กับกระทรวงมหาดไทย ว่าจะย้ายออกได้หรือไม่ อย่างไร

กรณีที่ไม่สามารถย้ายออกได้ก็ต้องมีวิธีที่จะทะลวงน้ำผ่านไปให้ได้ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคที่ขวางกั้นอยู่จะต้องหารือถึงเทคนิควิธีการเจาะระบายน้ำให้ลอดออกไป ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งขวางกั้นทางน้ำขึ้นมาอีกในอนาคต โดยการวางแผนงานก่อสร้างร่วมระหว่างหน่วยงานหลักอย่างชัดเจน โดยภายในเดือน มิ.ย.นี้ แผนแนวทางแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำนี้ต้องแล้วเสร็จเพื่อเสนอให้ กนช.และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

“ในระยะเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ คือ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่รวม 93 แห่ง ประกอบด้วย ระบบระบายน้ำ 38 แห่ง สถานีสูบน้ำ 15 แห่ง ประตูระบายน้ำ 40 แห่ง การทบทวนโครงการที่จะสามารถดำเนินการในระยะเร่งด่วนระหว่างปี 2560-2561 เช่น การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานทั้งตะวันออกและตะวันตก การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีน เป็นต้น”

ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำเป็นต้องพิจารณาเป็นภาพรวมของประเทศ แต่จากการประเมินทุกครั้งเมื่อเกิดน้ำท่วมจะพบว่า สิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือเขตภาคกลางหรือลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้กลุ่มที่เป็นสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตคลอง แยกเป็นชุมชนกว่า 8,442 ชุมชน และสาธารณูปโภค221 แห่ง โดยที่ชุมชน แยกเป็นผู้รุกล้ำเขตตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 5,290 ชุมชน และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 3,152 ชุมชน มีเป้าหมายต้องย้ายออกอย่างน้อย 50% ภายในปี 2564 โดยยึดตามรูปแบบของปทุมธานีโมเดล ด้วยการสร้างที่อยู่ใหม่ให้ผ่อนจ่ายในอัตราที่เหมาะสม ส่วนงบประมาณนั้นต้องหารืออีกครั้ง

สอดคล้องกับนายสมเกียรติ สิริพิทักษ์เดช ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมโยธา กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ในเขตภาคกลางมีการเปลี่ยนแปลงที่ดินจากกิจกรรมด้านการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัยที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และยังเป็นสาเหตุให้ท่วมมากขึ้น ดังนั้น กรมโยธาฯมี 3 พ.ร.บ.ที่สามารถควบคุมได้ คือ พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ.ขุดดินถมดิน แต่ต้องวางแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เพื่อผังจังหวัดอย่างลงตัวทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ซึ่งที่ผ่านมากรมโยธาฯมีแผนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแล้ว 500 กม. ส่วนใหญ่เพื่อป้องกันแม่น้ำตามเขตแดนเพื่อลดการสูญเสียอาณาเขตประเทศ และตั้งแต่ปี”61 มีแผนจะดำเนินการอีก 1,500 กม. ภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 75 กม. โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ออกแบบแล้ว 14 โครงการ 69 ชุมชน แผนที่อยู่ระหว่างออกแบบ 134 โครงการ แล้วเสร็จ 90 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 42 โครงการ

เกษตรฯดึงมหาดไทยแก้ประมง IUU หลัง EU ให้ตรวจสอบสถานะเรือประมงที่ถูกเพิกถอนทะเบียน-แจ้งงดใช้-ไม่มีใบอนุญาตทำประมง 3.5 พันลำ สแกนยิบ 54 จังหวัด กรมเจ้าท่าสั่งล็อกเรือทันที เผยเจ้าของเรือที่ถูกแบล็กลิสต์มีทั้งประมง-บิ๊กเอกชน-คนดัง

