การดูแลระบบน้ำและการให้ปุ๋ย คุณวาสนา บอกว่าไม่ยุ่งยาก

ไม่ซับซ้อน เน้นประหยัดแรงงานและเวลา โดยระบบน้ำที่ให้คือ เจาะน้ำบาดาล แล้วใช้มอเตอร์สูบน้ำรดไปตามสายยางน้ำพุ่ง ซึ่งจะผสมปุ๋ยที่หมักเองผสมไปพร้อมกับตอนรดน้ำ โดยสูตรปุ๋ยที่หมักใส่ไปพร้อมน้ำ จะมีเศษปลาหมัก ขี้วัวหมัก นำไปหมักทิ้งไว้ 3-4 เดือน หลังจากนั้น เอามาผสมในถัง 200 ลิตร ใช้ปุ๋ยหมัก ประมาณ 20 ลิตร แล้วเทใส่ในถัง ปล่อยร่วมกับน้ำ ส่วนปุ๋ยคอกจากมูลแพะจะให้ตอนเตรียมดินครั้งแรก พอหลังจากปลูกจะใช้วิธีให้น้ำพร้อมปุ๋ยแบบนี้ จะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน เพราะตนทำสองคนกับสามี

ที่สวนไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคแมลง เพราะปลูกพืชสลับหมุนเวียน และอีกเหตุผลที่แมลงไม่มารบกวนคือ การรักษาระบบนิเวศให้ได้มากที่สุด ผักที่ปลูกเป็นผักปลอดสาร ดังนั้น จะไม่มีการใช้สารเคมีไปทำลายระบบนิเวศ เมื่อระบบนิเวศสมบูรณ์ ธรรมชาติจะวิ่งเข้ามาหาเอง ที่สวนจะมีตัวห้ำ ตัวเบียน ที่เป็นแมลงดีคอยกำจัดแมลงร้าย ถือเป็นวิธีใช้ธรรมชาติกับจัดธรรมชาติที่ได้ผลดีมากๆ

ผลิตผักผลไม้อินทรีย์ ได้ผลดี รสชาติถูกใจลูกค้า
คุณวาสนา บอกว่า ตอนนี้ปลูกแตงโมเป็นพืชหลัก สร้างรายได้ 1 ปี ปลูกได้ 2 รอบ ปลูกรอบละ 4 ไร่ แตงโมเป็นพืชอายุสั้น 55-60 วัน เก็บผลผลิตได้ ปลูกแบบอินทรีย์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นลูกค้าที่มาซื้อไม่ต้องกลัวเรื่องคุณภาพความปลอดภัย ความหวานของแตงโมที่สวนจะหวานธรรมชาติ หวานด้วยปุ๋ยมูลแพะที่ใช้ดูแล และมีขนาดผลที่ใหญ่ ลูกละ 2 กิโลกรัม ขึ้นไป ที่ใต้จะนิยมรับประทานแตงโมผลใหญ่ จึงขายได้ราคาดีตลอด ราคาขายหน้าสวน กิโลกรัมละ 20 บาท ขายไม่ต่ำกว่านี้ ถึงแม้ราคาตลาดจะขาย กิโลกรัมละ 10-12 บาท แต่ที่สวนยังขายราคาเดิม เพราะมั่นใจในคุณภาพ และรสชาติ กล้าการันตีแตงโมที่ออกจากที่นี่ จะต้องมีโลโก้ของสวนติดไปทุกลูก ที่ผ่านมาลูกค้าที่เคยซื้อต้องกลับมาซื้อซ้ำตลอด

ส่วนพืชผักชนิดอื่นจะเก็บขายส่งตลาดสดในเมือง มีเท่าไรก็ไม่พอขาย เพราะพืชผักส่วนใหญ่ที่ขายในนราธิวาสจะไม่ได้มาจากนราธิวาส จะมาจากพื้นที่ใกล้เคียง เพราะฉะนั้นถ้าเราทำได้เท่าไร เราสามารถเก็บผลผลิตส่งแม่ค้าได้ตลอด แต่จะมีการวางแผนปลูกพืชเล็กน้อย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด ดูตรงช่วงไหนผักชนิดใดราคาแพง จะปลูกผักชนิดนั้นมากหน่อย

