม่ค้ามารับซื้อสินค้าถึงไร่ การปลูกข้าวโพดแปดแถวได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สร้างรายได้กว่า 200,000 บาทในแต่ละปี ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นแห่งนี้ ปลูกข้าวโพดแปดแถวเป็นรายได้ประจำเลี้ยงครอบครัวมานานกว่า 20 ปี

การปลูกข้าวโพดแปดแถวให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ปลูกได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยปีละ 3-4 รอบ และใช้ระยะเวลาปลูกเพียงช่วงสั้นๆ ประมาณ 55-60 วันเท่านั้น เกษตรกรก็จะมีรายได้เข้ากระเป๋าแล้ว

เมื่อต้นข้าวโพดเติบโตจนถึงระยะเก็บเกี่ยว จะมีแม่ค้าขาประจำมาเหมารับซื้อผลผลิตทั้งหมด เพื่อนำไปต้มขายที่บริเวณหน้าวัดโบสถ์ โดยฝักใหญ่ขายในราคาฝักละ 5 บาท ส่วนฝักเล็กขายในราคา 3 ฝัก 10 บาท ปัจจุบัน ข้าวโพดแปดแถวขายดีมาก ปลูกเท่าไรก็ขายได้หมด เพราะตลาดมีความต้องการบริโภคข้าวโพดแปดแถวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องวางแผนการผลิตเพื่อรักษาคุณภาพ โดยผลิตให้พอกับความต้องการของตลาด

ข้าวโพดแปดแถว ปลูกและขายเฉพาะในท้องถิ่นอำเภอโพธาราม ราชบุรีเท่านั้น ที่นี่ปลูกข้าวโพดแปดแถวเยอะ แต่ปลูกคนละไม่กี่ไร่ ไม่ต้องกลัวเรื่องแข่งขันด้านราคา ข้าวโพดแปดแถวให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าปลูกข้าวโพดพันธุ์อื่นถึง 25% มีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 15,000 บาท ขณะที่ปลูกและขายข้าวโพดพันธุ์ได้แค่ไร่ละ 8,000 บาทเท่านั้น

ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวโพดแปดแถว ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ย ค่าเตรียมแปลงปลูก และค่าน้ำเฉลี่ยไร่ละ 4,000-5,000 บาท แต่มีรายได้จากการขายข้าวโพดแปดแถวประมาณไร่ละ 15,000 บาท ส่วนแม่ค้าที่รับซื้อข้าวโพดแปดแถวไปจะมีรายได้จากการขายข้าวโพดต้มประมาณ 30,000 บาททีเดียว

เรื่องราวดีๆ ที่ไปประสบมาจากงานเลี้ยงรุ่น ที่บรรดาคนเคยเรียนด้วยกันมากว่ากึ่งศตวรรษ ทุกคนย่อมมีทั้งโอกาสดี และสมหวังมากกว่าคนผิดหวังในชีวิตทำงาน ครั้นมาเจอกัน ต่างแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในชีวิตทำงานซึ่งกันและกัน

นี่แหละ!! ผลของการไปร่วมงานชุมนุมเลี้ยงรุ่น มันมีรสชาติและสนุกสนาน มีความสุข ก่อเกิดประโยชน์ได้หลายทาง โปรดอย่ามองข้ามไป…บางรายเกลียดการชุมนุม ที่เป็นคนส่วนนิด หรืออาจจะมีปมด้อย ไม่อยากเจอเพื่อนๆ ก็อาจเป็นได้ในหมู่เฉพาะรุ่นที่พวกเขาไม่คิดกัน
เพราะการชุมนุมรุ่น เขาไม่มีเอายศ ตำแหน่ง ฐานะ หรือเกียรติยศมาอวดอ้างกัน ต่างจากยศถาบรรดาศักดิ์ที่ใช้ในเวลาราชการเท่านั้น

ในโอกาสที่ได้ไปพบเพื่อนร่วมรุ่นคนหนึ่งที่เคยร่ำเรียนกันมาได้รับฟังว่า เขาเป็นคนที่สร้างอาชีพให้ชาวบ้านมีงานทำ และคัดเลือกคนมาอบรมการเพาะเห็ดนั้น จะต้องพิถีพิถัน เอาคนจนชาวบ้านมาอบรม แล้วกลับไปประกอบอาชีพได้เลย น่าพิศวงยิ่งนัก ฟังเขาเล่าให้ฟังแล้วพลอยตื้นตันไปกับความเป็นคนที่ช่วยเหลือสังคม ในตลอดชีวิตที่น่ายกย่องสรรเสริญ เขาล่ะ คือ อาจารย์วินัย เจียตระกูล แห่งฟาร์มเห็ดพะเยา
อยากจะขอย้อนอดีตของเรื่องราวและความเป็นมาของเห็ดเมืองพะเยาของอาจารย์วินัย ฟาร์มเห็ดพะเยา ที่คนทั้งจังหวัดพะเยาและใกล้เคียงรู้จักกันดี

