การตอนกิ่ง VS การปักชำกิ่งมะนาว ใครเหนือใครผมดูข่าวในสื่อ

บางสื่อ พบว่าเกษตรกรบางท่านบอกว่า การขยายพันธุ์มะนาวด้วยวิธีควบแน่นนั้น หมายความว่าอย่างไร ผมเข้าใจว่าเป็นวิธีขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำใช่หรือไม่ โดยในข่าวบอกว่าทำได้ง่าย และได้ผลดีเทียบเท่ากับวิธีตอนกิ่ง ผมจึงอยากทราบว่า วิธีดังกล่าวที่เล่ามานี้ เกษตรกรมีเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วยอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ

ก่อนอื่น ผมขออธิบายถึงเรื่องการขยายพันธุ์พืช เพื่อเป็นการปูพื้นให้เข้าใจ

การขยายพันธุ์พืช จำแนกได้ 2 ประเภท คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ (Sexual propagation) คือการใช้เมล็ดที่เกิดจากการผสมเกสร ระหว่างเกสรเพศผู้และเพศเมีย วิธีนี้ลูกที่ได้จะมีการกระจายทางพันธุกรรม ตามกฎของเมนเดลที่เหมือนพ่อ อยู่ระหว่าง หรือดีกว่าพ่อแม่ และเหมือนแม่ ในอัตรา 1 : 3 : 1 จึงเหมาะกับการปรับปรุงพันธุ์ และการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Asexual Propagation) คือใช้กิ่ง ใบ ตา และยอด เช่น วิธีการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด และการปั่นตา (Tissue Cultus) ข้อดีของการขยายพันธุ์ประเภทนี้ ต้นที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ และยังให้ผลผลิตเร็วกว่าการเพาะปลูกด้วยเมล็ด กลับมาคุยเรื่องการตอนกิ่ง กับการปักชำกิ่งมะนาวในรายละเอียดต่อไป

การตอนกิ่ง (Grafting) ให้เลือกกิ่งที่ไม่แก่ และไม่อ่อนจนเกินไป ขนาดวัดรอบกิ่งให้ได้ขนาดเล็กกว่าแท่งดินสอดำเล็กน้อย หาตำแหน่งที่ทำงานได้สะดวก และกิ่งไม่ควรยาวเกิน 100 เซนติเมตร หรือ 1.00 เมตร ควั่นกิ่ง 2 รอย ห่างกัน 1.00 เซนติเมตร ใช้มีดที่คมและสะอาด กรีดลอกเปลือกออกอย่างนุ่มนวล แล้วขูดเมือกที่ติดอยู่ออกให้หมด ทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง นำถุงพลาสติกใสที่ใช้ใส่เครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยว บรรจุขุยมะพร้าวที่แช่น้ำให้อิ่มตัว แล้วใช้มือบีบน้ำออกจนไม่มีน้ำทะลักออกมาจากกำมือ เกือบเต็มถุงเหลือไว้พอให้มัดปากถุงด้วยเชือกฟางให้แน่น มีลักษณะเป็นตุ้มพองาม ผ่าตุ้มตามแนวยาวของถุง แหวกรอยแผลให้กว้างขึ้น แล้วสวมลงบริเวณรอยควั่นโอบล้อมให้มิด ผูกเชือกฟาง 2-3 เปาะให้แน่น อย่าให้ตุ้มขยับ หรือหมุนได้ ภายใน 22 วัน รากจะงอกปรากฏให้เห็น ครบ 30 วัน จึงตัดนำปลูกลงในถุงเพาะชำแล้วเก็บในโรงเรือน เตรียมนำไปปลูกได้

การปักชำ (Cutting) เลือกกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป เหมือนกับการเลือกกิ่งตอน นำถ้วยพลาสติกประเภทเดียวกับใส่น้ำหวาน ไม่ต้องเจาะก้น บรรจุหรือใส่วัสดุปลูกที่สะอาด เช่น พีทมอสส์ ดินร่วนที่สะอาด หรือขุยมะพร้าว ให้น้ำพอชุ่ม ส่วนขุยมะพร้าวต้องแช่น้ำสัก 2-3 ชั่วโมง วัสดุทั้ง 3 ต้องบีบคั้นเอาน้ำออกจนไม่มีน้ำหยดจากอุ้งมือ นับว่าใช้ได้ ใส่ลงในถ้วยแล้วอัดให้แน่น ใช้ไม้เสียบลงวัสดุเพาะนำทาง

