การปลูกผักหวานป่า ข้อควรระวังอย่าให้รากของผักหวานป่าได้รับ

การกระทบกระเทือนจนรากขาด ถ้านำออกจากถุงระวังอย่าให้ดินแตก เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต การให้น้ำ และการให้ปุ๋ย ผักหวานป่า ในช่วงฤดูแล้งให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พอดินชื้น อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำจนยอดแห้งและใบร่วง จะทำให้ต้นผักหวานป่าชะงักการเจริญเติบโต

สำหรับการใส่ปุ๋ย หลังปลูกผักหวานป่าได้ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร โรยทับด้วยปุ๋ยคอกแล้วกลบดิน

ในช่วงปีแรกให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 4 เดือน ต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ยเพิ่มตามขนาดต้น

ในปีที่ 2 ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และปลายฤดูฝนประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ ต่อต้น โรยทับด้วยปุ๋ยคอก 1-3 บุ้งกี๋ ต่อต้น ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร

ยอดผักหวานอ่อนที่ปลูกและดูแล จึงเป็นอีกหนึ่งความสุขที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากในสวนหลังบ้านของทุกท่าน…

สวนเกษตร 2000 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทร.083-9933801,085-9367575 ที่ตลาดน้ำดอนหวาย มีของกิน ผัก ผลไม้ และสินค้าอื่นๆ วางขายอยู่เป็นจำนวนมาก มะละกอจาก”สวนนายปรุง” เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่สร้างชื่อให้กับตลาดแห่งนี้

ปัจจุบันคุณปรุง ป้อมเกิด อยู่บ้านเลขที่ 45/3 หมู่ 4 ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คุณปรุง ปลูกมะละกอมานานกว่า 20 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมที แม่ค้าในตลาด มีมะละกอแขกดำรสชาติดี จึงนำผลให้คุณโสภา ภรรยานายปรุงเพื่อชิมเนื้อ แล้วก็ลองนำเมล็ดไปปลูก คุณปรุงและภรรยาชอบใจ จึงปลูกมะละกอที่แม่ค้าให้มา เมื่อมีผลผลิตเขาชิมดู ปรากฏว่าอร่อยมาก ผลผลิตที่ได้เจ้าของนำออกจำหน่าย แต่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น

คุณปรุงไม่ย่อท้อ พยายามปลูกรุ่นใหม่ เมื่อมีผลผลิตก็นำออกทดลองตลาดอีก ระยะหลังๆราคากระเตื้องขึ้น ทุกวันนี้ เท่าที่ทราบ คุณปรุงขายมะละกอจากสวนได้ราคาดีที่สุดในประเทศไทย คือกิโลกรัมละ 25 บาทมีบวกลบบ้างเล็กน้อย

มะละกอที่ปลูกอยู่เป็นสายพันธุ์แขกดำ เจ้าของได้คัดพันธุ์ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากดูที่ผลมีความยาวพอประมาณ โคนผลเล็ก ตรงกลางใหญ่ ปลายเรียว แต่ไม่แหลมจนเกินไป ปลายควรทู่พอสมควร ผิวผลสวย ขนาด 1.5-2 กิโลกรัมต่อผล นี่เป็นลักษณะภายนอก เมื่อผ่าผลสีเนื้อต้องแดง สำคัญที่สุดรสชาติต้องหวาน คุณปรุงคัดพันธุ์มานานกว่า 20 ปี สามารถบอกได้เลยว่า มะละกอสวนนี้เป็น”มะละกอแขกดำสายพันธุ์นายปรุง”

คุณปรุงปลูกมะละกออยู่ริมถนนสายพุทธมณฑล-นครชัยศรี คนทั่วไปรู้จักกันดี ซึ่งเป็นละที่กับบ้านัพักอาศัย

นอกจากคุณปรุงแล้ว ปัจจุบันทายาทของเขา คุณสมจินต์ ป้อมเกิด ได้มาช่วยพ่อปลูกมะละกอ ขณะเดียวกันก็ขยายพื้นที่ออกไปไม่น้อย คุณสมจินต์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองช่วยพ่อปลูกมะละกอตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเรียนจบก็ไปทำงานเปลี่ยนบรรยากาศอยู่ที่นวนครพักหนึ่ง เมื่อแต่งงาน จึงกลับมาหาพ่อ พร้อมลงมือปลูกมะละกออย่างจริงจัง ซึ่งรายได้นั้น ปลูกมะละกอดีกว่ามาก

