การตอนกิ่งมะเดื่อฝรั่ง ใช้หลักการและวิธีการเดียวกันกับการตอน

อุปกรณ์ที่ใช้ตอนกิ่ง 1. มีด ต้องคมและสะอาด 2. ตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้อย่างน้อย 1 คืน บีบน้ำออกให้พอหมาด อัดใส่ถุงพลาสติก 4×6 นิ้ว) 3.เชือกปอฟาง (ไว้มัดตุ้มตอนขุยมะพร้าว) 4. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง

การตอนกิ่ง เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไปก็จะเลือกกิ่งแก่ที่มีสีน้ำตาล ริดใบออกให้เหลือ 4-5 ใบ ใช้มีดคมๆ ควั่นเปลือก และกรีดเปิดแผลยาว ประมาณ 1 นิ้ว ใช้มีดควั่นลอกเปลือกออก ใช้มีดขูดเนื้อเยื่อออกให้หมดแบบเบามือ ใช้น้ำยาเร่งรากทาบริเวณแผลด้านบน นำตุ้มตอน ผ่าตามยาวหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดตุ้มตอนให้แน่น ด้วยเชือกฟาง 2 เปาะ หัวกับท้ายตุ้มขุยมะพร้าว หรือบางท่านอาจจะใช้แผ่นฟอยล์ (ที่ใช้เผาปลา) หรือถุงดำหุ้มตุ้มขุยมะพร้าวอีกชั้นเพื่อให้รากออกเร็วขึ้น หลังตอนกิ่ง ประมาณ 10-15 วัน รากมะเดื่อฝรั่งจะเริ่มงอกออกมากให้เห็น เมื่อเห็นว่ารากมะเดื่อฝรั่งมีมากพอ และรากเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล ซึ่งมองเห็นได้จากรากจะเดินเกือบเต็มตุ้มตอนขุยมะพร้าว จึงจะสามารถตัดกิ่งตอนลงจากต้นได้

เมื่อตัดกิ่งตอนลงมาควรนำตุ้มกิ่งตอนแช่น้ำไว้สัก 30 นาที เพื่อให้รากได้ดูดน้ำ จากนั้นใช้มีดริดใบมะเดื่อออกเพื่อลดการคายน้ำ เอากิ่งตอนชำอบในตู้อบ 10 วัน หรืออบในถุงร้อนใบใหญ่ จะช่วยให้รากเดินเร็วขึ้นและมีจำนานรากมากขึ้น ต้นไม้จะแข็งแรงฟื้นตัวได้เร็ว ถ้ามีโรงเรือนอบ ก็ให้ชำลงวัสดุปลูกแล้วรดน้ำให้ชุ่มแล้วเอาเข้าโรงอบ การอบจะช่วยให้กิ่งตอนที่ตัดลงมาชำมีอัตราการรอดตายสูง เข้าอบประมาณ 10 วัน ทำให้รากแข็งแรง รากเดินเร็ว เมื่อเห็นว่าต้นชำจากกิ่งตอนดูตั้งตัวได้ ก็ให้เอาออกจากตู้อบ ควรพักไว้ที่ร่มแดดรำไร สัก 20 วัน หรือสังเกตว่าต้นชำกิ่งตอนดูแข็งแรง ก็ให้ขยับถุงกิ่งชำออกแดดให้มากขึ้นตามลำดับ หรือวางไว้ใต้ซาแรนพลางแสง สังเกตดูว่ากิ่งชำแตกใบแข็งแรงก็สามารถนำไปปลูกในแปลงกลางแจ้ง หรือย้ายปลูกลงกระถางใบใหญ่ หรือวงบ่อซีเมนต์ได้

