การตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นโรค

กิ่งแห้งกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ในช่วงอายุ 4 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 3 ของทรงพุ่ม เมื่อต้นมะนาวอายุ 6 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 2 ของทรงพุ่มการกำจัดวัชพืช สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือ

การใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาว เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ทำให้ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ

ตำนาน ส้มโอเวียงแก่น ฉายานครชัยศรี 2 ปลูกระบบไร่รอบลำน้ำโขง ส่งออกจีนด้วยวิธีกองทัพมด รวมเป็นปึกแผ่น ตลาดตอบรับ ถิ่นเมืองเหนือตอนบนนั้น เป็นเมืองปลูกส้มเปลือกบาง หรือส้มโชกุน รสชาติจะหวาน หอม ไม่เพียงแต่จะปลูกลำไย ลิ้นจี่ แล้ว จังหวัดดังกล่าว เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ (เด่นชัย) ลำพูน น่าน และลำปาง ปลูกส้มเขียวหวานที่ลือชื่อมานาน

เหตุที่ไม่นิยมปลูกส้มโอกันนั้น บรรดาชาวสวนจะไม่นิยมปลูกกันตามจังหวัดที่กล่าวมา เพราะมาจากความหนาวเป็นต้นเหตุ เฉพาะที่จังหวัดเชียงราย มีบริษัทใหญ่ทดลองปลูกกันแล้ว ผลออกมาจะมีรสเปรี้ยวขม ต้องจำหน่ายในราคาที่ถูกลง แม้แต่จะมีที่ปรึกษาเก่งในด้านส้มโอจากนครชัยศรีมาให้คำแนะนำมาหลายปีแล้ว ทว่ากลิ่นรสขมยังมีประปราย ถึงจะใช้วิธีลดความขมลงได้บ้าง ยังไม่หายไปหมด แก้ไขด้วยการใส่ปุ๋ยอ้อย หรือปุ๋ยน้ำตาล สูตร 0-0-50 หรือ 0-0-60 แล้วก็ตาม ไม่สำเร็จ

ผิดกับภาคเหนือตอนล่าง ก็คือ ส้มโอท่าข่อย ที่เคยมีชื่อเสียงปลูกส้มโอมาช้านาน แต่ถึงอย่างไร รสหวานส้มโอท่าข่อยที่หลายคนว่าเป็นสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้งจากนครชัยศรี เท็จจริงผู้เขียนไม่เคยไปมาและไม่กล้าฟันธง

เข้าทำนองส้มโอของจังหวัดชัยนาท พันธุ์ขาวแตงกวา เป็นของชัยนาทแท้ ไม่ใช่มาจากนครชัยศรี พิสูจน์แล้ว สมัยก่อนเคยเดินทางมาที่เชียงรายบ่อย เมื่อเกือบสองทศวรรษ ได้มีโอกาสไปอำเภอเวียงแก่น ที่จังหวัดเชียงราย ไปหลายครั้ง เป็นอำเภอที่ติดกับแม่น้ำโขง ชายฝั่งติดกับ สปป.ลาว

สาเหตุที่ต้องการไป อยากจะไปกินส้มโอที่อำเภอเวียงแก่น เพราะเป็นแหล่งปลูกส้มโอมากว่าสามทศวรรษ ปัจจุบันนี้อายุส้มโอเวียงแก่นคงเกินสี่ทศวรรษกว่าแล้ว อยากพิสูจน์ดูว่า กุ้ง หรือเนื้อส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง กับพันธุ์ทองดี จะมีรสขมเหมือนปลูกใกล้ๆ เชียงรายหรือไม่ แวะไปมาหลายครั้ง จนคนนิยมปลูกกันทั่วเวียงแก่น น่าจะถึง 5,000 ไร่เศษ โดยได้รับเงินกู้จากสหกรณ์การเกษตรเวียงแก่น

ไปครั้งแรก ราวปลายปี 2543 เกษตรกร ชาวสวนแห่งอำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ชักชวนกันไปดูแหล่งขยายพันธุ์ส้มโอคือ อาจารย์ทิม ไทยทวี เกษตรกรชาวสวนส้มโอที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเกษตรกรนครปฐม ที่ปลูกส้มโอจนรับรางวัลประกวดส้มโอที่หนึ่งมากมายหลายสมัย

