การปลูกบัวบกจะเริ่มจากการปรับพื้นที่ด้วยการไถพรวนก่อน

ปั่นให้ดินมีความร่วนซุยมาก แล้วให้ยกเป็นแปลง จากนั้นนำต้นกล้าลงปลูกโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ ควรรดน้ำน้ำวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาสัก 7 วัน สังเกตดูถ้ารากเริ่มยึดดินดีแล้วจึงใส่ฝุ่นขี้ไก่ ใส่ปุ๋ย แล้วรดน้ำ

สำหรับการบำรุงต้นบัวบก คุณวิสัยใช้ฝุ่นขี้ไก่มีคุณสมบัติช่วยทำให้ต้นและใบมีความสมบูรณ์และสด ฝุ่นขี้ไก่ซื้อมาจากฟาร์มเลี้ยงไก่ในราคากระสอบละ 50 บาท (ขนาด 20 กิโลกรัม) โดยจะใช้จำนวน 15-20 กระสอบ จะใส่จำนวน 2 ครั้ง คือในช่วงต้นกล้าเล็ก และช่วงที่ใบขยายชนกัน

ทั้งนี้ การรดน้ำสำหรับต้นที่แข็งแรงให้รดเพียงวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) หลังจากปลูกต้นกล้าแล้ว ประมาณ 45-50 วัน สามารถเก็บขายได้ ซึ่งวิธีเก็บบัวบกด้วยการใช้เสียมแซะลงไปในดินให้หลุดออกทั้งราก แล้วเคาะดินที่ติดรากออก จะทยอยเก็บทั้งแปลง ใส่ถุงขนาด 5 กิโลกรัม ซึ่งแปลงที่ปลูกจะเก็บผลผลิตได้ทั้งหมดประมาณ 30-40 ถุง ทั้งนี้ จะมีแม่ค้ามารับซื้อที่สวนหรือจุดรับซื้อในหมู่บ้าน

ส่วนราคาขายบัวบกไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับฤดูกาล อย่างถ้าหน้าฝนมีราคาสูงเพราะชาวบ้านมักทำนากันเลยไม่ปลูกผัก จึงทำให้ผักมีน้อยราคาสูงกิโลกรัมละ 70-80 บาท ส่วนหน้าร้อนราคาลดลงเพราะทำนาไม่ได้ชาวบ้านจึงแห่ปลูกผักกันจนทำให้ผักล้นตลาดราคาถูก ลดลงเหลือกิโลกรัมละประมาณ 40 บาท คุณวิสัย เผยว่า บัวบกเป็นทั้งพืชรายได้หลักและรายได้เสริม เพราะในช่วงที่ราคาสูงจะมีรายได้ 4,000-6,000 บาท ต่อรอบปลูก แต่ถ้าช่วงราคาลดเมื่อหักต้นทุนแล้วจะมีรายได้ 2,000-3,000 บาท ต่อรอบปลูก

คุณวิสัย เล่าว่า ชาวบ้านปลูกบัวบกกันมานานแล้ว เนื้อที่ปลูกแต่ละรายไม่เท่ากันอยู่ที่ใครมีมาก-น้อย นอกจากปลูกบัวบกแล้ว คุณวิสัยยังทำนาบัว เป็นบัวกินฝัก ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ แล้วยังเป็นพืชที่ทำรายได้ให้ตลอดเวลาด้วย

ในปัจจุบันการปลูกผักขะแยงกับบัวบกของชาวบ้านในตำบลบุ่งหวายได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากทางสำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ พร้อมกับอีกหลายหน่วยงาน ในการส่งเสริมให้ความรู้ พัฒนาปรับปรุงคุณภาพการปลูก รวมถึงการมองหาตลาดรองรับ ทั้งนี้ เพื่อต้องการวางเป้าหมายให้ชาวบ้านสนใจการปลูกพืชสมุนไพรเป็นพืชสร้างรายได้หลัก ทดแทนการปลูกข้าวในหน้าแล้ง

สอบถามรายละเอียดข้อมูลการปลูกผักขะแยงกับบัวบก หรือสนใจสั่งซื้อผลผลิต ติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ โทรศัพท์ : (045) 322-020 หรือเว็บไซต์

