การนำแหนแดงไปใช้แหนแดงสด ถ้าจะใส่ในนาข้าว

เกษตรกรควรนำไปหว่าน 2 ช่วง ด้วยกัน ช่วงแรก หว่านแหนแดงก่อนตีเทือก เพื่อให้แหนแดงไปเพาะขยายในท้องนา ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่มปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา ดังนั้น เมื่อตีเทือกเสร็จก็หว่านข้าวหรือดำนาได้เลย อีกช่วงหนึ่งถ้าเป็นนาดำ ให้ดำนาไปก่อน แล้วหว่านแหนแดงลงไปในนา แหนแดงจะไปขยายพันธุ์เต็มท้องนา เพราะนาดำมีลักษณะเป็นบ่อน้ำตื้น ประโยชน์ที่ได้ตามมาก็คือ แหนแดงจะช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันไม่ให้วัชพืช ข้าววัชพืช ข้าวลีบ หรือข้าวดีด ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าว ตกค้างอยู่ในนา เจริญเติบโตขึ้นมาในนาข้าว

นอกจากนั้น ยังมีรายงานผลการทดสอบภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติว่า การเลี้ยงแหนแดงในนาแล้วไถกลบก่อนปักดำ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทัดเทียมกับการใส่ปุ๋ย ยูเรีย อัตรา 4.8 กิโลกรัม/ไร่ และการเลี้ยงแหนแดงหลังปักดำก็ให้ผลผลิตทำนองเดียวกัน หรือการไถกลบทั้ง 2 วิธี ร่วมกันก็สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือกได้ โดยเฉลี่ย 160 กิโลกรัม/ไร่

เนื่องจากแหนแดงมีโปรตีน ไขมัน เซลลูโลส และแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนประกอบจำนวนมาก จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์พบว่า กรดอะมิโนที่จำเป็นในแหนแดงมีปริมาณสูงเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย สามารถทำให้น้ำหนักของปลาและขนาดของปลาเพิ่มขึ้นมากกว่าปลาที่เลี้ยงในนาข้าวโดยไม่มีแหนแดงร่วมด้วย

นอกจากนี้ การเลี้ยงปลาในนาข้าวยังทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูทำนาจากมูลปลาที่ถ่ายออกมาหลังจากกินแหนแดงเข้าไป ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่าแหนแดงเป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์มากในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร ดร. ศิริลักษณ์ กล่าว

แหนแดงแห้ง เนื่องจากแหนแดง เพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว เราก็เก็บรวบรวมมาตากแดดไว้ ประมาณ 2 วัน ก็แห้ง เก็บใส่กระสอบรวบรวมไว้สำหรับใช้ปลูกพืช อัตราที่นำแหนแดงแห้งไปใช้ ประมาณ 20 กรัม ต่อดินวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม จากผลการทดลองปลูกผักสลัดให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดร. ศิริลักษณ์ บอกว่า แหนแดงแห้งมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากแหนแดงสด เพราะองค์ประกอบของแหนแดงมีไนโตรเจนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรีย แหนแดงแห้ง 6 กิโลกรัม เท่ากับปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 10-12 กิโลกรัม ซึ่งเพียงพอสำหรับการปลูกพืช

แหนแดง เหมาะสำหรับเกษตรอินทรีย์
เกษตรกรที่ปลูกผักหรือทำการเกษตรอินทรีย์ ถ้าใช้แหนแดงผสมกับดินปลูก จะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน จึงผลิตแหนแดงเพื่อสนับสนุนงานเกษตรอินทรีย์หรือการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามระบบทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แบบครบวงจร แหนแดงสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย กินได้ทั้งสดและแห้ง ควบคู่ไปกับอาหารเม็ด หรือผสมกับฟางข้าวหรือหญ้าแห้งก็ได้ เพราะองค์ประกอบของแหนแดงมีโปรตีนสูง ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ มีอะมิโนแอซิดครบทุกตัว จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะในหน้าแล้งขาดแคลนหญ้าอาหารสัตว์หรือมีไม่เพียงพอ เกษตรกรสามารถใช้แหนแดงสดหรือแห้งผสมกับฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง สัตว์ก็จะได้อาหารที่มีคุณภาพดี เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงแหนแดงโดยเลี้ยงในบ่อน้ำตื้น ประมาณ 4-5 เซนติเมตร แหนแดงจะไม่มีวันขาดแคลน เก็บเกี่ยวได้ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะแหนแดงจะเจริญเติบโตและขยายตัวไปได้เรื่อยๆ