คุณสมจินต์เล่าถึงการปลูกมะละกอว่า เมื่อได้เมล็ดจากผลสุก นำมาล้างน้ำเอาเมือกที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งลมในสภาพห้อง 2-3 คืน แล้วคลุกยากันรา จึงห่อด้วยผ้าที่ชุบน้ำ เป็นเวลา 4 คืน ทุกวันนี้ทางสวนเพาะในถาดที่มี 60 หลุม หยอดเมล็ดลงหลุมละ 2 เมล็ด ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนปลูกได้ใช้เวลาราวเดือนครึ่ง

ราคาเมล็ดพันธุ์ที่เจ้าของจำหน่ายอยู่ เมล็ดละ 1 บาท ต้นที่เพาะในถาด 5 บาท หากแยกลงถุงดำต้นละ 10 บาท

ดินที่ปลูก เจ้าของบอกว่า ระดับน้ำควรห่างจากสันแปลงไม่น้อยกว่า 1 เมตร หากน้ำใกล้รากมะละกอเกินไป อาจเหี่ยวเฉาได้ มะละกอต้องการความชื้น แต่ไม่ชอบดินแฉะ วิธีเตรียมดิน ใช้รถตีดิน เป็นการพรวนดินนั่นเอง

เกษตรกรรายนี้ ปลูกมะละกอโดยใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2 เมตร

ใน 1 หลุม ปลูกมะละกอ 2 ต้น เมื่อมีดอกก็คัดเพศ ดอกที่มีลักษณะรูปขวดเรียวๆ เหมือนขวดเหล้า เป็นดอกกระเทย ผลออกมายาว เป็นที่ต้องการของผู้ปลูก

ต้นที่ดอกเหมือนดอกบัวตูม เป็นต้นตัวเมีย ผลที่ออกมาอ้วนป้อม ขายไม่ได้ เจ้าของจะตัดทิ้ง

ใน 1 หลุม มี 2 ต้น เมื่อพบว่ามีดอกกระเทยทั้งสองต้น ตัดทิ้งต้นหนึ่ง หากพบว่ามีดอกกระเทยและดอกตัวเมีย ตัดต้นตัวเมียทิ้ง แต่หากพบว่า มีเป็นต้นตัวเมียทั้งคู่ ตัดทิ้งทั้งคู่แล้วปลูกใหม่ ในระยะเวลา 3 เดือน เจ้าของบอกว่า เร่งให้ทันกันได้ แต่หากช้ากว่านั้น เจ้าของบอกว่าไม่ทัน เรื่องการดูแลรักษา หน้าแล้งเจ้าของรดน้ำให้วันเว้นวัน

ปุ๋ย ต้นเล้กๆใส่สูตร 25-7-7 ปริมาณขนาด 1 ช้อนกาแฟทุกๆ 7 วัน เมื่อมีผลใส่สูตร 8-24-24 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่อเก็บผลผลิตใส่สูตร 13-13-21 จำนวน 2 ครั้งต่อเดือน ส่วนปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่ ช่วงที่ยังไม่เก็บผลผลิต เมื่อมีผลผลิตใส่ขี้ค้างคาว ช่วยให้เนื้อมีคุณภาพดี รสชาติหวาน ข้อควรพิจารณาในการใส่ปุ๋ย หากต้นมะละกอใบยังเขียวเข้มอยู่ แสดงว่าอาหารยังมีมาก อาจจะลดปริมาณปุ๋ยลง หากผลผลิตดก ใบไม่สมบูรณ์ อาจจะเพิ่มปุ๋ยให้มากขึ้น

โรคมะละกอที่น่ากลัวมาก คือโรคใบด่างวงแหวน ไม่มีทางรักษา เพียงแต่ป้องกัน โดยป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ หากพบว่ามะละกอเป็นโรคต้องรีบตัดทิ้ง ห้ามเสียดายเป็นอันขาด

