การติดผลดกมากและผลมีขนาดใหญ่ เปลือกมีความหนาซนติเมตร

ซึ่งเป็นผลดีในการขนส่งระยะไกล เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลสุกและผลดิบ โดยเฉพาะผลสุก มะละกอมีรสชาติหวาน หอม เนื้อหนา 3-5 เซนติเมตร ทานอร่อยมาก ส่วนผลดิบใช้ตำส้มตำได้”

ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำเมล็ดมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ไปปลูกเพื่อส่งผลผลิตโรงงานแปรรูปผลไม้กระป๋อง เนื่องจากเป็นมะละกอที่มีสีสวย เนื้อหนามากและเนื้อละเอียดเนียน

ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร ได้คัดเลือกพันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” อย่างต่อเนื่องจนสายพันธุ์มีความนิ่งในระดับที่น่าพอใจ และจากการปลูกมะละกอยักษ์เรด แคลิเบียน พบว่าไม่เคยเจอต้นตัวผู้ (หรือเรียก “มะละกอสาย”) เลย จะพบเพียงต้นตัวเมียที่มีลักษณะผลกลมรีบ้างสัก 10-20 เปอร์เซ็นต์ในแปลงปลูกซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยหากเทียบกับมะละกอสายพันธุ์อื่น เช่น มะละกอพันธุ์แขกดำ และเรื่องการทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนนั้น เป็นประเด็นที่เราให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะบางต้นที่ปลูกในแปลงที่เป็นโรคจุดวงแหวน เมื่อมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ได้รับปุ๋ยและน้ำอุดมสมบูรณ์ ต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” เจริญเติบโตได้ดีและยังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไปได้อีก

ส่วนในกรณีที่ต้นอายุเกิน 2 ปีไปแล้ว ต้นมะละกอมีความสูงที่ยากในการเก็บเกี่ยวผลลงจากต้นแล้วนั้น ทางชมรมเผยแพร่ฯ ก็จะใช้วิธีการตัดต้นทำสาวมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ให้ต้นเตี้ยเหมือนต้นที่ปลูกใหม่ และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การจัดการง่ายขึ้น เก็บผลผลิตง่าย และยังได้ต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี และช่วยเก็บรักษาต้นแม่เอาไว้ได้นานอีกหลายปี ยกตัวอย่างต้นแม่พันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ที่ชมรมเผยแพร่ฯ ปลูกและตัดต้นทำสาวมีอายุยืน มีผลผลิตให้เก็บต่อเนื่องนานถึง 4 ปีทีเดียว หลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3-4 เดือน ยอดใหม่มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” จะเริ่มออกดอกติดผลต่อไป

การเตรียมดินและปลูก มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ถ้าสภาพดินปลูกมีค่า pH ต่ำกว่า 6.0 ให้หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ในอัตรา 200-300 กก./ไร่ คลุกดินโดยการไถพรวน แล้วตากทิ้งไว้ 10-15 วันเพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรค-แมลงศัตรู และกำจัดวัชพืชไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นไถยกร่องเป็นลอนลูกฟูก สูง 30-50 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3 เมตร

การยกร่องดังกล่าวเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงให้แปลงปลูกระบายน้ำดี ในการเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกลางร่องปลูกขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ควรจะพรวนดินเป็นหลังเต่า ตอนพรวนก็ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 3-5 กิโลกรัม ผสมดินในหลุมปลูก รดน้ำให้ชื้นและยุบตัวดี ระหว่างหลุม 2.5-3 เมตร คลุมบริเวณหลุมปลูกด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วันจึงปลูกได้ หรือจะปลูกก่อนแล้วคลุมฟางทีหลังก็ได้ แต่ในปัจจุบันบางสวนก็ใช้พลาสติกคลุมแปลง เพราะลดค่าแรงและเวลาการทำหญ้ากำจัดวัชพืช ที่สำคัญแปลงปลูกจะมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการเพาะต้นกล้ามะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” สำหรับเคล็ดลับเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีและสม่ำเสมอ รศ.ดร.กวิศร์ วานิชกุล ได้ให้ข้อมูลว่า

“การเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีสม่ำเสมอนั้นให้นำมะละกอแช่น้ำ 1–2 วัน โดยในช่วงวันแรกให้เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นให้เปลี่ยนน้ำถี่ขึ้น เนื่องจากเมล็ดมะละกอมีการหายใจมากขึ้นทำให้ออกซิเจนในน้ำเหลือน้อยลง หากแช่น้ำแล้วไม่เปลี่ยนน้ำเลยก็จะเหลือออกซิเจนในน้ำน้อยเมล็ดมะละกอนั้นก็จะเกิดการหมักจนเน่าได้ ในวันที่ 3 ให้นำเมล็ดมะละกอนั้นห่อด้วยผ้าเปียกน้ำหมาดๆ นำผ้าใส่ไว้ในกล่องพลาสติกหรือกระติกน้ำเก่า และมีการพรมน้ำอยู่เรื่อยๆ ก็ได้ หากแช่เมล็ดมะละกอในน้ำดังกล่าวแล้วจะทำให้ได้ต้นกล้ามะละกอที่งอกได้ดีและโตสม่ำเสมอกัน”

หรือหากจะลดความยุ่งยากและยังไม่มีความชำนาญในการเพาะกล้า บางท่านก็อาจจะเลือกใช้วิธีของศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงจ.สุพรรณบุรีแนะนำว่า ให้แช่เมล็ดพันธุ์มะละกอในน้ำอุ่น (น้ำธรรมดา 1 ส่วนผสมกับน้ำร้อน 1 ส่วน = น้ำอุ่น) ทิ้งไว้ 1 คืน เช้าขึ้นมานำเมล็ดมะละกอ หยอดปลูกลงถุงดำขนาดเล็กที่เตรียมไว้ โดยอาจจะใช้วัสดุ เช่นขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมัก หรือ ดิน 1 ส่วน หยอดเมล็ดมะละกอ ถุงละ 3 เมล็ด จากนั้นรดน้ำที่ผสมยาป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลคซิล รดให้เพื่อช่วยป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า และผสมยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมดคาบเมล็ดมะละกอที่เพาะไว้ เช่น เซฟวิน-85 วางถุงดำไว้ใต้ซาแรนพรางแสง 60 % รดน้ำทุกเช้าวันละ 1 ครั้ง

จากนั้นอีก 7 – 10 วัน เมล็ดมะละกอจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงได้ 2 ใบให้เอาซาแรนออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อเป็นการปรับตัว ในช่วงที่ต้นกล้าเริ่มงอกควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา พวกแมนโคเซบผสมกับยาแมลง เช่น เซฟวิน-85 และสารจับใบพรีมาตรอน จากนั้นฉีดพ่นให้ทุกๆ 7 วัน เป็นการป้องกันโรคและแมลงทำลาย จากนั้นประมาณ 2-3 อาทิตย์ ต้นกล้ามะละกอก็สามารถย้ายปลูกลงแปลงไว้ได้ หรือเมื่อต้นกล้าอายุ 45 วัน จึงย้ายลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ไม่ควรปลูกต้นกล้ามะละกอลึกจะทำให้รากเน่า

ในการใส่ปุ๋ยระยะก่อนติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 เดือนละครั้งๆ ละ 100-150 กรัม/หลุม หลังติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 150 กรัม/หลุม เดือนละครั้ง วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้หว่านลงดินบริเวณรัศมีทรงพุ่มของมะละกอแล้วรดน้ำตาม อย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้นมะละกอ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้