แหล่งข่าวจากกรมประมง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ตามข้อเสนอแนะของสหภาพยุโรป (EU) จากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาคืบหน้าไปมาก และ EU พอใจการดำเนินการของฝ่ายไทย ครั้งนี้ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย ให้สำรวจสถานะเรือประมงที่ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือ เรือที่แจ้งงดการใช้ และเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำประมงใน 54 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร

จากการหารือร่วมกันได้ข้อสรุปว่า กระทรวงมหาดไทยจะสั่งการให้ 54 จังหวัดสำรวจตรวจสอบเรือ 3,535 ลำ ตั้งแต่ 18-25 พ.ค. 2560 จากนั้นจะแจ้งผลการสำรวจสถานะเรือให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ตั้งทีมลุยสำรวจ 18-25 พ.ค.นี้

ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือสั่งการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 54 จังหวัดแล้ว โดยให้แต่งตั้งคณะทำงานทำการสำรวจและตรวจสอบสถานะความมีอยู่จริงของเรือประมง ที่ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือที่แจ้งงดการใช้เรือ และเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงโดยเร่งด่วน โดยให้ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบลเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่มีเรือประมงที่อยู่ในข่ายต้องสำรวจ เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ

หากพื้นที่ใดมีเรือประมงอยู่ในบัญชีที่ต้องสำรวจตั้งแต่ 50 ลำขึ้นไป จะแต่งตั้งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่แต่ละตำบล เป็นหัวหน้าคณะทำงานเพิ่มเติม พร้อมประสานผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่รับผิดชอบในพื้นที่ ส่งเจ้าหน้าที่ชุดตรวจเรือเป็นคณะทำงานด้วย โดยจะสำรวจต่อเนื่องระหว่างวันที่ 18-25 พ.ค.นี้ ไม่เว้นวันหยุดราชการ

เปิดรายชื่อ 54 จังหวัดเป้าหมาย

สำหรับพื้นที่ 54 จังหวัดเป้าหมายในการสำรวจติดตามสถานะ ประกอบด้วยกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นนทบุรี นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา

พะเยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย อ่างทอง อุดรธานี อุทัยธานี ตามกฎหมายเรือเหล่านี้บางส่วนเป็นซากเรือ บางส่วนต้องจอดลอยลำไม่สามารถนำมาใช้ทำการประมงได้ เนื่องจากถูกเพิกถอนทะเบียนเรือ แจ้งงดใช้ และไม่มีใบอนุญาตทำการประมง

พบเรือพร้อมใช้งานสั่งล็อกตาย

ในการสำรวจหากคณะทำงานพบว่า เรือที่อยู่ในข่ายต้องสำรวจสถานะทั้ง 3,535 ลำ จอดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คณะทำงานจะประสานกับผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดำเนินการทางกฎหมายโดยล็อกเรือไม่ให้สามารถนำมาใช้งานได้อีก ทั้งนี้ แต่ละอำเภอจะมอบหมายให้ปลัดอำเภอ 1 คนเป็นผู้รับผิดชอบการรายงานผลสำรวจ จะให้แจ้งผลต่อกรมการปกครองก่อนเสนอเรื่องให้ รมว.เกษตรฯพิจารณา

ตรวจยิบซากเรือ-เรือพร้อมใช้งาน

แนวทางการสำรวจจะมีการกรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ และเจ้าของเรือ ไม่ว่าจะเป็นเรือจอดเทียบท่าพร้อมใช้งาน รวมทั้งซากเรือ จากนั้นทีมสำรวจบันทึกถ้อยคำโดยละเอียดตามแบบบันทึกถ้อยคำ พร้อมให้ถ่ายภาพเรือ หรือซากเรือ หัวเรือทั้งซ้าย-ขวา ภาพเต็มลำเรือทั้งซ้าย-ขวาพร้อมรูปเจ้าของเรือ และรูปบ้านเจ้าของเรือ