เพราะการเดินทางไม่มีอุปสรรคใดๆ ได้นัดแนะกับเกษตรกรตัวจริงรุ่นแรกบุกเบิกส้มโอเป็นคนแรกคือ ผู้ใหญ่บ้านอุทัศน์ เตรียมธะนะ แห่งอำเภอเวียงแก่น ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะชื่อเสียงอาจารย์ทิม ไทยทวี เป็นที่ยอมรับในวงการส้มโอมาช้านาน ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า อาจารย์ทิม เพราะท่านเป็นเซียนส้มโอและเผยแพร่บรรยายเกี่ยวกับส้มโอให้เกษตรกรไปทุกหนแห่งที่เชิญไปถ่ายทอดความรู้ด้านส้มโอ

ผู้ใหญ่อุทัศน์พาคณะของผู้เขียนไปดูสวนส้มโอของตนเอง ขนาด 15 ไร่เศษ พร้อมเล่าถึงความเป็นมาของส้มโอที่ปลูกไว้ในสวนที่มีผลผลิตออกมาหลายปี

ผู้ใหญ่อุทัศน์ ได้เล่าถึงในอดีต ราวปี 2530 ท่านทำงานในกรุงเทพฯ ในสมัยยังหนุ่ม อยากจะกลับไปอยู่บ้านเวียงแก่น เคยได้ยินชื่อเสียงของส้มโอดัง ชื่อสวนส้มไทยทวี ที่อำเภอสามพราน แต่สวนปลูกส้มโออยู่ในอำเภอนครชัยศรี ชื่อเดิมเรียกกันว่า “มณฑลนครชัยศรี” จึงได้เดินทางไปหาทันที

ได้สนทนาจึงขอซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง กับทองดี ไปปลูก เหตุที่ต้องซื้อทองดี เพราะตั้งใจจะปลูกเพื่อส่งออกไปฮ่องกง และขาวน้ำผึ้งจะปลูกขายให้บริโภคภายในประเทศ ตามที่อาจารย์ทิมแนะนำมา เพื่อปลูกทดลองดูว่าพันธุ์ดังกล่าวจะมีอนาคต

ผลออกมาแล้ว ทำไมรสชาติของส้มโอเวียงแก่นจึงปลูกได้ผลดี คำถามของผู้เขียนยิงไปที่ผู้ใหญ่อุทัศน์ก่อน ผู้ใหญ่อุทัศน์ โยนมาให้อาจารย์ทิมตอบแทน คำตอบของอาจารย์ทิม กล่าวว่า ที่ส้มโอเวียงแก่น นอกจากดินจะดีแล้ว ธรรมชาติเป็นใจโดยอากาศที่เวียงแก่นถ่ายเทได้ดี การบำรุงปุ๋ยและดูแลเอาใจใส่ดี ติดชายฝั่งแม่น้ำโขง อากาศไม่หนาวเกินไป

ที่นี่เหมาะกับการปลูกส้มโอระบบไร่ เพราะเป็นที่ลาดเทระดับพื้นที่การปลูกระบบไร่ ต้องใช้ระยะห่างกว่าระบบสวน คือ ระยะ 10×10 เมตร หรือ 12×12 เมตร จำนวนต้นได้น้อย แต่ทรงพุ่มระบบไร่จะใหญ่มาก อายุยืน ผลผลิตได้มาก ดูแลรักษาง่ายกว่าระบบสวน ที่ทรงพุ่มเล็ก อายุสั้น ระยะห่างไม่มาก แต่ได้จำนวนต้นมากกว่ากัน

ทว่าระยะห่างและสั้น การปลูกบนแปลงจึงล้อมรอบด้วยน้ำจะสะดวกในการเก็บกักน้ำเพื่อให้ออกนอกฤดู ได้เปรียบกว่าระบบไร่ ที่ต้องออกในฤดูเท่านั้น น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกส้มโอ จึงได้เปรียบกว่ากัน อายุส้มโอจึงสั้นกว่าระบบปลูกแบบไร่ เหตุเพราะพื้นที่แตกต่างกันนั่นเอง