มะนาวพันธุ์ตาฮิติ มีลักษณะเด่นที่ไม่มีเมล็ด มีน้ำมาก และต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ในระดับที่ดี เพียงแต่รูปทรงกลมรีในแนวตั้ง ทั้งนี้ ถ้าต้องการปรับปรุงพันธุ์ให้มีรูปทรงสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาดยิ่งขึ้น ให้คัดเลือกต้นพันธุ์ทั้งสองที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปลูกไว้ใกล้กัน เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน เนื่องจากมะนาวเป็นพืชผสมตัวเอง หรือเป็นชนิดสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน บางสายพันธุ์ออกผลติดเป็นพวงใน 1 ดอก มีเกสรเพศเมียเพียงอันเดียว ส่วนเกสรเพศผู้ มีก้านยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ชูอับละอองเกสรไว้ที่ส่วนปลายยอด จำนวน 20 อัน ล้อมรอบเกสรเพศเมียเอาไว้ ขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุดเล็กน้อย ในสภาพธรรมชาติ มะนาวมักออกดอกตามฤดูกาลใกล้เคียงกัน

หากออกดอกไม่พร้อมกัน ต้องบังคับให้ออกดอกด้วยวิธีงดการให้น้ำจนใบม้วนสลดปรากฏให้เห็น แล้วกระตุ้นด้วยปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือสูตรใกล้เคียงและรดน้ำตาม ต้นมะนาวจะออกดอกภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยประมาณ เมื่อออกดอกพร้อมกันแล้ว ให้คัดเลือกดอกที่สมบูรณ์ทั้งสองพันธุ์ ดอกมะนาวจะบานตอนเช้าเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น พอดอกบานให้ใช้คีมเล็กๆ คีบเอาเกสรเพศผู้ทิ้งไป อย่าปล่อยให้อับละอองเกสรแตกเสียก่อน ถนอมเกสรเพศเมียไว้อย่าให้บอบช้ำ แล้วรีบนำละอองเกสรเพศผู้ของพันธุ์ตาฮิติที่ไม่มีเมล็ดมาเป็นพ่อ นำอับละอองไปแตะเบาๆ ที่ยอดละอองเกสรเพศเมีย ถูไปมาจนอับละอองแตกปลดปล่อยละอองเกสรออกมา เมื่อดอกได้รับการผสมเกสร ให้ครอบด้วยถุงกระดาษเล็กๆ

ป้องกันถูกรบกวนจากแมลงหรือศัตรูอื่นๆ ห้ามใช้ถุงพลาสติก เพราะจะเก็บความชื้นไว้มาก ทำให้ดอกมะนาวเน่าเสีย อีก 1-2 วัน เกสรเพศเมียจะพัฒนารูปร่างเป็นผลมะนาวขนาดเล็ก และเติบโตเป็นผลที่สมบูรณ์เก็บเกี่ยวได้ ภายในเวลาไม่เกิน 4-5 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ นำผลที่ได้จากการผสมเกสรมาผ่าซีก นำเมล็ดออกมาทั้งหมด เลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ล้างน้ำให้สะอาด นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทดสอบด้วยการผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็น ใช้นิ้วจุ่มลงไป ถ้ารู้สึกร้อนเกือบทนไม่ไหว ก็โอเคเลย แช่ไว้นาน 20 นาที

เพื่อทำลายระยะพักตัว ถ้าน้ำเย็นลงให้เติมน้ำร้อนเพิ่มอีก นำขึ้นมาผึ่งลมอีกครั้ง มะนาว 1 ลูก อาจติดเมล็ด 5-8 เมล็ด แล้วเพาะเมล็ดในกระถางที่มีวัสดุเพาะใหม่และสะอาด ขุยมะพร้าวก็ใช้ได้ดี รดน้ำพอชุ่ม นำเข้าถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ ผูกปากถุงเป็นตู้อบ โยงเชือกไว้บนที่สูงไม่ให้ถุงพลาสติกพับลง ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้นและมีอัตรารอดตายสูง เพียงไม่เกิน 1 เดือน เมล็ดมะนาวจะงอกต้นอ่อนให้เห็น เมื่อต้นอ่อนแข็งแรงดี มีความมั่นใจแล้วให้เปิดปากถุงทีละน้อย ให้ต้นกล้าปรับตัวกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้ก่อน แล้วนำออกจากถุง

ปลูกลงในถุงเพาะชำหรือกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ครบ 6-8 เดือน ย้ายปลูกลงดิน ถ้าจะให้ปลอดภัยควรปลูกในวงบ่อซีเมนต์ หมั่นดูแลรักษาให้ดี ภายใน 2-3 ปี จะเริ่มให้ผล

