การถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่เกษตรกรยังไม่รู้มาก่อน

แล้วหากไม่รีบดำเนินการอาจช้าเกินไป ขอให้เกษตรกรเพิ่มความเอาใจใส่ หมั่นสังเกต แล้วปฏิบัติตามขั้นตอน และวิธีที่ทางเกษตรจังหวัดแนะนำให้ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่อำเภอกันทรารมย์มีพืชที่ปลูกเป็นหลักคือ ข้าว หอมแดง กระเทียม นอกจากนั้น เป็นพืชสวนครัว ส่วนมะพร้าวจัดเป็นพืชที่ทนทาน ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ จึงสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้ไม่น้อย

คุณทองชุ่น สุรวิทย์ กำนันตำบลอีปาด บอกว่า มะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวอื่นเป็นพืชทางเลือกชนิดใหม่ของชาวบ้านในพื้นที่ นอกจากจะปลูกหอมแดงและกระเทียมกันแล้ว อย่างไรก็ตาม มองว่ามะพร้าวน้ำหอมเป็นไม้ผลที่มีความน่าสนใจ มีโอกาสสร้างรายได้ ขณะเดียวกันมะพร้าวยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้สารเคมีน้อยมาก และเมื่อดูคุณสมบัติของมะพร้าวแล้วพบว่าในพื้นที่กันทรารมย์มีความเหมาะสมอย่างมาก เพราะไม่เคยขาดน้ำ หรือไม่เคยมีความแล้งรุนแรง จึงถือเป็นจุดแข็งของพื้นที่ พร้อมกับเอื้อประโยชน์ต่อพืชชนิดอื่นอีกด้วย

สำหรับการปลูกมะพร้าวของเกษตรกรจะปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น เป็นการปลูกแบบผสมผสาน เพื่อช่วยให้มีรายได้เพิ่มเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญมะพร้าวที่ชาวบ้านปลูกยังไม่ทันจะส่งไปขายก็มีพ่อค้ามารับซื้อถึงในสวน

คุณอดิศักดิ์ จันทรัตน์ นายก อบต. อีปาด กล่าวว่า ในพื้นที่ตำบลอีปาด มีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรกรรมด้วยการทำสวนผสมผสาน พร้อมกับได้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในเรื่องการใช้ไฟฟ้า อย่างที่เห็นว่าถ้าให้เกษตรกรใช้เครื่องสูบน้ำในการทำการเกษตรจะเพิ่มต้นทุนมาก เลยมาช่วยชาวบ้านจัดหาไฟฟ้าให้อย่างเต็มที่

“นอกจากนั้น ยังดูแลเรื่องการสร้างถนนที่เป็นเส้นทางการเกษตรเพื่อให้เกิดความสะดวก คล่องตัว ประหยัดต้นทุน และประหยัดเวลา ต่ออาชีพเกษตรกรรมของชาวบ้าน แล้วยังมีการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการเกษตรกรรมด้านอื่นๆ พร้อมกับส่งไปดูงานเกษตรกรรมต่างพื้นที่เพื่อเติมความรู้ และสร้างแรงจูงใจในการทำเกษตรกรรม”

คราม (Indigofera) เป็นพืชตระกูลถั่ว ชนิดหนึ่ง และเป็นพืชที่ให้สีธรรมชาติที่ตลาดมีความต้องการสูง ขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัดที่ปลูกลูกครามเชิงการค้าโดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร มีการปลูกครามอย่างแพร่หลายทั้งการปลูกเป็นพืชเดี่ยวและปลูกตามหัวไร่ปลายนา สำหรับพันธุ์ครามที่ปลูกมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ครามสายพันธุ์ฝักงอ (ให้เฉดสีน้ำเงินถึงกรมท่าเข้ม) และสายพันธุ์ฝักตรง (ให้เฉดสีฟ้า) ซึ่งเกษตรกรมีการตัดต้นและใบครามมาผลิตเป็นเนื้อครามหรือ “ครามเปียก” จำหน่ายให้กับผู้ใช้ครามเพื่อย้อมสีเส้นใยและย้อมผ้าโดยครามเปียกมีราคาซื้อขายอยู่ที่ 100-150 บาท/กิโลกรัม ซึ่งในช่วงฤดูแล้งความเปียกจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกครามได้เป็นอย่างมาก

