การดูแลแปลงนอกเหนือจากการลงแปลงปกติของนักเรียนทุกระดับ

ในวิชาเรียนการงานพื้นฐานอาชีพ ครูภิรมย์ลักษณ์ บอกว่า จะจัดแบ่งหน้าที่การดูแลแปลงให้กับนักเรียนในกลุ่มยุวเกษตร ต้องรดน้ำเช้าและเย็น จัดเป็นตารางเวร ส่วนวันหยุดหรือเสาร์อาทิตย์ จะมอบหมายให้นักเรียนที่บ้านอยู่ใกล้โรงเรียนมาดูแล

เด็กชายจักรพรรดิ์ เรืองทิม หรือ น้องหยี อายุ 11 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กล่าวว่า รักต้นไม้ ชอบการปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้ให้ความร่มรื่นและให้ร่มเงา ให้ความสดชื่นและทำให้วิวสวย เคยนำต้นไม้ที่เพาะจากโรงเรียนไปปลูกที่บ้าน เช่น ดอกชวนชม กระบองเพชร เป็นต้น

ส่วน เด็กหญิงปาณิตา เทียนสมจิตร หรือ น้องแก้ม อายุ 10 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า การเรียนในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ และได้ลงแปลงเกษตรเป็นสิ่งที่ชอบ เมื่อมีวิชาเลือกให้เลือกในคาบเรียนพิเศษ จึงเลือกลงกลุ่มผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และได้ลงมือทำหลายอย่าง เช่น การปักชำด้วยวิธีควบแน่น ที่ ครูอุไร เล็กกระโทก เป็นครูผู้สอน สอนให้ปักชำต้นไม้หลายชนิด ซึ่งตนเลือกปักชำต้นมะลิ เพราะอยู่ในช่วงวันแม่แห่งชาติที่ผ่านมา

โรงเรียนแห่งนี้ แม้จะมีนักเรียนไม่มาก แต่ก็เห็นคุณค่าของการทำเกษตรกรรม จึงจัดสรรแปลงผักไว้ต่างหาก ซึ่งที่ผ่านมาแปลงผักแห่งนี้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องของการซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวันได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสภาพการเรียนการสอนในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ ที่มีการเกษตรเกี่ยวข้องอยู่ด้วยแล้ว เห็นว่า โรงเรียนแห่งนี้ยังต้องการแรงสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีในอีกหลายเรื่อง อย่างไรสามารถติดต่อได้ที่ โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะเกษตรกรดูแลฟื้นฟูพืชหลังประสบภัยน้ำท่วมจากพายุ “โพดุล” และ “คาจิกิ” พร้อมแจงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยตามพื้นที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน 30 ไร่

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โพดุล” และดีเปรสชั่น “คาจิกิ” กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของพื้นที่การเกษตรหลังน้ำลดทันที พร้อมแนะนำให้เกษตรกรดูแลข้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักสำคัญ โดยเฉพาะบางพื้นที่มีพืชต้องเร่งเก็บเกี่ยวเพื่อหนีน้ำ ดังนี้

ข้าว ในกรณีที่น้ำท่วมขังไม่นาน น้ำสูงไม่ถึงยอดข้าว และต้นข้าวยังไม่ตาย ให้รีบระบายน้ำออกจากแปลงนาให้เหลือ 5 – 10 เซนติเมตร และให้ฟื้นฟูข้าวหลังจากน้ำลด โดยที่ต้นข้าวยังเขียวอยู่เกิน 3 วัน หากต้นข้าวในนามี สีเขียวมากขึ้นไม่ต้องใส่ปุ๋ย ให้ดูแลโรคและแมลงอย่าให้รบกวนเท่านั้น แต่หากต้นข้าวในนาเริ่มมีอาการสีเหลืองที่ใบ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 3 – 5 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นข้าว (ไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียมากเกินคำแนะนำ เพราะจะทำให้ต้นข้าวเกิดโรคได้) สำหรับแปลงนาที่ข้าวออกรวง ให้ระบายน้ำจนแห้งและห้ามใส่ปุ๋ยเพราะจะทำให้ดินร้อน และต้นข้าวตายง่ายขึ้น ในกรณีที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวระยะสุกเต็มที่เพื่อหนีน้ำ ให้นำข้าวที่เก็บเกี่ยวไปตากเพื่อลดความชื้นโดยเร็ว สำหรับแปลงข้าวที่ตายเสียหายโดยสิ้นเชิง ให้เกษตรกรติดต่อขอรับการช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไว้

