การดูแลหลังการเก็บเกี่ยวหลังจากเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจร

เรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดก่อนทำให้แห้ง นำฟ้าทะลายโจรที่เก็บมาล้างน้ำให้สะอาด คัดแยกสิ่่งปนปลอม เช่น วัชพืชที่่ปะปนมา ตัดหรือหั่่นให้มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผึ่่งให้สะเด็ดน้ำแล้วนำมาเกลี่ยบนภาชนะที่สะอาด เช่น กระด้งหรือถาด การตาก ควรคลุุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง เพื่่อป้องกันฝุ่นละอองและกันการปลิวของสมุุนไพรตากจนแห้งสนิท หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน

ที่่อุุณหภููมิ 50 องศาเซลเซียสใน 8 ชั่่วโมงแรก และลดอุณหภููมิเหลือ 40-45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท หลังจากที่ฟ้าทะลายโจรแห้งดีแล้ว ควรนำฟ้าทะลายโจรเก็บใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุง มัดให้แน่น ไม่ควรเก็บฟ้าทะลายโจรไว้ใช้นานเพราะจะทำให้ปริมาณสารสำคัญลดลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นหนึ่งในอาชีพทางเลือกหรืออาชีพเสริมรายได้ที่น่าสนใจ เนื่องจากการบริโภคจิ้งหรีดยังเป็นที่นิยมสูงทั้งในประเทศและตลาดส่งออก เพราะจิ้งหรีดเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ จึงนิยมนำจิ้งหรีดไปปรุงเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งเมนูอาหารทอด ลาบ คั่ว บรรจุกระป๋อง และทำน้ำพริกจิ้งหรีด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น)

ต้นแบบเลี้ยงจิ้งหรีดเงินแสน

หมู่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 8 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง คือแหล่งเลี้ยงจิ้งหรีดที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นรายได้หลัก โดยจิ้งหรีดที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ จิ้งหรีดทองดำและจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง)

จิ้งหรีดจะมีขนาดตัวที่โตเต็มวัยในระยะเวลา 45 วัน เหมาะสำหรับจับขาย เมื่อถึงเวลาจับขาย จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงฟาร์ม การจับจิ้งหรีดทำโดยการนำแผงไข่ออกจากบ่อเลี้ยง ก่อนนำออกจากบ่อเลี้ยงให้สลัดตัวจิ้งหรีดออกให้หมด จากนั้นนำแผงไข่บางส่วนพิงไว้รอบบ่อ จิ้งหรีดจะเข้าไปแอบในแผงไข่นั้นๆ แล้วจึงนำแผงไข่นั้นออกมาสลัดจิ้งหรีดใส่เครื่องกรอง เพื่อกรองเอาเศษที่ไม่ต้องการออก จากนั้นพ่อค้าแม่ค้าจะนำเฉพาะตัวจิ้งหรีดใส่ถุง แล้วน็อกด้วยน้ำแข็งส่งไปยังปลายทางเพื่อจำหน่าย อีกกรณีเมื่อนำแผงไข่ที่มีตัวจิ้งหรีดจากบ่อเลี้ยงออกมาแล้ว นำไปสลัดใส่กรงหรือบ่อเลี้ยงขนาดเล็กที่มีแผงไข่ เพื่อเปลี่ยนที่อยู่ให้กับจิ้งหรีด แล้วขนย้ายไปปลายทางเพื่อจำหน่าย

ในการจับจิ้งหรีดขายแต่ละครั้ง ในบ่อเลี้ยงจะเหลือมูลจิ้งหรีด ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายเป็นปุ๋ยได้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่า มูลจิ้งหรีดมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ามูลไก่ สามารถนำไปใส่ในต้นไม้ได้ทุกชนิด ราคาซื้อขายอยู่ที่กระสอบละ 40 บาท แต่ละบ่อสามารถเก็บมูลจิ้งหรีดขายได้มาก 6-7 กระสอบต่อรอบการจับขาย