คุณปรุงและลูกชาย ปลูกมะละกอแล้วห่มผ้าให้ที่ผลมะละกอ โดยใช้ผ้าซับในกระโปรง สีขาว (ยังไม่เคยใช้ ซื้อมาใหม่) ห่อรอบบริเวณที่ติดผล ผ้าที่ห่อหรือห่มให้ ช่วยป้องกันแมลงได้ส่วนหนึ่ง ทำให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น ป้องกันแสงแดดที่ร้อนจัดทำลายผิวผล

หลังปลูก 8 เดือน เริ่มเก็บผลผลิตได้ เจ้าของเก็บอยู่ได้นาน 14 เดือน เท่ากับว่าตั้งแต่ปลูกจนตัดต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่ ใช้เวลา 22 เดือน ระยะเวลาที่เก็บผลผลิตอยู่ 14 เดือน เจ้าของบอกว่า น้ำหนักผลผลิตที่สมบูรณ์จำหน่ายได้ราคาดี มีราว 100 กิโลกรัมต่อ 14 เดือนต่อต้น

“จุดเด่น หากสมบูรณ์ดีเนื้อสีแดงเข้ม รสชาติหวานมีเค็มนิดๆ เนื้อกรอบเมื่อไม่สุกจัด เนื้อไม่นิ่มไม่เละเมื่อสุกมาก เมื่อก่อนการขาย คัดเล็ก กลาง ใหญ่ ผลขนาดเล็กขายได้ราคาดีกว่า ทุกวันนี้ บางครั้งขายคละกันไป ราคาเคยขายจากสวนสูงสุด 30-35 บาท เฉลี่ยอยู่ที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม ตลาดห้างเดอะมอลล์มาซื้อ แม่ค้าที่อตก.ซื้อไปขาย เขาได้ชิม จึงมาติดต่อซื้อ ที่อื่นมีศาลายา ตลาดน้ำดอนหวาย นครชัยศรี”

คุณสมจินต์บอก และให้แนวคิดอีกว่า

“มะละกอคนหนึ่งดูแลได้ 5 ไร่ 2 คน 10 ไร่ คนนำออกไปปลูกนอกเขต รสชาติไม่ดีนัก รายได้ดีกว่าที่เคยทำงานอยู่ คนอยู่ถิ่นอื่น อย่างนครสวรรค์ ลพบุรี อยากปลูก เมื่อมีผลผลิตต้องนำออกเผยแพร่ ให้เขาชิม ต้องทำผลผลิตให้มีคุณภาพ การรักษาคุณภาพต้องดูผิวผล เก็บอย่างนุ่มนวล ใช้จำปาสอย ผลผลิตห่อด้วยโฟม”

คุณขันนาค ดวงสร้อยทอง แม่ค้าขายผลไม้อยู่ที่ตลาดนครชัยศรี ขายมะละกอของคุณปรุงมากว่า 10 ปีแล้ว

“มะละกอของนายปรุงเนื้อแน่น หวาน ซื้อมาอาทิตย์ละ 2 ครั้ง จันทร์และพฤหัสฯ ครั้งละ 100 กิโลกรัม ขายหมด คนนิยมมาก”คุณขันนาคบอก

ดูราคามะละกอที่เกษตรกรรายนี้ขายได้แล้ว น่าสนใจมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปลูกได้ง่ายๆ ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยต้องใส่ให้มาก สวนคุณปรุงและลูกชายได้เปรียบถิ่นอื่น เพราะดินเหนียว มีธาตุอาหาร โดยเฉพาะโปแตสเซี่ยมสูง ช่วยเพิ่มความหวาน

มะกรูด ถือเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย ส่วนต่างของมะกรูดสามารถใช้ประโยชน์ได้หมด ไม่ว่า ใบมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย และใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ผลมะกรูดใช้แต่งกลิ่น สระผม ผิวจากลูก บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น เป็นต้น

สายพันธุ์มะกรูดแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือสายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบ และผลมีขนาดเล็ก อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่ และติดผลเป็นพวง

ในการปลูกนั้น ควรเลือกสภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป

ในการปลูกมะกรูดเพื่อเป็นการค้านั้น ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกโดยการยกร่อง มีความกว้างของแปลง 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ดดยใช้วิธีปลูกแบบสลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