ไม้ผล ไม้ยืนต้น หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะต้นที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมและอาจตายได้ ดังนั้น เพื่อช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12 – 12 – 12 หรือ 12 – 9 – 6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21 – 21 – 21 และ 16 – 21 – 27 ละลายน้ำพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้ สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 30 – 15 จำนวน 20 กรัม ผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร เติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น และพ่นสัก 2 – 3 ครั้ง

สำหรับในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว และต้องการจะปลูกพืชใหม่ อาจทำได้ 2 วิธี คือ 1. ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา และกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว ลดการรบกวนดิน และ 2. ปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ หากมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกซึ่งเสียหายโดยสิ้นเชิง จะมีการให้ความช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน 30 ไร่ ได้แก่ ข้าว อัตราไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 1,148 บาท พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 1,690 บาท ทั้งนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติและผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตพื้นที่การให้ความช่วยเหลือฯ เกษตรกรต้องยื่นแบบความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) โดยให้ผู้นำท้องถิ่นรับรอง ก่อนจะมีการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกร และพื้นที่เสียหายจริง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

เสวนาเชิงปฏิบัติการ กับ เทคโนโลยีชาวบ้าน พาไปชม… มะพร้าวน้ำหอมยุคดิจิตอล

เสวนาเชิงปฏิบัติการ กับ เทคโนโลยีชาวบ้าน “เรียนให้รู้ ดูให้ทำเป็น เด่นทางด้านการตลาด” ชมกิจการมะพร้าวอย่างครบวงจร ปลูก แปรรูป และช่องทางการจำหน่าย จังหวัดราชบุรี

กำหนดการวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562 07.00 น. ออกจาก บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

09.00 น. ถึงสวนเดี่ยว บ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

09.45 น. เรียนรู้นวัตกรรมมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์กับ “พิทักษ์ พึ่งพเดช” หรือ คุณเดี่ยว วัย 31 ปี เกษตรกรรุ่นใหม่ก้าวทันยุตดิจิทัล! เจ้าของแบรนด์ “เดี่ยว บ้านแพ้ว” ทำตลาดเองทั้งหมด ไม่ส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง ขายสินค้าผ่านสื่ออนไลน์ และออกงานอีเว้นต์แต่ละครั้ง ลูกค้าเข้าคิวยาว

เรียนรู้…

– การทำสวนมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เก็บผลขายมากกว่า 20,000 ลูกต่อครั้ง

– นวัตกรรมแปรรูปมะพร้าวให้ได้ผลกำไรสูง เช่น มะพร้าวผง มะพร้าวแก้ว ฯลฯ

– เทคนิคการขายสินค้า ที่ไม่ง้อพ่อค้าคนกลาง 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. เดินทางไปสวนมะพร้าวน้ำหอม ของ คุณบวร ศาลาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกมะพร้าวก้นจีบคุณภาพดี โดยใช้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าโยกหลัง สามารถตัดผลมะพร้าวได้ทุก 20 วัน หรือ 18 ครั้ง ต่อปี

– การปลูกขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมก้นจีบ

– เทคนิคการใส่ปุ๋ยและน้ำ ให้มะพร้าวมีผลติดทั้งปีไม่ขาดคอ

– การดูแลป้องกันโรคและแมลงในสวนมะพร้าว

14.30 น. ชิมไอศกรีมมะพร้าวที่สวนมะพร้าว ของ คุณจรัญ เจริญทรัพย์ ประธานสภายุวเกษตรจังหวัดราชบุรี อดีตคนจน พลิกชีวิตเป็นเศรษฐี มะพร้าวสร้างฐานะ เริ่มจาก 1 ไร่ เป็น 100 ไร่

– จุดเปลี่ยน “มะพร้าวสร้างฐานะ”

– การผลิตมะพร้าวแช่แข็งป้อนตลาดเบเกอรี่

18.00 น. เดินทางกลับ ถึง กทม. อย่างปลอดภัย

*ค่าใช้จ่าย ท่านละ 1,200 บาท

หมายเหตุ กรณีลูกค้าโอนเงินมาแล้ว ไม่มาร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินในทุกกรณี

ผู้สนใจ สมัครจองที่นั่งก่อน แล้วโอนเงิน (ตามจำนวนที่ระบุ) เข้า ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนประชาชื่น เลขที่บัญชี 193-079484-5 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) Fax (02) 580-2300 เลขที่ผู้เสียภาษี 0107536001451 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 580-0021 ต่อ 2335, 2339, 2342, 2343 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.technologychaoban.com หรือ www.facebook.com/Technologychaoban

