การขุดหัวบุกมาจำหน่าย หากหัวบุกที่ลงปลูกมีระยะเวลาไม่ถึง

ก็ไม่ควรรีบขุดไปจำหน่าย แม้ว่าน้ำหนักหัวบุกจะได้น้ำหนักตามต้องการ เพราะเนื้อบุกจะยังไม่แก่ถือว่ายังไม่มีคุณภาพ เมื่อเนื้อบุกยังไม่แก่เต็มที่ ขณะขุดออกมาหัวบุกจะไม่เป็นไร แต่จะเริ่มเน่าระหว่างขนส่ง เพราะเนื้อในของบุกยังไม่แน่น วางทับกันมากจะเละและเน่าในที่สุด ทำให้ผลผลิตเสียหายก่อนถึงโรงงาน

“ผมเคยคำนวณราคาต้นทุนและราคาซื้อขายบุก พบว่า จริงๆ ราคารับซื้อในอดีตที่ชาวบ้านไม่มีต้นทุนเลย อยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาท เมื่อมีต้นทุน ราคาซื้อขายบุก อยู่ที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท ชาวบ้านก็ได้กำไรแล้ว แต่เพราะบุกยังเป็นพืชที่มีความต้องการสูง และผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ราคาซื้อขายปัจจุบันพุ่งขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 27 บาท”

เกษตรกรหลายราย รู้จักวิธีการสร้างมูลค่าจากบุก เมื่อถึงระยะที่ต้นบุกล้ม ก็รอให้ถึงเวลาไข่บุกหลุด เก็บไข่บุกนำไปขาย หรือบางรายเพาะไข่บุกเป็นต้นกล้าก่อน เพื่อให้หัวบุกที่นำไปปลูกจากแปลงเพาะมีหัวขนาดใหญ่ขึ้นในระยะเวลาเท่ากับการปลูกด้วยไข่ หรือบางรายยังไม่เก็บหัวบุกในไร่ของตนเอง แต่เข้าไปเก็บหัวบุกจากป่าออกมาขาย เพราะหวังให้หัวบุกในไร่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ การตากแห้งก็เป็นที่นิยมทำในกลุ่มเกษตรกรชาวสบเมย เพราะราคาผลผลิตสูงกว่าการซื้อขายบุกสดหลายเท่า

ทุกวันนี้ คุณวิทยา เกษียณอายุราชการออกมาแล้ว แต่ยังคงทำหน้าที่นักวิชาการเกษตรได้อย่างดีเช่นเดิม ด้วยการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการเข้าไปส่งเสริมการปลูกบุกให้กับเกษตรกรที่สนใจ และหากพื้นที่ใดที่เห็นว่า พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกบุก ต้องการวิทยากรที่มีความรู้ สามารถติดต่อ คุณวิทยา วนาสถิตย์ ได้ที่ บ้านเลขที่ 334/4 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือโทรศัพท์ 081-960-4986

ในการจัดงาน วันยางพารา 2563 : BUENGKAN MODEL 2020 ที่สนามที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ได้จัดให้มีการเสวนา เรื่อง “ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์” โดย คุณอร่าม ทรงสวยรูป เกษตรกรอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา อดีตช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะการทำนาอินทรีย์ และการปลูกพืชผสมผสาน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตร

คุณอร่าม พูดคุยบนเวทีปราชญ์ชาวบ้าน ถึงแนวคิดในการปลูกข้าวอินทรีย์ ว่า พ่อแม่เป็นชาวนา ส่งให้ลูกเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี แต่ไม่ยอมให้กลับมาทำนา เมื่อเดินหน้าทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง มองเห็นว่า ความสุขที่ได้จากการทำงาน กับความสุขที่ได้อยู่กับธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่กำหนดเอง มีอิสระในอาชีพ มีความแตกต่างกัน ความสุขประการหลังมีมากกว่า จึงตัดสินใจกู้เงินธนาคารเพื่อนำไปซื้อที่ดิน 10 ไร่ ที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งใจทำการเกษตร ซึ่งยังคงทำงานประจำอยู่ และใช้เวลาในวันหยุดไปพัฒนาที่ดินที่ซื้อไว้