การเปลี่ยนยอดมะเดื่อฝรั่งนั้น สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งในการขยายพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง โดยเป็นการเพิ่มจำนวนต้นมะเดื่อฝรั่งที่ใช้ยอดพันธุ์ดีน้อยกว่าการปักชำกิ่ง และสามารถเสียบขยายเปลี่ยนยอดบนต้นตอขนาดใหญ่ได้เลยทันที ต้นตอที่นำมาใช้ก็สามารถใช้ได้ทั้งที่เป็นต้นตอมะเดื่อป่าในบ้านเรา หรือต้นมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการ หรือเปลี่ยนสายพันธุ์เดิม

หรือต้องการทำต้นมะเดื่อแฟนซี (มีหลายสายพันธุ์ในต้นเดียวกันคือ มีหลากหลายสายพันธุ์ในต้นเดียวกัน แต่ควรเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตพอๆ กัน เช่น สายพันธุ์ญี่ปุ่น, บราวน์ตุรกี, แบล็คแจ็ค ฯลฯ ซึ่งติดผลทั้งปีเหมือนกัน เป็นต้น เพื่อให้การเจริญเติบโตที่สมดุลกันทุกพันธุ์) ยกตัวอย่าง “การต่อยอดแบบเสียบข้าง” โดยให้เลือกกิ่งพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่ต้องการนำมาเสียบที่ตาสวย สมบูรณ์

แล้วใช้มีดกรีดและลอกเปลือกต้นตอเป็นรูปตัวยู (U) คว่ำ ตัดเปลือกด้านบนออก 2 ใน 3 เหลือเปลือกไว้ด้านล่าง 1 ส่วน เลือกยอดพันธุ์ที่สวย มีตา สัก 2-3 ตา ริดใบมะเดื่อออกให้หมด ใช้มีดปาดยอดพันธุ์ดีให้แผลยาวเท่าๆ กับแผลที่ทำไว้กับต้นตอ แผลยอดพันธุ์ดีจะเท่ากับแผลของต้นตอ เสียบยอดพันธุ์ดีให้เนื้อไม้แนบชิดกันแล้วพันพลาสติกจากด้านล่างขึ้นข้างบน พันพลาสติกให้มิดยอดขึ้นไปเป็นอันเสร็จขั้นตอนการเสียบเปลี่ยนยอด เมื่อสังเกตว่ายอดที่เปลี่ยนไว้เริ่มแทงใบอ่อนออกมา ให้ใช้ปลายมีดกรีดพลาสติกให้ยอดสามารถแทงออกมาได้แต่ยังไม่ต้องกรีดพลาสติกออกทั้งหมด

แนะนำว่าควรกรีดเปิดยอดในช่วงเวลาเย็นเพื่อให้ยอดอ่อนได้ปรับตัวไม่คายน้ำเร็วเกินไป (ในการเปลี่ยนยอดนั้นสามารถทำได้หลายวิธี คือทั้งแบบเสียบข้าง เสียบตรง หรือติดตา นั้น ก็ตามความถนัดและความชำนาญของแต่ละท่าน) ช่วงฤดูที่เหมาะสมควรทำช่วงต้นฤดูฝนถึงปลายฝน สามารถทำได้หลีกเลี่ยงเรื่องฝนชุกมากเกินไป อาจพบปัญหายอดเน่าบ้างก่อนที่แผลจะติด แต่ถ้าเปลี่ยนยอดกับต้นตอที่อยู่ในกระถางก็สามารถทำได้ทั้งปี เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้

