การปลูกส้มเชิงการค้าให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่

ควรนำมาพิจารณา ทำเลเหมาะสม ไม่ควรปลูกส้มในแหล่งที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่ง
มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้ดูแลสวนส้มได้ตลอดทั้งปี แม้ส้มจะเป็นพืชที่ทนทานความแห้งแล้งได้ดีก็ตาม หากหวังให้ต้นส้มมีผลผลิตที่ดี ก็ต้องใช้น้ำค่อนข้างเยอะ
ปัจจัยเรื่อง “ดิน” พื้นที่รังสิต ที่เคยปลูกส้มนับแสนไร่ในอดีต ก็ไม่ใช่ดินที่ดีสำหรับปลูกส้ม เพราะดินรังสิตมีค่าความเป็นกรดจัด แต่เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพดินด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น เติมปูนขาว วิธีการตากดิน เทคนิคการรดน้ำ ฯลฯ จนดินมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเติบโตของต้นส้มและให้ผลผลิตที่ดี ทุกวันนี้การหาดินที่มีคุณภาพดีสำหรับปลูกส้ม ยังคงเป็นเรื่องยาก เรื่อง “ดิน” เป็นปัญหาด้านการจัดการมากกว่า เมืองไทยมีนักวิชาการด้านดินอยู่มากพอสมควร หากมีปัญหาเรื่องดิน ควรขอคำแนะนำเรื่องการจัดการดินจากนักวิชาการโดยตรงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

สายพันธุ์ส้ม เป็นปัจจัยสำคัญที่คุณแป๊ะเน้นมาก ให้เลือกซื้อต้นพันธุ์ส้มปลอดโรคมาปลูก เพราะหากนำต้นส้มติดเชื้อโรคกรีนนิ่งมาปลูก โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำสวนส้มแทบจะไม่มีเลย
มีทุนทรัพย์เพียงพอสำหรับการลงทุน เพราะการบุกเบิกที่ดินเปล่า พัฒนาระบบน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายา สำหรับปลูกดูแลสวนส้มจนได้ผลผลิตออกขาย ต้องใช้เงินลงทุน ประมาณไร่ละ 100,000 บาท หลังจากนั้น ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงจะคืนทุนได้สำเร็จ
แต่สำหรับสวนส้มของคุณแป๊ะใช้เงินลงทุนไม่มาก เพราะใช้วิธีปลูกมะเขือยาว กล้วยน้ำว้า เป็นพืชเสริมรายได้ในแปลงต้นส้ม หลังปลูกประมาณ 40-50 วัน สามารถเก็บมะเขือยาวออกขายต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากปลูก-เก็บเกี่ยวกล้วยออกขายได้ 4 รุ่น ในระยะเวลา 2 ปี ก็รื้อแปลงกล้วยออก ช่วงนี้ต้นส้มก็พร้อมให้ผลผลิตรุ่นแรกออกขายได้แล้ว

ความมหัศจรรย์ ของ “ส้ม”

ทั่วไปตั้งแต่ต้นส้มออกดอก จนพัฒนาเป็นผลส้ม จะใช้เวลาปลูกดูแลประมาณ 7 เดือน ส้มอายุ 7 เดือน จะมีรสเปรี้ยวนำ มีรสหวานปนบ้างนิดหน่อย ส้มอายุ 8 เดือน จะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ส้มอายุ 9 เดือน จะมีรสหวานอมเปรี้ยว ส้มอายุ 10 เดือน จะมีรสชาติหวานฉ่ำ