คุณอร่าม เรียกที่ดินทำกินผืนนี้ว่า “ออฟฟิศชาวนา” เพราะพื้นที่ทั้งหมดเป็นแปลงนา ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ ประมาณ 4 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกพืชไว้หลายสิบชนิด เรียกว่า การปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

“ออฟฟิศชาวนา หมายถึง เรามีรายได้ทุกฤดูกาล เมื่อหมดหน้านา ก็เก็บผลผลิตจากพืชอื่นขายได้ มีรายได้ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี” คุณอร่าม เริ่มทำการเกษตรด้วยการวางพิมพ์เขียวบนพื้นที่ 10 ไร่ คิดก่อนลงมือทำ คิดว่าจะทำนาอย่างไรให้อยู่รอด พื้นที่ที่มีต้องทำเท่าไรจึงจะเลี้ยงครอบครัวได้ และลงตัวที่การทำนา ปลูกอินทผลัม ปลูกโกโก้ ปลูกมะนาว ปลูกพริกแซมระหว่างต้นอินทผลัมและต้นโกโก้ อ้อยคั้นน้ำ กาแฟโรบัสต้า กาแฟอะราบิก้า ผักพื้นถิ่นหลายชนิด และไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด อาทิ พะยูง ยางนา สะเดา ติ้ว กระโดน และผักหวานป่า ซึ่งทุกอย่างเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ โดยการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ คำนึงถึง คำว่า “ขี้หมูกินหัว ขี้วัวกินใบ ขี้ไก่กินลูกกินผล” นำมาปรับใช้ในการทำสารทดแทนปุ๋ยหรือจุลินทรีย์ใช้ในการบำรุงรักษาพืช

การทำเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ ใจต้องแข็ง เพราะในระยะ 5 ปีแรก ผลผลิตจะได้น้อย แต่หลังจากนั้นผลผลิตที่ได้จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทั้งยังจำหน่ายได้ราคาดีเพราะเป็นเกษตรอินทรีย์ สิ่งสำคัญรองลงมาของการทำการเกษตร คือ น้ำ หากพื้นที่มีน้ำไม่เพียงพอ ต้องขุดสระกักเก็บน้ำ เพราะพืชต้องการน้ำในการดำรงชีวิต ซึ่งหลักในการทำเกษตรอินทรีย์ของคุณอร่าม มี 4 ก คือ

อุดมการณ์ ผลผลิตที่ได้ต้องสะอาด ปลอดภัย
ประสบการณ์ เกษตรกรต้องพร้อมเปิดใจรับประสบการณ์ใหม่ เรียนรู้สิ่งใหม่
วิชาการ ต้องรู้จักขวนขวายหาความรู้ นำมาปรับใช้กับการเกษตรในพื้นที่ และ
การตลาด ปลูกแล้วต้องมีตลาดขาย แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเริ่มเรื่องของการตลาด ควรปลูกให้ได้ผลผลิตก่อน แล้วนำมากินเอง แจกเพื่อน จากนั้นจึงไปสู่ระบบของการขาย
“แรกๆ ที่ผมปลูกข้าว คนอื่นปลูกข้าวได้ผลผลิต 700 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่ผลผลิตที่ผมได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ 200 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่หลังจากนั้น 5 ปี เราลดต้นทุนเรื่องของปุ๋ยและสารเคมีลง เราได้ผลผลิต 700 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่าคนอื่น และยังขายได้ราคาดีกว่าด้วย”

“ที่ต้องบอกว่า ทำเกษตรอินทรีย์และการปลูกพืชผสมผสาน ต้องอดทน เช่น ปลูกอินทผลัม กว่าจะได้ขายใช้เวลา 4 ปี แต่หลังเราขายข้าวเสร็จ เราขายอินทผลัม ผมขายกิโลกรัมละ 700 บาท ปลูก 49 ต้น ได้ผลผลิตต้นละ 70 กิโลกรัม รายได้เท่ากับเราทำนา 2 ไร่ เกษตรกรเราต้องคิดว่า ถ้าเราจะปลูกพืชอะไรก็ตาม ต้องให้คุ้มกับการปลูก ระหว่างต้นอินทผลัมผมปลูกโกโก้ ให้ปุ๋ยครั้งเดียว รดน้ำครั้งเดียว เท่ากับรดน้ำใส่ปุ๋ยกับพืช 2 อย่าง และระหว่างต้นโกโก้กับต้นอินทผลัม ผมปลูกพริกขี้หนู ก็สามารถเก็บขายรายวันได้อีก”