การต่อยอดมะเดื่อฝรั่ง แบบเสียบข้าง

ควรเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ถ้ากิ่งไม่ตั้งตรงควรทำด้านบนของกิ่ง โดยใช้มีดกรีดขวาง ยาว 1 เซนติเมตร และกรีด ขนาดเป็น 2 รอย ยาวลงมา 1.5 นิ้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลอกเปลือกออก ระวังอย่าให้รอยแผลช้ำ ตัดขวางด้านล่างเว้นไว้เป็นลิ้น คอยรับยอดเล็กน้อย ยอดพันธุ์ปาดรูปฉลามด้านหนึ่งยาว อีกด้านหนึ่งสั้น เสียบยอดพันธุ์ดีลงไป ใส่พลาสติกพันจากล่างขึ้นบน พันมิดยอดและพันรัดด้านบนให้แน่น ไม่ให้น้ำซึมเข้าแผลได้ หลังจากต่อยอดได้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้ายอดยังเขียวอยู่แสดงว่ามีโอกาสติดสูง ปล่อยไว้จึงสังเกตยอดพันธุ์ดีปลิยอดออกมา แล้วค่อยเปิดแผลด้านบนเพียงเล็กน้อย ช่วยให้ยอดแทงออกมา ถ้าเปิดทีเดียวหมดอาจทำให้ยอดโดนแสงแดด ทำลายยอด ปรับตัวไม่ทันอาจแห้งตายได้

สนใจศึกษาดูงานการปลูกมะเดื่อฝรั่ง หรือสอบถามข้อมูลการขยายพันธุ์ ติดต่อได้ที่ สวนคุณลี อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่ทำไป ทดลองไป หาข้อมูลไป เป็นหนึ่งในแนวคิด ที่ noBitter ฟาร์มผักขนาดเล็กใจกลางเมือง ของ ดร. วิลาศ ฉ่ำเลิศวัฒน์ และทีมงาน ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนเมือง

ดร. วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า เป้าหมายของ noBitter คือ ต้องการที่จะปลูกผักเพื่อคนเมืองจริงๆ เนื่องจากพืชผักที่จำหน่ายอยู่ตามซุปเปอร์ส่วนใหญ่ที่คนเมืองบริโภค ยังตรวจเจอสารพิษอยู่ ทั้งๆ ที่เป็นผักออร์แกนิก ดังนั้น การปลูกผักปลอดภัยที่จำหน่าย ณ จุดขายได้ ทันทีจะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองได้

“noBitter เราให้นิยามมันว่า เป็น mini plant factory เป็นโรงงานปลูกผักขนาดเล็กในกลางเมือง สาเหตุที่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะผลิตผักขึ้นมาเพื่อจะตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองได้ ซึ่งที่ตั้งปัจจุบันเราคือ อยู่ใน Space At Siam เป็น Co-Working Space ที่หนึ่ง โดยชั้นล่างจะมีเด็กๆ มาใช้บริการเรียนหนังสือ นั่งทำงาน แล้วชั้นบนที่เป็นลานนั่งเล่นไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ เราก็กั้นพื้นที่ขึ้นมาเล็กๆ ส่วนหนึ่งแล้วก็ทดลองทำ”

จุดเริ่มต้นของ noBitter ลงมือทำจากการขาดองค์ความรู้ ทำให้เกิดปัญหา คือปลูกไม่ได้ผลผลิต แต่จากความตั้งใจของทีมงานที่หาข้อมูล ไปเรียนและหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้พวกเขาค้นพบมาว่า ปัจจุบันผักที่รับประทานๆ กันอยู่ ยังมีเรื่องของสารตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นพลังให้ลุกขึ้นมาสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเป็นต้นแบบที่จะสามารถกระจายออกไปปลูกตามเมืองใหญ่ๆ เพื่อให้คนเมืองสามารถที่จะมีผักที่ปลอดภัยกินได้ตลอดเวลาทั้งปี”

จากความผิดพลาดต้องใช้เวลาหาความรู้มาเพิ่ม ทั้งเรื่องของสารอาหาร ต้องให้ปุ๋ยอย่างไร พืชมันต้องการ โดยศึกษาธรรมชาติของพืชแต่ละชนิดจากปัจจัยหลักที่พืชต้องการ

ดร. วิลาส กล่าวต่อว่า จริงๆ เรื่องของเคมี มนุษย์ก็เป็นชีวเคมีอย่างหนึ่ง น้ำ H2O อากาศ O2 คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ทุกอย่างมันถูก classify ออกมากลายเป็นเรื่องของเคมีได้

