การปลูกดูแลรักษาต้นตาลนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิดมีวิธีการปลูก

“ข้อดีของต้นตาลจะมีอยู่ 3 อย่าง คือ หนึ่งน้ำท่วม แช่น้ำไม่ตาย สองไม่ต้องใส่ปุ๋ย หรือจะใส่ก็ได้ ถ้าใส่ก็จะเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ขี้ไก่ครับ และสามไม่ต้องใช้ยาและสารเคมี ปลูกในสภาพพื้นที่ดินค่อนข้างเป็นด่าง เพราะเขาไม่ชอบดินเปรี้ยวหรือดินที่เป็นกรด ถามว่าดินด่างเราดูอย่างไร เราดูในพื้นที่ใกล้ๆ พื้นที่ก็ชะอำ หรือแหลมพรมเทพ ภูเก็ต ก็จะมีต้นตาลเป็นสัญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพื้นที่พวกนี้จึงเป็นทะเล”

ขั้นตอนการแปรรูปตาลเพื่อทำน้ำตาลสดนั้น ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานหลายวัน เพราะด้วยขั้นตอนต่างๆ ระยะเวลา ความประณีตต่างๆ นั่นเอง ด้านขั้นตอนการทำน้ำตาลสดและน้ำตาลปึกนั้น ทำมาจากปลีตาลตัวผู้ สามารถทำได้โดยการนวดให้เนื้อเยื่อมีบาดแผลและเกิดความช้ำ เนื้อเยื่อตาลที่ช้ำจะทำหน้าที่จ่ายน้ำตาลมาที่ปลายงวงของตาล โดยใช้ไม้ทาบสอดเข้าไปที่โคนงวงตาล จากนั้นกดให้ตึง ทำทีละครึ่งจนสุดนิ้วตาล ทำไปเรื่อยๆ ในลักษณะเดียวกันจนครบ ซึ่งใช้ระยะเวลาการนวดอยู่ที่ 3-4 วัน จากนั้นนำเชือกมามัดงวงตาลให้รวมกัน เพื่อจะสวมลงกระบอก แช่น้ำอีกประมาณ 3 วัน เมื่อครบ 3 วัน จึงนำออก ใช้มีดตาลปาดปลายนิ้วตาล ปล่อยให้น้ำตาลไหลลงกระบอกอีก 2 วัน

จากนั้นนำน้ำตาลสดที่ได้ไปผ่านการกรองและผ่านความร้อน เมื่อได้น้ำตาลสดมาแล้ว จะนำลงเทใส่ผ้าขาวบาง เพื่อกรองสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากน้ำตาลสดที่ได้ใส่ลงในกระทะ จากนั้นจะทำการต้มหรือเคี่ยวในกระทะเป็นเวลา 15-20 นาทีโดยประมาณ เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำตาลสดพร้อมดื่ม รสชาติดี แต่หากต้มไปอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง น้ำตาลสดก็จะเริ่มเหนียว หนืด จนกลายเป็นน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลโตนดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง

ผลตอบรับจากลูกค้า ต้องยอมรับว่าได้รับความสนใจจากลูกค้าทั้งขาจรและขาประจำ มีทั้งสั่งทางช่องทางออนไลน์ และเดินทางมายังภายในสวน เพราะหากมาในสวนช่วง 07.00 -11.00 น. จะได้ชมการสาธิตทำน้ำตาลโตนดแบบสดๆ ที่ในปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยากอีกด้วย

สำหรับท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับ “ตาล” สามารถติดต่อ คุณณรงค์ ภู่เงิน เจ้าของ “สวนตาลณรงค์” ในพื้นที่ตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี หรือทางเพจเฟซบุ๊ก “สวนตาลณรงค์” หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 081-856-9672

มะระ มีหลายสายพันธุ์ แบ่งออกเป็นมะระขี้นก มะระจีน และมะระลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ สรรพคุณทางยาสมุนไพรของมะระมีมาก โดยเฉพาะมะระขี้นกที่มีรสขมจัด คนโบราณนิยมบริโภคมาก มักจะได้ยินคำที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็เนื่องจากมะระนั่นเอง มะระขี้นกนำผลมาหั่นตากแห้งชงกับน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ถ้าจะแก้รสขมให้เติมใบชาลงไป จะช่วยให้การจิบน้ำชามะระดีขึ้น