ลึกลงไป 2 ใน 3 ส่วน แล้วนำกิ่งที่เตรียมไว้จุ่มลงในฮอร์โมนเร่งราก เสียบลงตามรอยที่นำร่องไว้ก่อนแล้ว อัดวัสดุปลูกให้แน่นอีกครั้งป้องกันกิ่งโยกได้ แล้วนำเข้าอบในถุงพลาสติกใสขนาดที่พอเหมาะพอดี ผูกปากถุงให้แน่นไม่ให้อากาศถ่ายเทได้ นำเก็บในโรงเรือน อีกประมาณ 30 วัน รากจะงอกปรากฏให้เห็น จากนั้นจึงแง้มปากถุงเพียงครึ่งหนึ่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้บ้าง กิ่งชำจะได้ปรับตัวให้กับสภาพอากาศด้านนอกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าในถุงเล็กน้อย อีก 2-3 วัน จึงเปิดถุงให้กว้างเต็มที่ วันถัดไปนำกิ่งใน พร้อมถ้วยพลาสติกปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งในร่มรำไร อย่าให้ลมพัดผ่านแรง จนมั่นใจว่าปรับตัวดีแล้วจึงถ่ายปลูกลงในถุงเพาะชำสีดำ ทิ้งระยะไว้สัก 1 เดือน ระวังอย่าให้ขาดน้ำ ครบกำหนดแล้วนำไปปลูกในกระถาง วงบ่อซีเมนต์ หรือลงดินได้

ปัจจุบัน การปักชำ นิยมเรียกกันว่า โคลนนิ่ง (Cloning) อาจจะติดมาจากยูทูปของฝรั่ง ซึ่งหมายถึงการทำให้เกิดตามแม่แบบ แต่ในทางวิชาการใช้คำว่า การปักชำ (Cutting) ส่วนคำว่า โคลนนิ่ง เริ่มรู้จักกันเมื่อมีนักวิทยาศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ สร้างแกะดอลลี่ โดยวิธีโคลนนิ่ง ด้วยการฝังไข่ที่ได้รับการผสมกับสปอร์มแล้ว จำนวน 2 ฟอง ไว้ในรังไข่ของแกะตัวแม่ จากนั้นนำนิวเคลียร์ที่เป็นตัวอ่อนออกจาไข่ และนำเนื้อเยื่อบริเวณส่วนคอของแกะอีกตัวหนึ่งเข้าไปแทนที่ตัวอ่อนที่นำออกจากไข่ แต่ไข่อีกฟองให้พัฒนาของเขาไปเป็นปกติเพื่อกระตุ้นให้แม่แกะที่อุ้มท้องอยู่ให้ส่งอาหาร เกลือแร่ และฮอร์โมนให้ไข่ทั้ง 2 ฟอง ทั้งนี้ ไข่ฟองที่ใส่เนื้อเยื่อใหม่เข้าไปมันก็สามารถพัฒนามาเป็นแกะดอลลี่ ส่วนไข่อีกฟองก็จะพัฒนาเป็นลูกแกะตามธรรมชาติ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ดอลลี่มีอายุเพียง 6 ปี กับ 9 เดือน ก็ถูกการุณยฆาต ด้วยการฉีดยาให้เสียชีวิต เนื่องจากเกิดอาการอักเสบที่เข่าอย่างรุนแรง ข่าวคราวแกะดอลลี่จึงค่อยๆ เลือนหายไป นี่เป็นโคลนนิ่งขนานแท้

นอกจากนี้ ยังมีการเรียกการปักชำแล้วอบในถุงพลาสติกว่า การขยายพันธุ์ด้วย วิธีควบแน่น ผมขออธิบายคำว่า ควบแน่น กันเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ

การควบแน่น (Condensation) หมายถึงวิธีการ หรือขบวนการที่เปลี่ยนสถานะของก๊าซให้เป็นของเหลว ตัวอย่าง การผลิตเหล้าขาว หรือเหล้า 40 ดีกรี ทำได้โดยนำเหล้าสาโท หรือเหล้าหมัก มาต้มแล้วบังคับให้ไอระเหยที่ได้ผ่านไปกระทบภาชนะที่หล่อเย็นด้วยน้ำ เมื่อไอระเหยกระทบความเย็นจะจับตัวกันเป็นหยดใสๆ ปล่อยให้หยดลงขวดที่รองรับไว้ นี่คือการควบแน่นที่แท้จริง

สำหรับการนำกิ่งชำเข้าอบในถุงพลาสติกนั้น ก็เพื่อลดการคายน้ำของใบมะนาวลง อาจคายน้ำออกมาบ้างก็จะวนเวียนอยู่ภายในถุง จะไม่ทำให้กิ่งแห้งตายเพราะขาดน้ำ เนื่องจากกิ่งชำยังไม่มีรากเพื่อช่วยดูดน้ำ หรือความชื้นขึ้นมาหล่อเลี้ยงกิ่งและใบได้ จึงควรเรียกว่า การปักชำแบบอบ หรือเข้ากระโจมจะถูกต้อง ตามลักษณะของวิธีการดังกล่าว

สรุป การตอนกิ่งมะนาว หากต้นแม่มีขนาดสูงใหญ่จะทำให้การทำงานลำบากขึ้น แต่หากทำได้อัตราการรอดตายจะสูงกว่าวิธีปักชำกิ่ง การปักชำกิ่งระยะแรกทำได้ง่ายโดยตัดกิ่งออกมาจากต้นแม่ นำมาปฏิบัติการในที่ร่ม แต่จะสิ้นเปลืองถุงพลาสติกสำหรับใช้อบ โอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสีย หรือกิ่งตาย เกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการเปิดปากถุงและขณะเปลี่ยนปลูกลงในถุงเพาะชำสีดำ ดังนั้น อัตราความล้มเหลวของวิธีการปักชำจะสูงกว่าวิธีตอนกิ่งมะนาว

อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้เกษตรกรท่านใดชอบ หรือถนัดวิธีใดย่อมขึ้นกับแต่ละบุคคล สำหรับผมแล้ว ถนัดในการตอนมากกว่าครับ เพราะปฏิบัติมาจนเคยชินครับ หากพูดถึงการพัฒนาด้านการเกษตรให้ยั่งยืน เขาว่ากันว่า สิ่งที่จะทำให้การเกษตรพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น Agritech คือ คำตอบสำคัญที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการเพาะปลูกให้สามารถเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต รวมทั้งทำให้การใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น น้ำ ปุ๋ย พื้นที่เพาะปลูก แรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าการทำเกษตรแบบดั้งเดิม และนอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนลดลงอีกด้วย

คุณณัฐวุฒิ จันทร์เรือง หรือ คุณณัฐ อยู่บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่ 2 ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์รุ่นใหม่ไฟแรง อดีตวิศวกรเคมี ผันตัวเป็นเกษตรกรสืบทอดมรดกสวนผลไม้จากพ่อแม่ ใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาพัฒนาสวน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้เข้าสวนได้เป็นอย่างดี