“แหนแดง สามารถไปทดแทนปุ๋ยยูเรียได้ในขณะที่ปุ๋ยมีราคาแพง และไม่ต้องกังวลในเรื่องของปุ๋ยปลอม” ดร. ศิริลักษณ์ กล่าวในที่สุด

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับแม่พันธุ์แหนแดง รวมทั้งรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดงได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-579-7523

ขึ้นชื่อว่า เกลือ นึกถึงก็ต้องขยาดด้วยรสชาติความเค็ม กินเปล่าๆ คงไม่ไหว แต่รู้ไหมว่ารสเค็มๆ ของเกลือสามารถเพิ่มความหวานให้ผลไม้ได้ อีกทั้งยังช่วยลดสารพิษในผลไม้ได้

เกลือ ช่วยลดสารพิษ
พ่อบ้านแม่บ้านยามที่ซื้อผลไม้หรือผักมาจากตลาด หากไม่มั่นใจว่าจะมีสารตกค้างในผักหรือผลไม้หรือไม่ สามารถสร้างความมั่นใจได้โดยนำผลไม้แช่ในน้ำเกลือนานพอสมควรแล้วล้างให้สะอาดอีกครั้งหนึ่งจึงรับประทาน ผลไม้ที่รับประทานทั้งเปลือก เช่น ฝรั่งและชมพู่ ใช้วิธีการนี้ได้

เกลือ ช่วยให้ผลไม้รสหวาน
คุณสมศักดิ์ เดโชจิรกุล ผู้ปลูกส้มโอที่ชัยนาท บอกว่า อยากให้ส้มโอรสดีควรหว่านเกลือให้กับต้นส้มโอปีละ 1 ครั้ง ใช้เกลือที่เก่าๆ สีออกดำ ราคาไม่แพง คุณสวัสดิ์ เปาทุย ผู้ปลูกมะพร้าวที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แนะนำว่า ผู้ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอยู่ไกลทะเล หากต้องการให้ติดผลดก น้ำมะพร้าวหอมหวาน หว่านเกลือเก่าๆ ให้บ้าง จะช่วยให้ต้นมะพร้าวที่ปลูก ติดผลดกและมีรสชาติหอมหวานอร่อยตามที่ต้องการ

มะพร้าวน้ำหอม เป็นชื่อที่ใช้เรียกมะพร้าวอ่อน ที่นิยมดื่มน้ำและกินเนื้อ ที่ผ่านมา ในตัวมะพร้าวอ่อน น้ำอาจจะมีรสหวานพร้อมทั้งมีกลิ่นหอมแรง แต่นานๆ เข้าเกิดการกลายพันธุ์ ความหอมลดลง ส่วนความหวานนั้นยังคงอยู่ หากไม่คงอยู่ก็ปรับแต่งได้ด้วยปุ๋ย ส่วนความหอมนั้นปรุงแต่งยาก นอกจากคัดพันธุ์จากต้นที่มีความหอม

จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งใหญ่ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมหรือมะพร้าวอ่อน คุณศักดิ์ชัย ศรีสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูลว่า ทั้งจังหวัดมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวน้ำหอม 18,000 ไร่ เนื่องจากพืชชนิดนี้ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง สามารถขายได้ทั้งในและต่างประเทศ ทางจังหวัดจึงมีแผนขยายพื้นที่ปลูก หากทำได้ปีละ 500 ไร่ ถือว่าประสบผลสำเร็จ

เกษตรกรคนเก่ง ขยายพันธุ์พืชอย่างมืออาชีพ
คุณนงค์นารถ ห่วงเจริญ เกษตรกร อยู่บ้านเลขที่ 76/20 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าทองหลาง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่ขยายพันธุ์พืชอย่างมืออาชีพ และประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในละแวกนั้น ปัจจุบัน คุณนงค์นารถทำกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ 53 ไร่

คุณนงค์นารถ เป็นคนพื้นเพเดิมแถวนี้ จึงรู้จักพืชพรรณประจำถิ่น รวมทั้งพืชใหม่ ที่คาดว่าจะมีอนาคต ในวัยเรียน เขาเรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา จากนั้นเรียนระดับปริญญาตรี ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อก่อนที่นี่รู้จักกันดีในนามเกษตรลาดกระบัง

