การประมง จักสาน ทำนา ทำสวนตามริมลำห้วยและตามริมฝั่ง

แม่น้ำโขง รวมทั้งการเก็บของป่า แต่การทำมาหาเลี้ยงชีพของชุมชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชนเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน พื้นที่ทำกินมีจำกัด และชาวบ้านไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พื้นที่ไม่เหมาะสำหรับทำอาชีพการเกษตร แต่ในความจำเป็นด้านความเป็นอยู่ของเด็กๆ และชุมชนในอนาคต ทั้งด้านอาหารการกิน รายได้ที่เพียงพอในการใช้จ่าย คนในชุมชนละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปหางานทำในเมือง โรงเรียนและชุมชนจึงริเริ่มจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้น เมื่อปี 2551 โดยได้รับการแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภอโขงเจียม โดยจัดตั้งกลุ่มขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 สมาชิกเริ่มแรก จำนวน 15 ราย พื้นที่ดำเนินกิจกรรม ประมาณ 15 ไร่

สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ และคณะที่ปรึกษา มีความเชื่อมั่นในการที่จะแก้ไขปัญหา โดยพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ให้เหมาะสำหรับการเพาะปลูก พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอสำหรับการเกษตร พัฒนาความรู้วิธีการใหม่ๆ ที่สามารถทำการเกษตรในพื้นที่จำกัดให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพโดยไม่ใช้สารเคมี และเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรและเคหกิจ เพื่อให้สมาชิกได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเป็นต้นแบบของการพัฒนาตามกระบวนการพัฒนา 4 ก เกตุ กมล กร กาย จนเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนและคนในชุมชน

กลุ่มยุวเกษตรกรได้เรียนรู้และทำกิจกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่องจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง โดยรุ่นพี่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ และรุ่นน้องจะเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามกำลัง โดยมีที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคอยให้คำแนะนำ โดยให้สมาชิกได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง และเน้นการขยายผลการนำไปใช้ในครอบครัว ขยายผลสู่หมู่บ้านชุมชน รวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียง โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายทั้งเครือข่ายด้านวิชาการและเครือข่ายกลุ่มยุวเกษตรกร โดยยึดการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นวัตกรรมหรือภูมิปัญญาที่นำมาใช้ในการดำเนินการในกลุ่มยุวเกษตรกรคือ การเริ่มเรียนรู้วิถีการทำการเกษตรตามวิถีชาวไทบรูบ้านท่าล้ง ที่ประสบผลสำเร็จนำมาพัฒนาต่อยอด ประกอบกับการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการทำการเกษตร ได้แก่ ระบบการให้น้ำพืชผักโดยอัตโนมัติ TIMER ซึ่งตั้งเวลารดน้ำได้ตามต้องการ และพัฒนานำระบบ Smart Farm ที่สามารถสั่งงานการรดน้ำ การให้ปุ๋ย

ผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน พร้อมทั้งระบบการแจ้งเตือนผ่านระบบ LINE Notify ที่ช่วยให้ทราบค่าความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีความแม่นยำ ระบบ Smart Farm เหมาะสำหรับพื้นที่การเกษตรของชุมชนบ้านท่าล้ง ที่กันดาร เป็นระบบที่ช่วยประหยัดแรงงาน การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ได้มาตรฐานตามความต้องการของพืชที่ปลูก ประหยัดน้ำ ประหยัดปุ๋ย ลดเวลาการทำงาน และผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคาสูง เพื่อให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเป็นแนวทางในอนาคต สามารถที่จะเป็นผู้นำด้านการเกษตรสมัยใหม่ได้

ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน

กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ มีการบริหารจัดการและการดำเนินงานโดยคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ที่ปรึกษายุวเกษตรกร และชุมชนเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน เพื่อการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและความชำนาญให้แก่สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานด้วยตนเองและใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งกลุ่มยุวเกษตรกรจะดำเนินกิจกรรมการเกษตร ผลผลิตที่ได้ใช้ในโครงการอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เกินความต้องการจะแจกจ่ายให้สมาชิกนำกลับไปรับประทานที่บ้าน แจกจ่ายนักเรียน ครู และผู้ปกครอง แจกจ่ายคนในชุมชนใกล้โรงเรียน หรือจำหน่ายให้กับสหกรณ์โรงเรียน