กิ่งพันธุ์ ที่นำมาปลูก สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน ทั้งนี้ในการนำต้นพันธุ์มะกรูดลงปลูกมีข้อแนะนำว่า ควรหันหน้าใบทางทิศตะวันออก เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ และอีกจุดที่สำคัญของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ เมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน

ส่วนฤดูกาลปลูก มีข้อแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูง หลังการปลูกต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน มีข้อแนะนำว่า ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น

อายุที่เริ่มให้ผลผลิต สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา

ซึ่งไม่แน่ว่าจากมะกรูดเพียง 1 ต้นในบ้าน อาจพัฒนาไปสู่การเป็นเจ้าของสวนมะกรูดรายใหญ่ก็เป็นไปได้ไม่ยาก ผลไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นอีกชนิด พบว่าปลูกทั่วประเทศไทย แต่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก คือ ละมุด ทั้งที่ว่ากันว่า ละมุด เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทาน เพราะเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน มีกลิ่นหอม มีน้ำตาลสูง แต่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัส

ในตลาดผลไม้เมืองไทย แม้จะเดินเข้าออกในทุกวัน ทุกฤดูกาล ก็อาจไม่ได้เห็นผลไม้ชนิดนี้วางอยู่บนแผง จนเกือบลืมไปแล้วว่ายังมีอยู่ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่า มีละมุดอร่อยที่สุดของประเทศ เรียกติดปากกันว่า ละมุดบางกล่ำ (ภาคใต้เรียกละมุด ว่า ลูกสวา)

แต่ปัจจุบันมีผลไม้อีกมากมายหลายชนิด ขึ้นแท่นผลไม้ชื่อดังของจังหวัดไปแล้ว ทำให้ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อนุมัติงบประมาณส่งเสริมการปลูกละมุดในพื้นที่อำเภอบางกล่ำอย่างจริงจัง เพื่อให้ชื่อเสียงละมุดบางกล่ำ กลับมารุ่งเรืองเช่นอดีต

สวนที่ได้ชื่อว่า เป็นสวนที่มีละมุดผลใหญ่ รสชาติดี กว่าละมุดในละแวกใกล้เคียงทั้งหมด คือ สวนของคุณจู้ฮ่อง เจริญแสง และคุณจำเนียน เจริญแสง สองสามีภรรยา

คุณจู้ฮ่อง ฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกละมุดให้ฟังว่า เขาเติบโตมากับสวนละมุด ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นต้นละมุดปลูกอยู่รอบบ้าน พ่อของคุณจู้ฮ่องบอกกับคุณจู้ฮ่องว่า นำพันธุ์ละมุดนี้มาจากเมืองกลันตัน (สมัยนั้น เมืองไทรบุรี กลันตัน ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย แต่ปัจจุบันเป็นรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย) เป็นพันธุ์ยักษ์ ผลใหญ่ ผลยาว ผิวสวย เนื้อเนียน กลิ่นหอม หวาน รสชาติดี และเมล็ดน้อย

และสวนละมุดที่คุณจู้ฮ่องเห็นมาตั้งแต่เด็ก ก็ตกเป็นสมบัติจากบรรพบุรุษสู่คุณจู้ฮ่องให้ได้ดูแลต่อเนื่อง ไม่ต้องถามว่านานแค่ไหน เพราะต้นละมุดที่ปลูกอยู่หลังบ้าน มีต้นที่อายุมากที่สุดอยู่ 1 ต้น อายุประมาณ 130 ปี ลำต้นเจริญเติบโต แข็งแรง และให้ผลดกอย่างสม่ำเสมอ

พื้นที่รอบบ้านราว 2 ไร่ อยู่ติดคลองบางกล่ำ ที่อดีตใช้สัญจรทางน้ำ เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา ซึ่งการค้าขายก็ใช้เส้นทางคลองบางกล่ำ จนมีถนนตัดผ่าน การสัญจรและค้าขายทางน้ำก็ยุติลง