คุณอร่าม บอกว่า การมีสิ่งที่ไม่เหมือนใคร ทำให้การตลาดเดินหน้าได้ดี เช่น การทำนาข้าว คุณอร่ามปลูกข้าวที่ไม่มีในท้องตลาดทั่วไป เป็นข้าวพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ปะกาอัมปึล เป็นข้าวพื้นถิ่นในแถบชายแดนอีสานใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ ลักษณะตามสายพันธุ์ เป็นข้าวใช้น้ำน้อย ทนแล้ง ไม่มีโรค และพันธุ์พญาลืมแกง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียว ซึ่งหากปลูกโดยปกติ โรงสีไม่รับซื้อ กลายเป็นจุดอ่อนของเกษตรกรที่เกรงว่าปลูกแล้วจะขายไม่ได้ แต่คุณอร่ามหยิบมาเป็นจุดแข็ง ไม่มีเกษตรกรรายใดปลูก ทำให้สามารถขายในราคาสูงกว่าข้าวทั่วไปได้ และปัจจุบันมีลูกค้าสั่งออเดอร์ข้ามปี

คุณอร่าม กล่าวฝากถึงเกษตรกรทุกคนว่า การปลูกพืชผสมผสานและทำเกษตรอินทรีย์ เป็นทางรอด ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป สภาพอากาศแห้งแล้ง ในช่วงเช้าจะมีอากาศเย็นถึงหนาว และกลางวันมีอากาศร้อน กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรสวนส้มเขียวหวานให้เฝ้าระวังไรแดงแอฟริกันในระยะติดผล จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง อยู่ที่บริเวณหน้าใบหรือด้านบนใบ กรณีที่มีการระบาดรุนแรง อาจพบการทำลายของไรที่บริเวณหลังใบ และที่ผลส้มเขียวหวาน ทำให้ใบและผลมีสีเขียวจางลง เพราะสูญเสียคลอโรฟิลล์ หากมีการระบาดรุนแรง อาจทำให้ใบและผลร่วงในที่สุด

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเข้าทำลายของไรแดงแอฟริกัน เกษตรกรควรหมั่นสำรวจใบส้มทุกสัปดาห์ในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม-พฤษภาคม และในช่วงฤดูฝนที่ฝนทิ้งช่วง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หากพบไรแดงแอฟริกันเริ่มลงทำลายส้มเขียวหวาน ให้เกษตรกรป้องกันกำจัดด้วยการให้น้ำติดต่อกันหลายๆ ครั้ง

กรณีระบาดรุนแรง เกษตรกรจะสังเกตเห็นใบส้มเริ่มมีสีเขียวจางลง เมื่อใช้แว่นขยายส่องดูบนใบ จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดทำลายอยู่ทั่วไป จากนั้น ให้พ่นด้วยสารฆ่าไรชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ สารโพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซีไทอะซอกซ์ 2% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโบรโมโพรไพเลต 25% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร สารฆ่าไรเหล่านี้ค่อนข้างปลอดภัยต่อตัวห้ำ ตัวเบียน และผึ้ง หลีกเลี่ยง การพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร หากพบว่ายังมีไรแดงแอฟริกันระบาดให้พ่นสารฆ่าไรอีกครั้งหนึ่ง โดยเว้นระยะห่าง 5 วัน

กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวอัญชันพันธุ์ใหม่ “เทพรัตน์ไพลิน 63” กลีบดอกใหญ่ 5 กลีบซ้อนเวียน สม่ำเสมอในต้นเดียวกัน มีสารสำคัญแอนโทไซยานินช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สูง ให้ผลผลิตมากและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์ทั่วไป 6 วัน เหมาะปลูกเชิงการค้า สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร แนะส่งออกเกาหลีแปรรูปเป็นชา