“เฉลิมชัย” ห่วงเกษตรกร จี้ทุกหน่วยงานระดมความช่วยเหลือเกษตรกรพื้นที่ประสบภัย พร้อมเตรียมมาตรการฟื้นฟูอาชีพและปัจจัยการผลิตเสริมรายได้ให้ครอบคลุมเกษตรกรที่ประสบภัยระหว่างรอการเพาะปลูกรอบใหม่

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากอธิบดีกรมชลประทานว่า มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัยจากพายุโพดุลและคาจิกิรวม 27 จังหวัด ปัจจุบัน (10 ก.ย. 62) ยังมีพื้นที่น้ำท่วม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สกลนคร นครพนม และศรีสะเกษ ส่วนที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วมี 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มุกดาหาร สระแก้ว ชุมพร และระนอง จึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความเสียหายของพื้นที่เกษตรทั้งด้านพืช

ปศุสัตว์ และประมงอย่างต่อเนื่อง แล้วรายงานเข้ามายังศูนย์เฝ้าระวังและบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกวัน ทั้งนี้ พื้นที่ใดทางจังหวัดประกาศเป็นเขตภัยพิบัติให้เร่งจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ให้ประชุมหารือเพื่อกำหนดมาตรการฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงโดยอาจสนับสนุนพันธุ์พืช-พันธุ์สัตว์และปัจจัยการผลิต รวมถึงแนวทางอื่นเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวระหว่างกลับมาทำการเกษตรรอบใหม่

ด้าย นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายของพื้นที่การเกษตรหลังน้ำลดทันที พร้อมแนะนำให้เกษตรกรดูแลข้าวและไม้ผลซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักสำคัญ สำหรับนาข้าวนั้น กรณีที่น้ำท่วมขังไม่นาน น้ำสูงไม่ถึงยอดข้าวและต้นข้าวยังไม่ตาย ให้รีบระบายน้ำออกจากแปลงนาให้เหลือ 5-10 เซนติเมตร จากนั้นให้ฟื้นฟูข้าวหลังจากน้ำลด หาก 3 วันผ่านไป ต้นข้าวในนามีสีเขียวมากขึ้นไม่ต้องใส่ปุ๋ย ดูแลไม่ให้โรคและแมลงรบกวนเท่านั้น แต่หากต้นข้าวมีอาการใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 3-5 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับแปลงนาที่ข้าวออกรวงแล้วให้ระบายน้ำจนแห้งและห้ามใส่ปุ๋ยเพราะจะทำให้ดินร้อนและต้นข้าวจะตาย กรณีที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวระยะสุกเต็มที่เพื่อหนีน้ำให้นำข้าวที่เก็บเกี่ยวไปตากเพื่อลดความชื้นโดยเร็ว สำหรับแปลงที่ต้นข้าวตายโดยสิ้นเชิงให้เกษตรกรติดต่อขอรับการช่วยเหลือที่สำนักงานเกษตรอำเภอตามที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไว้

ส่วนไม้ผลและไม้ยืนต้นนั้น หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ ห้ามบุคคลและสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาดเพราะต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขัง หากดินอัดแน่นจะเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมและอาจตายได้ ดังนั้น เพื่อช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้นควรมีพ่นปุ๋ยทางใบเพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำพ่นให้แก่พืช นอกจากนี้ สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเดกซ์โทรส 600 กรัม ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 จำนวน 20 กรัม ผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร แล้วเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น และพ่นสัก 2-3 ครั้ง สำหรับในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว หากต้องการจะปลูกพืชใหม่อาจทำได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบาและทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งซึ่งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย อีกวิธีคือ ปลูกแบบไม่ไถพรวนซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่

ด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบด้านปศุสัตว์รวม 1,084 หมู่บ้าน 226 ตำบล 72 อำเภอ ใน 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครพนม มหาสารคาม ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี เกษตรกรที่ประสบภัย 35,446 ราย ซึ่งได้ช่วยเหลือเฉพาะหน้าด้วยการอพยพสัตว์หนีน้ำ 71,261 ตัว รักษาสัตว์ 16,679 ตัว ส่งเสริมและดูแลสุขภาพสัตว์ 5,918 ตัว สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 420,540 กิโลกรัม และถุงยังชีพ 144 ถุง ขณะนี้เร่งสำรวจความเสียหายในพื้นที่ที่น้ำลดแล้วเพื่อช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป

ส่วน นายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน 20 จังหวัดได้รับความเดือดร้อน ได้แก่ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ กระบี่ และตรัง เนื่องจากสัตว์น้ำที่ใกล้จับจำหน่ายได้หลุดลอยไปกับน้ำหลากเกือบทั้งหมด จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ 29,883 ไร่ เกษตรกรเดือดร้อน 25,286 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง เลี้ยงปลาดุก กบ และกุ้งก้ามกรามในบ่อ มูลค่าความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท ขณะนี้ยังให้สำนักงานประมงพื้นที่สำรวจอย่างต่อเนื่องแล้วรายงานมายังกรมทุกวัน จากการสอบถามนั้น เกษตรกรต้องการกลับมาประกอบอาชีพประมงรอบใหม่โดยเร็ว แต่ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านเงินลงทุน จึงต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะได้นำเสนอผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณาต่อไป

วันที่ 10 กันยายน 2562 นายยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ ร่วมจัดงานรณรงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลสระบัว ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้รับเกียรติจาก นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อม นายรณรงค์ นครจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานรณรงค์ฯ ดังกล่าว

เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า จังหวัดปราจีนบุรี ได้มีการสำรวจพบต้นมันสำปะหลังที่มีอาการใบด่าง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เมื่อช่วงปลายปี 2561 ในพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่มีความร้ายแรง อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร และส่งผลให้เกิดความขาดแคลนมันสำปะหลังในประเทศไทย ทั้งนี้ จังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนินการทำลายต้นมันสำปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว แต่จากการสำรวจพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ยังพบการระบาดของโรคดังกล่าวกระจายตัวเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมโหสถ อำเภอประจันตคาม และอำเภอนาดี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แนวทางการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้จัดให้มีงานรณรงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง 11 จุด ในพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีรูปแบบเป็นฐานเรียนรู้ ได้แก่ ฐานเรียนรู้เรื่องทำความรู้จักโรคใบด่างมันสำปะหลัง การสำรวจและเฝ้าระวัง การคัดเลือกท่อนพันธุ์ แมลงพาหะ แมลงหวี่ขาว และวิธีการทำลาย พร้อมสาธิต

นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคที่มีความร้ายแรง อาจก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังซึ่งถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังในประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการกำหนดแนวทางต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในบุคคลที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรับรู้ให้แก่เกษตรกรในการเฝ้าระวังการป้องกันกำจัดตามหลักวิชาการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเอาแนวทางที่ได้รับ ไปใช้ปฏิบัติได้จริงและสามารถควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ต่อไป ซึ่งการจัดงานรณรงค์ฯ ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมให้ความรู้ทางวิชาการ โดยมีเกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมงานกว่า 200 ราย

บริษัท ยันม่าร์ เอส. พี. จำกัด ส่งมอบ แทรกเตอร์ YM357A ใหม่ ให้แก่ นายมาโนช หงษ์ไกร เกษตรกรในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกค้าที่ได้รับแทรกเตอร์ YM357A ล็อตแรกในประเทศไทย โดยยันม่าร์จะทยอยส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าซึ่งมีการสั่งซื้อจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจในแทรกเตอร์ของยันม่าร์ที่ทรงพลัง แข็งแกร่ง และเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ภายในงานยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ทดลองขับแทรกเตอร์ YM357A เพื่อทดสอบสมรรถนะและการใช้งานในพื้นที่จริง โดย YM351A ขนาด 51 แรงม้า และ YM357A ขนาด 57 แรงม้า เป็นแทรกเตอร์รุ่นล่าสุดจากยันม่าร์ที่มาพร้อมเครื่องยนต์คุณภาพและประหยัดน้ำมัน พร้อมเทคโนโลยี SMARTASSIST ซึ่งสามารถติดตามการทำงานของแทรกเตอร์ผ่านสมาร์ทโฟนได้อย่างสะดวก

