การนำความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการมาใช้ในชุมชนสามารถ

ยืดอายุการจัดเก็บของผลิตภัณฑ์เห็ดแครงแปรรูป สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับผู้ผลิต และชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดย มทร.ศรีวิชัย พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จึงนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และสามารถสร้างโอกาสทางการตลาดให้ผู้ผลิต กลุ่มเห็ดแครงบ้านนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม สามารถแข่งขันในตลาด AEC ได้ในอนาคต อีกทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ยังคงเอกลักษณ์ของชุมชน

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ โทรศัพท์ (089) 822-4140

ทีมนักศึกษาสถาปัตย์ มทร.ธัญบุรี ซิวแชมป์ BEC Award 2018 สำเร็จ ออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ด้วยแนวคิดพึ่งพาธรรมชาติและผสมผสานกับวัสดุอุปกรณ์ทันสมัย

นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นายพงศธร กลิ่นเทียน ‘จิ๋ว’ และ นางสาวณัฐสุกานต์ คำสิริจรัส ‘ดรีม’ ชนะเลิศผลงานกิจกรรมประกวดออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ประเภทนักศึกษาออกแบบสถานศึกษา ในชื่อผลงาน ‘โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี’ School of Energy Project โดยมี ผศ.ดร. วรากร สงวนทรัพย์ และ อาจารย์โสพิศ ชัยชนะ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ภายใต้กิจกรรม ‘แบบอาคาร BEC ที่มีประสิทธิภาพพลังงานระดับดีเด่น’

พงศธร เล่าถึงแนวคิดในการออกแบบ มี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ Passive Design ที่เน้นการพึ่งพาธรรมชาติด้วยแนวคิดการแบ่งสมองซีกซ้าย-การเรียน และสมองซีกขวา-การเล่น โดยออกแบบพื้นที่ของอาคารที่เน้นช่องเปิดโล่งให้ลมสามารถเข้าออกได้สะดวก ตามทิศทางของลม และนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ใช้สอยได้รับบรรยากาศในสภาวะที่สบาย กลืมกลืนไปกับธรรมชาติ ส่วนที่สองคือ Active Design ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยประหยัดการใช้พลังงานในอาคาร

วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เลือกใช้ประกอบด้วย 1. การปกปิดผิวอาคารด้วยเมทัลชีท 2. ผนังอาคารใช้คอนกรีตมวลเบาฉาบเรียบ 2 ด้าน ภายนอกทาสีอ่อน 3. ติดตั้งกระจกใสสีเขียว เพื่อให้แสงส่งผ่านเข้ามาได้เพียง 40% 4. ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 130 แผง ทางทิศใต้และทิศตะวันตก 5. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ใช้เทคนิคการออกแบบติดตั้งสวิตช์เปิดเปิดแบบแยกตามแนวอาคารที่มีแสงสว่างจากภายนอกเข้าถึง และเลือกใช้หลอดไฟ LED 6. เครื่องปรับอากาศ จะเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ที่มีความจำเป็น 7. แผงกันแดดเป็นวัสดุเดียวกับหลังคาชั้นบน และ 8. การเลือกตำแหน่งสระน้ำ เพื่อให้ลมช่วยพัดพาความเย็นเข้าสู่ตัวอาคาร

“ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกำลังให้ความสนใจอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และเริ่มใช้แนวทางตามมาตรฐาน BEC นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก อยากให้มีการรณรงค์ สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากช่วยลดรายจ่ายด้านพลังงานของประเทศได้อีกด้วย สำหรับการประกวดครั้งนี้นับเป็นประสบการณ์ที่ดี และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนมาสู่สนามจริง” พงศธร กล่าว