คุณแป๊ะ เล่าถึงความมหัศจรรย์ของพืชตระกูลส้ม ได้แก่

เป็นพืชวิเศษชนิดหนึ่ง ที่สามารถเก็บผลผลิตอยู่บนต้นได้นานถึง 4 เดือน เกษตรกรจะเก็บผลผลิตวันไหนก็ได้ในระยะ 4 เดือนนี้ สำหรับผลผลิตในเดือนที่ 1 ส้มจะมีรสชาติเปรี้ยว เดือนที่ 2 ส้มมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน เดือนที่ 3 หวานอมเปรี้ยว เดือนที่ 4 รสชาติหวานเจี๊ยบ ดังนั้น เกษตรกรจึงมีช่วงเวลาของการขายส้มนานถึง 4 เดือน ไม่ต้องรีบเก็บผลผลิตออกขาย จนโดนพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อเหมือนไม้ผลชนิดอื่น
ส้ม เป็นผลไม้ที่มีโอกาสทางการตลาดตลอดทั้งปี เพราะคนไทยนิยมใช้ผลส้มบูชาพระ เช่นเดียวกับคนจีนที่ใช้ผลส้มไหว้เจ้าเพื่อเสริมสิริมงคล ดังนั้น ตลาดส้ม ไม่มีวันตัน เกษตรกรมีโอกาสขายส้มในช่วงเทศกาลวันพระทุกๆ 15 วัน ไม่รวมกับเทศกาลไหว้เจ้าของคนจีนที่มีตลอดปี
ส้ม เป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตทุกๆ 4 เดือน ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง ทุกวันนี้ ส้ม เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่ไม่มีฤดูกาลตายตัว เพราะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้เกือบทั้งปี เกษตรกรสามารถเลือกเก็บส้มออกขายได้ตามต้องการ และสามารถวางแผนจัดการตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ
“การปลูกส้ม ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว เพราะส้มเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะนาว มีปัญหาเรื่องโรคแมลง เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ โรคแคงเกอร์ โรครากเน่าและโคนเน่า โรคผลร่วง ฯลฯ กล่าวโดยสรุป การทำสวนส้มมีเทคนิคดูแลจัดการเหมือนกับต้นมะนาวทั้งหมด หากต้องการประสบความสำเร็จในการทำสวนส้มเชิงการค้า เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การดูแลระบบรากต้นส้มให้มากกว่าต้นมะนาวสักหน่อย เพราะรากต้นส้มอ่อนแอกว่าต้นมะนาว” คุณแป๊ะ กล่าว

“ผีเสื้อมวนหวาน” ศัตรูสำคัญในสวนผลไม้

คุณแป๊ะ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา แหล่งปลูกผลไม้ในหลายจังหวัด เช่น สวนส้มจังหวัดปราจีนบุรี สวนมะละกอฮอลแลนด์ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สวนลองกองจังหวัดอุตรดิตถ์ ฯลฯ ต่างประสบปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช คือ “ผีเสื้อมวนหวาน” ในวงกว้าง สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้สูญเสียรายได้ถึงหลักล้าน

ความจริง “ผีเสื้อมวนหวาน” ก็คือ ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง อาศัยตามป่าธรรมชาติ โดยกินผลไม้ป่าเป็นอาหาร ในอดีตพบการแพร่ระบาดของผีเสื้อมวนหวานในสวนผลไม้ที่อยู่ใกล้กับป่าธรรมชาติ เช่น จันทบุรี ตาก เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ฯลฯ แต่ระยะ 1-2 ปีนี้ กลับพบการแพร่ระบาดผีเสื้อมวนหวานในสวนผลไม้ทั่วไปมากขึ้น สันนิษฐานว่าเป็นผลพวงจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีหลัง ทำให้ผลไม้ป่าตามธรรมชาติมีน้อยลง ทำให้ผีเสื้อมวนหวานต้องย้ายถิ่นเข้ามาโจมตีสวนผลไม้ของเกษตรกรมากขึ้น

ครั้งแรกที่คุณแป๊ะเจอการระบาดของผีเสื้อมวนหวาน ช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ตอนแรกเขาคิดว่า ผลส้มเสียหายจากปัญหาแมลงวันทอง จนกระทั่งนำผลส้มมาผ่าดูเนื้อข้างใน จึงรู้ว่าคิดผิด เพราะเนื้อส้มเว้าแหว่งหายไปจำนวนหนึ่ง เพราะถูกผีเสื้อมวนหวานที่อยู่ในช่วงตัวเต็มวัยใช้ปากที่แข็งแรงแทงเข้าไปในผลส้ม เพื่อดูดกินน้ำหวานจากผลไม้นั้น ส้มที่ถูกเจาะจะมีรอยแผลเป็นรูเล็กๆ และมียางไหลออกมา ผลจะเน่าเป็นวง รอยแผลนี้จะเป็นช่องทางการเข้าของแมลงวันผลไม้ต่อไป ทำให้ผลส้มจะร่วงในเวลาต่อมา

คุณแป๊ะ ทดลองใช้สารเคมีกำจัดผีเสื้อมวนหวาน ปรากฏว่า ไม่ได้ผล เพราะศัตรูพืชชนิดนี้เป็นผีเสื้อที่หากินในช่วงเวลากลางคืน และวางไข่ในแหล่งพืช เช่น ใบย่านาง ใบข้าวสาร และใบบอระเพ็ด ซึ่งเป็นอาหารของผีเสื้อมวนหวาน ระยะตัวหนอน เมื่อสวนผลไม้ในพื้นที่อำเภอนาดี เจอการระบาดของผีเสื้อมวนหวานเป็นครั้งแรกในปี 2558 สำนักงานเกษตรอำเภอนาดี ได้นำกรงดักผีเสื้อมวนหวานมาแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่ แต่ใช้ไม่ได้ผล เพราะกรงมีขนาดเล็กไป

