การปลูกขมิ้นชันเพื่อการลงหัวที่สมบูรณ์ในพื้นที่ดินแน่น

ควรยกร่องหรือทำให้ดินฟู เพื่อให้หัวของขมิ้นสามารถขยายได้โดยไม่ถูกความแน่นของดินบังคับ ผสมปุ๋ยมูลสัตว์ หรือปุ๋ยคอก ตากดินไว้ประมาณ 7-15 วัน ก็นำท่อนพันธุ์ขมิ้นใส่หลุมที่ขุดไว้ตื้นๆ กลบดินเพียงบางๆ แล้วนำฟางมาคลุมบนแปลงเพื่อรักษาความชื้นและกันแดดในตอนเที่ยง ปัจจุบันใช้ท่อนพันธุ์พื้นเมืองจากอำเภอศรีสวัสดิ์ เนื่องจากปริมาณคุณค่าทางยาของพันธุ์อินเดียน้อยกว่าขมิ้นชันของไทย

ในการปลูกช่วงแรกรดน้ำเช้าเย็นประมาณ 1 เดือน ต้นจะเริ่มโพล่จากดินให้เห็นเมื่อเดือนที่สอง รดน้ำให้เหลือแค่วันเว้นวัน และเมื่อต้นสมบูรณ์ในเดือนที่สามรดน้ำสามวันครั้ง ช่วงนี้ให้กำจัดวัชพืชออกจากแปลงเพื่อให้ขมิ้นชันเจริญเติบโตได้ดี ใช้เวลา 9 เดือนหัวขมิ้นชันก็จะสมบูรณ์ สามารถขุดหัวขึ้นมาจำหน่ายได้

การปลูกขมิ้นชันในระยะที่ห่างกันตั้งแต่ 10-35 เซนติเมตร รวม 6 ระยะ เมื่อขุดหัวได้ต่อแปลงพบว่า ระยะปลูกห่าง 10 เซนติเมตร ได้น้ำหนักหัวมากที่สุดคือ 35.26 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 5,370 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนระยะปลูก 15 เซนติเมตร ได้น้ำหนักต่อแปลง 26.89 กิโลกรัม ระยะห่าง 20 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 24.05 กิโลกรัมต่อแปลง ระยะห่าง 25 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 18.93 กิโลกรัมต่อแปลง ระยะห่าง 30 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 15.70 กิโลกรัมต่อแปลง และระยะห่าง 35 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 17.66 กิโลกรัมต่อแปลง (1 แปลงยาว 3.5 เมตร)

ภายใต้พื้นที่ขนาด 300 ไร่ ลุงประเสริฐได้ให้เช่าปลูกอ้อยไป 250 ไร่ พื้นที่ส่วนที่เหลือเอาไว้ปลูกสัพเพเหระ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ข้าวโพดหวาน มะนาว ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู มะระ บวบ ขาย เพียงพอที่จะจ้างแรงงานวันละ 2-3 คน มาช่วยในไร่ สำหรับกล้วยในปีหน้าจะขยายเพิ่มอีก 400 ต้น เนื่องจากมีพ่อค้าต้องการมาก โดยจะให้พ่อค้ามาตัดเอง คิดราคาหวีละ 12 บาท ส่วนถั่วดาวอินคาและหมามุ่ยอินเดีย ปัจจุบันไม่ได้ปลูกไว้เนื่องจากไม่มีคนรับซื้อ

ในส่วนของขมิ้นชันที่ปลูกนั้นได้ร่วมกันจัดตั้ง “กลุ่มปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ ป่าตะวันตก” ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีสมาชิก 14 คน ทำหน้าที่ปลูกและรวบรวมพืชสมุนไพร อาทิ ขมิ้นชัน หญ้าปักกิ่ง ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวเมีย ยอ เพชรสังฆาต ชะพลู หนุมานประสานกาย มะขามป้อม ชุมเห็ดเทศ ฝรั่งขี้นก เถาตดหมูตดหมา ลูกใต้ใบ รางจืด ส่งให้โรงพยาบาลอภัยภูเบศทุกเดือน

ห่างจากกรุงเทพฯราว 120 กิโลเมตร ห่างจากถนนเพชรเกษมช่วงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีไปราว 25 กิโลเมตร บริเวณนั้นมีชุมชนกะเหรี่ยงอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น สอบถามคนเฒ่าคนแก่ ได้ความว่า พวกเขาอยู่มานาน

เมื่อครั้งที่มีความขัดแย้งทางแนวคิด สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้อาศัยผืนป่าแถบนี้เป็นแหล่งพักพิง รวมทั้งมีชาวกะเหรี่ยงร่วมเป็นมวลชนหนุนส่งในการปฏิวัติ

