การตัดแต่งใบกล้วยจากใบกล้วยมีใบเจริญเติบโตออกมาเรื่อยๆ

เมื่อใบใหม่ออกมา ใบเก่าก็จะแก่ และแห้งติดลำต้น ชาวสวนต้องหมั่นลอกกาบ ใช้ขอเกี่ยวสางตัดใบกล้วยออก โดยจะสางใบกล้วยที่แห้งและเป็นโรคออกอยู่เสมอ โดยถือหลักว่า ถ้าใบแห้งและแก่มีสีเหลืองเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของใบกล้วย ก็ควรตัดทิ้ง เพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงแต่อย่างใด โดยมักจะเลี้ยงใบไม่น้อยกว่า 7-8 ใบ และเมื่อเครือจวนแก่ก็แต่งใบให้เหลือ 4-5 ใบ ก็เพียงพอ การค้ำกล้วย เมื่อเครือกล้วยใกล้แก่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย หรือมีลมพัดแรงๆ ชาวสวนต้องมีไม้ไผ่ หรือไม้เนื้ออ่อนที่มีง่ามไว้ค้ำยันเครือกล้วย

เมื่อกล้วยมีอายุได้ประมาณ 6-9 เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดหน่อพันธุ์ที่นำมาปลูกด้วย) นับตั้งแต่วันปลูกกล้วยไข่ (รวมถึงกล้วยน้ำว้า, กล้วยหอม) จะออกปลีในระยะใกล้เคียงกัน ก่อนที่กล้วยจะแทงปลี จะสังเกตได้ว่ากล้วยจะแทง “ใบธง” คือ ใบจะมีลักษณะไม่เหมือนใบทั่วไป เป็นใบขนาดเล็ก ใบชี้ตรงขึ้นท้องฟ้า เมื่อเห็นใบธง เป็นสัญญาณให้เราทราบว่า กล้วยของเรากำลังจะออกปลี ซึ่งปลีกล้วยจะโผล่พ้นตายอดแล้วจะเริ่มทยอยบานให้เห็นดอกกล้วย (หวีกล้วย) ดอกจะบานไล่เวียนลงมา ซึ่งจะเจริญเป็นหวีกล้วยต่อไป

ไม่นานปลีจะบานถึงดอกกล้วย หรือ หวีกล้วย ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์อยู่ส่วนปลายของปลี ซึ่งชาวสวนกล้วยเรียก “หวีตีนเต่า” โดยช่องระยะเวลาการบานของดอกกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 10-17 วัน หลังจากตกปลี เมื่อเห็นว่าดอกกล้วยบานเกือบสุดแล้ว ก็ต้องตัดปลีออก เพื่อช่วยให้ผลกล้วยมีการเติบโตได้เต็มที่ อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่ ใช้เวลาประมาณ 60 วัน นับจากแทงปลี หรือ 30-45 วัน หลังการตัดปลี

การเก็บเกี่ยวกล้วยเมื่อเห็นว่าผลแก่ ก็ให้เก็บเอาไม้ค้ำเครือกล้วยออก การตัดเครือกล้วยก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้มีดฟันที่กลางลำต้นกล้วยให้ลึก พอที่จะทำให้ลำต้นกล้วยจะค่อยเอนโน้มมาในทิศทางของผู้รับยืนอยู่ หากไม่มีความชำนาญก็ต้องช่วยกันตัดกล้วยสัก 2 คน โดยคนหนึ่งตัด อีกคนคอยรับเครือกล้วย เมื่อตัดเครือกล้วยลงมาได้แล้ว ให้นำเครือกล้วยให้ตั้งปลายเครือกล้วยขึ้นข้างบน ให้รอยตัดอยู่ข้างล่าง ตั้งกับพื้น เพื่อไม่ให้ยางกล้วยไหลย้อนลงมาเปื้อนหวีกล้วย กัดผิวกล้วย