“ผมจึงได้ปรับปรุงขนาดกรงดักผีเสื้อมวนหวานให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม 4 เท่าตัว คือ ขนาด 50×50 เซนติเมตร และใช้ผลไม้สุกเป็นเหยื่อล่อ โดยตั้งกรงดักไว้รอบสวน ปรากฏว่าใช้งานได้ดี สามารถดักผีเสื้อมวนหวานได้ ครั้งละ 200-300 ตัว ต่อคืน “คุณสุนันท์ พยัคฆฤทธิ์” เกษตรอำเภอนาดี เล็งเห็นข้อดีของการปรับปรุงกรงดักผีเสื้อมวนหวาน จึงจัดหางบประมาณจากโครงการภัยแล้ง จำนวน 100,000 บาท ผลิตกรงดักไซซ์ใหญ่ จำนวน 200 กรง แจกจ่ายให้เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ในท้องถิ่นได้นำไปใช้ ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน ปีนี้ ไม่เจอการแพร่ระบาดผีเสื้อมวนหวานมากเท่าเมื่อปีผ่านมา” คุณแป๊ะ กล่าว

มะคาเดเมีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่มีนักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกา นำไปพัฒนาต่อยอดที่เกาะฮาวาย มะคาเดเมีย ชื่อดั้งเดิมคือ แมคคาเดเมีย ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ แก่ มร. แมคคาดัม ชาวสก๊อตแลนด์ ด้วยท่านได้ทุ่มเทให้กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น แห่งออสเตรเลีย อย่างเต็มความสามารถ

สำหรับประเทศไทยนำเข้ามาทดลองปลูกในปี พ.ศ. 2496 จากฮาวาย มีการวิจัยพันธุ์มาอย่างยาวนาน ระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มพัฒนาการวิจัยอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง จนในที่สุด กรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์มะคาเดเมียให้เป็นพันธุ์แนะนำ จำนวน 3 พันธุ์ คือ

พันธุ์เชียงใหม่ 400 เป็นพันธุ์เบา ทรงต้นขนาดเล็ก เปลือกผลบาง มีเนื้อใน 34-42 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับปลูกบนที่สูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 700 ทรงต้นตั้งตรง ขอบใบเป็นหนามมาก ผลใหญ่ กะลาบาง มีเนื้อผล 32-39 เปอร์เซ็นต์ ปลูกให้ผลดีบนที่สูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 เมตร ขึ้นไป

พันธุ์เชียงใหม่ 1000 ทรงต้นเป็นพุ่มกลม ให้เนื้อใน 34-38 เปอร์เซ็นต์ การเจริญเติบโตและให้ผลมีขนาดใหญ่ จึงให้ผลผลิตสูงกว่าอีก 2 พันธุ์ ที่กล่าวมา

ปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อวางแผนการปลูกมะคาเดเมียให้ได้ผลดี ประกอบด้วย หน้าดินต้องลึก ระบายน้ำได้ดี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร ต่อปี ต้องการอุณหภูมิ ระหว่าง 10-32 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะต้องผ่านอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน และอุณหภูมิไม่ควรเกิน 32 องศาเซลเซียส เพราะจะมีผลทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว ส่งผลให้เนื้อในมีขนาดเล็กลงไปด้วย ประการสำคัญควรให้ได้รับแสงวันละไม่ต่ำกว่า 10-12 ชั่วโมง และต้องปลูกไม้กันลมให้ด้วย เนื่องจากมะคาเดเมียเป็นไม้ที่มีระบบรากตื้น การหักโค่นมักเกิดขึ้นได้ง่าย

สรุป กาญจนบุรี ยังไม่เหมาะที่จะปลูกมะคาเดเมีย ต้องการพันธุ์ปลูกและรายละเอียดต่างๆ ติดต่อสอบถามที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลางบางเขน จตุจักร กทม. ในวัน และเวลาราชการ

บิดา มารดา คุณอัษฎางค์ สีหาราช เป็นชาวไร่ชาวนาที่จังหวัดขอนแก่น ด้วยความยากลำบากของอาชีพเกษตรกรรมจึงต้องการให้ลูกชายหลุดพ้นจากวงจรความทุกข์ของชาวนาไทย เป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งคุณอัษฎางค์ ก็ไม่ทำให้บิดา มารดา ผิดหวัง โดยสามารถเข้ารับราชการเป็นนักพัฒนาชุมชนได้ แต่ด้วยความที่คุณอัษฎางค์เป็นคนมีอุดมการณ์ของตนเอง มีความต้องการเป็นอิสระ ทำให้อยู่ในระบบราชการได้เพียง 5 ปี ต้องลาออกมาทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