เมื่อผลผลิตออกมาครั้งแรก นำไปขายเป็นสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง แสนจะดีใจ เพราะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ส่วนพันธุ์ทองดี ที่ซื้อมาจากสวนไทยทวี เป็นกิ่งตอนด้วยกัน ออกดอก ผล มาโดยตลอด

ผู้ใหญ่อุทัศน์ กล่าวถึงความรู้จากการปลูกส้มโอนั้น อาจารย์ทิมเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาเรื่องส้มโอมาโดยตลอด บางครั้งก็ไปเยือนท่านถึงสวน เพื่อนำไปขยายปลูกส้มโอขาวน้ำผึ้งและทองดีเพื่อการส่งออก มองเห็นอนาคต

จนกระทั่งอีก 5 ปีถัดไป ผู้เขียนก็ไปดูมาอีกกับอาจารย์ทิม คราวนี้สวนส้มโอเวียงแก่นปลูกพันธุ์ทองดีกันอย่างเนืองแน่น เพราะได้ระบบเงินกู้ในฐานะสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเวียงแก่น มีจำนวนการปลูกนับร้อยๆ ราย เพราะส้มโอทองดีส่งตลาดฮ่องกงได้ หรือจะเรียกว่า นครชัยศรี 2 ก็ว่าได้ สร้างรายได้แก่เกษตรกรทุกระดับที่มีพื้นที่

กล่าวกันว่า ส้มโอเวียงแก่น สามารถมีคุณภาพส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงตามฤดูกาล คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม มีรถคอนเทนเนอร์มาบรรทุกเข้ากรุงเทพฯ เพื่อส่งถึงท่าเรือคลองเตย ในขณะนั้นตลาดฮ่องกงต้องการพันธุ์ทองดีไปบริโภค ไหว้เจ้า และไหว้พระจันทร์ตามเทศกาล

ด้วยเหตุผล ส้มโอทองดี ผลขนาดเล็กกว่าขาวน้ำผึ้ง สีกุ้ง หรือกุ้งออกสีชมพูแดงระเรื่อ ชาวจีนนิยมกัน ถือเป็นส้มโอพระเจ้า ว่ากันอย่างนั้น แถมบรรจุใส่กล่องได้มาก

สำหรับราคาส่งออกทางเรือสมัยนั้น ย่อมจะเสียเปรียบกว่าส้มโอนครชัยศรีเล็กน้อย ในฐานะน้องใหม่อยู่ไกล ต่อมาชาวจีนแผ่นดินใหญ่ได้เดินทางมาเป็นลูกค้าส้มโอเวียงแก่น โดยขนส่งทางเรือออกทางลำน้ำโขง สะดวก รวดเร็ว ดีกว่าเดิม เพราะการเดินทางสะดวกกว่า ส้มโอซื้อขายเป็นผลไม้ไม่เสียง่าย ยิ่งนานส้มโอกลับมีรสหวานดี ทนทานต่อการเก็บไว้นาน ซึ่งคณะผู้เขียนเคยไปดูมา 3-4 ครั้ง

จึงไม่แปลกที่ชาวสวนส้มโอเวียงแก่น ที่ปลูกส้มโอรวมตัวเป็นกลุ่มสมาชิกเกษตรสหกรณ์ จำนวนพื้นที่มีไม่มาก ขนาด 1-25 ไร่ ก็เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์…กลุ่มส้มโอเปรียบเสมือนกองทัพมด มีพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก รวบรวมกันง่ายเป็นปึกแผ่น ใช้พื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์

ถึงแม้จะมีอยู่ริมตลิ่งตามลำน้ำโขง ก็ปลูกส้มโอแทรกกันไปไม่ถึงไร่ก็มี แต่พอมีผลผลิตมันก็ทำเงินให้เจ้าของได้เช่นกัน เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ต้องเฉลี่ยกันไป การสนทนาถึงปัญหาเรื่องสวนส้มโอนั้น เคยมีปัญหาครั้งเดียว ระบายส้มโอจากสวนไม่ทัน ผู้ใหญ่บ้านจึงตัดสินใจโดยเอาส้มโอที่ใกล้จะเสียหายจำนวนนับหมื่นผล ใส่รถบรรทุกสิบล้อของตนเองไปเร่ขายที่ตลาดนาเกลือ ที่สระแก้ว ขายให้ชาวกัมพูชา ในสนนราคาผลละ 3-4 บาท แสนจะถูก เขาคิดต้นทุนแล้วว่า ถ้าหากเอาทิ้งไปเท่ากับสูญไป จึงรับผลผลิตราคาผลละ 2 บาท บวกค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายไปแล้ว คำนวณออกมาต้นทุนบรรทุก ตกราคาผลละ 1 บาท ยังเห็นตัวเงินกลับมา ดีกว่าสูญไป ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากชาวกัมพูชาที่อยู่ในชายแดนเมื่อกว่า 20 ปี ได้กินผลไม้ราคาถูก และมีกำลังซื้อด้วยในช่วงเขมรแตกทัพใหม่ๆ