ขณะที่ ณัฐสุกานต์ กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้อาคารเรายังไม่ผ่านเกณฑ์การประกวดที่จะต้องประหยัดพลังงานทั้งอาคารให้ได้มากกว่า 70% เราจึงได้เลือกใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทางเลือก และผลลัพธ์คือ สามารถช่วยประหยัดพลังงานทั้งอาคารได้อีก 6.5% ขณะเดียวกันการตกแต่งสภาพแวดล้อมบริเวณรอบอาคารให้ร่มรื่นก็มีผลต่อความเย็นสบายของผู้ใช้อาคาร และสามารถลดการใช้พลังงานได้ด้วย หลังจากออกแบบเบื้องต้นแล้วได้นำข้อมูลวัสดุไปคำนวณด้วยโปรแกรม Building Energy Code: BEC ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบอาคารต่อเกณฑ์มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ซึ่งผลอาคารประหยัดพลังงานที่ออกแบบเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสามารถประหยัดพลังงานถึง 71% ผ่านเกณฑ์ฉลากระดับดีเด่นประเภทอาคารสถานศึกษา

ณัฐสุกานต์ กล่าวอีกด้วยว่า อาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเป็นเรื่องราวที่สอดคล้องกับงานสถาปัตยกรรมและพลังงานโดยตรง ตนได้ฝึกคิดและลงมือปฏิบัติโดยเฉพาะการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม และมีคุณภาพตามมาตรฐาน BEC การดำเนินกิจกรรมในอาคารจำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ถ้าเราวางแผนตั้งแต่แรกเริ่มของงานสถาปัตย์ จะทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ และมีความฝันอยากเป็นสถาปนิก และมองว่า “ความยั่งยืนของสถาปัตยกรรม ส่วนหนึ่งมาจากด้านพลังงาน” ขอบคุณประสบการณ์ที่ดีครั้งนี้ และจะเป็นแรงผลักดันในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นอื่นต่อไป

LPN ชูศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN เป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมกับภาคเอกชนสร้างความเข้มแข็ง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แรงงานที่ทำงานในประเทศไทย เดินหน้าสานต่อโครงการฯ ร่วมกับซีพีเอฟเป็นปีที่ 2 เน้นสร้างความสัมพันธ์กับแรงงานใกล้ชิดมากขึ้น

นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ มูลนิธิ LPN กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีสำหรับความร่วมมือระหว่าง LPN บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในการก่อตั้งและดำเนินการศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN เป็นศูนย์รับเรื่องราวของพนักงานที่ดำเนินการโดยองค์กรที่เป็นกลาง ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และการดูแลแรงงานตามหลักสากล และมูลนิธิ LPN และ ซีพีเอฟ จะยังสานต่อการดำเนินงานของ Labour Voices Hotline เป็นปีที่ 2 โดยในปี 2562 ที่จะร่วมมือปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมที่เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างบริษัทกับพนักงานระดับแรงงานทุกเชื้อชาติมากขึ้น

“ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN เป็นความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยผนวกจุดแข็งของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาติกว่า 20 ปีมาช่วยกันยกระดับมาตรฐานการจัดจ้างและบริหารจัดการแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล” นายสมพงค์ กล่าว

ศูนย์รับเรื่องราวของพนักงานที่ดำเนินการโดยองค์กรที่เป็นกลาง อย่าง Labour Voices Hotline by LPN ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในความใส่ใจเรื่องของสิทธิมนุษยชนของซีพีเอฟ องค์กรที่เป็นนายจ้าง ให้พนักงานระดับแรงงานที่ทำงานกับซีพีเอฟ ทุกคน ทุกเชื้อชาติ สามารถสื่อสารเรื่องต่างๆ ด้วยภาษาตนเอง อย่างสะดวกใจเหมือนพูดคุยกับเพื่อนที่ไว้ใจได้ และเป็นเพื่อนที่มีความรู้สามารถให้คำแนะนำแก่แรงงาน และช่วยกระตุ้นให้แรงงานมีส่วนร่วมเสนอแนะบริษัทฯ เพื่อช่วยให้แรงงานมีชีวิตความเป็นอยู่และทำงานในประเทศไทยได้อย่างปกติสุข ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค

นายสมพงค์ กล่าวต่อว่า แผนการดำเนินงานในปีที่ 2 จะเน้นกิจกรรมเชิงรุกมากขึ้น เปิดโอกาสให้องค์กรนายจ้างและแรงงานใกล้ชิดกันมากขึ้น เช่น การเยี่ยมบ้านและหอพักของแรงงาน การพูดคุยกับแรงงานเชิงลึก รวมถึงการพัฒนาแกนนำของแรงงานขึ้นมาคอยดูแลเพื่อนแรงงาน เพื่อขยายเครือข่ายการดำเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับแรงงานทุกคนอย่างครอบคลุม และที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมเห็นถึงความเอาจริงเอาจังของภาคเอกชน อย่าง ซีพีเอฟ ในการตรวจสอบการจัดจ้างแรงงานข้ามชาติตั้งแต่ต้นทาง และให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักการสากล

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในปีหน้า LPN ยังร่วมกับ ซีพีเอฟจัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำแรงงานในโรงงานต่างๆ ของซีพีเอฟต่อเนื่องจากปีนี้ที่มีจัดการอบรม เพื่อส่งเสริมให้แรงงานรู้จักและเข้ามาใช้บริการศูนย์ Labour Voices Hotline อย่างทั่วถึง รวมทั้ง เป็นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้แรงงานทุกเชื้อชาติของซีพีเอฟสามารถเข้าถึงสิทธิที่พึงมีอย่างครบถ้วน

“ความรู้กฎหมายและสิทธิด้านแรงงาน จะช่วยให้พนักงานซีพีเอฟทุกคน รวมถึงคนงานข้ามชาติ สามารถดำเนินชีวิตและทำงานอย่างมั่นใจ ไม่ต้องหวาดระแวง และแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ยังเป็นอีกพลังเครือข่ายช่วยป้องกันและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ และการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบที่อาจจะเกิดกับคนในครอบครัวหรือคนที่รู้จักตั้งแต่ต้นทางจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย” นายปริโสทัต กล่าว

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกอาหารอันดับต้นๆ ของโลก การทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาคประชาสังคมด้านแรงงาน ช่วยสร้างการยอมรับให้กับผู้บริโภคทั่วโลกว่า ตลอดห่วงโซ่อาหารที่ผลิตจากประเทศไทย มาจากแรงงานที่ได้รับการดูแลที่ดี ภายใต้มาตรฐานสากลโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

ทุกวันนี้ ชาวไทยภูเขาที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ห่างไกล ที่การคมนาคมไม่สะดวก ก็มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาผ่านช่องทาง “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และการทำงานด้วยความเสียสละ ของ คุณครูอาสา กศน. หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ครูดอย” ที่ตั้งใจทำงานช่วยเหลือเด็กเยาวชนและชาวบ้านที่ด้อยโอกาสให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) ปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ขึ้น โดยส่งครูอาสาสมัคร กศน. หรือ ครูดอย จำนวน 1-2 คน ไปทำงานอยู่กับชาวเขาในชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างพลเมืองที่ดีของชาติ ครูอาสาจะทำหน้าที่ให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืน และสอนเด็กตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 ในตอนกลางวัน

โครงการ ศศช. ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจของคนไทยและต่างชาติ ทำให้โครงการดังกล่าวได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี 2537 ในฐานะแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐาน กศน. จึงขยายโครงการ ศศช. ไปยังชุมชนทุรกันดารทั่วประเทศ ประมาณ 773 แห่ง

ปี 2535 ครูอาสาสมัคร กศน. คนหนึ่ง ในพื้นที่โครงการ ศศช. บ้านใหม่ห้วยหวาย จ.แม่ฮ่องสอน ได้เขียนบรรยายถึงความยากลำบากในการทำหน้าที่ครูดอยในถิ่นกันดารลงตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง พร้อมขอรับการสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน และสิ่งของเครื่องใช้ในการสอนเด็กเยาวชน บังเอิญ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ได้ทรงอ่านข่าวครูอาสาสมัคร กศน. ในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 80,000 บาท ให้สร้างอาคารเรียน และทรงรับ ศศช. ทุกแห่ง ไว้ในพระอุปถัมภ์จนถึงปัจจุบัน

