การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปลูกยางนาแหล่งน้ำมันบนดิน

ทุกวันนี้ มีคนไทยจำนวนมากที่เดินตามรอยพ่อ น้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการพึ่งพาตัวเอง และต่อยอดนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการเกษตร ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ โดยปลูกต้นยางนา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนน้ำมันดีเซล โดยนำไปใช้ทำเกษตรแบบพอเพียง น้ำมันจากต้นยางนา สามารถผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ดี โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตรรอบต่ำ เช่น ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลเติมรถไถนาเดินตามได้ 100%

ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่าน้ำมันจากต้นยางนาสามารถลดต้นทุนได้ 100% ต้นยางนาสามารถเริ่มเจาะน้ำมันได้เมื่ออายุ 15-20 ปี วิธีการไม่ยุ่งยาก เริ่มจากการนำสว่านไฟฟ้า 5 หุน เจาะลงไปในเนื้อต้นยางนาเฉียงขึ้น 45 องศา เจาะห่างจากพื้น 30-50 เซนติเมตร ลึก 15-20 เซนติเมตร จากนั้นใช้ขวดพลาสติกที่ต่อเป็นจุกสายยางประดิษฐ์ขึ้นเองเสียบเข้ากับรูที่เจาะไว้ แล้วนำดินน้ำมันปิดเพื่อไม่ให้สายหลุด ให้น้ำมันยางนาไหลลงขวด ทิ้งไว้ 2-3 วัน จะได้น้ำมันประมาณ 500-600 มิลลิลิตร และสามารถย้ายไปจุดอื่นได้อีก

ส่วนรูแผลจากการเจาะก็จะเอากิ่งยางนาตอกอุดแทน ใช้เวลา 1 เดือนแผลที่เจาะจะประสานเซลล์เป็นเนื้อไม้เช่นเดิม เป็นการคืนเนื้อไม้เป็นธรรมชาติ ซึ่งน้ำมันจากต้นยางนาคล้ายน้ำมันดีเซล สามารถนำไปเติมเครื่องจักรกล รถไถนาเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดหญ้าได้เลย ปัจจุบันเราใช้น้ำมันดีเซล 1 ลิตร สามารถทำงานได้ 1 ชั่วโมง แต่หากผสมน้ำมันยางนาลงไปกับดีเซล อัตราส่วน 50 ต่อ 50 เครื่องยนต์สามารถทำงานได้นานถึง 3 ชั่วโมง เพราะน้ำมันยางนาเป็นน้ำมันที่ให้ค่าพลังงานที่สูง อย่างไรก็ตาม ที่ศูนย์ในจังหวัดนครพนมได้ทดลองใช้น้ำมันดังกล่าวมานานกว่า 2 ปีแล้ว และที่มีการทดลองใช้กับรถไถนาเดินตามเครื่องยนต์รอบต่ำ ก็ไม่มีปัญหา

สรรพคุณทางสมุนไพร ของต้นยางนา

น้ำต้มจากเปลือก เป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถู นวดขณะร้อนๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ

น้ำมันยาง ใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่ายซึ่งคั่วให้เกรียม และบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟัน แก้ฟันผุ

เมล็ดและใบ ต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน น้ำมันยาง ผสมกับแอลกอฮอล์ รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้ ใบและยาง รับประทานเป็นยาขับเลือด ทำให้เป็นหมัน น้ำมันยางดิบ มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ น้ำมันยางจากต้น มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน และเป็นยากล่อมเสมหะ

ประโยชน์ของเนื้อไม้ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา เสี้ยนตรง เนื้อไม้หยาบ แข็งปานกลาง เลื่อย ไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย จึงนิยมนำมาใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำฝาบ้าน ทำไม้คร่าว ไม้ระแนง โครงหลังคา ทำพื้น เพดาน รอด ตง และเครื่องเรือนต่างๆ ใช้ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม ไม้หมอนรองรางรถไฟ