เมื่อเรียนจบ คุณนงค์นารถทำงานในระบบราชการอยู่พักหนึ่ง จากนั้นจึงลงมาทำเกษตรอย่างจริงจัง โดยการผลิตมะม่วง ละมุด มะพร้าว โดยที่พืชเหล่านี้ผลิตเพื่อขายผล รวมทั้งต้นพันธุ์ อย่าง มะม่วงท้องถิ่นอำเภอบางคล้า มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รสชาติของมะม่วงที่นี่อร่อย เพราะมีน้ำเค็มเข้าถึงบางฤดูกาล ชาวบ้านเรียกว่าดินลักจืดลักเค็ม คล้ายๆ กับทางสมุทรสงคราม ด้วยเหตุนี้ มะม่วงบางคล้าจึงขายได้ราคาดี การออกดอกติดผลก่อนบางพื้นที่ของไทย ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้คนนิยมชมชอบ

บางคล้าทุกวันนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผลผลิตทางการเกษตรจึงจำหน่ายได้ราคาดี

คุณนงค์นารถ บอกว่า มะม่วงที่ปลูกจำหน่ายผลผลิต รวมทั้งทำกิ่งพันธุ์จำหน่าย ซึ่งมีลูกค้ามาซื้ออย่างต่อเนื่องคือ มะม่วงขายตึก น้ำดอกไม้ และเขียวเสวย อีกพันธุ์หนึ่งที่ขายผลผลิตได้ดีคือ ทะวายเดือนเก้า

มะม่วงเขียวเสวยและน้ำดอกไม้ คงรู้จักกันดีแล้ว ส่วนมะม่วงขายตึกเป็นมะม่วงที่มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดฉะเชิงเทรา จุดเด่นนั้นเนื้อสีเหลืองเข้มในช่วงที่ผลยังดิบอยู่ เมื่อสุกรสชาติหวาน ในงานประจำปีของจังหวัดฉะเชิงเทรา คืองานมะม่วง…ขายตึก เป็นมะม่วงที่มีจุดขายมาหลายปีแล้ว

นอกจากที่แนะนำมา เจ้าของสวนยังหาพันธุ์ใหม่ๆ มาขยายพันธุ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น พันธุ์อาร์ทูอีทู จากออสเตรเลีย รวมทั้งพันธุ์จากไต้หวัน

มะพร้าวน้ำหอม หอมมาก หอมน้อย ดูและดมที่ราก
วันที่ไปเยี่ยมชมสวนของคุณนงค์นารถ อยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว เมื่อไปถึงเจ้าของเฉาะมะพร้าวให้ดื่มน้ำ นอกจากรสหวานล้ำลึกแล้ว จมูกยังสัมผัสได้ว่า น้ำมะพร้าวมีกลิ่นหอม ซึ่งไม่ได้พบมานานแล้ว ทั้งๆ ที่ตระเวนทำข่าวมา 10-20 ปี

ทุกวันนี้ คุณนงค์นารถ ขายผลผลิตมะพร้าวเพื่อกินผลอ่อนไม่มากนัก แต่เขาเน้นขยายพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

“มาจากไกลๆ กัน มาจากแม่น้ำโขง เขามาซื้อพันธุ์ไปปลูกกัน” คุณนงค์นารถบอก มาจากแม่น้ำโขง หมายถึงลูกค้าจากอีสานแถบริมแม่น้ำโขง เขาตื่นตัวปลูกมะพร้าวเพื่อส่งไปลาว เวียดนาม และจีน

คุณนงค์นารถ อธิบายว่า ที่บางคล้า เป็นแหล่งมะพร้าวอ่อนที่น้ำหอม แต่ปลูกไปนานๆ พบว่า มีการกลายพันธุ์ ดังนั้น จึงต้องมีการคัดพันธุ์ โดย หนึ่ง คัดจากต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว และน้ำมีกลิ่นหอมแรง โอกาสพบการกลายพันธุ์มี เพราะใน 1 ทะลาย มี 10 ผล เมื่อปลูกมีผลผลิตออกมา อาจจะพบว่าบางต้นหอมมาก บางต้นหอมน้อย สอง ดูจากทรงต้น มะพร้าวน้ำหอมที่มีกลิ่นแรง ทรงต้นจะเปลาตรง สะโพก (ลำต้นที่ติดกับดิน) ไม่ใหญ่ หากใช้มีดถากที่รากแล้วมีสีชมพู แสดงว่า ต้นพันธุ์จากต้นนี้ ส่วนใหญ่หากนำไปปลูกน้ำมีกลิ่นหอม

