กล้วยไม้ออกมาทีละต้น วิธีดังกล่าวก็ใช้ได้แถมขวดยังนำกลับ

ไปขายได้แต่เมื่อมาคำนวณเทียบกับความรวดเร็วและการช้ำของรากลูกไม้ พบว่าใช้วิธีทุบปลอดภัยต่อลูกกล้วยไม้มากกว่า เมื่อเก็บเศษแก้วออกหมดเราก็จะเหลือลูกช้างเผือกต้นสวย ที่รากยังคงเกี่ยวพันกันอยู่และยังคงมีวุ้นอาหารเกาะอยู่ที่รากด้วย

ก็ต้องมาถึงขั้นตอนถัดไป ให้ไปหาตะกร้าพลาสติกใบใหญ่ หรือจะใบเล็ก ก็ขึ้นกับความถนัด บางท่านใช้ตะกร้า ขนาด 8×12 นิ้ว บางท่านก็ใช้ 6×8 นิ้ว บางสวนอาจจะเลือกใช้ขนาดแรก เนื่องจากที่สวนความชื้นสูง แต่บางท่านที่โรงเรือนไม่ใหญ่นักความชื้นต่ำก็แนะให้เลือกขนาดเล็กตัวที่สอง เป็นต้น

เมื่อได้ตะกร้าพลาสติกมาแล้ว จะใช้มือเปล่าๆ หรือสวมถุงมือยางก็ได้แล้วแต่ถนัด แต่ควรล้างทั้งมือและถุงมือยางให้สะอาดก่อนนะครับ ค่อยๆ ดึงต้นกล้วยไม้ช้างต้นน้อยๆ ออกมาแผ่ทีละต้นสองต้น ดึงเบาๆ อย่าให้รากช้างน้อยช้ำ หรือหัก หากมีวุ้นติดมาที่รากก็ให้รูดวุ้นทิ้งด้วย แต่อย่าบีบรากช้างน้อยแรง หากยังมีวุ้นเล็กน้อยติดอยู่ก็ไม่เป็นไร

ขั้นตอนถัดไป เราสามารถเอาออก ผู้ทำการแยกย้ายต้องใจเย็นๆ เมื่อได้ลูกช้างแยกเป็นต้นๆ ก็ให้นำไปวางเรียงในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ ค่อยๆ นำไปวางและเกลี่ยให้ทั่วตะกร้า วางทับกันบ้างเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร หลังจากแยกเป็นต้นๆ และเกลี่ยวางลงในตะกร้าพลาสติกเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นว่ายังมีวุ้นติดอยู่บ้างตามราก และใบของช้างน้อย ก็ต้องมาถึงขั้นตอนการล้างวุ้นกัน ควรเลือกพื้นปูนที่สะอาดและควรมีสายยางต่อจากก๊อกน้ำมาวางไว้ข้างๆ เพื่อจะบังคับทิศทางน้ำได้ดังในภาพ

สำหรับตะกร้าพลาสติกแนะนำว่าควรแขวนลวดไว้ตั้งแต่แรก เพื่อความง่ายในเวลาล้างวุ้นออก เพราะสามารถที่จะจับลวดหมุนเปลี่ยนทิศทางของตะกร้าได้ น้ำจากสายยางที่ใช้ฉีดล้างวุ้น ไม่ควรแรงมากเกินไปจนทำให้ใบและต้นกล้วยไม้ช้ำ และก็ไม่ควรเบาจนวุ้นไม่ยอมหลุดออกไปจากรากลูกกล้วยไม้ ต้องดูความแรงของน้ำจากสายยางให้พอดี ฉีดวุ้นออกให้มากที่สุด ตรงไหนสีดำๆ วุ้นออกไม่หมดก็ไม่เป็นไร ให้ปล่อยไว้อย่างนั้นไม่ต้องไปใช้มือหรืออุปกรณ์ช่วยขัด เพราะจะทำให้รากช้ำตาย ปล่อยวุ้นค้างไว้เล็กน้อยก็ได้ แล้วค่อยใช้ยาป้องกันเชื้อราก็ควบคุมได้