คุณณัฐ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรตนเคยทำงานเป็นวิศวกรเคมีมานานกว่า 10 ปี ซึ่งเวลา 10 ปี ในการทำงานประจำก็ถือว่าเดินทางมาถึงจุดอิ่มตัวและเป็นจังหวะที่คุณพ่อคุณแม่มีอายุที่มากขึ้น ตนเป็นลูกชายคนเดียว จึงมีความคิดที่อยากจะกลับมาสานต่องานสวนของที่บ้าน โดยใช้ประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวได้จากงานประจำที่เคยทำมาปรับประยุกต์ใช้กับงานสวนให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้เห็นจุดบกพร่องของที่สวนในหลายจุดที่ควรปรับปรุง จึงอยากเริ่มต้นนำความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่เก็บเกี่ยวมาได้นำมาใช้พัฒนาสวนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ใช้เทคโนโลยี IoT จัดการสวน ลดต้นทุน
เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณณัฐ เล่าว่า หลังจากที่ได้ตัดสินใจกลับมาทำสวนที่บ้านอย่างเต็มตัวนั้น ตนเริ่มต้นพัฒนาสวนจากสิ่งที่ตนเองถนัดก่อน ด้วยการนำเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนรุ่นเก่ามาบริหารจัดการสวนไม้ผลกว่า 50 ไร่ ให้ง่ายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ในด้านเทคโนโลยี ที่สวนมีการนำเอาเทคโนโลยี IoT หรือ (Internet of Things) มาใช้ และมีการเขียนโปรแกรมควบคุมมอนิเตอร์ค่าต่างๆ ภายในสวน เพื่อให้รู้ทิศทางจัดการสวน ว่าควรจะไปในทิศทางไหน ยกตัวอย่างที่สวน

มีการนำเทคโนโลยีการ เปิด-ปิด น้ำ ผ่านสมาร์ทโฟน จากเมื่อก่อนที่รุ่นพ่อแม่ทำ ในขั้นตอนของการรดน้ำจะต้องใช้คนงานเยอะ และที่สวนมีอยู่หลายที่จำเป็นต้องมีแรงงานประจำตามจุดต่างๆ คอยรดน้ำ แต่พอมีระบบตรงนี้ก็สามารถลดจำนวนคนลงได้ 1-2 คน เมื่อลดจำนวนได้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานไปได้ อย่างน้อยเดือนละ 20,000 บาท… 1 ปี สามารถลดต้นทุนค่าแรงงานได้เดือนละกว่าแสนบาท
มีการวัดอุณหภูมิความชื้นในดิน และความชื้นสัมพัทธ์ ช่วยในเรื่องของการติดดอกของทุเรียน เนื่องจากถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูง จากที่ทุเรียนจะติดดอก ก็มีโอกาสที่จะออกใบอ่อนเยอะกว่า แต่ถ้าเกษตรกรสามารถรู้ได้ล่วงหน้าก็สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

มีการวัดระดับปริมาณน้ำคงเหลือในสระ ทิศทางลม ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน และใช้แอปพลิเคชั่นดูสภาพอากาศในการทำสวน (windy rain viewer) ซึ่งความเร็วลมก็จะมีค่าบอกว่าในตอนนี้ลมมาทิศทางไหน ลมเป็นลมหนาวหรือเปล่า เหมาะที่จะทำดอกทุเรียนหรือไม่ หรือว่าความเร็วลมประมาณนี้ควรที่จะป้องกันอย่างไรบ้าง

และนอกเหนือจากการจัดการสวนด้วยระบบ IoT แล้ว ยังมีในส่วนของการพัฒนาต่อยอดในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การนำรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ เข้ามาช่วยทุ่นแรงงาน ลดปัญหาความเหนื่อยล้าที่ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าในการเหวี่ยง เครื่องเข็นเดินตาม สู้กับอากาศร้อน ปัญหาส่วนนี้จะหมดไป ทำให้คนงานมีกระจิตกระใจในการทำงานมากขึ้น
ทำคิวอาร์โค้ดของต้นไม้แต่ละต้น เพื่อไว้บันทึกข้อมูล ปัญหาโรคพืชของแต่ละต้น รวมถึงช่วยบันทึกข้อมูลการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และช่วยบันทึกข้อมูลการทำดอกทุเรียนได้ด้วยว่าในแต่ละปีต้นทุเรียนแต่ละต้นออกดอกมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมมูลทำสวนให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