ประโยชน์อื่นๆ พบว่า เป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซ่า ทั้งในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ซึ่งเรียกว่า เห็ดยาง นำไปเป็นอาหารได้ น้ำมันยางผสมกับชัน ใช้ทาไม้ เครื่องจักสาน ยาเรือ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ บางท้องที่ใช้น้ำมันจากต้นยางทำขี้ไต้จุดไฟ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงยิ่ง ขอเป็นกำลังใจให้ท่านที่ประสบอุทกภัยในหลายๆ พื้นที่จนถึงขณะนี้นะครับ บางส่วนน้ำก็เริ่มลดจนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแล้ว บางส่วนก็ยังอยู่กับน้ำต่อไปอีก กรุงเทพฯ และปริมณฑลในพื้นที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย เรียกว่าน้ำได้เกลี่ยไปหาผู้คนอย่างเท่าเทียม ไม่แยกว่าเป็นคนเมืองหรือชนบท เป็นอีกโจทย์ใหญ่ให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป แต่ตอนนี้ ลมหนาววอยๆ เริ่มพัดมาให้ได้ชื่นใจกันบ้างแล้ว บ่งบอกถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพี่น้องชาวไร่ชาวนา

พูดถึงเกษตรกรแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องได้ทราบข่าวคราวอยู่เสมอ นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว เรื่องราคาผลผลิตก็ส่งผลกระทบไปถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนนั้นผลไม้หลายอย่างราคาตกต่ำ มาถึงตอนนี้ข้าวเปลือกที่บางคนบอกว่าราคาถูกกว่าอาหารสุนัข ซึ่งก็เถียงไม่ออกเช่นกัน เพราะผมเองก็ซื้อทั้งข้าวและอาหารสุนัขเช่นกัน คำถามที่เราต้องหาคำตอบคือ “จะทำอย่างไรให้พี่น้องเกษตรกรได้กินอิ่ม นอนอุ่น ลืมตาอ้าปากได้บ้าง”

ผมได้เจอและพูดคุยกับ (อดีต) ผู้ใหญ่สมศักดิ์ ผลจันทร์ ประธานกลุ่มศูนย์เกษตรยั่งยืนบ้านสวาสดิ์ หนุ่มใหญ่ผู้ได้ริเริ่มรวบรวมคนและก่อตั้งศูนย์ขึ้นมาตามแนวคิดที่ศรัทธาตามศาสตร์พระราชาในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยรวบรวมคนที่มีแนวคิดและอุดมการณ์เดียวกันในหมู่บ้านสวาสดิ์ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร รวมถึงพี่น้องกัลยาณมิตรหลายกลุ่มอาชีพที่มีอุดมการณ์เดียวกัน มาร่วมขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างสังคมที่พึ่งพาตนเอง พึ่งพาอาศัยกันบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง

“เราขับเคลื่อนงานตามศาสตร์พระราชา โดยอ้างอิงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้โดยการพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์”

“หมายถึงใช้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาใช่ไหมครับ” “ใช่ครับ และรวมถึงการมีจิตอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม” การดำเนินงานของศูนย์เป็นกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ โดยอาศัยแนวคิดการพัฒนาแหล่งน้ำ การทำกสิกรรมแบบไร้สารเคมี (กสิกรรมธรรมชาติ) โดยรับแนวคิดมาจาก อาจารย์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) รวมถึง อาจารย์อำนาจ ยอดหมายกลาง ผู้อำนวยการโครงการกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียว) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดยโสธร ที่สนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรแบบอินทรีย์ ในสโลแกนที่ว่า ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน

การพัฒนาด้านการเกษตรของศูนย์เกษตรยั่งยืนบ้านสวาสดิ์ ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นสำคัญ มีการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำผิวดิน (ธนาคารน้ำ) และมีการขุดเจาะเพื่อสูบน้ำใต้ดินมาเติมเต็มบ่อธนาคารน้ำ เพื่อให้ได้มีน้ำไว้ใช้ได้ทั้งปีในพื้นที่กว่า 40 ไร่ ซึ่งพลังงานที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้ก็คือโซลาร์เซลล์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในการเริ่มดำเนินงานด้านกสิกรรมธรรมชาติในระยะแรกก็ประสบปัญหาเรื่องความรู้ด้านการเกษตรแบบธรรมชาติ จึงได้เชิญชวน นายพรชัย บุญเรือง อดีตนักศึกษาจากโครงการกสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว ซึ่งเรียนจบมาจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาช่วยเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของศูนย์เกษตรแห่งนี้ จนสามารถผลิตพืชผักแบบธรรมชาติให้คนทั้งจังหวัดยโสธรได้รู้จัก ศูนย์เกษตรยั่งยืนบ้านสวาสดิ์

