กอปรกับมีการเผยแพร่ว่า อินทผลัม เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทาง

และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เป็นผลไม้ทางเลือกอีกชนิดหนึ่งสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ในบทความของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนว่า จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอินทผลัมมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดไขมัน และลดน้ำตาลในเลือด ช่วยปกป้องตับ ไต หัวใจ และป้องกันการตายของเซลล์หัวใจ แต่มีเงื่อนไขในเรื่องปริมาณการกิน

อินทผลัม จึงเป็นไม้ผลที่ถูกหมายปอง ต้องตาต้องใจของคนหลายคนสนใจใฝ่หามากิน แม้จะมีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบัน ส่วนเกษตรกรจำนวนมากก็แสวงหาต้นพันธุ์มาเพาะปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดของผู้บริโภค ซึ่งมีทั้งเกษตรกรที่สมหวังและเกษตรกรที่ไม่ค่อยสมหวัง ส่วนจะเป็นเพราะเหตุและผลใด ในบทความนี้มีอดีตนายอำเภอ แต่หลังเกษียณก็มาเป็นเกษตรกร จะมาอรรถาธิบายเล่าประสบการณ์ให้ได้ข้อคิดกันครับ

ผู้เขียนขอตั้งต้นการเดินทางไปยังแปลงปลูกอินทผลัมดังกล่าว จาก ณ ที่ว่าการอำเภอลอง ขับรถไปทางทิศตะวันออกตามเส้นทางสายบ้านแม่ลานใต้-บ้านห้วยแม่ต้า เขตติดต่อระหว่างตำบลห้วยอ้อกับตำบลบ้านปิน ถนนหนทางลาดยางอย่างดีครับ จากตัวอำเภอไปเพียง 6 กิโลเมตร ด้านซ้ายมือจะเห็นแปลงปลูกต้นอินทผลัมลดหลั่นกันเป็นขั้นบันไดมองแล้วสะดุดตา นั่นนะหรือต้นจริงๆ ของอินทผลัม ยังไม่เคยเห็นในพื้นที่แถบนั้น ซึ่งอดีตนายอำเภอลองเป็นผู้ริเริ่มปลูกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

วันที่ได้นัดหมายกันไว้กับผู้เขียนและอดีตนายอำเภอพร้อมภรรยาและผู้ดูแลสวน ได้นั่งสนทนากันบนจุดยอดเนินสุดของแปลงอินทผลัม ที่มองเห็นความสวยงามของทิวทัศน์และป่าเขาโดยรอบได้ 360 องศา

คุณลุงจำลอง เณรแย้ม และภรรยา คุณป้าลาวัณย์ เณรแย้ม บ้านที่อยู่เพื่อดูแลสวน เลขที่ 25/5 หมู่ที่ 12 บ้านแม่ลานใต้ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 089-953-8825 พื้นเพเดิมเป็นชาวอุตรดิตถ์ เมืองผลไม้ อดีตเป็นปลัดจังหวัดลำพูนและเคยเป็นนายอำเภอลองอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ซึ่งได้เขียนแผนชีวิตที่เตรียมการไว้ก่อนเกษียณว่า เมื่อเกษียณอายุราชการได้มองงานเกษตรเพื่อจะใช้เวลาว่างแสวงหาความสุขในบั้นปลาย และทำเกษตรเป็นแปลงตัวอย่าง แม้จะให้เวลากับการรับราชการมานาน แต่เมื่อมาจับงานเกษตร อดีตนายอำเภอท่านนี้ใช้การบริหารจัดการแปลงปลูกอินทผลัมจนได้เห็นผลผลิตที่น่าภาคภูมิใจ ซึ่งยังมีพืชอื่นๆ อีก แต่ผู้เขียนได้พูดคุยสนทนากันเฉพาะพืชอินทผลัม