ต้นทุนกับรายได้ คิดเป็น รายจ่าย 30 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของค่าซื้ออุปกรณ์ทำการเกษตร สายยางรดน้ำ ค่าน้ำมันเครื่องตัดหญ้า รายได้ 70 เปอร์เซ็นต์ มาจากการขายแตงโม พริก ผักบุ้ง แตงกวา และผักสวนครัว ที่ปลูกหมุนเวียนสร้างรายได้ตลอดทั้งปี มีรายได้ทุกวันจากการขายผักบุ้ง พริก แตงกวา สลับกัน รายได้ประจำปี มาจากการขายแพะและวัวปีหนึ่งสร้างรายได้ ประมาณ 50,000-60,000 บาท รายได้จากการขายแตงโม 2 รอบ รอบละ 80,000 บาท ถือว่าประสบความสำเร็จมากๆ แล้วกับสายที่เลือกเดินสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ มีกิน มีใช้ มีเก็บ มีอิสระในการใช้ชีวิต และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก

ฝากถึงเกษตรกรรุ่นใหม่
“การทำเกษตร ถ้าใครที่สนใจให้ดูว่าในภูมิลำเนามีทรัพยากรอะไรบ้าง แล้วให้ศึกษาให้ดีว่าจะทำอะไร ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน คืออย่าไปทำตามคนอื่น อย่างที่ผ่านมา อะไรที่เป็นกระแสก็อย่าไปทำตาม ให้ทำในลักษณะของเกษตรผสมผสาน อย่าทำแบบเชิงเดี่ยว เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ทำไร่มากกว่าทำสวน แต่ไม่ดูตัวเองว่าพร้อมไหม สภาพพื้นที่เหมาะไหม อยากให้วิเคราะห์ตรงนี้ก่อนแล้วค่อยทำ” คุณวาสนา กล่าวทิ้งท้าย

ต้นอินทผลัม มีความสูงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีขนาดประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้น ประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุ 5-7 ปี และมีอายุยืนยาวถึงกว่า 100 ปี โดยจะให้ผลผลิตต่อปีเฉลี่ยประมาณ 7,000-8,000 ลูก ต่อปี หรือประมาณ 100-150 กิโลกรัม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น

ผลอินทผลัมสามารถรับประทานได้แบบผลสด หรือเมื่อผลสุกจัดมักนิยมนำไปตากแห้ง ทำให้เก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายปี มีลักษณะเหมือนการอบแห้งแบบหวาน จึงมักเข้าใจผิดว่ารสหวานจัดของอินทผลัมนั้นเกิดจากการแปรรูปด้วยการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล จนไม่กล้ารับประทาน เพราะเกรงว่าจะอ้วนหรือไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นผลไม้ที่ไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันต่ำ นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

อินทผลัม เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติเด่นในด้านการนำไปบริโภคต่างกัน อีกทั้งเกรด ราคา รวมทั้งรสชาติแตกต่างกันด้วย สำหรับสายพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมนำมาปลูกในไทยเพื่อรับประทานเป็นผลสดคือ พันธุ์ Barhee หรือ Barhi (บาร์ฮีหรือบัรฮี) มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์ Barhi เป็น “แอปเปิลแห่งตะวันออกกลาง”

การเป็นพืชไม้ผลที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนและแทบไม่มีฝน อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี จึงทำให้คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า อินทผลัม เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว อินทผลัมเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากถึงปีละ 2,000-2,500 มิลลิเมตร (ประเทศไทยมีฝนตกปีละ 1,000-1,600 มิลลิเมตร) ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการอินทผลัมที่มีคุณภาพ จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี และต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง

ทางด้านการขยายพันธุ์อินทผลัมสามารถทำได้ 3 วิธี คือ เพาะจากเมล็ด แยกหน่อจากต้นแม่ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี/ข้อเสีย ต่างกัน โดยเหตุผลของการขยายพันธุ์ในแต่ละวิธีไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับดุลพินิจความเหมาะสมของผู้ปลูกแต่ละรายเป็นหลักที่นำมาใช้ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีใดเป็นหลักหรืออาจรวมหลายวิธีเข้าด้วยกัน

สภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมกับอินทผลัม ควรเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ ควรมีระบบระบายน้ำที่ดีและมีอากาศถ่ายเทที่สะดวกด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ถึงแม้จะได้ผลผลิตก็ตาม ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว ดูเหมือนว่าพื้นที่ทางภาคอีสานและภาคเหนือมีความได้เปรียบกว่าภาคอื่น

คุณประทิน อภิชาติเสนีย์ อยู่บ้านเลขที่ 261 หมู่ 13 ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และเป็นเจ้าของสวนอินทผลัมที่มีชื่อว่า “KDP” KORAT DATE PALM หรือ “อินทผาลัม โคราช”

“เรื่องตลาดไม่ค่อยกังวล เพราะการทำเกษตรกรรมที่ผ่านมามีตลาดเป็นฐานรองรับสินค้าอยู่แล้ว อีกทั้งตำแหน่งสวนที่ตั้งในปัจจุบันเป็นทำเลที่รายล้อมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเขาใหญ่หรือวังน้ำเขียว ฉะนั้น หากบรรทุกใส่รถไปตั้งขายในราคาที่พอสมควร คงได้รับความสนใจอย่างแน่”

คุณประทินเริ่มปลูกอินทผลัมเมื่อปี 2554 ด้วยการไปซื้อต้นพันธุ์ที่เชียงใหม่มา จำนวน 250 ต้น พอถึงปี 2556 ออกดอกจำนวน 55 ต้น จากนั้นอีก 2 ปีครึ่ง ออกดอกอีกจำนวน 160 ต้น แล้วถัดมาอีก 3 ปีครึ่ง ออกดอกได้ทั้งหมด 224 ต้น ไม่เพียงเท่านั้นเขายังซื้อผลสดมาอีก 2 พวงใหญ่ เพื่อมาทดลองเพาะ ซึ่งสรุปแล้วในช่วงนั้นมีต้นเพาะเมล็ดทั้งหมดราว 700 ต้น

ภายหลังได้ผลผลิต คุณประทินพบว่า ต้นเพาะเมล็ดที่ปลูกเกิดการกลายพันธุ์ขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีความหลากหลายทั้งสีเหลือง สีแดง ขนาดผลทั้งเล็ก ใหญ่ ทั้งรสหวานและฝาด คงยากที่จะทำให้นิ่งได้อย่างสมบูรณ์ เพียงแต่ที่ทำอยู่คือ พยายามคัดสายพันธุ์ให้ใกล้เคียงได้มากที่สุด ซึ่งก็ทำได้ประมาณ 50 ต้น เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงตัดสินใจซื้อพันธุ์อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อจากต่างประเทศเข้ามาปลูกด้วย

คุณประทินชี้ว่า ผลผลิตที่ได้ระหว่างต้นเพาะเมล็ดกับเนื้อเยื่อไม่ต่างกันเท่าไร แต่สิ่งที่ต่างกันเห็นได้ชัดเจนคือคุณภาพ เจ้าของสวนแนะว่า ถ้าคิดจะปลูกอินทผลัมเป็นเชิงพาณิชย์ ควรปลูกต้นพันธุ์เนื้อเยื่อ เนื่องจากประกันความเสี่ยงในเรื่องเพศ โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการลงทุนค่าขุดหลุม ค่าปุ๋ย ค่าต่อระบบน้ำ ค่าดูแล และอื่นๆ ซึ่งจะต้องปลูกกันไปยาวนานถึง 4 ปี และตลอดระยะเวลาที่ปลูกมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นตลอด แต่เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตมีรายรับได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันต้นที่สมบูรณ์จริง อาจขายได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่หายไปเป็นค่าใช้จ่ายสูญเปล่า

สำหรับพันธุ์เนื้อเยื่อผลสดที่แนะนำขณะนี้เป็นพันธุ์บาร์ฮี มีราคาซื้อ-ขาย ทั่วไป ประมาณ 1,200 บาท แต่ถ้าซื้อจำนวนมากอาจมีส่วนลดตามแหล่งที่ซื้อซึ่งจะไม่เท่ากัน ถามว่ารับประกันได้มากน้อยแค่ไหน คงบอกได้ว่าประมาณ 99.99 เปอร์เซ็นต์ เพราะอาจเกิดความผิดพลาดทางแล็บของผู้ผลิตในต่างประเทศ