สหาย ป. กุยบุรี เขียนไว้ในหนังสือ”ตะนาวศรีรำลึก”ตอนหนึ่งว่า…งานในเขตป่าเขาและมวลชนชาติกะเหรี่ยงในเขตเทือกเขาตะนาวศรีตั้งแต่ปลายแม่น้ำที่อยู่ห่างไกลกันเป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร จากกุยบุรีหรือปราณบุรี ปลายน้ำเพชรบุรี ปลายน้ำบางระจัน(ตั้งแต่หมู่บ้านกะเหรี่ยงสองพี่น้อง กะเหรี่ยงโปรง พรุพลู เพชรบุรี บ้านตากแดด ห้วยแห้ง บ้านกล้วย โป่งกระทิง สวนผึ้ง ราชบุรี)

สหายรุ่นบุกเบิกเขตงานภาคกลางตะวันตก ได้กล่าวไว้ในหนังสือ”ตะนาวศรีรำลึก” ว่า…พวกเราถอยไปตั้งหลักที่เขตประจวบฯสมทบกับคุณใจและคุณจิต แล้วก็พยายามบุกไปหาลุงสีที่พรุพลู ลุงแสงที่กะเหรี่ยงโป่ง เราอยู่ที่นี่ได้ปีกว่าๆ สัมพันธ์กับมวลชนกะเหรี่ยงได้ดีพอสมควร…

ฐานที่มั่นในเขตนี้ ได้สลายตัวอันดับท้ายๆ ผู้เกี่ยวข้องสร้างอนุสรณ์สถานแบบเรียบง่ายไว้ เพื่อย้ำเตือนความทรงจำ ชุมชนชาวกะเหรี่ยงหนองหญ้าปล้อง ในปัจจุบัน ดูไม่แตกต่างจากชนบททั่วไป แต่มรดกอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติทิ้งไว้ให้คือน้ำพุร้อน ซึ่งมีสายน้ำไหลออกมาทั้งปี ทางท้องถิ่นได้จัดสร้างที่อาบแช่ไว้ให้คนไปใช้บริการ ในราคาย่อมเยา

ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่หนองหญ้าปล้อง ดำรงเผ่าพันธุ์มานานได้ คงต้องอาศัยปัจจัย 4 อย่างผู้คนในเขตอื่น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย สิ่งที่มีอยู่ บางครั้งพบว่ามีลักษณะพิเศษ เช่นสมุนไพรรักษาโรค พืชพรรณที่มีความแข็งแรง ยามเกิดภัยพิบัติหรือธรรมชาติแปรปรวน

เมื่อมีสิ่งที่ดี พวกเขาก็เก็บรักษาไว้ จากนั้นก็เผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง นานมาแล้ว ลุงศิลป์ ศัลยพงศ์ เกษตรกรอาวุโสจังหวัดอุตรดิตถ์ แนะนำไผ่ที่ปลูกอยู่ ลุงบอกว่าได้ไผ่มาจากชาวกะเหรี่ยงเขตน้ำท่วม เขื่อนภูมิพล

“นี่ไผ่จากจังหวัดตาก คนท้องถิ่นที่นั่นต้องย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากการสร้างเขื่อนแล้วน้ำท่วม เขาแทบไม่เอาอะไรเลย ทิ้งเกือบหมด เขาเอาแต่หมากับไผ่ เวลาย้ายบ้าน”ลุงศิลป์ยกตัวอย่างงานเก็บรักษาพืชพรรณดี

ยามแวะเวียนไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงหนองหญ้าปล้อง จะเห็นชาวบ้านเขาตากพริกไว้หน้าบ้าน นั่นแหละใช่เลย พริกกะเหรี่ยงขึ้นชื่อ ที่มีการปลูกสืบหน่อต่อแนวกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตเจ้าหน้าที่เกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่เกษตร เข้าไปคลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน นานมาแล้ว

นานแค่ไหนก็ตั้งแต่สมัยที่มีการรบพุ่งระหว่างเจ้าหน้าที่ของทางการกับพลพรรคทหารในป่า คุณบุญส่งต้องวางตัวให้เหมาะสม จึงเอาชีวิตรอดมาได้ ปัจจุบันนักเกษตรอาวุโสทำเกษตรในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ปลูกพืชสมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็สะสมพืชท้องถิ่น ส่วนหนึ่งก็ร่วมศึกษากับชาวบ้าน

สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถตอบสนองความเป็นอยู่ของผู้คนได้อย่างดี

คุณทิตย์ ใจคน อยู่บ้านเลขที่ 68 หมู่ 2 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี หนุ่มใหญ่วัย 57 ปี เล่าว่า พ่อแม่ของตนเอง อาศัยอยู่ที่นี่มานาน พ่อชื่อนายแล้ว ใจคน เคยเป็นกำนัน เมื่อครั้งเก่าก่อน จะไปประชุมที่อำเภอเขาย้อย ต้องเดินไปและค้างคืนบ้านเพื่อน เพราะทางทุรกันดารมาก ปัจจุบันใช้เวลาไปและกลับไม่เกินชั่วโมง