อดีตนายอำเภอลอง หรือคุณลุงจำลอง ได้เล่าย้อนเวลาไปก่อนหน้านี้ว่า ช่วงรับราชการได้เก็บภาพความทรงจำและข้อมูลของอินทผลัมไว้มากพอควร ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าก็ไม่รู้จัก แต่เมื่อครั้งไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศได้เห็นไม้ผลชนิดหนึ่งคล้ายหมากบ้านเรา จึงรู้ว่า นั่นคือ อินทผลัม ไปที่อำเภอปาย ก็ได้ลิ้มชิมรสอินทผลัมที่เป็นผลสด เก็บเมล็ดไว้เพาะ แล้วก็ได้มีโอกาสพูดคุยซักถามเจ้าของต้นพันธุ์อินทผลัม ถูกใจ ก็ซื้อแบ่งปันต้นพันธุ์มาทดลองปลูกลงแปลงไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่ก่อน เป็นการลองผิดลองถูก

ในระยะเริ่มต้นเพียง 6 ต้น เป็นพันธุ์ KL1 ได้ผลผลิต 3 ต้น อีก 3 ต้นกำลังรอผลผลิตปีหน้า ก็เลยค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือบ้าง นิตยสารบ้าง รวมทั้งสื่อออนไลน์ เมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอลอง ก็เดินทางไปหลายพื้นที่ ได้พูดคุยกับเกษตรกรและต้องการซื้อที่ดินไว้ซักแปลงหนึ่ง ตั้งใจจะปลูกอินทผลัม เพราะเชื่อมั่นทั้งข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ บวกกับความเหมาะสมของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมเป็นเนินเขา พื้นดินได้รับแสงแดดเต็มพื้นที่ อากาศกลางวันร้อน กลางคืนบางช่วงก็เย็น ทำให้ได้พบกับสิ่งซึ่งต้องพิสูจน์ว่าพื้นที่ดินลูกรังจะปลูกอินทผลัมได้งอกงามดีหรือไม่ ผลผลิตจะให้ความหวานหรือไม่ ตั้งใจจะปรับพื้นที่เป็นแบบขั้นบันได จะลงมือปลูกอินทผลัม รดน้ำ พรวนดิน ด้วยตนเองในระยะแรกๆ ถือเป็นการออกกำลังกายและใช้เวลาให้เกิดประโยชน์หลังเกษียณ

และแล้วความตั้งใจก็บรรลุ หลังการซื้อที่ดินแปลงนี้ 10 ไร่ เดินสำรวจตรวจสอบพื้นที่โดยรอบ ลงมือปรับพื้นที่เป็นขั้นบันได กว้าง 6 เมตร ตามความลาดชันของพื้นที่ได้ 17 ขั้น ระดับความสูงวัดจากพื้นถนน 150 เมตร ทำร่องน้ำสำหรับระบายน้ำออกจากแปลงเป็นทางระนาบตามแนวโค้งของพื้นที่ให้น้ำระบายและซึมลงเบื้องล่างได้ แน่ใจว่าจะไม่เกิดน้ำท่วมขังโคนต้นอินทผลัมอย่างแน่นอน จากนั้นวางระบบน้ำหยด ได้น้ำจากการขุดบ่อบาดาล ขุดหลุมแล้วรองก้นหลุมด้วยขี้ไก่ไข่คลุกเคล้ากับดินแล้วเกลี่ยพื้นที่รอบหลุมที่จะนำต้นพันธุ์ลงปลูกให้เป็นเนินแบบหลังเต่า ไม่ได้กะระยะห่างระหว่างต้น แต่วิธีการอื่นๆ ก็ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ทำๆ กันมา และตากหลุมไว้เป็นเวลา 2 เดือน จึงนำต้นพันธุ์ลงปลูกเต็มพื้นที่ ได้ทั้งหมด 278 ต้น จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่

สายพันธุ์ KL1 (หรือพันธุ์แม่โจ้ 36) มี 66 ต้น จากการเพาะเมล็ด แต่เป็นต้นตัวเมียเพียง 20 ต้น ให้ผลผลิตแล้ว
ลักษณะผล ผลขนาดกลาง เรียวยาวเล็กน้อย ผลสีทอง เนื้อกรอบนุ่ม หวานมัน เนื้อหนา เมล็ดเล็ก กินผลสดหรือผลสุกก็ได้