ปัจจุบัน ไม่ได้ไปเยี่ยมผู้ใหญ่อุทัศน์มานานแล้ว และระหว่างโรคโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ตลาดส้มโอที่จีนจะซบเซาหรือเปล่า ทราบว่าผู้ใหญ่เกษียณแล้ว แต่งานผลิตส้มโอยังรุดหน้าไปไม่หยุดนิ่ง

ติดตามกันต่อไป ขอให้มีกำลังใจสู้ต่อไป ในภาวะที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันทุกสาขาอาชีพกันเลย สถานการณ์ต้องคงจะกลับมาในเร็ววัน ขยันทำกินไม่มีจน!! เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนทำได้ในเส้นทางอาชีพการเกษตร ซึ่งหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ได้แก่ สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สมาชิกส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก และแบ่งเวลาว่างเลี้ยงโคขุนเป็นรายได้เสริม ทำให้มีรายได้ยั่งยืนตลอดทั้งปี สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท

เนื่องจาก “สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จํากัด” มีผลงานที่โดดเด่นและเป็นสหกรณ์นิคมต้นแบบที่ปฏิบัติงานด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงยกย่องประกาศเกียรติคุณ “สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จํากัด” ในฐานะสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประเภทสหกรณ์นิคม ประจำปี 2563

เปิดดำเนินงานมาครบ 37 ปี

สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด ถูกจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2526 สมาชิกแรกตั้ง 777 คน ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 1,489 คน บริหารงานภายใต้การนำของ คุณเสนอ บุญบุตร ประธานกรรมการ มีอาคารสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 84 หมู่ที่ 7 ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 53120 โทรศัพท์ (086) 604-1753 สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด ส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุ่มกันผลิตข้าว ในรูปแบบ “ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่” เพื่อลดต้นทุน รวมกันใช้เครื่องจักรกล รวมกันซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช

รวมกันบริหารจัดการองค์ความรู้ และได้ความรู้ด้านวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้สมาชิกสามารถผลิตข้าวคุณภาพ และรวมกันขาย ผ่านระบบสหกรณ์ ซึ่งทำให้สามารถต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางได้ และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เฉลี่ยไร่ ร้อยละ 13.31 ต่อไร่ ผลการดำเนินงานสะดุดตากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์นิคมแห่งนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “แปลงใหญ่ต้นแบบ (ข้าว)” ทำให้มีเกษตรกรที่สนใจแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมผลงานตสหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด ลอดเวลา

ขณะเดียวกัน ทางสหกรณ์ได้มีความคิดริเริ่มขับเคลื่อนโครงการเกษตรอินทรีย์ ในเขตนิคมสหกรณ์พิชัยเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกผลิตสินค้าเกษตรได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต ทำให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดีขึ้น ปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ ทำให้สภาพแวดล้อมในชุมชนพื้นที่นิคมสหกรณ์ดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาการผลิตที่ให้ความสำคัญในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ พ.ศ. 2560-2564

ปัจจุบันสหกรณ์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้แก่ มกษ.9000 เล่ม 1-2552 และ มกษ.900 เล่ม 4-2553 โดยเป็นใบรับรองระยะปรับเปลี่ยน วันที่ 27 ธันวาคม 2562 มีผลถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2563

เลี้ยงโคขุนแบบรวมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์

นอกจากนี้ ทางสหกรณ์นิคมฯ ดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนแบบรวมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ ด้วยวิธีการสหกรณ เพื่อช่วยเหลือสมาชิก แก้ไขปัญหาทางด้านการเกษตร ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้จากการประกอบอาชีพ โดยสนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์รวมกลุ่มเลี้ยงโคขุน ซึ่งเป็นการเลี้ยงโคขุนระยะกลางน้ำ

ทางสหกรณ์ทำหน้าที่จัดหาโคหย่านมเพศผู้ น้ำหนักระหว่าง 200-250 กิโลกรัม ราคาประมาณ 35,000 บาท ต่อตัว ให้แก่สมาชิก ใช้เวลาเลี้ยงขุน 4-6 เดือน น้ำหนักโดยประมาณ 480-500 กิโลกรัม ราคาโดยเฉลี่ย 52,500 บาท ต่อตัว ผลกำไรขั้นต้น 17,500 บาท ต่อตัว แถมมีตลาดรองรับที่แน่นอนจากการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์

บริหารงานแบบมืออาชีพ

ทุกวันนี้ สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด มีคณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่สหกรณ์ จำนวน 16 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 2 คน ปัจจุบันมีทุนดำเนินงาน 172,236,093.28 บาท ปริมาณธุรกิจ 213,704,535.33 บาท กำไรสุทธิ 5,507,227.50 บาท เงินรับฝาก 34,034,207.26 บาท เงินปันผลร้อยละ 5 เป็นเงิน 1,437,496.63 บาท และเงินเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก ร้อยละ 0.25-5 เป็นเงิน 434,565.00 บาท

ทั้งนี้ ทางสหกรณ์ได้จัดทำแผนงานหลัก และแผนกลยุทธ์ประจำปี มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ รวมทั้งอบรมเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ และการประกอบอาชีพแก่สมาชิก ให้ความสำคัญแก่สมาชิกด้วยการสำรวจความต้องการของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ มีการมอบหมายหน้าที่แก่พนักงานอย่างชัดเจนและมีผลการประเมินการควบคุมภายใน อยู่ในระดับดี

สมาชิกสนับสนุนการทำงานสหกรณ์นิคม

ทุกครั้งที่สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด จัดประชุมสมาชิก จะมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมใหญ่เฉลี่ยร้อยละ 97.32 สมาชิกเข้าประชุมกลุ่มเฉลี่ยร้อยละ 90.23 ประชุมกรรมการเฉลี่ยร้อยละ 97.59 ค่าเฉลี่ยของสมาชิกร่วมทำธุรกิจร้อยละ 93.45 นอกจากนี้ สมาชิกยังมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ธรรมชาติของสหกรณ์ ร้อยละ 78.33

ฐานะการเงินดีเยี่ยม

เมื่อมองดูความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน พบว่า ผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา สหกรณ์มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี สามารถดำเนินงานและประสบความสำเร็จในการบริการสมาชิก โดยมีทุนดำเนินงาน 172,236,093.28 บาท ทุนเรือนหุ้น 31,878,240.00 บาท และทุนสำรอง 14,478,734.65 บาท อัตราลูกหนี้เงินกู้ระยะสั้น ที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด อัตราการเติบโตทุนของสหกรณ์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สมาชิกสหกรณ์ มีจิตสาธารณะ มุ่งมั่นทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ ให้แก่สมาชิก ครอบครัวสมาชิก กรรมการและพนักงาน โดยทางสหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด จะเน้นการจัดสวัสดิการที่หลากหลาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกและครอบครัว สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้แก่บุคลากรของสหกรณ์ เช่น ให้ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก บุตรเจ้าหน้าที่ และการศึกษาดูงาน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สวัสดิการสมาชิกและครอบครัวสมาชิก สวัสดิการสงเคราะห์เจ้าหน้าที่และครอบครัว ช่วยเหลือสมาชิกกรณีไฟไหม้ การประกันสังคม สวัสดิการประกันชีวิต ฯลฯ

ขณะเดียวกัน ทางสหกรณ์ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ให้แก่บุคคล/ชุมชนภายนอก โดยจัดสรรทุนสาธารณประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ด้านการศึกษา ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการช่วยเหลือและบรรเทาภัยธรรมชาติ