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า อัญชัน เป็นพืชที่ออกดอกเกือบตลอดปี อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นพืชที่มีการผสมตัวเอง แต่ในธรรมชาติมักพบมีการผสมข้ามสายพันธุ์โดยแมลงสูงมาก จึงทำให้มีการกระจายตัวทางพันธุกรรม โดยอัญชันพันธุ์ปลูกทั่วไปพบมีความแปรปรวนทางพันธุกรรม ทำให้ ลักษณะกลีบดอกไม่สม่ำเสมอ โดยมีกลีบดอกตั้งแต่ 3-5 กลีบ ปะปนในต้นเดียวกัน และมีทั้งซ้อนและไม่ซ้อนกัน ทำให้ได้ผลผลิตและสารแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารสำคัญช่วยต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความเสื่อมของเซลล์ในอัญชันไม่คงตัวและไม่สม่ำเสมอ

ในปี 2554 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กรมวิชาการเกษตร จึงได้ปรับปรุงอัญชันพันธุ์ปลูกทั่วไป โดยปลูกและคัดเลือกอัญชันพันธุ์ปลูกทั่วไป ใช้การคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ คัดแยกเป็นสายพันธุ์ โดยคัดเลือกต้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตดอกเร็ว ผลผลิตสูง ลักษณะดอก มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ซ้อน และให้ปริมาณแอนโทไซยานินรวมสูงสุด หรือไม่น้อยกว่า 70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักกลีบดอกสด 100 กรัม และปลูกทดสอบพันธุ์ร่วมกับพันธุ์ปลูกทั่วไปในแปลงของเกษตรกร เพื่อให้ได้อัญชันพันธุ์แท้ที่มีความสม่ำเสมอของลักษณะดอก และให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไปอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์อัญชันประสบความสำเร็จได้อัญชันพันธุ์ใหม่เสนอเป็นพันธุ์พืชแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ใช้ชื่อว่า “อัญชันพันธุ์เทพรัตน์ไพลิน 63” โดยมีลักษณะเด่นตามที่ต้องการ คือ ให้ผลผลิตดอกสดสูงถึง 2,122 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป นอกจากนี้ ยังเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกได้เร็วกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 6 วัน มีปริมาณแอนโทไซยานินรวมมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 1.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักกลีบดอกสด 100 กรัม

ลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ลักษณะดอกมีกลีบดอกใหญ่ 5 กลีบซ้อนเวียน ซึ่งการมีจำนวนกลีบดอกที่เท่ากันและมีความสม่ำเสมอในต้นเดียวกัน จะช่วยเพิ่มผลผลิตและเพิ่มน้ำหนักดอก ในขณะเดียวกันถ้าจำนวนกลีบดอกไม่เท่ากัน น้ำหนักแต่ละดอกก็จะต่างกัน ผลผลิตโดยรวมก็จะไม่คงตัว และทำให้ได้ผลผลิตไม่คงที่

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้กระจายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรได้นำไปปลูกแล้วหลายจังหวัด โดยเมล็ดพันธุ์คัด 2 กิโลกรัม ถ้าปลูกขยายพันธุ์ในพื้นที่ 10 ไร่ สามารถผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์หลักได้ 1,000 กิโลกรัม เมื่อนำเมล็ดพันธุ์หลักไปปลูกต่อ สามารถผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ขยายได้ 500 ตัน

โดยศูนย์วิจัยและพัฒนการเกษตรพิจิตร ได้ให้คำแนะนำการปลูกแก่เกษตรกรในกรณีปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ให้ได้ตรงตามพันธุ์ และเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ โดยปลูกให้มีระยะห่างจากพันธุ์อื่น เพื่อป้องกันการผสมข้ามโดยแมลง ซึ่งจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อมีความแปรปรวนได้

ปัจจุบัน เกษตรกรได้นำอัญชันพันธุ์เทพรัตน์ไพลิน 63 ที่ได้รับจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรไปปลูกขยายเป็นการค้า โดยส่งออกดอกอัญชันไปประเทศเกาหลี เพื่อนำไปแปรรูปเป็นชา ถือเป็นการสร้างรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรที่สนใจพันธุ์อัญชันเทพรัตน์ไพลิน 63 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โทร. 056-990-035