การทำเกษตรของศูนย์แห่งนี้ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรท่านอื่นๆ ที่สนใจผ่านฐานการเรียนรู้ ตั้งแต่ผลิตพืช สัตว์ กระทั่งการแปรรูปต่างๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมทางด้านพืช เช่น การปลูกข้าวอินทรีย์ การปลูกผักไร้สารพิษ การปลูกพืชผสมผสาน การเพาะเห็ด การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี การเพาะเลี้ยงแหนแดง กิจกรรมปลูกพืชหลังนา ได้แก่ ถั่วลิสงและงาดำ กิจกรรมด้านการประมง เช่น การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลาดุกอุย กิจกรรมด้านปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโคเนื้อ ในส่วนของการแปรรูปก็มีหลากหลาย เช่น การทำน้ำปั่นเพื่อสุขภาพ การทำน้ำพริก การทำงาบด งาคั่ว การสีข้าวเพื่อจำหน่าย รวมถึงผักอบต่างๆ

“โห! ทำแบบวิสาหกิจชุมชนเลยนะครับ”

“เราได้จดทะเบียนชุมชนเรียบร้อยครับในชื่อ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์เลิงนกทายั่งยืนตามศาสตร์พระราชา โดยได้รับการสนับสนุนจาก ท่านประสิทธิ์ สิงห์ชา ที่เป็นเกษตรอำเภอเลิงนกทาครับ”

“ทำเยอะๆ ตลาดมีรองรับไหมครับ”2

“ถือว่าเราโชคดีครับ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกิจกรรมและสนับสนุนครับ” สำนักงานเกษตรอำเภอเลิงนกทา ได้เข้ามาสนับสนุนในการใช้พื้นที่ศูนย์เกษตรยั่งยืนบ้านสวาสดิ์ เป็นสถานที่อบรมเกษตรกร
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยโสธร เข้ามาจัดงานคลินิกเกษตรและงานถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร สำนักงานประมงจังหวัดยโสธร สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ

สถานีพัฒนาที่ดินยโสธร สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินสำหรับเกษตรกร

เจ้าหน้าที่ศาลเยาวชนและครอบครัว มาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร สนับสนุนด้านการจำหน่ายสินค้าเกษตร

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการผลผลิต การแปรรูป ช่องทางการจำหน่าย

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร ร่วมยกระดับสินค้าเกษตรของศูนย์ขึ้นสู่มาตรฐานอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ ยังมีครูพานักเรียนนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ในรูปแบบค่ายเยาวชนอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของภาคเอกชนก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ฮีโนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตรถไถ และ บริษัท segum จำกัด สนับสนุนเครื่องบินโดรนมาใช้เพื่อการเกษตร ผมเองได้เจอตัวและพูดคุยกับ (อดีต) ผู้ใหญ่สมศักดิ์ ในงานที่ศูนย์มติชนอคาเดมี ได้เห็นผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของศูนย์แล้ว ไม่อยากเชื่อเลยว่าในช่วงเวลา 2 ปีเศษๆ (ก่อตั้งศูนย์เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2562) จะเดินหน้ามาได้ถึงขั้นนี้ โดยเฉพาะสินค้าแปรรูปต่างๆ และเซอร์ไพรส์กว่านั้น ในภาคพืชนั้น ยังมีการเพาะเนื้อเยื่อเพื่อผลิตต้นกล้าจำหน่ายอีกด้วย

คุณบุญยืน วงค์กระโซ่ เกษตรกรหนุ่มใหญ่ อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 3 บ้านโพนไฮ ตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

คุณบุญยืน เล่าว่า ปลูกผักหวานป่าเป็นอาชีพเสริมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 สาเหตุที่สนใจปลูกผักหวานป่า เพราะเคยไปศึกษาดูงานเรื่องการปลูกผักหวานป่า ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ขากลับแวะซื้อต้นกล้าผักหวานป่า และเมล็ดพันธุ์กลับบ้านมาด้วย

การปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ดของคุณบุญยืน เขาใช้วิธีการเพาะเมล็ดให้ออกรากเสียก่อน แล้วนำลงปลูก ช่วงปลูกเป็นฤดูฝน ฝนตกสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการรดน้ำ ประกอบกับพื้นดินที่ใช้ปลูกมีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง การรอดของต้นกล้าจึงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ จากนั้นก็ขยายปลูกเพิ่มเรื่อยๆ จนเต็มพื้นที่ราว 11 ไร่