ตั้งแต่จำความได้ คุณทิตย์ ได้พบเห็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต แต่ก็ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องแปลก จนกระทั่งเติบใหญ่มีครอบครัว สิ่งที่มีอยู่ บางอย่างนอกจากสามารถผลิตเพื่อเลี้ยงครอบครัวแล้ว บางอย่างทำเป็นการค้า ขายนำเงินมาจุนเจือครอบครัว

“ฝ้ายเมื่อก่อนปลูกกันเพื่อนำมาทอผ้า ทุกวันนี้ไม่ปลูกแล้วเพราะด้ายหาซื้อง่าย ที่ปลูกเป็นหลักก็ข้าว พริกกะเหรี่ยง อย่างอื่นมีกันทุกครัวเรือนคือ พริกพราน ดงกะบังซ้า ถิ่งไซ้ซ้า”คุณทิตย์บอก

ข้าวของชาวกะเหรี่ยง เฉพาะที่หนองหญ้าปล้องมีไม่น้อยกว่า 10 สายพันธุ์ คุณทิตย์ปลูกอยู่ 2 สายพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าปลูกในสภาพไร่ คือข้าวเหลืองและข้าวลาย

ข้าวลาย ที่เปลือกหุ้มเมล็ดนอกจากสีเหลืองแล้ว มีจุดประสีดำเล็กน้อย

ข้าวเหลืองเมล็ดเล็กกว่าข้าวลาย อายุการเก็บเกี่ยวนั้น หากปลูกพร้อมกัน ข้าวลายเก็บเกี่ยวได้ก่อน แต่คุณสมบัติทั่วไป ข้าวทั้งสองสายพันธุ์คุณภาพการหุงต้มดี นุ่ม

“ผมปลูกไว้กิน ปลูก 2-3 ไร่ ได้ผลผลิต 40-50 ปีบต่อไร่พอกินสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน”คุณทิตย์บอก

ส่วนคุณบุญส่งบอกว่า ตนเองมีข้าวเหนียวดำตะนาวศรี และข้าวเจ้าหอมกุหลาบ

“ข้าวเหนียวดำตะนาวศรี เปลือกหุ้มเมล็ดสีเหลือง เยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ ส่วนในสุดเมล็ดสีขาว แต่เมื่อหุงเป็นสีดำ ผมนำไปผสมกับข้าวขาวทำข้าวต้มอร่อยมาก ข้าวหอมกุหลาบหอมสู้ข้าวหอมมะลิไม่ได้ แต่หอมกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆในพื้นนี้ ชาวบ้านที่นี่ปลูกข้าวไร่เดือนแปด ไปเก็บเกี่ยวกันเดือนสิบเอ็ดสิบสอง แล้วแต่พันธุ์ ผลผลิตข้าวที่ได้ อาจจะไม่มาก แต่เขาก็พอกินกัน สาเหตุหนึ่งเพราะพันธุ์พืชที่มีอยู่ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มีความแข็งแรง ผมสะสมไว้หลายอย่าง ส่วนหนึ่งปลูกกินเอง”คุณบุญส่งให้ข้อมูลเรื่องข้าว

ส่วนพริกกะเหรี่ยง เดิมทีปลูกไว้กินในครอบครัวบ้านละต้นสองต้น แต่เนื่องจากเป็นพริกที่มีรสชาติดี คนพื้นราบต้องการ จึงขยายพื้นที่ปลูกกันมาก อำเภอหนองหญ้าปล้องปลูกพริกแต่ละปี 1,500-2,000 ไร่

คุณทิศ ดังแสง ชาวหนองหญ้าปล้อง มีเชื้อชาติกะเหรี่ยงเช่นกัน บอกว่า ปลูกพริกกะเหรี่ยงปีละ 2 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกก็เก็บมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยเลือกผลพริกที่มีความยาว ดก

ผลผลิตที่ได้จากพริกกะเหรี่ยงนั้น พื้นที่ 1 ไร่ ขายพริกสดได้ 3-5 หมื่นบาท แต่หากดินอุดมสมบูรณ์ ฝนดี อาจจะได้ 1 แสนบาทต่อไร่

คุณทิศบอกว่า พริกกะเหรี่ยงมีจุดเด่นที่ความเผ็ดสูง ปรุงอาหารได้รสชาติอร่อย ความเผ็ดของพริกอยู่ที่เปลือก แต่หากปรุงอาหารแล้วต้องตำทั้งเปลือกและเมล็ด เพราะเมล็ดช่วยเพิ่มรสมัน ทุกวันนี้ร้านก๋วยเตี๋ยวนิยมนำพริกกะเหรี่ยงไปทำพริกดอง ทำพริกป่น พวกเขาแนะนำว่า มีร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อยชื่อ”ฉอย” ก่อนถึงเขาวัง เมืองเพชร ใช้พริกกะเหรี่ยงจากหนองหญ้าปล้อง