“คลองบางกล่ำ เป็นคลองที่เป็นเสมือนคลองสายหลักของอำเภอ ยาวไปเชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา มีช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง มีความเค็มของน้ำทะเลเจือจางเป็นน้ำกร่อยผ่านคลองเข้ามา เมื่อก่อนทุกครั้งที่มีการขุดลอกคลอง ดินจากการขุดคลองก็นำขึ้นมาถมไว้ภายในสวน และดินนั้นเป็นดินเหนียวสีดำที่ดีมาก มีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์อยู่ในดิน”

ต้นละมุดเก่าแก่ราว 130 ปี มีเพียงต้นเดียว ในพื้นที่ 2 ไร่ รวมที่พักอาศัยด้วยแล้ว ยังมีละมุดอายุประมาณ 70 ปี อีกหลายต้น รวมทั้งสวนพื้นที่ 2 ไร่ มีละมุดประมาณ 45 ต้น ระยะปลูก 10X10 เมตร

คุณจู้ฮ่อง บอกว่า ละมุด เป็นพืชที่ดูแลง่าย ที่ผ่านมาเคยเกิดกรณีน้ำท่วม มีภาวะแล้ง ละมุดก็ยังไม่ตาย แค่ชะลอการเจริญเติบโตไปบ้างเท่านั้น แต่เมื่อกลับสู่สภาพปกติ ละมุดก็เจริญเติบโตดี ซึ่งนอกจากดินดีแล้ว เชื่อว่าเป็นเพราะสายพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์ที่ดีด้วย

การให้น้ำ หากสภาพอากาศปกติ ไม่จำเป็นต้องให้ ยกเว้นเกิดสภาวะแล้งต่อเนื่องนานมาก จึงให้น้ำ เพราะละมุดเป็นพืชที่มีเปลือกหนา และเก็บน้ำไว้ที่เปลือก ซึ่งเป็นธรรมชาติของต้นละมุดเอง

การให้ปุ๋ย ภายในสวนปราศจากสารเคมีปะปน เพราะทุกครั้งที่ให้ปุ๋ย คุณจำเนียน จะให้ปุ๋ยรอบโคนต้น และไม่กำหนดระยะเวลาการให้ ขึ้นกับความสะดวกของผู้ปลูก โดยทั่วไปประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง และใช้ปุ๋ยขี้วัวหรือปุ๋ยขี้ไก่ ตามความสะดวกที่หาได้ในละแวกใกล้เคียงเช่นกัน

หลังลงปลูก ประมาณ 5 ปี ละมุดจะเริ่มให้ผลผลิต

ผลผลิตจะออกเต็มต้น เก็บไปจำหน่ายได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน และอีกช่วงในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

“ผลผลิตละมุดจะมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน แต่หลังจากนั้นอาจเก็บได้เรื่อยๆ เพียงแต่ไม่มากเหมือนในฤดู หรือในบางปีที่สภาพอากาศดี น้ำดี มีผลผลิตให้เก็บขายได้ต่อเนื่องมาอีกหลายเดือน บางปีเก็บผลผลิตครั้งละมากๆ ได้ถึง 2 รอบ”

เมื่อถามถึงโรคและแมลงศัตรูพืช คุณจู้ฮ่อง ยืนยันว่า ละมุดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีด้วยตนเองในธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น โรคและแมลงศัตรูพืชจึงพบน้อย ที่ผ่านมาพบด้วงกัดยอด ทำให้เจริญเติบโต้ช้า และกินผล เมื่อผลมีขนาดใหญ่ แต่ด้วยการจัดการภายในสวนไม่ได้ใช้สารเคมี จึงใช้วิธีกำจัดแบบธรรมชาติ เมื่อพบด้วงกัดยอดและฝังตัวเข้าไปในลำต้น จะใช้ยาเส้นใส่เข้าไปในรูที่พบ อัดให้แน่น ก็เป็นการทำลายด้วงหรือแมลงที่เข้ามาทำลายละมุดได้อย่างดี