คุณเพ็ชร วงค์ธรรม อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านแสนตอ คือหนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีด คุณเพ็ชร เล่าว่า จิ้งหรีดทองดำใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 40-45 วัน จำหน่ายโดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงฟาร์มในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนจิ้งหรีดแดงทองลายใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ย รุ่นละ 45-50 วัน ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 80 บาท โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 6 รุ่น ผลผลิตในแต่ละรุ่นขึ้นอยู่กับปริมาณไข่ที่นำมาเลี้ยงในแต่ละบ่อ มีต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 41 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้สุทธิจากการขายจิ้งหรีดเฉลี่ย 27,244 บาทต่อรุ่น หรือ 163,464 บาทต่อปี

เนื่องจากการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพที่สามารถใช้แรงงานในครอบครัวได้โดยไม่ต้องมีการจ้างแรงงาน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว คุณเพ็ชร จึงพัฒนาฟาร์มจิ้งหรีดให้ได้รับมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นและไว้วางใจในการบริโภคจิ้งหรีด ตลอดจนแนะนำให้เกษตรกรในหมู่บ้านหันมาเลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับผู้สนใจอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดสามารถขอคำแนะนำการเลี้ยงจาก คุณเพ็ชร วงค์ธรรม ได้ที่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 8 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ยุคนี้ คนไทยใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเพราะสินค้าครองชีพมีราคาแพงแทบทุกอย่าง ทำให้นึกถึงคำพูดของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งวงการเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ว่า “เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง” ถือเป็น อมตะวจี ที่เข้ากับทุกยุคทุกสมัยจริงๆ

สำหรับใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัว อยากแนะนำให้ลองมาปลูกไผ่ สร้างรายได้กันดีกว่า ไผ่มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่หม่าจู ไผ่ซางหม่น ไผ่ไจแอนท์ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่ตงหม้อ ไผ่หก ไผ่ข้าวหลาม ไผ่บงหวาน ไผ่ดำ ฯลฯ ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ

ไผ่ตงลืมแล้ง มีจุดเด่นเรื่องหน่อโต คุณภาพดีและให้ผลดกกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี จะให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัม/กอ/ปี

นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมากและสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ตลาดต้องการ หน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาท/กิโลกรัม แต่การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ

เทคนิคการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง จึงจะให้ผลผลิตที่ดี ควรปลูกในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วน ดินเหนียว ส่วนดินที่เป็นกรด เป็นทรายมากๆ สำหรับสภาพดินลูกรังจะไม่แนะนำให้เกษตรกรปลูก

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ ดินทราย หรือดินลูกรัง ควรหาดินมาถมให้มีหน้าดินหนาประมาณ 30-50 เซนติเมตร อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ คือก่อนปลูกควรขุดหลุม กว้าง-ยาว 1 เมตร ลึก 0.5 เมตร นำหน้าดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อินทรียวัตถุเติมลงไปให้เต็มแล้วค่อยปลูก วิธีนี้ก็จะให้ผลผลิตได้ดีเช่นกัน หากปลูกในพื้นที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ ดินจะเก็บความชื้นได้ดี จะให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีกว่าแหล่งปลูกในพื้นที่ดอน

เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูก ไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่แค่ 1-2 ลำ เท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล

แปลงปลูกไผ่สามารถให้น้ำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสภาพพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้ การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะน้ำที่ผ่านจากหัวสปริงเกลอร์จะผ่านอากาศ (ไนโตรเจน, ออกซิเจน) ก่อนที่จะตกสู่พื้นดิน ทำให้น้ำมีความเย็น อากาศมีความชื้นสูง ช่วยให้หน่อไม้เติบโตเร็ว แต่การให้น้ำวิธีนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงอยู่บ้าง

ส่วนเทคนิคการให้น้ำแบบสูบลาดตามร่อง ควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อย และควรมีการกรีดยกร่องก่อนปลูก แล้วปลูกลงในร่องวิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้น้ำแบบสายยางรดเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกขนาดเล็กและเกษตรกรที่มีเวลาในการดูแลสวน