“เผ็ดมาก พริกกะเหรี่ยงสุดยอดแห่งความเผ็ดอยู่แล้ว ใช้ทำเครื่องแกง หรือแกงปลา แกงกบ ใส่ส้มตำ 2-3 เม็ด(ผล) ก็พอแล้ว ใส่มากเผ็ด กินไม่ได้แน่”คุณทิตย์พูดถึงพริกกะเหรี่ยง

คุณทิตย์ ยังแนะนำพืชชนิดอื่นอีก

มะเขือเทศผลเล็ก คุณทิตย์เรียก”ดงกะบังซ้า” คุณสมบัติที่โดดเด่นคือปรุงอาหารประเภทต้มยำแกงส้มได้รสชาติดี ดงกะบังซ้าของคุณทิตย์ คล้ายๆมะเขือเครือทางอิสาน

“ถิ่งไซ้ซ้า” เป็นแตงกวาสายพันธุ์หนึ่ง ผลขนาดใหญ่ มีรสเปรี้ยว แต่ก่อนนานมา ชาวบ้านนิยมแกงกับกบภูเขา ทุกวันนี้มีปลูกกันทุกบ้าน การใช้ประโยชน์ อาจจะใช้กับแกงทั่วๆไปที่ต้องการรสเปรี้ยว ส่วนกบภูเขามีให้แกงน้อยลง

สอบถามคุณทิตย์และคุณทิศแล้ว “ซ้า” เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่าผล ชาวกะเหรี่ยงที่หนองหญ้าปล้องออกเสียงสูง…ซ้า

ในขณะที่ชาวกะเหรี่ยงเขตอื่นออกเสียงเรียกคำว่าผลเป็นเสียงต่ำกว่า คือ”ส่า”

ตัวอย่าง แตงโม ภาษากะเหรี่ยงคือ “แตะ-เตอ-ส่า” มะพร้าว “ฆ่อ-ส่า” มะละกอ “สะ-กวิ-เส่-ส่า” ยังมีอีกมาก สำหรับพืชพรรณ และทรัพยากรด้านอื่นๆของชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่หนองหญ้าปล้องและที่อื่น สิ่งที่ดีและมีอยู่ ถูกสืบทอดมายาวนาน บางอย่างทำเป็นการค้า เพื่อซื้อปัจจัยที่ 5 ที่ 6 บางอย่างที่ไม่เหมาะสมก็ถูกลืมไป

ถามคุณทิตย์และคุณทิศ ว่า มีแต่ของดีๆ ดูอุดมสมบูรณ์ หากปิดอำเภอหรือปิดชุมชน คนในไม่ให้ออก คนนอกไม่ให้เข้าจะเป็นอย่างไร คุณทิตย์และคุณทิศ หัวเราะชอบใจบอกว่า “อยู่ได้” คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ (089) 618-4075 ประกอบอาชีพรับจ้างตามโรงงานและยังทำนา ทำการเกษตร และทำกิจการเล็กๆ ในครัวเรือน

จากการประกอบอาชีพที่ผ่านมาหลากหลายอย่าง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จและไม่มั่นคง มีต้นทุนสูง ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพสูง พึ่งพาปัจจัยภายนอกหลายอย่าง จึงได้เกิดแนวความคิดในการทำการเกษตรผสมผสานบนวิถีพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง พึ่งพาปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยภายนอก ปรับเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นการดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต ลดรายจ่ายในครัวเรือน ทำบัญชีครัวเรือน และทำเกษตรอินทรีย์

ส่งผลให้ครอบครัวมีอยู่มีกิน พึ่งพาตนเองได้ จากการต้องดิ้นรนออกไปรับจ้างหาเงิน ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิดไว้บริโภค แลกเปลี่ยนในชุมชน แจกจ่าย เมื่อเหลือจึงนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และทุกคนในครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน ไม่ต้องออกไปดิ้นรนต่างถิ่น ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว

คุณคำพันธ์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่องการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยการนำเอาข้าวพันธุ์หอมมะลิแดง หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียวดำ ผ่านกระบวนการผลิตแล้วนำมาแปรรูปเป็นข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก โดยกระบวนการผลิตทั้งหมดมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปอเทืองการไถกลบตอซังเพื่อเตรียมความพร้อมของแปลงนา หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพตามช่วงระยะเวลาของต้นข้าว ช่วงหว่านข้าว ช่วงข้าวตั้งท้อง และก่อนการเก็บเกี่ยว สามารถเพิ่มได้ตามความเหมาะสม