การปลูกครามแซมในแปลงหม่อน แนะนำให้ปลูกห่างจากแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร แต่ถ้าร่องหม่อนกว้าง 2-3 เมตร สามารถที่จะปลูกครามได้ 2 แถว ระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร แต่ถ้าร่องหม่อนแคบก็ให้ปลูกครามแซมเพียงแถวเดียวโดยใช้วิธีการหยอดหรือหว่านเมล็ด และก่อนที่จะปลูกครามต้องตัดต้นหม่อน ในลักษณะตัดต่ำ เนื่องจากครามเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก ขณะเดียวกันยังทำให้การจัดการดูแลหม่อนและครามทำได้ง่ายขึ้น ทั้งการใส่ปุ๋ยคอกหลังตัดต่ำ และการใส่ปุ๋ยเคมีโดยนำทำได้ง่ายขึ้น ทั้งการใส่ปุ๋ยคอกหลังตัดต่ำ และการใส่ปุ๋ยเคมีโดยนำปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 จำนวน 50 กิโลกรัม และสูตร 15-15-15 จำนวน 50 กิโลกรัม มาผสมกัน แล้วแบ่งใส่แปลงปลูกหม่อนและคราม 2 ครั้งๆ ละ 75 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งครั้งแรกใส่เมื่อครามอายุได้ 1 เดือน และให้ใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 2 เดือน

ทั้งนี้ การปลูกครามแซมในสวนหม่อนควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน หรือเดือนเมษายน-มิถุนายน หรือหากมีระบบการจัดการน้ำในแปลงหม่อน ก็สามารถปลูกครามได้ตลอดทั้งปี หลังปลูก 3-4 เดือน ครามจะเริ่มออกดอกและติดฝัก ซึ่งจะให้สีมากที่สุด ก็สามารถตัดต้นและให้ครามมาผลิตเป็นครามเปียกได้ และยังเก็บเกี่ยวใบหม่อนมาเลี้ยงไหมได้ด้วย

นอกจากนี้ จากผลการศึกษายังพบว่า การปลูกครามแซมสวนหม่อนทั้งแบบหว่านและแบบหยอดเมล็ด และพันธุ์ครามฝักตรงและฝักงอ ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นหม่อนและการให้ผลผลิตใบ ซึ่งหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ยังให้ผลผลิตใบถึง 1-2 ตัน/ไร่ ขณะที่ต้นควรเติบโตดีและให้น้ำหนักต้นและใบสดรวมกว่า 2,200 กิโลกรัม/ไร่ นำเข้าสู่ขบวนการสกัดเนื้อครามเพื่อผลิตเป็นครามเปียกได้ ประมาณ 275 กิโลกรัม และส่งจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

เกษตรกรอาจผลิตครามเพื่อใช้ย้อมสีเส้นไหมเพิ่มมูลค่าสินค้า หรือถ้าไม่ตัดต้นและใบครามมาผลิตครามเปียก เกษตรกรยังสามารถสร้างรายได้เสริมจากครามที่แซมในร่องหม่อนโดยการเก็บเมล็ดครามจำหน่ายให้กับผู้ปลูกครามในเชิงการค้า ซึ่งจะให้ผลผลิตประมาณ 60-70 กิโลกรัม/ไร่ ในตลาดนั้นมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูง โดยราคาซื้อขายเมล็ดครามอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-500 บาท เป็นอีกหนึ่งช่องทางเสริมรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดีกว่าทิ้งร่องหม่อนให้ว่างเปล่า นอกจากนั้นการปลูกครามแซมในร่องสวนหม่อนยังมีข้อดึ คือ สามารถช่วยตัดปัญหาเรื่องวัชพืชในแปลงหม่อน และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจำกัดวัชพืชลงได้อีกด้วย

ปัจจุบันครามเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดสกลนครเป็นอย่างมาก มีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท/ปี ซึ่งนอกจากจะส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าในพื้นที่จังหวัดสกลนครซึ่งมีชื่อเสียงในการผลิต ผ้าไหมและผ้าไหมย้อมครามและจังหวัดอื่นๆ ในประเทศแล้ว ยั่งส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เป็นต้น

กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งขับเคลื่อน ศพก.ประชุมเครือข่ายระดับประเทศ ชี้แจงระเบียบบริหาร ศพก. เพื่อการดำเนินงานอย่างมั่นคง พร้อมเสริมทัพด้วยโครงการ 9101 กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยใช้ ศพก.เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ศพก.ได้ดำเนินงานมาอย่างเป็นระบบและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ไปสู่การเติบโตในภาคเกษตรอย่างเห็นได้ชัด จากจีดีพีภาคเกษตรที่เคยติดลบก็กลับมาเป็นบวก ตรงนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้มีความยั่งยืนได้ต่อไป

สำหรับการประชุมเครือข่าย ศพก.ระดับประเทศในครั้งนี้เป็นการจัดประชุมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน โดยมีตัวแทนของแต่ละเขตทั้ง 9 เขต เข้าร่วมประชุม พร้อมกับชี้แจงผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อนำความก้าวหน้าและปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นมาตกผลึกและหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน รวมถึงแนวทางการพัฒนา ศพก.ในก้าวต่อไป ซึ่งการประชุมในแต่ละเดือนจะมีการหมุนเวียนสถานที่จัดประชุมกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัดแต่ละเขต เพื่อให้มองเห็นภาพของความก้าวหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากที่สุด เพื่อนำซึ่งการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น

ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง 2 เรื่องสำคัญด้วยกัน เรื่องแรกคือ การใช้ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการบริหารงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) พ.ศ.2560 ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งขึ้นในปีนี้ มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2560 โดยระเบียบดังกล่าวประกอบด้วย 4 หมวดหลักใหญ่ 24 ข้อ และ 1 แนบท้าย ได้แก่ หมวด 1 บททั่วไป กล่าวถึงศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ใน 4 เรื่องสำคัญ คือ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เป้าหมายในการดำเนินงาน 3 องค์ประกอบ และบทบาทหน้าที่ หมวด 2 คณะกรรมการ ศพก. หมวด 3 การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ หมวด 4 บทเฉพาะกาล ซึ่งระเบียบดังกล่าวถือเป็นระเบียบปฏิบัติและเครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยให้คณะกรรมการ ภาคเกษตรกร เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย ศพก. 882 ศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ส่วนเรื่องที่สองที่ได้แจ้งให้ทราบก็คือ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมผลักดันโครงการ 9101 เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามรอยเท้าพ่อให้ ศพก.ดำเนินการ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของ ศพก. ซึ่ง ศพก.จะทำหน้าที่เป็นองค์กรภาคประชาชน ประธาน ศพก.จะมีบทบาทในฐานะกรรมการในระดับอำเภอ และเป็นผู้มีส่วนในการขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้มีการขยายตัวมีการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น ภายใต้ 8 กรอบกิจกรรมที่จะไปสนับสนุนการดำเนินงานซึ่งกันและกัน และจะนำมาสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจการเกษตรจากชุมชนสู่มหภาคในอนาคต ซึ่งก็จะทำให้ให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการทำงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสไม่เลือกปฏิบัติของ ศพก.

ในยุคหนึ่งมนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อแสวงหาความสะดวกสบายและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง จนทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย

เรื่องการอนุรักษ์จึงถูกหยิบยกมาพูดถึงเรื่อยมา โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ดังเช่น โครงการอบรมเสวนา “สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ” ที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชน ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดขึ้น โดยมี “จุลินทรีย์” เป็นพระเอกของงาน ร่วมด้วยวิทยากรจากหลากหลายที่มา แต่ครอบคลุมความรู้ในทุกประเด็นจุลินทรย์กับการเกษตร

ประเดิมที่ นายพลอีเอ็ม พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ผู้ทุ่มเทด้านอีเอ็มมากว่า 20 ปี

พล.อ.พิเชษฐ์อธิบายว่า จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms) หรืออีเอ็ม เป็นจุลินทรีย์เลียนแบบธรรมชาติ ในกลุ่มที่มีประโยชน์ ซึ่งช่วยให้พืชเจริญงอกงามโดยไม่ใช้สารเคมีและเป็นไปอย่างยั่งยืน