โดยให้ปรากฏภาพเจ้าของเรือหรือผู้ให้ถ้อยคำในภาพไม่น้อยกว่า 1 ภาพ ขณะเดียวกัน ให้ถ่ายรายละเอียดชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ และให้เจ้าของเรือ ผู้ให้ถ้อยคำ ผู้บันทึกถ้อยคำ ลงลายมือชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วย โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้เป็นข้อมูลจากในการตรวจสอบสถานะครั้งต่อไปตามช่วงเวลาที่กำหนด

เจ้าของมีทั้งธุรกิจประมง-คนดัง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือที่ถูกขึ้นบัญชีรายชื่อโดยเจ้าของเรือต้องให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ จำนวนเรือ สภาพเรือ การใช้งาน ฯลฯ เพื่อให้รู้สถานะว่าจอดลอยลำอยู่จริง และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ด้านการประมงและกิจกรรมอย่างอื่น มีทั้งผู้ประกอบการประมง บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการประมงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มธุรกิจ อดีตรัฐมนตรี บุคคลมีชื่อเสียง อาทิ เรือรุ่งศิริชัย 7 ของ บจ.อาร์เอ็นจี แอนด์

แอสโซซิเอทส์ เรือ ท.ธารสมบัติ ของนายภูมิ ธาวนพงษ์ เรือ พ.พรานทะเล 11 ของ น.ส.วริยา ธาวนพงษ์ เรือ พรานทะเล 10 ของนายธงชัย ธาวนพงษ์ เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและสำเร็จรูป แบรนด์พรานทะเล

เรือ ส.ฮับ 15 ของ บจ.เมอชานท์ ฮับ (ประเทศไทย) เรือคุณทวี และเรือธนโชค 9 ของนายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เรือนาวีโชติ 2 ของ บจ.นาวี ทวีโชติ เรือสุทัศนีย์ ของ บจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เรือนารายณ์ ของ บจ.นารายณ์ขนส่ง เรือศุภโชค 6 ของ บจ.ศุภโชคการประมง เรือโชควรรณา 2 ของ Mr.Allexsandr Trunov เรือทิพวรรณ 1 ของ บจ.เดิะโคโค่ แบร์ เรือ ส.พรชัยนาวี ของ หจก.ว.สุภาพรกันตัง เรือชัยพฤกษ์ 2 ของ บจ.เจ ดี พี

เรือรุ่งรัชนีพร 39 ของ บจ.พีพี บารากูดา ไดรฟวิ่ง เซ็นเตอร์ เรือ ท.ล่องนาวา ของนายสาฮารี่ ท่องเที่ยว เรือสี่ไถ่ชัยนาวี 8 ของ บจ.สมิหลา ดีเวลลอปเมนท์ เรือ ก.โชคดีมงคลชัย 21 ของ บจ.แมน เอ ฟิชเชอร์รี่ เรือ ก.โชคดีมงคล ของ บจ.สงขลามารีนโปรดักส์ เรือ ซี คิงส์ 2 ของ บมจ.สุราษฎร์แคนนิ่ง เรืออินโด มินา 01 ของ บจ.เมธาพัฒน์ เรือ ฮ.ลาภเจริญทรัพย์ 99 ของนายกัมปนาท อมาตยกุลเรือวาสนานาวา 17 ของนางสุภาภรณ์ ราศีวิสุทธิ์ เป็นต้น

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ได้มีประชาชน นักท่องเที่ยว รวมถึงชมรมรถยนต์ออฟโรด และผู้ที่ชื่นชอบท่องเที่ยวชมความสวยงามธรรมชาติ ต่างทยอยเดินทางปีนเขาเข้าไปท่องเที่ยวชม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ หลังจากทางอุทยานแห่งชาติภูผายล ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ได้มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ จุดชมวิวผาเป้า ภูผาแดง บนยอดเขาภูพานน้อย

อุทยานแห่งชาติภูผายล ในเขตพื้นที่ บ้านโพนงาม หมู่ 6 ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความสวยงามไม่แพ้ภูกระดึง และยังเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ ที่เคยเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มสหาย พรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต ซึ่งมีความสวยงามที่สามารถชมวิวบนหน้าผา ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 500 เมตร สามารถมองเห็นเทือกเขาภูพาน และธรรมชาติป่าเขาที่สวยงาม ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และกาฬสินธุ์

