การปลูกกุยช่ายของโกแป๊ะ หรือลุงแป๊ะ ปลูกห่างระหว่างต้น

เซนติเมตรระยะระหว่างแถว 80 เซนติเมตร เป็นช่องทางเดิน สามารถเดินเข้าทำงานได้สะดวก ปลูกบนพื้นเรียบไม่มีการยกร่อง ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 3 เดือน ต่อครั้ง โรยบางเต็มหน้าแปลงและโรยเมล็ดผัก เช่น ขึ้นฉ่าย ผักกาด ตามไปด้วย สลับการพ่นด้วยฮอร์โมน ปีละ 3 ครั้ง ไม่มีการใช้สารเคมี มีบ้างที่จำเป็นต้องพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าระหว่างแถวเป็นบางครั้ง น้ำหมักชีวภาพจะใช้ฉีดพ่นเมื่อมีเวลาว่าง กุยช่ายที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่มีกลิ่นแรง ต้นเล็ก โกแป๊ะ หรือลุงแป๊ะ บอกว่า ชาวจีนนิยมมากกว่ากุยช่ายที่ลำต้นใหญ่และไม่มีกลิ่น

การให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ ปั๊มจากน้ำบาดาลไปตามท่อ พีวีซี 4 หุน ยังหัวสปิงเกลอร์ วางไว้ 4-5 หัว หัวสปิงเกลอร์อยู่บนแป้นไม้กระดาน ถูกยึดแน่นที่วางไว้หัวแปลง เมื่อให้น้ำพื้นที่นั้นจนชุ่มแล้ว จะลากแป้นไม้กระดานเพื่อย้ายตำแหน่งให้น้ำจุดที่ยังไม่ให้น้ำจนถึงท้ายแปลง ซึ่งเป็นการประหยัดจำนวนหัวสปิงเกลอร์ที่ไม่จำเป็นต้องวางไว้ทุกจุดทั่วพื้นที่

โรคที่พบในช่วงต้นฤดูฝนเป็นโรคใบเน่า เกิดจากเชื้อรา ปลายใบจะแห้ง ใบคล้ายใบไหม้ สาเหตุมาจากความชื้นในดินไม่พอ ฝนตกลงมาน้อยสลับกับอากาศที่ร้อน แก้ไขใช้ปูนขาวโรยรอบกอ

การตัด ปกติจะเริ่มตัดกุยช่ายหลังจากปลูกแล้วเมื่ออายุได้ 4 เดือน และตัดครั้งต่อไปทุกๆ 2 เดือน แต่ของโกแป๊ะ หรือลุงแป๊ะ เริ่มตัดหลังจากปลูกอายุได้ 2 เดือน ตัดชิดกับพื้นดิน ตัดรุ่นแรกได้ต้นที่ใหญ่ อวบ ต้นสูง ตัดครั้งต่อไปเมื่ออายุได้ 27-30 วัน ขนาดของต้นเริ่มเล็กลง ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จากนั้นแยกดึงเอาใบเหลือง ใบแห้งออก บรรจุถุงรอแม่ค้ามารับ ยิ่งตัดกอยิ่งขยายใหญ่ สามารถตัดต่อไปได้เรื่อยๆ จนเห็นว่าลำต้นเล็กลงมาก จึงจะรื้อกอ เปลี่ยนมาปลูกระหว่างแถวที่เป็นช่องทางเดิน เหง้า 1 กอ แยกมาปลูกใหม่ได้ 5 กอ

กุยช่ายที่ปลูกเป็นพันธุ์ตัดใบ แต่จะให้ดอกระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนกุยช่ายพันธุ์ตัดดอกจะให้ดอกตลอดปี ซึ่งต้องมีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ยตลอด ดอกกุยช่ายได้ราคาดีแต่มีจำนวนน้อย การทำกุยช่ายขาว โกแป๊ะ หรือลุงแป๊ะ เคยทำแต่ต้องหยุด เพราะสู้ราคาตลาดกุยช่ายขาวของสวนกุยช่ายรายใหญ่ไม่ไหว ที่ราคาถูกกว่ามีจำนวนมากกว่า จึงเลิกทำกุยช่ายขาว ตัดอย่างน้อย วันละ 10 กิโลกรัม ส่งในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ยืนพื้น ไม่ว่าราคาในตลาดจะขึ้นหรือลงเท่าไหร่ก็ตาม