“สำหรับการเลือกใช้อีเอ็ม เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่ กฟผ. หรือผมใช้มานานแล้ว เรามองว่าเป็นกระบวนการที่ดีที่สุดที่เจอมา แต่ยังมีจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีอีกหลายชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งนอกจากจะใช้ในการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ในขณะที่ต้นทุนต่ำแล้ว ยังช่วยให้สิ่งเเวดล้อมดีขึ้น คือดินไม่เสียหายทำให้สิ่งมีชีวิต ปลา กบ เขียด กลับคืนมา ที่สำคัญที่สุดยังช่วยทำให้สุขภาพดี เพราะทุกวันนี้ที่เราป่วยล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากอาหารที่เรากินและสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น อย่างการปลูกข้าวหอมมะลิ ปัจจุบันใช้ยาคลุมหญ้าป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น แต่ข้าวที่ออกมาก็ไม่อร่อย กลิ่นหอมหายหมด ยังมีสารเคมีที่อาจจะตกค้างเข้าไปอยู่ในท้องเราซึ่งอันตราย ดังนั้นถ้าจะให้ข้าวหอมมะลิกลับมาหอมอร่อย ต้องเลิกใช้สารเคมี เลิกเผาฟาง” เป็นมุมมองของนายพลอีเอ็ม

สำหรับการใช้จุลินทรีย์ของเกษตรกรขณะนี้ พล.อ.พิเชษฐ์ให้ความเห็นว่า การใช้อีเอ็มในประเทศไทยยังเหมือนป่าล้อมเมืองคือ มีการใช้เริ่มเยอะแต่สู้นายทุนใหญ่ไม่ได้ แต่อยากจะบอกว่าตอนนี้มี 165 ประเทศทั่วโลกที่ใช้จุลินทรีย์ อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ขณะนี้เขาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาก

“วันนี้เราต้องช่วยกันถ้าเรายังไม่ใช้จุลินทรีย์ต่อไปสินค้าเกษตรของไทยอาจจะถูกต่อต้านได้” พล.อ.พิเชษฐ์ทิ้งท้าย สำหรับ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ปราชญ์เกษตรอินทรีย์ระดับตำนาน อ.แกลง จ.ระยอง เล่าว่า เมื่อก่อนใช้ตามที่เขาใช้กัน เขาบอกกัน และทำตามตำรามานานเหลือเกิน แต่ทำไม่ได้สักเรื่องหนึ่ง จึงหันมาทำนอกตำรา ปรากฏว่าทำได้ทุกเรื่อง ซึ่งจากประสบการณ์นอกตำราที่ศึกษาเรียนรู้มากว่า 30 ปี ก็พอจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นเรื่องของปรัชญาแนวคิด ซึ่งผมนำหลักทั้งหมดมาจากพระมหาชนก เวลามีปัญหาทุกคำตอบอยู่ในพระมหาชนกทั้งหมด กลุ่มที่ 2 การแก้ปัญหาปัจจัยการผลิตด้วยปุ๋ยหมัก คือ ชาวนาตอนนี้รู้จักแต่ปุ๋ยเคมี ทำให้ชาวนาเป็นหนี้หมด

“ปุ๋ย สำหรับผมทำง่ายมาก มีอะไรก็เอามาหมักทำปุ๋ยหมด ทั้งเศษพืช เศษซากสัตว์ มูลสัตว์มาผสมก็ใช้ได้แล้ว แล้วค่าไนโตรเจน(เอ็น) ฟอสฟอรัส(พี) และโพแทสเซียม(เค) เท่านั้นเท่านี้ ผมไม่เชื่อ ผมเคยใช้แล้วไม่ต่างกัน เอามาใส่ต้นพริกก็เผ็ดทุกเม็ดเหมือนกัน ผมเลยเอาปุ๋ยหมักมาใช้แทนปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยหมักทำเองได้แต่ปุ๋ยเคมีทำเองไม่ได้ แล้วการทำปุ๋ยก็มีหลายวิธี ไม่ใช่แค่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว อย่างผมเลี้ยงหมู 1 คู่ ในแต่ละปี สามารถทำปุ๋ยได้ 10 ตันอาจจะเอาแกลบ ขี้เลื่อย ผักตบชวาเติมเข้าไปได้อีก แล้วผักตบชวาก็ยังเอามาให้หมูกินแทนข้าวได้ สิ้นปีอาจจะได้ของแถมเป็นลูกหมูอีก 2 คอก” ผู้ใหญ่สมศักดิ์อธิบาย

ขณะที่ด้านธุรกิจ ภานุวัฒน์ นานรัมย์ ผู้จัดการฝ่ายสนาม สุวรรณกอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ ที่เลือกนำจุลินทรีย์มาใช้ในสนามกอล์ฟแทนสารเคมี จนประสบความสำเร็จ