“การปลูกพืชที่แบ่งเป็นอินทรีย์ ออร์แกนิก ตัวอินทรีย์ที่ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดต่างๆ สุดท้าย ย่อยสลายออกมาก็ คือ N P K ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชเอาไปใช้ในการเติบโต ไฮโดรโปนิกส์ไม่ต่างกัน แต่ไฮโดรโปนิกส์สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เรารู้เราให้สารเคมีอะไรในปริมาณเท่าไร เพื่อให้พืชเอาไปสังเคราะห์แสงได้หมด พอสังเคราะห์แสงได้หมด ก็ไม่เหลือสารตกค้างที่มันเป็นอันตรายกับมนุษย์ แต่การปลูกแบบเอาต์ดอร์ เรียกว่าปลูกแบบตามมีตามเกิด ในดินมีอะไรบ้างเราก็ไม่รู้ มันปนเปื้อนมาด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย อะไรต่างๆ อันนี้เราคุมไม่ได้เลย ในขณะที่ทำอย่างนี้ เราสามารถที่จะทำระบบปิดที่เราควบคุมได้ทุกอย่าง”

นอกจากนี้ การปลูกพืชในระบบปิด ดร. วิลาส บอกว่า ต้นทุนหลักๆ จะประกอบด้วย ค่าเช่าที่ ค่าไฟฟ้า และแรงงานคน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักๆ ในการทำธุรกิจนี้ ส่วนเรื่องของเมล็ดพันธุ์ เรื่องของน้ำนั้น ถือเป็นปัจจัยรองลงมา

“การลงทุนในอันดับต้น ลงโครงสร้างไปแล้วที่เหลือมันอยู่ยาวครับ อยู่เป็นสิบๆ ปี ได้เลย แต่สิ่งที่เราต้องมา optimal หาจุดคุ้มทุนให้ได้ ซึ่งตอนนี้เราพยายามหาจุด optimal ที่สุด ที่ว่าทำอย่างไร ให้สามารถที่จะมีต้นทุนที่ต่ำ สามารถที่จะทำให้กลายเป็นธุรกิจได้ ผมยกตัวอย่าง อย่างประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของ plant factory มีจำนวนมหาศาลเลย มีจำนวนเยอะ ซึ่งในญี่ปุ่นเขาทำกันก็จะมีเรื่องของความสะอาดระดับสูง ถ้าเราเห็นกันในคลิปวิดีโอต่างๆ ก็จะมีชุดมนุษย์อวกาศ ต้องเข้าไปใน plant factory แต่ละทีต้องมีเรื่องการป้องกันความสะอาด เรื่องของแมลงติดมาอะไรต่างๆ ตรงนี้เป็นคอร์สที่เรียกว่าสูงขึ้นมา ถามว่า จำเป็นไหม ผมมองว่า nice to have ถ้าทำแบบประเทศไทยแบบเราๆ ที่พยายามทำอยู่ คือผมพยายามจะตัดเรื่องที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วหาว่าอะไรที่จำเป็นจริงๆ ต่อการที่จะปลูกพืชแล้วได้ผลผลิตมาคุ้มค่ากับการลงทุน อันนี้คือ สิ่งที่ noBitter กำลังทำอยู่”

การสร้างระบบที่ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ด้วยเทคโนโลยีคือ ปัจจัยสำคัญที่ ดร. วิลาส ใช้ในการควบคุมการปลูกผักของ noBitter ซึ่งจากการทดลองมาแล้วกว่า 1 ปี การใช้เทคโนโลยีในการดูแลพืชผักตลอด 24 ชั่วโมง นั้น ทำให้พืชผักได้คุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