ในช่วงนี้จะมีอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวไร่อ้อยเฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อย สามารถพบการเข้าทำลายได้ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตถึงระยะแตกกอของอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ เริ่มแรกจะพบการเข้าทำลายของหนอนด้วงเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ตั้งแต่เริ่มปลูกอ้อย ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก หน่ออ้อยอายุ 1–3 เดือน จะถูกหนอนด้วงกัดกินตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออก ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย เมื่ออ้อยมีลำแล้วจะพบว่าการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวอ้อย จะทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งตายทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย หนอนขนาดเล็กจะกัดกินเหง้าอ้อย ทำให้ระบบส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนใหญ่ขึ้นจะเจาะไชโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ลำต้นหักล้มและแห้งตายในที่สุด

เกษตรกรควรใช้วิธีในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวอ้อยแบบผสมผสาน คือ การใช้วิธีกล การใช้ศัตรูธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช และการใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัด สำหรับการใช้วิธีกล ให้เกษตรกรไถพรวนดินแล้วเดินเก็บตัวหนอนและดักแด้ตามรอยไถในช่วงก่อนปลูกอ้อย และในช่วงค่ำให้จับหรือเดินเก็บตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวในแปลงอ้อย

ส่วนอ้อยระยะแตกกอ ถ้าพบกออ้อยที่มีหน่ออ้อยแห้งตายให้ขุดกออ้อยและเก็บตัวหนอนด้วงหนวดยาวอ้อยออกไปทำลาย การใช้ศัตรูธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช อ้อยปลูก ให้โรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมบนท่อนพันธุ์พร้อมปลูก อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ อ้อยตอ ให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมชิดกออ้อยแล้วกลบดิน อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่

กรณีระบาดรุนแรง ให้ใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัด แบบชนิดน้ำ อ้อยปลูก ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 320 มิลลิลิตร ต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน อ้อยตอ ให้เปิดร่องอ้อยแล้วพ่นชิดกออ้อยด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 320 มิลลิลิตร ต่อไร่ และให้กลบดิน แบบชนิดเม็ด

อ้อยปลูก ให้โรยด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 0.3% จี อัตรา 6 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยบนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน อ้อยตอ ให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยชิดกออ้อยด้วยสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 0.3% จี อัตรา 6 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วให้กลบดิน หากมีความชื้นในดินจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมและสารเคมีมากขึ้น

กรมวิชาการเกษตร เปิดโฉมพริกขี้หนูสวนพันธุ์ใหม่ “กาญจนบุรี 2” ให้ผลผลิตสูงกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ติดดอกออกผลไวแซงพันธุ์การค้าและพันธุ์เกษตรกรอย่างน้อย 1 เดือน คุณสมบัติเด่นตรงความต้องการผู้บริโภค ผลเล็ก เหยียดตรง ผิวเรียบเป็นมัน ไร้กลิ่นเหม็นเขียว เหมาะกินสดรสชาติเผ็ดเว่อร์

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พริกขี้หนูสวนเป็นพริกที่มีอายุได้หลายฤดู ผลมีขนาดเล็กมาก ความยาวผลไม่เกิน 3.0 เซนติเมตร มีรสเผ็ดจัด บางพันธุ์มีกลิ่นหอม ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้สำหรับการบริโภคสด ราคาพริกขี้หนูสวน จึงสูงกว่าพริกชนิดอื่นในท้องตลาด ซึ่งการปลูกพริกขี้หนูสวนทั่วไปต้องปลูกภายใต้ร่มเงาจึงจะเจริญเติบโตได้ดี และมีอายุยาวนาน

สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูสวนเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลิตสูง เหมาะสำหรับการบริโภคผลสด และให้ผลผลิตเร็วกว่าพันธุ์การค้า โดยในระหว่างปี 2551-2554 ได้รวบรวมพันธุ์พริกขี้หนูสวน จำนวน 14 ตัวอย่าง คัดเลือกพันธุ์แบบสืบประวัติโดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ ผลมีขนาดยาวไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม และให้ผลผลิตมากกว่า 800 กิโลกรัม/ไร่/ปี และนำไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์กับพริกพันธุ์การค้าของบริษัทเอกชนและพันธุ์ของเกษตรกร ทดสอบพันธุ์ในแหล่งปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง รวมทั้งทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร จ. กาญจนบุรี และตรัง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูสวนตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าว ทำให้ได้พริกขี้หนูสวนพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพริกพันธุ์การค้า โดยให้ผลผลิตมากกว่า 700 กรัม/ต้น จากการเก็บเกี่ยวสัปดาห์ละครั้งพบว่า ให้ผลผลิตสูงที่สุดจำนวน 1,014 กิโลกรัม ต่อไร่ และให้ผลผลิตเร็วกว่าพริกขี้หนูสวนพันธุ์อื่นๆ และพันธุ์การค้าประมาณ 1 เดือน ทำให้มีจำนวนครั้งที่เก็บเกี่ยวมากกว่าในระยะเวลาการปลูกเท่ากัน

รวมทั้งการออกดอกติดผลจะมีจำนวนดอกต่อข้อมากกว่าพริกขี้หนูสวนอื่นๆ ส่วนขนาดของผลมีผลยาวระหว่าง 1.6-2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะพริกขี้หนูสวนที่ผู้บริโภคต้องการ คือผลมีขนาดเล็ก เหยียดตรง มีสีเขียวเมื่อแก่ และเมื่อสุกแล้วเป็นสีแดงเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน กลิ่นไม่เหม็นเขียวเมื่อนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบของอาหาร รวมทั้งมีรสชาติเผ็ดจัด

เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูสวนมาจากแหล่งรวบรวมพันธุ์ที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ตั้งชื่อพริกขี้หนูสวนพันธุ์ใหม่นี้ว่า “พริกขี้หนูสวนพันธุ์กาญจนบุรี 2” ผ่านการรับรองเป็นพันธุ์แนะนำตามขั้นตอนการรับรองพันธุ์พืชจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยในปี 2562-2563 สถาบันวิจัยพืชสวน สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายพริกขี้หนูสวนกาญจนบุรี 2 ได้จำนวน 5 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปปลูกขยายต่อได้ในพื้นที่จำนวน 250 ไร่ ผู้ที่สนใจพันธุ์พริกขี้หนูสวนกาญจนบุรี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-0583

กรมวิชาการเกษตร แนะนำมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ “ระยอง 15” ปลูกแค่ 8 เดือน เก็บผลผลิตออกขายได้ ให้ผลหัวสดสูงถึง 4,632 กก./ไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้ง-ผลผลิตแป้งสูงถูกใจโรงงาน ปี 63 เตรียมแจกท่อนพันธุ์กว่า 2 แสนท่อนขยายพื้นที่ปลูกได้125 ไร่

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สมัครคาสิโนออนไลน์ เปิดเผยว่า มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และแป้งมันสำปะหลัง เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับ 1 ของโลก มีมูลค่ามากกว่าปีละ 90,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาโรคแมลงที่รุนแรงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้การผลิตมันสำปะหลังในบางท้องที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน เช่น เกษตรกรมีความต้องการรายได้เร็วขึ้น หรือต้องการใช้พื้นที่ในการปลูกพืชหมุนเวียน ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรจึงตั้งเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน ซึ่งโดยปกติมันสำปะหลังจะเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 11-12 เดือน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้เร็วขึ้น และให้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงมันสำปะหลังเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นไม่เกิน 8 เดือน และให้ผลผลิตแป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในปี 2545 จนได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการพิจารณารับรองเป็นพันธุ์ล่าสุดจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 ใช้ชื่อว่า “มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15” มีลักษณะเด่น คือ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 8 เดือน และเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ยังให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 4,632 กก./ไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง 29.2 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตแป้งสูง 1,355 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50

มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ได้จากการผสมเปิดของพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง หลังจากผ่านการคัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง แล้วได้นำไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานและประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ตลอดจนไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศรวม 16 จังหวัด