ที่บริเวณสวนมะระกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา นายสมเกรียติ ปิ่นกลาง อายุ 34 ปี กำลังดูแลต้นมะระอย่างขะมักเขม้นในเนื้อที่กว่า 2 ไร่ โดยสวนมะระของนายสมเกรียติ ได้ทำการยกร่องขนาด 1.5 เมตร ยาว 60 เมตร ด้านบนใช้ตาข่ายขึงให้ยอดมะระเลื้อยปกคลุม ด้านล่างมีพลาสติกปกคลุมดิน ซึ่งมีท่อน้ำไว้สำหรับทำน้ำหยดบริเวณโคนต้นมะระ

นายสมเกรียติ กล่าว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ลงทุนทำนาปลูกข้าว แต่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ขาดน้ำทำนา จึงได้นำมะระจีนสายพันธุ์เขียวหยก 16 มาทดลองปลูก แต่มีปัญหาเรื่องภัยแล้งน้ำไม่เพียงพอจึงเจาะบ่อบาดาลขึ้นมา 1 บ่อ และขุดบ่อพักน้ำอีก 1 บ่อ เพื่อให้น้ำบาดาลที่สูบมาไปพักเพื่อให้น้ำบาดาลได้ปรับสภาพก่อนที่จะสูบน้ำไปรดต้นมะระ โดยใช้น้ำแบบน้ำหยด จะเปิดรดเฉพาะตอนเย็นเท่านั้น

สำหรับมะระที่เห็นมีอายุได้ 45 วัน ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ นอกจากนี้ มะระจีนนั้นจะเก็บได้ถึง 20 ครั้ง หรือ 3 เดือน จะดกมากในช่วงครั้งที่ 7 ขึ้นไป ขณะนี้ทำอยู่กว่า 2 ไร่ ก็จะได้อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 กิโลกรัม

ในเรื่องราคาตอนนี้ก็อยู่ที่ 7-10 บาทต่อกิโลกรัม โดยลงทุนครั้งแรกเป็นเงินประมาณ 2 หมื่นบาท แต่สามารถเก็บผลผลิตขายได้เป็นเงินถึง 2 แสนบาท ซึ่งสร้างรายได้ดีกว่าการทำนาปลูกข้าวในช่วงนี้เป็นอย่างมาก

สวนซะป๊ะ คือผืนดินอุดมสมบูรณ์ ใต้ร่มเงาผืนป่าต้นน้ำดอยหลวง มีสายน้ำแม่กาหลวงไหลผ่านสามารถเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ตลอดปี คุณชวฤทธิ์ งามจิตร์ เจ้าของสวน อดีตเป็นพนักงานดีเด่น ตำแหน่งหัวหน้างานโรงงานอุตสาหกรรม เขากำลังนั่งพรวนดิน ทดลองสูตรปุ๋ยอินทรีย์ อยู่ในโรงเรือนระบบปิดของบ้านสวนซะป๊ะ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ที่นี่มีผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ จัดจำหน่ายให้ร้านอาหารหลายแห่งในพะเยา พวกเขาซื้อขายพืชผักผลไม้อินทรีย์ทางโซเชียลมีเดียเป็นหลัก นับเป็นมิติใหม่ทางการเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย

พนักงานดีเด่นของบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ คุณชวฤทธิ์ เล่าว่า เรียนช่างกลโรงงาน เพราะไม่ชอบทำการเกษตร ตอนเด็กมองเห็นพ่อแม่ลำบาก ทำไร่ข้าวโพดกลางแดดร้อน เขาจึงเลือกเป็นมนุษย์เงินเดือน สมัครทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่งที่จังหวัดระยอง ทุ่มเททำงาน จนได้รับรางวัลพนักงานดีเด่นของบริษัท มีโอกาสศึกษาต่อและดูงานต่างประเทศ ได้รับโอกาสเลื่อนเป็นหัวหน้างานดูแลในส่วนของสายงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม (PM) แต่เบื้องลึกในใจยังไม่พบความต้องการของตัวเองอย่างแท้จริง เขาอยากมีชีวิตเป็นส่วนตัว จึงลาออกมาช่วยภรรยาขายอาหาร แต่ชีวิตยังคงเร่งรีบเหมือนเดิม ยังอยากมีชีวิตเป็นของตัวเอง อยากมีอิสระทางความคิด อยากทดลองและออกแบบสิ่งใหม่ จึงปรึกษากับภรรยา พวกเราจึงเลือกทำงานเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิดจังหวัดพะเยา

จึงพบคำตอบของชีวิต เริ่มศึกษาการเกษตรอย่างจริงจัง ค้นหาข้อมูลแหล่งเรียนรู้งานเกษตรกรรมสมัยใหม่ สมัครเข้ารับการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การปลูกผัก เรียนการทำน้ำหมักชีวภาพ ภายใต้แนวคิดการทำกสิกรรมไร้สารพิษ เดินทางจากจังหวัดระยองมาอบรมกรุงเทพฯ บ่อยครั้ง เรียนกับ อาจารย์ธงชนะ พรหมมิ หลังจากนั้นเริ่มค้นหาวัตถุดิบเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ เตรียมตัวค่อนข้างดี ก่อนเริ่มทำการเกษตรอินทรีย์บนเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ในบ้านเกิดที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ตั้งชื่อสวนแห่งนี้ว่า “บ้านสวนซะป๊ะพะเยา”

คุณชวฤทธิ์ เล่าต่อว่า โชคดีที่ครอบครัวมีพื้นฐานด้านการเกษตร มีทรัพย์สินเป็นที่ดินของครอบครัวเป็นต้นทุน ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ในการทำการเกษตรทั้งหมด ตอนเดินทางกลับบ้าน มีน้ำหมักชีวภาพสำหรับทำการเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก สิ่งสำคัญคือกระบวนการหมักของน้ำหมัก จะมีการปลดปล่อยธาตุอาหารที่แตกต่างกัน เขาทำน้ำหมักตั้งแต่ตอนทำงานอยู่โรงงานอุตสาหกรรมที่ระยอง เริ่มทำการเกษตรอย่างจริงจัง เริ่มจากการทำปุ๋ย ทดลองสูตรปุ๋ยหมักแต่ละสูตร มีโจทย์สำหรับการทำงานว่า ทำอย่างไรให้พืชผักทุกชนิดเติบโตดี มีผลผลิตดี เก็บรักษาได้นาน ปลอดภัยกับผู้บริโภค

เกษตรอินทรีย์ตอบโจทย์ความต้องการของคนสมัยใหม่ เขาคิดว่าเกษตรอินทรีย์ตอบโจทย์ทางธุรกิจ ขายผักสลัดกิโลกรัมละ 120 บาท กำหนดราคาขายปลีก กำหนดราคาขายส่ง ตามจำนวนที่ลูกค้าสั่งซื้อ การกำหนดราคาผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เป็นไปตามค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการดูแลเป็นพิเศษ เป็นการรักษามาตรฐานราคาผักสลัดอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองมาตรจาก SDGsPGS หากกำหนดราคาตามตลาด คนทำเกษตรอินทรีย์ก็คงหันไปทำเกษตรกรรมแบบเดิม คือการใช้ยาฆ่าแมลง ใช้สารเคมี เขาปลูกผักราคาสูงแต่ขายได้ทั้งปี การปลูกผักสลัดเป็นโจทย์ค่อนข้างยากเพราะอากาศบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อย แสงแดดแรงหรือน้อยเกินไปทำให้ผักสลัดเสียรูปทรงได้ง่าย จำเป็นต้องมีเทคนิคการดู ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และการให้น้ำ

เทคนิคเหล่านี้เขาได้เรียนรู้ผ่าน “เกษตรสุขกลางกรุง” ซึ่งถือเป็นอาจารย์คนสำคัญ ผู้บริโภคบ้านเรามีความต้องการเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก เราจะต้องพัฒนาตัวเองให้สามารถปลูกผักให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทดลองทำแปลงปลูกผักยกสูงเพื่อแก้ปัญหาวัชพืช เริ่มทำโรงเรือนระบบปิดแก้ปัญหาเรื่องแมลง พื้นที่โรงเรือนประมาณ 1 งาน ต้องบริหารจัดการปลูกพืชให้ได้ผลผลิตตามจำนวน มีวิธีการปลูกเป็นลำดับตามแปลงก่อนหลัง เพื่อให้มีผลผลิตป้อนสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เขาคิดว่า การทำการเกษตรยุคสมัยใหม่ โรงเรือนมีความจำเป็นเพราะเราต้องการควบคุมคุณภาพผัก มีบทเรียนสำหรับการเพาะปลูก เขากำลังจะเก็บผักสลัดขายในวันรุ่งขึ้น พอถึงช่วงเย็นของวันนี้ ฝนตกหนัก ผักสลัดใบแตกเสียหายเก็บเกี่ยวขายไม่ได้ นั่นคือข้อเสียของระบบเปิด