ระหว่างที่ฉีดก็ให้จับลวดที่แขวนตะกร้าให้หมุนรอบๆ ด้วย วุ้นจะได้ออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผู้ที่ใช้น้ำประปาโดยตรง ฉีดล้างวุ้น หลังจากล้างเสร็จ แนะนำให้ใช้น้ำเปล่าที่สะอาดที่พักค้างคืนเกินกว่า 1 คืน ราดลงบนต้นลูกกล้วยไม้ในตะกร้าอีกครั้ง เพื่อป้องกันการตกค้างของคลอรีนจากน้ำประปาโดยตรง เมื่อล้างเสร็จเราก็ควรเขียนป้ายชื่อกำกับไว้ บอกสายพันธุ์ และวันที่ออกขวด เพื่อดูอายุกล้วยไม้ด้วย ติดป้ายชื่อแล้วนำตะกร้าขึ้นแขวนเป็นกลุ่มๆ ครั้งละ 5-6 ใบ ก็ดีครับ เป็นการเพิ่มความชื้นให้ต้นลูกช้างด้วย

ขั้นตอนถัดไปก็คือ การหาที่แขวนให้ลูกช้างได้ปรับสภาพตัวเอง แนะนำว่า นำกล้วยไม้ที่เพิ่งออกขวดมาแขวนรวมกันโดยให้อยู่ใต้หลังคาใสกันฝน ใต้ซาแรนพรางแสงอีกชั้นหนึ่ง และมักจะใช้ลวดเก่าแขวนโยงให้ไม้ตะกร้าอยู่สูงจากพื้นดินในระดับไม่เกิน 50 เซนติเมตร เท่าที่ดูไม้ตะกร้าฟื้นตัวได้ไว และอัตราการตายแทบไม่มีเลย เทคนิคเบื้องต้นเหล่านี้หวังว่าคงมีหลายท่านที่จะได้นำไปพัฒนาและปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมและดียิ่งขึ้น ซึ่งก็คงบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ของไทยให้ดียิ่งขึ้นไป

หลังจากทราบเทคนิคการออกขวดไม้ตระกูลช้างไปแล้ว คราวนี้เรามาดู “วิธีการขุนกล้วยไม้สกุลช้างเพื่อให้โตไว” กัน หวังว่าหลายๆ ท่านคงได้นำความรู้และแนวทางที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้กันต่อไป หลังจากลูกช้างเข้าสู่ตะกร้าแขวน และถูกนำไปวางในที่ที่เหมาะสมแล้ว แนะนำให้นำไปวางไว้ในโรงเรือน โดยวางหลังคาสังกะสี หรือกระเบื้องใส ซ้อนใต้ซาแรนอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝนตกใส่ลูกช้างโดยตรง เนื่องจากลูกช้างยังค่อนข้างบอบบาง ดังนั้น เม็ดฝนเม็ดใหญ่ อาจทำให้ใบและรากของลูกช้างบอบช้ำได้ ซึ่งจะนำมาซึ่งโรคร้ายหลายตัวจากรอยแผลที่เกิดจากเม็ดฝน

เมื่อขึ้นตะกร้าได้วันเดียว วันรุ่งขึ้นควรจะใช้ยาป้องกันเชื้อราผสมกับน้ำในอัตราส่วนเจือจางคือ ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ฉลากแนะนำ ฉีดพ่นให้ลูกช้างในตะกร้า แล้วควรให้ต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้ง ให้ดูความถี่จากสภาพอากาศ ชื้นมากก็ให้สองครั้ง เป็นต้น และนับจากออกขวดได้ 6-7 วัน ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยจางๆ กับลูกช้าง

สำหรับสูตรปุ๋ยเกล็ดที่จะใช้ จะเริ่มใช้ที่สูตรตัวหน้าสูงก่อนครับ เช่น 30-20-10 ฉีดพ่นให้ได้สัปดาห์ละครั้ง ส่วนการรดน้ำ ช่วงนี้สำคัญมาก ใช้หัวพ่นฝอยละเอียด พ่นอย่าให้แรงมาก (ทดสอบแบบที่ฉีดใส่มือเราแล้วรู้สึกนุ่มๆ) กันการกระแทกต้น ใบ และรากของลูกช้าง รดให้ได้เช้าเย็น อย่าให้น้ำขาด แต่อย่าให้ลูกช้างเปียกแฉะตลอดเวลา รดให้โชก และปล่อยให้ลมโกรกให้แห้ง ถึงเวลาอีกครั้งค่อยรดใหม่ครับ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลูกช้างก็จะเริ่มต่อรากจากรากเดิมแล้ว ทีนี้ก็รอให้รากยาวขึ้นมาอีกนิด อายุประมาณ 7-8 สัปดาห์ จากออกขวด เราก็ควรจะรีบนำลูกช้างขึ้นกระถางถ้วยนิ้วได้แล้ว