อาจารย์วินัย เล่าให้ฟังว่า “ผมเป็นชาวพะเยาโดยกำเนิด หลังจากไปเรียนวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ ในปี 2505 จนจบ 5 ปี แล้วไปสมัครเป็นข้าราชการ อาจารย์สอนหนังสือ แล้วไปสอนที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี”

อาจารย์กล่าวต่อ “ผมมีโอกาสไปเรียนต่อที่คณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาตรีแล้วไปสอนที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ที่บ้านเกิดครับ” ผู้เขียนถามต่อไป ทำไมถึงมายึดอาชีพเพาะเชื้อเห็ด และจำหน่ายให้คนไปเพาะเห็ดขาย

“คืออย่างนี้ครับ ผมเห็นวัสดุที่เหลือใช้แล้วไม่ได้ไปทำประโยชน์อะไรเลย ปล่อยทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วน่าเสียดาย”

อาจารย์วินัยเริ่มมองขยะเป็นทอง ว่างั้นเถอะ หลังจากนั้น เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา อาจารย์วินัยได้นำวิธีการเพาะเชื้อเห็ดมาปฏิบัติหลังจากที่ได้เคยไปร่ำเรียนมา จนมาถึงวันนี้ ฟาร์มเห็ดพะเยา เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่อาชีพเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงเห็ดหลายชนิดที่จังหวัดพะเยา

“ชมรมคนรักในหลวง” มีที่ไปที่มาอย่างไรครับ ผู้เขียนถามถึงเรื่องราวของการอบรมเห็ด

อาจารย์วินัย เล่าว่า “เกิดจากการรวมตัวของบรรดาเกษตรกรและชาวบ้าน ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และช่วยเหลือให้มีอาชีพทำเห็ดให้คนที่สนใจมาเรียนรู้ โดยมีประธานชมรมเป็นนายทหาร และผมเป็นรองประธานในการฝึกอบรมทำกิจกรรมในการเพาะเลี้ยงเห็ดให้เกิดเป็นอาชีพขึ้นมา เพื่อเสริมรายได้แก่เกษตรกรครับ”

การอบรม รุ่นละ 15-20 คน การคัดเลือกต้องหาคนขยัน ตั้งใจจริง การอบรมต้องเรียนรู้และปฏิบัติไปในตัวจริงๆ เพื่อให้ผู้อบรมรู้จริงแล้วกลับบ้านไปทำได้เลยที่บ้าน

“การที่คัดคนที่ขยันนั้น เพราะว่าการเพาะเชื้อเห็ดนั้นมันต้องมีอุปกรณ์และมีความพิถีพิถัน หากใช้ความร้อนไม่เพียงพอ นึ่งไม่สุก มีเชื้อเข้ามาปลอมปนได้ แล้วเกิดติดเชื้อจากจุลินทรีย์และแบคทีเรียได้ง่าย ทำให้เชื้อเสียหายง่าย เราต้องเน้นเรื่องความเอาใจใส่ เพราะนึ่งไม่สุก เห็ดที่ใช้เพาะกับขอนไม้ ถ้าเป็นไม้มะม่วงจะดี การใช้เชื้อเพาะเห็ดลม เห็ดกระด้าง หรืออีสานเรียกว่า เห็ดบด หรือเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ นางนวล ขอนขาว เพาะในถุงได้แล้ว” เจ้าของฟาร์มเห็ดพะเยาเล่าให้ฟัง

เส้นทางชีวิตของ อาจารย์วินัย เจียตระกูล หลังจากเกษียณ รับราชการครู ได้อาจารย์ 3 ระดับ 8 เมื่อปี 2547 ก็ออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ตามความรู้ที่เล่าเรียนมา และสอนที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม และตั้งชมรมเห็ดโรงเรียนแห่งนี้มานานหลายสิบปี สร้างลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้าน จนถึงวันนี้ไปสร้างฐานะครอบครัวจนมีรายได้จากการเพาะเห็ดขายมาหลายร้อยชีวิต ก่อเกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

หากใครสนใจที่อยากจะติดต่อกับ อาจารย์วินัย เจียตระกูล โปรดติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 086-193-3673 เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นผลงานของอาจารย์วินัยต่อสาธารณชน โดยผู้เขียนขอนำภูมิปัญญาด้านการเกษตรสมัยยังสอนหนังสือคือ “การเพาะเห็ดลมในขอนไม้มะม่วง”

การเพาะเห็ดลมในขอนไม้

เห็ดลม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เห็ดกระด้าง หรือ เห็ดบด ตามปกติจะขึ้นในต้นฤดูฝน และต้นฤดูหนาว แต่หากรู้จักวิธีการให้น้ำจะออกได้ตลอดปี จึงมีการเพาะเห็ดลมขึ้น โดยใช้วัสดุต่างๆ ดังนี้