การสร้างข้อตกลงและระเบียบข้อบังคับในการทำกิจกรรมของกลุ่ม

การบริหารจัดการกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ มีการกำหนดข้อตกลงและกฎระเบียบของกลุ่ม มีการประชุมสภายุวเกษตรกรอย่างเป็นทางการเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงาน ทบทวนกิจกรรมการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่มในภาพรวมให้ที่ประชุมรับทราบ นอกจากนี้ ยังมีการประชุมปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะเพื่อการพัฒนางานของกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประชุมเพื่อพิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อดำเนินงานครบวาระ 1 ปี การติดตามและรายงานผลการจัดทำสมุดบันทึกประจำกลุ่ม ทั้งงานรวม งานกลุ่มย่อย และงานส่วนบุคคล ฝึกปฏิบัติกิจกรรม ด้วยความถูกต้องเรียบร้อย และใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการวางแผนการดำเนินกิจกรรม และการปรับปรุงพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

การกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่ม

มีการจัดโครงสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มอย่างชัดเจน มีคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และปฏิคม และที่ปรึกษา ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภายุวเกษตรกร ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะบริหารจัดการกลุ่ม ได้โอกาสเรียนรู้งาน ฝึกปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ ได้รับคำปรึกษาแนะนำภาวะความเป็นผู้นำจากที่ปรึกษากลุ่ม จึงถือได้ว่าคณะกรรมการชุดนี้ได้รับโอกาสสำคัญในการฝึกฝนความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย

นอกจากจัดให้มีโครงสร้างการบริหารกลุ่มโดยมีคณะกรรมการสภายุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ แล้ว ยังจัดให้มีโครงสร้างการบริหารลำดับรองลงมา คือ โครงสร้างการบริหารงานกลุ่มย่อย ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มเพาะปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มเคหกิจเกษตร และกลุ่มธุรกิจการเกษตรซึ่งจัดในรูปกิจกรรมสหกรณ์ โดยมีหัวกลุ่มเป็นผู้นำ ทำหน้าที่ในการนำสมาชิกในกลุ่มย่อยดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ได้แก่ การออกแบบวางแผนกิจกรรม การกำกับดูแลการปฏิบัติกิจกรรมของสมาชิกในกลุ่มย่อย เสนอความคิดเห็นการดำเนินงานในการประชุมสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ ดังนั้น หัวหน้ากลุ่มงานย่อยจึงได้รับโอกาสในการฝึกฝนความเป็นผู้นำ ซึ่งสามารถจะพัฒนาตนเองไปเป็นผู้นำในสภายุวเกษตรได้ในโอกาสต่อไป

การดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรที่สำคัญของกลุ่ม โดยกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเพียงหลวง ๑๒ มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของกลุ่มและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ดำเนินกิจกรรม ซึ่งในแต่ละปีจะมีการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมดำเนินการที่ผ่านมา และมีการพัฒนากิจกรรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี แบ่งได้ดังนี้

งานรวม ที่ใช้พื้นที่ในบริเวณโรงเรียนและพื้นป่าชุมชน เป็นพื้นที่ดำเนินกิจกรรมหลัก และบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ ดังนี้
1.1 กิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยดำเนินกิจกรรมร่วมกันในการปลูกป่าทุกๆ ปี และการทำฝายชะลอน้ำ การเดินท่อส่งน้ำให้กับป่าในฤดูแล้ง โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ

1.2 กิจกรรมการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์

1.3 กิจกรรมการปลูกแก่นตะวัน

1.4 กิจกรรมการปลูกถั่วดาวอินคา

1.5 กิจกรรมการปลูกแกลดิโอลัส

1.6 กิจกรรมการปลูกทานตะวัน

1.7 กิจกรรมการปลูกงา

1.8 กิจกรรมการปลูกถั่วลิสง

1.9 กิจกรรมการปลูกมันเทศ

งานกลุ่มย่อย ใช้พื้นที่ในบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 กิจกรรมการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักขึ้นร้านชนิดต่างๆ

2.2 กิจกรรมการประมง ได้แก่ การเลี้ยงกบ ปลาดุก ปลาหมอ กุ้งก้ามกราม

2.3 กิจกรรมการปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงหมู เป็ดไข่ ไก่