หลังจากปลูกต้นกล้ามะละกอไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ต้นมะละกอจะเริ่มออกดอก ให้เกษตรกรสังเกตดูการออกดอกของต้นมะละกอภายในหลุมทั้ง 3 ต้น ว่าต้นใดเป็นต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทย (ผลยาว) ให้คัดต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทยไว้เพียงต้นเดียว สำหรับต้นตัวเมีย (ผลป้อม) ถ้าไม่ต้องการก็ตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ออกมาจะเป็นลูกป้อมและถ้าเป็นตัวผู้ให้ตัดทิ้งเลย โดยปกติแล้วต้นดอกสมบรูณ์เพศหรือดอกกะเทยนั้น ตลาดจะต้องการมากที่สุด โดยจากการสังเกตการณ์ออกดอกของมะละกอยักษ์ เรด แคลิเบียน พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การออกดอก เป็นต้น กระเทย (ผลยาว) ค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ มีการพบต้นที่ให้ดอกตัว(ผลกลม) เมียเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนต้นตัวผู้ยังไม่พบในแปลงปลูก

การบำรุงรักษา ยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ในฤดูแล้งต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดอย่าให้ดินแห้งในฤดูฝน ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำ แต่ถ้าฝนตกหนักจะต้องดูแลการระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น โดยเสริมร่องปลูกให้สูงอยู่เสมอ ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังปลูกมักพบโรครากเน่าและโคนเน่าจึงควรราดโคนต้นมะละกอด้วยสารอาลีเอท ในช่วงฝนตกชุกก็เช่นเดียวกันจะมีโรครากเน่าโคนเน่าระบาดมาก แม้มะละกอจะออกดอกหรือติดผลแล้ว จำเป็นต้องราดโคนด้วย สารอาลีเอท ทุกๆ 15 วัน

เป็นที่สังเกตว่าการหว่านเชื้อไตรโคเดอร์มาก่อนปลูกและหว่านซ้ำทุกๆ 4 เดือน จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงกว่าครึ่ง การกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้จอบถางบริเวณโคนต้น เพราะรากจะถูกตัดขาด ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตหรือทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ แต่ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีวัชพืชขึ้น นอกทรงพุ่มต้องใช้เครื่องตัดหญ้าหรือมีดตัดให้สั้น การคลุมโคนต้นมะละกอ ใช้ฟางข้าวคลุมโคนต้นมะละกอให้หนาและหมั่นเติมฟางอยู่เสมอจะช่วยลดวัชพืช เพราะการคลุมฟางจะทำให้เมล็ดหญ้าไม่งอกและรักษาความชื้นในดิน หรือหากเป็นสวนมะละกอขนาดใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชในการใช้ต้องมีความระมัดระวัง มะละกออ่อนแอต่อยาฆ่าหญ้า

ปัจจุบันความนิยมปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็ว สามารถตัดทำเป็นไม้แปรรูปนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเป็นไม้สร้างบ้านที่ใช้ระยะเวลาการดูแลไม่ยาวนานนักอยู่ในช่วง 5 – 10 ปีนั้น กระแสตอบรับนับวันจะมีมากขึ้น ประการสำคัญของการปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็วนั้น วัตถุประสงค์หลักส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปลูกเพื่อเสริมพื้นที่ว่างตามที่ดินรกร้างว่างเปล่า หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงมีแนวความคิดหาไม้ยืนต้นที่โตเร็ว และมีประโยชน์ในการแปรรูปไม้นำมาปลูกในพื้นที่ว่างกัน

การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ว่างนั้น ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หากิ่งพันธุ์ไม้มาลงปลูก ดูแลให้น้ำบ้างในระยะแรกๆ เพื่อให้ต้นตั้งตัวได้ พอดินรัดรากดีระบบรากสามารถแตกแขนงหากินช่วยตัวเองได้แล้ว ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ เพราะไม้ยืนต้นยิ่งเป็นประเภทไม้ป่าด้วยแล้วต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ในธรรมชาติภูมิอากาศบ้านเรา 3 ฤดู ร้อน / ฝน / หนาว ได้สบายๆ กรณีนี้ต้องยกเว้นการเกิดภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรโดนน้ำท่วมนานๆ มีสิทธิ์ตายได้ เหมือนกันหมด

คุณนนท์ สุขแก้ว เป็นเกษตรกรชาวสวนอยู่ที่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 6 บ้านวังขโมย ตำบลวัดแก้ว อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ทำสวนผลไม้ผสมผสานในเนื้อที่ 80 ไร่ คุณนนท์ ได้นำไม้แดงซึ่งเป็นไม้ป่ายืนต้นประเภทหนึ่งมาปลูกในพื้นที่รอบ ๆ สวนผลไม้ ปัจจุบันไม้แดงที่ปลูกมีอายุ 10 ปี สามารถตัดขายเป็นรายได้แล้ว

