การปรับตัวให้ทันตลาดเป็นสิ่งสำคัญของการทำเกษตร

คุณปรีชา เล่าให้ฟังว่า ประมาณปี 2559 ราคายางพาราที่จำหน่ายได้เริ่มลดลง ราคาไม่ได้ขยับขึ้นไปเหมือนเมื่อสมัยก่อน จึงทำให้เกิดความคิดว่าอยากจะหาพืชชนิดอื่นเข้ามาปลูกเสริมเพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกยางพารา จึงได้ศึกษาในเรื่องของสายพันธุ์สะละที่น่าจะนำมาปลูกในพื้นที่ของเขาเองได้เป็นอย่างดี เพราะสะละเป็นพืชที่สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปีหากมีการดูแลบำรุงต้นและหมั่นผสมเกสรอยู่เสมอ

“ช่วงแรกพอรู้ว่าต้องการจะปลูกสะละ ก็ได้ไปเรียนรู้จากสวนที่เขาประสบผลสำเร็จ เพราะเราต้องเรียนรู้จากคนที่สำเร็จแล้ว เวลามาเริ่มต้นจะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูก โดยการปลูกสะละก็นำต้นลงมาปลูกบริเวณรอบบ้านแทน โดยมีที่ว่างตรงไหนก็เอามาลงปลูกตรงนั้น เพราะช่วยให้เราไม่ต้องโค่นต้นยางพาราทิ้ง ต้นยางปลูกหลายปีกว่าจะได้ผลผลิต จึงเลือกเอาสะละพันธุ์สุมาลีมาปลูกในพื้นที่รอบๆ บ้าน จนประสบผลสำเร็จและจำหน่ายเกิดรายได้มาจนถึงปัจจุบันนี้” คุณปรีชา บอก

ช่วยให้สะละมีผลผลิตตลอดปี

ในขั้นตอนของการปลูกสะละให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพนั้น คุณปรีชา บอกว่า จะหาซื้อต้นพันธุ์สะละสุมาลีมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ จากนั้นนำมาปลูกลงในบริเวณพื้นที่บ้านให้มีขนาดระยะห่างระหว่างต้น อยู่ที่ 7×7 เมตร ดูแลรดน้ำและใส่ปุ๋ย สูตร 18-4-5 เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน และหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 16-16-16 และสูตร 13-13-21 สลับกันไปทุก 1 เดือนครั้ง

อายุสะละหลังจากที่ปลูกลงดิน ต้นสะละตัวเมียจะมีเกสรเริ่มบานออกมาให้ผสมได้นั้น จะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน หลังจากนั้นนำเกสรของสะละจากต้นตัวผู้มาผสมได้ทันทีในทุกๆ วัน โดยการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียสามารถผสมได้ทุกๆ วัน ซึ่งผลสะละที่ผ่านการผสมเกสรแล้วจะเก็บผลผลิตจำหน่ายได้นั้น จะใช้ต้องเวลาดูแลหลังผสมเกสรจนเป็นผล อยู่ที่ 7 เดือนครึ่ง แต่เนื่องจากการผสมเกสรสะละสามารถทำได้ทุกวัน จึงทำให้ผลผลิตสามารถเก็บหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี

“เนื่องจากสะละให้ผลผลิตกับเราตลอดปี เพราะฉะนั้นการบำรุงต้นนี้สำคัญมาก เราต้องใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีบำรุงอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ ส่วนในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืช จะเน้นป้องกันด้วยวิธีธรรมชาติ จะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัด จะเน้นดูแลในเรื่องของความสะอาด เพื่อไม่ให้โรคและแมลงต่างๆ เข้ามาทำลายผลผลิตภายในสวนได้ เพราะฉะนั้นการจัดการสวนให้ดี ก็ช่วยลดต้นทุนในการกำจัดโรคและแมลงด้วยสารเคมีได้” คุณปรีชา บอก

จำหน่ายสะละสุมาลี

ราคา 60-70 บาท ต่อกิโลกรัม

เมื่อผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพและสามารถตัดจำหน่ายได้ คุณปรีชา บอกว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่อยู่ในละแวกเดียวกันที่จะติดต่อซื้อผลผลิตทุกครั้งที่มี จึงทำให้สะละที่มีผลผลิตออกมาจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญการใส่ใจในเรื่องของการดูแลใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ ทำให้สะละมีผลที่ใหญ่ได้คุณภาพ มีรสชาติดี จนลูกค้าติดใจกลับมาซื้อซ้ำอยู่เป็นระยะ