การปลูกหอมแป้นหรือกุยช่ายของโกแป๊ะ หรือลุงแป๊ะ จึงเป็นงานเหมาะกับสภาพร่างกายในวัยชรา ไม่ต้องใช้แรงมาก ไม่เหนื่อย ไม่ต้องใช้สารเคมี ทำคนเดียวได้ รายได้จากกุยช่ายสามารถอยู่อย่างพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้อย่างไม่ขัดสนในวัยชรา

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)สุวรรณภูมิ จัดโครงการคลินิกเทคโนโลยี การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้มีการฝึกปฏิบัติและได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพสำหรับตนเองและชุมชนและเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน จึงได้มีการนำโครงการฝึกอบรม “การปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียน” เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีเผยแพร่ให้กับชุมชนและสังคม

รศ.นภัทร วัจนเทพินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ 1. น้ำ ปริมาณคุณภาพ PH 2. อากาศ ออกซิเจน อุณหภูมิ ความชื้น
การไหลเวียนอากาศ 3. แสง ชั่วโมงแสง คุณภาพแสง ความเข้มแสง สีของแสง 4. ธาตุอาหาร หลัก NPK

ธาตุรอง ca mg fe cu zn b ph ec ซึ่งแสงที่พืชต้องการมากที่สุด เรียกว่า พาร์สเปกตรัม มีความยาวคลื่นแสง 380-770 นาโนเมตร ผลดีของแสงต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโตของพืช สีม่วง ไม่แน่นอน แต่อาจมีผลมาจากแสงสีน้ำเงินที่ 400 นาโนเมตรอยู่บ้าง สีน้ำเงิน มีความเข้มแสงต่ำ ๆ มีความจำเป็นในการเพาะเมล็ดและการอนุบาลพืช สนับสนุนการเจริญเติบโตของต้นกล้า ลำต้นแข็งแรง สีเขียวและสีเหลือง ไม่มีความจำเป็น แต่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสงอยู่บ้าง สีส้ม ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงสูงสุด

สีแดงดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงสูงสุด เพิ่มครอโรฟิลด์ ช่วยเร่งช่อดอก ลำต้น ช่วยให้ผลติดมาก ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า แสงสีแดงและสีน้ำเงินดีต่อพืชมากที่สุด พาร์และ พีพีเอฟดี พาร์ พลังงานแสงที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เฉพาะช่วงความยาวคลื่นแสง 400-700 นาโนเมตร พีพีเอฟดี พลังงานจากแสงต่อเวลาต่อตารางเมตรที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง หน่วยเป็นโมล แหล่งกำเนิดแสงสำหรับพืช โดยใช้หลอดเมทัล ฮาไลด์ และหลอดโซเดียมความดันสูง ในการประกอบเป็นไฟแอล อี ดี และหลอดฟลูออเรสเซนต์

โดยควรให้แสงประดิษฐ์แอล อี ดี วันละ 12-14 ชั่วโมงจะดีที่สุด โดยได้มีการปลูกสตอเบอรี่ในโรงเรือนแสงธรรมชาติร่วมกับหลอดเสริมจาก แอล อี ดี ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งปรากฎว่าให้ผลผลิตมากขึ้น และทำให้รสชาติดีขึ้น แอล อี ดี สีแดงผสมสีน้ำเงินจะช่วยให้ผลผลิตมากขึ้นและลดเวลาการเพาะปลูกให้สั้นลง การศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดหอมภายใต้แสงจาก แอล อี ดี สีขาว แดง น้ำเงิน และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ การศึกษาการเจริญเติมโตของผักกรีนโอ๊คภายใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ผสมกับแสงจากแอล อี ดี สีขาว แดง น้ำเงิน

โดยควบคุมเวลาการเปิดปิดแสง 1. ให้แสงสีแดง 8 ชั่วโมงสลับการแสงสีน้ำเงิน 8 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดี 2. ให้แสงสีแดง 1 ชั่วโมงสลับกับแสงสีน้ำเงิน 1 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน การปลูกผักกรีนโอ๊คด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ภายใต้แสงแอล อี ดี อายุ 35 วัน แสงสีแดงร้อยละ 70 สีน้ำเงินร้อยละ 30 ให้ผลผลิตดีที่สุด จำนวนรากมากที่สุด ความยาวรากสูงที่สุด ให้น้ำหนักมากที่สุด เมื่อให้แสงสีขาวและแสงสีน้ำเงินหลังการเก็บเกี่ยวจะช่วยยืดอายุ ทำให้การเหลืองของใบให้นานกว่าช่วยให้ผลผลิตมีราคาดี ช่วยให้การขนส่งมีประสิทธิภาพดีขึ้น