วัสดุที่ใช้

1. เชื้อเห็ดที่ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป เส้นใยสีขาว

2. ขอนไม้ ควรใช้ไม้มะม่วง ไม้เต็ง รัง (แงะ, เปา) พลวง (เหียง) ขยอม และไม้ที่เห็ดลมขึ้นตามธรรมชาติ ควรเป็นไม้ที่มีเปลือกสมบูรณ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตร อายุปานกลาง ควรตัดไม้ในช่วงฤดูร้อน เพื่อจะได้สะสมอาหารอย่างเพียงพอ

3. สว่าน หรือค้อนเจาะไม้ หรือตุ๊ดตู่ ขนาด 4-6 หุน

4. ฝาปิด เช่น ปูนซีเมนต์ โฟม เปลือกไม้ จุกพลาสติก

1. ใช้สว่านเจาะไม้ ลึกประมาณ 1 นิ้ว ห่างกันประมาณ 3-5 นิ้ว แต่ละแนวเจาะสลับฟันปลา ใส่เชื้อเห็ดให้เต็มรู กดให้แน่น ปิดรูด้วยเปลือกไม้ โฟม หรือปูนซีเมนต์
2. นำขอนไม้ที่เพาะไว้แล้วไปบ่มไว้ โดยวางตามขวางในแนวนอน ซ้อนสลับกันแบบหมอนรถไฟ ควรบ่มในที่ร่ม อากาศถ่ายเท ลมไม่โกรก เพราะจะทำให้แห้งเร็วเกินไป หากขอนไม้แห้งให้รดน้ำเป็นละออง อย่าให้เปลือกเปียกเกินไป ระหว่างที่บ่มควรกลับกองไม้บ้าง สัก 2-3 ครั้ง เพื่อให้เส้นใยเดินทั่ว ควรบ่มไว้ไม่ต่ำกว่า 4 เดือน

3. นำขอนไม้ที่บ่มสมบูรณ์แล้วไปแช่น้ำ ประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นใยเกิดดอกเห็ด มีความชื้นเพียงพอ ทำลายศัตรูเห็ด เช่น มด แมลงต่างๆ และทำให้เนื้อไม้อ่อนและเกิดดอกเห็ด

4. หลังจากแช่ขอนไม้แล้ว ใช้ไม้หรือค้อนทุบหัวไม้ทั้งสองข้าง หรือกระทุ้งแรงๆ เพื่อไล่น้ำที่แทรกอยู่ จากนั้นนำขอนไม้ไปวางในแนวตั้ง หรือวางนอนขนานกับพื้นในที่ร่มชื้น รดน้ำ วันละ 1-5 ครั้ง เห็ดจะออกเป็นรุ่นๆ หลังจากเก็บผลผลิตแล้วต้องงดน้ำ 7 วัน จากนั้นจึงเริ่มรดน้ำใหม่ วันละ 1-5 ครั้ง

5. ในระยะที่เห็ดออกดอก ต้องรดน้ำไม่ให้ขอนไม้แห้ง ดอกเห็ดจะอ้วนและสมบูรณ์ หลังเก็บดอกควรหยุดรดน้ำ ถ้าไม้ปีแรกหยุด 15-20 วัน และรดน้ำให้มากๆ สัก 5 วัน ถ้าไม่ออกดอกให้หยุด เห็ดจะเกิดดอกทันที แล้วจึงค่อยให้น้ำจนกระทั่งเก็บเห็ด ไม้ปีที่ 2 ควรพักขอนไม้ ไม่รดน้ำ 7-10 วัน สลับกันไปเรื่อยๆ

6. เมื่อเห็ดขึ้นครั้งแรกแล้วจะทิ้งช่วงออกเป็นรุ่นๆ ห่างกันประมาณ 20-30 วัน ในปีแรก และ 7-10 วัน ในปีที่สอง แต่ละรุ่นจะเก็บดอกเห็ดได้ 30-100 ดอก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ความชื้นอุณหภูมิ การถ่ายเทของอากาศ ขอนไม้ที่เพาะใส่เชื้อเพียงครั้งเดียว จะเกิดเห็ดในขอนไม้จนกว่าไม้ผุและจะเก็บดอกได้ รวมทั้งหมดประมาณ 3-5 กิโลกรัม

เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างถูก เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ กล่าวคือ ลงทุนซื้อเชื้อเห็ดและขอนไม้ ประมาณ 10-11 บาท แต่สามารถเก็บดอกเห็ดขายได้ ขอนละ 3-5 กิโลกรัม คิดเป็นเงินประมาณ 400-500 บาท นอกจากจะเป็นการเสริมรายได้เป็นทุนการศึกษาของนักเรียนในระหว่างการเรียนแล้ว ยังสามารถนำไปประกอบอาชีพหลักด้านการเพาะเห็ดได้