“เพราะฉะนั้น ถ้าให้เลือกปลูกคงปลูกต้นเนื้อเยื่อมากกว่า หรือหากจำเป็นต้องใช้เพาะเมล็ด ควรเป็นเพาะเมล็ดจากพันธุ์บาร์ฮี เพราะมาจากต้นเนื้อเยื่อ เมื่อพ่อ-แม่พันธุ์ รุ่นแรก F1 โอกาสกลายพันธุ์มีน้อย”

คุณประทินชี้ว่า การเปรียบพันธุ์อินทผลัมขณะนี้ อาจคล้ายกับการเปรียบเรื่องเงาะ อย่างเมื่อก่อนพันธุ์สีชมพู ได้รับความนิยมมาก แต่มีพันธุ์เงาะโรงเรียนน้อยมาก ในปัจจุบันพบว่าทั่วไปมีแต่เงาะโรงเรียน แทบหาเงาะสีชมพูไม่เจอ หรืออีกกรณีอย่างทุเรียนเมื่อก่อนพันธุ์ชะนีโด่งดังมาก แต่ตอนนี้กลับเป็นหมอนทอง แล้วหาชะนีไม่ค่อยพบ

“เพราะฉะนั้น การเปรียบเทียบเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าไม้ผลอะไรก็ตามหากมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีกว่า ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดก็จะได้รับความนิยมมาก สร้างเงินได้มาก”

คุณประทินกล่าวว่า ก่อนที่จะตัดสินใจปลูกอินทผลัมควรมองในเรื่องต้นทุนก่อน และถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ เนื่องจากถ้าปลูกแล้วไม่ประสบความสำเร็จคงแย่แน่นอน

พร้อมกับให้รายละเอียดว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าใช้ระยะปลูก 7 คูณ 7 เมตร จะได้จำนวน 35 ต้น แล้วหากมีทุนมากพอแนะว่าให้ใช้ต้นเนื้อเยื่อตัวเมียสัก 30 ต้น และต้นตัวผู้ 5 ต้น อันนี้เป็นสัดส่วน ตัวผู้-ตัวเมีย คือ 1 ต่อ 5 หรือ 1 ต่อ 10 อันนี้มองว่าคุณมีเงินทุนสู้ได้

“หรือถ้าเป็นสูตรแบบประหยัดที่ช่วยลดต้นทุน โดยในพื้นที่และจำนวนต้นเท่ากัน ให้ใช้ต้นเนื้อเยื่อตัวเมีย 25 ต้น และใช้ตัวผู้เพาะเมล็ด จำนวน 10 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้ถ้าหากเกิดได้ต้นตัวเมียด้วยอาจถือเป็นโชคดี”

ดังนั้น ในพื้นที่ 1 ไร่ การมีต้นตัวเมีย 25 ต้น ถ้าตามข้อมูลในต่างประเทศระบุว่า แต่ละต้นจะให้ผลผลิต 150-200 กิโลกรัม ในปีที่ 8-9 เหตุที่กำหนดในปีที่ 8 เพราะเมื่อเทียบกับยางพาราแล้วในระยะเดียวกัน จะได้ประโยชน์มากกว่า

คุณประทินย้ำจุดยืนในเรื่องการขายว่า ที่ผ่านมามีการตั้งราคาขายไว้ กิโลกรัมละ 500 บาท เขามองว่าอาจสูงเกินไป เพราะการปลูกอินทผลัม ถ้าได้ผลผลิตถึงต้นละ 100 กิโลกรัม เพียงขายแค่กิโลกรัมละ 100 บาท เพียงต้นเดียวมีรายได้หนึ่งหมื่นบาท แล้วถ้าปลูก 25 ต้นต่อไร่ อาจมีรายได้ถึง 2.5 แสนบาท

ขณะเดียวกันได้ให้มุมมองในเรื่องการตั้งราคาต่อไปอีกว่า ถ้าคิดว่าราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาท ยังสูงไป แล้วฐานตลาดลูกค้ามีจำนวนหลักพันคน แต่ถ้าดึงราคาขายจากหน้าสวนให้ลดลงมาเหลือกิโลกรัมละ 50 บาท คุณจะได้เงิน 5,000 บาทต่อต้น แล้วมีรายได้ไร่ละแสนกว่าบาทต่อไร่ต่อปี