ผู้ที่สนใจการปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ และโทรสาร 035 709 097 เมื่อเร็วๆนี้ คุณอรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทรักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด หรือ KTBGS ได้จัดเวิร์กช็อปประจำปี สำหรับพนักงานที่กำลังจะเกษียณของบริษัทฯในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีแนวคิด ‘หากพนักงานเกษียณไปแล้ว จะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข’ จึงได้พาคณะพนักงานที่สนใจ มาศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสารภี ซึ่งตั้งอยู่ภายในชุมชนบ้านสารภี ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

สำหรับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ชื่อ ” ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงชุมชนบ้านสารภี ” แห่งนี้ มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และแนวทางการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้ทั้งเกษตรกร และผู้ที่สนใจมาดูงาน เพื่อให้มีความแข็งแกร่ง อันเป็นการสร้างรากฐานต่อยอดในแต่ละอาชีพ

นางประภัสสร หนูแก้ว ประธานกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านพรุเตียว และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 8 ราย ปลูกข้าวไร่สายพันธุ์พื้นถิ่น ได้แก่ ข้าวหอมหัวบอน ข้าวภูเขาทอง และ ข้าวเหนียวดำไร่ แซมสวนปาล์มน้ำมันอายุน้อย ในพื้นที่บ้านคอกวัว หมู่ที่ 10 ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ พื้นที่ประมาณ 120 ไร่

ด้วยความโดดเด่นด้านทิวทัศน์และโลเคชั่นที่สวยงามเหมาะที่จะพัฒนาเป็นจุดชมวิว ยิ่งในช่วงที่ข้าวสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยวผืนนาจะกลายเป็นทุ่งข้าวสีทองไปตามแนวลาดเอียงของพื้นที่ตัดกับท้องฟ้าและแนวเขา ทำให้น่าชมยิ่งนัก และเพื่อให้เป็นหนึ่งจุดที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เรียกว่าถ้ามาอำเภอเขาพนมต้องมาชมวิว ชมวิถีคนที่นี่ก่อน ก่อนจะไปเที่ยวจุดต่อไป ส่วนผลผลิตส่งขายตลาดเกษตรกร และสามารถเชื่อมโยงผลผลิตไปยังโรงแรม รีสอร์ท ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตามสโลแกน From Farm To Hotel จากฟาร์มสู่โรงแรม ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ได้ร่วมกับจังหวัดจัดงานรณรงค์สร้างเครือข่ายตลาดเกษตรกรไปเมื่อเร็วๆ นี้

นางระนอง จรุงกิจกุล เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชน กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบ สามารถที่จะเชื่อมโยงให้เข้ากับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของชุมชนได้ เป็นการช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งบ้านคอกวัว หมู่ที่ 10 ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม เกษตรกรรวมตัวกันปลูกข้าวไร่พื้นที่ 120 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะเป็นทุ่งข้าวสีทองที่น่าชมมาก

นางประภัสสร หนูแก้ว ประธานกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านพรุเตียว เล่าว่า ตนและสมาชิกในกลุ่มจำนวน 8 ราย ได้รวมตัวกันปลูกอายุข้าวไร่ ซึ่งเป็นการปลูกแซมสวนปาล์มน้ำมันอายุน้อย ในพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ มีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเหนียวดำช่อไม่ไผ่ ข้าวหอมหัวบอน ข้าวภูเขาทอง และข้าวดอกมะลิ ใช้เวลาปลูกจนถึงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118-120 วัน

การปลูกและดูแลรักษา

ข้าวไร่… คือ ข้าวที่ปลูกบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก พื้นที่ดอนส่วนมากเป็นที่ลาดชันเชิงภูเขา กักเก็บแร่ธาตุและสารอาหารได้น้อย รวมทั้งการปลูกข้าวไร่ต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้ง และขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุเบา โดยปลูกช่วงต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูฝน

การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวไร่… เตรียมแปลงโดยการถอนและถางเศษพืชและวัชพืช ก่อนปลูก 1 เดือน ระหว่างเตรียมดินควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน

การปลูกข้าวไร่ ใช้วิธีปลูกแบบหยอดเป็นหลุม ให้มีระยะห่างประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร หรือขนาดประมาณ 1 คืบครึ่ง โดยใช้เมล็ดข้าว 5 – 8 เมล็ดต่อหลุม ในระยะต้นกล้า กำจัดวัชพืชโดยการถางและถอน ประมาณ 2 – 3 ครั้ง ป้องกันและกำจัดโรค โดยการตัดใบที่ติดโรคไปเผา แล้วป้องกันโดยการฉีดพ่นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ได้แก่ น้ำปูนขาว ในอัตรา 1 กก.ต่อน้ำ 50 ลิตร และมีการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคร่วมด้วย

ข้าวไร่อาศัยธาตุอาหารจากดินในการเจริญเติบโต แต่สภาพดินส่วนใหญ่ในการปลูกข้าวไร่ในปัจจุบันนี้ยังคงขาดความอุดมสมบูรณ์ ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกข้าวไร่ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง รวมถึงจุลชีพที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยในการปรับปรุงดิน และการเจริญเติบโตของพืช การใส่ปุ๋ยข้าวไร่จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะความชื้นในดินและสภาพของพื้นที่ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีโอกาสสูญเสียจากการซึม และการไหลบ่าของน้ำได้

ซึ่งในการบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์จะมีการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้สูตร 15-15-15 เพียงเล็กน้อย ใส่บริเวณใกล้ๆ โคนต้น และอีกครั้ง ช่วงระยะข้าวตั้งท้อง จะเปลี่ยนมาใส่สูตร 13-13-24 อีกเล็กน้อยเช่นกัน จากนั้นก็ดูแลเรื่องหญ้าและระวังแลงศัตรูต่างๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว

– ควรเก็บเกี่ยวข้าวระยะสุกแก่ หรือหลังจากข้าวออกดอกแล้วประมาณ 30 วัน

– การลดความชื้นข้าวหลังเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปแล้วมี 2 วิธีคือ

การตากสุ่มซัง หลังจากเกี่ยวแล้วจะตากรวงข้าวทิ้งไว้บนตอซังประมาณ 3-4 แดด แล้วนำไปนวด เป็นวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติกันโดยทั่วไป

การตากหลังนวด เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วทำการนวดทันที กรณีนี้จะทำเมื่อต้องการนำข้าวไปบริโภคแต่พบไม่บ่อยนัก

– การเก็บรักษา หลังจากที่นวดข้าวและทำความสะอาดแล้ว ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่สะอาด ระบายอากาศได้ กันแดด กันฝน กันแมลงและสัตว์ศัตรูได้ หากไม่มียุ้งฉางสามารถเก็บไว้ในกระสอบ แต่ไม่ควรเป็นกระสอบหรือถุงที่เป็นพลาสติก เนื่องจากกระสอบประเภทนี้ไม่สามารถระบายอากาศได้จะทำให้เกิดเชื้อรา และวางบนแคร่ที่สามารถระบายอากาศได้

ด้านการตลาด… นางประภัสสร เล่าว่า ตนและสมาชิกจะสีเป็นข้าวสารขายเองที่บ้าน โดยจะสีไม่ขัดให้ขาวมากเกินไปจะทำให้ทานง่ายไม่ระคายคอ และจะสีเฉพาะเวลามีลูกค้ามาสั่ง เพื่อให้ได้ข้าวที่ใหม่เวลาหุงสุกจะหอมน่ารับประทาน และส่วนหนึ่งจะนำไปขายที่ตลาดเกษตรกรโดยบรรจุเป็นถุงๆ ละ 1 กิโลกรัม ราคาขายข้าวแต่ละชนิดจะไม่แตกต่างกันมากนัก การขายจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ถ้าขายให้กับเพื่อนบ้านในชุมชมจะขายเป็นถัง โดยข้าวดอกมะลิจะขายราคาถังละ 800 บาท ข้าวหอมบอน ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่ ราคาถังละ 600 บาท ข้าวภูเขาทองและข้าวสังข์หยด ราคาถังละ 500 บาท ถังหนึ่งจะหนักประมาณ 16 กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาขายเมื่อปีที่แล้ว ส่วนปีนี้คาดว่าจะได้ข้าวประมาณ 450 ถังข้าวเปลือก หรือประมาณ 5,400 กิโลกรัม สีเป็นข้าวสารจะได้ประมาณ 3,600 กิโลกรัม แต่คิดว่าจะขายราคาไม่แตกต่างจากปีที่แล้วมากนัก และอีกส่วนคือที่บรรจุถุงขาย ถุงละ 1 กิโลกรัม ราคาส่งกิโลกรัมละ 45 บาท ขายปลีก 50 บาท สมาชิกจะนำไปขายที่ตลาดเกษตรกร ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่เป็นผู้ดูแล โดยเปิดทุกวันจันทร์ เวลา 15.00-20.00 น. การตอบรับจากผู้บริโภคถือว่าดีมาก เพราะเราใส่ใจในการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่ปลอดภัย และเกษตรกรที่มาดูงานก็สนใจที่จะซื้อพันธุ์ข้าวไปปลูกแล้วด้วย ด้วยการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว สามารถที่จะปลูกพื้นที่แซมสวนปาล์มสวนยางได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้มากที่สุด