สาม ดูที่รากจากต้นงอกใหม่ สามจุดหนึ่ง หากต้นงอกใหม่ รากมีสีขาว ปลายรากมีสีขาว ใช้มีดปาดรากดู ยังมีสีขาวอยู่ ดมที่รากไม่มีกลิ่นหอม มะพร้าวผลนั้นเมื่อนำไปปลูกมีผลผลิต น้ำไม่หอม สามจุดสอง หากต้นงอกใหม่ รากสีขาว ปลายรากสีชมพู ปาดตามขวางราก มีสีขาว ดมดูมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ต้นพันธุ์นั้นเมื่อมีผลผลิตออกมามีกลิ่นหอมปานกลาง

สามจุดสาม หากต้นงอกใหม่มีปลายรากสีชมพู ใช้มีดปาดรากดู มีสีชมพู ดมดูมีกลิ่นหอมชัดเจน แสดงว่า มะพร้าวผลนั้นเมื่อนำไปปลูกจะได้น้ำหอมกลิ่นแรง

นอกจากนี้ ยังพิสูจน์ได้โดยการใช้มีดกรีดเบาๆ รอบโคนต้นงอกใหม่ หากต้นไหนโคนสีชมพู เมื่อนำพันธุ์ไปปลูก ผลผลิตออกมามีกลิ่นหอมแรง “การคัดมะพร้าวของเรา คัดจากการดูที่ต้นก่อน คัดจากต้นที่ให้ผลผลิตน้ำหอม จากนั้นนำมาเพาะแล้วมาดูที่ราก จึงนำเสนอต่อผู้ปลูก มีเสียงตอบรับมาว่าได้ผลตามที่เราแนะนำไว้ คนที่ซื้อไปปลูก หากซื้อไปขายต่อ เป็นมืออาชีพอยู่แล้ว เราไม่แนะนำมาก แต่หากมาซื้อไปปลูกไว้กินผล เราจะแนะนำนาน” คุณ นงค์นารถ บอก

เป็นแนวทางการคัดพันธุ์มะพร้าวของคุณนงค์นารถ ที่ได้จากประสบการณ์บวกกับวิชาการเกษตรที่เรียนระดับปริญญาตรีมา

อยากรู้ราคาซื้อขาย เจ้าของบอกว่า หากต้นรากขาวน้ำหวานอย่างเดียว ต้นละ 80 บาท ราคาขึ้นลงใกล้เคียงกับที่อื่น ส่วนต้นพันธุ์น้ำหอม จำหน่ายอยู่ระหว่าง 150-200 บาท คุณนิพนธ์ พรหมรักษ์ เจ้าของ “สวนพริกไทยท้ายไร่” เลขที่ 58 หมู่ที่ 4 บ้านวังกระทึง ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

การปลูกพริกไทย กับการใช้ชีวภัณฑ์
ในการปลูกพริกไทยนั้นเราต้องเข้าใจว่า พริกไทย จะเจริญเติบโตได้ดีกับอากาศที่มีความชื้นสูง แดดไม่แรง ซึ่งในยุคเริ่มต้นของการปลูกพริกไทยนั้น นิยมปลูกกันมากในภาคตะวันออกของประเทศไทยเรา ซึ่งจะเป็นลักษณะอากาศชื้น ฝนชุก มีลมพัดผ่าน ทำให้ไม่มีความร้อนสะสม แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีการเกษตรขึ้นมาก รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเกษตรออนไลน์มีมากขึ้น โดยปัจจุบันสามารถเลียนแบบหรือจำลองบรรยากาศให้มีความชื้นตามแบบที่พริกไทยต้องการได้

การปลูกพริกไทยสมัยใหม่นี้จะมีการพรางแสงให้กับแปลงพริกไทย หรือมีระบบพ่นหมอกบริเวณรอบๆ แปลงปลูก หรือการติดตั้งระบบน้ำการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์จากด้านบนลงมา ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยที่จะสามารถปลูกพริกไทยกันได้ทั่วไปในขณะนี้ ซึ่งบรรยากาศที่พริกไทยชอบนี้ก็ไปตรงกับการเจริญเติบโตได้ดีกับเชื้อรา แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์กับพริกไทยหรือพืชอื่นๆ กล่าวคือ จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นและมีแสงน้อย