“เมื่อแม่ค้านำไปขายกิโลกรัมละ 70-80 บาท เป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกคน ทุกระดับ จับต้องได้ เพราะระดับราคาใกล้เคียงกับไม้ผลชนิดอื่น ในเมื่อทุกคนมีโอกาสซื้อได้แล้ว คิดว่าถ้าตั้งราคานี้จะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกจำนวนสักเท่าไร ฉะนั้น ประโยชน์ตรงนี้คุณก็ได้ แม่ค้าคนขายก็ได้”

คุณประทินชี้ว่า ความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทยสำหรับการปลูกอินทผลัมนั้นค่อนข้างเอื้อแต่อาจไม่ครบทุกจังหวัด ซึ่งถ้าจากภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมาจนสุดภาคเหนือสามารถปลูกได้ทุกแห่ง เนื่องจากถ้าเป็นจังหวัดทางใต้ตอนล่างมีฝนมาก อันมีผลกระทบกับอินทผลัมในช่วงสะสมตาดอก ยิ่งถ้าน้ำท่วมคงได้แต่ยอดใหม่ แต่ไม่ออกดอก

สำหรับตลาดอินทผลัมของคุณประทิน เสนอขายที่ราคากิโลกรัมละ 50 บาท คุณประทินชี้ว่า เมื่อมีราคากิโลกรัมละ 500 บาท แห่ปลูกกันจนทำให้ราคาลดลง แต่ความจริงแล้วการขายที่ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ก็สามารถอยู่ได้ ขณะนี้มีห้างสรรพสินค้าดังหลายแห่งติดต่อเข้ามาเพื่อขอซื้อ แต่ยังไม่กล้ารับปาก เนื่องจากความไม่แน่นอนในเรื่องสภาพอากาศ จึงทำให้คุณภาพผลผลิตยังไม่คงที่

ตั้งสมมุติฐานเพศด้วยการดูจากต้น
ถึงแม้ข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดคือ การได้จำนวนต้นมากในเวลารวดเร็ว แล้วมีราคาไม่สูงนัก แต่กว่าจะรู้ว่าต้นใดเป็นเพศผู้-เพศเมีย นั้น จะต้องรอไปจนกระทั่งแทงจั่นออกดอก หรือราว 3-4 ปี ฉะนั้น โอกาสเสี่ยงจึงมีมาก ด้วยเหตุนี้ผู้ปลูกบางรายจึงตัดสินใจหาซื้อต้นเนื้อเยื่อที่นำเข้าจากต่างประเทศ

เนื่องจากทราบเพศที่แน่นอนและมีคุณภาพดีเท่ากับต้นแม่ที่คัดพันธุ์ แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้เงินลงทุนมาก
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา 4-5 ปี การได้คลุกคลีอยู่กับอินทผลัมของคุณประทิน ทำให้ได้สังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างต้นตัวผู้-ตัวเมีย ในระหว่างการเจริญเติบโต ดังนั้น เพื่อเป็นการทดสอบตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ จึงทำให้คุณประทินคัดเลือกต้นที่คาดว่าน่าจะเป็นเพศเมีย จำนวน 160 ต้น แยกออกมาปลูกไว้ต่างหาก

และในเวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้า หากสมมุติฐานของเขาเป็นความจริง แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่าต้นที่นำมาปลูกเป็นตัวเมียทุกต้น ก็จะลดความเสี่ยงจากการเลือกเพศได้มาก อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานของคุณประทินขอสงวนสิทธิ์ที่ไม่ให้ข้อมูลรายละเอียด

ปัจจุบัน สวน ‘KDP’ (KORAT DATE PALM) ของคุณประทินปลูกอินทผลัมอยู่ จำนวน 60 ไร่ แล้วเตรียมไว้อีก 20 ไร่ มีต้นพันธุ์จำหน่ายตลอดทั้งปี ทั้งเพาะเมล็ดและเนื้อเยื่อ แต่ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้น ยังต้อนรับคณะที่ต้องการเข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงานอีก แล้วได้เปิดสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559