อุทยานแห่งชาติภูผายลมีเนื้อที่รวมกว่า 5 แสนไร่ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจาก ถนนสกลนคร – อ.นาแก เข้าไปยัง ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม เข้าไปยังสถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากนั้นจะต้องเดินทางในเส้นทางปีนเขา ที่สามารถเดินทาง หรือใช้รถยนต์ออฟโรด เข้าไป ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงจุดชมวิวผาเป้า ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติภูผายล กำลังเร่งพัฒนาเส้นทาง ให้สามารถขึ้นไปท่องเที่ยวได้สะดวก

นายสมโภชน์ เที่ยงจิตต์ อายุ 52 ปี หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล อ.นาแก จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับจุดชมวิว ผาเป้า ภูผาแดง บนยอดเขาภูพานน้อย อุทยานแห่งชาติภูผายล ในเขตพื้นที่ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของ จ.นครพนม และถือว่ามีความสวยงามอันดับต้นๆ ของภาคอีสาน ไม่แพ้ภูกระดึง เพราะมีความสูง ที่สามารถมองเห็นทิวเขาภูพานน้อย ที่เชื่อมไปยัง 4 จังหวัด รวมถึงมีป่าเขาอุดมสมบูรณ์

ส่วนจุดเด่น ในช่วงเช้าบางวันที่สภาพอากาศเย็น หรือฤดูหนาว จะเกิดทะเลหมอกที่สวยงาม หาชมได้ยาก รวมถึงมีลานหินภูเขาสวยงาม เหมาะแก่การแคมปิ้ง พักผ่อน นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบว่า มีถ้ำหินหลายจุด มีน้ำตกตาดโตนที่มีความสวยงาม มีน้ำใสสะอาด และยังมีหินภูเขาธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่มีรูปร่างประแปลก อาทิ หินรูปหัวใจ หินรูขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าไปถ่ายภาพได้

โดยทางอุทยานกำลังเร่งพัฒนาสำรวจ ร่วมกับผู้นำชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาชน นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของ จ.นครพนม กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ส่วนประชาชน นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ประสานงานอำนวยความสะดวกมายัง สถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล อ.นาแก จ.นครพนม เพื่อนำท่องเที่ยว ได้ที่ โทร.08-9896-3488

การท่าเรือฯ เล็งประมูลบริหารสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 3 แห่ง ประกอบด้วย ขอนแก่น หนองคาย และสงขลา เม็ดเงินลงทุน รวม 4.53 พันล้านบาท หวังเพิ่มศักยภาพส่งสินค้าไปอาเซียน พร้อมตั้งบริษัทลูกมาบริหารทรัพย์สิน

ร.อ. สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท. จะเข้าร่วมประมูลบริหารสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่เตรียมเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล โดยเฉพาะสถานีขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จำนวน 3 แห่ง วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4.53 พันล้านบาท

สำหรับศูนย์ขนส่ง 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ขนส่งสินค้าจังหวัดขอนแก่น วงเงิน 1,351 ล้านบาท เชื่อมต่อการขนส่งทั้งระบบรางและทางถนนช่วงขอนแก่น-สระบุรี-ท่าเรือแหลมฉบัง 2. ศูนย์ขนส่งสินค้าจังหวัดหนองคาย วง

เงิน 1,220 ล้านบาท สร้างประชิดชายแดน สปป.ลาว เชื่อมต่อการค้าและเศรษฐกิจผ่านมายังหนองคาย-ท่าเรือแหลมฉบัง

และ 3. ศูนย์ขนส่งสินค้าแนวชายแดนด่านสะเดา จังหวัดสงขลา วงเงิน 1,960 ล้านบาท รองรับการรวบรวมกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านเส้นทางประเทศมาเลเซีย-ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย วงเงิน 2,369 ล้านบาท อีกด้วย