ตลาดขายผักยุคสมัยใหม่คือโซเชียลมีเดีย เราควรสร้างเรื่องราวในกิจกรรมการเพาะปลูกของเราให้ลูกค้าได้รับรู้ จึงจะเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ เมื่อผักเติบโตพอเก็บเกี่ยว เขาจะโพสต์คำเสนอขายกับรูปผักลงโซเชียล หลังจากนั้นจะมีคนสั่งซื้อทำให้สามารถขายผักได้ตลอด ตอนเริ่มทำการเกษตร เขาคิดจะหิ้วผักไปเสนอขายตามร้านอาหาร เขาบอกว่าไม่อายเพราะคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว แต่สุดท้าย ร้านอาหารกลับติดต่อซื้อผักผ่านโซเชียล เลยคิดได้ว่าความต้องการผักปลอดสารพิษของคนในโซเชียลมีเยอะมาก การโฆษณาสินค้าผ่านโซเชียลมันมีรูปแบบการโฆษณาของมัน สิ่งสำคัญคือการทำผลผลิตทางการเกษตรให้เติบโต ทำการเกษตรให้เป็นไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำน้ำหมัก ดูแลผัก เก็บเกี่ยวผลผลิต

มหาวิทยาลัยพะเยา คือแหล่งนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ การทำงานด้านการเกษตรต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพราะถ้าขาดความรู้เราจะแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ เช่น พืชของเราป่วยควรรักษาอย่างไร วัชพืชจำนวนมากควรจัดการแก้ปัญหาแบบไหน หากไม่มีความรู้เรื่องปุ๋ย เรื่องธาตุ N P K และดิน เราก็จะกลับไปสู่วังวนของปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เมื่อพืชผักไม่อุดมสมบูรณ์ เราจะหมดศรัทธาในเกษตรอินทรีย์ บางคนมีข้ออ้างสำหรับความล้มเหลว เช่น ดินไม่ดี เราปลูกผักเติบโตบนดินได้เกือบทุกประเภทเพราะดินคือสถานที่ยึดเกาะรากพืช ดินเหมือนจานข้าวที่เราต้องเติมอาหาร (อินทรียวัตถุ) ต่อมาเรื่องน้ำหมักชีวภาพควรจะผลิตอย่างไร ใช้ระยะเวลาในการหมักนานเท่าไหร่ ใช้น้ำหมักชีวภาพอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คุณชวฤทธิ์ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่องการวิจัยและการรับรองมาตรฐานผ่านห้องปฏิบัติการ โดยส่วนตัวเขาชอบทดลองงานด้านการเกษตร เมื่อเข้าสู่ระบบการวิจัยก็จะมีผลและมีการจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันเขาทดลองวิจัยการปลูกผักปลอดปรสิต เป็นงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทำงานวิจัยเรื่องเกษตรอินทรีย์กับคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสมาชิกของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา

ภายใต้การบริหารจัดการของ ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ ผศ.ดร.วาสนา พิทักษ์พล ผศ.ดร.บังอร สวัสดิ์สุข และทีมวิจัย ซึ่งเขาฝากขอบคุณมา ณ ที่นี้ ที่ช่วยผลักดันและชี้แนะแนวทางการเกษตรที่ถูกต้อง ตอนนี้เขาบอกว่ามีชีวิตเป็นอิสระ สามารถใช้ความคิด ออกแบบชีวิต ออกแบบการทำงาน เปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามความเหมาะสม มีชีวิตพอเพียง มีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ มีสายน้ำแม่กาหลวงเป็นแหล่งน้ำทำการเกษตรได้ตลอดปี ผืนดินเพาะปลูกล้อมรอบด้วยภูเขา มองออกไปเห็นดอยหลวงซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ มีชีวิตที่ดี เริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงเช้า ช่วงบ่ายแดดร้อนก็ทำงานในร่มเพาะกล้าผัก ช่วงเย็นแดดร่มเริ่มทำงานในโรงเรือน ตะวันลับหลังดอยหลวงก็เริ่มเปิดไฟ เปิดเพลงฟัง ทำงานอยู่กับภรรยาในโรงเรือนถึงเวลา 3 ทุ่ม “บ้านสวนซะป๊ะพะเยา” ไม่เคยเงียบเหงาและเราพร้อมเปิดรับผู้มาเยี่ยมชมเสมอ

มะพร้าวกะทิ พบได้ทั่วไปในแหล่งที่ปลูกมะพร้าวในเขตร้อน ไม่ว่าจะที่ ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนในบ้านเราพบตามแหล่งปลูกมะพร้าวที่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช

ผลการวิจัยที่ฟิลิปปินส์พบว่า เมื่อใช้ต้นมะพร้าวที่เคยมีประวัติการเกิดให้ผลมะพร้าวกะทิ ให้มีการผสมตัวเอง แล้วนำผลมะพร้าวที่ได้ไปปลูกจะมีโอกาสได้ผลผลิตมะพร้าวแกง 3 ส่วน และมะพร้าวกะทิ 1 ส่วน หรืออาจจะไม่เป็นไปตามสัดส่วนขั้นต้นหากต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นไม่ได้มีพันธุกรรมที่เป็นมะพร้าวกะทิ

แต่ในปัจจุบัน มีผู้สามารถเพาะสายพันธุ์มะพร้าวกะทิได้ทั้งต้น แบบไม่ต้องรอผลผลิตออกตามธรรมชาติเหมือนอย่างในอดีตแล้ว คุณสมศักดิ์ แซ่ลิ้ม หรือ คุณเล็ก อยู่ที่บ้านเลขที่ 130/13 หมู่ที่ 9 ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าของสวนมะพร้าวกะทิ เล่าให้ฟังว่า ผลิตภัณฑ์มะพร้าวกะทิของแบรนด์ THAPSAKAE SELECT เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากสามพี่น้องที่ช่วยเข้ามาปรับเปลี่ยนสวนมะพร้าวของบรรพบุรุษ จากเดิมที่เป็นสวนมะพร้าวแกงที่มีราคาผันผวนสูง จึงได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนและเลือกที่จะมาทดลองปลูกมะพร้าวกะทิ ด้วยเหตุผลที่ความต้องการในมะพร้าวกะทิยังมีอีกมาก แต่ยังผลิตได้น้อยและคาดการณ์ได้ยาก จากเดิมที่ต้องรอผลผลิตกะทิจากธรรมชาติที่มีปริมาณน้อยมากและคาดการณ์ผลผลิตได้ยากมาก ทั้งนี้ จึงได้ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำการเพาะและขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิที่เป็นสายพันธุ์แท้ที่ให้ผลผลิตกะทิล้วน โดยคาดการณ์ไว้ว่าผลผลิตรอบแรกจะออกมาให้เก็บเกี่ยวได้ภายในเดือนมกราคม 2565 และได้มีการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตว่าอาจจะได้มะพร้าวกะทิออกมาไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นที่เหลือนั้นเป็นเรื่องของปัจจัยแวดล้อมในเรื่องของพื้นที่ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้อาจจะมีเกสรของมะพร้าวสายพันธุ์อื่นปลิวมาปะปน ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตที่อาจไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

เริ่มต้นปลูกมะพร้าวกะทิ 3 ปี
คาดการณ์ผลกำไรได้ 6,000 บาทต่อต้น
คุณเล็ก บอกว่า โดยหลักๆ กิจกรรมที่ทางสวนทำอยู่ตอนนี้เรียกได้ว่าทำแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการแปรรูปและการตลาด และที่สวนค่อนข้างมีความสนใจในตัวมะพร้าวกะทิเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้มีการรวบรวมไว้หลายสายพันธุ์ บนพื้นที่ 12 ไร่ เช่น มะพร้าวกะทิน้ำหอม มะพร้าวกะทิแกงสายพันธุ์พื้นเมือง มะพร้าวกะทิสายพันธุ์นาฬิเกร์ มะพร้าวกะทิสายพันธุ์นกคุ่ม มะพร้าวกะทิสายพันธุ์พวงร้อย มะพร้าวกะทิสายพันธุ์ทะลายร้อย เป็นต้น เพื่อการอนุรักษ์และเพื่อศึกษาพัฒนาต่อไป ตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นของที่สวน และได้แบ่งพื้นที่อีก 30 ไร่ ไว้ปลูกมะพร้าวกะทิเพื่อการค้าที่มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเนื้อเยื่อที่จะได้ผลผลิตออกมาเป็นมะพร้าวกะทิทั้งหมด โดยที่สวนได้ลงมือปลูกมาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี

เทคนิคการปลูกมะพร้าวกะทิ
คุณเล็ก บอกว่า สำหรับการปลูกมะพร้าวกะทิขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่นำมาปลูก ถ้าเป็นมะพร้าวกะทิจากมะพร้าวน้ำหอมก็จะใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 3 ปีครึ่ง เหมือนมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป แต่ถ้าเป็นมะพร้าวกะทิสายพันธุ์ที่ให้ลูกใหญ่อาจจะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 5 ปี ถึงจะได้เก็บผลผลิต

สำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากปลูกมะพร้าวกะทิ อันดับแรกต้องเลือกก่อนว่าต้องการที่จะปลูกแบบไหน 1. เป็นการปลูกแบบเพาะเนื้อเยื่อ หรือ 2. การเพาะผลพันธุ์ ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะได้ผลผลิตที่ออกมาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือหากเกษตรกรเลือกที่ปลูกจากการเพาะผลพันธุ์ จะได้ผลผลิตที่เป็นมะพร้าวกะทิเพียงบางต้น ซึ่งมีโอกาสที่จะได้ต้นพันธุ์ที่ให้ผลกะทิจาก 4 ต้นจะได้ต้นพันธุ์ที่ให้ผลเป็นกะทิเพียง 1 ต้น และต้นที่ให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิจะให้ผลกะทิเพียง 25 เปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น จึงอยากแนะนำสำหรับท่านที่อยากเริ่มทำสวนมะพร้าวกะทิ ให้เริ่มต้นปลูกจากการเพาะเนื้อเยื่อ ถึงแม้ราคาต้นพันธุ์จะสูงแต่สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ว่าจะออกมาเป็นมะพร้าวกะทิแน่นอน และสามารถประมาณการผลผลิตล่วงหน้าได้เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำตลาด เพราะว่าถ้าคาดการณ์ผลผลิตไม่ได้ การทำตลาดก็จะเป็นไปค่อนข้างลำบาก และอีกข้อสำคัญคือมะพร้าวกะทิเป็นผลผลิตที่เน่าเสียได้ง่าย ถ้าเราปลูกไว้แล้วไม่มีการตลาดมารองรับ จากที่จะได้รายได้เยอะก็อาจจะกลับกลายเป็นศูนย์เลยก็ได้

การปลูก จะมีวิธีการปลูกเหมือนกับมะพร้าวทั่วไป ที่สวนจะปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 8×8 เมตร การเตรียมดินขุดหลุมลึกxกว้างxยาว 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

การดูแลรดน้ำ สภาพพื้นที่สวนเป็นพื้นราบ ไม่ได้ขุดคลอง จึงต้องมีการขุดท่อเพื่อทำระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ ในช่วงแรกที่เริ่มปลูกจะมีการให้น้ำ 2 วันครั้ง จะช่วยให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี

ปุ๋ย ปีแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 โดยที่สวนจะพยายามใส่ปุ๋ยให้ได้ทุกเดือน เน้นใส่บ่อยๆ แต่ใส่ในปริมาณที่น้อย โดยรวมทั้งปีจะให้ปุ๋ยไม่เกินต้นละ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้น พอเริ่มเข้าปีที่ 2 ก็ยังคงใส่ปุ๋ยสูตรเดิมและเน้นใส่ปุ๋ยทุกเดือนอยู่ เพียงแต่เพิ่มปริมาณการใส่ขึ้นจากเดิมอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นมาเป็นอัตรา 2 กิโลกรัม เนื่องด้วยมะพร้าวกะทิเป็นผลผลิตที่มีราคาแพง ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจกว่าการดูแลมะพร้าวทั่วไป และหมั่นตัดหญ้ากำจัดวัชพืชให้ได้ทุกเดือน

คำแนะนำในการปลูกมะพร้าวกะทิ โดยทั่วไปตามหลักการจะต้องปลูกให้ห่างจากมะพร้าวชนิดอื่นๆ ในระยะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ลมหรือแมลงพัดพานำเกสรของมะพร้าวชนิดอื่นมาปะปน แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่มีอย่างจำกัดและหนีสวนมะพร้าวไม่ได้เพราะสวนเราอยู่อำเภอทับสะแกซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว ซึ่งแน่นอนว่าที่สวนก็ต้องทำใจไว้แล้วว่าโดยหลักการจะได้ผลผลิตมะพร้าวกะทิออกมา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในทางปฏิบัติอาจจะได้ไม่ถึง อาจจะลดลงมาเหลือ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ยังถือว่าอยู่ในจุดที่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่หากอยากให้ผลผลิตออกมา 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะต้องมีการจัดการกับเกสรจากมะพร้าวอื่นที่จะมาผสม เช่น การทำแนวกันชน หรือหาพื้นที่ที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะพร้าวอื่น เป็นต้น