สำหรับการย้ายลูกช้างจากตะกร้าไปใส่กระถางถ้วยนิ้ว ส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะใช้เวลาในตะกร้า ประมาณ 2-3 เดือนครับ หรือบางสวนไม่มีพื้นที่ก็อาจค้างในตะกร้าได้เป็นปีได้เช่นกัน แต่ข้อเสียของการทิ้งไว้ในตะกร้าไว้นานก็คือ รากกล้วยไม้จะเกาะกันแน่น เวลาแยกต้นค่อนข้างยุ่งยากมาก

สำหรับการย้ายจากตะกร้าขึ้นถ้วยกระถางนิ้ว สามารถเลือกใช้เครื่องปลูกในถ้วยกระถางนิ้วได้หลายอย่าง อย่างในภาพ คุณสายาห์ นิยมใช้สแฟกนั่มมอส เนื่องจากลองดูแล้วกล้วยไม้โตไวและสมบูรณ์ดี แต่ในบางสวนก็เลือกใช้กระถาง ถ้วยเปล่าบ้าง ใช้กาบมะพร้าวชิ้นบ้าง ใช้ออสมันด้าก็มีขึ้นกับวิธีการของแต่ละสวน หากจะเลือกปลูกแบบสวน ก็เพียงหาซื้อสแฟกนั่มมอส มาแช่น้ำสัก 1-2 คืน จากนั้นก็นำมายัดและหนีบกับลูกช้างลงกระถางถ้วยได้เลย แต่ก่อนนำลูกช้างแยกมาหนีบ ควรนำลูกช้างทั้งตะกร้าไปแช่น้ำเปล่าก่อน สัก 10-15 นาที เพื่อให้รากอ่อนตัว เวลาแยกรากจะได้ไม่หักง่าย

เนื่องจากบางสวนปลูกช้างแต่ละรุ่นในปริมาณไม่สูงนัก ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 400-500 ต้น ดังนั้น จึงไม่ตั้งโต๊ะถาวร หาซื้อตะแกรงพลาสติก อันละประมาณ 40-50 บาท มาแขวนด้วยลวดดังในภาพ สำหรับท่านที่ทำจำนวนเยอะ จะตั้งโต๊ะถาวรก็ดูแลง่ายดีเช่นเดียวกัน

แนะนำว่า สำหรับผู้ที่ใช้สแฟกนั่มมอสควรควบคุมเรื่องการให้น้ำให้ดี ส่วนใหญ่จะให้น้ำมากไปจนรากกล้วยไม้ลูกช้างเน่าได้ เพราะสแฟกนั่มมอสมักอุ้มน้ำไว้ได้ดีมาก เป็นไปได้ผู้ปลูกเลี้ยงให้ดูสภาพอากาศด้วย รดน้ำซัก 2-3 วันครั้ง โดยรดให้โชกแล้วปล่อยให้ลมโกรก และยาป้องกันเชื้อรา สัปดาห์ละครั้งก็อย่าขาด ในภาพช้างเผือกที่ขึ้นกระถางถ้วยนิ้วไว้ไม่กี่เดือนรากก็เริ่มเดินแข็งแรง ต้นก็เริ่มตั้งสวยแล้ว

สำหรับการเลี้ยงในกระถางถ้วยนิ้ว สูตรปุ๋ยที่แนะนำใช้สูตรตัวหน้าสูง คือ 30-20-10 เป็นปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เวลารดต้องผสมกับน้ำ แต่สำหรับท่านที่เลือกใช้ออสโมโค้ทก็คงต้องหยอดในถ้วย การใช้ปุ๋ย คุณสายาห์ จะให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเลือกวันที่อากาศค่อนข้างปลอดโปร่ง ลมไม่แรงเกินไปนัก ที่สวนจะเลือกให้ปุ๋ยช่วงเช้า หากกล้วยไม้ได้รับปุ๋ยช่วงเช้า พอสายๆ เขาได้รับแสงแดดก็จะสังเคราะห์แสงได้พอดี อีกเทคนิคหนึ่งที่สวนผมเลือกใช้คือ การให้น้ำก่อนให้ปุ๋ย โดยที่สวนจะให้น้ำทั้งสวนจนโชกก่อน พอทิ้งไว้ให้ต้นเริ่มหมาดๆ หน่อยก็จะเริ่มให้ปุ๋ย