“ตามหลักวิชาการ มันมีการวัดค่า PPFD เกิดขึ้น วัดค่าความสว่าง คือถ้าได้ค่าที่แน่นอน เลือกหลอดไฟที่ถูกต้องมา มันอยู่ยาวไปเลยครับ จะอยู่เป็น 10 ปี เลยก็ว่าได้ ส่วนระบบน้ำ ก็คือ เรามีการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้ก็มีตัวปั๊มน้ำ 24 ชั่วโมง ทุกอย่างมันคือ การวางระบบครั้งแรก แล้วจากนั้นมันรันของมันไปได้ด้วยตัวเอง

วันๆ หนึ่ง ก็อาจจะมีตัวทีมงานขึ้นมาดูนิดๆ หน่อยๆ สัก 1 ชั่วโมง มาเปลี่ยนถ่ายน้ำ คือก่อนเก็บเกี่ยวมันจะมีคอนเซิร์นของเรื่องสารตกค้าง สิ่งที่ noBitter ทำก็คือ ให้ผู้บริโภคสบายใจ เราก็คือเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ก่อนสัก 2-3 วัน ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว เพื่อให้ในแต่ละระบบในรางนั้นมันคือน้ำเปล่า พืชก็เอาน้ำเปล่าที่มีอยู่เอาไปสังเคราะห์แสง ดังนั้นวันที่เก็บเกี่ยวมันคือ วันที่แบบค่อนข้างที่จะว่าไม่มีสารตกค้างอะไรเหลืออยู่แล้ว”

ปัจจุบัน noBitter เน้นปลูกพืชผักแปลก อย่างเช่น คะน้าใบหยิก หรือ เคล ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ในประเทศไทยมีปลูกแต่หาซื้อยาก จากการนำเข้ามาจำหน่ายในซุปเปอร์ก็ยังไม่เพียงพอต่อกลุ่มลูกค้า

“บางคนก็ซื้อเคลสดไม่ได้เลย ก็ต้องกินเป็นเคลผง มีกลุ่มดีมานด์ตรงนี้อยู่ อย่างตอนนี้ ต้องเป็นพรีออเดอร์คือถ้าเกิดมาซื้อหน้าฟาร์มเลย เราไม่มีขายครับ ผักทุกต้นมีคนจองหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันเราจำหน่ายทางออนไลน์อย่างเดียว ผมมีทั้งตัว เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ก็คือผู้บริโภค จริงๆ รู้จักเราทางออนไลน์ ถ้าเสิร์ชกูเกิล หาผักเคล หาผักปลอดสารพิษก็จะมาเจอเรา”

ณ ห้วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ เกิดกระแสทุเรียนฟีเวอร์ และถือว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปยังต่างประเทศมากกว่ามูลค่าขายภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาขายทุเรียนในประเทศสูงตามขึ้นไปด้วย ราคาจึงเป็นที่หมายตาหมายใจของเกษตรกร ในการแสวงหากิ่งพันธุ์ทุเรียนมาปลูก ทั้งมีการปรับเปลี่ยนพืชเดิมหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น จนมีผู้ที่ปริวิตกว่าปริมาณทุเรียนจะล้นตลาด ก็มีข้อน่าพิจารณาว่าทุเรียนเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยหรือไม่

คนที่ปลูกทุเรียนมีประสบการณ์องค์ความรู้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะการรู้ลึก รู้จริง ในเรื่องลักษณะนิสัยของทุเรียนเรื่องความชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับสภาพอากาศหรือลมฟ้าอากาศ (ลักษณะอากาศแบบใด และอุณหภูมิที่เหมาะสม) ความชื้นในอากาศ (สัมพัทธ์มากน้อยเพียงใด) ดินหรือชนิดของดิน (ดินชนิดใด มีความเป็นกรด ด่างเท่าไร) น้ำ (มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลหรือไม่) กับการดำรงชีวิตของต้นทุเรียนก็ควรจะรู้ด้วย

เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนมีทั้งที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียน จึงยากต่อการแนะนำส่งเสริมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญปลูกไปแล้วที่ประสบความสำเร็จก็มี ที่ล้มเหลวก็มาก

ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีหลายพื้นที่ที่เกษตรกรเพาะปลูกทุเรียนได้ อย่างเช่น ที่ตำบลทุ่งแล้ง แม่ปาน ปากกาง บ่อเหล็กลอง และตำบลห้วยอ้อ แต่ขาดข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวกับจำนวนเกษตรกร/ครัวเรือน จำนวนเนื้อที่ ผลผลิต ผมมีข้อมูลจากการลงพื้นที่ไปศึกษาพื้นที่ปลูกและสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมา 3 ราย ที่มุ่งมั่นจะปลูกทุเรียนเชิงการค้า

รายแรก เป็นผู้มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนมาพอสมควร พื้นที่ดินเป็นพื้นที่ราบ เดิมปลูกส้มเขียวหวาน หลังจากล้มไม้เดิม ก็ขุดหลุมปลูกต้นทุเรียน โดยใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ด นำมาลงปลูก จำนวน 150 ต้น ยกโคก พูนดินรอบโคนต้น ใช้วัสดุคลุมโคนต้น ทำที่กำบังแดดให้ด้วย จ่ายน้ำด้วยระบบน้ำหยด เวลาผ่านไป 4 เดือน พ้นหน้าแล้งต้นทุเรียนตายทั้งหมด เขาสู้ต่อ…ปลูกใหม่…ครั้งนี้ใช้ต้นพันธุ์จากการเปลี่ยนยอด นำลงปลูกที่หลุมเดิม ที่ต้นเดิมตาย ผ่านไป 4 เดือน ต้นที่ตายไปก็มี ที่เหลือก็กำลังแตกยอดใหม่ รอผลอีกสักระยะ ผมจะนำมาเสนอใหม่

รายที่สอง ปลูกทุเรียน จำนวน 100 ต้น พื้นที่ตรงนั้นเป็นหุบเขา สลับเนินเขาเตี้ยๆ มีลำห้วย ด้านตะวันตกมีเนินเขาและสวนยางพาราช่วยบังแดดในช่วงบ่าย ดินเป็นดินตะกอนจากลำห้วย อากาศค่อนข้างเย็นและชื้น ผลปรากฏว่าไม่มีต้นทุเรียนตายเลยแม้แต่ต้นเดียว ขณะนี้ต้นทุเรียนมีอายุ 2 และ 3 ปี จากนั้นผมก็ไปดูเกษตรกร รายที่สาม ที่ได้นำเนื้อหามาให้ท่านได้อ่าน และรับรู้ว่าเกษตรกรรายนี้มีแนวคิด วิธีการปลูก การดูแลสวนทุเรียนเช่นไร

เกษตรกร คุณลุงกับคุณป้า 2 คน ผู้เข้มแข็งแห่งบ้านอ้ายลิ่ม คุณลุงละไม้ พงษ์ทอง อายุ 76 ปี แล้วนะครับ กับ คุณป้าปั้นหยา พงษ์ทอง อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 50/2 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทั้ง 2 คน ป้ากับลุง เดิมปลูกไม้ผลจำพวกเงาะ ลองกอง มังคุด และสวนยางพารามาก่อน แล้วเมื่อ 18 ปี ต่อมาก็เพิ่มแปลงปลูกทุเรียนมาได้ 7 ปีแล้ว ลุงละไม้ ได้กล่าวถึงแนวคิดที่เริ่มลงมือปลูกไม้ผลให้ฟังว่า เมื่อหลายปีก่อนได้มาซื้อที่ดินบริเวณนี้ เห็นว่าเป็นแปลงติดแม่น้ำยม ก็คิดว่าน่าจะมีน้ำท่าบริบูรณ์ ก็ลงทุนปลูกไม้ผล ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2555 ทดลองนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรีมาปลูก เป็นพันธุ์หมอนทอง จำนวน 80 ต้น แต่ปีนั้นมีอากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลให้ต้นทุเรียนล้มตายไปบ้าง เหลืออยู่เพียง 32 ต้น ก็มีอายุ 7 ปีแล้ว และก็ให้ผลผลิตปีแรกที่น่าภาคภูมิใจ นอกจากทุเรียนหมอนทองก็ยังคงเหลือพันธุ์พวงมณี พันธุ์ชะนี อย่างละไม่กี่ต้น