คุณนนท์ พบว่า การปลูกไม้แดงนั้นไม่ยุ่งยาก แต่กลับมีประโยชน์มากมายต่อระบบนิเวศน์ในสวนผลไม้ สามารถเป็นไม้ใหญ่รับแรงลมพายุฝนได้ เป็นร่มเงาให้สวนร่มรื่น และถ้าปลูกรอบๆ สวน จะเป็นแนวคันสวนได้เป็นอย่างดี

ไม้แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบ สีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้นเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม

ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ปลายใบแหลมมน ดอกสีเหลือง ขนาดเล็กขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่มๆ ดอกจะออกราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม แล้วเป็นฝัก ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอมีส่วนปลาย ฝักแข็งยาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา

ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียว ทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี

ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และมีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม้แดงมีความทนทานสูงมาก ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทำให้สามารถนำไปใช้งานกลางแจ้งได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมนำไม้แดงไปใช้ในการก่อสร้าง เป็นโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน ทำเป็นพื้นบ้านไม้แดง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องมือทางเกษตร และทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำไม้แดงไปใช้ในการทำปาร์เก้ได้รับความนิยมรองจากไม้สักปาร์เก้ ใช้ทำเสา รอดตง ขื่อ ฝา ทำกระดานข้างเรือ เรือใบ เรือสำเภา คราด ครก สาก กระเดื่อง ส่วนต่างๆ ของเกวียน ทำสะพาน หมอนรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือต่างๆ แกะสลักก็ได้ ประโยชน์ของไม้แดงทางสมุนไพร เช่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิต และโรคกษัย แก้พิษ โลหิต และอาการปวดอักเสบของฝีต่างๆ เปลือกมีรสฝาดใช้สมานธาตุ ดอกผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ดรับประทานได้ เหล่านี้คือประโยชน์ของไม้แดง ซึ่งยังมีมากมายนัก

คุณนนท์ เล่าถึงที่มาที่ไปของการนำไม้แดงเข้ามาปลูกในพื้นที่สวนว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วไปเที่ยวน้ำตกที่จังหวัดกาญจนบุรี ไปเห็นไม้แดงบริเวณน้ำตกสังเกตุลำต้นดูตรง ยิ่งต้นใหญ่ๆ ก็เหมาะที่จะนำลำต้นมาแปรรูปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้ จึงศึกษาเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ปรับให้เข้ากับสภาพสวน ที่สำคัญพบว่าไม้แดงโคนถูกน้ำท่วมก็ไม่ตาย

คุณนนท์ บอกว่า แรกๆ พยายามศึกษาหาข้อมูล แต่หาไม่ค่อยได้ จึงต้องทดลองปลูกเอง โดยซื้อกิ่งพันธุ์ไม้แดงมาปลูก ไปซื้อตามตลาดนัดต้นไม้บ้าง ที่ร้านขายพันธุ์ไม้แถวอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ ซื้อมากว่า 400 กว่าต้น ความสูงกิ่งพันธุ์ประมาณ 1 ฟุต

“จริงๆ แล้วไม้แดงนั้นมีการทดลองปลูกได้ผลมาแล้ว แต่ตอนนั้นองค์ความรู้ยังไม่มีการเผยแพร่กันออกมา ผมเลยต้องทดลองปลูกเอง”

เมื่อได้กิ่งพันธุ์ไม้แดงมาก็วางแผนลงปลูกรอบๆ สวนประมาณ 80 ไร่ ทำเป็นคันดินกว้างลงปลูกพร้อมกับพันธุ์ปาล์มด้านนอก ด้านในสลับกัน ใช้ระยะปลูกห่างประมาณ 4 เมตรต่อต้น เมื่อต้นโตจะเป็นแนวไม้ใหญ่ล้อมรอบสวนผลไม้ที่มีอยู่ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ไผ่ และไม้ผลอื่นๆ