“ตลาดการขายสะละของผมนี่ไม่ยุ่งยากเลย เนื่องจากสื่อโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม พอผมมีผลผลิตผมก็จะโพสต์ขายอยู่เสมอ ทำให้ลูกค้าหรือเพื่อนในเฟซบุ๊กติดต่อขอซื้อเข้ามา โดยราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60-70 บาท ทำให้ผมมีรายได้เสริมที่ดีจากการขายสะละ จากที่สังเกตช่วงแรกลูกค้าจะสั่งซื้อไปทดลองไม่มาก พอนานวันรสชาติดี เราผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ลูกค้ากลับมาสั่งซื้อในปริมาณที่มากกว่าเดิม และซื้อซ้ำอยู่บ่อยๆ ครั้ง” คุณปรีชา บอก

สำหรับการปลูกสะละเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับการทำสวนยางพาราในช่วงที่ราคายางพาราตกลงมานี่ คุณปรีชา บอกว่า สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี เพราะแทนที่จะรอจำหน่ายยางพาราเพียงอย่างเดียว ยังสามารถทำพืชชนิดอื่นควบคู่ไปได้อีกด้วย ทำให้เกิดรายได้ที่ดี อย่างเช่น การปลูกสะละสุมาลีที่มีผลผลิตตลอดทั้งปี มีรายได้จากการจำหน่าย นำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นเงินเก็บ

“ชมพู่เพชรสายรุ้ง” ผลไม้เด่น ของดีเมืองเพชรบุรี ปลูกและเติบโตได้ดีบริเวณแม่น้ำเพชรบุรี ผลชมพู่มีสีสวย รสชาติอร่อย หวานจัดจ้าน ถูกอกถูกใจของคนชอบกินผลไม้ยิ่งนัก ปัจจุบัน กล่าวได้ว่า “เพชรสายรุ้ง” เป็นชมพู่ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะมีราคาขายหน้าสวนสูงถึงกิโลกรัมละ 300 บาท กว่าจะไปถึงมือผู้บริโภค ราคาก็ขยับสูง 400-500 บาท กันทีเดียว แม้จะมีราคาแพงสักหน่อย แต่ผู้บริโภคจำนวนมากก็นิยมซื้อชมพู่เพชรสายรุ้ง เพื่อเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ที่นับถือ และเป็นสินค้าส่งออกที่มีลู่ทางเติบโตสดใส

เรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับความเป็นมาของชมพู่เพชรสายรุ้งโดยทั่วไป มี 2 ตำนาน เรื่องแรก เล่ากันว่า พระครูญาณวิมล (หลวงพ่อพ่วง) เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดศาลาเขื่อน เป็นคนแรกที่นำชมพู่เพชรสายรุ้ง มาปลูกหน้าวัดศาลาเขื่อน ตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ในปี 2378 โดยได้รับพระราชทานต้นชมพู่ จำนวน 1 ต้น จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชมพู่ที่ปลูกให้ผลผลิตที่มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ทำให้ผู้คนที่ได้ชิมรู้สึกติดใจ และมาขอตอนกิ่งต้นชมพู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาชมพู่ต้นนี้ได้ตายลง เมื่อ ปี 2530 รวมอายุได้ 152 ปี

เรื่องที่สอง เล่าว่า นายหรั่ง แซ่โค้ว เป็นคนแรกที่นำกิ่งตอนต้นชมพู่เพชรสายรุ้ง จำนวน 3 กิ่ง มาปลูกในพื้นที่ตำบลหนองโสน เมื่อปี 2438 ต้นชมพู่ปลูกในบริเวณแม่น้ำเพชรบุรี ทำให้ต้นชมพู่ได้รับดินดี น้ำดี มีอินทรียวัตถุอุดมสมบูรณ์ จึงเติบโตให้ผลผลิตที่ดี สีสวย และมีรสชาติอร่อย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตอนกิ่งชมพู่เพชรออกจำหน่ายในราคาสูง 200-250 บาท ก็มีผู้สนใจหาซื้อกิ่งพันธุ์ไปปลูกเป็นจำนวนมาก มีปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีจนถึงทุกวันนี้

ผู้เขียนได้พูดคุยเพิ่มเติม เรื่อง “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” กับ คุณยุทธนา เมืองเล็ก อดีตนายก อบต. หนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โทร. (085) 191-5588 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 162 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรบุรี-บ้านแหลม ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสวนชมพู่เพชรสายรุ้งตำบลหนองโสน และสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ได้ยกย่องให้คุณยุทธนาเป็นสัมมาชีพต้นแบบการปลูก “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” ของจังหวัดเพชรบุรี

คุณยุทธนา เชื่อว่าต้นพันธุ์ดั้งเดิมมาจากแม่กลอง เพราะในสมัยก่อนมีการล่องเรือค้าขายจากลำน้ำเพชรบุรี กับแม่น้ำแม่กลอง ชาวบ้านในสมัยนั้นก็นำกิ่งชมพู่แม่กลองมาปลูกที่เพชรบุรี สภาพดินแม่กลองส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว เมื่อนำมาปลูกที่เพชรบุรี ที่มีสภาพดินฟ้าอากาศแตกต่างกัน ประกอบกับเพชรบุรีมีสภาพดินร่วนปนทราย ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็น “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” มาจนถึงทุกวันนี้

คุณยุทธนา เล่าว่า พื้นที่ตำบลหนองโสน ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งต้นกำเนิดของต้นชมพู่เพชรสายรุ้ง ปัจจุบัน แหล่งปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีที่สุด คือ ตำบลหนองโสน ตำบลบ้านกุ่ม ทุกวันนี้ ชมพู่เพชรสายรุ้งปลูกกระจายทั่วจังหวัดเพชรบุรี เช่น อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมือง และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ชมพู่เพชรสายรุ้ง ถือเป็นสุดยอดผลไม้อร่อยแล้ว ยังได้รับการจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนเป็นผลไม้ที่ถือกำเนิดจากจังหวัดเพชรบุรี สร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองเพชร และเกษตรกรที่ทำสวนชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นอย่างยิ่ง

คุณยุทธนา เกิดในครอบครัวที่ทำสวนชมพู่มาตั้งแต่ดั้งเดิม วัยเด็กจึงเรียนรู้ประสบการณ์ที่ต้องช่วยครอบครัวทำเกษตรร่วมกับพี่น้อง ตามวิธีการที่ได้รับถ่ายทอดและมีการพัฒนากันมาตั้งแต่ครั้งในอดีต ซึ่งบางส่วนได้ตกทอดเป็นองค์ความรู้ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในช่วงหลังมีการนำชมพู่สายพันธุ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชมพู่เพชรสายรุ้งมาปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และสวมชื่อเป็นชมพู่เพชรสายรุ้ง และขายในราคาเดียวกัน แต่คุณลักษณะที่ต่ำกว่าทั้งรูปลักษณ์ รสชาติ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ต่างกัน ทำให้เกษตรกรที่ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งประสบปัญหาขาดทุน ในช่วงปี 2549-2550 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้งจำนวนมากตัดสินใจโค่นต้นชมพู่ทิ้ง เพราะขายผลผลิตไม่ได้ราคา

คุณยุทธนา จึงเริ่มต้นทำวิจัย ในหัวข้อ “การทดลองสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนากระบวนการผลิตชมพู่เพชร โดยใช้เทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติคิวเซ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จนได้ผลวิจัยที่น่าพอใจ และสามารถนำมาใช้ได้จริงในสวนของเกษตรกร นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชุมชน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการยุทธศาสตร์จังหวัด 3 ปีติดต่อกัน จนได้รับเกียรติจากสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เชิญไปออกรายการถึง 2 ครั้ง

จากผลงานวิจัยดังกล่าว ได้นำเทคนิคเกษตรธรรมชาติคิวเซมาปรับใช้ในสวนชมพู่และนำเทคนิคสกัดพืชหมัก ฮอร์โมนผลไม้และสารขับไล่แมลงประยุกต์ใช้ในชุมชน จึงนำไปสู่การทำเกษตรปลอดสาร เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ทำให้ชมพู่เพชรสายรุ้งถูกผลักดันจนได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช (จีเอพี) สัญลักษณ์การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร จากกรมวิชาการเกษตร และได้รับความเชื่อมั่นจากเกษตรกรนำไปสู่การจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยของชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อบจ. เพชรบุรี)