หากปลูกไผ่ในสภาพดินที่ดี แค่ให้ปุ๋ยคอกเพียง 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว ไม่แนะให้ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะจะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็วและสิ้นเปลืองต้นทุน เมื่อปลูกไผ่ครั้งแรก ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก จำนวน 2 กิโลกรัม/กอ อีก 4 เดือน ให้ใส่เพิ่มเป็น 4 กิโลกรัม/กอ หากใครเลี้ยงหมู ไก่ วัว ฯลฯ สามารถนำมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยคอก ก็ช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรควรหาปุ๋ยน้ำขี้หมู มาใช้ในสวนไผ่ เพราะต้นไผ่จะสามารถเติบโตได้ดีและมีผลผลิตมาก

หากเป็นไปได้ แนะนำให้เกษตรกรปลูกไผ่ก่อนเดือนมิถุนายน เพราะต้นไผ่จะมีอายุมากพอที่จะทำหน่อนอกฤดูได้ในปีถัดไป การไว้ลำแม่เพื่อจะทำหน่อนอกฤดูควรไว้หน่อช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพราะเป็นระยะเหมาะสมที่สุด ลำต้นแม่ จะไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป

หลังจากนั้น ให้ตัดแต่งกิ่งภายในเดือนพฤศจิกายน โดยเลือกลำแม่ไว้เพียงกอละ 1-2 ลำ เท่านั้น ลำที่มีระยะเหมาะสมคือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโต 1.5-2 นิ้ว จะดีที่สุด ถ้ามีหน่อหลุดออกมาหลังจากนี้ให้คอยตัดออกทั้งหมด อย่าไว้ลำอีกเด็ดขาด

ต้นเดือนมกราคม ควรให้ปุ๋ยและคุมฟางที่โคนกอ และเริ่มให้น้ำประมาณปลายเดือนมกราคม ช่วงแรกควรให้น้ำบ่อยและให้ดินเปียกโชก พออากาศเริ่มอุ่นไผ่จะเริ่มแทงหน่อ ควรให้น้ำน้อยลง เริ่มเก็บหน่อช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม (นอกฤดู) หลังจากตัดหน่อไปได้สัก 2-3 หน่อ/กอ ควรใส่ปุ๋ยคอกอีกรอบ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัม ต่อหนึ่งนอกฤดูกาล ราคาที่ขายได้ 40-70 บาท/กิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาท/กอ ทำให้มีรายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมรายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

โดยทั่วไป พื้นที่ปลูกไผ่ 4 ไร่ 1,000 กอ จะเก็บหน่อไม้ได้ประมาณวันละ 40-50 กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 40-60 บาท ทำให้มีรายได้วันละ 1,600-2,500 บาท ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้งาม… จนน่าอิจฉาทีเดียว

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รู้ว่าอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการกักตัวอยู่บ้าน เพราะช่วงที่มีประกาศจากภาครัฐให้ลดการออกจากบ้าน เพื่อช่วยหยุดเชื้อลดการติดต่อของโรคโควิด-19 ทำให้ช่วงเวลานั้นเกษตรกรหลายท่านที่ทำเกษตรแบบผสมผสานในบริเวณบ้านของตนเอง สามารถมีแหล่งอาหารที่สามารถนำมาประกอบอาหารเองได้ พร้อมกับส่วนที่เหลือนอกจากแจกจ่ายให้กับญาติแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้เป็นเงินนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีกด้วย ทำให้แม้ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ผู้ที่ทำเกษตรรอบบ้านยังสามารถมีผลผลิตกินเองและสร้างรายได้อีกด้วย

คุณเชษฐา แก้วทับคำ อยู่บ้านเลขที่ 226 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จงหวัดตาก ทำเกษตรแบบผสมผสาน บนเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ พร้อมทั้งมีการสร้างปุ๋ยหมักและน้ำหมักใช้เอง จึงทำให้ผลผลิตที่ปลูกสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี และนอกจากมีผลผลิตไว้ใช้บริโภคเองภายในครัวเรือนแล้ว ส่วนที่มีมากก็นำมาจำหน่ายสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทาง ทำให้ผู้คนในหมู่บ้านเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานตามวิถีของเขา จึงส่งผลให้บ้านของเขาเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตร

คุณเชษฐา เล่าว่า ช่วงแรกทำการเกษตรแบบเน้นพืชไร่เพียงอย่างเดียว เมื่อราคาผลผลิตที่ได้บ้าง ช่วงได้ราคาที่น้อยลงทำให้เงินที่ได้ไม่เพียงพอกับต้นทุนที่ลงไป ทำให้เมื่อทำไปเป็นระยะเวลานานเกิดหนี้สินมากขึ้น ประมาณปี 2558 จึงได้ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ เน้นปลูกพืชแบบผสมผสานด้วยการทำพืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมง แบ่งเป็นสัดส่วนอย่างมีระบบในพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่

“พอเรานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ การทำเกษตรของเราก็เริ่มมีระบบมากขึ้น เพราะไม่ต้องใช้สารเคมีมากนัก เราเน้นทำเกษตรที่เน้นความปลอดภัย มีการใช้น้ำหมัก ปุ๋ยพืชสดที่กรมพัฒนาที่ดินมาช่วยอบรม เราก็นำมาดำเนินการปลูกพืชผักสวนของเรา พร้อมทั้งผมได้ไปอบรมตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ ทำให้สิ่งที่เราเรียนรู้มาสามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างลงตัว และเกิดประโยชน์กับการทำเกษตรบริเวณรอบบ้านของเราได้อย่างลงตัว” คุณเชษฐา เล่าถึงการปรับปลี่ยนการทำเกษตร

โดยเนื้อที่รอบบ้านทั้งหมด คุณเชษฐา บอกว่า แบ่งปลูกไม้ยืนต้นหลายชนิด เช่น พะยูง สัก ส่วนไม้ผลหลักๆ ก็จะเป็นอะโวกาโด ลองกอง และพืชผักสวนครัวอีกมากมายที่ต้องใช้ภายในครัวเรือนเพื่อประกอบอาหาร จึงทำให้รายได้ประจำรายวันส่วนใหญ่เกิดจากการจำหน่ายพืชผักสวนครัว รายได้ประจำสัปดาห์เกิดจากการจำหน่ายปลานิลที่เลี้ยงภายในบ่อที่ขุดไว้ และสัตว์ปีกอื่นๆ และรายได้ประจำปีเกิดจากการจำหน่ายข้าวโพดที่ปลูกไว้บ้างบางส่วน แต่หลักๆ แล้วที่บ้านของเขาจะเน้นในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสานมากกว่าการทำเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว จึงทำให้เวลานี้ครอบครัวเริ่มมีเงินเก็บมากขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยก่อนแล้วมีหนี้สินเป็นหลักแสนบาท และมองไม่เห็นถึงความยั่งยืนของการทำเกษตรของตนเอง

ซึ่งการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อนำมาปฏิบัติอยู่เสมอพร้อมกับทำบัญชีรายรับรายจ่ายอยู่เป็นประจำ ช่วยให้รู้ว่า แต่ละช่วงเสียเงินไปกับเรื่องใดบ้าง จากนั้นนำมาปรับเปลี่ยนในเรื่องต่างๆ จึงทำให้มีเงินเก็บสะสมอยู่เสมอ จึงไม่มีหนี้สินเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต และที่สำคัญการทำเกษตรให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น คุณเชษฐา บอกว่า ต้องหมั่นเรียนรู้และเข้ารับการอบรมอยู่เสมอ จะทำให้เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ รอบรู้เท่าทัน ว่าการเกษตรช่วงเวลานี้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ หรือการตลาดไปในทิศทางใด ก็จะยิ่งช่วยให้ผลผลิตที่จะปลูกออกมานั้นตลาดต้องการแบบไหน

“ผลผลิตที่อยู่ภายในสวน ใน 1 อาทิตย์ เราก็จะเอาผลผลิตไปขาย 4-5 วัน ตามตลาดนัดชุมชน จะไม่ขายทุกวัน เพราะบางช่วงพืชผักออกไม่ทัน เราก็จะมีเวลาพักบ้าง เฉลี่ยแล้ว 1 อาทิตย์ สามารถขายผลผลิตได้ประมาณ 3,000-5,000 บาท ไม่ต้องกังวลในเรื่องของราคาสินค้าตกต่ำ เพราะเรามีสินค้าทางการเกษตรหลายตัว สมมุติบางตัวราคาตกต่ำ เราก็ยังมีสินค้าอย่างอื่นที่สร้างรายได้อีกทาง เพราะฉะนั้นเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ที่ยั่งยืน” คุณเชษฐา บอก