การดูแลรักษา คุณบุญยืน เล่าว่า ทำเหมือนกับต้นไม้อื่นทั่วไป เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี พืชที่เป็นพี่เลี้ยงก็ไม่ให้ความสำคัญมากนัก จะมีเพียงต้นลำไยซึ่งปลูกไว้ห่างๆ นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติบ้าง

การเพิ่มปริมาณโดยไม่ต้องปลูกเพิ่ม คุณบุญยืน ใช้วิธีขุดหลุมข้างต้นผักหวานป่า หลุมที่ขุดควรห่างจากต้นแม่ ประมาณ 50-100 เซนติเมตร เมื่อพบรากก็ใช้เสียมสับให้รากขาดจากกัน แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยมิต้องกลบหลุม จากรากที่ขาดต่อมาก็จะเกิดเป็นต้นอ่อนแล้วปล่อยให้เจริญเติบโต เมื่อต้นใหม่โตพอสมควรก็ขุดตัดรากต่อไป จะทำให้ได้ต้นผักหวานป่าเพิ่มไปเรื่อยๆ

ปัจจุบัน มีต้นผักหวานป่ารวมแล้วกว่า 4,000 ต้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการสับราก สามารถเก็บยอดอ่อนจำหน่าย มีรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ การเก็บยอดจะไม่เก็บยอดยาว ใบใหญ่เหมือนทางภาคกลาง จะเก็บเอายอดที่แตกใหม่ ใบเริ่มผลิเพียงครึ่งใบเท่านั้น หากเก็บยอดใหญ่ใบเต็มอย่างภาคอื่น จะไม่เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภค

การเก็บผลผลิตจะเริ่มแต่เช้ามืด ใช้ไฟฉายติดหน้าส่องเก็บไปจนถึง 8 โมงเช้า แรงงานก็ใช้คนในครอบครัว หากจ้างแรงงานภายนอกจะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น แรงงานจะเน้นปริมาณ เลือกเก็บยอดจากต้นที่มีมาก ต้นยอดน้อยเขาจะไม่เก็บให้ แล้วปล่อยให้เจ้าของต้องไปเก็บตกเอาเอง และเวลาการเก็บยอดก็เป็นช่วงเช้ามืด ทำให้ไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย

ผลผลิตในปัจจุบัน เก็บได้วันละ 10 กิโลกรัม และเคยเก็บได้สูงสุดถึง 30 กิโลกรัม ราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 600 บาท การจำหน่ายมีแม่ค้าสั่งซื้อโดยไปรับถึงบ้าน จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการตลาด นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการจำหน่ายต้นกล้า เมล็ดพันธุ์อีกส่วนหนึ่ง

คุณสุวิทย์ คุณาวุฒิ มีอาชีพทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาปี 2528 ได้เข้ามาซื้อที่ทำสวนมะม่วงจำนวน 35 ไร่ ที่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 9 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 089-834-3299 หลังจากนั้นได้มีการขยายสวนจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ และเข้าสู่ระบบ GAP ตั้งแต่ พ.ศ. 2547

ที่สวนนี้ปลูกมะม่วงหลายพันธุ์ แต่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 150 ไร่ ส่วนพื้นที่เหลือก็ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ คละเคล้ากันไป

“ถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์มะม่วง คุณสุวิทย์บอกว่า ตอนนี้ที่มาแนวหน้า สำหรับตลาดส่งออก ต้องเป็นน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนตลาดภายในมะม่วงขายตึก” คุณสุวิทย์ กล่าว ราดสารเมื่อไหร่
ที่สวนคุณสุวิทย์ จะเริ่มราดสารช่วงเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ตามลำดับ โดยจะไม่ทำทั้งหมด จะใช้วิธีทะยอยทำ โดยตั้งเป้าหมายไว้กี่ไร่ ก็ราดสารเท่านั้น ราดสารตามอัตราที่มีแนะนำและบวกเพิ่มตามสูตรของตัวเองอีกนิดหน่อย