ผลผลิตต่อต้น ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดภายในเดือนมกราคม 2565 ผลผลิตจะออกมาเก็บเกี่ยวรอบแรก และคาดการณ์จากสายพันธุ์ไว้ว่าต่อเดือนเมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายไปแล้วเกษตรกรจะเหลือกำไรจากการขายลูกมะพร้าวกะทิประมาณ 500-600 บาทต่อต้นต่อเดือน หรือคิดเป็นปีจะมีรายได้ประมาณ 6,000 บาทต่อต้นต่อปี โดยราคาหน้าสวนซื้อขายตามไซซ์ มีตั้งแต่ราคาลูกละ 50-150 บาท ซึ่งมีรายได้ที่แตกต่างไปจากเดิมที่ทำสวนมะพร้าวแกงก่อนหน้านี้

วางแผนการตลาดนำการผลิต
มีตลาดรองรับไม่ขาดสาย
คุณเล็ก เล่าถึงหลักการทำตลาดของผลิตภัณฑ์มะพร้าวกะทิให้ฟังว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มะพร้าวกะทิ ภายใต้แบรนด์ THAPSAKAE SELECT จะประกอบไปด้วย เนื้อมะพร้าวกะทิสดแช่แข็ง มะพร้าวกะทิเชื่อม มะพร้าวกะทิ และไอศกรีมมะพร้าวกะทิ โดยวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปและขายผลสดมาจากสวนของตนเองส่วนหนึ่งและรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้ทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งกันไว้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น โดยการทำตลาดจะให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศให้แข็งแรงก่อน และถ้ามีโอกาสก็จะขยายสู่ตลาดต่างประเทศ รวมถึงการขายผ่านช่องทางออนไลน์และขายผ่านหน้าร้านของตนเองด้วย ส่งผลไปถึงการสร้างรายได้ที่ยังไม่มาก เพียงประมาณหลักแสนบาทต่อเดือน แต่ในอนาคตเมื่อผลผลิตของที่สวนออกมาครบ 100 เปอร์เซ็นต์ อนาคตสดใสแน่นอน

เกษตรกรมือใหม่เริ่มต้นยังไง
“แนะนำสำหรับมือใหม่หัดปลูก อันดับแรกหากอยากปลูกไว้รับประทานเองสักต้นก็คงทำได้ไม่ยาก แต่สำหรับท่านที่อยากปลูกเพื่อการค้าสำคัญที่สุดคือต้องหาแหล่งต้นพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ เพราะเมื่อปลูกไปแล้วต้นทุนของเกษตรกรที่แท้จริงคือ เวลาและพื้นที่ปลูก เวลา คือถ้าเราปลูกไปต้นที่ได้มาไม่ใช่กะทิ ก็เสียเวลาไป 3-5 ปี เพราะฉะนั้น ควรหาแหล่งต้นพันธุ์ที่เชื่อถือได้ หากสนใจปลูกแบบเพาะลูกพันธุ์ควรจะต้องเห็นว่าลูกที่เพาะพันธุ์ถูกนำมาจากต้นที่มีประวัติการให้ผลที่เป็นกะทิจริงๆ ถึงจะมีโอกาสได้ต้นพันธุ์ที่มีผลเป็นกะทิ หรือถ้าสนใจต้นพันธุ์แบบเพาะเนื้อเยื่อจากทางสวนได้ในราคาขายปลีกต้นละ 2,500 บาท แต่ถ้าสำหรับเกษตรกรที่อยากปลูกและทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งกับที่สวน ก็จะมีรายละเอียดเงื่อนไขในส่วนของราคาและการรับซื้อผลผลิตคืนกลับมาเพิ่มเติมในส่วนนี้” คุณเล็ก กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 096-121-8317 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : Thapsakae Select – ทับสะแกซีเล็ค มะพร้าวกะทิแปรรูป โรงเรือนปลูกพืช ช่วยให้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกพืช โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากๆ สภาพอากาศแปรปรวน ทั้งอุณหภูมิ ลม และปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ รวมไปถึงการปลูกพืชนอกฤดู พืชที่มีราคาสูงหรือปลูกพืชเมืองหนาว โดยที่ไม่มีแมลงมารบกวน จะต้องมีสถานที่พร้อม เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำลายพืชที่ปลูก โรงเรือนคืออีกตัวช่วยสำหรับเกษตรกร สามารถปลูกพืชได้โดยไม่ได้รับความเสียหายไม่ส่งผลกับผลผลิต