ควบคู่กับดำเนินกิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สารสกัดธรรมชาติแทนยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี รักษาสภาพแวดล้อมด้วยการรณรงค์งดเผาตอซัง และส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทำกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

“ขนุน เป็นผลไม้ที่ขายได้ราคาดี ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนักก็ตาม…มั่นใจว่าพืชอย่างขนุนจะอยู่เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชาวสวนที่ปลูกไปอีกนาน”

นี่เป็นน้ำเสียงของ กำนันสมศักดิ์ อาจินต์ อีกฐานะหนึ่งคือ ชาวสวนขนุน อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 3 ตำบลวังจันทร์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่คลุกคลีอยู่กับขนุนมายาวนานกว่า 8 ปี จนเป็นที่รู้จักของชาวสวนที่ปลูกขนุน เพราะนอกจากปลูกขายผลผลิตแล้ว กำนันยังผลิตกิ่งพันธุ์คุณภาพจำหน่ายอีกด้วย

กำนันสมศักดิ์ เผยถึงที่มาที่ไปก่อนที่จะมาปลูกขนุนว่า ที่ดินแปลงนี้เดิมปลูกพืชพวกมันสำปะหลังบ้าง อะไรบ้าง แล้วก่อนที่จะมาปลูกขนุนก็ได้ทำสวนกล้วยไข่อยู่มาประมาณ 2 ปี ช่วงแรกๆ การปลูกไปได้ดี แต่พอหลังๆ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะพื้นที่แปลงที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นดินทราย ก็เลยคิดที่อยากจะหันมาปลูกขนุนดีกว่า เพราะขนุนไม่เลือกพื้นที่ บวกกับช่วงเวลาจังหวะในขณะนั้นราคาขนุนก็กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ก็เลยเป็นที่ไปที่มาของการปลูกขนุน…จนมาถึงวันนี้ก็ 8 ปีแล้ว

“ต้องบอกก่อนว่า ขนุนเป็นพืชปลูกง่ายมากๆ ประมาณ 2-3 ปี อาจจะมีลูกทุกต้นได้แล้ว และยังให้ผลผลิตทุกต้นอีกด้วย…ขนุนที่ผมปลูกอยู่ตอนนี้มี 2 พันธุ์ ด้วยกัน สายพันธุ์แรกทองประเสริฐษกับพันธุ์สีทอง สำหรับความแตกต่างระหว่างสองสายพันธุ์นี้ อย่างที่รู้กันดีว่าพันธุ์ทองประเสริฐนั้นก็มีปลูกกันทั่วไป แต่ในส่วนของพันธุ์สีทองนั้น ผลจะใหญ่กว่าพันธุ์ทองประเสริฐ และในฤดูฝนชุกๆ ก็จะออกดอกง่ายติดลูกเลย เนื้อก็จะไม่ค่อยมีสนิม” กำนันสมศักดิ์ บอก

กำนันบอกว่า หลังปลูก 3 ปี ขนุนมีผลผลิตให้จำหน่าย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการทำพันธุ์ขาย ก็มีเพื่อนๆ เข้ามาขอซื้อบ้าง แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเกษตรกรมาจากทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ต่างก็เข้ามาจับจองกันซื้อพันธุ์ที่ชื่นชอบ อย่างพันธุ์ทองประเสริฐมากกว่าพันธุ์สีทอง ต้นพันธุ์ทองประเสริฐ ขายอยู่ที่ต้นละ 40 บาท สำหรับขายส่ง และ 50 บาท สำหรับขายปลีก ในส่วนของพันธุ์สีทองมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าพันธุ์ทองประเสริฐ ขายที่ราคา 70 บาท สำหรับขายส่ง และราคา 80 บาท สำหรับขายปลีก

“ในการปลูกขนุนนั้น เราควรเว้นระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว อยู่ที่ 6 เมตร เพราะว่าขนุนเป็นพืชที่ไม่ใหญ่สักเท่าไร ระดับความสูงก็ไม่ค่อยสูง อีกทั้งสามารถแต่งกิ่งเพื่อให้มันดูไม่ใหญ่เกินก็อยู่ได้แล้ว” กำนันให้ข้อมูล