“ภายในปีนี้ กทท.จะเร่งตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำหน้าที่บริหารทรัพย์สิน เพื่อจัดทำแผนการลงทุนศูนย์ขนส่งสินค้าภูมิภาคตามเป้าหมาย เบื้องต้นสนใจทั้งรูปแบบเข้าไปร่วมลงทุนกับเอกชนและลงทุนเองทั้ง 100%”

ร.อ. สุทธินันท์ กล่าวอีกว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ต้องการให้ กทท.เข้าร่วมพัฒนาท่าเรือภูมิภาคและศูนย์ขนส่งสินค้าในจังหวัดต่างๆ กทท.จึงเตรียมนำท่าเรือภูมิภาค 3 แห่ง เปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล เพื่อบริหารหวังยกระดับกิจการขนส่งสินค้าพื้นที่ชายแดนตลอดจนพัฒนาการใช้สอยพื้นที่เชิงพาณิชย์

เนื่องจากเอกชนมีความคล่องตัวด้านแนวทางบริหารและงานบริการด้านสินค้ามากกว่าภาครัฐบาล ประกอบด้วย ท่าเรือเชียงของ ท่าเรือเชียงแสน และท่าเรือระนอง อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้หน่วยงานไปทำแผนหารายได้เพิ่มเติม คาดว่าจะได้ข้อสรุปแนวทางการเปิดให้เอกชนลงทุนภายในเดือนมิถุนายนนี้

อ.ส.ค. เปิดแผนรุกแคมเปญCSR – การตลาด จัดทำโครงการ “แบ่งฝัน ปันรักกับนมไทย-เดนมาร์ค 2017” รณรงค์เด็กไทยดื่มนมสดโคแท้ 100% เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีจากคุณค่าทางโภชนาการสูง พร้อมเดินหน้าตอกย้ำจุดแข็งการเป็นผู้นำในการใช้นมโคสดแท้100% ไม่ผสมนมผงดันแคมเปญต่อเนื่องตลอดปี 60

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
กล่าวว่า ปัจจุบันอ.ส.ค.ได้ให้ความสำคัญในรณรงค์ส่งเสริมให้เด็กไทยหันมาบริโภคนมโคสดแท้100%ไม่ผสมนมผงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กไทยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและได้ดื่มนมที่มีคุณภาพ นำไปสู่พัฒนาการที่แข็งแรงสมวัยช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคประกอบกับ อ.ส.ค. มีนโยบายในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการ “แบ่งฝันปันรักกับนมไทย-เดนมาร์ค 2017” ขึ้นภายใต้แคมเปญการรณรงค์เด็กไทยดื่มนมโคสดแท้100% ไม่ผสมนมผง เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของนมโคสดแท้ ไม่ผสมนมผงและต้องการมอบสุขภาพที่ดีให้กับเยาวชนไทย โดยจัดโครงการนำร่องที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลเด็กเป็นแห่งแรก

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนับเป็นการต่อยอดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดปี 60 ที่สำคัญของ อ.ส.ค.
ด้านการชูจุดแข็งนมโคสดจากธรรมชาติไม่ผสมนมผงหลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุด
“มิลค์บ็อก” (Milk Box) เพื่อกระตุ้นการมองหาสัญลักษณ์ “นมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง” ในช่วงต้นปี 60ที่ผ่านมา ซึ่งโฆษณาชุดดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถสร้างกระแสให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์และหันมาดื่มนมสดโค 100% อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวย้ำถึงประโยชน์ของการดื่มนมโคสดแท้ 100% ด้วยว่าจะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการไม่มีการเติมแต่ง สารสังเคราะห์ใดๆ ยกเว้นการเติมสารอาหารหรือแต่งกลิ่นและสี โดยผ่านกระบวนการความร้อนตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยในน้ำนมมีสารอาหารครบ 5 หมู่จึงช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ทุกเพศทุกวัย