ขอเชิญชวนผู้สนใจปลูกอินทผลัม ร่วมกิจกรรมเสวนาเชิงปฏิบัติการ กับ เทคโนโลยีชาวบ้าน “เรียนให้รู้ ดูให้ทำเป็น เด่นทางด้านการตลาด” พาไปชม…การปลูกอินทผลัมคุณภาพ และแปรรูปครบวงจร เมืองกาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยเสียค่าใช้จ่าย ท่านละ 930 บาท

ผู้สนใจ สมัครจองที่นั่งก่อน แล้วโอนเงิน (ตามจำนวนที่ระบุ) เข้า ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนประชาชื่น เลขที่บัญชี 193-079484-5 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) Fax 02-580-2300 เลขที่ผู้เสียภาษี 0107536001451

ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน จัดเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมบริโภค ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากขนาดของตัวหนอนค่อนข้างโต มีน้ำหนักดี และขายได้ราคาดี มีวงจรชีวิตสั้น มีโปรตีนสูงเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันมาก ในเขตพื้นที่ภาคใต้ของไทย

เกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้จะเลี้ยงด้วงสาคูในท่อนสาคู ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การเลี้ยงด้วงสาคูให้ประสบความสําเร็จคือ เรื่องของความสะอาดและการจัดการเลี้ยงอย่างมีระบบ เช่น สถานที่เลี้ยงจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง และบริเวณที่เลี้ยงสามารถมีร่มเงาและแสงแดดเข้าถึงอยู่บ้าง

ด้วงสาคู ถือเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีวงจรชีวิตที่สั้น หรือมีวงจรชีวิตแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะโตเต็มวัย

ระยะไข่มีอายุ 2-3 วัน ไข่เป็นสีขาวครีม ยาวและรูปทรงรี ขนาดเฉลี่ยของไข่คือ ยาว 2.6 มิลลิเมตร กว้าง 1.1 มิลลิเมตร
ระยะตัวอ่อนมีอายุ 60-110 วัน ตัวหนอน สีขาวรูปร่างเหมือนถัง ความยาวของตัวอ่อนโตเต็มที่คือ 50 มิลลิเมตร กว้าง 20 มิลลิเมตร
ระยะดักแด้มีอายุ 20-30 วัน ดักแด้รูปไข่ยาว รังทรงกระบอกที่ทำจากเส้นใย เมื่อจะเป็นดักแด้ตัวอ่อนสร้างรังซึ่งเป็นรูปทรงรีมีความยาวเฉลี่ย 60 มิลลิเมตร กว้าง 30 มิลลิเมตร
ระยะตัวเต็มวัยมีอายุ 60-140 วัน ตัวเต็มวัยปีกมีสีน้ำตาลดํา อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลําตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย

หลายคนอาจเกิดคำถามเมื่อเห็นด้วงสาคูในครั้งแรกว่าจะกินดีไหม แต่ทุกคนรู้ไหมว่าด้วงสาคูเป็นแหล่งโปรตีนที่เยอะมาก เพราะมีโปรตีนสูงถึง 17-19% โปรตีนตรงนี้จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี แถมยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ด้วย

ด้วงสาคูสามารถนำมาแปรรูปอาหารได้หลากหลาย สามารถกินสดได้ ไม่มีกลิ่นที่ส่งผลต่อผู้บริโภค หรือจะนำมาแปรรูปก็สามารถทำได้ทั้ง อบ ผัด นึ่ง ทอด

คุณชัยรัตน์ ไกลนุกูล หรือ คุณต้อม อายุ 31 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 109/4 หมู่ที่ 1 ตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรเพาะด้วงสาคูระบบฟาร์ม คุณชัยรัตน์ เล่าว่า ย้อนกลับไปก่อนจะเกิดโควิด-19 ตนเองมีอาชีพเป็นนักดนตรีและผู้รับเหมาทำระบบไฟฟ้า แต่ด้วยเจอพิษโควิด ทำให้งานดนตรีเงียบหายไปและงานรับเหมาก็น้อยลงเช่นกัน