2.4 กิจกรรมกลุ่มสหกรณ์

2.5 กิจกรรมด้านเคหกิจเกษตร

งานส่วนบุคคล สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับและฝึกปฏิบัติไปดำเนินกิจกรรมการเกษตรร่วมกับครอบครัวและชุมชน โดยเลือกกิจกรรมจากความสนใจและความถนัด โดยสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทุกคนมีการทำแปลงผักสวนครัวในบริเวณบ้านของตนเอง

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร ดังนี้

การเลือกตั้งคณะกรรมการสภายุวเกษตรกรเป็นไปตามข้อบังคับกลุ่ม และคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร/สมาชิกกลุ่มยุวเกษตร มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทและทำหน้าที่ตามบทบาทอย่างครบถ้วน
สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรต้องเข้าร่วมประชุมกลุ่มยุวเกษตรกร ตามที่กำหนดเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และจะรับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียนหรือกลุ่มยุวเกษตรกรทั้งหมด รวมทั้งสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรต้องร่วมกันจัดทำสมุดบันทึกประจำกลุ่มทั้งงานรวม งานกลุ่มย่อย และงานส่วนบุคคลในการฝึกปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานและกิจกรรมต่อไป
สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรร่วมวางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของกลุ่มยุวเกษตรกร และร่วมรับผลประโยชน์

สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรเข้าร่วมศึกษา เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจริงด้านเทคโนโลยีการเกษตร เคหกิจเกษตร ธุรกิจเกษตร และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ขยายผลไปใช้ต่อที่บ้าน และเผยแพร่สู่ชุมชน และมีการมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรอย่างชัดเจน
สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน การปฏิบัติงานของสมาชิกในกลุ่มยุวเกษตรกร และเครือข่ายการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร

วว./KIPA เกาหลี ผนึกกำลังพันธมิตร จัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ “ASEAN-ROK BIOFUEL AND IP POLICY EVALUATION SEMINAR” ครั้งที่ 3 @ เชียงใหม่

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวแสดงความยินดีเนื่องในงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อเรื่อง “ASEAN-ROK Biofuel and IP Policy Evaluation Seminar ครั้งที่ 3” ซึ่ง วว. และหน่วยงาน Korea Invention Promotion Association (KIPA) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้บันทึกความร่วมมือดำเนินงานกับพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทล.)

และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันจัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 8-11 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรต่างๆ รวมถึงส่งเสริมการคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีประเทศกลุ่มประเทศอาเซียนที่เข้าร่วม 8 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย และเจ้าภาพจัดงานคือ สาธารณรัฐเกาหลี

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการสัมมนาฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีที่สำคัญของสภาพภูมิอากาศภายใต้กฎระเบียบใหม่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายด้านพลังงานทดแทน การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาและตัวอย่างที่น่าสนใจของสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศไทย การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ Business Model Canvas เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันชีวภาพและที่เกี่ยวข้องเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง…Technology Readiness Level (TRL) ตลอดจนการศึกษาดูงาน ณ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โดยใช้หญ้าเนเปียร์และข้าวโพดเป็นวัตถุดิบซึ่งเป็นพืชพลังงาน ณ จังหวัดเชียงใหม่

อนึ่ง การจัดสัมมนาฯ ดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากความสำเร็จและความร่วมมือกันระหว่างประเทศของการประชุมระดับนานาชาติของกลุ่มประเทศอาเซียนและสาธารณัฐเกาหลี the ASEAN-ROK Cooperation Project ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 24-26 ตุลาคม 2560 ณ เกาะเจจู ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี หัวข้อ Seminar of the ROK-ASEAN Cooperation Project: Biofuel and IP Policy Sharing Seminar (Republic of Korea, ROK) มีเจ้าภาพหลัก คือ Korea Invention Promotion Association (KIPA)

และเจ้าภาพร่วม ได้แก่ ASEAN-ROK Cooperation Fund, World Intellectual Property Organization (WIPO), Korean Intellectual Properties Office (KIPO), The Green Technology Center (GTC), Jeju Special Governing Provence, Jeju National University และ Jeju Chamber of Commerce and Industries จากการประชุมได้ให้ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญากับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 นโยบายทรัพย์สินทางปัญญาด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การวิเคราะห์แนวโน้ม เทคโนโลยี การจดสิทธิบัตร และความร่วมมือเทคโนโลยีด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน จากชีวมวลทางการเกษตร ป่าไม้ และสาหร่าย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดผลกระทบ การสร้างความมั่นคงทางการตลาดของพลังงานหมุนเวียน