คุณนนท์ บอกด้วยว่า หลังจากวางแผนการปลูกแล้ว ก็เริ่มต้นด้วยการขุดหลุมปลูกเหมือนกับปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป ไม่ต้องกำหนดอะไรให้ยุ่งยาก ขุดหลุมลึกพอสมควรก็เอากิ่งพันธุ์ออกจากถุงดำแล้วลงปลูกในหลุม กลบดินปากหลุมให้แน่นตามด้วยรดน้ำจนชุ่ม เรื่องปุ๋ยไม่ต้องกังวลเลยสบายใจได้ ไม้แดงลองระบบรากเจริญดีแล้วต้นไม่ตายง่ายๆ ทนร้อน ทนฝน ทนหนาว “ไม้แดงทนได้”

ช่วง 1 – 2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไรเลย “คุณนนท์ สุขแก้ว” บอกว่า ถ้าเราใส่ปุ่ยในช่วงต้นยังอ่อนอยู่จะทำให้ลำต้นอ่อน พอฝนตกลงมาดินชุ่มมาก ๆ ลำต้นจะเอียงได้ ทางที่ดีปลูกแล้วปล่อยไปก่อน จะมาเพิ่มปุ๋ยให้ตอนช่วงปีที่ 3 ช่วงนี้ไม้แดงโตเร็วมาก ปีแรกต้นสูงเมตรกว่าแล้ว พอปีที่ 3 ต้นสูงใหญ่

“ของผมใช้วิธีให้ปุ๋ยมะพร้าว ไม้ผลในสวนก็หว่านให้ไม้แดงไปด้วย พอปีที่ 4 ต้นจะพุ่งสูงขึ้น คราวนี้กลายเป็นแข่งกันพุ่งขึ้นที่สูง เขาจะหนีต้นมะพร้าวในสวนยอดจะพุ่งสูงกว่าไม้อื่นๆ ในส่วนช่วงนี้สูงราว 10 เมตรกว่าแล้ว”

คุณนนท์ ยังบอกด้วยว่า การจะให้ต้นไม้แดงพุ่งสูงขึ้น และลำต้นใหญ่ขึ้นจะต้องมีเทคนิคกันบ้าง กล่าวคือ ช่วงปีที่ 3 ต้นฝนจะต้องกรีดเปลือกที่ลำต้นออก การกรีดเปลือกก็ใช้มีดคมๆ กรีดที่เปลือกให้เป็นทางยาวจากที่สูงลงด้านล่าง กรีดเปลือก 3 – 4 แนวรอบต้น แนวหนึ่งกว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จะช่วยให้ต้นขยายออกจากเปลือก

ปีต่อไปต้นจะเบ่งเนื้อไม้ออกจากรอยกรีดที่เปลือก ทำให้ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น ในทางธรรมชาติเปลือกไม้แดงจะแตกออกจากลำต้นเอง เพื่อขยายเนื้อไม้ให้กว้างออกแต่จะช้ามาก สู้เราช่วยกรีดเปลือกให้ไม่ได้ ต้นจะโตเร็วมากในปีต่อ ๆ ไป

ไม้แดงอายุ 7 ปี ได้ขนาดหน้า 6 หน้า 7 แล้ว ไม้แดงอายุ 6 ปี สามารถตัดมาทำเสา ทำตอหม้อสะพานได้ แต่ถ้าให้ดีควรปลูกให้ได้อายุ 15 ปี จะได้ไม้หน้า 9 – 10 นิ้ว

“ที่สวนผมอายุ 7 ปี ได้หน้ากว้าง 82 เซนติเมตรแล้ว ที่บ้านผมเป็นสวนป่า นกมาอยู่อาศัยมากมาย ถือว่าที่นี่เป็นแหล่งออกซิเจนของตำบลก็ว่าได้ ปลูกต้นไม้ไว้ 5 พันกว่าต้น ทั้งไม้ป่ายืนต้นและไม้ผล มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้มีประมาณ 3 พันกว่าต้น ความหวานหอมหายห่วง ส่งประกวดได้รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดและระดับภาค”