“กล้วยไข่นอกฤดู” ทำได้กำไรดี รับซื้อแพง

การผลิตกล้วยไข่ที่นี่ปกติส่วนใหญ่เกษตรกรจะเริ่มปลูกในปลายเดือนพฤศจิกายน-มกราคม จากนั้นนับไปอีก 7-8 เดือน ก็จะไปเก็บเกี่ยวกันช่วงเดือนพฤษภาคม เรื่อยมาจะมีมากๆ ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พอเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน น้ำมักจะมาแล้วท่วมพื้นที่ลุ่มแถบนี้ ที่ส่วนใหญ่ก็จะปลูกกล้วยกันริมแม่น้ำโดยผลผลิตช่วงในฤดูดังกล่าว ถ้าเป็นตลาดส่งออกหรือลงกล่องจะตกราว 8-10 บาท/กิโลกรัม ถ้าตกเกรดลงมาก็จะส่งพ่อค้าขายในประเทศ หรือเรียกว่ากล้วยหมอน จะขาย 5-6 บาท/กิโลกรัม ถ้าคิดเป็นเงินต่อกล้วย 1 เครือ น่าจะได้ 50-70 บาท/เครือ

แต่หากเราทำกล้วยไข่ให้ออกมาขายช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ได้ ซึ่งเป็นช่วงกล้วยไข่มีน้อย ผลไม้ชนิดอื่นมีไม่ค่อยมาก จะขายได้ราคาดี อย่างราคาลงกล่องส่งนอก จะได้ราคาราวๆ 10-15 บาท/กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นเกรดตีหมอน ราคาก็ถือว่าดีเช่นกัน คือ 7-8 บาท/กิโลกรัม เช่นกัน ถ้าคิดเป็นตัวเงินต่อกล้วยไข่ 1 เครือ ก็น่าจะได้เงินราวๆ 70-150 บาท แล้วกล้วยที่ออกช่วงนี้ผิวจะสวย ไม่ค่อยมีโรค หรือฝนมารบกวนมากเหมือนที่ปลูกกันในช่วงฤดูนี้ ถ้ากล้วยเจอฝนตกหนักๆ เมื่อไหร่ มักจะทำให้ผลลายเป็นจุดๆ ทำให้กล้วยไข่ตกเกรด เป็นกล้วยหมอนซะมาก

หากเกษตรกรมีที่ดินในพื้นที่ดอน และมีน้ำรดแก่ต้นกล้วยอย่างเพียงพอ การเลือกที่จะปลูกกล้วยไข่ให้ออกช่วงนอกฤดูนี้น่าสนใจมากๆ ไม่ต้องแย่งกันขายกับใครเลย เพราะเกษตรกรรายอื่นไม่ทำ อาจจะเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวย ไม่มีน้ำให้ตลอดการเลี้ยงและดูแล และเขาไม่รู้ช่วงเวลาที่ตลาดต้องการกล้วยไข่ก็ได้

แนะนำการปลูกกล้วยไข่ จากประสบการณ์ “กล้วยไข่” มันดีตรงที่เราสามารถที่จะคำนวณวันเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ราวๆ 7-10 เดือน ถ้าเกษตรกรบำรุงน้ำ ปุ๋ย ถึงน้ำถึงต้นสมบูรณ์ กล้วยมันจะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 7-8 เดือนเท่านั้น แต่ถ้ามีการบำรุงปุ๋ยและน้ำไม่เต็มที่ อายุการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรก็จะยืดออกไปอีกเรื่อยๆ

กำไรในการทำกล้วยไข่ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ดูแลง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชใดๆ คือทำปลอดสารพิษได้ก็จะมีเพียงต้นทุนปุ๋ยและการจัดการอื่นๆ เฉลี่ยแล้วก็ 7,000-10,000 บาท/ไร่ เมื่อดูรายได้ต่อไร่ เราจะขายผลผลิตได้เฉลี่ย ไร่ละ 30,000-50,000 บาท/ไร่ หรือมากกว่านี้ มันก็ขึ้นกับราคาในช่วงนั้นๆ ด้วย และคุณภาพของกล้วยไข่ด้วย

ผักหวานป่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกและเพาะขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เกษตรกรชาว อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ใช้ภูมิปัญญาขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยวิธีการสับราก นายคำมี ปุ้งโพธิ์ เกษตรกรชาวบ้านป่าเป้ง ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น นับเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ และมีความชำนาญในด้านการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยวิธีการสับราก

นายคำมี เล่าว่าการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการสับรากนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีการขยายพันธุ์ที่เป็นความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีที่เรามีต้นผักหวานอยู่แล้ว ทำได้ง่ายๆ โดยใช้วิธีขุดดินข้างต้นผักหวานป่าเพื่อหารากผักหวาน ความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร หลุมที่ขุดควรห่างจากต้นพันธุ์ ประมาณ 50-100 เซนติเมตร เมื่อพบรากให้ใช้เสียมสับรากของต้นผักหวาน และใช้กระบอกไม้ไผ่ ครอบไว้เพื่อป้องกันการถูกทำลาย ปล่อยไว้ประมาณ 15 วัน ต้นผักหวานจะแตกยอดงอกเป็นต้นผักหวานต้นใหม่ ทำให้ได้ต้นผักหวานป่าเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การขยายพันธ์ด้วยวิธีสับรากนั้น ต้องดูที่ขนาดและอายุของต้นผักหวานด้วย สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการขยายพันธ์ด้วยวิธีนี้คือช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงปลายเดือนตุลาคมจะได้ผลดีที่สุด ซึ่งการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยวิธีการสับรากนั้น นับเป็นอีกหนึ่งวิธีขยายพันธุ์โดยไม่ต้องปลูกเพิ่ม ปัจจุบันสวนของนายคำมี ปุ้งโพธิ์ มีต้นผักหวานป่ากว่า 700 ต้น ส่วนหนึ่งมาจากการสับราก ซึ่งสามารถเก็บยอดอ่อนจำหน่ายและมีรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ

ด้านนายทรงพันธ์ จันทร์สว่าง เกษตรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่น่าสนใจและน่านำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่มีความสนใจ เนื่องจากผักหวานมีราคาค่อนข้างสูงทำให้เกษตรกรมีรายได้ปีละกว่า 2 แสนบาท ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่อยากประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่พี่น้องเกษตรกรที่อยากปลูกผักหวานเป็นอาชีพเสริม ซึ่งผักหวานป่าในช่วงฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 300-400 บาท ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน

นอกจากการขายผักหวานป่าแล้ว นายคำมี ปุ้งโพธิ์ ยังมีกิจกรรมทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านพืชและด้านประมง เน้นความหลากหลายโดยใช้ระบบธรรมชาติในการเกื้อกูลและส่งเสริมกันเองในระบบ โดยไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช จึงทำให้ผลผลิตมีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรประจำอำเภอ และยังเป็นศูนย์เรียนรู้บริหารจัดการพื้นที่ในพื้นที่แห้งแล้งของกลุ่มเพื่อนภู บ้านป่าเป้ง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น จึงมีผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก

อะโวกาโด เป็นไม้ผลที่กำลังมาแรงของอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ปลูกได้ง่ายและเจริญเติบโตดีในสภาพอากาศที่เอื้อให้ผลผลิตดก และสมบูรณ์ในเรื่องขนาดและรสชาติที่แตกต่าง ทำให้เป็นที่สนใจของตลาด มีราคาสูงเป็นที่ถูกใจของเกษตรกรจึงหันมาปลูกเพิ่มมากขึ้น

“เทพนา” เป็นสวนอะโวกาโดขายผลผลิตและต้นพันธุ์ ตั้งอยู่เลขที่ 229 บ้านเทพพนา หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สวน “เทพนา” ปลูกอะโวกาโดเฉพาะพันธุ์แฮสส์อย่างเดียว มีระบบการจัดสวนที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน แล้วยังจับมือกับภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจัดทำโครงการพัฒนาสายพันธุ์อะโวกาโดด้วยการเปิดศูนย์เรียนรู้ให้แก่เกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตต้นพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การแปรรูป ทั้งคุณภาพและการจัดการ ตอบรับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ทั้งยังวางเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ให้ดีขึ้น

ปลูกเชิงการค้า พร้อมสร้างรายได้ให้ชุมชน
คุณวิเชียร พรมทุ่งค้อ เจ้าของสวน “เทพนา” กล่าวว่า สวนแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบของการค้าและพัฒนาชุมชนควบคู่กันไป ส่วนจุดประสงค์ของการพัฒนาสายพันธุ์อะโวกาโดเพื่อต้องการให้มีคุณสมบัติตรงตามสภาพดินฟ้าอากาศของพื้นที่ แล้วส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกร่วมหรือทดแทนพืชไร่ที่เคยทำอยู่ ทั้งนี้ ต้นพันธุ์ที่จำหน่ายมาจากฝีมือของชาวบ้านในชุมชนที่ผ่านการฝึกฝนจนมีทักษะความชำนาญเต็มที่ ถือเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทาง

นอกจากนั้น ยังจำหน่ายผลผลิตในลักษณะส่งเสริมการท่องเที่ยวเน้นขายหน้าสวน เพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมความสวยงามและสัมผัสบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติของสวน “เทพนา” พร้อมชิมความอร่อยของอะโวกาโดแฮสส์ที่มีรสต่างจากที่อื่น โดยทางสวน “เทพนา” มีบริการห้องพักที่สะดวก สบาย ไว้ต้อนรับลูกค้านักท่องเที่ยวด้วย