ไม่สามารถทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างเช่นเดิมได้ จึงเดินทางไปเริ่มเป็นเกษตรกรมือใหม่ที่ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นบ้านของภรรยา โดยเริ่มจากการปลูกข้าว หลังจากได้ลงมือปลูกข้าว คุณอัษฎางค์ พบว่า มีปัญหา 3 เรื่อง ที่เกษตรกรมักประสบ เรื่องแรกคือ ชาวนาต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันและสารเคมี เรื่องที่สองคือ ภัยธรรมชาติ ภัยแล้ง กับแมลงระบาด และเรื่องที่สามคือ ราคา เมื่อนำข้าวไปขายเกษตรกรไม่สามารถเป็นผู้ตั้งราคาเองได้ รวมทั้งผลพวงจากโรคต่างๆ ที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้คุณอัษฎางค์จึงเลือกที่จะทำการเกษตรอินทรีย์ โดยเข้ารับการอบรมในเรื่องเกษตรอินทรีย์

เกษตรทางเลือกที่ดีจากที่ต่างๆ ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และนำมาปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 คุณอัษฎางค์ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ คณะกรรมการชุดนี้เกิดขึ้นเพื่อผลักดันให้ปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาทำงานร่วมกัน ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรและเพื่อส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่มีหนี้สิน มีการบิรหารจัดการอย่างพอดี มีความสุขที่แท้จริง ต่อมาคุณอัษฎางค์จึงได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์-ชีวภาพขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร อีกทั้งยังหลุดพ้นจากปัญหา 3 เรื่อง ที่เกษตรกรมักจะประสบ ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรและแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมอันเกิดจากการใช้สารเคมีอีกด้วย

รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร

คุณอัษฎางค์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่อง การปลูกข้าวอินทรีย์ เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและโรคร้ายที่คุกคามสุขภาพกายใจของมนุษย์อันเป็นผลพวงจากการทำการเกษตรแบบเคมี ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณอัษฎางค์หันกลับมาหาภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานาน คือ การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมซึ่งอาจสร้างมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งผลผลิตข้าวอินทรีย์ของคุณอัษฎางค์นั้น

ได้เชื่อมโยงทั้งการผลิตและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิมเกษตรกรในชุมชนส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ทำให้ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงแต่ผลผลิตต่ำ จึงหาทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชนจนเกิดเป็นวิสาหกิจในชุมชน สามารถเลี้ยงชีพคนในชุมชนได้และเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้

ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ คุณอัษฎางค์ยังผลิตน้ำมันไบโอดีเซล หรือการใช้พลังงานทางเลือก ทำปุ๋ยแห้งและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทำน้ำยาอเนกประสงค์ ปลูกพืชผัก ไม้ผล และไม้บำนาญต่างๆ เพื่อไว้เข้าโครงการธนาคารต้นไม้ ในอดีตคนในชุมชนคอรุมได้ผ่านความยากลำบาก แต่ในปัจจุบันคุณอัษฎางค์ได้นำสิ่งดีกลับคืนสู่ชุมชนที่เขาอาศัยความเหนื่อยยากของคนในชุมชนหายไปเหลือแค่ผลลัพธ์ความสำเร็จให้ชื่นชม

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณอัษฎางค์ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีความเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความมีเหตุผล คือ การพิจารณาที่จะดำเนินงานใดๆ ด้วยความถี่ถ้วน รอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการดำเนินกิจกรรมของตนเองได้ การทำเกษตรอินทรีย์ของคุณอัษฎางค์

เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา ดังนั้น การทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการไร่นาของตนเองเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ และภูมินิเวศ

รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นเพื่อพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น สร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้น วิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย

มะขามหวานพันธุ์ตาแป๊ะ หรือ ประกายทอง มีถิ่นกำเนิดที่บ้านโป่งตาเบ้า ต.ชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ลักษณะประจำพันธุ์ เปลือกของลำต้นเรียบสีน้ำตาล เกล็ดเล็กสีของเปลือกเป็นสีเทาอ่อน ไม่ขาวนวลทรงต้นเป็นพุ่มกลม ใบหนามีสีเขียวเข้มปลายใบตัดหยัก ยอดอ่อนสีเขียวอมเหลืองดอกมีสีเหลืองอ่อนออกดอกใต้ใบเป็นพวงฝักมีขนาดใหญ่ กลม ฝักดิ่ง ยาวตรง (โค้งเล็กน้อย) เปลือกบางผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลทอง รสชาติหวานจัด กลิ่นหอม เนื้อนุ่มมีลักษณะเป็นทรายสีน้ำผึ้งออกทรายแดง เมล็ดเล็ก เยื่อหุ้มเมล็ดบาง ออกดอกเดือนพฤษภาคม สามารถเก็บเกี่ยวฝักได้ประมาณปลายเดือนธันวาคม ข้อเสียเปลือกบาง อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อราหลังการเก็บเกี่ยวการเก็บฝักต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเปลือกแตกจำทะให้เสียราคา ฝักมะขามมีรก 3-4 เส้นต่อฝักทำให้รับประทานยาก และเนื่องจากเป็นมะขามที่มีฝักขนาดใหญ่ และติดฝักดกสม่ำเสมอจึงต้องให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอเพื่อไม่ให้รสชาติเปลี่ยนแปลง

ผศ. พีระศักดิ์ ฉายประสาท (ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร) กล่าวว่า ปัญหาของมะขามหวานคือโรคราในฝัก เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร ตอนที่เกษตรกรเก็บผลผลิตออกมาขาย แต่มะขามเป็นรา เมื่อผู้บริโภคซื้อไปแล้วเจอรา เกิดความไม่พอใจ พอเจอราก็ไม่ซื้อ ส่งผลให้เกษตรกรขายของไม่ได้

เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้เกษตรกรไม่อยากปลูกต่อ กลายเป็นวัฏจักรวนเวียน ด้วยเหตุนี้จึงทำการทดลองใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา 3 ชนิด เพื่อทดลองและแก้ปัญหาให้เกษตรกรสามารถทำตามได้แบบเป็นรูปธรรม โดยแบ่งแปลงมะขามเป็น 3 แปลง แปลงที่ 1 ฉีดพ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม แปลงที่ 2 ฉีดพ่นด้วยสารไธอะเบนดาโซล แปลงที่ 3 ฉีดพ่นด้วยสารเมนโคเซบ ผลปรากฎว่าสารที่ทดลองและได้ผลดีที่สุด คือ สารเมนโคเซบ ตัวนี้ดีเลย คือเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป เพียงแค่ต้องใช้ให้ถูกวิธี ถ้าใช้อย่างถูกวิธีจะปลอดภัยทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภค

มะขามหวานพันธุ์ประกายทองเป็นพันธุ์ที่มีปัญหาเรื่องรามากที่สุด จะพบได้ว่าเมื่อประกายทองออกมา ต้องมีรา จนกลายเป็นคำขวัญว่า ประกายทองดีต้องมีรา มะขามหวานประกายทองเป็นพันธุ์ที่มีเนื้อเยอะสุด รสชาติหวานสุด และก็รามากสุด พันธุ์อื่นราไม่ขึ้นเพราะออกดอกช้ากว่า แต่พันธุ์ประกายทองออกดอกตั้งแต่หน้าฝน ไหลไปตามหยดน้ำบนกิ่งไปยังฝักมะขามเข้าทางขั้วผลหรือผ่านทางเปลือกฝัก เพราะฉะนั้นเกษตรกรจึงไม่สนใจพันธุ์นี้ หันปลูกพันธุ์อื่นแทน แต่พันธุ์ประกายทองถ้าจะแก้ไขปัญหาคือใช้ยาฆ่าแมลงป้องกันกำจัดโรคพืชที่เหมาะสม ซึ่งตัวที่ได้ทดลองและได้ผลดีที่สุดคือเมนโคเซบ

อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ถือเป็นทำเลที่ได้เปรียบทางด้านเกษตรกรรม เพราะเป็นพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด

ในวาระที่เดินทางไปอำเภอบางระกำนี้เอง เราได้มีโอกาสได้รู้จัก คุณสมปอง พงษ์ศักดิ์ศรี ซึ่งอดีตเคยรับราชการอยู่ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.กระทั่งภายหลังเกษียณ ท่านได้กลับมาบ้านเกิดเลขที่ 99 หมู่ 15 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้งเพื่อทำในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบมากที่สุดในชีวิต นั่นคือการปลูกต้นไม้ จนนำมาสู่การสร้างสวนผลไม้และไม้ดอกไม้ประดับที่ให้ชื่อว่า “สวนสมปอง”