นอกจากนี้ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่วิกฤตสุดๆ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คุณเชษฐา บอกว่า สินค้าเกษตรในสวนของเขายังสามารถจำหน่ายได้ปกติ พร้อมทั้งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต้องถูกเลิกจ้างงาน หรือผู้ที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเป็นระยะเวลานาน ได้ติดต่อเข้ามาเรียนรู้การทำเกษตรในพื้นที่บ้านเขาอีกด้วย จึงทำให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต

แม้ช่วงที่รัฐบาลมีคำสั่งให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดเชื้อ แต่ด้วยบ้านของเขามีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย จึงสามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างสบายโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน จึงเป็นทางรอดที่ทำให้สามารถรอดพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปได้ รวมถึงสภาเศรษฐกิจตกต่ำด้วย

“ช่วงโควิดช่วงที่เราไม่ต้องออกจากบ้าน แต่เรามีทุกอย่าง พืชผัก และสัตว์เลี้ยง ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า การเกษตรเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็ต้องกลับมาสู่ธรรมชาติ กลับมาอยู่ในวิถีของเกษตร จากช่วงโควิดที่ผ่านมา มีคนเข้ามาศึกษาการทำเกษตรจากผมค่อนข้างเยอะ เพราะด้วยอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิด เพราะฉะนั้นอย่าได้ท้อ ค่อยๆ เรียนรู้ และทำด้วยใจรัก รายได้จะเกิด และช่วยให้เรามีเงินเก็บได้ไม่ยาก” คุณเชษฐา บอก

สนใจเรื่องการทำเกษตรผสมผสาน เพื่อก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 โดยใช้วิถีทางการเกษตรเป็นทางออก สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเชษฐา แก้วทับคำ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ปลูกโกโก้และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคและเป็นขนมหวานทั้งในประเทศและส่งออกเมล็ดโกโก้สู่ตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปลูกโกโก้กันมานานแล้วก็ตาม พื้นที่ปลูกกันมากส่วนใหญ่จะปลูกกันทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร มีบางจังหวัดในภาคตะวันออก ซึ่งมีปลูกกันมาก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ในภาคอื่นๆ ก็สามารถปลูกได้แต่ก็จำกัดด้วยดินฟ้าอากาศ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นจึงทำให้ได้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้รับซื้อและผู้ประกอบการ กรมวิชาการเกษตรได้พยายามปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ชุมพร 1 และให้เกษตรกรทำการปลูกแซมในสวนไม้ผล สวนมะพร้าว สวนยางพารา เพื่อให้โกโก้เป็นพืชทางเลือกอีกทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2547-2557 มีความต้องการบริโภคโกโก้ในประเทศสูงขึ้นถึงปีละ 20,000 ตัน ในปี 2556 มีการส่งออกเมล็ดโกโก้และผลิตภัณฑ์ประมาณ 3,000 ตัน แต่ปริมาณการผลิตเมล็ดโกโก้ของประเทศมีประมาณ 200 ตัน

ในปี 2551 ไทยมีการนำเข้าโกโก้ปริมาณ 38,847.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,978.55 ล้านบาท โดยมีแหล่งนำเข้าเมล็ดโกโก้หลัก 3 อันดับ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกานา จากการที่มีการนำเข้ามากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกโกโก้และผลผลิตไม่เพิ่มมากขึ้นและพื้นที่การปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกดังกล่าว รวมทั้งต้นทุนการผลิตของเกษตรกรค่อนข้างสูง ราคารับซื้อในประเทศยังไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่การปลูกและยังไม่แน่ใจในแหล่งรับซื้อโกโก้

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ส่งออกโกโก้และผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวมากขึ้น เช่นในปี 2551 ปริมาณส่งออก 18,482.35 เมตริกตัน มูลค่าหลัก 2,180.19 ล้านบาท ตลาดหลักได้แก่ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และมาเลเซีย