ช่วงปี 2539 กศน. ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี จึงได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ขอพระราชทานชื่อของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ซึ่งเป็นพระราชสมัญญานามของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี แต่ กศน. ยังคงใช้ชื่อย่อศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวว่า “ศศช.” มาจนถึงทุกวันนี้

ศศช. บ้านแม่แรม

หมู่บ้านท่องเที่ยว “บ้านแม่แรม” หมู่ที่ 12 ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เปรียบเสมือน “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” เพราะที่มีชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่ จำนวน 1,499 คน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชาวเขาเผ่าม้งได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ม้ง ที่จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขสนุกสนาน มีการละเล่นการตีลูกข่าง โยนลูกช่วงระหว่างหนุ่ม-สาว ฯลฯ

หมู่บ้าน “บ้านแม่แรม” ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาสลับกับที่ราบ ชาวเขาเผ่าม้งส่วนใหญ่นับถือผี รองลงมา นับถือศาสนาคริสต์ รอบหมู่บ้านแวดล้อมด้วยป่าชุมชนแบบร้อนชื้น ชาวเขาเผ่าม้งทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด ทำไร่กะหล่ำ ปลูกพริก ฯลฯ ปัจจุบัน ระบบคมนาคมที่ดีขึ้นทำให้ชาวบ้านมีโอกาสเรียนรู้ชุมชนภายนอกเพิ่มขึ้น และมีช่องทางในการนำผลผลิตออกขายสู่ตลาดในวงกว้างมากขึ้น

นอกจากผลผลิตทางการเกษตรแล้ว กลุ่มสตรีชาวเขาเผ่าม้งทุกช่วงวัยยังมีฝีมือด้าน “งานปักผ้าด้วยมือ” ผลงานแต่ละชิ้น ตกแต่งด้วยลวดลายม้งที่ประณีต จึงสวยงามสะดุดตา สามารถพบเห็นฝีมือการปักผ้าที่สวยงามได้ทั่วไปบนชุดเสื้อผ้าชาวเขาเผ่าม้งที่สวมใส่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทุกวันนี้ สตรีชาวเขาเผ่าม้งตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยทำงานสนใจเรียนรู้ การทำผ้าด้นมือ เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้หาเลี้ยงครอบครัว

กระเป๋าผ้าด้นมือฝีมือชาวเขาเผ่าม้ง บ้านแม่แรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) บ้านแม่แรม ตระหนักถึงความสนใจและความต้องการของสตรีชาวเขาเผ่าม้งในชุมชนแห่งนี้ ที่ต้องการเรียนรู้ การทำผ้าด้นมือเพื่อเป็นอาชีพเสริม รวมทั้งปรับปรุงงานฝีมือการตัดเย็บให้มีความประณีตมากขึ้น

ดังนั้น กลุ่มผู้เรียน กลุ่มแม่บ้านและครูอาสาสมัคร กศน. จึงได้ร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมการเย็บปักผ้าด้นมือลวดลายชาวม้ง ซึ่งเป็นงานละเอียด ประณีต และรักษาเอกลักษณ์ลวดลายชาวเขาเผ่าม้ง ที่แตกต่างจากชุมชนคนพื้นที่ราบทั่วไป