ในพื้นที่ขนาด 23 ไร่ ภายในสวนสมปองที่มองดูสะอาดสะอ้าน ถูกออกแบบจัดวางพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ อย่างเป็นระเบียบ พร้อมแต่งเติมความสมบูรณ์ทางธรรมชาติด้วยการขุดบ่อน้ำขนาดใหญ่ 2 ไร่ลึก 4 เมตร สำหรับเลี้ยงปลาหลายชนิด อีกทั้งบริเวณโดยรอบพื้นที่ทั้งหมดถูกปลูกด้วยต้นมะพร้าวเป็นแถวแนวราวกำแพงทางธรรมชาติ

คุณสมปองในวัย 70 กว่าปี กับบุคลิกและอัธยาศัยที่เรียบง่ายกล่าวแบบเป็นกันเองว่า เป็นคนที่ชอบต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก ทั้งนี้อาจเพราะถูกปลูกฝังจากพ่อแม่ให้รักต้นไม้และชอบต้นไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะไม้ดอกพื้นบ้านอย่างมะลิ บานชื่น และบานไม่รู้โรย

แม้ตัวเองจะเรียนมาทางสายพาณิชย์ ไม่ได้เชี่ยวชาญลึกซึ้งกับการเกษตรเท่าไรนัก แต่ลุงสมปองก็อาศัยความมีใจรัก พร้อมกับคลุกคลีพันธุ์ไม้หลายชนิดจากครอบครัว ฉะนั้นหากมีเวลาว่างจากงานเมื่อใด คุณลุงจะลงมือปลูกต้นไม้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาคิดว่า ถ้าเปลี่ยนมาปลูกไม้ผลบ้างคงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างฝรั่ง กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องที่เป็นไม้ผลพื้นบ้านซึ่งหาไม่ยาก

ตลอดชีวิตราชการของคุณสมปองมีความจำเป็นต้องย้ายไปประจำยังภูมิภาคจังหวัดต่างๆ เพื่อความเหมาะสม ซึ่งถ้าไม่ได้ทำงานประจำอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนมากมักย้ายไปประจำในจังหวัดแถบภาคเหนือตอนบนและตอนล่างเสียส่วนใหญ่อย่างเชียงใหม่ ลำปาง และพิษณุโลก ซึ่งเป็นบ้านเกิดตัวเอง

ปลูกมะพร้าวน้ำหอม สร้างทัศนียภาพให้บ้าน แต่กลับมีคุณภาพขายได้ราคาดี

มะพร้าวที่ลุงสมปองปลูก เป็นพันธุ์น้ำหอมจากอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกให้มีน้ำหอมโดยเฉพาะ ตั้งใจว่าจะปลูกเพื่อความสวยงาม โดยปลูกไว้บริเวณริมรั้ว กระทั่งมีผลผลิตจำนวนมากและมีรสชาติหวานหอม อีกทั้งละแวกในเขตอำเภอแทบจะหาคนปลูกมะพร้าวยาก

ลุงสมปองเผยว่า ความจริงมะพร้าวดูแลง่าย เพียงแต่อย่าให้ขาดน้ำเท่านั้น ควรใส่เกลือปีละครั้ง ใส่ต้นละเกือบกิโลกรัม ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง เป็นปุ๋ยสูตร 16-16-16 และควรผสมขี้วัวด้วย แต่ที่ต้องใส่เพื่อให้น้ำมะพร้าวมีรสหวานหอมคือใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพียงปีละครั้ง

จากวิธีปลูกที่ใส่ใจในเรื่องคุณภาพ ทำให้ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมในสวนของคุณลุงสมปองเป็นที่หมายปองของผู้คนทั่วไป บางคนมักแวะเวียนมาซื้อไปทานบ้าง ซื้อไปขายบ้าง จนทำให้ไม่เพียงพอ จากนั้นคุณสมปองจึงต้องปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มอีก และในปัจจุบันมีอยู่ถึง 300 ต้น โดยในรุ่นหลังนี้นำไปปลูกบริเวณด้านหลังที่ดิน เป็นการปลูกแบบยกร่องจำนวน 200 ต้น

ผลผลิตที่เกิดขึ้นจะขายให้แก่ผู้สนใจและเดินทางมาซื้อ โดยขายผลละ 7-8 บาท จากสวน ก่อนจะมีพ่อค้านำไปขายในท้องตลาดในราคา 15-20 บาท อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาขายของคุณสมปองไม่เน้นเชิงพาณิชย์ เพราะเขามองว่าเป็นความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่รัก ส่วนรายได้จะใช้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอีก เพราะมองตลาดส่งออก