สายพันธุ์เดกเล็ทนัวร์ (Deglet Nour) มีฉายาว่า ราชินีแห่งอินทผลัม มี 168 ต้น จากการเพาะเมล็ดเป็นต้นตัวเมีย 60 ต้น ให้ผลผลิตแล้ว
ลักษณะผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงออกสีน้ำผึ้ง เป็นสายพันธุ์ที่กินผลสุก และแห้ง เนื้อนุ่ม เหนียวไม่มาก ไม่แข็งกระด้าง รสชาติไม่หวานมาก หวานปนมัน

คุณลุงจำลอง กล่าวอย่างฟันธงว่า “เดกเล็ทนัวร์ เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เหมาะกับภูมิอากาศของประเทศไทย เนื่องจากสุกและเริ่มแห้งในช่วงฝนตกชุก ทำให้ผลเน่าและเกิดเชื้อรา ที่สวนจะเก็บเอาไว้เป็นแฟนซีประดับสวนให้ผู้สนใจถ่ายรูป ส่วนที่เป็นเกสรเพศผู้จะเก็บเกสรไว้ผสมพันธุ์และขายให้กับผู้สนใจ”

สายพันธุ์บาร์ฮี/บัรฮี (Barhi/Barhee/Barhy) กินผลสด มีฉายาว่า แอปเปิ้ลแห่งตะวันออกกลาง มี 44 ต้น เป็นต้นตัวเมียทั้งหมดจากการเพาะเนื้อเยื่อ ได้รับต้นพันธุ์จากเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก หรือ WDP group (Western Date Palm group) ยังไม่ให้ผลผลิต
“จำได้ว่า วันที่นำต้นพันธุ์ลงปลูกครั้งแรก เป็นวันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 12 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝนพอดี” คุณลุงจำลอง กล่าวพร้อมรอยยิ้ม

จากนั้นงานดูแลก็เริ่มขึ้น หมั่นเพียรเข้าแปลง สำรวจตรวจสอบ สังเกตพัฒนาการของต้นว่าเติบใหญ่ดีหรือไม่

การดูแล ดิน น้ำ ปุ๋ย โรค-แมลง ช่วงต้นอินทผลัมอายุได้ปีที่ 1 และปีที่ 2 ดูแลในเรื่อง น้ำ จะขาดไม่ได้ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ที่นี่ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด แบ่งเป็นโซนๆ ได้ 5 โซน เปิดน้ำให้โซนละ 2 ชั่วโมง ได้ 60 ต้น หรือให้น้ำปริมาณ 100 ลิตร ต่อต้น

ปุ๋ย เร่งต้น ให้ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 6-3-3 ให้ 2 ครั้ง และปุ๋ยหมักจากขี้ไก่ 2 ครั้ง และฉีดพ่นธาตุแคลเซียม-โบรอน ธาตุสังกะสีให้ทางใบเป็นครั้งคราว

ดูโรค-แมลง พื้นที่ตรงนี้ดูดีหน่อย ที่ยังไม่พบโรคและแมลง เพราะได้มีการจัดการพื้นที่ให้โล่งเตียน ดูสะอาดอยู่เสมอแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

ช่วงต้นอายุปีที่ 3

น้ำ น้ำก็สำคัญ “ถ้าคิดว่า อินทผลัมไม่ต้องการน้ำละก็ คิดผิดนะครับ โดยเฉพาะช่วงจะให้ผลผลิตต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการให้น้ำในปริมาณมากน้อยจะมีผลอย่างมากต่อปริมาณและคุณภาพของต้น ดอก ผล” คุณลุงจำลอง กล่าว

ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 6-3-3 และให้ปุ๋ยเร่งดอก แต่ช่วงที่กำลังจะให้ผลผลิตจนถึงก่อนการเก็บผลผลิตให้ปุ๋ย ดังนี้