เลือกเฉพาะพันธุ์แฮสส์ ตอบโจทย์ตลาดได้ดี
สวน “เทพนา” ปลูกและขายต้นพันธุ์เฉพาะแฮสส์จากหลายประเทศ มีพื้นที่ปลูก 2 ส่วน คือพื้นที่หลักในการผลิตและเรียนรู้มีจำนวน 30 ไร่ มีต้นพันธุ์อะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ จำนวน 1,000 ต้น ประกอบด้วยสายพันธุ์เม็กซิโก แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ส่วนสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเสริมเพื่อการช่วยในการผสมเกสรได้สายพันธุ์ Kona Sharwil (โคน่าชาร์วิล) กับอีกส่วนเป็นพื้นที่ลูกสวน จะเน้นปลูกสายพันธุ์ แฮสส์เม็กซิโกและนิวซีแลนด์ มีประมาณ 200 ไร่ ประมาณ 5,000 ต้น มีการร่วมมือในลักษณะส่งเสริมต้นพันธุ์ราคาถูกและจัดทีมดูแลคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา

คุณวิเชียรเผยถึงเหตุผลที่เลือกปลูกเฉพาะพันธุ์แฮสส์ เพราะเท่าที่ศึกษาข้อมูลทั้งเรื่องการปลูกและการตลาดพบว่า แฮสเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดของโลก ทั้งคุณภาพและราคา ผลผลิตต้านทานการเจาะทำลายของแมลงได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น มีการปลูกจำนวนไม่มากในประเทศไทยเพราะเกษตรกรผู้ปลูกยังขาดองค์ความรู้เรื่องดูแลรักษา

ขณะเดียวกัน พื้นที่อำเภอเทพสถิตมีลักษณะทางกายภาพที่เอื้อและตอบรับการเจริญเติบโต สร้างคุณภาพผลผลิตอะโวกาโดเป็นอย่างดี ช่วยให้มีรสชาติดีเยี่ยมแตกต่างจากแหล่งปลูกอื่น แล้วที่สำคัญยังสามารถต่อยอดและแปรรูปเป็นการสกัดน้ำมันได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ โดยชี้ว่าในอนาคตทั้งการรับประทานผลสดและการแปรรูปหลายแบบจะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เริ่มต้นปลูกอะโวกาโดของสวน “เทพนา”
คุณวิเชียร บอกว่า ใช้เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเพราะทนทานต่อโรค มีระบบรากที่หากินได้ดี และปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมภูมิอากาศของพื้นที่แถบชัยภูมิ เมื่อได้คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์แล้วนำมาเพาะต้นอ่อน พอมีอายุประมาณ 60 วัน จึงนำยอดพันธุ์ดีมาเปลี่ยนในลักษณะของการเสียบยอดแบบฝานบวบหรือเข้าลิ่ม แล้วรอจนยอดพันธุ์ดีแข็งแรงสมบูรณ์ก็นำไปลงดินตามหลุมที่เตรียมไว้

การเตรียมดินและแปลงก่อนปลูก
การปลูกไม้ยืนต้น ต้องให้ความสำคัญเรื่องใต้ดินเพราะรากต้นไม้จะหากินใต้ดิน ก่อนปลูกอะโวกาโดต้อง เตรียมหลุมให้พร้อม ต้องขุดหลุมประมาณ 1 เมตร คูณ 1 เมตร ใช้ปุ๋ยคอกผสมแกลบดำ อัตราส่วน 1 : 2 แกลบดำ 1 ส่วนปุ๋ยคอก 2 ส่วน ใส่ในหลุมประมาณ 3 กระสอบ หรือประมาณ 120 ลิตร ใช้ดินที่ขุดขึ้นมาผสมให้เข้ากัน แล้วราดด้วยน้ำหมักอีเอ็มและสารกันเชื้อรา เช่น ไตรโคเดอร์มา เพื่อย่อยสลายและกำจัดเชื้อราเบื้องต้น ก่อนนำต้นกล้าอะโวกาโดลงปลูก

“แปลงปลูกในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน แต่ให้ความสำคัญเรื่องการระบายน้ำ อะโวกาโดไม่ชอบดินเหนียวอุ้มน้ำ เพราะเกิดโรครากเน่าได้ แปลงปลูกที่อยู่ในที่ราบลุ่ม มีน้ำขังก็ควรยกแปลงให้สูงขึ้น แต่พื้นที่บนที่สูงก็ไม่จำเป็น ระยะการปลูกโดยทั่วไปก็เริ่มตั้งแต่ 4 คูณ 5 เมตร ถึง 8 คูณ 8 เมตร ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ต้องการเครื่องมือหนักวิ่งในสวนก็ต้องเว้นระยะให้เพียงพอ แต่ปกติถ้าสวนขนาดเล็กก็ใช้ระยะ 4 คูณ 5 เมตร จะปลูกได้ประมาณไร่ละ 50 ต้น”

การให้น้ำในระยะเริ่มแรกเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากบริเวณปลูกเป็นพื้นที่เนินเขา หน้าดินไม่สมบูรณ์ อีกทั้งผิวดินมีความเสื่อมโทรมเพราะเป็นดินลูกรัง แล้วเป็นอุปสรรคต่อการปลูกไม้ผลที่ต้องใช้น้ำในระยะเริ่ม ทั้งนี้ อะโวกาโดเป็นไม้ยืนต้นอายุประมาณ 80 ปี การให้น้ำมีความจำเป็นมาก การปลูกอะโวกาโดในสภาพปัญหาเช่นนี้จึงต้องคิดต่างด้วยการใช้หลักดึงรากลงลึกแนวดิ่ง ใช้น้ำเป็นตัวนำรากลงลึก หากให้น้ำชุ่มเฉพาะผิวดิน รากจะหากินเพียงด้านบนไม่ลงล่างจะเป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโต

ดังนั้น ในระยะแรกจะต้องให้น้ำในหลุมที่ขุดไว้จนชุ่ม คอยตรวจสอบน้ำก้นหลุมโดยใช้ไม้หรือวัสดุแหลมแทงลงไปในหลุมเพื่อตรวจดูความชุ่มชื้นว่ามีเพียงใด พยายามให้ชั้นใต้ดินชุ่ม เพื่อบังคับให้รากลงไปตามความชุ่มชื้นของดิน ซึ่งเป็นธรรมชาติของต้นไม้ ทั้งนี้ ปริมาณการให้น้ำในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการอุ้มน้ำใต้ดินของพื้นที่นั้นด้วย แต่เมื่อผ่านไปสักประมาณ 8 เดือน รากต้นไม้จะลงลึกเกินหลุมที่ขุดไว้ สามารถหาแร่ธาตุใต้ดินได้เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ตามธรรมชาติ แนวทางนี้ทำให้ประหยัดน้ำและปุ๋ยได้ รวมทั้งยังสร้างความแข็งแรงของระบบรากที่ช่วยยึดลำต้นได้ในภาวะที่เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ลมแรงมีพายุ

การดูแลรักษาก่อนให้ผลผลิต
เริ่มจากต้นปีต้องมีการบำรุงเรื่องปุ๋ยและน้ำให้เพียงพอ หรือเรียกกันว่าการสะสมอาหาร สามารถใช้ได้ทั้งเคมีและอินทรีย์ หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันได้ เช่น ใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ก่อนฝนและหลังฝน ใช้ปุ๋ยเคมีเสริมเดือนละครั้ง พอถึงสิ้นปี ต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ก็จะออกดอกติดผลผลิตตามวงรอบของต้นไม้

“อะโวกาโดสายพันธุ์แฮสส์จะเริ่มติดดอกออกผลประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคมของรอบปี ถ้าเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนมกราคมต้นปี จนถึงรอบการออกดอกปลายปีจะเริ่มติดดอกตั้งแต่ปีแรก เพราะต้นพันธุ์เป็นการเปลี่ยนยอดจากต้นแม่ที่ให้ผลผลิตมาแล้ว เมื่อเข้าสู่รอบการเป็นดอกก็จะออกดอกตามวงจรของสายพันธุ์ แต่ในปีแรกไม่ควรไว้ผลผลิตจำนวนมากเพราะลำต้นยังเล็กอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ ควรไว้แค่ต้นละ 1-2 ลูกเพื่อทดสอบคุณภาพและการดูแลรักษา ควรจะในช่วงที่ติดลูกควรจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ”