คัดเลือกต้นที่มีผลคุณภาพดี รูปทรงสวยงาม น้ำมาก กลิ่นหอม ทนโรคหลายชนิด ให้ผลดก มีเมล็ดจำนวนน้อย หรืออาจไม่มีเมล็ดก็ได้ เป็นไปตามกฎของเมนเดล ตามวัตถุประสงค์เก็บไว้เป็นแม่พันธุ์แล้วเพิ่มจำนวนด้วยวิธีการตอน หรือเสียบยอด ต้นที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ ขอให้โชคดีครับ

พื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีกว้างใหญ่ไพศาล มีทั้งหมด 25 อำเภอ

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี คือหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนรับผิดชอบในงานพัฒนาอาชีพและรายได้ของชาวบ้าน คุณทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานขององค์กรนี้

มารับรู้เรื่องราวจากท่านเกษตรจังหวัด ว่ามีอะไร ที่ไหน อย่างไร พืชเด่นของจังหวัดอุบลราชธานี ข้าวดี มันสำปะหลังอินทรีย์ตลาดต้องการ

มีหลายตัว ข้าว พืชไร่…พืชไร่มีมันสำปะหลัง ผลไม้มี กล้วยน้ำว้า มะละกอ เงาะ ทุเรียน มะม่วง มะขาม ไม้ยืนต้นยางพารา รายได้หลักของอุบลราชธานีมาจากภาคเกษตร มาจากข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ติดชายแดนจังหวัดศรีสะเกษมีเงาะ ทุเรียน ปลูกพร้อมๆ กันโซนทางเทือกเขา

เราดูพืชตัวเด่นๆ ของจังหวัด ข้าวจะเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตเพิ่มมูลค่า ดูเรื่องการตลาด คุณภาพ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ เน้นปริมาณผลิตแบบอินทรีย์มากขึ้นตั้งแต่การเริ่มผลิต ช่วงหลังๆ มีการปรับเปลี่ยนและขยายตัวมากขึ้น ของเราปลูกข้าว 4.3 ล้านไร่ เป็นข้าวหอมมะลิเสียส่วนใหญ่ ผลผลิต 1.8 ล้านตัน จำนวนนี้ 1.2 ล้านตันข้าวเปลือกออกตลาดหมด ถ้าเทียบกับข้าว จีเอพี กับข้าวอินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นข้าวคุณภาพ จีเอพี

นอกจากพัฒนาข้าว เรายังพัฒนามันสำปะหลัง โรงงานต้องการมันสำปะหลังอินทรีย์มากแต่ยังไม่มีเลย พื้นที่ปลูก 600,000 ไร่ ผลผลิต 2 ล้านตัน มันอินทรีย์ แป้งอินทรีย์ยังไม่มี…แต่ตลาดต้องการ จะพัฒนามันอินทรีย์ มีทดลองแล้ว 5,000 ไร่ ช่วงแรกผลผลิตไม่ดีนัก หลังๆ จะดีขึ้น ผลผลิตต่อไร่ 5 ตัน ผลผลิตอินทรีย์มีกำไร ราคาบวกเพิ่มขึ้น 50 สตางค์ ต่อกิโลกรัม เป็นหัวมันสด พื้นที่ปลูกอยู่อำเภอนาเยีย เดชอุดม ที่ทำเรื่องนี้

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีเที่ยวได้ทั้งปี

มีหลายแห่ง

หนึ่ง. ด้านผลไม้ อยู่โซนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ช่องอานม้า จะไปทางโน้น ตรงข้ามกับเขาพระวิหาร มีแหล่งท่องเที่ยวหลัก ผามออีแดง ของศรีสะเกษ อุบลราชธานีเป็นช่องอานม้า ช่องตาบู ที่จะข้ามไปกัมพูชา จังหวัดพระวิหาร ตั้งแต่พฤษภาคม-สิงหาคม คนไปเที่ยวเยอะ

สอง. แหล่งท่องเที่ยวเชิงไม้ดอกไม้ประดับอยู่ใกล้เมือง อำเภอวารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ ม่วงสามสิบ ปลูกไม้ดอกเบญจมาศ ติดกับวัดหนองป่าพง วัดป่านานาชาติ ลำน้ำมูล หาดภูเดื่อ ทางสว่างวีระวงศ์ก็อยู่ไม่ไกล