ขณะปลูกมะพร้าว ปรากฏว่าเป็นช่วงเดียวกับกระแสมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้คุณลุงสมปองเกิดความสนใจเพราะเป็นสิ่งท้าทาย อีกทั้งมองว่าพิษณุโลกเป็นแหล่งปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้คุณภาพ

ดังนั้นเขาจึงเดินทางไปที่อำเภอเนินมะปรางค์ เพราะที่นั่นมีชื่อเสียงด้านการปลูกและทำพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออก ก่อนจะซื้อมาปลูกจำนวน 300 ต้น แล้วนำมาปลูกในพื้นที่เดิมของกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องที่หมดอายุ

มะม่วงน้ำดอกไม้ใช้เวลาประมาณ 4 ปีจึงได้ผลผลิต คุณสมปองชี้ว่า ถ้าปล่อยให้มะม่วงออกผลตามฤดูกาลอาจทำให้ราคาต่ำไม่คุ้ม จากนั้นจึงเปลี่ยนมาทำเป็นมะม่วงนอกฤดูเพิ่มขึ้นไปด้วย โดยได้ศึกษาหาความรู้จากตำรา เอกสาร อินเทอร์เน็ต และสอบถามผู้รู้แล้วทดลองทำ ในตอนแรกไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่พยายามแก้ไขมาตลอด 1 ปี จนกระทั่งสามารถทำได้เป็นผลสำเร็จ

“รายได้จากการขายมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในปีหนึ่งไม่มากนัก เรียกว่าคุ้มทุนดีกว่า แต่ยังรักและชอบ เพราะถือว่าให้ร่มเงาและความสวยงามของทรงพุ่ม ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมให้สะอาด เปรียบเหมือนมีเครื่องกรองฝุ่นก่อนถึงตัวบ้าน”

ลุงสมปองเน้นปลูกมะม่วงผลสุก ดังนั้นนอกจากน้ำดอกไม้สีทองที่ปลูกอยู่แล้ว เขายังนำพันธุ์มะม่วงมหาชนกที่ให้ผลผลิตได้ดีมาก เป็นพันธุ์มะม่วงที่ปลูกง่าย ดูแลน้อย ราคาดี รสชาติอร่อย เพราะฉะนั้นเมื่อถึงช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจึงรับเงินอย่างเดียว

ปลูกมะนาวแป้นรำไพ มีผลผลิตดี ราคาไม่ธรรมดา

ไม้ผลอีกชนิดที่ลุงสมปองปลูกในช่วงหลังคือมะนาวแป้นรำไพ สำหรับพันธุ์นี้เขาถูกชักชวนจากเพื่อนร่วมงานที่ชอบการเกษตรได้นำไปปลูกแล้วได้ผลผลิตดีมาก แต่จากข้อมูลที่ได้ศึกษามาพบว่า มะนาวพันธุ์นี้ดูแลยาก อีกทั้งยังไวต่อการเป็นโรค จึงทำให้เขาไตร่ตรองอยู่นานจนตัดสินใจนำมาทดลองปลูกก่อนจำนวน 120 ต้น เป็นการปลูกในวงซีเมนต์สูง 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร แล้วนำดินที่มีคุณภาพมาปลูก จนกระทั่งได้ผลผลิตดีมากในรุ่นแรก

เจ้าของสวนสมปองชี้ว่า การปลูกในวงซีเมนต์มีข้อดีตรงที่สามารถบังคับผลผลิตให้ออกนอกนอกฤดูได้ง่าย อีกทั้งต้นมะนาวยังได้รับน้ำและอาหารอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม พอใกล้ถึงช่วงที่กำลังมีโรคระบาดจะต้องหมั่นใส่ใจฉีดพ่นยาป้องกัน

“คุณสมบัติเด่นของแป้นรำไพอยู่ตรงมีเปลือกบาง เมล็ดน้อย น้ำหอม ซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังขายในราคาไม่แพงและต่ำกว่าท้องตลาด ดังนั้น ผลผลิตมะนาวที่ได้อย่างในเดือนมีนาคม ปี 2553 มะนาวที่ปลูกจำนวน 120 ต้น ทำเงินได้ถึง 6 หมื่นกว่าบาท เป็นการขายตรงให้แก่ร้านอาหารหลายประเภทที่อยู่ละแวกไม่ไกลจากบ้าน แต่ละรายสั่งกันไม่ต่ำกว่าพันลูก สั่งวันเว้นวัน”