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณประภัสสร หนูแก้ว ประธานกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านพรุเตียว ที่หมายเลขโทรศัพท์ (08) 0146-5381 ตลาดเกษตรเปิดขายทุกวันจันทร์

FacebookTwitterGoogle+Line

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

(คลิปดัง) อ่อนเพลีย เจ็บชายโครงขวา หายได้ใน 1 สัปดาห์ หลังทำนี่
TRIPHALA FORTE

“นักบอลพันล้าน” หลุดกลางรายการ เคล็ดลับลบฝ้าแดดที่ฟังแล้วทึ่ง!
GLOW

รู้แล้วอึ้ง! คลิปนี้พี่ต้อมบอกสูตรลับแก้ “วัยทอง” หลังทนมา 3 ปี
ESTELLA PRO

ตัวฆ่าต่อมลูกหมากถูกค้นพบแล้ว! ผู้ชายรีบอ่านดูเลย!
PROSTINAL

ต้อหิน ตาฝ้าฟาง ดีขึ้นได้ด้วยสูตรธรรมชาติ ทำเองได้ที่บ้าน คลิกดู
CORNETA

ภาพล่าสุด ‘ธิดาช้างชื่อดัง’ ลดน้ำหนัก 64 กก. หลังติดเชื้อโควิด
MIKANUTRA

ฝ้าเรื้อรัง หน้าหมองคล้ำ 10 ปี วันนี้ผมพบวิธีแก้แล้วครับ!
GLOW

เบาหวาน 300 ลดเหลือปกติ แค่กินสูตรธรรมชาติเช้า-เย็น
TRIPHALA FORTE

(ข่าวดัง) วิจัยสำเร็จ! สลายริ้วรอย ฝ้า จุดด่างดำด้วยสูตรธรรมชาติ
NISIT

ผมบางหนักมาก กินขวดนี้ปลูกผมได้ ในงบหลักร้อย!
KESANA

วิดีโอนี้อาจถูกแบนในไม่ช้า ดูก่อนถูกลบ
QUANTUM CODE

เงินไหลเข้ามาเหมือนแม่เหล็ก แค่คุณเก็บสิ่งนี้ไว้ที่บ้าน
MONEY AMULET

ครอบครัวจาก เมืองนนทบุรี รวยทันที 5 วันหลังจากที่อ่านนี่!
MONEY AMULET

คู่รักจาก เมืองนนทบุรี กลายเป็นเศรษฐีด้วยวิธีนี้!
MONEY AMULET
ข่าวช็อก! หญิงจาก กรุงเทพมหานคร กลายเป็นมหาเศรษฐีโดยใช้วิธีนี้!
MONEY AMULET
ติดตามเรา

เรื่องน่าสนใจ

“เครื่องแยกผลปาล์มออกจากช่อทะลาย” ผลงานวิทยาลัยเทคนิคตรัง ใช้ง่าย ตอบโจทย์เกษตรกร
วันพฤหัสที่ 12 มกราคม พ.ศ.2566

“นกยูง” สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจแนวใหม่ ทำเงิน ตลาดต้องการ
วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ.2566

อดีตพนักงานประจำ สู่เจ้าของธุรกิจแพปู แนะเทคนิครักษาความสด จนถึงมือผู้บริโภค
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ.2566