ที่ผ่านมา ชมพู่เพชรสายรุ้ง ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสวนชมพู่เพชรสายรุ้งตำบลหนองโสน ได้รับใบรับรองคุณภาพแหล่งผลิตพืช (จีเอพี) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลไม้รับรองผู้นำอาเซียน ในการจัดประชุมอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดประชุมที่อำเภอชะอำ และได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกลุ่มผู้ค้า 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เซนิท ฟรุ๊ต (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด และ 3. บริษัท เซ็นทรัลฟู๊ดซ์เทลจำกัด จำหน่ายในประเทศและส่งออก เช่น ห้างแฟร์ไฟร์ ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องการปลูกดูแลต้นชมพู่เพชรสายรุ้ง กับ “พี่ตี๋ หรือ คุณสำอาง ศรีนวล” หนึ่งในเกษตรกรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสวนชมพู่เพชรสายรุ้ง ตำบลหนองโสน ปัจจุบัน พี่ตี๋อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โทร. (094) 492-6379

ต้นชมพู่เพชรสายรุ้งปลูกดูแลง่าย เริ่มจากเตรียมหลุม ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้แห้งรองก้นหลุม ปลูกในลักษณะตะแคง 45 องศา เพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่สวยงาม ระยะห่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร พรางแสงให้เหมาะสม ให้น้ำวันเว้นวัน หรือทุกวันในสภาพพื้นที่โล่งแจ้ง ต้นชมพู่เพชรสายรุ้งจะให้ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 3 รุ่น โดยเริ่มออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่อออกดอกได้ประมาณ 60-70 วัน ดอกจะบานและทิ้งเกสร ทรงจะคล้ายจานและเริ่มหุ้มเป็นผล ต้องรีบห่อผลในช่วงนั้น โดยใช้ถุงสีน้ำตาล (ถุงปูน) ขนาด 8×12 นิ้ว ห่อถุงละ 2-4 ผล โดยใช้ตอกบิดพันให้แน่น ควรทิ้งช่วงห่างประมาณ 1 ฟุต เมื่อห่อเสร็จ ใช้ปุ๋ยสูตร 9-25-24 ใส่ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม หลังจากห่อผล 25-30 วัน ชมพู่จะเริ่มแก่และเก็บผลผลิตออกขายได้

โดยทั่วไป ต้นชมพู่เพชรจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุได้ 2 ปี เกษตรกรนิยมทำร้านเล็กๆ เพื่อพยุงต้นไม่ให้ล้มเมื่อลมพัดแรง อายุ 3-5 ปี จึงทำนั่งร้านมาตรฐานจนเต็มทรงพุ่ม เพื่อช่วยให้ห่อผลและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างสะดวก

ต้นทุน และผลตอบแทน

คุณยุทธนา บอกว่า ทุกวันนี้ ต้นทุนการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง ส่วนใหญ่เป็นค่าทำนั่งร้าน ปัจจุบัน ใช้ไม้ไผ่นวลยาว 8 เมตร ในการทำนั่งร้าน 1 ต้น ใช้ไม้ไผ่ประมาณ 100 ลำ (ต้นขนาดใหญ่) ค่าไม้ไผ่ ลำละ 35 บาท ค่าแรงตัดไม้เหมาลำละ 15 บาท รวมเป็นเงินลำละ 50 บาท เฉพาะค่าทำนั่งร้าน ต่อ 1 ต้น ตกประมาณ 5,000 บาท มีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี

ส่วนต้นทุนค่าห่อ การเก็บผลผลิตชมพู่ต่อ 1 ต้น จะห่อได้ประมาณ 3 รุ่น รวมค่าห่อทั้ง 3 รุ่น ประมาณ 1,000 ถุง ค่าถุงปูนสำหรับห่อ ร้อยละ 60 บาท ตอกสำหรับมัดถุงชมพู่ กิโลกรัมละ 70 บาท ค่าแรงห่อ 2 วัน ค่าแรงเก็บ 1 วัน รวม 3 วันเป็นเงิน 350 บาท ต่อคน ค่าปุ๋ย ค่ายา อีกประมาณ 500 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 1 ต้น ต่อปี ประมาณ 3,750 บาท