นายมาโนช หงษ์ไกร กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเลือกใช้แทรกเตอร์รุ่นใหม่ของยันม่าร์ว่า “ผมมีอาชีพเป็นชาวไร่ครับ ทั้งไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง และไร่ข้าวโพด แทรกเตอร์ที่ใช้จึงต้องแข็งแกร่งและมีกำลังแรง ผมใช้แทรกเตอร์ของยันม่าร์มาตลอดนับตั้งแต่รุ่น 35 แรงม้า รุ่น 49 แรงม้า จนมาถึงปัจจุบันคือ YM357A รุ่น 57 แรงม้า รวมๆ แล้วผมใช้ผลิตภัณฑ์ของยันม่าร์มาทั้งหมด 14 ปี และในอนาคตก็ยังวางใจใช้ยันม่าร์ต่อไปครับ ในวันนี้นอกจากงานส่งมอบรถแล้วยังมีกิจกรรมให้ทดลองขับแทรกเตอร์ทั้งการไถพรวนและไถบุกเบิกเพื่อให้เห็นกำลังของเครื่องยนต์ว่าแรงจริง ครอบครัวของผมใช้ยันม่าร์มาตลอดและอยากเชิญชวนเกษตรกรท่านอื่นๆ ให้ลองใช้ดู เพราะผลิตภัณฑ์ของยันม่าร์มีคุณภาพดี ไม่แพ้ใครจริงๆ ครับ”

ทั้งนี้ ยันม่าร์จะพัฒนาเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าชมได้ที่เว็บไซต์เชสเตอร์ ฉลองก้าวสู่ปีที่ 32 ส่งมอบความสุขให้คนไทยกับแคมเปญ “ไก่เดย์เฮฮา Season 2” แทนคำขอบคุณลูกค้า ปรับโฉมร้านให้มีความทันสมัย พร้อมเพิ่มเมนูใหม่ต่อยอดความสำเร็จเมนูซอสน้ำปลา

นางรุ่งทิพย์ พรหมชาติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในโอกาสที่ เชสเตอร์ ผู้นำแบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไก่ย่าง และเมนูข้าวสไตล์ไทยได้รับความไว้วางใจและความผูกพันจากคนไทยมาตลอด 32 ปี จัดแคมเปญ “ไก่เดย์เฮฮา Season 2” กับชุดไก่ย่าง 9 ชิ้น เพียง 199 บาท จากราคาปกติ 342 บาท พร้อมส่งเมนูตระกูลซอสน้ำปลาให้สาวกเมนูข้าวของเชสเตอร์ได้เลือกทาน ได้แก่ ข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา และ เมนูใหม่ล่าสุด ข้าวหมูนุ่มซอสน้ำปลา ที่กระแสตอบรับมาแรง ถูกใจทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2562 และก่อนหน้านี้ เชสเตอร์ได้จัดกิจกรรม Let’s Celebrate สมนาคุณให้กับแฟนเพจที่เกิดในวันที่ 9 กันยายน ตรงกับเชสเตอร์ รับสิทธิ์ซื้อไก่ย่าง 32 ชิ้น ในราคาเพียง 1 บาท

“เชสเตอร์ ผู้นำเมนูไก่ย่าง (King of Grilled Chicken) ส่งเมนูไก่ย่างหลากหลายรสชาติ เพื่อมอบความอร่อยหลากหลายสไตล์ให้กับลูกค้า ล่าสุด ส่งไก่ย่างนิวออร์ลีน รสชาติที่ได้รับการตอบรับที่ดีทุกครั้งจากลูกค้าเสมอมา และขอให้คำมั่นว่าจะมุ่งพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ถูกใจกับลูกค้าและส่งมอบประสบการณ์และบริการด้วยใจตลอดไป” นางรุ่งทิพย์ กล่าว

สำหรับแผนการสร้างการเติบโตของเชสเตอร์ในปีนี้ มุ่งปรับโฉมร้านให้มีความทันสมัย และเพิ่มเติมเมนูให้มีความหลากหลาย แต่ยังคงสไตล์เมนูข้าวที่ถูกใจคนไทย เน้นการเติบโตในเชิงคุณภาพ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วัยรุ่นยุคใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ เชสเตอร์ได้รับรางวัล BRONZE การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากงาน A’ Design Award & Competition ประเทศอิตาลี โดยได้แรงบันดาลใจจากแนวคิด “More Enjoyable Time มากกว่าเวลาแห่งความสุข เติมเต็มความสุขกับมื้ออร่อยที่เชสเตอร์” ที่ใช้กราฟฟิกดีไซน์ลายเส้น ที่ทำให้บรรจุภัณฑ์มีความสนุกมากขึ้น สอดคล้องกับผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพอาหารและแชร์ในสื่อโซเชียล