โรงเรือนยุคนี้มีระบบควบคุม bing-vs-google.com ทั้งอุณหภูมิ น้ำ แสง การใส่ปุ๋ย ช่วยป้องกันโรคและแมลงในโรงเรือนได้ ทำให้เกษตรกรพร้อมที่จะก้าวสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ได้ สามารถควบคุมปัจจัยทุกตัวที่มีผลต่อพืชได้ทั้งหมด ช่วยลดต้นทุนสารเคมี ยากำจัดแมลง

ข้อดีของการปลูกผักในโรงเรือน
-ป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ดี

-ช่วยรักษาความชื้น และอุณหภูมิภายในได้ตามต้องการ

-ปลูกผักนอกฤดูได้ ผักเหล่านี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น เมื่อปลูกอยู่ในโรงเรือนจึงสามารถปลูกพืชนอกฤดูกาลได้ดี -ดูแลง่าย สามารถควบคุมการเกิดของแมลง วัชพืช และการขาดธาตุอาหารของพืชได้ง่ายกว่า

-สามารถปลูกพืชหมุนเวียนได้

-ผักที่ปลูกมีคุณภาพ ด้วยกรรมวิธีการปลูก การดูแลและการกำจัดศัตรูพืช ทำให้ผักที่ปลูกได้มีคุณภาพและประโยชน์ที่ครบถ้วน ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ราคาขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และวัสดุในการก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีราคาที่ต่างกัน ขนาดเล็กๆ ราคาเริ่มต้นที่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น ตามขนาดไซซ์ที่ต้องการ 1.โรงเรือนทรงโค้ง
เป็นทรงที่นิยมมากในบ้านเรา รูปทรงมีความทันสมัย สามารถปลูกผักได้เกือบทุกชนิด เป็นโรงเรือนราคาประหยัด สามารถต้านทานกับแรงลมที่เข้ามาปะทะได้ดี เพราะลักษณะที่โค้งจะทำให้ลมไหลผ่านได้ง่ายขึ้น ส่วนการระบายอากาศอาศัยการถ่ายเทอากาศจากด้านข้างโรงเรือนผ่านตาข่ายกันแมลง

• เหมาะสำหรับปลูกพืชเถาเลื้อย เช่น แตงโม เมล่อน แคนตาลูป เป็นต้น

• เหมาะสำหรับการเพาะกล้าพืชทุกชนิด เช่น ผัก ดอกไม้ ไม้ผล ปาล์ม และยางพารา เป็นต้น

• เหมาะสำหรับโรงอบ เช่น พืชสมุนไพร พริกแห้ง เป็นต้น 2.โรงเรือนทรงจั่ว 2 ชั้น
เป็นโรงเรือนทรงสูงมีความสามารถในการระบายอากาศได้ดีกว่าแบบหลังคาระบายอากาศ น้ำไม่สาดเข้าด้านในโรงเรือนเมื่อมีฝนตก เหมาะสำหรับพื้นที่เขตร้อนอย่างในประเทศไทย มีช่องระบายอากาศ 2 ด้าน ปิดมุ้งตาข่ายกันแมลงด้านบน เพื่อถ่ายเทความร้อนออกได้เร็ว

• เหมาะสำหรับพืชที่มีความสูงหรือเถาเลื้อยที่ต้องการขึ้นค้าง เช่น แตงโม เมล่อน แคนตาลูป มะเขือเทศเชอร์รี่ พริกหวาน 3.โรงเรือนกอไก่หรือฟันเลื่อย
ตรงหลังคามีช่องเปิด ช่วยลดอุณหภูมิโรงเรือนได้ดีกว่าโรงเรือนแบบปกติ เพิ่มอัตราหมุนเวียนอากาศให้สูงขึ้น เหมาะกับลักษณะอากาศแบบประเทศไทย นิยมใช้ในโรงเรือนที่ปลูกพืชเชิงการค้า มีช่องระบายอากาศ 1 ด้าน ปิดมุ้งตาข่ายกันแมลงด้านบน เพื่อถ่ายเทความร้อนออกได้เร็ว ระบายอากาศ ทำได้ทั้งด้านข้างและด้านบน มีอัตราการระบายอากาศสูง

• เหมาะสำหรับพืชที่มีความสูงหรือเถาเลื้อยที่ต้องการขึ้นค้าง เช่น แตงโม เมล่อน แคนตาลูป มะเขือเทศเชอร์รี่ พริกหวาน