คุณจู้ฮ่อง เปรียบเทียบขนาดของละมุดภายในสวนที่เก็บได้ ว่ามีขนาดใหญ่กว่าสวนอื่น น้ำหนักที่เคยเก็บได้อยู่ที่จำนวน 4-5 ผลต่อกิโลกรัม หรือให้เห็นภาพชัดๆ ก็ขนาดเกือบเท่าผลส้มโชกุน ซึ่งขนาดผลมีผลต่อราคาซื้อขาย เช่น ขนาดใหญ่ 4-5 ผลต่อกิโลกรัม ขายหน้าสวนราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้าขนาดเล็กลงตามลำดับ ก็ขายในราคาหน้าสวน 40 บาทต่อกิโลกรัม และ 60 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนอกเหนือจากน้ำหนักผลที่มากแล้ว เนื้อละมุดมีความเนียนมาก ทั้งยังหวานหอมอีกด้วย

ต้นละมุด ก็เหมือนกับไม้ผลชนิดอื่น เมื่ออายุต้นมากขึ้น ผลผลิตที่ได้จะมากขึ้นด้วย โดยคุณจำเนียน บอกว่า ละมุดแต่ละต้นให้ผลผลิตไม่น้อย เก็บได้แต่ละฤดูกาล ต้นละ 150-200 กิโลกรัมทีเดียว

ในอดีต คุณจู้ฮ่อง นำผลผลิตที่ได้ขึ้นรถโดยสารประจำทาง ไปขายยังตัวอำเภอหาดใหญ่ แต่ปัจจุบัน ละมุดบางกล่ำเป็นที่รู้จัก ทำให้ไม่ต้องนำไปขายด้วยตนเอง มีลูกค้ามาซื้อถึงบ้าน ในราคาที่ไม่ต่ำไปกว่าที่ต้องการเลย

แม้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและตลาดเปิดกว้างสำหรับละมุดบางกล่ำ แต่การขยายพื้นที่ปลูกละมุดของคุณจู้ฮ่องและคุณจำเนียน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จากการสอบถามทราบว่า ต้นละมุดแต่ละต้นอายุไม่น้อย การขยายพันธุ์จึงทำได้ยาก วิธีที่สามารถทำได้มีเพียงวิธีเดียว คือ การทาบกิ่ง ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตร เพราะคุณจู้ฮ่องและคุณจำเนียน เคยทำก็ไม่ประสบความสำเร็จ

คุณอนุชา ยาอีด สมัครแทงบอลออนไลน์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา อธิบายว่า พื้นที่ปลูกละมุดเดิมมีมาก แต่เมื่อความเจริญเข้าถึง รวมถึงการส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นร่วมด้วย ทำให้เกษตรกรบางรายเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของพืชอื่น จึงโค่นละมุดแล้วปลูกพืชอื่นแทน ทำให้จำนวนสวนลดน้อยลงในทุกปี

คุณสมโภช นันทวงศ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม้ผลบางกล่ำ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศนไม้ผลบางกล่ำ ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 2 ปี เป็นการรวมตัวของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ 40 ราย พื้นที่ปลูกผลไม้กว่า 100 ไร่ เช่น ละมุด มังคุด กระท้อน และผักพื้นเมือง ซึ่อตำบลบางกล่ำมีจุดเด่นในการดูแลสวนโดยไม่ใช้สารเคมี และการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสะดวกต่อการขอสนับสนุนงบประมาณส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนในการปรับปรุงสวนและดูแลผลผลิต นอกจากนี้ยังใช้เวลาว่างในการแปรรูปผลไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตที่ได้ เช่น ละมุดผลเล็ก หากขายสดราคากิโลกรัมละ 20 บาท เมื่อนำมาแปรรูปเป็น ละมุดลอยแก้ว หรือ สวาลอยแก้ว จำหน่ายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท โดยใช้ผลละมุดเพียง 1-2 ผลเท่านั้น

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม้ผลบางกล่ำ กล่าวอีกว่า กลุ่มยินดีให้คำแนะนำในการเที่ยวชมสวนผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ละมุดบางกล่ำ ซึ่งเป็นไม้ผลที่ขึ้นชื่อของอำเภอ ทั้งนี้ มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ในพื้นที่บางกล่ำ โดยเปิดตลาดน้ำประชารัฐบางกล่ำ วัดบางหยี หมู่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ รองรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2560 และจะเปิดเป็นประจำทุกวันเสาร์เท่านั้น