เกษตรกรหลายท่าน มักพูดเสมอว่า อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ไม่มีวันอดตาย คุณชัยวัฒน์ ปิ่นนาค (คุณเบญ) ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ อยู่บ้านเลขที่ 134/2 หมู่ที่ 1 ตำบลวังแดง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่จะเข้ามาตอกย้ำกับคำพูดเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่เขาได้เข้ามาสานต่อกิจการขยายพันธุ์ไม้จากพ่อแม่ ก็ทำให้รู้เลยว่า การเป็นเกษตรกรถ้ามีการจัดการวางแผนที่ดี ก็ทำให้มีกินมีใช้ไปได้ตลอดชีวิต

คุณชัยวัฒน์ ปิ่นนาค หรือ คุณเบญ เรียนจบปริญญาตรี สมัครเว็บ SBOBET สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเหนือ หลังจากเรียนจบได้เข้ามารับช่วงกิจการขยายพันธุ์ไม้ผลของครอบครัว ที่ทำมานานกว่า 30 ปี โดยช่วงแรกจะเป็นการเรียนรู้งานจากคุณพ่อและการศึกษาดูงานจากแหล่งต่างๆ ในเรื่องของเทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ในหลายรูปแบบ สะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญ และได้มีการขยายกิจการเพิ่มเติมจากของครอบครัว สวนประดับพันธุ์ไม้ที่ทำอยู่เดิม 100 ไร่ ขยายเพิ่มเป็น 200 ไร่ และมีการเปิดร้านขายกิ่งพันธุ์เป็นของตัวเอง ชื่อร้านชัยวัฒน์ตลาดกลางพันธุ์ไม้ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งร้าน

ใช้เทคโนโลยีที่เรียนมาประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์ภายในสวน ลดต้นทุน เพิ่มรายได้
หลังจากที่ได้เข้ามาสานต่อธุรกิจขยายพันธุ์ไม้ของครอบครัว คุณเบญ บอกว่า ตนเองได้นำเทคโนโลยีที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาใช้พัฒนากิจการของที่บ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อแม่จะใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องด้วยกิจการขยายใหญ่ขึ้น ใช้แรงงานคนอย่างเดียวทำไม่ทัน จึงได้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น ลดต้นทุนค่าแรงงาน ร่นระยะเวลาได้เร็วขึ้น ด้วยการใช้รถตัก รถแทรกเตอร์ เครื่องผสมดินต่างๆ เข้ามาช่วย และมีการพัฒนาระบบการให้น้ำระบบอัตโนมัติด้วยแผงโซลาร์เซลล์ เพราะการขยายกิ่งพันธุ์ค่อนข้างที่ต้องใช้น้ำต่อวันในปริมาณมาก ทำให้มีค่าไฟสูงมากต่อเดือน จึงใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ปีละ 120,000 บาท ซึ่งแนะนำให้ติดตั้งทำเป็นระยะยาวถึงจะคุ้ม เพราะได้คำนวณจุดคุ้มทุนมาแล้ว อยู่ที่ประมาณ 10-14 ปี หลังจากนั้นคือ กำไร นอกจากนี้ ยังมีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ามาช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนค่าปุ๋ย ด้วยการใช้น้ำหมักชีวภาพ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองในแปลงแม่พันธุ์อีกด้วย

ขยายพันธุ์ เน้นการเสียบยอดในโรงเรือน
ต้นพันธุ์แข็งแรง ตั้งตัวได้เร็ว
คุณเบญ บอกว่า การขยายพันธุ์ไม้ที่สวนจะเน้นการเสียบยอดเป็นส่วนใหญ่ เพราะจะได้ต้นพันธุ์ที่ดีและแข็งแรงกว่าวิธีการปักชำ และทาบกิ่ง การเสียบยอดในโรงเรือน…จะใช้ทำกับไม้ผลเกือบทุกชนิดภายในสวน การเสียบยอดในโรงเรือนจำเป็นต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีกิ่งพันธุ์ดีที่ต้องการขยายจำนวนน้อยไม่ควรเสี่ยง เพราะหากทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งต้นตอและยอดที่นำมาเสียบจะเสียหายได้

ขั้นตอนการเสียบยอด… เป็นการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ เลือกกิ่งต้นตอแล้วตัดปลายกิ่งออก ผ่าที่กึ่งกลางกิ่งให้เป็นรูปลิ่ม ยาว 3-4 เซนติเมตร เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มแล้วเสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบนและล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น จากนั้นคลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติกไฮเดน แล้วนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก ประมาณ 10-15 วัน รอยแผลประสานกันดี นำออกมาพักไว้นอกโรงเรือน