ด้านการดูแลรักษาจะเน้นการจัดการระบบน้ำ การควบคุมน้ำในแปลงนาให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช ส่วนมากไม่ได้รับผลกระทบต่อผลผลิต และเสียหายน้อยเนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมี จึงทำให้ต้านทานโรคได้ ในส่วนของการตลาดจะเป็นการขายตรงสู่ผู้บริโภคผ่านการขายในตลาดนัดของกลุ่มภายในชุมชน หน่วยงานราชการ และในจังหวัดที่จัดขึ้นเป็นประจำ โดยผลิตภัณฑ์จะเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภค ทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอนและสามารถกำหนดราคาได้ เคล็ดลับและข้อแนะนำในการปลูกข้าวอินทรีย์ คือต้องหมั่นปรับปรุงบำรุงดิน ดูแลเอาใจใส่ในการเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินก่อนทำนา และการคัดเมล็ดพันธุ์ควรเป็นพันธุ์แท้ หรือแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ในการแปรรูปต้องตากข้าวให้แห้งก่อนการจำหน่าย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขึ้นรา

คุณคำพันธ์ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก การมีภูมิคุ้มกัน เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในสภาพดินฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้น การออมน้ำคือ ในฤดูแล้งควรจะมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับน้ำไว้ใช้ในภาคการเกษตรให้เพียงพอ การออมต้นไม้เป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ใช้ในการเกษตร และการออมเงิน เป็นการออมเงินจากการแบ่งรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไว้ เป็นการออมเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันและทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบต่างๆ จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ในขณะที่สภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำ “ชาวนา” เดือดร้อนกันทั่วหน้า จนรัฐต้องเร่งหามาตรการเข้าไปช่วยเหลือเยียวยา อีกทั้งองค์กร ภาคเอกชน ร้านค้า ต่างระดมพลังช่วยกันแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ เปิดพื้นที่ให้ชาวนาขายข้าวฟรีเพื่อบรรเทาความร้อนเดือนเฉพาะหน้า

แต่ทว่า ปัญหาเหล่านี้ไม่มีกระทบกับครอบครัวของธวัชร กิตติปัญโยชัย ชายหนุ่มในวัย 45 ปี ชาวนาในพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม สมาชิกกลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ เครือข่ายสามพรานโมเดล เพราะเขาเลือกที่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน และเลือกที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำเกษตรเคมี มาสู่ระบบอินทรีย์ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแสงนำทางในการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ มีตลาดเป็นของตัวเอง สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ยืนได้ด้วยตัวเอง และสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับครอบครัว

หากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ธวัชร เองก็เคยตกอยู่ในสภาพเดียวกับชาวนาทั่วไปที่ต้องนำผลผลิต เข้าระบบการจำนำ การประกันราคาข้าว ตามมาตรการของรัฐในยุคต่างๆ แม้จะขายข้าวได้ราคา ในบางช่วงก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า มีเงินให้เหลือเก็บ เพราะเมื่อคำนวณต้นทุนที่ต้องซื้อสารเคมีมันแทบจะไม่เหลือ เขาจึงเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง หันกลับไปสู่การทำเกษตรแบบผสมผสานด้วยระบบอินทรีย์ หวังลดต้นทุนการผลิต ยึดทำนาเป็นหลัก แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ปลูกพืชผัก ผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยง และพัฒนาระบบการผลิต จนปี 2557 เขาได้รับเครื่องหมายการันตีอาหารปลอดภัย โดยผ่านการรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM)

ความสำเร็จเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ธวัชร เล่าย้อนให้ฟังว่า ก่อนจะมาเป็นแปลงนาและสวนเกษตรแบบผสมผสานอย่างทุกวันนี้ เดิมทีที่ดิน 30 ไร่ ผืนนี้ เคยปลูกส้มโอทั้งหมด โดยแบ่งให้เช่า 13 ไร่ และใช้ปุ๋ยและยาเคมีในการผลิต มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ในปี 2546 เขาสังเกตว่าหน้าดินเสื่อมอย่างหนัก จึงเริ่มสนใจเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และระหว่างนั้นเขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจึงได้มีโอกาสอบรมความรู้เรื่องการทำเกษตรโดยสารชีวภาพต่างๆ