สาม. ทางโขงเจียม มีลำไย ส้มโอ ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วย แคนตาลูป พืชผัก มีแหล่งท่องเที่ยวผาแต้ม ผาชนะได เสาเฉลียง สามพันโบก แก่งสะพือ

ทางโพธิ์ไทร มีแหล่งท่องเที่ยวโดดเด่นน่าไปเที่ยว มีคนไปเที่ยวกันมาก

จังหวัดอุบลราชธานี ท่องเที่ยวได้ทั้งปีผสมผสานทางการเกษตรและท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ผลการดำเนินงานเกษตรแปลงใหญ่ ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม

เรื่องของแปลงใหญ่ หมายความว่าให้พี่น้องเกษตรกรมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ ต่อรอง รับประโยชน์…ทำคนเดียวไปได้ยาก เรื่องของแปลงใหญ่ยึดหลักของบิ๊กฟาร์มให้เป็นฟาร์มขนาดใหญ่…แปลงใหญ่เอาเกษตรกรรายย่อยมารวมกันให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้น ไม่ได้หมายความว่ามาโละแปลงนารวมกัน แต่หมายความว่าให้มาวางแผนการผลิตด้วยกัน มาบริหารจัดการด้วยกัน นี่คือ หลักแปลงใหญ่

เริ่มมา 2 ปี มีความเจริญก้าวหน้า คิดว่าส่วนใหญ่มีความเข้าใจ

มีข้าว มันสำปะหลัง ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก ใช้หลักแปลงใหญ่ เริ่มแรกทำเฉพาะข้าว

จากการประเมินเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน

หนึ่ง. ลดต้นทุนทางด้านเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ลง เดิมนิยมหว่าน เมื่อมาวางแผนทำนาหยอด จาก 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ก็ลดลงไม่เกิน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ลดลงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ลดปุ๋ย ลดการระบาดของโรคแมลง ข้าวไม่หนาแน่น คือมิติลดต้นทุน

สอง. ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น การดูแลรักษาดีขึ้น สาม. การเพิ่มมูลค่า แทนที่จะขายข้าวเปลือก หันมาทำข้าวเมล็ดพันธุ์ แปรรูปมากยิ่งขึ้น ทำขนมนมเนย อาหารสัตว์

สี่. ตลาด ทำให้พี่น้องเกษตรกรเห็นตลาด ขณะเดียวกันตลาดก็ลงมาเชื่อมโยงกระบวนการผลิต โรงสีต้องการข้าวอย่างไร ก็จะมาให้ข้อมูลกับเกษตรกร ให้เกษตรกรคัดเลือกให้ เขาจะซื้อเพิ่มขึ้น ตันละ 250 บาท สูงกว่าราคาตลาด ร่วมกันทั้งโรงสีและสหกรณ์

มีความก้าวหน้า ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากยิ่งขึ้น มีความชัดเจน เกษตรกรผลิตให้ตรงความต้องการของตลาด เข้าคอนเซ็ปต์ของแปลงใหญ่ คือการเอาตลาดนำการผลิต

คิดว่าใครเป็นรัฐบาลคงทำ เพราะอยากเห็นเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลักการคงมีความยั่งยืน ผลการดำเนินการศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร เกษตรกรไปได้เร็ว

หลักศูนย์การเรียนรู้คือ จะทำการเกษตรให้ได้ผลต้องมีต้นแบบให้ดู มีที่เรียนรู้ ถ้าไม่มีตัวอย่างให้ดู การเกษตรจะไปได้ช้า ในอำเภอหนึ่งควรมีแหล่งเรียนรู้ให้เห็นตัวอย่าง ทุกอำเภอมี 1 จุด ให้พี่น้องเกษตรกรได้ดูเป็นตัวอย่าง แม้แต่แปลงใหญ่เองก็ต้องเรียนรู้เรื่องข้าวที่ศูนย์ฯ เมื่อเรียนรู้จบก็ไปปฏิบัติ วิธีปฏิบัติก็คือใช้ระบบแปลงใหญ่

ศูนย์ฯ ที่มีอยู่ เปรียบเสมือนวิทยาลัยเกษตรกรรม ให้คนมาเรียนรู้ว่าเขาทำอย่างไร ลดต้นทุนกันอย่างไร เขาเพิ่มประสิทธิภาพ เขาบริหารงานกันอย่างไร เขามีการทำการตลาดอย่างไร ศูนย์เรียนรู้มีพี่น้องเกษตรกรเรียนรู้เยอะ มีเครือข่ายแตกออกไป เช่น เครือข่ายการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เครือข่ายทำเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายประมง เครือข่ายปศุสัตว์ แตกออกไป ทั้งทำนาเลี้ยงสัตว์ด้วย ทำนาด้วยปลูกพืชด้วย ปลูกพืชหลังฤดูการทำนา ปลูกพืชไร่พืชผัก พวกนี้จะเป็นกิจกรรมผสมผสาน มีสถานีย่อย ให้ไปเรียนรู้แล้วกลับมาปฏิบัติที่แปลงของตนเอง