อีกเทคนิคหนึ่งที่สวนเลือกใช้ คือการใช้ปุ๋ยยูเรียเสริมจากการให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง โดยจะให้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) สลับกับปุ๋ยปกติในจำนวนครั้ง 1 : 3 นั่นคือ หากเดือนหนึ่งมี 4 สัปดาห์ จะให้ปุ๋ยตัวหน้าสูงทุกสัปดาห์ รวม 3 ครั้ง แต่มีครั้งหนึ่งที่เราจะให้ปุ๋ยยูเรียแทนปุ๋ยตัวหน้าสูง เท่าที่ทำมาหลายปี ดูลูกไม้นิ้วเติบโตได้ดี ใบก็สวย ต้นก็อวบ

สำหรับอัตราการผสมปุ๋ยยูเรียกับน้ำที่ใช้รด แนะนำให้ใช้ที่อัตราน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) ใช้ยูเรีย 1-2 ช้อนโต๊ะ ที่สำคัญคือต้องทำละลายยูเรียให้หมด เคยพบว่าเวลายูเรียละลายไม่หมด แล้วเผลอกันบีบไปรดกล้วยไม้ต้นใด พอโดนแดดจัดๆ ใบเหลืองร่วง ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้

ปุ๋ยและยา ป้องกันเชื้อรา

เมื่อขึ้นกระเช้าแขวนแล้วต้องอย่าขาดสัปดาห์ละครั้งเหมือนเดิม ช่วงปีแรกที่ขึ้นกระเช้าแขวนก็ให้ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงเหมือนเดิมไปก่อน บางสวนอาจจะมีการเปลี่ยนสูตรเป็นสูตรเสมอก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา สำหรับผู้ที่ใช้สูตรเดิม ช่วงท้ายๆ ก็ควรแทรกด้วยสูตรเสมอ

เมื่อเลี้ยงไม้กระเช้าไปประมาณ 2-3 ปี ทีนี้ดอกช้างช่อน้อยก็จะเริ่มออกมาให้ชม สำหรับปุ๋ย ควรกะระยะเวลาให้ดีโดยดูจากสภาพต้นของช้างในกระเช้า หากดูแล้วต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่ มีใบข้างละ 3-4 ใบ นั่นแสดงว่าพร้อมที่จะให้ดอกช่วงปลายปี ถ้าอย่างนี้ช่วงเดือนกันยายน หรือตุลาคม ควรจะเริ่มเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเกล็ดเป็นสูตรตัวกลางสูงได้แล้ว ให้สัปดาห์ละครั้งเหมือนเดิม

หากปลายปียังไม่ได้ชมดอก อาจเนื่องจากต้นยังสมบูรณ์ไม่มากพอที่จะให้ช่อดอกได้ ก็ไม่ต้องเสียใจ ปุ๋ยสูตรตัวกลางสูงจะเป็นตัวการช่วยป้องกันการทิ้งใบ หรืออาการใบเหลืองของต้นช้างได้เหมือนกัน รอปีใหม่ พอต้นสมบูรณ์ ช่อก็จะยิ่งยาวและสวยมากๆ

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้างปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2521 อยู่ท่ามกลางหุบเขา ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเขตพื้นที่อำเภอหางดง เมื่อก่อนพื้นที่ศูนย์ฯ ถือเป็นแหล่งทดลองไม้เมืองหนาวที่สำคัญ โดยเฉพาะกุหลาบที่มีกลิ่นหอม

ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนงานส่งเสริมเน้นการปลูกพืชผักอินทรีย์ และไม้ผล ที่สำคัญ คือ อะโวกาโด ที่สามารถรับประทานสด มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ประมาณ 8-20 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิตามินสูง นอกจากให้คุณค่าทางอาหารแล้ว ยังให้เป็นวัตถุดิบเพื่อการสกัดน้ำมันในอุตสาหกรรม