ดังนั้น การปลูกพริกไทยจึงเหมาะอย่างยิ่งที่เราจะมาใช้ชีวภัณฑ์แทนการใช้เคมีภัณฑ์ที่มีแต่อันตรายสะสมแก่ตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภคผลผลิตของเกษตรกรที่นำออกไปจำหน่าย เรามาทำความรู้จักชีวภัณฑ์กันก่อน ชีวภัณฑ์ หมายถึง ชีวินทรีย์ ได้แก่ รา แบคทีเรีย ไวรัส ที่ใช้เป็นสารควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช โดยที่ไม่มีอันตรายแก่คนหรือสัตว์ต่างๆ

สำหรับการปลูกพริกไทยนั้น พริกไทย มักจะเป็นโรคที่เกิดจากความชื้น เช่น ราน้ำหมากที่ใบ รากเน่าโคนเน่า ราสนิม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและการป้องกันกำจัดโรคที่มักเกิดกับพริกไทยของเรา จึงควรใช้ ชีวภัณฑ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งชีวภัณฑ์ตัวที่ต้องใช้ควบคู่กับการปลูกพริกไทยตลอดกาลคือ เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่มีความยุ่งยากในการต้องเพาะเลี้ยงเชื้อแล้ว มีผู้ผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่าชนิดเม็ดเคลือบฟิล์มออกมาจำหน่ายแล้ว เพียงแค่บดให้แตกแล้วผสมน้ำฉีดพ่นได้เลย หรืออาจจะผสมลงในน้ำของถังพ่นหมอกสำหรับแปลงที่มีการติดตั้งระบบพ่นหมอก หรือฉีดพ่นกับเครื่องพ่นทั่วไป โดยพ่นทุก 7-10 วั

เชื้อไตรโคเดอร์ม่านี้จะป้องกันและกำจัดเชื้อราต่างๆ ที่เป็นโรคประจำตัวของพริกไทยได้ โดยใช้อย่างสม่ำเสมอก็จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป ซึ่งที่สวนตนเองใช้มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องพบว่าได้ผลดี ต้นพริกไทยไม่เจอเรื่องการระบาดของโรคเชื้อรา

ข้อควรระวัง สำหรับพริกไทยในช่วงฤดูร้อน
ถือว่าเป็นประสบการณ์โดยตรงของตนเอง คุณนิพนธ์ เล่าว่า ปัจจุบันบ้านเราช่วงฤดูร้อนในปัจจุบันจะมีความยาวนานเป็นพิเศษ และฝนทิ้งช่วงนานหลายเดือน ซึ่งเป็นเหตุให้อุณหภูมิในบางที่สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส แม้ในที่ร่มก็ตาม ดังนั้น เมื่ออุณหภูมิสูงมากเช่นนี้ทุกๆ วัน เกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยมักพบปัญหายอดอ่อนหรือกิ่งปราง (แขนง) ที่ออกมาใหม่จะไหม้และแห้ง สุดท้ายจะร่วงหมด โดยพริกไทยต้นที่โตแล้วปลายยอดจะร่วงหมด ส่วนพริกไทยปลูกใหม่ยังไม่แข็งแรง จะค่อยๆ แห้งตายในที่สุด ส่วนใบที่แก่แล้วจะโดนความร้อนเผาไหม้ ทำให้น้ำในใบพริกไทยออกไปหมด ใบพริกไทยจึงค่อยๆ มีสีดำแห้งและร่วงไปในที่สุด

เกษตรกรหลายคนเมื่อพบปัญหาเช่นนี้มักจะรดน้ำเพิ่มขึ้น วันละ 2-3 รอบ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธีเพราะจะไปทำให้เกิดปัญหารากเน่าโคนเน่าตามมาอีก ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องไปแก้ที่ต้นเหตุ คือ การลดอุณหภูมิหรือควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไปในบริเวณแปลงพริกไทย มาดูวิธีกันดังนี้