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านละ 1 ตัวอย่าง

เป็นหลักปฏิบัติที่ยอดเยี่ยมมาก โดยเฉพาะเกษตรกรระดับกลางและระดับย่อยลงมา แต่ไม่ได้หมายความว่าระดับใหญ่ทำไม่ได้ ทำได้ทุกระดับ

จะช่วยแก้ไขปัญหา สร้างรายได้ค่อนข้างดี ในที่ของตนเองนำมาบริหารจัดการเรื่องของการปลูกข้าว บริหารเรื่องน้ำ ปลูกพืชอย่างอื่น หรือทำปศุสัตว์ แนวคิดแบบนี้ ขยายผลออกไปค่อนข้างเยอะ มีน้ำให้แก้ไขจัดการ บริหารแก้ไขวิกฤตในช่วงขาดน้ำ เป็นการบริหารจัดการภาคการเกษตร วางแผนการผลิต แก้ไขสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น วางแผนบริหารจัดการเรื่องผลผลิตที่จะออกมา เป็นเกษตรผสมผสานภายใต้หลักคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ มีทั้งเรื่องข้าว น้ำ เลี้ยงสัตว์ ที่อยู่อาศัย มีการบริหารจัดการให้กลมกลืน พอเหมาะ พอควร

ขณะนี้มีแปลงทุกตำบล อย่างน้อย 1-2 ตัวอย่าง มีกระจายไปทุกหมู่บ้าน ในอุบลราชธานีมี 2,699 หมู่บ้าน อย่างน้อยทำประสบผลสำเร็จ หมู่บ้านละ 1 ตัวอย่าง

โครงการใหม่ๆ นำพืชผัก ผลไม้ ของดีของเดิมกลับมา

ที่อุบลราชธานี เดิมสิ่งที่ขึ้นชื่อมีมะขาม ลำไย กล้วย มะม่วง พริกหัวเรือ เป็นสินค้าขึ้นชื่อ ช่วงหลังพี่น้องเกษตรกรลดปริมาณลง มีพืชตัวใหม่มาแทน ไม่ว่าจะเป็นยูคาลิปตัสและยางพารา เพราะฉะนั้นตอนนี้ทำให้อุบลฯ มีสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภคในจังหวัด ทุกตัวเคยเป็นของตัวเองเคยส่งไปขายที่อื่น อย่าง มะขามหวาน พันธุ์ “พระโรจน์”

พอลดการผลิตต้องซื้อเข้ามา ไม่เพียงพอ เราวางแผนโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจะดึงไม้ผลพวกนี้คืน มีโครงการผลไม้เศรษฐกิจเกิดขึ้น ใช้งบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท เริ่มปี 2560 มาส่งเสริมในการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนมากยิ่งขึ้น…ที่มี 2,000 ไร่ ให้มี 4,000 ไร่

เงาะขยายเพิ่ม

ลำไยเพิ่มพื้นที่ กล้วยน้ำว้าขึ้นชื่อมาก มะขามเปรี้ยวหายไปจะนำกลับมา

จังหวัดอุบลราชธานีมีศักยภาพเรื่องดิน พี่น้องเกษตรกรก็เคยปลูก มีตลาดรองรับ

กล้วยน้ำว้าต้องสั่งซื้อจากเมืองเลยและเมืองลาวเข้ามา ต้องปลูกเพิ่ม

มะละกอ สั่งเข้ามา วันละ 20 ตัน จะวางแผนผลิตแล้วขยายออกไป รวมทั้งผลไม้ตัวอื่น มะขามเปรี้ยว ลำไย ของเรามีศักยภาพ เราติด 2 ประเทศ เป็นจุดกึ่งกลาง ลาวและกัมพูชา

เราเป็นจุดกึ่งกลาง กระจายสินค้าไปลาว เวียดนาม จีน ได้ อุบลฯ เป็นจุดรวมแม่น้ำ มูล ชี โขง เซบก เซบาย โดมน้อย โดมใหญ่ มารวมที่นี่ สถาบันการศึกษามีเยอะ มีโครงการอยากให้อุบลฯ สร้างชื่อเรื่องผลไม้ขึ้นมาเหมือนในอดีต

การปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในโครงการที่ภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกในช่วงหน้าแล้ง เพื่อลดพื้นที่การทำนาปรัง ทั้งนี้ ได้มีการประสานงานพร้อมกับได้รับความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเปิดตลาดรับซื้อข้าวโพดจากชาวบ้านที่ปลูกมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

คุณแสวง ทองท่อน อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชาวบ้านที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกข้าว สลับกับการปลูกพืชอายุสั้นอย่างมะเขือลาย แต่ต้องใช้สารเคมีมากจนทนไม่ไหวจึงเลิกเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้บริโภค จากนั้นจึงหันมาปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์แทนเพราะไม่ต้องใช้สารเคมี แถมยังทำให้ต้นทุนต่ำ

คุณแสวงใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมด 8 ไร่ แล้วใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 22 กิโลกรัม เป็นข้าวโพดพันธุ์แปซิฟิก 99 เหตุผลที่เลือกใช้พันธุ์นี้เพราะได้รับการแนะนำจากเพื่อนบ้านหลายราย เนื่องจากมีข้อดีคือให้ความเข้มข้นของแป้งสูง อีกทั้งยังให้ผลผลิตมากด้วย

การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพด คุณแสวง บอกว่า หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วจะไถกลบ แล้วปั่นดินให้ละเอียด จากนั้นจึงยกร่องกว้างสัก 75 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ไปหยอดตามหลุมที่ขุดไว้ ใส่มูลไก่ต้นละกำมือ แล้วไถกลบ สำหรับปุ๋ยมูลไก่ คุณแสวง บอกว่า ในพื้นที่จำนวน 8 ไร่ ใช้ประมาณ 300 กระสอบ ราคากระสอบละ 30 บาท

คุณแสวงเพิ่งเริ่มปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ และไปเก็บผลผลิตเดือนพฤษภาคม ซึ่งหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วจะปั่นข้าวโพดไถกลบเพื่อเตรียมปลูกข้าวต่อ

ข้าวโพดใช้เวลาปลูกจนเก็บผลผลิตได้จำนวน 120 วัน ในระยะที่เริ่มปลูกยังไม่ต้องให้น้ำ พอเริ่มมีฝักอ่อนจึงรดน้ำ พร้อมกับได้รับน้ำฝนด้วย

ตลาดรับซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ของคุณแสวงคือ ร้านก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นภาคธุรกิจเอกชนที่รับซื้อข้าวโพดจากเธอ โดยมีการตกลงกันว่าหากข้าวโพดมีความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8 บาท แล้วถ้าหากความชื้นมากขึ้นราคาจะลดลง

คุณแสวง เผยว่า ชาวบ้านที่ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ตำบลแสนสุขพบว่า ส่วนมากจะปลูกแล้วได้ปริมาณแป้งสูงมาก พร้อมกับเปรียบเทียบการมีปริมาณแป้งสูงของข้าวโพดพันธุ์นี้ว่า ถ้าลองนำไปปั่นทำเป็นขนมชั้นหรือข้าวปาดทางภาคอีสาน จะใช้ข้าวโพดที่ฝานเมล็ดออกจำนวน 10 ฝัก ก็สามารถทำขนมชั้นข้าวโพดได้ขนาดถาดใหญ่มาก

เกษตรกรรายนี้ตระหนักถึงพิษภัยที่เกิดจากการใช้สารเคมี ดังนั้น ข้าวโพดอาหารสัตว์ที่คุณแสวงปลูกจึงไม่ได้ใช้สารเคมีแต่อย่างใดเลย เป็นการปลูกแบบอินทรีย์ด้วยการใช้ปุ๋ยคอกใส่ นอกจากนั้น จะไม่ใช้ยาฆ่าหรือป้องกันแมลง แต่หากเดินตรวจตราในแปลงแล้วพบว่ามีแมลงก็จะใช้วิธีกำจัดแมลงด้วยมือเปล่า

ตลอดระยะเวลาที่ปลูกจำนวน 120 วัน ไร่ข้าวโพดจะรดน้ำเพียง 10 ครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่อายุต้น 1 เดือน จำนวน 1 ครั้ง พอเข้าเดือนที่ 2 จะเพิ่มจำนวนขึ้น จนกระทั่งก่อนเก็บผลผลิต 1 เดือน จึงรดน้ำเป็นครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ระหว่างนั้นจะมีน้ำฝนเข้ามาช่วยด้วย