ผลผลิตรุ่นแรกควรจัดการอย่างไร
ควรไว้ผลผลิตเมื่ออะโวกาโดมีอายุ 2-3 ปี ผลผลิตจะมีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง ได้ปริมาณ 15-30 กิโลกรัมต่อต้น สวน “เทพนา” เริ่มปลูกอะโวกาโดเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562 ผ่านมา 2 ปีกว่า มีผลผลิต 2 รุ่น รุ่นแรกมีจำนวนน้อยเพราะต้นยังเล็ก อายุเพียงปีเดียว พอเข้าปีที่สองและสาม ผลผลิตมีมากขึ้น สมบูรณ์ เก็บผลผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม

เป้าหมายการตลาดคือการขายหน้าสวนแบบเป็นลูกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีขนาดผลที่ใหญ่เพราะมีจำนวนน้อย ประมาณ 4-5 ลูก ต่อ 1 กิโลกรัม ตั้งราคาขายไว้ที่ลูกละ 50 บาท ส่วนลูกตกเกรดจะขายแบบชั่งน้ำหนักให้กับกลุ่มผู้แปรรูปในราคา 150 บาท ต่อกิโลกรัม

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมผิวอะโวกาโดแฮสส์บนต้นจึงมีความมันวาว คุณวิเชียร เผยว่า อันนี้เป็นเทคนิคโดยใช้เปลือกกุ้งที่ย่อยสลายด้วยกรดอินทรีย์ซึ่งจะได้ไคโตซานธรรมชาติ แล้วนำไปฉีดพ่นใบ ดอก ทุก 10 วัน เพื่อยับยั้งเชื้อรา ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ผิวมันวาว โดยวิธีนี้ช่วยลดต้นทุน ช่วยให้ประหยัดแล้วไม่ต้องใช้เคมี

“สำหรับต้นพันธุ์ใช้เวลาดูแลก่อนขายประมาณ 4 เดือน ขายที่สวนราคาต้นละ 80 บาท มีขนาดสูงประมาณ 70-80 เซนติเมตร ใช้เวลาปลูก 12 เดือนก็ได้ผลผลิต โดยพันธุ์นี้ตั้งแต่ดอกเริ่มบานสัก 50% บนต้นจนเก็บผลผลิตได้ใช้เวลาสะสมอาหารประมาณ 240 วัน อีกทั้งขณะเริ่มมีผลอ่อนจะมีดอกใหม่แตกขึ้นมาตลอดเวลา”

สวน “เทพนา” มีการวางแผนปลูกและขยายพันธุ์อะโวกาโดอย่างเป็นระบบ แล้วชักชวนชาวบ้านมาเรียนรู้วิธีขยายพันธุ์ด้วยการเปลี่ยนยอดอย่างถูกวิธี อบรมการปลูก การดูแล ทำให้มีชาวบ้านที่สนใจเข้ามาเรียนรู้กันมากมาย จนทำให้สวน “เทพนา” กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เครือข่าย ศพก. อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

ไม่เพียงชาวบ้านในจังหวัดชัยภูมิที่ให้ความสนใจ แต่ยังมีชาวบ้านและผู้สนใจจากจังหวัดอื่นมาเรียนรู้จำนวนมาก พร้อมกับยังนำต้นพันธุ์กลับไปปลูกยังแหล่งพื้นที่หลายแห่งประสบความสำเร็จมีการขยายผลต่อยอด จนทำให้ต้นพันธุ์ขายดี สามารถขายได้จำนวนกว่า 3 หมื่นต้น ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย แล้วยังทำให้สวน “เทพนา” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

คุณวิเชียร เพิ่มเติมอีกว่า ต้นปี 2565 สวน “เทพนา” ได้จัดโครงการสวนอะโวกาโดแฮสส์ 4 ประเทศ 5 สายพันธุ์ที่นำมาปลูกในแปลงเดียวกัน ได้แก่ เม็กซิโก แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ Kona Sharwil ซึ่งมีดอกเป็น Type B ใช้เสริมการติดผลผลิตของแฮสส์ที่มีดอกเป็น Type A และจากการทดลองปลูกพบว่าออกดอกพร้อมกัน โดย Sharwil เป็นพันธุ์ที่ควบคุมปริมาณการติดดอก

“สำหรับชาวบ้าน ผลตอบแทนจากการปลูกอะโวกาโดขาย 1 ต้น มีรายได้อย่างน้อย 1 หมื่นบาทต่อปี ถ้าปลูก 1 ไร่ จำนวน 30 ต้น จะมีรายได้ถึง 3 แสนบาทต่อปี (ขายราคาหน้าสวนผลละ 50 บาท) ตัวเลขนี้เป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านหันมาปลูกกันมากขึ้น