ระบบให้น้ำจากที่สูง แบบนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากต้นทุนต่ำ และใช้ร่วมกับระบบให้น้ำพริกไทยเลย โดยการทำระบบน้ำของพริกไทยให้มีความสูงจากพื้น ประมาณ 1.2-1.5 เมตร ตามระหว่างเสาพริกไทยเมื่อให้น้ำความชื้นจึงเกิดขึ้นรอบๆ บริเวณและใบต้นของพริกไทยจะได้รับน้ำด้วย หรือเกษตรกรบางคนอาจจะใช้สายไมโคร PE เป็นท่อนำแนบขึ้นไปกับเสาพริกไทย แล้วให้น้ำมาจากด้านบนเพื่อให้เสาปูนที่ปลูกมีความชื้นและลดความร้อนบริเวณรอบๆ เสาพริกไทยได้

ระบบพ่นหมอก ระบบนี้ต้นทุนสูงมาก ตกไร่ละ 30,000 บาท โดยประมาณ แต่การควบคุมความชื้นจะมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งติดตั้งระบบการตั้งเวลาให้ทำงานอัตโนมัติด้วยแล้วยิ่งจะทำให้การทำงานลงตัวยิ่งขึ้น ผลพลอยได้ที่ตามมาคือสามารถใส่สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา แบคทีเรียต่างๆ ปนไปในระบบพ่นหมอกได้เลย ซึ่งถือว่าเป็นผลพลอยได้ที่คุ้มค่ามาก โดยที่สารชีวภาพพวกนี้ต้องการอุณหภูมิในการแตก สปอร์หรือการขยายเชื้อที่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นต้น สำหรับคนที่ไม่ชอบลงทุนเพิ่มหรือปลูกจำนวนน้อยๆ หลัก ก็ต้องอาศัยความขยันเพิ่มงานคือ ช่วงเที่ยงหรือบ่ายที่มีอุณหภูมิสูง ให้ใช้เครื่องพ่นยาแรงดันสูง เดินพ่นน้ำในแปลงเพื่อลดอุณหภูมิในช่วงนั้นๆ ให้แปลงพริกไทย

การขยายพันธุ์พริกไทย

พริกไทย เป็นพืชไม้เลื้อยที่มีระบบรากส่วนหนึ่งที่มีความพิเศษกว่าพืชทั่วไป ที่เราเรียกกันว่า รากอากาศ โดยเมื่อมีความชื้นในอากาศรากนี้จะแตกออกมาจากข้อที่มีความแก่พอเหมาะของกิ่งพริกไทย ดังนั้น ทำให้การขยายพันธุ์พริกไทยสามารถที่จะทำได้ง่าย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย เช่น ความชื้นในอากาศ โดยที่อุณหภูมิต้องไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส หากพื้นที่ใดมีอุณหภูมิที่สูงกว่านี้ ควรมีการพรางแสงให้โรงเรือน หรือระบบพ่นหมอกเพื่อลดอุณหภูมิในบริเวณโรงเรือนนั้นด้วย ส่วนที่นำมาขยายพันธุ์ของพริกไทยซีลอน มีอยู่ 2 ส่วน คือ กิ่งแขนง และกิ่งไหล โดย

กิ่งแขนง หรือชาวสวนพริกไทย เรียก “กิ่งปราง” ซึ่งเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตอยู่แล้วบนต้น เมื่อนำมาปักชำหรือตอนกิ่ง กิ่งแขนงหรือกิ่งปรางเมื่อนำไปปลูกจะมีพัฒนาการสร้างทรงพุ่มอยู่ทางด้านล่างของเสาปลูก เป็นพุ่มเตี้ยออกช่อติดผลเลยทันทีที่ต้นตั้งตัวหรือแตกยอดใหม่หลังการปลูกกิ่งแขนงหรือกิ่งปรางจะให้ผลผลิตเร็ว หากท่านใดมีพื้นที่น้อย ต้องการนำไปใส่กระถางปลูกรับประทานในบ้านเล็กๆ น้อยๆ ก็เลือกต้นพันธุ์จากกิ่งแขนงไปปลูก