ในปี 2552 เขาได้ผืนดินที่เช่าคืน แต่สภาพเสื่อมโทรมมาก จากการทำสวนส้มโอเคมี เขาเลยแปลงพื้นที่เป็นผืนนา ทดลองเอาปุ๋ยคอกมาแช่ให้ดินปรับสภาพ แต่ก็ยังผลิตด้วยระบบเคมี ขณะเดียวกันก็มานั่งทบทวนบัญชีครัวเรือนกับภรรยา ซึ่งจากตัวเลขที่โชว์พบว่า ถ้าไม่มีโครงการของรัฐช่วยชาวนาอยู่ไม่ได้ เนื่องจากต้นทุนของการทำนาที่ต้องซื้อปุ๋ยยาเคมีสูงถึง 50-60% หักแล้วเหลือรายได้ 2,000-3,000 บาท ต่อระยะเวลา 3 เดือน ถือว่าไม่คุ้ม แต่ที่ครอบครัวอยู่ได้คือมีผลผลิตจากสวนเข้ามาช่วย หลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี2554 เขาจึงเปลี่ยนมาเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำนาอยู่ตรงกลางแล้วใช้สวนล้อมรอบ และทำทุกอย่างแบบเกษตรอินทรีย์ โดยเข้าร่วมกับโครงการสามพรานโมเดล เพื่อเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ

“ตอนเริ่มทำใหม่ๆ เราก็ทำตามความรู้ที่มี ทำแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่พอได้เข้าร่วมโครงการกับสามพรานโมเดล ทำให้มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เรื่องระบบมาตรฐาน รวมถึงแนวทางในการทำนาอินทรีย์อย่างเป็นระบบทำให้เราเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น”

การทำนาอินทรีย์ หากไม่มีความมานะ อดทน ประสบความสำเร็จยาก ธวัชร เล่าว่า รอบแรกของการทำนาเจอปัญหาเรื่องวัชพืช เพราะการทำนาหว่านจะไม่สามารถคุมหญ้าได้ ข้าวกับหญ้าจะขึ้นและโตไปพร้อมกัน บางครั้งหญ้าเบียดข้าวจนเล็กแกร็นได้ผลผลิตน้อย จึงทดลองเปลี่ยนมาทำนาโยน ก็ได้ผลดีเพราะต้นกล้าจะมีความแข็งแรงและต้นพันธุ์โตกว่าหญ้า เมื่อโยนไปแล้วปล่อยน้ำเข้านา แล้วใช้แหนแดงคลุม แหนแดงจะช่วยปิดแสงไม่ให้หญ้าเติบโตได้ ขณะเดียวกันแหนแดงจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นปุ๋ยไนโตรเจนชั้นดีให้กับต้นข้าวอีกด้วย

ส่วนกรรมวิถีการกำจัดแมลง ใช้วิธีหมักสมุนไพร ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าขาว บอระเพ็ด ขมิ้นชัน พริกแห้ง น้ำส้มสายชู นำน้ำไปฉีดพ่นในนาข้าว ซึ่งจะช่วยเรื่องป้องกันเพลี้ย นอกจากนี้ยังใช้เชื้อราใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ทำได้เองโดยซื้อหัวเชื้อมาเพาะกับข้าวเปลือก เริ่มจากใช้วิธีหุงข้าวเปลือกแบบดงข้าวแล้วเหยาะเชื้อไตรโคเดอร์มา ลงไปหมักทิ้งไว้ 2 วัน เชื้อจะมีสีเขียว นำข้าวเปลือกมาล้างน้ำ เอาน้ำไปฉีดต้นข้าวทำให้รากข้าวแข็งแรง เมื่อรากแข็งแรงต้นข้าวจะโตและสูง ส่วนข้าวเปลือกก็นำไปใส่โคนต้นอีกที

หัวใจสำคัญการทำเกษตรอินทรีย์ขั้นตอนการเตรียมดิน ถือว่าสำคัญที่สุด ถ้าดินดี ข้าวก็จะเจริญเติบโตดี ผลผลิตที่ได้ก็จะดี จึงต้องหมักดินกับปุ๋ยคอกให้ได้ที่ก่อน การดูแลเรื่องวัชพืช แมลงต่างๆ แต่ทั้งนี้ ต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง เพราะไม่ง่ายเหมือนทำนาเคมี

ธวัช บอกว่า “ทำนาอินทรีย์นั้นเหนื่อยมากต้องลงมือลงแรงเอง แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มาคุ้มค่า มาก ทั้งสภาพแวดล้อม รายได้ สังคม และสุขภาพคนในครอบครัว และการที่ได้ร่วมโครงการสามพรานโมเดลทำให้ได้องค์ความรู้ ได้โอกาสทางการตลาดมากขึ้น ยิ่งทำให้เราเกิดความเชื่อมั่น และศรัทธาในวิถีอินทรีย์มากขึ้น”