ใช้โดรนพ่นยาและปุ๋ย แทนการใช้แรงงานคน สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยกับเกษตรกร ปลูกพืชเพิ่มความหลากหลายให้มากกว่าเชิงเดี่ยว ด้วยการนำพืชผักสวนครัวและสมุนไพรเข้ามาปลูกแซมลงไปในสวน เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนประจำวัน
มีการนำผลไม้เมืองนอก เช่น แบล็คเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ และแอปเปิ้ล เข้ามาปลูกเพื่อเพิ่มสีสันให้กับสวน
ปลูกพืชในโรงเรือนระบบปิด plant factory เพื่อความปลอดภัยทางอาหาร

นำพลังงานทดแทนเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายในสวน เช่น โซล่าร์เซลล์ พลังงานลม พลังงานน้ำ
ทำต้นกล้าไม้ สมุนไพร ขาย
แตกไลน์ ทำขนมเบเกอรี่ โดยใช้วัตถุดิบจากสวน ซึ่งจากการที่ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับวัตถุดิบที่มีอยู่ดั้งเดิมในครั้งนี้ ก็นับว่าได้รับประโยชน์มากมายที่หลายคนมองข้าม ทั้งในแง่ของ

การลดต้นทุน ค่าจ้างแรงงานได้ ลดต้นทุนปุ๋ยยาได้
ผลผลิตดีขึ้น ขายได้ราคามากขึ้น
มีความแม่นยำในการผลิตมากขึ้น จากการควบคุมต่างๆ และการแสดงผลออกมาให้เห็นแนวโน้มทิศทางว่าควรจัดการอย่างไร
มีอาหารกินตลอด ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอาหาร

ด้วยการจัดการต่างๆ นี้ ทำให้มีเวลามากขึ้นในการทำสิ่งต่างๆ หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง จากการพึ่งพาแค่ทุเรียนหรือมังคุดอย่างเดียว ซึ่งให้ผลปีละครั้ง มาปลูกผักกินเอง และขายเพิ่มความมั่นคง ช่วยสร้างรายได้รายวัน รายเดือน รายปี ยึดหลักทำมากเพื่อให้สูญเสียน้อยที่สุด และเพื่อให้เห็นว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นเป็นอาชีพที่มั่นคง มีกิน มีใช้ ไปถึงในแง่ของการช่วยฝ่าวิกฤต ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้ การทำเกษตรกรรมก็ช่วยทำให้อยู่รอดปลอดภัยได้ บนพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการ คือปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย รวมอยู่ในอาชีพนี้ทั้งหมด

ยกตัวอย่างการปลูกทุเรียน
กับการนำเทคโนโลยีมาใช้
คุณณัฐ ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดูแลทุเรียนในสวนให้ฟังว่า ช่วงที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในสวนคือช่วงที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะอยู่ในช่วงของการดูแลรักษา สิ่งที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็จะเป็นการวัดค่าและประเมินผลมาเก็บไว้ใช้เป็นข้อมูลในการทำผลผลิตครั้งต่อไป เช่น การวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม อันนี้ช่วยให้กำหนดได้ว่าผลผลิตจะได้ปริมาณมากขึ้น และคุณภาพดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ ที่เคยทำมา

“เมื่อก่อนตอนยังไม่มีการวัดค่าความชื้นของดิน วัดปริมาณของน้ำ ก็ใช้น้ำไปมากอย่างไม่รู้ทิศทาง แต่พอได้มีการเก็บข้อมูลก็ช่วยให้ลดการใช้น้ำได้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ มากกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เริ่มจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มันเริ่มเห็นผล ว่ามันมีผลผลิตจริงๆ คือ อย่างน้อยเราดูในจอข้อมูลแสดงผลที่เก็บข้อมูลไว้แล้วว่า ตอนนี้ลมหนาวกำลังมา หรือว่าลมที่เหมาะในการทำดอกกำลังมา ซึ่งแต่ก่อนเขาไม่ได้มีตรงนี้มาจับ ชาวสวนก็จะกะช่วงเวลากันเอง ซึ่งบางทีช้าไป แต่อย่างผมมีข้อมูลที่แม่นยำ ก็สามารถทำได้ก่อน บางทีก็ไม่ต้องทำสารทุเรียนเลย มันก็จะได้ดอกก่อน ได้ผลผลิตออกมาเร็ว ได้ราคาที่ดีกว่า ปริมาณก็มากขึ้นกว่าเดิม และในด้านคุณภาพก็ได้มากขึ้น คือ พูเต็ม เพราะน้ำถึง ผลผลิตไม่เสียทรง น้ำหนักได้ตามเกณฑ์มาตรฐานส่งออก” คุณณัฐ กล่าว