แต่กว่าจะเป็นสนามกอล์ฟอินทรีย์ ภานุวัฒน์เล่าย้อนว่า ช่วงที่ก่อตั้งสนามกอล์ฟเมื่อประมาณ 13 ปีที่แล้ว เลือกใช้ยา ใช้สารเคมีอย่างเดียว จนค่าใช้จ่ายแต่ละปีทะลุกว่า 30 ล้านบาท จนเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้วเกิดกระแสพระราชดำรัสด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ วิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารสนามกอล์ฟจึงปรับให้สอดคล้องกับเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยลดละเลิกใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้จุลินทรีย์แทน ซึ่งเราจะมีการเลี้ยงเชื้อไบโคโนบ้าเเละเชื้อบาซิลลัส มาเป็นปุ๋ยนำไปใช้กับสนามกอล์ฟช่วยลดต้นทุน

“พอนโยบายนี้เข้ามา ที่เห็นได้ชัดคือแต่ละปีค่าใช้จ่ายลดลงมาเหลือไม่ถึง 5 ล้านบาท ขณะที่สนามกอล์ฟก็สวย อาจจะไม่ใช่สนามกอล์ฟที่สวยที่สุด แต่ผมเชื่อว่าเป็นหนึ่งในสนามกอล์ฟที่ดี แล้วปุ๋ยที่เหลือเรานำมาใช้กับผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งจะปลูกไว้จำหน่ายให้คนที่มาออกรอบสามารถซื้อผักติดมือกลับบ้านได้ เป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้สนามกอล์ฟด้วย” ภานุวัฒน์กล่าว

ไม่เพียงแต่เกษตรกร หรือภาคธุรกิจเท่านั้น ที่สามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ วิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์มหาวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยี จ.ตรัง มองว่าชาวบ้านทั่วไปก็สามารถนำจุลินทรีย์มาใช้ได้ ซึ่งจุลินทรีย์มีทั้งตัวดีและตัวไม่ดี แล้วยังมีอีกหลายประเภทให้เลือกตามการใช้งาน อาจจะแบ่งง่าย คือของหมัก ของดอง จะเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ หรือถ้าจะทำปุ๋ยหมักที่ต้องมีการพลิก จะเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่ต้องการอากาศหายใจ ซึ่งจุลินทรีย์เหมาะสมอย่างยิ่งกับประเทศไทย เพราะจุลินทรีย์ต้องการความร้อนประมาณ 35-40 องศาในการเจริญเติบโตและขยายตัวที่ดีที่สุด

“ดังนั้นประเทศไทยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเลยก็ได้ แค่เอามูลสัตว์มาตั้งไว้เฉยๆ ในอุณภูมิปกติไม่ต้องตากแดดตากฝน จุลินทรีย์จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้เอง เหมือนต้นไม้ในป่าไม่ต้องมีคนไปใส่ปุ๋ย ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงามแล้ว แต่เพราะความอยากได้อย่างรวดเร็วมาบีบ ฉะนั้นถ้าเรากลับมาใช้วิธีปกติมันจะช่วยหลายเรื่อง ที่ชัดที่สุดคือเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัย ไม่มีโรคภัยจากสารเคมีตกค้าง ถ้าชาวบ้านหันมาใช้วิธีธรรมชาติ มาทำเกษตรปลูกเท่าที่กิน ปลูกผักที่กินในบ้านในครอบครัว อาหารการกินจะสะดวก สุขภาพก็จะดี ผมว่าไม่มีอาชีพไหนที่สบายใจเท่าอาชีพเกษตร เลือกกินของที่มีประโยชน์ได้ กินที่ชอบ ปลูกทุกอย่างที่กิน”

นายวิรัตน์บอกอีกว่า เรามักจะพูดเรื่องแต่เรื่องชุมชนเเละเน้นเรื่องขาย แต่จริงๆ แล้วตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บอกว่า ทำเพื่อกินก่อน แล้วแบ่งปัน เหลือจึงขาย สิ่งไหนที่ปลูกได้ ทำได้ก็ทำ แต่บางอย่างทำไม่ได้ก็ซื้อบ้าง อย่างน้ำตาล หรือเกลือ มันจะช่วยลดต้นทุนได้เยอะมาก