ด้านผลตอบแทน ชมพู่ 1 ต้น ห่อได้ประมาณ 700 ถุง จะได้ชมพู่ประมาณ 140 กิโลกรัม (รวมทั้ง 3 รุ่น) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80 บาท คิดเป็นเงิน 140×80 ตกประมาณ 11,200 บาท หากผลผลิตไม่เสียหาย จะได้กำไรเฉลี่ย ต้นละ 7,450 บาท ต่อปี

คำแนะนำ มือใหม่หัดปลูก

ต้นชมพู่เพชรสายรุ้ง ปลูกดูแลง่าย ใช้เวลาดูแลแค่ 3 ปี ก็เก็บผลผลิตออกขายได้ เนื่องจากชมพู่เพชรสายรุ้งมีราคาค่อนข้างแพง ทำให้เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ สนใจนำต้นชมพู่เพชรสายรุ้งไปปลูกในท้องถิ่นของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกสักเท่าไร ส่วนหนึ่งอาจเพราะต้นชมพู่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ประการต่อมา เกษตรกรนำต้นพันธุ์ชมพู่เพชรสายรุ้งไปปลูกก็จริง แต่ไม่ได้นำองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาในการปลูกดูแลเช่นเดียวกับที่เกษตรกรชาวเพชรบุรีปลูกดูแลต้นชมพู่เพชรสายรุ้งไปด้วย จึงทำให้เกษตรกรมือใหม่ส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวในที่สุด

มีคำแนะนำสำหรับมือใหม่หัดปลูกว่า ควรเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ ชมพู่เพชรสายรุ้ง สายพันธุ์แท้จากแหล่งต้นกำเนิดในจังหวัดเพชรบุรีเสียก่อน เลือกซื้อกิ่งพันธุ์ที่เป็นกิ่งปานกลาง ไม่อ่อน ไม่แก่ จนเกินไป ควรปลูกต้นชมพู่ในแหล่งดินร่วนปนทราย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก ในระยะห่าง 6×6 เมตร กลบดินที่โคนต้นให้แน่น นำไม้หลักมาปักยึดป้องกันต้นชมพู่โค่นหักเอน รดน้ำให้ชุ่ม ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปีละ 2 ครั้ง ต้นชมพู่จะให้ผลผลิตรุ่นแรกเมื่ออายุ 18-24 เดือน จะได้ผลผลิตประมาณ 50 ถุง เมื่อต้นชมพู่อายุ 4-5 ปีขึ้นไป จะให้ผลผลิตสูงขึ้น เมื่อต้นชมพู่มีอายุมากขึ้น ก็ยิ่งให้ผลผลิตมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

เคล็ดลับเลือกซื้อ “ชมพู่เพชรสายรุ้ง”

ทุกวันนี้ เกษตรกรผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง ได้น้อยกว่าปริมาณความต้องการของตลาด ทำให้มีพ่อค้าหัวใสบางรายแอบนำชมพู่ชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาหลอกขายผู้บริโภคว่า เป็นชมพู่เพชรสายรุ้ง เพื่อฟันกำไรจากการขายผลผลิตในราคาสูง จังหวัดเพชรบุรีจึงจดทะเบียน “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)” เพื่อให้เกิดการคุ้มครองและป้องกันการลอกเลียนแบบ

หากใครไม่อยากถูกหลอกซื้อของปลอม คุณยุทธนาแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อชมพู่เพชร พันธุ์แท้ดั้งเดิมว่า ต้องดูลักษณะเด่นที่ “ก้นชมพู่” มีลักษณะแคบ เนื้อหนาแข็งกรอบ มีสีเขียวอ่อนปนชมพู มีแถบสีชมพู (เส้นเอ็น) เป็นริ้ว มีเมล็ด 1-3 เมล็ด ที่สำคัญมีรสหวานกลมกล่อม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 8-15 องศาบริกซ์ ส่วนชมพู่เพชรสุวรรณมีก้นผลกว้าง ขอบสีแดง เนื้อนิ่ม ผิวมีสีเขียวปนคล้ำ มีเส้นเอ็นสีแดงเห็นชัดเจน มีเมล็ด 1-3 เมล็ด รสชาติจืด-หวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 6-11 องศาบริกซ์ เท่านั้น