คุณอนุสรณ์ สุวรรณเวียง วิศวกรการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เนื่องจากเมล็ดโกโก้ตากแห้งเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นที่กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตได้เองเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าก่อนส่งขายโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ขั้นตอนการทำเมล็ดโกโก้ตากแห้ง เริ่มจากการแกะเมล็ดโกโก้ออกจากผลโกโก้ เมื่อแกะเมล็ดโกโก้ออกจากผลแล้วจะต้องนำมาหมักอีก 6 วัน เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่ดีขึ้น หลังจากนั้น จึงนำเมล็ดโกโก้มาตากแห้งประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดความชื้นจาก 60 เปอร์เซ็นต์ให้เหลือ 7 เปอร์เซ็นต์

คุณอนุสรณ์ กล่าวว่า เมล็ดโกโก้ที่แห้งแล้วจะถูกนำมารวบรวมบรรจุในกระสอบและจัดส่งไปยังโรงงาน ขั้นตอนการทำเมล็ดโกโก้ตากแห้ง เริ่มจากการแกะเมล็ดโกโก้ออกจากผล ใช้แรงงานคนทั้งสิ้น การใช้แรงงานคนทำให้ความสามารถในการทำงานต่ำ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแรงงานอีกด้วย

จากข้อมูลการสำรวจต้นทุนการแกะและหมักเมล็ดโกโก้ที่สหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ จำกัด จังหวัดจันทบุรี พบว่า ผลโกโก้ 20 ตัน มีต้นทุนค่าแรงงาน 18,000 บาท โดยใช้แรงงานคน 30 คน ค่าแรง 300 บาทต่อวัน และต้องใช้เวลา 2 วัน

คุณอนุสรณ์ กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวความคิดที่จะวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล เพื่อที่จะลดการใช้แรงงานคนในกระบวนการผลิตเมล็ดโกโก้แห้ง ลดเวลาการทำงานและเพิ่มกำลังการผลิตในขั้นตอนการแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล ก่อนที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการหมักเพื่อนำไปผลิตเป็นเมล็ดโกโก้แห้งและนำไปเป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ช็อกโกแลต และขนมหวานต่อไป

ศึกษาขั้นตอนการแกะเมล็ดโกโก้ของเกษตรกร

คุณอนุสรณ์และคณะวิจัย ได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลกระบวนการนำเมล็ดโกโก้ออกจากผลของเกษตรกร ศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นของวิธีการต่างๆ โดยร่วมมือกับเกษตรกรเพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ปัญหา ต่อจากนั้นได้ทำการออกแบบสร้างเครื่องต้นแบบแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล ศึกษาปัจจัยต่างๆ ของอุปกรณ์ที่มีผลต่อการแยกเมล็ดออกจากผล จากนั้นได้ทำการทดสอบอุปกรณ์ต้นแบบเบื้องต้น ปรับปรุงแก้ไขเก็บข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ที่เหมาะสม นำอุปกรณ์ต้นแบบไปทดสอบเก็บข้อมูลจริงกับกลุ่มเกษตรกร

ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพและปริมาณการแยกเปลือกกับเมล็ดโกโก้ระหว่างการใช้แรงงานคนกับวิธีใช้เครื่องต้นแบบ และสุดท้ายทำการวิเคราะห์ผลทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

คุณอนุสรณ์ บอกว่า จากการสำรวจเก็บข้อมูลขั้นตอนการแกะเมล็ดโกโก้ออกจากผลของกลุ่มเกษตรกรที่สหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ จำกัด จันทบุรี พบว่า เกษตรกรมีเงื่อนไขการแกะเมล็ดโกโก้ดังนี้ 1. เมล็ดโกโก้ต้องไม่งอก 2. ต้องแยกเมล็ดออกจากพวงและเปลือก 3. เมล็ดโกโก้ที่แยกออกจากเปลือกแล้วจะต้องไม่แห้งจนเกินไป หรือนำน้ำมาผสมจนเหลว เนื่องจากต้องนำเมล็ดไปทำการหมักต่อไป เพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้มีคุณภาพดีขึ้น

ใช้เวลา 2 ปี ได้เครื่องต้นแบบ

คุณอนุสรณ์ หัวหน้าคณะทำงานศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผลเพื่อลดการใช้แรงงานคนและลดต้นทุนการผลิตบอกว่า เริ่มตั้งแต่ทำการออกแบบและสร้างเครื่องแยกเมล็ดโกโก้ ศึกษาปัจจัยต่างๆ ของเครื่องมือที่มีผลต่อการแยกเมล็ดออกจากผลโกโก้ทำการทดสอบเครื่องเบื้องต้น ปรับปรุงแก้ไขเครื่องให้สมบูรณ์ใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึง กันยายน 2561 เป็นเวลา 2 ปี