วิธีการใส่ปุ๋ย
คุณสุวิทย์ ได้กล่าวแนะนำการใส่ปุ๋ยว่า “ปุ๋ยจะใส่ไม่เยอะ ใส่สองครั้ง ครั้งแรกใส่สูตรเสมอ 15-15-15 ถ้าต้นใหญ่ๆ ใส่ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ต้นรองลงไปให้ใส่ประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตร 15-5-20 เพราะว่าตัวกลางสวนนี้มีอยู่ค่อนข้างมาก ที่สวนคุณสุวิทย์เป็นที่ดอนไม่ได้รดน้ำ จะใส่ปุ๋ยช่วงหลังจากราดสาร คือให้กินให้อิ่ม แต่ถ้าสวนไหนมีระบบน้ำ ควรใส่ช่วงที่ติดผลผลิตแล้ว”

คุณสุวิทย์นำดินไปวิเคราะห์ พบว่า แปลงปลูกของเขามีตัวกลางสูง หมายถึงฟอสฟอรัส พื้นที่ปลูกมะม่วง 250 ไร่ ไม่มีระบบน้ำเลย อาศัยน้ำฝน เจ้าของให้ปุ๋ยตั้งแต่ก่อนฝนหยุดตก

ได้รับคำแนะนำว่า หลังฝนตกไม่ควรให้ปุ๋ย สำหรับสวนไม่มีระบบน้ำ เพราะต้นไม้นำไปใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คุณสุวิทย์บอกว่า หากมีระบบน้ำจะได้เปรียบ เพราะหลังเก็บผลผลิต รีบเตรียมต้น ใส่ปุ๋ยให้น้ำ ผลผลิตจะมีเร็วขึ้น ผลผลิตมะม่วง 1 ไร่ 1 ตัน
หลังราดสารมะม่วงเขียวเสวย 60 วัน ถ้ามะม่วงพันธุ์เบา ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้ ขายตึก ใช้เวลาประมาณ 45วัน

ผลผลิตที่ได้น้ำดอกไม้ต้นอายุ 20-30 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 200-300 กิโลกรัม

ต้นอายุ 10 ปี ได้ผลผลิต 100-150 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วมะม่วง 1 ไร่ ให้ผลผลิต 1 ตัน

ราคามะม่วงน้ำดอกไม้ถ้าส่งออกจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา ถ้าแปลงแรกเก็บผลผลิตช่วงเดือนพฤศจิกายน ช่วงนั้นขายได้กิโลกรัม ละ 110 บาท แต่ถ้าช่วงเมษายน ราคาจะเหลือประมาณ 70บาท เทคนิคผลิตมะม่วงส่งออก
คุณสุวิทย์ พูดถึงการผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกว่า อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของการคุมยา การห่อผลต้องเว้นระยะ มีการจดบันทึกชนิดของสารต้องห้าม สารชนิดใดใช้แล้วตกค้างนานก็ไม่ควรใช้

สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราบางตัวที่ใช้ไม่ได้

การห่อผล

มะม่วงมีอายุประมาณ 50-60 วัน เหมาะแก่การห่อ ห่อเสร็จทิ้งไว้อีก 45 วัน ผลจะโต ยิ่งห่อเล็กเท่าไหร่ผิวยิ่งสวยเนียน

การห่อตั้งแต่มะม่วงผลยังเล็ก มะม่วงจะสลัดลูกเจ้าของต้องเสียเวลาแกะถุงที่ห่อมาห่อลูกใหม่ “ช่อดอกก็สำคัญต้องฉีดยาบ่อยยิ่งถ้าทำนอกฤดูวันสองวันก็ต้องฉีดแล้ว เน้นฆ่าเชื้อราเพราะดอกจะเน่า ถ้าไม่ฉีด เช่นฝนตกวันนี้ดึกๆผมต้องไปฉีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนผลผลิตก็จะติดน้อยลงมา ถ้าปล่อยไว้นานวันช่อดอกจะดำเสีย ตัวนี้สำคัญมาก ฉีดเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีแล้วก็ต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพด้วย”เจ้าของสวนพูดถึงการดูแลที่สำคัญมาก

มะม่วงน่าปลูกอย่างไร
และปลูกอย่างไรถึงจะขายได้
คุณสุวิทย์ยืนยันว่า มะม่วงยังเป็นไม้ผลที่น่าปลูกอยู่ แต่เน้นว่าต้องเป็นคนที่สนใจจริงๆ ถ้าจะให้ดีต้องมีกลุ่มไว้ปรึกษาหารือในเรื่องของปัญหา หรือมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน

“ตลาดมะม่วงยังไปได้อีกไกล ตอนนี้ผลผลิตไม่พอกับความต้องการ ราคามะม่วงค่อนข้างสูงอยู่ มะม่วงถือว่ายังเป็นพืชที่น่าสนใจ” คุณสุวิทย์ กล่าว หนุ่มนิสิตวิศวะจุฬาฯ สร้างรายได้เสริมระหว่างเรียน ด้วยการ “เพาะต้นไม้ป่าหายากขาย” สร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน โดยไม่ต้องขอเงินจากคุณพ่อคุณแม่

คุณแฟรงค์ หรือ คุณปรเมศ สุขมงคล นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัย 21 ปี ที่นอกจากการเรียน แล้วยังมองหาอาชีพสร้างรายได้ระหว่างเรียน ด้วยการเพาะต้นไม้ป่าหายากขาย สร้างรายได้ระหว่างเรียนสูงสุดถึง 170,000 บาทต่อเดือน ถือว่าเป็นธุรกิจที่เหมาะกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้าน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็ปิดการเรียนการสอน ทำให้เกิดความเบื่อในการอยู่บ้าน จึงคิดที่จะเพาะต้นไม้ป่าและปลูกต้นไม้เพื่อผ่อนคลาย

ซึ่งเป็นความชอบต้นไม้เป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว จากความชอบและสนใจต้นไม้มาตั้งแต่อายุ 14 ปี เริ่มแรกสนใจปลูกต้นมะนาว พยายามศึกษามาเรื่อยๆ และก็หยุดไปช่วงหนึ่งแต่ความชอบนั้นยังอยู่ในใจตลอด

ถ้ามีโอกาสก็จะแวะไปดูตามสวนต่างๆ สนใจเรื่องต้นไม้ด้วยตนเอง โดยทางครอบครัวไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องต้นไม้มาก่อน แต่ท่านก็สนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ตลอดมา

เขามาเริ่มต้นเพาะต้นไม้ป่าอีกครั้งเพราะว่าเรียนออนไลน์ที่บ้าน มีสถานการณ์โควิด-19 เกิดความเบื่อหน่ายก็ทดลองซื้อเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าหายากที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะไม่รู้จักมาก่อนหรือกำลังจะสูญพันธุ์ จึงซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะ เริ่มที่ 300 ต้น พอเมล็ดพันธุ์โตขึ้นเต็มบ้านไม่รู้จะทำอย่างไร เดิมทีคิดว่าจะนำไปถวายวัด แต่ก็ลองโพสต์ขายออนไลน์ดู และโพสต์ขายในกลุ่มจุฬามาเก็ตเพลส พอโพสต์ลงไปก็เลยขายดีเลย เพราะว่าราคาไม่แพงมากด้วย ตอนขายครั้งแรกราคาต้นละ 20-30 บาท เปิดขายสองวันหมดเกลี้ยง ตอนนั้นได้เงินมาหมื่นสาม ราคาขายตอนนั้น มีแบบ 20-50-100 บาทตามความสูงของต้นกล้า ก็นำเงินที่ได้มาต่อยอดลงทุนเพาะเมล็ดต่อ

จากความชอบกลายมาสู่ความสำเร็จ

อาจจะเป็นเพราะว่าภาวะโลกร้อนและเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ เว็บบอล UFABET ความแออัดต่างๆ ของผู้คนโดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้คนตระหนักถึงผลกระทบและต้องการพื้นที่ว่างที่ทดแทนโดยการปลูกต้นไม้พื้นถิ่นที่ให้ทั้งร่มเงาและฟอกอากาศ อย่างเช่นเมืองใหญ่ผลกระทบของมลภาวะมากมายและอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปี ถ้าได้ร่มเงาของต้นไม้มาซับทั้งฝุ่นและร่มเงา โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ป่าหรือพื้นเมืองตามธรรมชาติและทรงพุ่มของพันธุ์ไม้เหล่านั้น

ส่วนใหญ่จะเป็นทรงพุ่มที่ให้ร่มเงา ยังมีผลให้ได้รับประทานหรือนำมาเป็นส่วนประกอบของสมุนไพรได้เป็นอย่างดี เช่น ลูกอินจัน ผลมะตาด ผลมะริด เป็นต้น ทำให้คนอยากที่จะปลูก นอกจากความสวยงามของลำต้นแล้วยังมีผลให้ได้รับประทาน บางชนิดยังให้กลิ่นหอมเย็นชื่นใจอีกด้วย