โครงการหลวง ได้นำอะโวกาโดมาทดลองปลูกที่พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ประมาณ ปี พ.ศ. 2526 ปรากฏว่า ได้ผลผลิตคุณภาพดี จึงสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกไม้ผลชนิดนี้ ซึ่งเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรขึ้นไป

สายพันธุ์อะโวกาโดที่ปลูกได้แก่

พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) เป็นเผ่าเวสต์อินเดียน ลักษณะเป็นผลค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลืองอมเขียว รสดี เมล็ดใหญ่อยู่ในช่องเมล็ดแน่น เป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

พันธุ์บัคคาเนียร์ (Buccaneer) เป็นลูกผสมระหว่างเผ่ากัวเตมาลันและเวสต์อินเดียน ลักษณะค่อนข้างกลมรี ขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 300-500 กรัม ผิวผลขรุขระ สีเขียน เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสดี เมล็ดขนาดกลาง มีไขมัน 7-14 เปอร์เซ็นต์ เก็บเกี่ยวผลได้เร็วปานกลาง ประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม

พันธุ์บูท 7 (Booth-7) เป็นลูกผสมระหว่างเผ่ากัวเตมาลันและเวสต์อินเดียน ผลลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดกลาง น้ำหนัก 300-500 กรัม ผิวผลขรุขระเล็กน้อย สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสดี เมล็ดขนาดกลาง มีไขมัน 7-14 เปอร์เซ็นต์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

พันธุ์บูท 8 ( Booth-8) ลักษณะผลรูปไข่ ขนาดเล็กถึงกลาง น้ำหนักประมาณ 270-400 กรัม ผิวผลขรุขระเล็กน้อย สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีครีมอ่อน รสชาติพอใช้ มีไขมัน 6-12 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีขนาดกลางถึงใหญ่ อยู่ในช่องเมล็ดแน่น ฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

พันธุ์ฮอลล์ (Hall) เป็นลูกผสมระหว่างเผ่ากัวเตมาลันและเวสต์อินเดียน ลักษณะผลคล้ายหลอดไฟ น้ำหนัก 400-500 กรัม ผลผิวค่อนข้างเรียบสีเขียวเข้ม เปลือกหนาพอใช้ เนื้อสีเหลืองเข้ม เมล็ดขนาดกลางถึงใหญ่ ฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคม

พันธุ์แฮสส์ (Hass) เป็นพันธุ์เผ่ากัวเตมาลัน ลักษณะผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระมาก ผิวสีเขียวเข้ม เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวเข้มหรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลือง มีไขมันประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนพฤศจิกายน แต่พันธุ์แฮสส์ มีปัญหาเรื่องความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เพียงพอ ทำให้ได้ผลผลิตไม่ค่อยดี

อะโวกาโด ไม้ผลทางเลือก

คุณอาย เตจ๊ะ เกษตรกรบ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมปลูกข้าวไร่ ปลูกกล้วย ทำสวนลิ้นจี่ มาก่อน แต่รายได้จากการขายผลผลิตไม่ค่อยดี และไม่มีตลาดที่แน่นอน แถมมีหนี้ค่าปุ๋ย สารฆ่าแมลง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ประกอบกับสุขภาพไม่ค่อยดี

เมื่อ 10ปีก่อน คุณอาย เตจ๊ะ มีแนวคิดปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมผสาน ช่วงนั้น มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมการปลูกอะโวกาโดอินทรีย์ คุณอาย เตจ๊ะจึงสนใจหันมาปลูกอะโวกาโด พร้อมทั้งปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เขาตัดสินใจปลูกพืชผักเช่น ฟักแม้วหรือซาโยเต ถั่วฝักยาว มะเขือพวง ชะอม มะนาว สมุนไพรไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใช้สารชีวภาพที่ผลิตเองในการดูแลพืชผัก นอกจากนี้ ยังได้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ และเลี้ยงปลาในบ่อ ถือได้ว่าเป็นผลไม้ พืชผักอินทรีย์ และสัตว์เลี้ยงอินทรีย์ โดยได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และ AVA ประเทศสิงคโปร์