“เราก็ได้เครื่องต้นแบบแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.80 เมตร ใช้กำลังมอเตอร์ไฟฟ้า 1 แรงม้า ซึ่งประกอบด้วยชุดผ่าผลโกโก้ ซึ่งใช้ใบมีดทำจากวัสดุเหล็กชุบแข็ง และชุดคัดแยกเมล็ดโกโก้”

ผลการเปรียบเทียบระหว่างการใช้แรงงานแยกเมล็ดโกโก้กับการใช้เครื่องต้นแบบ สล็อตออนไลน์ พบว่าเครื่องต้นแบบมีความสามารถในการทำงาน 1,400 ผลต่อชั่วโมง ส่วนแรงงานคนมีความสามารถในการทำงาน 235 ผลต่อชั่วโมงต่อคน ด้านคุณภาพการใช้แรงงานไม่มีความเสียหายต่อเมล็ด ส่วนเครื่องต้นแบบมีความเสียหาย 4% ของเมล็ดหลังการตัด ซึ่งผู้ประกอบการยอมรับได้

เนื่องจากต้นทุนการใช้งานเครื่องแยกผลโกโก้ 84 บาทต่อกิโลกรัม มีจุดคุ้มทุนของการใช้งานเครื่องคัดแยกเมล็ดโกโก้ 6.05 ตันต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี อัตราผลตอบแทนเงินลงทุนเครื่องแยกเมล็ดโกโก้ออกจากผล 67.75 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง หากพูดถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย อย่าง อินทผลัม และได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อวงการผลไม้ในประเทศไทยได้ประมาณ กว่า 10 ปีแล้ว เกษตรกรมากมายต่างให้ความสนใจเนื่องจากเป็นพืชกระแสมาแรงในขณะนั้น อีกทั้งมีราคาที่หอมหวาน กิโลละไม่ต่ำกว่า 600-700 บาท นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกเป็นอย่างดี ผู้ปลูกอินทผลัมในระยะแรกยังมีไม่มาก แต่เมื่อภายหลังตลาดเริ่มมีความชัดเจนขึ้นและมีราคาขายที่ไม่สู้ดีนัก จึงเป็นเหตุให้เกษตรกรหลายรายต่างหันมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจเพิ่มเติม จากแทนที่จะเป็นสวนอินทผลัมเพียงอย่างเดียว ก็ปรับปรุงทำให้เป็นสวนผสมผสาน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรไปในตัวเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่จากนักท่องเที่ยว

คุณภีมพัฒน์ ภาณุพลเพชรรัตน์ หรือ พี่แจ็ค เจ้าของ เทพสถิต สวนอินทผลัม ตั้งอยู่เลขที่ 212 หมู่ที่ 12 ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อดีตทำธุรกิจทัวร์ ผันตัวเองเป็นเกษตรกรทำสวนผสมผสานบนพื้นที่ 16 ไร่ โดยมีอินทผลัมเป็นพืชหลัก สร้างรายได้จำนวน 150 ต้น และปลูกไม้ผลผสมผสาน เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามาให้ได้มีผลไม้นานาชนิดให้เลือกชิมกันตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนสายพันธุ์หายาก ฝรั่ง ลิ้นจี่ หรืออะโวกาโด สายพันธุ์แท้จากประเทศนิวซีแลนด์ รวมถึงมะม่วงยายกล่ำ ของดีเมืองนนท์ และอื่นๆ อีกมากมาย ก็มีครบจบที่สวนแห่งนี้ เรียกได้ว่านักท่องเที่ยวที่ได้แวะเวียนเข้ามาแล้วไม่ผิดหวัง ท่านจะได้ทั้งความหลากหลาย ได้ความผ่อนคลายสบายใจ ได้อิ่มท้อง และได้รูปถ่ายสวยๆ กลับไปอวดคนที่บ้านได้หลายใบอย่างแน่นอน