เธอบอกถึงเหตุผลที่รดน้ำไม่มากเพราะดินที่บริเวณพื้นที่แห่งนี้มีความชื้นสูง ซึ่งพิสูจน์ได้จากการขุดบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำมาใช้ จะมีความลึกเพียง 6 เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ลึกมากก็เจอแหล่งน้ำแล้ว จึงไม่เดือดร้อนจากปัญหาความแห้งแล้ง อีกทั้งตั้งแต่ย้ายมาอยู่ที่ตำบลแสนสุขนี้ไม่เคยพบว่าขาดแคลนน้ำเลย

ความได้เปรียบทางธรรมชาติจากคุณภาพความชื้นในดินเช่นนี้ จึงทำให้คุณแสวงคาดว่าผลผลิตข้าวโพดที่จะเก็บได้ในรอบนี้น่าจะได้สักไร่ละ 1 ตัน หรือรวม 8 ไร่ ประมาณ 8 ตัน ขณะเดียวกัน ถ้าโชคดีได้ความชื้นตามที่กำหนดอาจจะได้เงินประมาณ 60,000 กว่าบาท แล้วดูจะมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากน้องสาวเคยปลูกเพียง 6 ไร่ ได้น้ำหนักถึง 10 ตัน

ทางด้านต้นทุนปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ที่คุณแสวงจะต้องจ่าย ได้แก่ ค่าจ้างเก็บข้าวโพดด้วยการใช้รถเก็บไร่ละ 700 บาท เป็นเงินรวม 5,600 บาท แล้วคิดว่าอื่นๆ อีก รวมแล้วต้นทุนน่าจะสัก 20,000 บาท แล้วคงเหลือเป็นของเราเองสัก 40,000 บาท

แม้คุณแสวงจะเป็นมือใหม่สำหรับผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ แต่ด้วยประสบการณ์ ตลอดจนความเอาใจใส่อย่างเต็มที่ จึงทำให้คุณภาพข้าวโพดมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีเมล็ดข้าวโพดเรียงแถวตรง ขนาดฝักและเมล็ดมีขนาดใหญ่ แล้วสม่ำเสมอ

การปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์นับเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดที่ทำรายได้อย่างดีให้เกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ ที่ทำหลังเก็บเกี่ยวข้าว ทั้งนี้ เพราะมีตลาดรองรับที่ชัดเจน อีกทั้งพื้นที่ปลูกยังเอื้อประโยชน์กับข้าวโพดได้เป็นอย่างดีทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณแสวง ทองท่อน โทรศัพท์ (088) 043-4406

ขอขอบคุณ : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานเกษตรอำเภอวารินชำราบ ที่ได้อำนวยความสะดวกในการทำรายงานพิเศษ อำเภอโพธิ์ไทร เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในอุบลราชธานี มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 96 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวภายในอำเภอที่หลายๆ คนรู้จัก เช่น สามพันโบก ผาชัน หาดสลึง ฯลฯ และที่สำคัญเป็นอำเภอที่อยู่ริมแม่น้ำโขง

คุณวราภรณ์ วงศ์ประเสริฐ เกษตรอำเภอโพธิ์ไทร ให้ข้อมูลว่า การเกษตรหลักๆ ของเกษตรกรในพื้นที่นี้จะทำนาเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นมันสำปะหลัง และไม้ผล ซึ่งไม้ผลนับว่ายังเป็นพืชที่ยังไม่ปลูกมากนักของเกษตรกร โดยเกษตรกรบางรายได้ใช้ประโยชน์ของที่ดินที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขงมาช่วยในเรื่องของการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกลำไยให้ออกผลนอกฤดู จึงทำให้ได้ผลผลิตที่ดีสามารถจำหน่ายได้ราคา และเป็นต้นแบบให้กับเพื่อนเกษตรกรรายอื่นได้อีกด้วย

คุณปราณี เขียวสด อยู่บ้านเลขที่ 165 หมู่ที่ 1 ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ประสบผลสำเร็จมากว่า 30 ปี โดยเธอจะเน้นให้ผลผลิตออกนอกฤดูจึงทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด นับว่าเป็นอาชีพแบบเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