เหตุผลที่ลุงและป้าเลือกปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เพราะเห็นว่ามันติดผลง่าย ติดผลแล้วได้จำนวนผลมาก แต่ละผลมีเนื้อเยอะ คุณภาพดี แม้สุกงอมเนื้อก็ไม่แฉะ เมล็ดลีบ ตลาดยังมีความต้องการสูง ป้าปั้นหยา บอกว่า “ที่สวนของป้าไม่ได้มีเฉพาะทุเรียนนะ ยังมีส้มเขียวหวาน เงาะ มังคุด ลองกอง และยางพารา บนเนื้อที่ทั้งหมด 25 ไร่ ไม้พวกนี้ปลูกมาก่อนทุเรียนหลายปีมาแล้ว”

แม้ปัจจุบัน ณ สวนแห่งนี้ จะมีพันธุ์ทุเรียนหมอนทองเป็นพระเอก เหลือเพียง 32 ต้น และออกผลเป็นปีแรก แถมขายได้ราคาดีมาก แต่เมื่อ 3 เดือนก่อน ลุงและป้าได้ซื้อต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาปลูกเพิ่ม ทดแทนต้นที่ตายไปและไม่มีต้นใดตาย ซ้ำยังเติบโตได้เร็วมาก

ลุงและป้า พาผมเข้าไปดูในสวน สมัครสโบเบ็ต เห็นแปลงปลูกไม้ผลผสมผสานแล้วน่าชื่นใจ มีการจัดการพื้นที่ที่ดีสะอาดตา วางระบบน้ำไว้ใต้ดินทั้งแปลง อยากรู้จังว่าลุงและป้าดูแลเอาใจใส่อย่างไร ลุงละไม้ เล่าว่า “ตอนเริ่มต้นปลูกไม้ผล ก่อนจะปลูกทุเรียนก็คิดวางแผนนะว่าจะปลูกอะไร ตรงไหน วาดผังแปลงปลูก วางระบบน้ำให้ครอบคลุมทั้งแปลง โดยใช้หัวสปริงเกลอร์เดินท่อน้ำฝังไว้ใต้ดิน สูบน้ำขึ้นมาจากแม่น้ำยมผ่านท่อเมน 3 นิ้ว ทดขนาดท่อเข้าแปลงปลูกเป็น 2 นิ้ว และเข้าท่อจ่ายน้ำ 6 หุน ต้นละ 2 หัวสปริงเกลอร์ การปลูกไม้ผลใช้รูปแบบลูกห้า ลุงละไม้บอกให้ลองนึกถึงภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสมี 4 มุม แต่ละมุมจะปลูกต้นเงาะ ตรงกลางของพื้นที่สี่เหลี่ยมจะปลูกต้นลองกองกับต้นมังคุดเป็นล็อกๆ สลับกันไป (ดูแผนภาพประกอบ)

ลุงละไม้ บอกว่าตอนนี้ต้นไม้ผลมันใหญ่โตมากแล้วอาจจะนึกไม่ออก ก็เลยพาไปดูที่แปลงปลูกดังกล่าว พบว่า ต้นเงาะแตกกิ่งก้านมีทรงพุ่มใหญ่แล้ว แต่จะเห็นต้นลองกองและต้นมังคุดไม่ใหญ่เท่า ลุงบอกว่าเป็นเพราะต้นลองกองกับมังคุดมันโตช้ากว่า ลุงเลยนำมาปลูกไว้ตรงกลาง ที่เรียกว่า ลูกห้า