“ทำเกษตรอย่างสมาร์ท”
ตามแบบฉบับคนรุ่นใหม่
“ด้วยรูปแบบการทำสวนของผม ที่ไม่ได้ทำรูปแบบเดิมที่พ่อแม่ทำกันมา เราทำเกษตรแบบคนสมัยใหม่ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ มันก็ทำให้การเกษตรเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และแม่นยำมากขึ้น ทำให้เรารู้ถึงผลผลิตได้ล่วงหน้าว่า จะออกตอนไหน และปริมาณเท่าไร และสามารถกำหนดราคาเองได้ โดยที่ไม่ต้องใช้แรงงานมากเหมือนแต่ก่อน ซึ่งหลังจากที่ได้กลับมาทำประมาณ 4 ปี ก็ยังนับว่าเป็นระยะเวลาที่น้อย ยังคงต้องสะสมประสบการณ์เพื่อพัฒนาต่อยอดสวนไปอีกเรื่อยๆ และยิ่งทำให้เห็นคุณค่าของอาชีพเกษตรกรว่าเป็นอาชีพที่สุดยอด

เพราะจะทำอาชีพนี้ให้สำเร็จได้ไม่ง่าย และต้องผสมรวมทุกศาสตร์ไว้ในอาชีพนี้เลย ทั้ง ชีวะ (โครงสร้างพืช โรคพืช) เคมี (ปุ๋ย ยา ธาตุอาหารพืช) คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (การคำนวณต่างๆ ต้นทุน บัญชี ค้าขาย) วิศวกรรม (ไฟฟ้า มอเตอร์ปั๊มน้ำ เครื่องจักรกล) แม้กระทั่งปลูกสมุนไพรรักษาโรค และอยากให้อาชีพนี้เป็นอาชีพหนึ่งที่คนพูดว่าอยากทำ นอกจาก หมอ วิศวะ และจะเป็นอย่างนั้นได้ ไม่ต้องทำเหนื่อยเหมือนคนรุ่นก่อน แต่นำเทคนิคภูมิปัญญาที่คนรุ่นก่อนมีมาผสมกับเทคโนโลยีในคนรุ่นใหม่ ออกมาเป็นผลลัพธ์ที่เจ๋งกว่าเดิม และยิ่งตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยด้วย เพราะฉะนั้นแรงงานรุ่นใหม่ในภาคการเกษตรยังน้อยอยู่ การที่คนรุ่นใหม่กลับมาพัฒนาบ้านเกิดยิ่งเป็นสิ่งที่ควรทำมาก” คุณณัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

ยุคที่เกษตรกรคนรุ่นใหม่ กำลังเติบโตในวงการเกษตรกรรม เกือบทั้งหมดประสบความเร็จ ได้รับการยอมรับในระดับต้นๆ และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว วิธีที่ผลักดันตนเองไปสู่ความสำเร็จของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน สำหรับคุณสิริมณี มณีท่าโพธิ์ เกษตรกรสาว วัย 33 ปี ชาวบ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่รู้จนประสบความสำเร็จในวันนี้ เพราะแรงกดดันและวิกฤตที่พบ จนพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างไม่ยาก

คุณสิริมณี เริ่มต้นทำงานที่กรุงเทพฯ ไม่ได้งานที่ตรงสายที่เรียน แต่ก็เป็นพนักงานประจำ กระทั่งแม่ป่วย จึงตัดสินใจกลับมาหางานทำที่บ้าน เพื่อดูแลแม่ที่ป่วยไปด้วย หน้าที่ทุกวันคือ ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนใกล้บ้าน และทำนาเสริมในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากอาชีพครูพี่เลี้ยง