“ถ้าถามว่าหลักเศษฐกิจพอเพียง กักเก็บน้ำ 30 ส่วน นา 30 ส่วน ไร่สวน 30 ส่วน เลี้ยงสัตว์ 10 ส่วน มันเข้ากับชีวิตคนยุคนี้ได้อย่างไร บอกเลยว่าไม่ยาก ได้เงิน 100 บาท จับจ่ายในครัวเรือนอย่าให้เกิน 30 บาท สาธารณูปโภคค่าน้ำค่าไฟอีก 30 บาท ภาษีสังคมอย่าให้เกิน 30 บาท ออมอีก 10 บาทแล้วจะไม่จน” วิรัตน์อธิบาย

และว่า ตอนนี้ชาวบ้านปล่อยโอกาสที่มีอยู่คือธรรมชาติไปโดยไม่เห็นคุณค่า คือ สิ่งที่มีเราไม่อยากได้ไม่อยากกิน อยากกินในสิ่งที่ไม่มี แล้วไม่เข้าใจคำว่าตัวทดแทน เห็นคนอื่นกินต้องหามากินแบบเขา ทั้งที่ไม่ต่างจากของที่มีอยู่เลย แล้ววิถีชีวิตคนสมัยก่อน ที่ช่วยกันเข้าครัวเก็บผักเก็บแตง ขูดมะพร้าวทำกับข้าวกินกันเป็นครอบครัว วิถีชีวิตแบบนี้หายไปหมด เพราะเรามาวิ่งหาตัวเงินอย่างเดียว แต่เรื่องบางเรื่องเงินไม่ได้สำคัญนะ หาเงินได้แต่ต้องไปเช็กความดัน เช็กเบาหวานตลอดเวลา กับปลูกผักกินเท่าที่มีอยู่กับธรรมชาติ อากาศดีไม่ต้องแย่งกับคนอื่น ที่สำคัญอย่าถามว่าปีนี้คุณมีรายได้เท่าไหร่ให้ถามว่า ปีนี้คุณมีเงินเหลือเท่าไหร่ แบบไหนมีความสุขกว่ากัน

“แล้วการที่เราซื้อกินทุกวันซื้อหมดทุกอย่าง ทำให้เราต้องหาเงินเพื่อไปซื้อ แต่การที่เราไม่ซื้อแต่เราปลูกได้เองมันทำให้เราจะมีเงินเหลือเพื่อออม ในส่วนของการออมเราก็อย่ามองแต่เรื่องเงินอย่างเดียว จริงๆ แล้วการปลูกพริก ปลูกมะเขือ เหล่านี้คือการออมหมดเลยเพราะเราไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่ไม่มีใครพูดถึงเลย ถามว่าถ้ากลับมาอยู่ต่างจังหวัดแล้วอยากได้เงินปีละเเสนบาทยากหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่ยาก อาจจะลงทุนสัก 5 หมื่นบาท ซื้อวัวสัก 3-4 ตัว ลงแรงตัดหญ้า ปลูกพืชกินปลายปีขายได้ 150,000 บาทก็มีเงินออมแล้ว”

“ลองกลับไปอยู่กับธรรมชาติ ทำบ้านให้น่าอยู่ มีของกินรอบบ้าน การปลูกผักกินเองวันนี้อาจจะไม่มีรายได้สักบาท แต่คุณกินอิ่มแล้ว ไม่ต้องใช้เงินสักบาท นี่แหละคือเศรษฐกิจพอเพียง” วิรัตน์ทิ้งท้าย

ระกำ กับ สะละ จัดอยู่ในวงศ์ปาล์มเหมือนกัน พืชทั้งสองมีรูปร่างลักษณะลำต้นและผลคล้ายกันมาก จนเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะออกจากกันได้ อีกทั้งแหล่งปลูกอยู่ในบริเวณที่ลุ่ม ฝนตกชุก แถบจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด อาจมีปลูกบ้างที่ภาคใต้บางจังหวัด ความเหมือนอีกประการหนึ่งคือพืชทั้งสองแยกเพศกันอยู่คนละต้น จึงมีต้นเพศผู้กับต้นเพศเมีย กรณีที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จะได้ต้นเพศผู้ 50-70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงต้องใช้แยกหน่อ หรือนำต้นที่อายุมากแล้วนำมาตัดเป็นท่อน ยาวท่อนละ 30 เซนติเมตร นำไปชำในวัสดุเพาะชำ ต้นที่ได้ก็จะเหมือนต้นแม่ทุกประการ พันธุ์ระกำไม่มีบันทึกไว้ว่ามีกี่พันธุ์ สะละหม้อ สะละเนินวง และสะละพันธุ์สุมาลี ส่วนความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ ระกำ ใน 1 ผล มี 4 เมล็ด หรือ 4 พู แต่สะละใน 1 ผล มี 2 เมล็ด หรือ 2 พู อาจพบว่ามี 3 พู แต่พูที่ 3 มักลีบหรือฝ่อไปไม่สมบูรณ์