– ช่วงสะสมอาหาร สูตร 8-24-24 ใส่ 2 ครั้ง คือต้นเดือนธันวาคมและกลางเดือนมกราคม

– ช่วงขยายผล สูตร 15-15-20 บวกธาตุแคลเซียม-โบรอน กันผลแตก และฉีดพ่นธาตุสังกะสีเป็นอาหารเสริม อินทผลัม 3 ปี ให้ผลผลิต

ต้นอินทผลัมที่แปลงแห่งนี้ เริ่มแทงจั่นออกมาให้เห็นในปีที่ 3 บ่งบอกถึงการดูแลที่ดี ทั้งเรื่อง ดิน น้ำ ธาตุอาหาร สำหรับการเตรียมความพร้อมช่วงก่อนออกจั่น ซึ่งปลายเดือนมกราคม จากที่มีอากาศหนาวสัก 10 วัน ก็ได้เห็นจั่น แล้ว เริ่มผสมเกสรกลางเดือนกุมภาพันธ์

เนื่องจากต้นอินทผลัมเป็นไม้ผลที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศ ต้องมีการผสมเกสรข้ามต้น โดยเกสรเพศผู้จะมีสีขาวกลีบดอกเป็นแฉกๆ คล้ายหางกระรอก จะบานก่อนเกสรเพศเมีย ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงต้องเก็บเกสรเพศผู้ไว้ในตู้เย็น รอเกสรเพศเมียบานก็จะนำออกมาผสม ส่วนเกสรเพศเมียนั้นออกดอกเป็นจั่นเหมือนเพศผู้ แต่ดอกเพศเมียมีลักษณะเมล็ดกลมๆ สีเขียวอ่อน

หลังการผสมเกสรแล้ว ก็ต้องดูแลให้ผลของอินทผลัมได้พัฒนาไปตามสายพันธุ์ของเขา ทั้งการแต่งช่อผล การห่อพวง/ทะลาย ก้านช่อ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย เวลาล่วงเลยไปประมาณ 5 เดือน หรือ 150 วัน หรือดูว่าผิวผลมีลายขนแมว แสดงว่าผลแก่ได้ที่ มีรสหวาน ก็จะทยอยตัดช่อพวง/ทะลายได้ แต่การจะให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพก็ต้องมีการห่อ/ครอบช่อผลทั้งทะลายถึง 2 ชั้น ชั้นในเป็นตาข่ายกันแมลง ชั้นนอกใช้กระดาษห่อหุ้มเพื่อให้สีผิวสวย พร้อมกับมีการจดบันทึกทำสัญลักษณ์ติดป้ายไว้แต่ละต้น

เนื่องจาก อินทผลัม จะติดผลในช่วงฤดูร้อน เป็นช่วงรอยต่อของฤดูร้อนกับฤดูฝน ต้องให้ความสำคัญกับการให้น้ำโดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ต้องประคับประคองการให้น้ำให้รองรับกับปริมาณฝนที่จะมา ที่ต้นอินทผลัมจะรับฝนแรกของเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผลของอินทผลัมจะไม่แตกหรือร่วงหล่น

มีเคล็ดลับที่บอกต่อๆ กันมาว่า ถ้าจะแก้เรื่องรสฝาดในผลอินทผลัม ก็ให้ใส่เกลือสมุทรหว่านรอบๆ ต้น และสาดเข้าไปที่กาบใบ เมื่อผลมีอายุ 90 วัน ให้ทุกเดือน จะแก้รสฝาดได้ ทั้งเพิ่มความหวานและป้องกันแมลงได้ด้วย การปฏิบัติเช่นนี้คนดูแลสวนก็ยืนยันว่าลด รสฝาดได้จริง

ที่สวนนี้หากนับวันตั้งแต่วันที่ผสมเกสรเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ระยะเวลา 150 วัน ก็จะเก็บผลได้ วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 แต่จะงดเก็บผลหลังฝนตกใหม่ๆ จะทำให้ความหวานลดลง และจะต้องเปิดถุงที่ครอบออกทั้งหมดเพื่อให้ได้รับแสงแดด