ส่วนแปลงปลูกทุเรียน ซึ่งเป็นแปลงใหม่สังเกตเห็นว่าต้นโตมาก แต่สูงเพียง 5 เมตร ลุงละไม้บอกว่าเป็นผลมาจากการควบคุมทรงพุ่มโดยการตัดแต่งปลายยอดและปลายกิ่ง ป้องกันความเสียหายจากลมพายุ และสะดวกในการเก็บผล บางช่วงก็เป็นพื้นที่ฟันหลอ ซึ่งเป็นผลจากต้นทุเรียนเดิมตาย เพราะเจออากาศหนาวเย็นจัด ใบแก่ค่อยๆ ร่วงหล่น พอแตกใบอ่อนออกมา ต้นก็ตาย ลุงก็เลยซื้อต้นพันธุ์ส้มเขียวหวานมาปลูกแทน แต่ปลูกข้างๆ ต้นทุเรียนที่ตายไป ปัจจุบัน ลุงละไม้ บอกว่าได้นำต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองลงปลูกแทนจนครบถ้วนแล้ว และเมื่อต้นทุเรียนใหญ่ขึ้นก็จะทยอยตัดต้นส้มเขียวหวานออกเท่าที่จำเป็น

ปลูกทุเรียน แบบไม่อิงหลักวิชาการเกษตร

ลุงละไม้ บอกว่า ตอนเริ่มปลูกทุเรียนก็ไม่ได้มีการปรับพื้นที่แต่อย่างใด วัดระยะห่างต่อต้น 10 เมตร ขุดหลุมตื้นๆ นำต้นพันธุ์ทุเรียนลงปลูก แต่ที่สำคัญต้องพูนดินขึ้นเป็นหลังเต่าแล้วพรวนดินโดยรอบให้ร่วนซุย ลุงละไม้ บอกอีกว่า “ลุงคิดว่าทุเรียนไม่เลือกดิน ดินแบบไหนๆ ทุเรียนก็ปลูกได้ ถ้าพื้นที่นั้นปลูกยางพาราได้ก็โอเค” จากนั้น ก็ดูแลให้เขาเติบโต โดยเฉพาะช่วงปีที่ 1-5 ก่อนออกดอกเกิดผล

น้ำ จ่ายผ่านทางท่อด้วยหัวสปริงเกลอร์ สูบน้ำมาจากแม่น้ำยม และจากสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดไว้เป็นน้ำสำรอง ให้น้ำเพียง 5 วัน ต่อครั้ง ในหน้าแล้ง ส่วนหน้าฝนไม่ต้องให้น้ำ อาศัยน้ำฝน “ที่ว่า 5 วัน เนี่ย ต้อง 5 วัน สม่ำเสมอนะ จะมาให้น้ำ 5 วัน ต่อครั้ง หรือ 10 วัน ต่อครั้ง บ้างอย่างนี้ไม่ดี”

ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมี โดยเปลี่ยนสูตรไปตามอายุและการเติบโตของต้นทุเรียน ตัวอย่าง ต้นทุเรียนตั้งแต่เริ่มปลูกไปได้ 2-3 เดือน จะให้ปุ๋ย สูตร 12-3-3 ต้นละเล็กน้อย แต่ให้บ่อยครั้ง ต้นโตขึ้นมาหน่อยก็เปลี่ยนเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 ให้ไปจนต้นโตพร้อมออกดอก ก็จะถึงการให้ปุ๋ยเร่งดอก ซึ่งต้นทุเรียนเข้าช่วงอายุปีที่ 6 ให้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 เพื่อส่งเสริมให้ทุเรียนติดผลดี ผลใหญ่มีพูที่เปล่งปลั่ง เมื่อต้นพร้อมจะออกดอกก็จะปฏิบัติการให้เกิดสภาวะเครียด หากต้นที่สมบูรณ์มีใบแก่ที่ผ่านแล้ง 10-15 วัน กอปรกับมีอากาศหนาวเย็นเล็กน้อยจะผลิดอก