ต่อมากำนันเล่าถึงวิธีการดูแลรักษาผลขนุน สมัครจีคลับ เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการแรกคือ การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่จะสร้างการเจริญเติบโตถือว่าเป็นปุ๋ยพื้นฐาน อย่างน้อยที่สุดก็ควรให้ปุ๋ย ปี 1 ครั้งหนึ่ง แม้กระทั่งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็คงต้องใช้ แต่อาจจะไม่ใช้มากเท่าปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่ก็ควรใส่เป็นระยะ เพื่อให้พืชคงความเจริญเติบโต เช่น เมื่อถึงเวลาออกดอก เราก็อาจจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเร่งให้มันออกดอกเร็วขึ้น

ส่วนเรื่องของแมลงที่เข้ามาสร้างปัญหาให้กับต้นขนุนนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกหนอนมากกว่า เช่น หนอนชอนใบ หนอนเจาะ ก็มีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการใช้ยาฉีดพ่นเป็นระยะๆ ขนุนดูแลง่ายกว่าทุเรียน ต่อมาเรื่องการห่อผล การห่อผลก็ต้องห่อผลในช่วงที่ขนุนมีน้ำหนัก 30 กรัม ถึง 1 กิโลกรัม ก็จะสามารถห่อผลได้ไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าเราทิ้งไว้หรือไม่ได้ห่อผลแน่นอนก็จะมีหนอนมาเจาะ ทำให้ลูกขนุนออกมาไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้

นอกจากนี้ ยังบอกถึงการให้น้ำถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อพืช ไม่ว่าจะปลูกพืชชนิดใดก็ควรที่จะต้องให้น้ำเสมอ ขนุนก็เช่นกันเราควรที่จะให้น้ำอย่างน้อย 3 ถึง 4 วัน ต่อครั้ง อาจจะไม่ต้องมาก เปรียบเทียบกับทุเรียนแล้วน้อยกว่า แต่ถ้าไม่ให้เลยก็จะทำลูกขนุนไม่เจริญเติบโต

ปลูกขนุนจะให้ผลเต็มที่ 10 ผล แต่ไม่เกิน 15 ผล ต่อรอบ ต่อต้น “ขนุนต้นหนึ่งสามารถเอาลูกสองรอบต่อปี เพราะว่าขนุนจะออกดอกทั้งปีแล้วก็จะออกไปเรื่อยๆ ซึ่งน้ำหนักของขนุนแต่ละลูกก็จะมีน้ำหนักที่ไล่เลี่ยกัน อยู่ที่ 15-20 กิโลกรัม ต่อลูก สามารถนำไปขาย…ราคาก็จะตกอยู่ที่ 30-40 บาท ต่อกิโลกรัม ก็เท่ากับว่าขนุนลูกหนึ่งก็ทำกำไรได้หลายร้อยบาท การส่งออกส่วนใหญ่ก็จะส่งออกไปต่างประเทศ เช่นประเทศแผ่นดินใหญ่อย่างประเทศจีน และจะต้องเป็นลูกที่ไม่มีตำหนิ ต้องเป็นลูกที่ เกรด A ทั้งนี้ก็จะมีล้งรับซื้อขนุนเพื่อส่งออกตลอดปี สำหรับลูกที่มีตำหนิก็จะมีการส่งขายกันภายในประเทศ” กำนันบอก

ราคาที่ขายได้ กิโลกรัมละ 30-40 บาท เป็นขนุนที่ดูแลอย่างดี ตรงตามความต้องการของต่างประเทศ แต่หากตกเกรดขายในประเทศ ราคาจะไม่ได้แบบนี้

กำนันบอกว่า สำหรับพืชเศรษฐกิจอย่างขนุนยังเป็นพืชที่มีความนิยมในการปลูกอยู่ เพราะเป็นพืชที่มีกำไรจากการผลิต ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายเร่งขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาคการเกษตร โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น สำนักงาน กศน. จังหวัดยะลา ภายใต้การนำของ คุณขนิษฐา มะลิสุวรรณ ผู้อำนวยการ กศน. ยะลา จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและต่อยอดหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” นำวิถียั่งยืนสู่ชุมชน เพื่อให้เกษตรกรและนักศึกษา กศน. ได้เรียนรู้และเข้าใจหลักเกษตรทฤษฎีใหม่และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้