คุณลุงจำลอง กล่าวว่า อินทผลัม ให้ผลปีแรกเมื่อต้นอายุ 3 ปี ก็อยากจะตัดจั่นทิ้งเหมือนกัน เพราะอายุต้นยังน้อยอยู่ ต้นอาจโทรมได้ แต่ก็คิดอีกมุมหนึ่งอยากจะทดลองดูว่าผลที่ได้จะมีลักษณะผล รสชาติ เป็นเช่นไร ก็เลยเก็บผลแต่ละต้นทั้งจำนวนทะลาย จำนวนก้าน/ช่อ ไว้ไม่มากนักแม้มีจำนวนไม่มาก รวมประมาณ 1,000 กิโลกรัม แต่ก็มีคนเข้ามาซื้อ สั่งซื้อทางสื่อออนไลน์จนเกือบจะหมดสวนอยู่แล้ว

คุณลุงจำลอง กล่าวถึงผู้ดูแลสวนว่า ด้านการจัดการดูแลแปลงอินทผลัมนั้น ต้องยกให้เขา คุณเวทย์ เปียงเก๋ ผู้ซึ่งคุณลุงจำลองได้ถ่ายทอดทักษะความรู้ จนมีความชำนาญในเรื่องการเก็บเกสร การผสมเกสร การคัดเลือกและแต่งช่อผล การห่อ ตลอดจนการดูแลการให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า

ในท้ายเรื่อง คุณลุงจำลอง ได้ฝากข้อคิดมายังเกษตรกรหรือผู้สนใจที่จะปลูกอินทผลัมเป็นอาชีพเสริมหรือปลูกไว้ติดสวนดูสวยงามก็ตาม หลีกเลี่ยงการทำเกษตรแบบลัทธิเอาอย่าง เห็นเขาปลูกกันได้ผล ก็อยากปลูกบ้าง โดยที่ยังมองไม่เห็นตลาด เพราะการปลูกอินทผลัมต้องลงทุน ต้นพันธุ์ที่เป็นหน่อและจากการเพาะเมล็ดมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ดูไม่ออก มารู้ทีหลังร่วงมา 3 ปี เมื่อออกจั่นอาจต้องตัดทิ้งขว้าง
ถ้ามีพื้นที่ว่างก็ลองปลูกดู จากน้อยไปหามาก ขยันหมั่นเพียรคอยดูแลตัดแต่ง ศึกษาพัฒนาการของต้น ดอก ผล ทุกระยะ
ต้นอินทผลัมดูแลไม่ยุ่งยากเหมือนไม้ผลอื่นๆ โรค-แมลง มีน้อย
ดูสภาพพื้นที่ว่าเหมาะสมที่จะปลูกอินทผลัมหรือไม่ โดยเฉพาะแสงแดด ควรได้รับไม่น้อยกว่า 80% น้ำไม่ท่วมขัง
น้ำต้องมี ถ้าหวังผลทั้งปริมาณและคุณภาพ หากขาดน้ำอาจได้แต่เมล็ด เนื้อบางหรือเนื้อไม่ฟู ไม่หนา
หากท่านสนใจจะสอบถามหรือสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น คุณลุงจำลอง บอกว่า ยินดีครับ หมายเลขโทรศัพท์ตามที่ระบุข้างต้น เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสที่ 10 กันยายน พ.ศ.2563

ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง ก่อตั้งจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดระยองเป็นสภาพป่าที่ถูกทำลาย ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรและประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ รายได้ของเกษตรกรลดลงเพราะขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินและแหล่งน้ำ ประกอบกับถูกอิทธิพลของนายทุนขยายเขตการเป็นเจ้าของที่ดินเพิ่มขึ้น

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้พระราชทานพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำดอกกราย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ประมาณ 1,300 ไร่ เพื่อส่งน้ำมายังพื้นที่ และทรงแนะนำให้จัดเป็นศูนย์กลางอาชีพการเกษตรและศิลปาชีพพิเศษแก่ราษฎร มีที่ตั้งศูนย์อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำดอกกราย เป้าหมายจำนวน 35 หมู่บ้าน 5 ตำบล ในอำเภอปลวกแดง และนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง รวมถึงพื้นที่อำเภออื่นๆ ในจังหวัดระยองและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการ

ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ ดำเนินงานในลักษณะเป็นศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกิจกรรมการเกษตรที่น่าสนใจ ได้แก่

1.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน) ให้บริการความรู้ในการประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเห็ด การกรีดยางพารา การผลิตน้ำส้มควันไม้ การพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ และการขยายพันธุ์พืช

2.สถานีพัฒนาที่ดินระยอง ได้มีการจัดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และสารสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อใช้ไล่แมลงศัตรูพืชแก่เกษตรกร

3.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง ดำเนินงานด้านการศึกษา ทดสอบ/วิจัยพืชเศรษฐกิจและระบบการปลูกพืช ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยจัดทำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ และแปลงพืชพลังงานทดแทน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เนื้อที่ 19 ไร่ แปลงพันธุ์ยางพารา เนื้อที่ 4 ไร่ รวมถึงการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ อาทิ หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักแห้ง การผลิตและการใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ และด้านเกษตรผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่

4.ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดงจังหวัดระยอง สาธิตการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ และการเลี้ยงสัตว์แบบอาหารสัตว์อินทรีย์ อาทิ การเลี้ยงโคแบบธรรมชาติ การเลี้ยงนกกระจอกเทศพันธุ์คอน้ำเงิน การเลี้ยงกวางพันธุ์ฟอลโล และการเลี้ยงแพะพันธุ์พื้นเมือง และจัดทำศูนย์เรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยกิจกรรมการสาธิตการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกพืชและการประมง มีการเลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงโค และแพะ รวมทั้งไก่พื้นเมือง ห่านจีน และเป็ดบาร์บารี จัดการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงและการสร้างเครือข่ายไก่พื้นเมืองการเลี้ยงเป็ด ไก่ รวมทั้งการเลี้ยงโคเนื้อและปลูกพืชอาหารสัตว์

5.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดระยอง มีความเชี่ยวชาญในการผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำเขาระโอก และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ รวมทั้งให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สุขภาพสัตว์น้ำจืด และให้คำแนะนำปรึกษาด้านการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงปลาดุกและปลากินพืช จัดการฝึกอบรมเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กบ ให้แก่เกษตรกร

6.ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวชลบุรี จัดทำแปลงสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ 10 ไร่ ถ่ายทอดวิทยาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ข้าว โรค แมลง ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

7.สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ระยอง เสริมสร้างทักษะความชำนาญในการจัดทำบัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรและผู้สนใจ และสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ

8.โครงการชลประทานระยอง จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน (กลุ่มพื้นฐาน) ในพื้นที่ของตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานหมู่ที่ 1 บ้านแม่น้ำคู้ และกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานหมู่ที่ 2 บ้านหนองมะปริง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรได้นำความรู้ไปใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบอาชีพอย่างดี โดยอันดับแรกคือ การปรับปรุงรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชให้ดีขึ้น รองลงมาคือ ปรับปรุงพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชให้มีคุณภาพดีขึ้น ทำเกษตรกรรมยั่งยืน และรวมกลุ่มในการจำหน่ายสินค้า โดยเกษตรกรที่ผ่านการอบรมยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลอื่นต่อไป เช่น การผลิตพืชอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก การทำนา การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้น

นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่นำความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อลดการใช้สารเคมีและผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง สามารถลดต้นทุนทางการเกษตรได้เฉลี่ยรายละ 8,900 บาทต่อปี และมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรบางส่วนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลง หรือไม่สามารถทำการเกษตรได้

ทั้งนี้ ภาครัฐโดยหน่วยงานเกี่ยวข้อง จะเร่งจัดหาแหล่งน้ำสำรองและแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของศูนย์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากโครงการได้อย่างเต็มที่ต่อไป