ปัจจุบัน พื้นที่ทั้งหมด 30 ไร่ แบ่ง 20 ไร่ ทำนาปลูกข้าวหอมปทุม และข้าวไรเบอร์รี่ โดยผลผลิตข้าวหอมปทุมส่วนหนึ่งส่งขายให้กับ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ผ่านโครงการสามพรานโมเดล ในราคาเกวียนละ 18,000 บาท ที่เหลือขายเมล็ดพันธุ์ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนข้าวไรเบอร์รี่ขายปลีกกิโลกรัมละ 80-100 บาท ภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ “น้ำฟ้า” วางจำหน่าย ที่ตลาดน้ำดอนหวาย ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 10 ไร่ ล้อมรอบนา ปลูกพืชผสมผสานทั้ง ส้มโอ กล้วยมะนาว มะพร้าวน้ำหอม ขนุน พืชเหล่านี้ให้ผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี และมีร้านจำหน่ายประจำที่ตลาดดอนหวายเช่นกัน

สำหรับผู้ที่สนใจ อยากเรียนรู้ เคล็ดลับความสำเร็จการทำนาข้าวอินทรีย์ กับ ธวัชร กิตติปัญโยชัย และร่วมแชร์ประสบการณ์กับชาวนากลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ เครือข่ายสามพรานโมเดล พร้อมอุดหนุนข้าวและสินค้าเกษตรอินทรีย์ตรงจากเกษตร ขอเชิญได้ใน “งานสังคมสุขใจ” ระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2559 ที่ สวนสามพราน จ. นครปฐม รายละเอียดติดต่อได้ที่โทร. 084-670-0930 หรือ Facebook/สามพรานโมเดล

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี นอกจากมะนาว กล้วยไข่ แล้ว ยังมีมะละกอ ถึงแม้พื้นที่ปลูกไม่มากนัก ราว 50-100 ไร่ หมุนเวียนตลอดปี แต่ก็สร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่น้อย

จุดเริ่มต้นของงานปลูกมะละกอที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง มีขึ้นเมื่อปี 2541 สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง โดยคุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตเจ้าหน้าที่เกษตร และคุณชาญณรงค์ พวงสั้น รับราชการอยู่สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ได้มีโครงการแปลงจัดไร่นาให้กับเกษตรกร พืชหนึ่งที่บรรจุในโครงการคือมะละกอ

เมื่อโครงการแปลงจัดไร่นาผ่านไป ปรากฏว่า เกษตรกรติดใจงานปลูกมะละกอ จึงปลูกมาถึงปัจจุบันนี้

คุณบุญส่ง บอกว่า เกษตรกรปลูกมะละกอราว 10 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ที่หมู่บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ สายพันธุ์มะละกอที่นำมาปลูก ได้มาจากอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะของสายพันธุ์ ก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์แขกดำและสายน้ำผึ้ง เกษตรกรได้เก็บสายพันธุ์สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ อาจจะเรียกว่าสายพันธุ์”หนองหญ้าปล้อง”ก็ได้

“จุดเด่นของพันธุ์นี้ ดก ค่อนข้างทนต่อโรค เมื่อสุกเปลือกนิ่ม เนื้อในยังกินได้ ลักษณะผลยาว เนื้อสีแดงส้ม เนื้อไม่เละ เป็นได้ทั้งมะละกอกินสุกและมะละกอส้มตำ ชั่วอายุของมะละกอต้นหนึ่ง มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัมอย่างแน่นอน”คุณบุญส่งพูดถึงคุณสมบัติมะละกอที่หนองญ้าปล้อง

คุณบุญส่งบอกว่า พื้นที่ปลูกมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง หมุนเวียนปีหนึ่งราว 100 ไร่ อายุของมะละกอที่ปลูก อยู่ได้อย่างน้อย 2 ปีครึ่ง หากดูแลดีเกษตรกรจะเก็บผลผลิตได้ 15 ตันต่อไร่ต่อปี มีการคิดคำนวณกันแล้ว พื้นที่ปลูก 8 ไร่ จำนวน 2,000 ต้น มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาทต่อปี ต้นทุนการผลิตไร่ละ 1.5 หมื่นบาท แต่ระบบน้ำต้องดี คือมีระบบสปริงเกลอร์ให้

คุณบุญส่งบอกว่า การผลิตมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง เน้นป้องกันโรค โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้

หนึ่ง…ตรวจแปลงทุกวัน หากพบโรคใบด่างวงแหวน ให้รีบตัดต้นเผาทำลายทันที สอง…เครื่องมือเก็บ อย่างตะกร้าและเครื่องมือสอย ต้องใช้แปลงใครแปลงมัน ตะกร้าของแม่ค้า จะไม่สับเปลี่ยนกับของเกษตรกร แต่ใช้วิธีขนถ่าย เพราะอาจจะมีเชื้อจากแปลงของเกษตรกรรายอื่น ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

สาม…เมื่อมะละกอหมดอายุ ต้องรีบตัดต้นแล้วเผาทำลายทันที หากปล่อยไว้ จะเป็นแหล่งสะสมโรค

ดูตัวเลขแล้ว ถือว่า มะละกอสร้างรายได้ดี แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้เจ๊งได้เหมือนกัน