ดังนั้น คาดว่าอีก 3 ปีข้างหน้าจำนวนอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ที่ปลูกในตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต อาจมีจำนวนถึง 3 หมื่นกว่าต้น และการปลูกอะโวกาโดเพียงครั้งเดียวมีอายุอยู่ได้ถึง 80 ปี ทำให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนความคิดของชาวบ้านให้มาปลูกอะโวกาโดร่วมกับพืชไร่ เป็นแนวทางปลูกพืชผสมผสานแทนการปลูกเชิงเดี่ยว” เจ้าของสวน “เทพนา” ปิดท้าย

สำหรับท่านที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแนวธรรมชาติ ปลายปีนี้เข้าสู่หน้าหนาวเชิญชวนปักหมุดเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ ไปชมธรรมชาติสัมผัสบรรยากาศสวยงามของป่าเขาและอากาศบริสุทธิ์ พร้อมชิมอะโวกาโดพันธุ์ แฮสส์ที่มีรสมัน เนื้อเหนียวแบบไม่เหมือนที่อื่น

สอบถามรายละเอียดสั่งซื้อพันธุ์หรือผลผลิตอะโวกาโดได้ที่ คุณวิเชียร “สวนอะโวคาโดเทพนา” หมู่บ้านเทพพนา ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ พบเห็นได้บ่อยบนท่อนไม้ยางพาราและไม้เนื้ออ่อนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมนำมาประกอบอาหารเป็นหลากหลายเมนู เช่น เห็ดแครงหมกสมุนไพร คั่วกลิ้ง แกงกะหรี่ ห่อหมก ลวกยำ ลาบ หรือไข่เจียวเห็ดแครงก็อร่อยไม่น้อย ซึ่งนอกจากความอร่อยเด็ดแล้ว เห็ดแครงยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ที่สูง และยังมีสารที่มีคุณสมบัติในการต้านไวรัส ซึ่งด้วยจุดเด่นของเห็ดแครงที่มีรอบด้าน ทำให้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเพาะเลี้ยงระบบปิดในโรงเรือนที่มีมาตรฐานปลอดภัย และสามารถเพาะเลี้ยงผลผลิตให้ออกได้ทั้งปี

คุณบุญเลิศ ไชยคง หรือ พี่เลิศ อยู่บ้านเลขที่ 49/4 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่มีฝีมือการเพาะเห็ดไม่เป็นสองรองใคร ใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับการเพาะเห็ดมานานกว่า 7 ปี เรียนรู้พัฒนาจนเข้าใจธรรมชาติของเห็ดหลากหลายชนิดตามที่ตลาดต้องการ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ เห็ดขอนขาว และเห็ดแครง ที่เป็นเห็ดน้องใหม่ของฟาร์มแต่ได้กลายมาเป็นพระเอกช่วยสร้างรายได้หลัก ราคาดีกิโลกรัมละ 250 บาท รวมไปถึงการต่อยอดทำเห็ดแครงอบแห้งเพิ่มมูลค่าขึ้นมาเป็นหลักพันบาทต่อกิโลกรัม

พี่เลิศ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเพาะเห็ดว่า ตนเองได้ประกอบอาชีพเพาะเห็ดมาเป็นเวลากว่า 7 ปี โดยในช่วงแรกเป็นการเพาะเห็ดชนิดที่หาซื้อได้ง่ายตามตลาดทั่วไป ต้องประสบกับปัญหาที่คู่แข่งเยอะ รายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้กลับมาคิดหาความแตกต่าง ทำอะไรที่คนอื่นไม่ค่อยทำหรือมีคนทำน้อย จนได้นึกไปถึงวิถีชีวิตของคนรุ่นปู่ย่าตายายที่มีมาช้านานแต่ตนเองได้มองข้ามไป นั่นคือเห็ดแครง ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารสะท้อนวิถีชีวิตของคนสุราษฎร์ธานีมานาน แต่ในปัจุบันหารับประทานได้ยาก เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพภูมิอากาศ เห็ดแครงจะมีให้เก็บแค่ในเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น รวมไปถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อก่อนชาวบ้านจะเก็บเห็ดแครงตามขอนไม้ยางพารา ตามพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งต่อมาไม้ยางพารามีการซื้อขาย ยิ่งส่งผลทำให้เห็ดแครงค่อนข้างหารับประทานได้ยากยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นจุดประกายไอเดียในการต่อยอดการเพาะเห็ดแครงสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชนิด จนได้รับมาตรฐานเป็นเห็ดแครงออร์แกนิกไทยแลนด์อีกด้วย