มักมีคำถามเสมอว่า การนำเอาละอองเกสรเพศผู้ของระกำไปผสมกับเกสรเพศเมียของสะละ ผลที่ได้คุณภาพของผลสะละจะแปรเปลี่ยนไปหรือไม่ คำตอบคือผลของสะละที่เกิดจากการผสมข้ามที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ ไม่มีเปลี่ยนแปลง เป็นไปตามทฤษฎีอิทธิพลของแม่ หรือภาษาวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ซินเนียร์ เอฟเฟ็ก แต่เมื่อใดถ้าหากนำเมล็ดที่ได้หลังรับประทานเนื้อไปหมดแล้วไปปลูก ต้นลูกที่ได้จะมีการกระจายตัว อัตรา 1 : 2 : 1 หมายถึง 1 ส่วน เหมือนพ่อ 1 ส่วน เหมือนแม่ และอีก 2 ส่วน จะอยู่ระหว่างกลางของพ่อและแม่ เป็นไปตามทฤษฎีของเมนเดลทุกประการ

จริงๆแล้ว เราสามารถเพาะเห็ดฟางไว้กินเองได้ ไม่ยากเลย แถมมีต้นทุนนิดเดียว

มาดูกัน

คุณวันชัย สวัสดิ์แดง รองนายก อบต.มหาสวัสดิ์ และ วิทยากรทางด้านการเกษตรประจำหมู่บ้านศาลาดิน ต.มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เผยเทคนิคการเพาะเห็ดฟาง กับ“เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” มาดังนี้

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

1.ฟางข้าว หรือ ผักตบชวาแห้ง

2.ขี้เลื่อยหรือวัสดุเพาะเห็ดชนิดอื่นๆ ที่ผ่านการเพาะมาแล้ว(วัสดุเหลือทิ้ง)

หัวเชื้อเห็ดนางฟ้า
4.ตะกร้าพลาสติก ขั้นตอนการทำ

ขั้นแรก นำฟางไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วผึ่งให้หมาดๆ ชื้นๆ อีก ครึ่งวัน (ให้เหลือความชื้นราว 10 เปอร์เซ็นต์ ลองบีบดูแล้วไม่มีน้ำหยด) ถ้าใช้ผักตบชวา ก็ต้องเป็นผักตบชวาตากแห้ง นำมารดน้ำ

จากนั้น นำฟางเรียงก้นตะกร้า (ปูพื้น) โรยด้วยขี้เลื่อย และตามด้วยหัวเชื้อเห็ดฟาง (ขี้เลื่อยและหัวเชื้อโรยขอบตะกร้า เพื่อให้ดอกเห็ดออกตามขอบตะกร้า เป็นชั้นๆ ขึ้นมา )

ทำซ้ำกัน จนครบ 4 ชั้น เต็มตะร้า โดยชั้นสุดท้าย โรยขี้เลื่อยและหัวเชื้อ เต็มพื้นที่ (เพื่อให้ดอกเห็ดออกด้านบน จนเต็ม)

ขั้นสุดท้าย ครอบด้วยถุงพลาสติก (เห็ดต้องการความร้อน ชื้น)

หลังจากผ่านไป 4-5 วัน ให้สังเกต ถ้ามีละอองน้ำเป็นฝ้า เกาะที่ถุง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่มีต้องเปิดถุงรดน้ำ

ครบ 9-12 วัน เห็ดเริ่มออก (ช่วงวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 อย่าเปิดถุง มิเช่นนั้น ดอกจะชะงักการเติบโต)

หลังจากเห็ดออกแล้ว เก็บได้อีก 5 วัน จะได้เห็ดราว 2 กก.