การปลูกอะโวกาโด

ที่ผ่านมา โครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอะโวกาโด 2 วิธี คือ วิธีแรกมีการปลูกต้นตอต้นอะโวกาโดที่มีความทนทานต่อโรคไว้ประมาณ 6 เดือน แล้วนำกิ่งพันธุ์มาเสียบ วิธีที่สอง นำต้นกล้าพันธุ์ที่ต้องการปลูกมาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ที่มีความกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร และสูง 80 เซนติเมตร แต่ละต้นห่างกันประมาณ 8 เมตร ผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาแล้วใส่ลงไปในหลุม ให้รอยต่อกิ่งหรือรอยแผลติดตาอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบๆ โคนต้นให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมผิวหน้าดินด้วยวัตถุคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อรักษาความชื้น ปักไม้หลักผูกเชือกยึดติดไว้ป้องกันลมโยก รดน้ำให้สม่ำเสมอจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้

คุณอาย เตจ๊ะ เลือกปลูกอะโวกาโดที่มีความต้านทานต่อโรคไว้ประมาณ 6 เดือนก่อนจึงนำยอดพันธุ์ที่ทางโครงการหลวงส่งเสริมมาเสียบยอด หลังเสียบยอดแล้วประมาณ 3 ปี ต้นอะโวกาโดจะให้ผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้ ก็เก็บส่งขายร้านโครงการหลวง

การดูแลรักษา

แปลงปลูกอะโวกาโด ให้น้ำครั้งละประมาณ 20-30 ลิตร ต่อต้น ทุก 3-4 วัน ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนแรก สำหรับในช่วงฤดูฝนของปีแรกหลังจากฤดูฝนแล้วจะให้น้ำต้นอะโวกาโดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 40-60 ลิตร ต่อต้น จนกว่าต้นอะโวกาโดจะมีอายุ 1 ปี

ช่วงที่ต้นอะโวกาโดออกดอก จะงดให้น้ำ พออะโวกาโดเกิดตาดอกที่ยอด และช่อดอกเริ่มออกให้น้ำใหม่ โดยช่วงดอกออกประมาณเดือนธันวาคม หลังจากนั้นประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เริ่มติดผลเล็ก ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การติดดอกจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-10 เดือน

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะตรวจสอบก่อนว่า ผลแก่พอเก็บได้ โดยใช้วิธีการเก็บผลอะโวกาโด ระดับที่ต่างกันบนต้นมาผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมดสามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ ยังต้องสังเกตลักษณะภายนอกของผลโดยการเปลี่ยนแปลงของสีผล การเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดจะไม่ให้ขั้วผลหลุด เพราะจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก

ผู้สนใจสามารถซื้ออะโวกาโดได้ที่ ร้านค้าโครงการหลวง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ปี 2564 ปีทองทุเรียนต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 7 คาดว่าน่าจะสร้างมูลค่ารายได้ประมาณ 70,000 ล้านบาท เปิดฤดูกาลด้วยกระดุม กิโลกรัมละ 190-200 บาท สูงสุดในประวัติศาสตร์ทุเรียน และต้นฤดูกาลเดือนเมษายน หมอนทอง ราคา 170-180 บาท กระดุม 165 บาท ก้านยาว 150-160 บาท ชะนี 135 บาท สูงกว่าปี 2563 และคาดว่าช่วงที่กระจุกตัวจะเป็นช่วงสั้นๆ ราคาน่าจะไม่ต่ำกว่า 90-95 บาท ภาคตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ปี 2564 ข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี ทุเรียนภาคตะวันออกจาก 3 จังหวัด ปริมาณทั้งหมด 575,542 ตัน จันทบุรี มีปริมาณ 398,618 ตัน หรือคิดเป็น 69% ระยอง 120,080 ตัน หรือ 21% และ ตราด 56,844 ตัน หรือ 10%

คุณสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี มีความมุ่งมั่นแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนอย่างจริงจัง เพราะได้รับการร้องเรียนมาจากผู้บริโภค ชาวสวน ผู้ส่งออก ปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือทุเรียนอ่อน มือตัดจากต้นทางสำคัญที่สุด