“เพาะเห็ดแครงสร้างรายได้”
ขายได้ทั้งเห็ดสดและแปรรูป
เจ้าของบอกว่า นอกเหนือจากคุณประโยชน์ทางโภชนาการแล้ว สมัครจีคลับ ในแง่ของการทำตลาดนั้นเห็ดแครงก็มีไม่น้อย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมากจากคุณประโยชน์ที่มีหลากหลาย ทำให้เห็ดแครงมีตลาดที่กว้าง เป็นที่ถูกอกถูกใจทั้งในกลุ่มคนทั่วไป และกลุ่มคนรักสุขภาพ กินเจและมังสวิรัติ รวมไปถึงกลุ่มคนต้องการลดน้ำหนัก จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะนำเห็ดแครงมาขยายการเพาะเลี้ยงและขยายการตลาดเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในอนาคตที่จะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น

การเพาะเห็ดแครง โดยธรรมชาติของเห็ดแครง จะชอบอากาศที่ร้อนชื้น เจริญเติบโตได้ดีแถบพื้นที่ภาคใต้ หรือหากเกษตรกรที่อยู่ภาคอื่นๆ สนใจเพาะก็สามารถทำได้ หากท่านสามารถควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมก็สามารถที่จะเพาะเลี้ยงได้ทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาทางภาคอีสานก็มีการนำเห็ดแครงไปเพาะเลี้ยงบ้างแต่ไม่ได้ทำเป็นอาชีพจริงจัง เนื่องด้วยสภาพอากาศและวัตถุดิบที่สำคัญ

ในการทำก้อนเชื้อเห็ดไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ก็จะกลายเป็นต้นทุนที่สูง

โรงเรือนเพาะเห็ด ของที่ฟาร์มตอนนี้มีโรงเรือนไว้สำหรับเพาะเห็ดแครงโดยเฉพาะ อยู่ทั้งหมด 3 โรงเรือน มีขนาดความกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8 เมตร มุงหลังคาเมทัลชีต ส่วนโครงสร้างเป็นเหล็ก ด้านข้างกั้นด้วยซาแรนและผ้ายาง เพื่อให้ระบายอากาศได้ง่าย สำหรับโรงเรือนขนาดกว้าง 4.50×8 เมตร สามารถบรรจุเห็ดได้ประมาณ 1,000 ก้อน และสะดวกในการควบคุมอุณหภูมิได้ง่าย

วิธีการเพาะ ที่ฟาร์มเป็นการเพาะเห็ดแครงอินทรีย์ เริ่มจากการทำก้อนเชื้อเห็ดมีวัตถุดิบหลักสำคัญแค่ 2 อย่าง คือ ขี้เลื่อยยางพาราและรำละเอียด ผสมในสัดส่วน ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 50 กิโลกรัม คลุกเคล้าวัตถุดิบให้เข้ากัน พรมด้วยน้ำสะอาดให้มีความชื้นพอเหมาะ ใส่อาหารเสริมและอาหารชีวภาพลงไปเพื่อให้ดอกเห็ดมีน้ำหนัก มีเนื้ออร่อย หลังจากได้ส่วนผสมแล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกเพาะเห็ด ขนาด 6.5×10 นิ้ว ประมาณ 3 ใน 4 ของถุง นำไปนึ่งในหม้อนึ่ง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เมื่อครบกำหนดเวลาพักไว้ให้เย็น ลำเลียงไปไว้ในห้องเขี่ยเชื้อ แล้วรีบใส่เชื้อ อย่าทิ้งไว้ให้เกิน 24 ชั่วโมง จะทำให้การปนเปื้อนของเชื้อสูง เห็ดแครงจะใช้เวลาบ่มก้อนเชื้อ 15-20 วัน เชื้อก็จะเดินเต็มก้อนพร้อมนำไปเปิดดอกในโรงเรือน ซึ่งสาเหตุที่ใช้วัตถุดิบเพียง 2 อย่างในการทำก้อนเชื้อนี้ได้มีการทดลองมาแล้วว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่แตกต่างกันเท่าไร เพียงแค่เชื้อเห็ดจะเดินช้ากว่าปกติประมาณ 4-5 วัน