กิ่งไหล คือ ส่วนยอดสุดของต้น ที่เรามักพบว่า มักจะเลื้อยห้อยลงมาเมื่ออยู่บนเสาปูน ซึ่งยอดกิ่งไหลนั้นจะมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินสะสมอยู่ในส่วนปลายยอด และที่ยอดอ่อนเป็นจำนวนมาก พัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตและการพุ่งหาแสงจะมีค่อนข้างมาก ถ้านำมาปลูกเชิงการค้า คือปล่อยเลื้อยขึ้นเสาปูน ควรเลือกซื้อต้นพริกไทยที่ตอนหรือชำมาจากกิ่งไหลมาปลูก เพราะจะโตเร็วเลื้อยเกาะขึ้นหลักเร็วกว่าต้นพริกไทยที่ได้จากกิ่งแขนง แต่จะให้ผลผลิตช้ากว่าต้นพันธุ์ที่ได้จากกิ่งแขนง ผลผลิตจะเริ่มเก็บได้ก็ประมาณ 8-14 เดือน หลังปลูก

แต่ถ้าท่านใดเอาส่วนของต้นพันธุ์ที่ได้จากกิ่งแขนงหรือกิ่งปราง เลี้ยงให้ขึ้นหลัก ก็จะนานกว่าส่วนที่เลี้ยงต้นพันธุ์จากไหลยอด เพราะการที่กิ่งแขนงให้ผลผลิตเร็วจะทำให้มีพัฒนาการทางด้านความสูงช้า ดังนั้น ถ้าปลูกแบบการค้าเลื้อยขึ้นเสาปูน จึงใช้ในส่วนของไหลยอดมาขยายพันธุ์ เพราะเลื้อยขึ้นเสาค้างที่มีความสูงได้ดีนั้นเอง

การขยายพันธุ์พริกไทยที่นิยม
มี 2 แบบ คือ

แบบการตอน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าพริกไทยนั้นมีระบบรากอากาศ ดังนั้นทำให้การตอนสามารถทำได้ทันที โดยนำขุยมะพร้าวที่มีความชื้นและบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกขนาดเล็กผ่าออก แล้วหุ้มตรงข้อของกิ่งพริกไทยได้เลย พร้อมทั้งมัดด้วยปอฟาง จะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ก็จะสามารถตัดกิ่งนั้นออกมาชำลงถุงดำรอปลูกต่อไป

การตอนพริกไทยเหมาะสมที่สุดคือ ช่วงหน้าฝน โดยการขยายพันธุ์แบบการตอนนี้ ก่อนที่ต้นพันธุ์พริกไทยจะปลูกได้นั้น จะต้องมีขั้นตอนอีกหนึ่งขั้นตอนก็คือ ต้องนำตุ้มตอนนั้นมาชำอนุบาลลงถุงดำอีกครั้ง เพื่อให้ต้นพันธุ์พริกไทยมีการเจริญเติบโตของระบบรากที่มั่นคงแข็งแรงและเมื่อนำลงปลูกในแปลงจริงแล้วจะไม่ทำให้พริกไทยนั้นตาย โดยขั้นตอนการชำลงถุงดำนี้ จะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน โดยดูจากยอดใหม่ที่จะเจริญเติบโตขึ้นมาให้เห็น และระบบรากที่เริ่มทะลุออกมาจากถุงดำบ้างแล้ว

แบบปักชำ สามารถทำได้ทั้งปี การปักชำจะตัดกิ่งออกมาจากต้น ประมาณ 3 ข้อ แล้วนำมาปักลงในถุงดำที่บรรจุดินได้เลย แล้วนำไปใส่ถุงอบหรืออุโมงค์อบ หรือไว้ในที่ร่มที่มีการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ที่ที่มีระบบพ่นหมอก ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถนำไปปลูกลงแปลงได้ โดยทั่วไปถ้านำไปไว้ในที่ร่มและคอยรดน้ำนั้น จะมีอัตรารอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หากต้องการให้มีอัตรารอดของการขยายพันธุ์พริกไทยแบบปักชำสูง ควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิ

จากการขยายพันธุ์ทั้ง 2 แบบข้างต้นนั้น englishdefenceleague.org แบบที่ให้อัตรารอดสูงคือ แบบการตอน แต่ขั้นตอนการทำอาจจะใช้เวลานานสักหน่อย เพราะต้องนำมาชำลงถุงดำอีกที แต่ก็คุ้มค่ากับอัตราการรอดและความแข็งแรงของต้นพันธุ์ ส่วนแบบปักชำนั้นเหมาะกับการผลิตจำนวนมาก เพราะขั้นตอนการทำนั้นกระชับรวดเร็ว ทำได้ง่าย ขั้นตอนน้อย ดังนั้น การขยายพันธุ์ทั้ง 2 แบบ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของเกษตรกรเอง

ไม่ว่าเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยจะเลือกวิธีการใดก็แล้วแต่ ควรจะต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนที่จะลงมือทำ หรือการพินิจพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย ซึ่งในปัจจุบันคนนิยมปลูกพริกไทยกันมากขึ้น เนื่องจากความต้องการผลผลิตมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฤดูแล้งพริกไทยจะมีราคาสูงสุดถึงขีดละ 40 บาท หรือกิโลกรัมละ 400 บาท เลยทีเดียว

สำหรับเกษตรกรที่สนใจทำระบบพ่นหมอกแบบอัตโนมัติสามารถขอคำปรึกษา รวมทั้งการถ่ายทอดประสบการณ์จริง หรือต้องการเข้ามาดูงานจริงได้ที่ สวนพริกไทยท้ายไร่ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ได้ทุกวันไม่มีวันหยุด

“ด้วงสาคู” แมลงที่กำลังได้รับความนิยม ถือเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ซึ่งการเพาะเลี้ยงส่วนมากจะอยู่ในแถบจังหวัดภาคใต้ โดยด้วงสาคูเป็นแมลงที่เพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้เร็ว ในระหว่างที่เลี้ยงไม่ต้องดูแลมาก และที่สำคัญการเลี้ยงมีช่วงวงจรชีวิตที่สั้น โดยระยะที่เป็นตัวหนอนมีขนาดตัวที่ค่อนข้างมีน้ำหนักที่ดี จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจสำหรับเลี้ยงสร้างรายได้ ด้วงสาคู นอกจากชื่อนี้แล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกด้วย เช่น ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงไฟ ด้วงงวง แต่ทางภาคใต้จะนิยมเรียกว่า ด้วงสาคู หรือด้วงลาน เมื่อด้วงสาคูโตได้อายุที่เต็มวัยจะมีขนาดตัวยาวอยู่ที่ 2.2-3.5 เซนติเมตร

คุณสมเกียรติ นุชนงค์ อยู่บ้านเลขที่27 หมู่ที่ 1 ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เห็นช่องทางการสร้างอาชีพจากการเลี้ยงด้วงสาคู ทำให้เขาได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงและทดลองเลี้ยงจนประสบผลสำเร็จ จากนั้นนำมาต่อยอดสร้างเป็นอาชีพที่ครบวงจร เป็นอีกหนึ่งช่องทางเสริมรายได้ พร้อมทั้งมีการบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เป็นการทำตลาดออนไลน์ที่เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน

จึงเลี้ยงด้วงสาคูเสริมรายได้

คุณสมเกียรติ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่โควิด-19 จะมาระบาดในประเทศไทย เดิมทีทำงานเป็นสัตวบาลอยู่ในบริษัทเอกชนเกี่ยวกับการส่งจำหน่ายโคเนื้อ ต่อมาเมื่อการส่งออกไม่สามารถทำได้เหมือนเช่นเคย อันเกิดจากการปิดประเทศที่เป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน จึงทำให้ทางบริษัทต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน ส่งผลให้เขาต้องมองหาช่องทางการทำอาชีพใหม่ ซึ่งเขามองว่าอาชีพที่ทำต้องไม่ซ้ำกับใครในพื้นที่ในย่านนี้ จึงตัดสินใจเลี้ยงด้วงสาคูเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ในเวลาต่อมา

“ช่วงที่จะตัดสินใจเลี้ยง เรามองว่าตลาดน่าจะไปได้ เพราะในพื้นที่ที่อยู่ยังไม่มีใครเลี้ยง พอดีเห็นรุ่นน้องเขาเลี้ยงอยู่ และสามารถทำตลาดได้ดี ก็เลยไปศึกษาการเลี้ยง พอมาทดลองเลี้ยงก็ประสบผลสำเร็จ เพราะการเลี้ยงไม่ได้ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงก็ไม่นาน ต่อมาก็เพาะพ่อแม่พันธุ์เอง ทำให้ไม่ต้องซื้อจากที่อื่นเข้ามาภายในฟาร์ม เราจึงเลี้ยงครบวงจร มีทั้งทำตลาดขายในพื้นที่ และขายออนไลน์ไปพร้อมๆ กัน” คุณสมเกียรติ บอก