คุณชัยรัตน์ จึงเกิดคำถามว่า pezmalo.com งานที่เคยทำก็ต้องหยุดลงแต่ยังมีครอบครัวและค่าใช้จ่ายในทุกๆ วัน จึงอยากสร้างรายได้จากพื้นที่บริเวณบ้าน ลงทุนไม่มาก ให้ผลผลิตไว และรายได้ดี เพราะเหตุนี้เองทำให้คุณชัยรัตน์ได้มารู้จักกับด้วงสาคู ต้องบอกเลยว่ากว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ยากมาก แม้จะไปศึกษาจากฟาร์มตัวอย่าง หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกือบทุกที่ ก็ต่างหวงวิชาความรู้

คุณชัยรัตน์จึงได้ทดลองเรียนทั้งผิดและถูกด้วยตัวเอง ต้องยอมรับเลยว่าขาดทุนไปเยอะเหมือนกัน ทั้งจากภัยน้ำท่วมบ้าง ทั้งจากการทดลองที่ผิดพลาดบ้าง แต่ในปัจจุบันนี้ ฟาร์มด้วงสาคูของคุณชัยรัตน์ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทางฟาร์มรับรองเลยว่าหากเป็นมือใหม่เลี้ยงยังไงก็รอด

ปัจจุบัน ฟาร์มด้วงสาคูของคุณชัยรัตน์เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรผู้ที่สนใจเพาะด้วงสาคู และมีการให้ความรู้ ผ่านคลิปวิดีโอเฟซบุ๊ก ที่บอกทุกอย่างทุกเคล็ดลับ เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริงและต่อยอดได้ คุณชัยรัตน์มีอุดมการณ์ที่อยากแบ่งปันความรู้ให้เกษตรกรท่านที่สนใจ เพราะเชื่อว่าด้วงสาคูสามารถทำเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้

คุณชัยรัตน์อธิบายถึงการเลี้ยงด้วงสาคู สิ่งสำคัญในการเลี้ยงด้วงสาคูจะมีอยู่ 3 อย่าง คือ สาคู น้ำ และอาหารหมูใหญ่ โดยใช้อัตราส่วน ดังนี้ สาคู 2 กิโลกรัม น้ำ 2.5 กิโลกรัม และอาหารหมูใหญ่ 4 ขีด นำมาผสมคลุกกันในกะละมังเลี้ยง จากนั้นใส่พ่อแม่พันธุ์ลงไป จำนวน 3 คู่ และใช้กาบสาคูบด ปิดหน้าอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารแห้ง ทำให้ด้วงสาคูโตได้ดี โตเร็ว และกาบสาคูยังเป็นที่วางไข่ให้แก่แม่พันธุ์ด้วย

เมื่อครบ 15 วัน จับพ่อแม่พันธุ์ออก พ่อแม่พันธุ์สามารถวางไข่ได้ 3 รอบ แต่ทางฟาร์มจะให้พ่อแม่พันธุ์วางไข่เพียง 2 รอบเท่านั้น เพราะการวางไข่ในรอบที่ 3 ไข่จะไม่ดก เท่า 1-2 รอบ และทำให้เปลืองต้นทุนในการให้หาอาหาร

พ่อแม่พันธุ์เมื่อวางไข่ในครั้งแรกที่ 1 แล้ว จำเป็นต้องจับออกมาแยกตัวผู้ตัวเมีย และให้อาหารด้วยกล้วยน้ำว้า จะทำให้ไข่ในรอบต่อไปดกยิ่งขึ้น และเช้าในวันรุ่งขึ้นก็สามารถนำพ่อแม่พันธุ์ลงผสมพันธุ์ในรอบที่ 2 ได้เลย โดยใช้อัตราส่วนของอาหารในอัตราส่วนผสมเดิม

หลังจากพ่อแม่พันธุ์วางไข่เรียบร้อยแล้ว นับไปอีก 30 วัน ก็จะได้พบเจอกับด้วงสาคูตัวอ้วนกลมที่จำหน่ายได้แล้ว คุณชัยรัตน์ กล่าวว่า ต่อครั้งของการผสมพันธุ์ ทางฟาร์มได้ผลผลิตที่คงที่คือ ด้วงสาคู 1 กะละมัง ให้น้ำหนัก 8 ขีด – 1 กิโลกรัม และอาหารทุกอย่างที่ด้วงสาคูได้รับ ยืนยันว่าออร์แกนิก ปลอดสารพิษ 100%