โดยปัจจุบันคนไทยยังดื่มนมน้อยมากต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล littlekeylime.com ซึ่งตามสัดส่วนแล้ว เด็ก (อายุ 1-12 ปี) ควรดื่มนม 3 แก้วต่อวัน แต่ถ้าเป็นวัยหนุ่มสาว (13-25 ปี) ควรดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวัยละ 2 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วทุกคนควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว ที่สำคัญการดื่มนมไม่ได้ทำให้อ้วนอย่างที่หลายๆคนเข้าใจเนื่องจากมีไขมันเพียง 3.8% ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ หรือหากใครกังวลเรื่องความอ้วนก็สามารถดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมไม่มีไขมันที่มีแคลเซียมสูงๆแทนได้

“ปัจจุบัน อ.ส.ค. เป็นผู้ผลิตนมไทย-เดนมาร์คที่ผลิตจากนมโคสดแท้ 100% โดยใช้น้ำนมโคสดจากฟาร์มเกษตรไทยในประเทศทั้งหมด มาผลิตด้วยระบบมาตรฐานที่ผ่านการรับรองในระดับสากลและถือเป็นเจ้าแรกที่ไม่ใช้นมผงทั้งนี้ การดื่มโคสดแท้ 100% นอกจากได้สารอาหารครบถ้วนที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายแล้ว ยังเป็นการช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและสานต่อโคนมอาชีพพระราชทานในประเทศให้มีอาชีพที่ยั่งยืนอีกทางหนึ่งด้วย ” ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าว

ประธานบอร์ด อคส. แง้มไอเดียพัฒนาคลังสินค้าต่างจังหวัด 3 แห่ง ต่อยอดธุรกิจชูคลังสระบุรีถอดแบบฟาร์มโชคชัย-คลังขอนแก่น เป็นศูนย์กลางสินค้ารับ เออีซี-คลังบัวใหญ่ เป็นศูนย์บริการด้านการเกษตร หลังตั้งไข่โครงการเอเชียทีค 2 คาดก่อสร้างปลายปี’60

พล.ต.ต. ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (บอร์ด อคส.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อคส.มีแผนจะพัฒนาพื้นที่คลังสินค้าในต่างจังหวัดอีก 3 แปลง เพื่อต่อยอดทำธุรกิจ โดยแห่งแรกคลังสินค้าทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ 5.97 ไร่ อยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของเกษตรกร ภายใต้โครงการประชารัฐคล้ายกับฟาร์มโชคชัย เพื่อส่งเสริมในการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากปัจจุบันพื้นที่นี้เปิดให้เอกชนเช่าเหมาเป็นสถานที่จอดรถบรรทุกปูนซีเมนต์

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่คลังสินค้าบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ 30.8 ไร่ อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนเป็นพื้นที่ให้บริการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เช่น ลานตาก, เครื่องนวด, เครื่องเก็บเกี่ยว คาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท และการพัฒนาที่ดินในคลังสินค้าที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ 18.25 ไร่ ให้เป็นคลังสินค้ารองรับการค้าการลงทุนในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพราะสามารถเชื่อมโยงการค้ากับ สปป.ลาว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เก็บข้าวสารของรัฐบาล ทั้งหมดนี้จะเห็นความชัดเจนหลังจากพัฒนาโครงการคลังสินค้า 1 ธนบุรี เป็นศูนย์การค้าคล้ายเอเชียทีค 2 สำเร็จแล้ว

พล.ต.ต. ไกรบุญ กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการเอเชียทีค 2 ว่า เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ทาง อคส.ได้ทำหนังสือว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาที่ดินผืนดังกล่าวแล้ว และมีกำหนดให้ที่ปรึกษาจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์การค้าในพื้นที่ธนบุรี และส่งกลับให้ อคส.ภายใน 60 วัน นับจากทำสัญญา เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด อคส. ก่อนที่จะเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556