และต่อเนื่องในการประชุม ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 27 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 256 ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ในหัวข้อ “Seminar of the ASEAN-ROK Cooperation Project: Biofuel and IP Policy Consultation Seminar” โดยมีเจ้าภาพหลัก คือ Korea Invention Promotion Association (KIPA) และ LIPI อินโดนีเซีย ที่ได้มุ่งเน้นการจัดการ/การแบ่งปันทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศเกาหลีและประเทศต่างๆ ทั้งในอาเซียนและภูมิภาคอื่น นโยบายทรัพย์สินทางปัญญาด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การพัฒนา Business Model Canvas ของผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันชีวภาพและที่เกี่ยวข้องเชิงพาณิชย์

ประเทศไทย จัดเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรเป็นสำคัญ เพราะจะเห็นได้จากสินค้าหลายชนิดที่ไทยเป็นผู้นำทางด้านการส่งออกไปยังต่างประเทศ และเลี้ยงคนภายในชาติมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรรมเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของชาติที่กล่าวกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

การเกษตรจะสำเร็จและมีผลผลิตที่ดีได้นั้น นอกจากปัจจัยในเรื่องการดูแลตลอดไปจนถึงเรื่องสายพันธุ์พืชแล้ว น้ำก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรไทย จึงทำให้ทุกภูมิภาคหรือทุกจังหวัดของไทยสามารถทำการเกษตรได้อย่างเต็มที่เต็มกำลังในการผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติและเพื่อการส่งออก จึงทำให้ไทยมีแม่แบบหรือโครงการพัฒนาการจัดการน้ำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

เหมือนเช่น อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี เป็นอีกหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ได้มีโครงการจากพระราชดำรินับพันแห่ง ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตรและสำหรับอุปโภคบริโภค จึงทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในย่านนี้ ไม่สามารถทำการเกษตรหรือมีน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ลูกหลานหรือคนในชุมชนต้องออกไปทำงานยังต่างจังหวัดหรือบางรายถึงกับต้องเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ เพื่อให้ได้ซึ่งรายได้มาสำหรับเลี้ยงครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องน้ำขาดแคลน โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จึงเสนอข้อมูลต่อมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ให้มีการพิจารณาในเรื่องอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบน้ำในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการบริหารในเรื่องของระบบน้ำให้ขึ้นเป็นวาระระดับจังหวัด พร้อมทั้งเพื่อสามารถพัฒนาต่อยอดในเรื่องของการพัฒนาระบบน้ำให้ครอบคลุมทั้ง 20 อำเภอ ต่อไป

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้ข้อมูลว่า อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีความจุ 692,500 ลูกบาศก์เมตร รับน้ำเต็มศักยภาพเฉพาะหน้าฝนได้ 800 ไร่ หน้าแล้งได้ 500 ไร่

“น้ำที่เก็บไว้ภายในอ่างเก็บน้ำ เมื่อมีการระบายน้ำทางน้ำล้น (สปิลเวย์) ลงไปสู่คลองธรรมชาติเพื่อให้เกษตรกรหรือชาวบ้านได้ใช้ น้ำกลับไม่ถึงที่นาของชาวบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรจำเป็นต้องมีการนำเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยในการสูบน้ำเข้าพื้นที่นา จึงส่งผลการทำเกษตรของชาวบ้านให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อฤดูแล้งมาถึงชาวบ้านสามารถนำน้ำมาใช้ได้เพียง 200 ไร่ เท่านั้น ทำให้ผลผลิตไม่ได้ปริมาณและเต็มประสิทธิภาพ เกิดความสูญเสียรายได้ทั้งพืชก่อนนาและหลังนา จึงทำให้เกษตรกรมีปัญหาหนี้สินตามมา และที่สำคัญประชากรบางส่วนทิ้งถิ่นฐานไปทำงานนอกพื้นที่มากขึ้น เมื่อมีการเข้ามาทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ มีการนำองค์ความรู้และรูปแบบการร่วมคิด ร่วมทำ ระหว่างหน่วยงาน และชาวบ้านได้เป็นอย่างดี และสามารถกำหนดทิศทางต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จไปในทิศทางเดียวกันได้ง่ายขึ้น” นายวัฒนา กล่าว