การทำนา เป็นอาชีพหลักของครอบครัว เมื่อแม่ป่วย คุณสิริมณี จำเป็นต้องทำเอง ก็ทำได้ตามที่ได้เรียนรู้จากครอบครัว แต่สิ่งที่พบ คือ การทำนาแบบเดิม เมื่อได้ผลผลิต หักค่าใช้จ่าย และต้นทุน ก็ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้ต้องกู้ยืมเมื่อต้องลงทุนใหม่ และเป็นหนี้สะสมไปเรื่อยๆ ทุกปี

ในความโชคร้ายก็มีความโชคดี เมื่อมีคนให้คำแนะนำ ให้ปลูกข้าวพันธุ์หอมนิล และจะรับซื้อคืนในราคาที่สูงกว่าเท่าตัวของราคาข้าวที่ปลูกอยู่ แต่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยา ไปพร้อมกัน เมื่อเห็นช่องทาง คุณสิริมณี พร้อมกับเพื่อนบ้านอีกหลายราย จึงตัดสินใจซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยา เพื่อลงปลูก หวังจะขายผลผลิตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ได้เม็ดเงินเป็นที่น่าพอใจ แต่กลับพลิกผัน เมื่อผลผลิตพร้อมเก็บเกี่ยว คนขายเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยา หาตัวไม่เจอ สิ่งที่คุณสิริมณี ทำได้ คือ การพยายามขายผลผลิตข้าวที่ได้ออกให้หมด แม้จะไม่ได้ราคา แต่ขอให้มีได้ต้นทุนกลับมาบ้างก็ยังดี

“ตอนนั้นลงทุนไป 3-4 หมื่นบาท จากคนที่เข้ามาแนะนำ บอกจะรับซื้อข้าวหอมนิลจากเรา พอถึงเวลา ติดต่อไม่ได้ เงินก็ลงทุนไปแล้ว เลยคิดว่า อย่างไรก็ต้องขายเพื่อเอาทุนคืน จึงเอาข้าวเปลือกมาสี แล้วโพสขายบนเฟสบุ๊กของตัวเอง ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท”

คุณสิริมณี ตอบว่า ขายได้ ได้เฉพาะเพื่อนๆ ในเฟสบุ๊กด้วยกัน รวมปริมาณที่ขายได้เดือนละ 5 กิโลกรัมเท่านั้น จึงขยับช่องทางการขายออกไปที่กลุ่มขายของในจังหวัดพิษณุโลก มีผู้คนจากหลายจังหวัด ไม่เฉพาะพิษณุโลกเท่านั้นที่เข้ามารวมกลุ่มในเฟสบุ๊กนี้ แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของจังหวัดพิษณุโลก ในการโพสขาย คุณสิริมณี บอกเล่าเรื่องราวที่ต้องนำข้าวสารมาสีและแบ่งขาย ทำให้ได้รับความเห็นใจ และขายข้าวจำนวน 5 ตันหมด ในระยะเวลาไม่นาน จากนั้น คุณสิริมณี จึงช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ร่วมชะตากรรมถูกหลอกเหมือนกัน ด้วยการโพสขายข้าวของเพื่อนบ้านในกลุ่มเฟสบุ๊กต่อ และสามารถขายได้หมด 30 ตัน ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

เมื่อข้าวของตนเองและเพื่อนบ้านหมด ความต้องการของลูกค้ายังไม่หมด ทำให้คุณสิริมณี เกิดไอเดียปลูกข้าวตามความต้องการของลูกค้า เพื่อขายผ่านโซเชียลแบบที่ทำอยู่ เริ่มศึกษาจริงจัง ว่าข้าวสายพันธุ์ใดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค นอกเหนือจากข้าวหอมนิล และทราบว่า ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวอีกสายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง จึงเริ่มหาเซื้อเมล็ดพันธุ์นำมาปลูก และ เริ่มปลูกโดยงดใช้สารเคมี จึงเรียกผลผลิตข้าวที่ได้ว่า ข้าวอินทรีย์