เห็ด ได้รับการยกย่องว่าเป็น อาหารมหัศจรรย์ ด้วยสรรพคุณของการรักษาและคุณค่าทางอาหารมากมาย จนทำให้เกิดกระแสการรับประทานเห็ดแพร่หลายกระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศสหรัฐอเมริกามีการศึกษาวิจัยนำมาเป็นยารักษาโรค ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นนิยมการบริโภคเห็ดในชีวิตประจำวัน จนเป็นที่กล่าวขานกันว่ารับประทานเห็ดให้ได้ 8 ชนิดต่อหนึ่งมื้ออาหารจะทำให้อายุยืนและปราศจากโรคภัย อีกทั้งเห็ดยังเป็นเมนูอาหารชีวจิตที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคภัยต่างๆ ได้ ดังเช่นเห็ดกระดุมบราซิล หนึ่งในหลายผลงานวิจัยดีเด่นของมูลนิธิโครงการหลวง

เห็ดกระดุมบราซิล มีถิ่นกำเนิดในเมืองไพเดด ใกล้กับเมืองเซาเบาโล ประเทศบราซิล ชาวบราซิลตั้งชื่อที่มีความหมายว่าเป็นเห็ดของพระเจ้า ในบ้านเราทำการศึกษาวิจัยจนสามารถเพาะและขยายพันธุ์ได้สำเร็จเมื่อปี 2535 จนถึงปัจจุบันเพาะเลี้ยงขยายในเชิงการค้าได้แล้ว ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

เห็ดกระดุมบราซิลมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ คือ มีผลช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ทำลายและป้องกันการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง มีเยื่อใยอาหารที่ไม่ย่อยสลาย มีการดูดซับสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกายเอาไว้แล้วขับออกจากร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน ใช้ร่วมกับการฉายรังสี ลดการเกิดผลข้างเคียง ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลดความเครียด ช่วยลดภาวะการขาดภูมิคุ้มกัน

สารสกัดจากเห็ดชนิดนี้สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชไอวี ใช้บำบัดเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกัน ได้แก่ รูมาตอย เบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และโรคอื่นๆ ช่วยสนับสนุนความแข็งแรงของกระดูก มีวิตามินบี 1 บี 2 และสารตั้งต้นของวิตามินดี มีผลทำให้ลดการเกิดโรคกระดูกพรุน ปรับสมดุลความดันของโลหิต ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณ ชะลอความชรา มีสารประกอบอื่นที่ทำให้บาดแผลหายเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาอาการผื่นคัน ตุ่มบวม ผิวหนังถูกทำลาย และโรคผิวหนังอื่นๆ ที่สำคัญเห็ดกระดุมบราซิลมีคุณค่าทางอาหารสูง

เห็ดกระดุมบราซิล สามารถเพาะขยายและผลิตเชิงการค้าได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง จังหวัดในภาคเหนือของไทย เป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดีอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งนอกเหนือจากสายพันธุ์ที่ปลูกและคิดค้นโดยคนไทยเอง กระจายการทดลองปลูกจนได้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศแล้ว เทคโนโลยีการปลูกและคิดค้นสายพันธุ์ข้าวยังคงไม่หยุดนิ่ง ไม่เฉพาะสายพันธุ์ที่เติบโตภายในประเทศเท่านั้น ยังคงรวมถึงสายพันธุ์จากต่างประเทศ
ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เป็นศูนย์วิจัยข้าวแห่งแรกที่นำ “ข้าวญี่ปุ่น” เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย

สถาบันวิจัยข้าวเริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น hliworldwatch.org ตลอดจนความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ปี 2507 โดยได้ดำเนินที่สถานีทดลองข้าวพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี 2530 สถานีทดลองข้าวพาน ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่างๆ มาขยายเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำไปปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้น เมื่อปี 2531-2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูงที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อปี 2532-2533 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ระหว่างสถานี เมื่อปี 2533-2534

หลังจากนั้นนำไปปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัดหนองคาย พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูกตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมีตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงเมื่อปี 2534-2538 ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2538 และให้ชื่อว่าพันธุ์ ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 และข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2

ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 88 เซนติเมตร ต้นค่อนข้างแข็งแรง กอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางมีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางเล็กน้อย รูปร่างเมล็ดข้าวเปลือกสั้นป้อมยาว 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 3.5 มิลลิเมตร และหนา 2.2 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ยาวเฉลี่ย 5.18 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง การร่วงของเมล็ดยาก มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน และให้ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่นๆ คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

คำแนะนำ ให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

การปลูกในฤดูนาปรัง ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะให้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7-10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาดำ และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่านน้ำตม โดยเมล็ดพันธุ์ต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อายุกล้าที่เหมาะสมต่อการปักดำในฤดูนาปรังในเขตภาคเหนือ