หากเก็บเห็ดหมดแล้ว วัสดุเพาะเห็ดทั้งหมด นำไปทำปุ๋ยหมักต่อได้

การลงทุน

ตะกร้า 1 ใบ 40 บาท

หัวเชื้อเห็ดฟาง 15 บาท (ทำได้ 2 ตะกร้า)

ฟาง หรือ ผักตบชวา หาได้ทั่วไป

มะเขือพวง จัดเป็นพืชผักสวนครัวที่คนไทยนิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก มักจะนำไปใส่เป็นเครื่องเทศในแกงต่างๆ ประกอบกับนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ มีการแปรรูปอาหารเครื่องเทศส่งออกนอก นับว่าเป็นผลดีในการขยายตลาดของมะเขือพวงให้กว้างมากขึ้น มีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ ยืดอายุอาหาร ปรับเปลี่ยน แพ็กถุงเพิ่มมูลค่า ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยไม่น้อย ดังนั้น การปลูกมะเขือพวงจึงเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจ ทั้งยังเป็นพืชอายุสั้น ปลูกได้ตลอดปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนจะลงทุนควรศึกษาให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการตลาด

คุณศิริพร กุศล (คุณดำ) สวนตั้งอยู่ เลขที่ 38 หมู่ที่ 3 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ปลูกมะเขือพวง ข่า ตะไคร้ ส่งโรงงาน โดยคุณดำเล่าให้ฟังว่าตนเป็นพนักงานบริษัทญี่ปุ่น ทำเกี่ยวกับชิ้นส่วนรถยนต์ ทำงานในตำแหน่งเซลส์แอนด์มาร์เก็ตติ้ง มานานกว่า 20 ปี ได้รับเงินเดือนสูงถึง 150,000 บาท ต่อเดือน แต่ผลตอบแทนที่มากขนาดนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจะตอบโจทย์คุณดำได้ทุกอย่าง ช่วงหลายปีหลังๆ เริ่มอิ่มตัวในสายงาน ประกอบกับอายุที่มากขึ้น อยากได้ชีวิตที่อิสระและมีไอดอลอยู่ในใจ

“พี่ที่เป็นไอดอลเราเขาเป็นผู้จัดการโรงงานย่านปทุมธานี มีเงินเดือนหลักแสนเหมือนกัน แต่เขายังตัดสินใจออกมาทำการเกษตร และทำได้ดี ประสบผลสำเร็จมาก เราจึงตัดสินใจออกมาทำเกษตรบ้าง” คุณดำ กล่าว

แต่ก่อนที่คุณดำจะหันมาจับงานเกษตร สมัคร UFABET มีการลองผิดลองถูกมาแล้วหลายอาชีพ ทั้งการเรียนนวดหน้า ทำขนม แต่คิดว่าสิ่งที่เรียนมานำไปต่อยอดได้ยาก เช่น การเปิดร้านทำขนม หากไม่อร่อยจริง ก็สู้เจ้าใหญ่ไม่ได้

“หลังจากนั้น เราจึงได้แนวคิดของการทำเกษตร คือเราเริ่มปลูกจากพืชที่ปลูกง่าย และตลาดมีความต้องการ เช่น ข่ากับตะไคร้ก่อน พอเริ่มคล่องจึงเริ่มปลูกมะเขือพวง ปลูกยากหน่อยแต่ให้ผลผลิตเร็ว เราต้องบอกก่อนว่าเราได้เปรียบในเรื่องของการตลาด เพราะสายงานเดิมเราเป็นงานที่เกี่ยวกับการขายมาก่อน การตลาด เป็นสิ่งที่สำคัญ” คุณดำ กล่าว

มะเขือพวง 40 ไร่ รายได้หลายแสน

คุณดำ บอกว่า มะเขือพวง เป็นพืชอายุสั้น ใช้ระยะเวลาในการปลูก 3-4 เดือน ก็เก็บผลผลิตขายได้แล้ว แต่การปลูกมะเขือพวงไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด หลายคนอาจเคยอ่านเจอบนซื่อโซเชียลต่างๆ ว่า มะเขือพวง ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ มะเขือพวงเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำเยอะก็จริง แต่ก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะเรื่องโรคแมลงต้องหมั่นสังเกต

การปลูกและการดูแล

ก่อนปลูกต้องเตรียมดินก่อน โดยการเปิดหน้าดิน ตากดินไว้นาน 1 สัปดาห์ จากนั้นโรยขี้ไก่ แกลบ และปูนขาว เริ่มปลูก ให้ขุดหลุม 20×20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ และปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อ การปลูกให้ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 2×2เมตร เป็นระยะห่างที่ดูแลง่าย