คุณสิริมณีเอง มีนา จำนวน 8 ไร่ และเริ่มชักชวนเพื่อนบ้านที่ถูกหลอกในคราวเดียวกันมารวมกลุ่ม จากกลุ่มเล็กๆ ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากกว่า 10 คน กระทั่งปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 30 คน และจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดสารพิษบ้านทุ่งน้อย เมื่ปี 2557 ปัจจุบันมีที่นาของสมาชิกรวม574 ไร่ ปลูกข้าว 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวกข.43 ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวทับทิมชุมแพ

เริ่มสร้างเพจขายข้าวเอง และมีลูกค้าติดตามมารอซื้อข้าวจำนวนมาก เริ่มต้นการขาย ด้วยการตักข้าวใส่ถุง ปิดปากถุงด้วยแม็กเย็บกระดาษ เริ่มพัฒนาเมื่อมีระยะเวลาขนส่ง ซึ่งข้าวกล้องจะขึ้นมอดเมื่อต้องเก็บนาน จึงเริ่มผลิตใส่ถุงสุญญากาศ เพื่อยืดระยะเวลาการเก็บ มีต้นทุนเพิ่มเรื่องถุงสุญญกาศ 5 บาท แต่ราคาขายยังคงเดิม เพื่อต้องการรักษากลุ่มลูกค้าไว้

จากเดิมใช้เครื่องสีข้าวในครัวเรือน เกมส์ยิงปลา GClub สามารถสีข้าวได้วันละ 200 กิโลกรัม ลูกค้ารอคิวซื้อข้าวจำนวนมาก เครื่องมีขนาดเล็กสีไม่ทันขาย เมื่อรวมกลุ่มจึงลงทุนตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีแผนการผลิต และเริ่มมีงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ เปลี่ยนจากเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เป็นเครื่องสีขนาดใหญ่ขึ้น และปัจจุบัน เป็นเครื่องสีข้าวขนาดใหญ่ ความสามารถในการสีวันละ 2 ตัน

ราคาขายจากเดิมลดลงต่อกิโลกรัมลงมา เพราะทราบดีว่า ตลาดการขายออนไลน์แข่งขันกันสูงมาก การขายข้าวอินทรีย์ ไม่ได้มีเพียงรายเดียว ปัจจุบัน ยอดขายต่อเดือน ลูกค้าส่ง 4-5 ราย ประมาณ 20 ตันต่อเดือน ส่วนลูกค้าปลีก มียอดสั่งซื้อเข้ามา ต้องรอคิวสีข้าวล่วงหน้าแล้ว 1 เดือน

ปริมาณผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 50-70 ถัง ขณะที่การปลูกข้าวแบบเดิมที่เคยทำ ได้ปริมาณมากกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ตาม สมาชิกที่รวมกลุ่มมองเห็นมูลค่าในผลผลิตข้าวที่ได้ เพราะสามารถขายได้ราคาสูงกว่าเท่าตัวเช่นกัน

กลุ่มวิสาหกิจฯ ที่ก่อตั้งขึ้น คุณสิริมณี บอกว่า เมื่อเราบอกกับลูกค้าว่าเราเป็นกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ การตรวจสอบภายในกลุ่มกันเองต้องมี จึงจัดระบบการตรวจสอบ ลงแปลง ของสมาชิกทุกคน เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพตามที่โฆษณาไว้กับผู้บริโภค ซึ่งนอกจากจะขายข้าวเป็นกิโลกรัมแล้ว ยังขายในปริมาณ 250 กรัม และ 500 กรัม ทั้งยังรับผลิตข้าวตามออเดอร์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงข้าวบรรจุถุงสำเร็จตามปริมาณที่ต้องการเท่านั้น แต่ยังรับผลิตตามออเดอร์ เพื่อใช้เป็นของชำร่วยในงานหรือเทศกาลต่างๆ อีกด้วย โดยรวมแล้ว ปริมาณข้าวที่ออกสู่ท้องตลาดจากกลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ มากถึง 30 ตัน และความต้องการมากกว่า 30 ตัน เพียงแต่ความสามารถในการผลิตของกลุ่มยังไม่ถึง