ซึ่งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จึงเปรียบเสมือนเป็นสิ่งเชื่อมโดยระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชนในพื้นที่ให้มีความเข้าใจในองค์ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น ความทุกข์ หรือเรื่องเดือดร้อนต่างๆ ในทุกปัญหาของชาวบ้านทุกคนได้อย่างตรงจุด และสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาในเรื่องของการทำเกษตรกรรมในสาขาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ประชาชนบางส่วนที่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงานในถิ่นฐานอื่นกลับมาประกอบอาชีพในบ้านเกิด และดูแลคนที่รักในครอบครัวโดยไม่ต้องไปทำงานที่ไกลๆ

จึงทำให้จังหวัดอุดรธานีมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร และองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไปสนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาช่วยอีกด้วย

ด้วยผลของการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการจัดการน้ำ สามารถทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถกักเก็บน้ำเพิ่มได้มากขึ้น จากเดิมที่กักเก็บน้ำได้ 692,500 ลูกบาศก์เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 838,000 ลูกบาศก์เมตร และสิ่งที่ตามมาเป็นลำดับคือ ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบก่อนเริ่มโครงการพัฒนาระบบน้ำนั้น ได้ผลผลิตข้าวเพียง 350 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อมีการจัดการระบบน้ำที่ดีมากขึ้น สามารถทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มเป็น 600 กิโลกรัม ต่อไร่

นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรผสมผสาน หรือการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถขยายพื้นที่จาก 2 แปลง ขยายออกไปเป็น 49 แปลง ในพื้นที่โครงการ และที่สำคัญประชาชนบางรายที่เคยออกไปทำงานยังต่างถิ่นสามารถกลับมาทำอาชีพทางการเกษตรในพื้นที่ของตนเองภายในหมู่บ้าน ปี 2560 จำนวน 147 ครัวเรือน

จึงนับได้ว่า มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ โดยน้อมนำหลักการทรงงาน และแนวพระราชดำริหรือศาสตร์พระราชา แปรสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ร่วมกับภาคีทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน โดยมีแนวทางหลักในการทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตามแนวพระราชดำริ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ และเป็นเจ้าของ เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาได้ด้วยตัวเอง โดยมีเป้าหมายคือ ความมั่นคง ยั่งยืน อย่างแท้จริง

อคส. พบเอกชน 2 ราย ประมูลข้าวไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เตรียมดำเนินคดีแพ่ง-อาญา หลัง ‘ไกรบุญ’ ประธานบอร์ด อคส. นำคณะทำงานตรวจสอบและกำกับดูแลการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ ลงพื้นที่ตรวจสอบ 2 บริษัท ในจังหวัดราชบุรี ที่ชนะการประมูลข้าวสารของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2560

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิปฏิบัติตามสัญญาซื้อข้าวในสต๊อกของรัฐ และ พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการ องค์การคลังสินค้า (บอร์ด อคส.) และ นางอินทิรา โภคปุณยารักษ์ ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า นำคณะทำงานฯ และเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบคลังสินค้าปลายทาง ที่เป็นผู้ชนะการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐ ที่ไม่ใช่การบริโภค ครั้งที่ 1/2560 เพื่อนำเข้าสู่อุตสาหกรรม หลังตรวจพบความผิดปกติ คลังสินค้า บจก.วี.ซี.เอฟ.กรุ๊ป และ บจก.เอส.พี.เอ็ม จ.ราชบุรี

โดยภายหลังจากการตรวจสอบเอกสาร และในทางลับได้รับรายงานข้อพิรุธการนำข้าวไปใช้ไม่ตรงตามแผนการขนย้ายข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม พบ 2 บริษัท คือ บจก.เอส.พี.เอ็ม. อาหารสัตว์ และ บจก.วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป เตรียมอายัดของกลางทั้งหมด และจะประสานเจ้าหน้าที่สรรพากร และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบเอกสารย้อนหลังทั้งหมด หากพบหลักฐานในการกระทำความผิด จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา

สำหรับการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2560 มีผู้ประกอบการทึ่ชนะการประมูลและรับมอบข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหารสัตว์และปุ๋ย จำนวน 4 บริษัท ได้แก่

1. บจก.กาญจนาอาหารสัตว์ ประมูลได้ 38,924.347 ตัน รับมอบ 36,907.598 ตัน จ่ายออกผลิตอาหารสัตว์ ครบไม่มียอดคงเหลือ