การปลูกไม้แดงเสริมในพื้นที่สวนเหมาะมาก เพียงแค่ลงมือปลูก ไม่นานโตทันใจ ใช้เวลาปลูก 7 ปี ตัดขายได้ ไม้แผ่นยาว 4 วา หน้า 20 นิ้ว ราคา 2 – 3 หมื่นบาท อีก 10 ปีข้างหน้า ราคาไม้กระดานไม้ปลูกบ้านหลังหนึ่งราคาเป็นล้านบาท หากลงทุนปลูกไม้เองวันนี้ กว่าจะตัดเราก็ได้ประโยชน์จากธรรมชาติมหาศาล

คุณนนท์ บอกอีกว่า ไม้แดงในพื้นที่ดอนปลูกได้ดีแต่พื้นที่นาต้องทำคันยกร่องจะดีกว่า อย่าให้ไม้แช่น้ำแฉะเกินไปหอยแครงลวก หรือหอยแมลงภู่อบ เป็นอาหารเมนูยอดฮิตที่นักชิมนิยมสั่งมากินเวลาไปร้านอาหารซีฟู้ด หลายคนนิยมกิน หอยนางรมสดกับน้ำจิ้มซีฟู้ด กินเป็นยาโป๊วบำรุงกำลัง หรือสั่งเมนูหอยนางรมทอด หรือเมนูออส่วนก็อร่อยเลิศเช่นกัน “หอยตลับ” และ “หอยหลอด” ปรุงรสในเมนูต้มยำ ผัด หรือลวกก็อร่อยแซบเว่อร์ อีกหนึ่งเมนูที่ห้ามพลาดคือ “เมนูหอยหวาน” หรือที่บางท้องถิ่นเรียกว่า “หอยตุ๊กแก” เมื่อนำมาเผา เนื้อหอยจะมีรสหวาน อร่อยสุดยอด

“หอยหวาน” เป็นสินค้าขายดีประจำร้านซีฟู้ด เพราะหอยหวานมีรสชาติหวานล้ำ อร่อย จนต้องสั่งซ้ำเป็นจานที่สอง…สาม…สี่ แต่เมนูหอยหวานจะอร่อยเลิศได้ จะต้องใช้หอยหวานสดที่ยังมีชีวิตมาปรุงเป็นอาหารเท่านั้น หากปล่อยให้หอยหวานตาย เนื้อหอยจะเน่าทันทีภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง เท่านั้น

ทุกวันนี้กระแสความต้องการบริโภคหอยหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณหอยหวานที่จับจากชายทะเลตามธรรมชาติกลับมีจำนวนลดลง เพราะหอยหวานเติบโตไม่ทันกับความต้องการของมนุษย์

โดยปกติชาวประมงจะจับหอยหวานออกขายปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงต้นฝน จึงมีหอยหวานจากธรรมชาติเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในระยะนี้ ช่วงปลายฤดูหนาว ชาวประมงจับหอยหวานส่งขายตลาดบ้างแต่มีปริมาณน้อย ทำให้หอยหวานในระยะนี้ขายได้ราคาสูง หลายคนจึงสนใจทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงการค้า แต่การทำฟาร์มหอยหวานให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการเรียนรู้และเงินลงทุนที่มากพอสมควร

เทคนิคบริหารจัดการฟาร์ม

โรงเรือนเลี้ยงหอยหวาน ต้องมีสภาพโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เกษตรกรสามารถเลี้ยงหอยหวานบนบกในบ่อซีเมนต์ ขนาดประมาณ 3×4.5×0.8 เมตร ส่วนฐานสร้างด้วยอิฐบล็อกฉาบปูนซีเมนต์ สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร ติดตาข่ายรอบๆ บ่อเพื่อป้องกันไม่ให้หอยหวานปีนออกนอกบ่อได้ รองก้นบ่อด้วยทราย สูบน้ำทะเลขึ้นมาใช้เลี้ยงหอยในบ่อ โดยให้มีระดับความเค็มประมาณ 28-35 พีพีที ปล่อยน้ำด้วยหัวฉีดน้ำ มีท่อน้ำล้นให้น้ำหมุนเวียน และเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา

หากใครสนใจทำฟาร์มเลี้ยงหอยหวาน ควรเริ่มจากจัดหาพ่อแม่พันธุ์ กระตุ้นไข่ อนุบาล เลี้ยงตัวอ่อน และทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงการค้า แนะนำให้สร้างบ่อปูนซีเมนต์เลี้ยงหอยหวานตามช่วงอายุ ตั้งแต่หอยตัวเล็กเท่าเม็ดทราย จนถึงหอยตัวโตที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปีจึงจับหอยหวานออกขายได้ โดยธรรมชาติ หอยหวานจะอยู่อาศัยเป็นกลุ่มใหญ่ ฝังตัวหลบอยู่ใต้พื้นทราย นับแสนตัวเพื่อความปลอดภัย ช่วยกันหาอาหาร และผสมพันธุ์ เมื่อเหยื่อประเภท ปู ปลา กุ้ง หลงว่ายเข้ามาในถิ่นที่อยู่ หอยหวานจะขึ้นมารุมกินจนเหยื่อไม่สามารถว่ายหนีได้ หอยหวานเป็นสัตว์น้ำที่มีอุปนิสัยเรียบง่าย กินตรงไหนจะนอนตรงนั้น จะโผล่ขึ้นมาผิวน้ำเฉพาะเวลากินอาหารเท่านั้น

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมใช้เนื้อปลาสด หัวกุ้ง ฯลฯ เป็นอาหารเลี้ยงหอยหวานในบ่อเลี้ยง ต้นทุนค่าอาหารถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของฟาร์ม เพราะปลาสดมีราคาค่อนข้างแพง เช่น ปลาข้างเหลือง โดยจะให้อาหารหอยหวานเฉลี่ย บ่อละ 1 กิโลกรัม ต่อวัน

และควรเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง หอยหวานจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 50,000 ตัว แต่อัตราการรอดตายเพียง 3% เท่านั้น

หอยหวานสามารถวางไข่ในโรงเพาะฟักได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูที่หอยหวานวางไข่มากที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม สำหรับบ่อขยาย ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวานประมาณ 1,400 ตัว ต่อบ่อ พื้นบ่อปกคลุมด้วยทรายหยาบหนา 5 เซนติเมตร และมีน้ำทะเลไหลผ่านตลอด อัตราการไหล ประมาณ 300 ลิตร ต่อชั่วโมง ระดับความลึกของน้ำในบ่อเลี้ยงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ปล่อยให้หอยหวานวางไข่เองในบ่อตามธรรมชาติ โดยสังเกตการวางไข่ในบ่อพ่อแม่พันธุ์เป็นประจำทุกวันในเวลาเช้า

ระยะการเติบโตของหอยหวาน

โดยทั่วไป แม่พันธุ์หอยหวานแต่ละตัวจะไข่ออกมาประมาณ 30-50 ฝัก แต่ละฝักก็จะมีไข่ใบเล็กๆ อยู่ข้างในประมาณ 1,000 ใบวงจรชีวิตหอยหวาน โดยคร่าวๆ ที่เห็นเป็นจุดสีน้ำตาล คือ ลูกหอยแต่ละตัว 1 จุด คือ 1 ชีวิต ไข่หอยหวานอายุ 3 วัน จะเริ่มแบ่งตัวออกเป็นหลายเซลล์ หลังจากแม่หอยวางไข่แล้วประมาณ 5-7 วัน