“คุณอัจจิมา วรรณเลิศ” ครูอาสาสมัคร สังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดแพร่ เล่าว่า ศศช. บ้านแม่แรม จัดโครงการอบรมอาชีพ “การทำผ้าด้นมือลวดลายชาวเขา” เพื่อให้กลุ่มสตรีบ้านแม่แรมธำรงคุณค่าของการเย็บปักผ้าด้วยลวดลายชาวเขา และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาเผ่าม้งให้มีความหลากหลาย เพิ่มช่องทาง เพิ่มรายได้ ในการหาเลี้ยงครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คุณครูอาสาสมัคร กศน. และกลุ่มผู้เรียนเป้าหมายได้ร่วมประชุมวางแผนและศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ซื้อทุกกลุ่มอาชีพ วิเคราะห์แนวโน้มตลาด กลุ่มสินค้าที่ขายง่ายและเร็ว นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพผ้าด้นมือ หาวิทยากรที่มีความรู้เฉพาะด้านมาสอน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การทำผ้าด้นมือในรูปแบบที่หลากหลาย และมีประสบการณ์ในการขายสินค้า เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่ตลาด

วิทยากรจัดการเรียนรู้การทำผ้าด้นมือ เพื่อเพิ่มคุณค่าการปักผ้าลวดลายม้งทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยนำลวดลายม้งที่มีความละเอียด ประณีต สวยงาม มาประดับตกแต่ง กระเป๋าสตางค์ พวงกุญแจ กระเป๋าเครื่องสำอาง กระเป๋าถือสำหรับสุภาพสตรี ให้มีความสวยงามหลากหลายมากขึ้น ปัญหาอุปสรรค ที่พบก็คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากสมาชิกกลุ่มยังขาดประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการจำหน่ายและการเติบโตของกลุ่มในอนาคต

“สมาชิกกลุ่มพยายามหารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันยุค ทันสมัย พัฒนาฝีมือการทำผ้าด้นมือที่มีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างต่อเนื่อง นำมาปรับใช้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันในการหาตลาดกับชุมชนอื่นๆ ได้ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่รู้จักของผู้ซื้อ เพิ่มโอกาสการขายและเพิ่มช่องทางการตลาดได้มากขึ้น” คุณครูอัจจิมา กล่าวในที่สุด

ต้นแบบงานประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผลักดันอาเซียนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

เอสซีจี ร่วมนำเสนอแนวคิดและวิธีการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรม “Green Meeting” ในการประชุม “ASEAN SUMMIT 2019” และทุกกิจกรรมตลอดทั้งปี 2562 ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นต้นแบบการจัดประชุมที่มุ่งใช้ทรัพยากรจัดงานอย่าง คุ้มค่า ตั้งแต่การออกแบบการจัดงาน ลดการใช้เอกสาร การเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ลดปริมาณขยะ และผลิตนิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิลที่สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำและใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษได้อีกครั้ง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเเละประเทศในอาเซียนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีมี Passion และให้ความสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาปรับใช้ในทุกกระบวนการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่การคิดและออกแบบสินค้าให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงทน และคุ้มค่าที่สุด โดยใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยที่สุด และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้ว ยังสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการที่ใกล้เคียงได้ ตลอดจนได้ขยายแนวปฏิบัตินี้ไปสู่นวัตกรรม “Green Meeting” หรือการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกโอกาสของเอสซีจี

สำหรับการประชุม ASEAN SUMMIT 2019 ในครั้งนี้ เอสซีจีรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสให้ร่วมนำเสนอนวัตกรรม “Green Meeting” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรณรงค์สร้างจิตสํานึก และชวนผู้ร่วมงานร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การแบ่งปันแนวคิดเรื่องการจัดเตรียมงาน การลดการใช้เอกสาร การเตรียมสถานที่จัดประชุม การเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่หาได้ในท้องถิ่น การลดปริมาณขยะภายในงาน รวมถึงการสนับสนุนวัสดุตกแต่ง เช่น การตกแต่งเวทีและป้ายชื่องาน

และนิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิลที่สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำในการประชุม ASEAN SUMMIT ได้ตลอดทั้งปี 2562 และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษรีไซเคิลได้อีกครั้ง ตลอดจนของที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิล หรือการนำของที่ไม่ใช้แล้วมาเพิ่มคุณค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Waste to Value Products) โดยเอสซีจีคาดหวังว่า ด้วยกระบวนการคิดที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถร่วมกันปฏิบัติได้นี้ จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ประเทศไทยและประเทศในอาเซียน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกได้ (Sustainable Development Goals : SDGs)”

ก้าวต่อไป เอสซีจีจะยังคงมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผสานกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ช่วยถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ที่สนใจ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย ทุกวันนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ผลิตได้น้อย บางปีจึงต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาใช้ในประเทศ

ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ลูกผสม ที่มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหมและเก็บเกี่ยว ที่สำคัญให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้

สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมที่จำหน่ายในท้องตลาด มักให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เลย เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น

ในแต่ละปีการผลิตเกษตรกรจะเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2 ครั้ง ข้าวโพดรุ่นแรก เริ่มปลูกในช่วงฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ยังคงมีฝนตกมาก ทำให้ผลผลิตข้าวโพดมีความชื้นสูง อันเป็นสาเหตุสาคัญที่ทำให้เกิดเชื้อรา และสารแอลฟลาท็อกซิล การเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นสอง ปริมาณผลผลิตไม่มาก นิยมปลูกในเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งปีถัดไป (มีนาคม-เมษายน)

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกดูแลง่าย

คุณกัณฑิมา อยู่เพ็ชร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 10/1 ม.7 ต.ช่องสาริกา อ.ช่องสาริกา จ.ลพบุรี เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวเธอปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงปัจจุบันยาวนานนับ 20 ปี สาเหตุที่เลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว เพราะแหล่งที่ดินทำกินในพื้นที่ตำบลช่องสาริกา มีสภาพเป็นที่ดอน ไม่เอื้อต่อการทำนา แต่เหมาะต่อการปลูกพืชไร่มากกว่า เธอจึงตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะพืชไร่ชนิดนี้ปลูกดูแลง่าย

เธอมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 260 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเธอเอง และที่ดินเช่า ในท้องถิ่นแห่งนี้ สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ปีละ 2 รุ่น ผลผลิตรุ่นแรกจะเริ่มปลูกประมาณช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคมของทุกปี เกษตรกรจะคอยสังเกตว่า หากฝนตกลงมาเมื่อไร ก็จะลงมือปลูกทันที ส่วนผลผลิตรุ่น 2 จะลงมือปลูกอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมเท่านั้น หากฝนมาล่าช้ากว่าปกติ เกษตรกรก็จะหันไปปลูกทานตะวันแทน

ปัจจุบัน คุณกัณฑิ มาเลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ซีพี 801 เพราะมีขนาดฝักใหญ่ ยืนต้นดี ปลูกถี่ได้ อายุเก็บเกี่ยวฝักสด ประมาณ 110 วัน หากเก็บฝักแห้งจะใช้เวลาปลูก ประมาณ 120 วัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะเด่นคือ ความสูงต้นปานกลาง ตำแหน่งฝักต่ำ ลำต้นแข็งแรง ระบบรากและการยืนต้นดี ให้ผลผลิตฝักดี่ยว ขนาดใหญ่แต่แกนเล็ก เมล็ดลึก เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง เปลือกหุ้มฝักมิด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,500-2,000 ก.ก./ไร่

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ซีพี 801 เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ราบ ที่เนิน สภาพดินสมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนปานกลาง เมื่อปลูกในระยะห่าง 70×20 ซม. หลุมละ 1 ต้น ไม่ควร 12,000 ต้น/ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ เมื่อดูแลจัดการแปลงอย่างเหมาะสม เริ่มจากช่วงรองพื้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีหมอดิน สูตร 10-10-5 พร้อมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ในอัตรา 20-30 ก.ก./ไร่ เพื่อบำรุงให้ธาตุอาหารหลัก รองและเสริม สำหรับช่วยบำรุงระบบราก บำรุงลำต้นให้เติบโตเร็ว ใบเขียวนาน