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปพบปะพูดคุยสัมภาษณ์กับ คุณสุภาพ โนรีวงศ์ คนเก่งแห่งอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็เลยได้ความจริงว่า ความรู้จากโรงเรียนแค่ ป.4 ก็จริง แต่คุณสุภาพ ไม่เคยหยุดความรู้ตัวเองไว้เพียงแค่นี้ แม้ไม่ได้เรียนมัธยมศึกษา หรือระดับปริญญา จากมหาวิทยาลัยไหน แต่ปรากฏว่าความรู้ของคุณสุภาพกลับมากมาย เพราะเขาไม่เคยหยุดตัวเอง ต้องขวนขวายหาแหล่งความรู้ต่างๆ ใฝ่หาความรู้ใส่ตัวในการเกษตร ที่ไหนใครเปิดอบรมสอนวิชาเกษตร คุณสุภาพต้องไปศึกษามาทุกแห่ง เพื่อหาความรู้เรื่องดิน น้ำ อากาศ มาเพื่อประกอบการทำนาให้ได้ผลผลิตดี

คุณสุภาพ บอกกับผู้เขียนว่า “อาชีพพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของผมมาจากตระกูลชาวนา ผมก็ต้องสืบสานอาชีพนี้ให้ตลอดไป” คุณสุภาพ บอกว่า ทำนาทั้งหมด 80 ไร่ โดยเข้าร่วมกับโครงการของ ธ.ก.ส. ทาง ธ.ก.ส.ได้จัดส่งนักวิชาการมาอบรมให้เกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องปุ๋ย เรื่องดิน ดินที่ไหนก็แล้วแต่ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีเยอะเกินไป ดินจะเสียหายหมด จนทำให้เกษตรกรต้องล่มจม ตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นกันก็คือ สวนส้ม แห่งทุ่งรังสิต ในอดีตแต่ก่อน ละแวกอำเภอหนองเสือ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งผลิตส้มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตอนหลังก็เจ๊งหมดตัว เพราะดินเสื่อมจากการใช้ปุ๋ยเคมีเยอะเกินไป เชื้อโรคต่างๆ เข้าทำลายจนเกษตรกรชาวสวนส้มหมดตัว โยกย้ายหนีขึ้นภาคเหนือไปหาแหล่งปลูกกันใหม่ เพราะไม่มีนักวิชาการคนไหนมาแก้ปัญหาให้ได้

แต่แท้จริง มันเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา ส้มเสียหายเพราะใช้สารเคมีเยอะเกิน โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีทั้งหลายแหล่ เกษตรกรแก้ปัญหาไม่ได้มืดแปดด้าน

การใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไปนอกจากจะเพิ่มค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว การเติมฟอสฟอรัสลงไปมากจะทำให้ดินแข็งและเกิดสภาพความเป็นกรดด้วย พืชบำรุงดินช่วยได้มาก
คุณสุภาพ เล่าถึงหลักการทำนาว่า ก่อนทำนาในปีต่อๆ มา มีการตรวจสภาพดินตลอด หลังจากที่สามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งลงได้แล้ว จึงเกิดความคิดต่อยอดที่จะลดปริมาณปุ๋ยเคมีที่ให้ลงแล้วหันมาปลูกพืชบำรุงดินชนิดอื่นๆ แทน โดยเลือกปลูกปอเทืองและถั่วพร้า แต่ในปัจจุบันนี้เหลือเพียงการปลูกปอเทืองเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่ายและมีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะแก่การปลูกในฤดูแล้ง หลังจากปลูกปอเทือง 3-4 ปี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินเพิ่มขึ้นจาก 4.5 เป็น 6.5 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมที่ใช้ในการปลูกข้าว

คุณสุภาพ บอกว่า ปอเทืองเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ อาศัยเพียงน้ำค้างในการเจริญเติบโตเท่านั้น โดยจะเริ่มหว่านเมล็ดในช่วงเดือนมกราคมที่อากาศยังหนาวอยู่ เพราะฤดูหนาวจะมีน้ำค้างมาช่วยเลี้ยงต้นเยอะ ในช่วงแรกนั้นเพียงปลูกเพื่อบำรุงดินเท่านั้น เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มอาหารแล้ว ยังช่วยเพิ่มค่าอินทรียวัตถุในดินได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการทดลองปลูกเพื่อเก็บเมล็ด เพื่อนำไปขายและเก็บตุนไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกในรอบถัดไป

“การได้ทดลองและสังเกตลักษณะข้าว ป๊อกเด้งออนไลน์ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาก รวมไปถึงเรื่องข้าวที่กลายพันธุ์ไม่ได้ตามมาตรฐานทั้งหลายนั้น เกิดขึ้นได้เพราะชาวนาใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งกระบวนการโตให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น การพัฒนาดินในที่นายังคงทำมาเรื่อยๆ โดยการปลูกปอเทืองผสมกับการให้ปุ๋ย จนเมื่อปีที่แล้วได้มีการตรวจดิน ผลออกมาว่าดินมีคุณภาพดีแล้วไม่จำเป็นต้องเติมอะไรไปอีก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องคอยตรวจเช็กสภาพดินก่อนปลูกข้าวทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกและปริมาณอาหารให้เหมาะสมถูกต้อง” คุณสุภาพ บอก

คุณสุภาพ บอกว่า หลังจากที่ทดลองปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 แบบกึ่งอินทรีย์สำเร็จแล้ว จึงลองนำวิธีการนี้มาปลูกข้าวเพื่อบริโภคชนิดอื่นบ้าง โดยได้เริ่มปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว สาเหตุที่เลือกปลูกข้าวชนิดนี้ก็เพราะเป็นพันธุ์ที่มีความต้องการทางการตลาดสูง ปัจจุบัน แบ่งที่นาออกเป็น 4 ส่วน เพื่อการปลูกข้าวทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ ปทุมธานี 1 ไรซ์เบอร์รี่ และหอมมะลิ 105 โดย 2 ส่วนแรก ปลูกข้าวปทุมธานี 1 เพื่อส่งโรงสีข้าว ส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่และหอมมะลิ 105 ปลูกเพื่อจำหน่ายเอง อย่างละ 1 ส่วน โดยข้าวไรซ์เบอร์รี่และหอมมะลิ 105 ออกจำหน่ายในลักษณะของการแพ็กสุญญากาศ กิโลกรัมละ 60 และ 50 บาท ตามลำดับ

ปลูกแบบอดน้ำ ช่วยลดต้นทุน เหลือน้ำไว้ใช้ในครั้งถัดไป
นอกจากจะมีการปลูกปอเทืองเพื่อช่วยบำรุงดินแล้ว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยแล้ว คุณสุภาพยังใช้วิธีการแกล้งข้าวหรือการปลูกข้าวแบบอดน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำให้เหลือเพียงพอสำหรับใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่นได้ การปลูกข้าวแบบอดน้ำคือ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง คอยให้น้ำเมื่อถึงเวลาที่ต้นต้องการ นอกจากจะช่วยลดปริมาณน้ำแล้วยังสามารถช่วยแก้ปัญหาศัตรูพืชได้อีกด้วย เช่น เพลี้ยกระโดดจะไม่ชอบต้นข้าวที่ไม่อิ่มน้ำ เพราะฉะนั้น การปลูกแบบนี้จะทำให้มีแมลงมารบกวนข้าวน้อยมาก

“ผมเรียนรู้เรื่องนี้มาจากวิกฤตน้ำแล้ง ปกติแล้วในพื้นที่อำเภอนี้สามารถทำได้ทั้งนาปีและนาปรัง แต่ในปีหนึ่งได้เริ่มการทำนาปรัง โดยหว่านข้าวในช่วงเดือนมีนาคม เมื่อผ่านไปเดือนหนึ่งประสบภาวะแล้ง คลองแห้ง ไม่มีน้ำมาคอยหล่อต้นข้าว ทำให้ใบข้าวเริ่มห่อ ตอนนั้นคิดว่าต้นข้าวต้องตายแน่นอน แต่เมื่อฝนตกมาปรากฏว่าต้นข้าวมีลักษณะดีขึ้น ใบที่เคยห่อไม่ห่อแล้ว ตอนนั้นจึงได้เข้าใจว่า ปลูกข้าวไม่จำเป็นต้องคอยหล่อน้ำไว้ตลอด และข้าวรุ่นนั้นก็ให้ผลผลิตดี เนื้อนุ่ม ไม่อวบน้ำด้วย จึงได้ศึกษาและนำมาทดลองปลูก ผลที่ได้ก็ออกมาดีอย่างที่หวังไว้ และยังช่วยประหยัดน้ำไปได้เยอะมาก” เจ้าของเล่า