ลูกหอยระยะ Veliger จะออกจากฝักไข่ และดำรงชีวิตแบบแพลงตอนล่องลอยในน้ำ ลักษณะเด่นของลูกหอยระยะนี้คือ มีอวัยวะที่เรียกว่า Velum มองเห็นคล้ายปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่โบกพัดน้ำเพื่อการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ และโบกพัดอาหาร ลูกหอยระยะนี้จึงถูกเรียกว่า ระยะหอยบินตัวหอยบินอายุ 14 วัน จะกินแพลงตอนเป็นอาหาร หลังจากนั้นจะใช้เวลาแปลงกายจากตัวบินมาเป็นลูกหอยหวาน ในระยะเวลาเพียง 1 วัน พอเป็นลูกหอย ก็จะกินแต่เนื้อ เลี้ยงต่ออีก 2 เดือน ก็จะได้หอยขนาด 1 เซนต์ เรียกง่ายๆ ว่า “หอยเซนต์” ทางฟาร์มจะนำหอยเซนต์เลี้ยงในบ่อใหญ่ เรียกว่าขั้นตอนขุนหอย ใช้ระยะเวลาเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 10-12 เดือน จึงเริ่มจับหอยออกขายได้

หากใครสนใจอยากเลี้ยงหอยหวานเชิงพาณิชย์ สิ่งสำคัญประการแรกคือ ต้องมีที่ดินติดชายทะเลประมาณ 1-2 ไร่ เพราะต้องใช้น้ำทะเลในการเลี้ยงหอยหวาน ต้องใช้เงินลงทุนมากพอสมควร หากลงทุนสร้างบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงหอยจะใช้เงินลงทุนประมาณบ่อละ 30,000 บาท ต่อบ่อ หากเป็นบ่อผ้าใบ เฉลี่ยบ่อละ 5,000 บาท แต่ข้อเสียของบ่อผ้าใบ คือสภาพอุณหภูมิจะปรับเปลี่ยนตามสภาพฤดูกาล ทำให้หอยหวานเติบโตไม่คงที่ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในสภาพบ่อปูน ที่มีสภาพอุณหภูมิคงที่ หอยหวานสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมากกว่า

“น้ำทะเล” เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในฟาร์มเลี้ยงหอยหวาน แต่คุณภาพน้ำทะเลเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุมคุณภาพ โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกชุก น้ำทะเลจะมีระดับความเค็มลดลง ไม่เพียงพอสำหรับการเพาะเลี้ยงหอยหวาน แถมบางครั้งเกิดปรากฏการ์ณแพลงตอนบูม หรือขี้ปลาวาฬ เป็นอุปสรรคต่อการเพาะขยายพันธุ์ และการเพาะอาหารสำหรับลูกหอยหวาน ทำให้หอยหวานเติบโตช้ากว่าปกติ ฟาร์มหลายแห่งเจอปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงหอยหวานยาวนานถึง 15 เดือน จึงได้หอยหวานตัวโตท่ี่ตลาดต้องการ

ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ความสะอาดของบ่อเลี้ยง หากคนงานดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอ อาจทำให้หอยหวานป่วยเป็นโรคงวงบวม หอยหวานจะไม่กินอาหาร และตายในที่สุด หากเจอโรคงวงบวม แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพ บำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงหอย สำหรับน้ำหมักชีวภาพทำได้ไม่ยาก เริ่มจากเตรียมวัตถุดิบ คือ เปลือกสับปะรด กากน้ำตาล กล้วยน้ำว้า ลูกยอ ฟ้าทะลายโจร อย่างละ 20 กิโลกรัม กากน้ำตาล 30 กิโลกรัม และหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ของกรมประมง จำนวน 2 ซอง นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ในถังหมัก เทน้ำใส่ให้ท่วม หมักนาน 1 เดือน จึงใช้เป็นหัวเชื้อน้ำหมักสำหรับป้องกันโรคดังกล่าว โดยทั่วไปโรคงวงบวม มักเกิดเฉพาะช่วงที่ดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอ แต่หลังใช้น้ำหมักชีวภาพสามารถแก้ไขปัญหาโรคงวงบวมได้อย่างเด็ดขาด

ระวังเจอ “หอยหวานปลอม”เนื่องจาก หอยหวาน ขายได้ราคาสูง ทำให้พ่อค้าหัวใสบางรายแอบขายหอยหวานปลอม โดยใช้ “หอยหมาก” ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหอยหวานมาหลอกขายลูกค้า หากใครไม่อยากถูกพ่อค้าหลอก ก่อนซื้อควรสังเกตลวดลายบนเปลือก