ช่วงต้นฤดูกาล ทุเรียนมีปริมาณน้อย ราคาสูง ล้งมีจำนวนมาก มีการแข่งขันสูง บางคนตัดตามสั่งเพื่อส่งทุเรียนอ่อนไปทุบราคาตลาดปลายทาง ทำให้ได้กำไรมาก ส่วนคนตัดได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น ปัญหาทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพ ทำให้ทุเรียนไทยสูญเสียความเชื่อมั่นตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดหลัก และยังต้องแข่งขันกับเพื่อนบ้านที่ปลูกทุเรียนจำนวนมาก ปีนี้ได้ร่วมมือกับทีมกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออก กำหนดมาตรการและใช้กฎหมายเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด โดยกำหนดวันเก็บเกี่ยวทุเรียนหมอนทอง

วันที่ 10 เมษายน 2564 ครบกำหนดวันดอกบาน 110-120 วัน และได้มาตรฐานเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียน 32% และดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดซื้อ-ขายทุเรียนอ่อน ต่างจากปีก่อนใช้กฎหมายแพ่ง และพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ไกล่เกลี่ยยอมความได้ ช่วงต้นฤดูกาลปีนี้สกัดทุเรียนอ่อนไม่ให้ออกสู่ตลาดได้ ทำให้ราคาทุเรียนพุ่งแรงมากกว่าทุกปี หากมือตัดอิสระ มือตัดล้ง เจ้าของสวน-ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ มีจิตสำนึกรับผิดชอบ ร่วมมือกันจะสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพตนเอง

“ปัญหาวังวนทุเรียนอ่อนผู้เกี่ยวข้องมี 3 กลุ่ม คือ ชาวสวน สล็อต UFABET คนเหมาสวน และผู้ประกอบการส่งออก ซึ่งมือตัดทุเรียนถือว่าต้นทางที่นำไปสู่ปัญหาทุเรียนอ่อน จำเป็นต้องสร้างและพัฒนามือตัดทุเรียนให้มีความชำนาญก้าวสู่มืออาชีพอย่างมีจิตสำนึก โครงการอบรม “หลักสูตรนักคัด-นักตัดทุเรียนมืออาชีพ” เป้าหมายสร้างมือตัดจำนวน 200 คน แม้ว่าภาคเกษตรกรรมไม่ใช่รายได้สูงสุดของจังหวัดจันทบุรี แต่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากที่สุด ทุเรียนที่ส่งออกสร้างเม็ดเงินกว่า 60,000 ล้านบาท ผลผลิตของจันทบุรี เกือบ 400,000 ตัน มีล้งถึง 500 ล้ง เทียบกับระยอง 40-50 ล้ง ตราด 2-3 ล้ง ทำให้ทุเรียนไหลมาที่จันทบุรี รวมทั้งทุเรียนอ่อน จึงต้องลบล้างทุเรียนอ่อนออกจากจังหวัดจันทบุรีให้ได้ และการทำคุณภาพที่เหนือกว่าเพื่อนบ้านคือวิธีการเดียวที่จะอยู่รอดในตลาดได้” ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าว

หลักสูตรครบวงจร…คัด-ตัดทุเรียนแก่ ล้งส่งออก
การฝึกอบรม “หลักสูตรนักคัด-นักตัดทุเรียนมืออาชีพ” ด้วยสถานการณ์โควิด-19 รอบ 3 จึงจัดแบ่ง 5 รุ่น ใช้เวลาอบรม 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 20-29 เมษายน โดยมีศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี คุณสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์และคณะเป็นผู้ดำเนินการ การอบรมมีฝึกปฏิบัติจริงในสวน และโรงคัดบรรจุมาตรฐานส่งออกของ ส.ว.อุดม วรัญญูรัฐ เกษตรกรและพ่อค้าตัวจริง ผู้เข้าอบรมเป็นคนรุ่นใหม่ลูกหลานเจ้าของสวน ผู้ประกอบการค้าแผงทุเรียน ผู้ค้าออนไลน์ และล้ง เนื้อหาประกอบด้วย การจัดการทุเรียนก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว

โดย ดร. พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาตรฐานสินค้าทุเรียน GAP/GMP จาก สำนักวิจัยและการพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 การทดสอบวิเคราะห์หาร้อยละน้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน คณะศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี การดูทุเรียนแก่-อ่อน และฝึกตัด-คัดทุเรียนมาตรฐานการส่งออก โดย คุณประสาทพร ศรีสกุลเดช รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนทุเรียนจันท์ และที่ปรึกษาสมาคมทุเรียนไทย