นอกจากแรงบันดาลใจหลักที่มาจากความชอบ ยังได้คำแนะนำจาก พระอาจารย์ดาวเรือง ที่อยู่วัดป่าบ้านอ้อมแก้ว จังหวัดอุดรธานี ที่ให้คำแนะนำว่าให้ขายต้นไม้แล้วจะดี ด้วยความชอบอยู่แล้วก็เลยทดลองทำดู

“เริ่มหันมาปลูกต้นไม้จริงจังอายุได้ 19 ปีครับ พอได้เงินก้อนแรกจากการขายต้นกล้าครั้งแรกก็นำมาลงทุนหมดเลย โดยสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ สั่งกล้าพันธุ์มาบ้าง เพราะบางอย่างเพาะไม่เป็น ตอนแรกก็สั่งเมล็ดพันธุ์มาสองสามอย่าง ก็ทดลองทำมาเรื่อยๆ พร้อมกับการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความเจริญเติบโตของต้นไม้ การใช้ชนิดของปุ๋ยอย่างถูกต้องและถูกกับจริตของต้นไม้ว่าชอบปุ๋ยแบบไหน…พื้นที่ที่ใช้เพาะต้นกล้าที่ก่อให้เกิดรายได้หลักหมื่นหลักแสนต่อเดือนให้กับนิสิตหนุ่มรายนี้ ใช้เนื้อที่ประมาณ 100 ตารางวาเท่านั้น เป็นบ้านของคุณยายเพิ่งเสียชีวิตไปช่วงปีที่แล้ว ก็ขอยืมจากแม่ แต่ก็กำลังคิดที่จะขยายที่เพิ่มเพราะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น ยิ่งเข้าหน้าฝนยิ่งขายดี” คุณแฟรงค์บอก จากความชอบกลายเป็นอาชีพ

จนประสบความสำเร็จ มีเงินจ่ายค่าเทอมเอง

คุณแฟรงค์บอกว่า ตนเองชอบต้นไม้ตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยที่บ้านไม่ได้ทำอาชีพนี้มาก่อน ตอนแรกสนใจเรื่องของต้นมะนาว ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่เดินทางไปแถบชานเมืองแถวนครปฐมหรือราชบุรี คุณพ่อคุณแม่ขับรถผ่านสวนมะนาวยังขอร้องให้แวะดูสวนมะนาว และคิดที่จะปลูกมะนาว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ กว่าจะมาถึงวันนี้ ได้ปลูกต้นไม้มาหลายอย่าง ลองผิดลองถูกมาก็มาก ไม่ประสบความสำเร็จก็มี เพียงแต่ไม่ท้อ

การที่ตนเองประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งคิดว่า เป็นเพราะช่วงโรคระบาด คนกักตัวอยู่กับบ้านมากขึ้น การแก้ความเบื่อและการผ่อนคลายก็คือการปลูกต้นไม้ ซึ่งอาชีพขายต้นไม้อย่างตนเองเข้ากับภาวะปัจจุบันพอดี การค้าขายส่วนใหญ่ก็ทางออนไลน์ การขนส่งก็สะดวกขึ้น ตนเองก็สั่งเมล็ดพันธุ์มาปลูก ตอนนั้นปลูกพะยูงกับแคนา สั่งมาเพาะเล่นๆ ไว้พอมันโตและมีหลายต้นเต็มบ้านก็ลองโพสต์ขายดู ปรากฏว่าหมดเกลี้ยง ก็ยิ่งเพิ่มแรงบันดาลใจให้ผมพัฒนาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้มากขึ้น ตอนขายครั้งแรกก็ต้นละ 20-30 บาท เปิดขายสองวันก็หมดเกลี้ยง ตอนนั้นได้เงินมาหมื่นสาม ซึ่งมีราคา 50-100 บาทเพิ่มขึ้นมาด้วย ลงปุ๊บก็ขายได้ดีเลย

เจ้าตัวบอกว่า นอกจากคิดแล้วก็ลงมือทำถือว่าเป็นเด็กที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จในวัยที่ยังเป็นนิสิตปี 2 จนถึงปัจจุบันนี้เรียนอยู่ปีที่ 3 ยอมรับว่า ยากมากกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ พยายามเก็บเงินลงทุนด้วยตัวเองทุกอย่าง แม้ตอนเริ่มทำจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่พอมาถึงทุกวันนี้ก็ถือว่าคุ้มค่า