เกษตรกรบางรายปลูกมะละกอ 10 ไร่ ถึงวันใกล้เก็บ เห็นเงินล้านในอีก 4-5 เดือน แต่เมื่อมีลมพายุมา เงินหายวับไปกับตา เก็บผลผลิตได้หลักหมื่นบาท เรื่องแบบนี้แม้แต่คุณบุญส่งก็เคยประประสบมา ดังนั้นเกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ปลูกให้ปลอดภัยจากลมพายุ

คุณสุวิทย์ ทับทิม เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ 2 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ปลูกมะละกอมาตั้งแต่ปี 2541 ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของคุณบุญส่ง

คุณสุวิทย์เล่าว่า ตนเองเคยปลูกอ้อยเป็น 100 ไร่ เมื่อมาปลูกมะละกอ 10 ไร่ มีรายได้ดีกว่า ปัจจุบันเกษตรกรรายนี้ปลูกขนุน เงาะ และมะละกอ พื้นที่ปลูกของเขาไม่แน่นอน แต่หมุนเวียนมีมะละกอเฉลี่ยตลอดปี 1,000 ต้น โดยทะยอยปลูก

เกษตรกรรายนี้แนะนำว่า การคัดพันธุ์มะละกอนั้น ผลต้องสวย ผลยาว เก็บมาผ่าชิมเนื้อเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถึงแม้ผลสวย แต่เนื้อไม่หวานใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ ดังนั้นต้องเลือกผลที่สวยและเนื้อหวาน

วิธีการปลูก เริ่มจากเพาะเมล็ดในถุง 3 ต้น ปลูกลงดิน ระยะะหว่างต้นระหว่างแถว 2.50 เมตร คูณ 2.50 เมตร เมื่อมีดอก คัดต้นที่มีดอกกระเทยไว้ 6 เดือนมะละกอเริ่มติดผล

จนกระทั่ง 9 เดือน จึงเก็บผลสุกส่งตลาดได้

การดูแลรักษามะละกอ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกษตรกรต้องใส่ใจ โดยเฉพาะโรคใบด่างวงแหวนต้องตรวจดูแปลงทุกวัน

เรื่องน้ำ คุณสุวิทย์ให้น้ำโดยระบบสปริงเกลอร์ ลงทุนในส่วนนี้ไร่ละ 6,000-7,000 บาท น้ำมีความสำคัญมาก หากไม่มีระบบน้ำ ไม่ควรปลูกมะละกอเชิงการค้าอย่างเด็ดขาด

ปุ๋ย เจ้าของเน้นปุ๋ยคอก GClub เมื่อมีผลผลิตใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ระยะเวลาที่ใส่ให้ 2 เดือนต่อครั้ง หากฝนชุก ต้องเปลี่ยนเป็นสูตร 13-13-21 เพื่อเพิ่มความหวาน เรื่องของความหวาน แม่ค้าจะเป็นผู้บอกให้ผู้ปลูกทราบอีกทีหนึ่ง หากความหวานน้อยเขาก็บอก ผู้ปลูกก็จะปรับปรุง

ส่วนใหญ่แล้วคุณสุวิทย์ ขายมะละกอที่ปลูกเป็นมะละกอสุก

ที่ผ่านมา มะละกอผลดิบ ขายเพื่อทำส้มตำเคยขายได้ต่ำสุดกิโลกรัมละ 2 บาท สูงสุด 10 บาท

มะละกอสุก เคยขายได้ต่ำสุดกิโลกรัมละ 3 บาท สูงสุด 17 บาท แต่โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10 บาท

“แม่ค้ามาซื้อมีคนเดียว เขาส่งตลาดศรีเมือง ราชบุรี งานปลูกมะละกอถือเป็นอาชีพที่ดี แต่ต้องเลือกทำเล เช่นหลบหลีกเรื่องลม อยู่ไกลจากชุมชนพอสมควร คนปลูกมะละกอด้วยกันเองต้องเข้าใจ เมื่อโละต้นทิ้ง ต้องทำลาย เพราะขืนปล่อยไว้เมื่อเกิดโรค ติดต่อกัน จะสร้างความเสียหายได้”คุณสุวิทย์บอก

ต้นทุนการผลิตมะละกอ ของเกษตรกรหนองหญ้าปล้องไร่ละหมื่นเศษๆ หากดูแลดี จะให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของได้เป็นแสนบาท หากดูแลไม่ดี หรือมีลมพายุ อาจจะขายมะละกอได้ไร่ละไม่ถึงหมื่นบาท เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว เรื่องการขาย คุณบุญส่งบอกว่า หากมะละกอสุก เกษตรกรขายได้กิโลกรัมหนึ่ง 7 บาทขึ้นไป ถือว่าดีแล้ว

ผู้สนใจถามไถ่การปลูกมะละกอได้ที่คุณบุญส่ง