คุณปราณี สาววัยเกษียณอัธยาศัยยิ้มแย้มแจ่มใส เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีรับราชการเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ต่อมาได้มีโอกาสไปเที่ยวบ้านเพื่อนที่อยู่จังหวัดลำพูน จึงได้พบเห็นสวนลำไยที่อยู่ในภูมิภาคนั้นเป็นที่นิยมกันมาก จึงได้ตัดสินใจอยากที่จะนำมาทดลองปลูกภายในที่ดินของครอบครัวที่ว่างอยู่

“ช่วงนั้นประมาณปี 27 พอเราเห็นเขาทำกันมากที่ภาคเหนือ ก็ติดต่อขอซื้อมาทดลองปลูกประมาณ 200 ต้น เป็นลำไยพันธุ์อีดอก้านยาว ก็ปลูกแบบให้เป็นไม้ผลทั่วไป ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในอนาคต เพราะลำไยเป็นไม้ผลที่ต้องใช้เวลาเจริญเติบโตพอสมควร ก็ปล่อยไว้ประมาณ 5 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต ซึ่งช่วงนั้นเราก็ทำควบคู่ไปด้วยกับงานประจำที่เราทำอยู่” คุณปราณี เล่าถึงที่มาของการทำสวนลำไย

เมื่อลำไยที่ปลูกทั้งหมดเจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้แล้ว คุณปราณี บอกว่า จึงตอนกิ่งพันธุ์จากต้นเดิมที่มีอยู่ เพื่อขยายให้มีต้นลำไยมากกว่าเดิมที่มีเพียง 200 ต้น

คุณปราณี อธิบายช่วงแรกที่นำต้นลำไยมาปลูกใหม่ๆ ว่า ปลูกให้แต่ละต้นมีระยะห่างอยู่ที่ 8×8 เมตร ภายในหลุมจะรองก้นด้วยปุ๋ยคอกและสารกำจัดปลวกผสมลงไปด้วยเล็กน้อย โดยก่อนที่ลำไยจะให้ผลผลิตได้นั้น ในช่วงนั้นเธอบอกว่าจะปลูกพืชแซมเข้ามาช่วยด้วยคือ มะละกอ เพราะใช้เวลาที่สั้นทำให้สามารถมีเงินมาหมุนเวียนก่อนที่ลำไยจะโตเต็มที่ได้ผล

“ช่วงที่รอผลผลิตโตเราก็ยังอยู่ในงานประจำนะ เว็บคาสิโนออนไลน์ ยังไม่ได้ออกมาทำ เพราะไม้ผลพวกนี้มันต้องใช้เวลา เราก็เน้นขยายพื้นที่ปลูกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นลำไย หรือมะขามหวานบ้าง จนทำให้สวนเรามีไม้ผลเยอะ สามารถเก็บผลผลิตขายได้หลากหลาย” คุณปราณี บอก

เนื่องจากพื้นที่สวนปลูกลำไยของคุณปราณีอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง เธอจึงไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำที่ใช้รด โดยสามารถเน้นทำผลผลิตลำไยให้ออกนอกฤดูได้ จึงทำให้จำหน่ายได้ราคาดีและสินค้าไม่ล้นตลาด

โดยหลังจากที่เก็บผลผลิตจำหน่ายได้หมดทั้งต้นแล้ว คุณปราณี บอกว่า จะตัดแต่งกิ่งทันทีและรดน้ำเพื่อเป็นการพักฟื้นให้กับต้นลำไยประมาณ 1 ปี เมื่อครบระยะเวลาแล้วจึงสำรวจภายในสวนว่า ลำไยสามารถผลิตจำหน่ายได้กี่รุ่น เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกซ้ำกันจึงทำให้ผลผลิตมีในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป

“ช่วงที่เราพักต้นลำไยเป็นเวลา 1 ปี ช่วงนั้นเราก็จะมีการบำรุงต้น ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตราส่วน 2 กิโลกรัม ต่อต้น ทุก 2 เดือนครั้ง พอครบกำหนดที่เราจะทำให้ออกผลผลิตนอกฤดู เราก็จะเตรียมราดสารก่อนผลผลิตออกประมาณ 6 เดือน เช่น เราจะให้ผลผลิตออกจำหน่ายเดือนตุลาคม เราก็จะราดสารในช่วงเดือนเมษายน หลังจากราดสารได้ 1 เดือน ต้นลำไยก็จะเริ่มออกดอกเพื่อติดผลผลิต” คุณปราณี อธิบาย