มะนาวที่คุณสมปองปลูกมี 2 รุ่น หลังจากปลูกมะนาวรุ่นแรกได้ปีที่ 6 ผลมะนาวมีขนาดลดลง ขาดคุณภาพ ทั้งนี้เป็นเพราะการเจริญเติบโตของรากมีจำนวนมาก ทำให้แน่น เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจำเป็นต้องรื้อมะนาวที่ปลูกในวงบ่อออก แล้วเปลี่ยนหลักคิดจากมะนาววงบ่อมาเป็นการปลูกมะนาวจากการต่อตอมะขวิดและตอส้มโอแทนจำนวนกว่า 200 ต้น เขาชี้ว่าตอมะขวิดมีคุณสมบัติทนแล้ง ทนน้ำขังที่เฉอะแฉะ อีกทั้งมีระบบรากที่หากินเก่ง และในอนาคตต้องได้ผลที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพอย่างแน่นอน

คุณสมปองเผยว่า การปลูกพืชชนิดใดก็ตามควรมีหลักและวิธีที่ถูกต้อง จะอาศัยความชำนาญอย่างเดียวไม่ได้ ฉะนั้น เหตุผลที่ทำให้พืชทุกชนิดที่ปลูกในสวนสมปองมีคุณภาพ อาจมิได้เกิดจากความได้เปรียบทางธรรมชาติของพื้นที่เพียงอย่างเดียว เพราะการวางผังปลูกต้นไม้แต่ละชนิดเป็นความคิดของตัวเอง อีกทั้งมองว่าควรจัดเป็นกลุ่ม เป็นประเภทอย่าปลูกคละกัน เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการต่างกัน แต่หลักที่กำหนดเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้คือ ควรปลูกแบบขวางตะวันเพราะจะได้รับแสงตลอดเวลา เป็นประโยชน์ที่ดีต่อพืชผลทุกชนิด

ลุงสมปองมองว่า การทุ่มเทให้กับการปลูกต้นไม้หลายชนิดถือเป็นความสุขทางใจมากกว่าเงิน ทุกวันนี้เขายังคงใช้ชีวิตทั้งหมดอยู่กับต้นไม้พร้อมกับผู้ช่วยเพียงคนเดียวเท่านั้น แม้วัยจะล่วงเลยมามาก แต่มิได้เป็นอุปสรรคแต่ประการใด

“เพราะฉะนั้น SBOBET ทุกครั้งเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วชงกาแฟมานั่งที่ชานบ้าน มองไปยังต้นไม้หลายชนิดที่ปลูกไว้แล้วเกิดความสุข ความภูมิใจ สดชื่นเสมือนหนึ่งได้รับประทานอาหารเสริมทางใจ จนทำให้เกิดความกระชุ่มกระชวยจนลืมอายุจริงตัวเอง และเมื่อใดที่คุณคิดจะปลูกอะไรสักอย่างจึงถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการช่วยรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อม แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เป็นการช่วยคลายความเหงาจากกิจกรรมต่างๆ ที่บังคับให้คุณมีงานทำทั้งวันโดยไม่เบื่อ แล้วคุณจะรู้ทันทีว่าตัวเองมีค่าเกินกว่าการอยู่เฉย…” ลุงสมปองกล่าวทิ้งท้าย

คุณนิทัศน์และคุณโสภา สุขแสนโชติ หรือพี่ตุ๋ยและพี่ต้อย หันเหจากอาชีพรับราชการออกมาจับอาชีพเกษตรกรรมอย่างจริงจัง ศึกษาค้นคว้าทำมาหลายอย่างแต่มาจบที่องุ่นไร้เมล็ด

คุณนิทัศน์เข้าเรียนเกษตรที่จังหวัดน่านเมื่อปี 2518 รุ่น 38 จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนพะเยา เมื่อจบการศึกษาทางด้านเกษตรก็สอบเข้ารับราชการเมื่อปี 2523 ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร 2 วนเวียนอยู่ในจังหวัดพะเยา ระหว่างรับราชการก็ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ตำแหน่งสุดท้ายคือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

และตัดสินใจลาออกก่อนเกษียณในปี 2557 ส่วนคุณโสภาหรือพี่ต้อย ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนแม่จัน จังหวัดเชียงราย เข้าเรียนที่เกษตรจังหวัดน่านในปี 2518 รุ่น 38 เหมือนกัน แต่เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แล้วออกมารับราชการที่สถานีประมงน้ำจืด จังหวัดพะเยา ระหว่างรับราชการก็ศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีเช่นกัน และลาออกก่อนเกษียณในปี 2557 ตามพี่ตุ๋ย ตำแหน่งสุดท้ายคือ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านประมง สำนักงานประมงจังหวัดพะเยา