หนึ่งในปัญหาการปลูก “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” lebron-james-shoes.us ที่หลายคนคาดไม่ถึงคือเรื่องของ “วัชพืช” เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลงเกินครึ่ง แต่เกษตรกรบางส่วนกลับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยตามธรรมชาติ สุดท้ายมักเจอปัญหาผลผลิตต่ำและไม่สม่ำเสมอ

แล้วการจะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตสูงนั้นมีขั้นตอนอย่างไร? เราจะพาไปหาคำตอบกับเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง คุณเสก-ศักดา สว่างศรี วัย 28 ปี ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 120 ไร่ ด้วยความใส่ใจ บำรุงดูแล จนทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่”

คุณเสก เผยว่า ตนเองนั้นรับช่วงต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากรุ่นพ่อแม่มาได้ 7-8 ปีแล้ว ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการทำเกษตรหลายอย่าง ทั้งการวางแผนปลูก การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และข้อสำคัญคือต้องมีความเข้าใจในจุดเปราะบางของพืชที่เราปลูก ซึ่งถ้าป้องกัน-ดูแลได้อย่างตรงจุด รับรองว่าผลลัพธ์คุ้มค่าการลงทุนแน่นอน

เทคนิคการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแบบของคุณเสก นั้นไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด แค่ใส่ใจใน 3 เรื่องหลัก คือ

การวางแผนการปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้ขายได้ราคา
การกำจัดวัชพืชในแปลง สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลงกว่าครึ่ง
เทคนิคการบำรุงให้ข้าวโพดฝักใหญ่ วางแผนการปลูกเหมาะสม ขายได้ราคา
ปลูกได้ 2 รอบต่อปี
“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าทำนาถึง 2 เท่า หรือประมาณ 450-500 ลบ.ม./ไร่/ฤดูการผลิตเท่านั้น จึงนิยมปลูกในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งการปลูกออกเป็น 2 ฤดู คือ

– ข้าวโพดฤดูฝน จะเริ่มปลูกประมาณช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน
– ข้าวโพดฤดูแล้ง จะเริ่มปลูกประมาณช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

คุณเสก เผยว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกที่จะปลูก “ข้าวโพดฤดูฝน” เพียงรอบเดียว เนื่องจากการดูแลง่ายกว่า “ข้าวโพดฤดูแล้ง” คือ ไม่ต้องจัดการเรื่องน้ำ อาศัยเพียงน้ำฝนตามธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเมื่อมีคนปลูกมาก ผลผลิตก็จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาเดียวกันมากตามไปด้วย ทำให้ราคาข้าวโพดในช่วงฤดูฝนต่ำกว่าฤดูแล้งอยู่พอสมควร

ด้วยเหตุผลนี้ คุณเสก จึงเลือกที่จะวางแผนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้ 2 รอบ/ปี คือ แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก จะแบ่งออกเป็นพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ (จากทั้งหมด 120 ไร่) สำหรับปลูกข้าวโพดฤดูแล้ง โดยใช้ “ระบบน้ำหยด” เข้าช่วย เพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงราคาที่ดีที่สุด ส่วนที่สอง เป็นข้าวโพดฤดูฝนจะปลูกบนพื้นที่ทั้งหมด 120 ไร่

คุณเสก เผยว่า ระบบน้ำหยดนั้นใช้การลงทุนไม่มาก ประหยัดน้ำ ทั้งยังให้ปริมาณน้ำที่สม่ำเสมอ เหมาะกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ชอบดินแฉะ ทำให้การปลูกข้าวโพดฤดูแล้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อเราสามารถควบคุมการให้น้ำได้แล้ว ก็สามารถเพิ่มปริมาณต้นข้าวโพดให้มากขึ้นได้ด้วย เพราะไม่ต้องกังวลว่าข้าวโพดจะขาดน้ำ เช่น หากข้าวโพดฤดูฝน ใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ 2-3 กก./ไร่ ข้าวโพดฤดูแล้ง จะใช้เมล็ดพันธุ์ 3-3.5 กก./ไร่ ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย