การปลูกเพียงครั้งเดียวให้ผลผลิตทั้งปี ทำให้มีรายได้ตลอด

เพราะระยะการลงทุนปลูกมะนาวนั้นระยะเริ่มให้ผลผลิต เริ่มเดือนที่ 15 จนถึง 8 ปี ถือว่าคุ้มค่าในการลงทุน ข้อควรระวังที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ สภาพดินฟ้าอากาศเท่านั้น แต่ก็ต้องพยายามปรับปรุงดูแลการตัดแต่งกิ่งเพื่อรักษาสมดุลของต้นมะนาว การให้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ทำให้พืชมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้นไม้อยู่ได้ เกษตรกรก็อยู่ได้ครับ

ฉะนั้น ที่สวนของอาจารย์วิเชียรจึงพยายามบังคับผลผลิตให้ออกนอกฤดูกาล ทำให้อาจารย์วิเชียรมีรายได้มากขึ้น เพียงแต่ใช้วิธีศึกษาหาความรู้จากการลองผิดลองถูก จนประสบความสำเร็จได้ผลผลิตตามเป้าหมาย จึงนำความรู้มาเผยแพร่โดยไม่ปิดบัง อาจารย์วิเชียรยินดีแนะนำและให้ความรู้เท่าที่ประสบการณ์ตรงมีแก่ท่านที่สนใจจะปลูกมะนาวเชิญแวะมาที่ สวนสุวรรณีปรางทอง เลขที่ 161/2 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 เบอร์โทร. 085-244-1699 อาจารย์วิเชียร บุญเกิด

ชันโรง เป็นผึ้งจิ๋ว ที่ปัจจุบันมีผู้คนให้ความสนใจนำมาเลี้ยงเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเก็บน้ำหวานเพื่อไว้รับประทานแล้ว ชันโรงยังสามารถช่วยผสมเกสรได้เป็นอย่างดี โดยชาวสวนผลไม้บางพื้นที่จะนำชันโรงไปเลี้ยงภายในสวนของตัวเอง เมื่อถึงหน้าที่ผลไม้เริ่มออกดอกแมลงจิ๋วอย่างชันโรง นอกจากออกหาอาหารเพื่อนำมาเก็บสะสมสร้างเป็นน้ำหวานไว้ภายในรังแล้ว ประโยชน์ที่ได้ตามมานั้นก็คือ การผสมเกสรได้รับการผสมอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะชันโรงช่วยให้มีการผสมที่สมบูรณ์ ทำให้เกษตรกรชาวสวนนอกจากได้ผลผลิตที่มากขึ้นแล้ว ยังสามารถจำหน่ายน้ำหวานและขยายรังชันโรงจำหน่ายสร้างรายได้อีกด้วย

คุณชโลธร นพฤทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ที่ 7 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพืชสวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีโอกาสรู้จักกับความมหัศจรรย์ของผึ้งจิ๋วอย่างชันโรง จึงทำให้คุณชโลธรได้เรียนรู้และพัฒนาการเลี้ยงภายในสวนของเขา จนสร้างเป็นอาชีพเสริมที่ทำควบคู่ไปกับงานประจำได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งพัฒนาน้ำหวานมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป ทำให้เกิดรายได้หลากหลายจากการเลี้ยงผึ้งจิ๋วชนิดนี้

คุณชโลธร เล่าให้ฟังว่า เมื่อจบการศึกษาแล้วได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเรื่องของการเลี้ยงชันโรง ต่อมาเมื่อทำสวนอยู่ที่บ้าน ได้เห็นชันโรงธรรมชาติในบริเวณพื้นที่สวนของตัวเอง ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้ศึกษาการเลี้ยงอย่างจริงจัง จึงทำให้ไม่สามารถแบ่งรังของชันโรงมาเลี้ยงได้ เมื่อได้เข้ามาทำงานหน่วยงานราชการอย่างเต็มตัว ได้รับมอบหมายให้อยู่ในหน่วยงานของการดูแลพืชผัก และต่อมามีแผนการผลิตในเรื่องของการนำชันโรงมาสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ จึงทำให้เขาต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องของการเลี้ยงชันโรง จึงเกิดประสบการณ์ที่นอกจากจะนำมาบอกสอนผู้สนใจแล้ว คุณชโลธรยังสามารถสร้างเป็นอาชีพเสริมของตนเองได้อีกด้วย

“พอเราต้องรับผิดชอบตั้งศูนย์การเลี้ยงชันโรงของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำให้ต้องไปอบรมอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้ได้รับความรู้มาหลายอย่าง ตั้งแต่วิธีการแยกรัง การเลี้ยงไข่ การเลี้ยงนางพญา การดูแลตัวอ่อน ไข่อ่อน ไข่แก่ กระบวนการเรียนรู้ของเราก็สมบูรณ์มากขึ้น จากนั้นก็ได้มาทดลองทำที่ศูนย์เรียนรู้ของเรา ผมก็ได้ฝึกอย่างเต็มตัว พร้อมทั้งไปหาชันโรงจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง โดยหาจากแหล่งธรรมชาติและศูนย์เลี้ยงต่างๆ ซึ่งชันโรงที่ใช้เลี้ยงจะเป็นพันธุ์ชันโรงหลังลายกับพันธุ์ขนเงิน ซึ่งทั้งสอง 2 พันธุ์นี้สามารถหาได้ทั่วไป อย่างชันโรงพันธุ์หลังลายค่อนข้างรักรังและขยายพันธุ์ได้เร็ว ส่วนพันธุ์ขนเงินค่อนข้างดุ และมีความขยันในการหาอาหารเป็นอย่างมาก ผมเลยเลือก 2 สายพันธุ์นี้มาเลี้ยงในศูนย์ และเลี้ยงเองที่บ้านเพื่อทำเป็นอาชีพเสริม” คุณชโลธร เล่าถึงที่มาของการเลี้ยงชันโรง

ในขั้นตอนแรกของการเลี้ยงชันโรงให้ประสบผลสำเร็จนั้น คุณชโลธร บอกว่า ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ในช่วงแรกอาจเตรียมอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายๆ มาทำแยกรังออก หรือถ้าต้องการให้มีมาตรฐานมากขึ้น ก็อาจใช้ไม้ที่มีอยู่หรือที่เหลือใช้มาประกอบให้เป็นลักษณะกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของลังที่เหมาะสมใช้เลี้ยงก็มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าต้องการเลี้ยงไปในลักษณะใด ขนาดลังเลี้ยงที่นิยมและมีความเหมาะสมทั่วไป ใช้กันเป็นขนาดกลาง อยู่ที่ ความยาว 30 เซนติเมตร ความกว้าง 15 เซนติเมตร และความสูงอยู่ที่ 11 เซนติเมตร พร้อมกับสร้างฝาปิดให้เรียบร้อย

เมื่อเห็นว่ารังเก่าของชันโรงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น จะนำมาแยกออกใส่ลงในกล่องเลี้ยงใหม่ โดยการแยกอุปกรณ์ต้องมีความสะอาด เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นภายในรังเก่าและใหม่ได้ การแยกรังชันโรงมาอยู่ในกล่องเลี้ยงใหม่นั้น ต้องแยกเกสรที่เป็นแหล่งอาหาร ไข่อ่อน ไข่แก่ และตัวอ่อนของนางพญามา พร้อมทั้งนำน้ำหวานใส่ลงมาด้วย เพื่อให้ภายในกล่องที่แยกรังใหม่มีส่วนประกอบของรังครบถ้วน จากนั้นนำชันของรังชันโรงเก่ามาแปะไว้บริเวณปากทางเข้ากล่องรังใหม่ เพื่อให้ตัวชันโรงรู้กลิ่นของรังเก่าด้วย ก็จะช่วยให้ชันโรงจากรังเก่าบางส่วนย้ายไปอยู่รังใหม่ และสร้างรังใหม่ให้มีความแข็งแรงต่อไปได้

“พอเราย้ายรังใหม่ใส่กล่องใหม่ได้เรียบร้อยแล้ว ทีนี้เราก็เอาปากรังเก่าเพื่อให้ตัวชันโรงที่อยู่นอกรังบินเข้ารังเก่า จากนั้นนำกล่องรังเก่า ย้ายออกไปให้ไกลจากที่บริเวณของกล่องรังใหม่ที่เราแยกไว้ ตัวชันโรงที่อยู่ข้างนอกเมื่อไม่เห็นรังเก่า ก็จะบินเข้ารังใหม่ที่เราแยกไว้เอง ซึ่งการแยกที่ดีที่สุดควรแยกตอนกลางคืน เพราะจะช่วยให้ไม่เสียตัวชันโรงที่เป็นผึ้งงานเยอะเกินไป จากนั้นตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน รังก็จะสร้างองค์ประกอบพร้อมอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น เราก็สามารถจำหน่ายได้เลย ส่วนรังไหนที่เราไม่ได้ขายก็เก็บน้ำหวานให้ได้ปริมาณมากๆ แล้วบรรจุเพื่อเตรียมจำหน่ายต่อไป” คุณชโลธร บอก

ในเรื่องของแมลงศัตรูพืชที่ชอบทำลายผึ้งชันโรงนั้น คุณชโลธร บอกว่า จะเป็นมวนเพชฌฆาตและนกตัวเล็กๆ ที่ชอบบินมากินตัวชันโรงที่หน้ารัง และที่ต้องระวังมากที่สุดคือ จิ้งจก ที่ชอบเกาะอยู่ที่ปากรูทางเข้าออกของรัง เวลาที่ชันโรงบินผ่านจะกินตัวชันโรงทันที ดังนั้นต้องหมั่นเฝ้าสังเกตอยู่เสมอ

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายชันโรงที่เลี้ยง การทำตลาดส่วนใหญ่จะเน้นจำหน่ายแบบออนไลน์ โดยลูกค้าที่อยู่ตามที่จังหวัดห่างไกลเข้ามาสั่งซื้อจากเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อได้จำนวนการสั่งซื้อก็จะตรวจดูรังแยกที่สมบูรณ์ พร้อมกับจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ใกล้หรือไกล ก็สามารถจัดส่งให้ได้ถึงที่ โดยที่ไม่ต้องเข้ามาซื้อถึงหน้าสวน แต่ถ้าเกษตรกรท่านใดหรือลูกค้าท่านไหนสนใจอยากเรียนรู้ก็สามารถติดต่อเข้ามาศึกษาดูงานได้

โดยจำหน่ายชันโรงต่อ 1 รัง ราคาอยู่ที่ 1,000-1,500 บาท ขึ้นอยู่ว่าภายในรังมีองค์ประกอบครบมากน้อยขนาดไหน ซึ่งแต่ละรังจะมีราคาที่แตกต่างกันไป ส่วนน้ำหวานที่เก็บได้จากรังชันโรง ราคาจำหน่ายอยู่ที่ ซีซีละ 2 บาท และนอกจากนี้ยังได้นำน้ำหวานของผึ้งชันโรงมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย อย่างเช่น การทำเป็นสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งชันโรง ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกด้วย

“สำหรับผู้ที่สนใจอยากเลี้ยงชันโรง อยากบอกว่าตลาดยังสามารถไปได้เรื่อยๆ อย่างคนที่เป็นเจ้าของสวนก็สามารถเลี้ยงได้ เพื่อให้ชันโรงเป็นตัวช่วยในเรื่องของการผสมเกสร นอกจากจะได้น้ำผึ้งเป็นผลพลอยได้แล้ว ยังสามารถให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ดีอีกด้วย พอรังเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ได้เรียนรู้การเลี้ยงไปเรื่อยๆ ทีนี้ก็จะทำให้การเลี้ยงประสบผลสำเร็จ และขยายการเลี้ยงสร้างรายได้ไปหลากหลายช่องทาง เกิดเป็นรายได้ทดแทนอื่นๆ ต่อไปได้” คุณชโลธร แนะนำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย แก้ววังชัย กล่าวว่า เมื่อสมัยก่อนเริ่มต้นปลูกไม่เป็นเลย ปลูกกี่ต้นก็ตายหมด เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับการปลูกกัญชาในช่วงกันยายน พ.ศ. 2562 เป็นคนทำงานวิจัยคนแรกๆ เกี่ยวกับกัญชา เหตุผลที่มาสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะช่วงก่อนหน้าที่กฎหมายกัญชาจะเปิด ผมได้ไปเฝ้าอาการป่วยของคุณพ่อที่โรงพยาบาล คนป่วยในโรงพยาบาล ก็จะเจ็บปวด กินไม่ได้นอนไม่หลับ คนเฝ้าก็ไม่ได้นอนพักผ่อนก็ป่วยกันทั้งสองคน ผมก็มองว่าถ้ากัญชาสามารถช่วยผู้ป่วยให้กินข้าวได้ นอนหลับได้ ผู้ป่วยก็จะแข็งแรงแล้วก็สามารถกลับมาทำงานและอยู่กับครอบครัวได้ แต่พอได้ลงมือทำแล้วกลับไม่ใช่ มันมีอุปสรรค ที่มีทั้งข้อดี ข้อเสียของกัญชาอีกมาก

รวมถึงเรื่องผลประโยชน์ เรื่องที่เริ่มทำเรื่องวิจัยที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นับจากที่มีพระราชกิจจานุเบกษา เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ แก้กฎหมายให้เราสามารถทำการวิจัยและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงรวมกลุ่มอาจารย์ที่สนใจเกี่ยวกับกัญชา เสนอโครงการงานวิจัย ทั้งสิ้น 18 โครงการ จากอาจารย์ 50 กว่าท่าน และส่งให้ผมไปขออนุญาต จึงได้ขออนุญาตปลูก 2 ใบ และใบอนุญาตในการครอบครองซึ่งขอตัวอย่างจาก ป.ป.ส. 50 กิโลกรัม เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย และมีใบอนุญาตในการสกัดเพื่องานวิจัย

ปลูกกัญชา กัญชง รู้จักมากแค่ไหน

สายพันธุ์กัญชาหลักๆ มีอยู่ทั้งสิ้น 3 สายพันธุ์ คือ

ซาติวา (Sativa) ที่อยู่บริเวณประเทศเรา จะมีลักษณะใบเรียวยาวบาง สีเขียวอ่อน ต้นมีความสูงมาก โป่รง กิ่งและก้านยาว เพราะว่าภูมิอากาศบ้านเราร้อนต้องพยายามปรับตัวให้อยู่ในอากาศที่ร้อนให้ได้ เพื่อจะได้ผลิตผลผลิตออกมา ส่วนใหญ่สารที่มีในสายพันธุ์นี้คือ THC

อินดิกา (Indica) มีลักษณะใบที่หนา ต้นมีความเตี้ยและป้อม เกิดในพื้นที่ที่สูงกว่าประเทศไทยขึ้นไปเล็กน้อย อากาศที่เย็นขึ้นมานิดหน่อย สารในสายพันธุ์นี้คือ THC, CBD

รูเดอราลิส (Ruderalis) สายพันธุ์นี้เป็นกัญชาป่า

กัญชา 3 สายพันธุ์นี้ สามารถผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ได้ ในตอนนั้นผมศึกษาข้อมูลสายพันธุ์กัญชาจากเว็บไซต์ อย่างเช่น สายพันธุ์ บลูโอจี (Blue OG) เป็นสายพันธุ์ที่สายนันทนาการนิยม ปรากฏว่าตั้งต้นมาจากสายพันธุ์ไทย สิ่งที่ผมเห็นคือของจากประเทศเราที่โดนเขาเอาไปทำ น่าจะตั้งแต่ที่สายพันธุ์ ไทยสติก (Thai stick) กำลังโด่งดัง ในการผสมสายพันธุ์นั้นถ้าเราเอา ซันติวา กับ อินดิกา ผสมกัน จะเรียกว่า สายพันธุ์ ไฮบริด แต่ถ้าเอา รูเดอราลิส เข้ามาผสมด้วยก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง

ถ้า ซาติวา กับ อินดิกา เฉยๆ จะเรียก โฟโต้ พีเรียด (Photo–period) โฟโต้ที่แปลว่า แสง แสดงว่าพวกนี้อ่อนไหวง่ายกับแสง จะออกดอกตามชั่วโมงแสง ถ้าแสงชั่วโมงเยอะก็จะเป็นใบอย่างเดียว ถ้าลดชั่วโมงแสงลงได้ มันก็จะออกดอก สามารถชำกิ่งได้ อายุการเก็บเกี่ยวของสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่ 5-9 เดือน ขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสง

ออโต้ ฟลาวเวอร์ (Auto flowering) ก็คือ รูเดอราลิส ไปผสมกับ ซาติวา หรืออินดิกา จะได้สายพันธุ์ต้นที่เตี้ยลง ข้อดีของสายพันธุ์นี้ก็คือ ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับชั่วโมงแสง จะให้แสง 20-24 ชั่วโมง ก็ได้ ก็ยังออกดอกเหมือนเดิม อายุการเก็บกี่ยวประมาณเพียงแค่ 2 เดือนครึ่ง ก็เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่สายพันธุ์นี้ต้องได้จากเมล็ดของมันเท่านั้น

นี่คือ 2 ประเภทหลักๆ แล้วเราจะปลูกประเภทไหน ทุกคนเข้าใจว่าสารสำคัญในกัญชาอยู่ในใบ แต่จริงๆ อยู่ที่ปลายช่อดอก จากผลงานวิจัยบอกว่า ดอกที่อยู่บนสุดจะมีสารที่สูงกว่าดอกที่อยู่ข้างล่าง สารที่ว่าจะอยู่ข้างนอกเหมือนดอกเห็ด เรียกว่า ไตรโคม (Trichomes) เป็นบริเวณที่เก็บสะสมสารสำคัญในกัญชา แล้วสารกัญชาที่มันเก็บไว้ไม่ได้สกัดยากเลย เพราะมันอยู่ข้างนอก

การพัฒนาสายพันธุ์ทำอย่างไร

จากที่กล่าวว่า สามารถผสมสายพันธุ์ได้ ก็เพราะว่ากัญชา ก็เหมือนมนุษย์ มีผู้หญิง ผู้ชาย หรือเรียกกันว่าต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และดูอย่างไรว่าเป็นเพศไหน ถ้าเป็นเพศเมียจะมีดอกแหลมๆ เกสรตัวเมียสองเส้น ช่วงเวลาที่จะแสดงเพศจะออกตามปล้อง ก่อนที่จะเป็นช่อใหญ่ ส่วนตัวผู้จะเป็นไข่กลมๆ เมื่อตัวผู้ที่โตแล้ว จะมีดอกใหญ่ๆ ขึ้นเป็นช่อ เมื่อแสดงเพศแล้ว รู้ว่าเป็นเพศผู้ให้ตัดทิ้ง ทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะถ้าได้เมล็ด เมล็ดนั้นอาจทำให้สายพันธุ์นั้นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะมีเพศผู้และเพศเมียแล้ว มีเพศกะเทย (Banana) อีกด้วย จะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียโผล่ออกมา ถ้าเอาไปผสมก็จะลดสารลงเหมือนกัน กัญชาแต่ละต้นแต่ละสายพันธุ์กินน้ำไม่เท่ากัน กินปุ๋ยไม่เท่ากัน มีสีดอกที่ไม่เหมือนกัน ในห้องวิจัย ปลูกครั้งแรก 47 สายพันธุ์ 82 ต้น พื้นที่ปลูก 6 x 7 ต้องเดินตรวจสอบทุกวัน ต้องสังเกตมากกว่าปกติ เพราะเราไม่มีความรู้ในการปลูก

ความแตกต่างของกัญชา และกัญชง

ต่างกันเพียงแค่ปริมาณสาร THC กัญชง ไม่สามารถดูที่ใบได้ ใบจะบอกแค่ว่าเป็น ซาติกา หรืออินดิกาเท่านั้น แต่สิ่งที่กฎหมายกำหนด คือ ถ้า THC ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชง ถ้าเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชา

กัญชงแบบไหนบ้างที่สามารถปลูกได้ ในประเทศมี 3 ประเภท คือ กัญชงที่ปลูกไว้เอาช่อดอก CBD ต่อมาคือกัญชงที่จะเอาเมล็ดมาบีบเอาน้ำมัน สุดท้าย ประเภทไฟเบอร์ ใช้เอาใบกิ่งก้าน อย. บอกว่า ห้ามปลูกกัญชงกับกัญชา ในรัศมี 10 กิโลเมตร เพราะว่า แบบที่เอาเมล็ดต้องมีตัวผู้ แบบที่เอาเส้นใยเขาก็ไม่ได้ดูตัวผู้ ตัวเมีย เพราะมันมีตัวผู้แน่นอน และขนาดเกสร ที่ขนาด 24 ไมครอน ของตัวผู้ มันจะปลิวไปไกลได้ประมาณ 10 กิโลเมตร

การปลูกกัญชง อย. บอกว่า สามารถเลือกปลูกได้ 6 แบบ คือ

ปลูกเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ
ปลูกเพื่อตามประเพณี
ปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์
ปลูกเพื่อการแพทย์
ปลูกเพื่อการศึกษา
ปลูกเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์รับรอง
ไม่ว่าจะเลือกปลูกแบบไหน ต้องมีแหล่งค้าขายที่ชัดเจน ให้ถูกต้อง ที่ อย. ออกกฎหมายนี้มาเพราะว่าถ้าล้นตลาด มันสามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้าเราสามารถบอกได้ว่ามีคนซื้อเราแน่นอน ก็สามารถปลูกได้ สรุปแล้วกัญชงถ้าจะปลูกก็ต้องขออนุญาตเหมือนกันกับกัญชา แต่ขอได้ง่ายกว่า ไม่ต้องมี CCTV ไม่ต้องมี Finger scan แต่ต้องมีรั้วรอบให้ปลอดภัย

หลักการลงมือปลูกจะปลูกแบบไหน

กลางแจ้ง (Out door) เนื่องจากเป็นระบบเปิด จำเป็นต้องซื้อหลอดไฟ การเจริญเติบโตเป็นไปตามธรรมชาติ ตามชั่วโมงแสง เงินทุนต่ำกว่า แต่ต้องระวังศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง ถ้าทำเป็นจะได้ปีละสองครั้งสูงสุด ต้นทุนน้อย แต่ความเสี่ยงสูง

โรงเรือน (In door) ต้องใช้หลอดไฟ หลอดไฟที่ผมใช้เป็นสปอตไลท์ ซึ่งแสงไม่พอ ได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในโรงเรือนของผม ผมไม่สามารถปลูกพันธุ์ไทยได้เลย เพราะว่าชนเพดาน และแสงไม่พอ งานวิจัยของผมจึงนิยมเป็นสายพันธุ์ไฮบริด ข้อดีของห้องนี้คือ สามารถควบอุณหภูมิได้ด้วยเครื่องปรับอากาศ

ควบคุมความชื้น ควบคุมซีโอทู แต่ควบคุมไรแดงไม่ได้ การปลูกแบบนี้สามารถกำหนดได้ว่า ปีละ 4-5 ครั้งได้เพราะเราควบคุมไฟได้ แต่ว่าข้อเสียคือ แพง ใช้ต้นทุนสูง โรงเรือนกลางแจ้ง (Green house) การปลูกแบบนี้คือ เอาข้อดีของกลางแจ้งและโรงเรือนมารวมกัน มีหลังคาเป็นพลาสติกใสกันฝนได้ ใช้แสงอาทิตย์ ไม่ต้องซื้อหลอดไฟ แต่จะเกิดความร้อนจากกรีนเฮาส์เอฟเฟ็ก ต้องพยายามทำโรงเรือนให้เปิด หรือใส่พัดลมดูดอากาศ ถ้าความชื้นสูง ดอกจะขึ้นรา ต้องดูทิศทางลมอย่าทำให้โรงเรือนร้อน เน้นโปร่งเป็นหลัก

การลงมือปลูกกัญชาทำอย่างไร

แน่ตอนเริ่มต้นจะต้องปลูกจากเมล็ด โดยส่วนใหญ่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ จะได้เมล็ดที่ทำโครงการการแพทย์แผนไทย จะได้เมล็ดมา 120 เมล็ด และมาเพาะต่อ ซึ่งจำกัดมาก 120 เมล็ด ต้องแบ่งเพาะอีก 60 : 60

อาจจะมีปัญหาเป็นตัวผู้ด้วย เมล็ดไม่งอกอีก เมล็ดที่ดีเป็นอย่างไร

1.การเพาะเมล็ด (Germination) 3-7 วัน เมล็ดที่ดีต้องอวบแน่นสมบูรณ์ ผิวแข็งเรียบเนียน สีค่อนข้างไปทางน้ำตาลแก่ ขั้วแห้งสุก ไม่มีรอยปริแตก เมล็ดกัญชงกับกัญชาจะไม่เหมือนกัน กัญชง จะมีขนาดใหญ่กว่า ถ้าเรามีเมล็ดเยอะ หว่านไปได้เลยจะเกิดขึ้นเอง แต่ว่าเรามีปริมาณจำกัด ต้องใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเปลือกออกเล็กน้อย เพื่อเร่งรากให้ออกไวขึ้น และนำไปแช่น้ำ น้ำที่ใส่แนะนำว่าถ้าไม่มีน้ำกลั่น ก็ใช้น้ำโพลาลิส ซึ่งน้ำที่ดีจะมีค่า PH 6.3 – 6.8 ต่อไปเป็นเครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า EC วัดปุ๋ย อันนี้ขาดไม่ได้ หลังจากแช่เมล็ดในน้ำ 2 ชั่วโมง ต้องไปเก็บในที่มืดและอุ่น ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง เมื่อครบแล้วหยิบกระดาษชำระมาใส่กล่อง ฉีดน้ำไปให้ชุ่มฉ่ำวางไว้ข้างๆ วางเมล็ดลงไป เอากระดาษมาปิดข้างบนอีกทีน้ำชุ่มเหมือนกัน

การอนุบาล (Seedling) 1-2 สัปดาห์ พอรากออกมาแล้ว ก็จะเริ่มเอารากลงดิน เอาลงวัสดุปลูก ส่วนใหญ่จะใช้พีทมอสส์ หรือโคโค่พีท ส่วนตัวผมใช้โคโค่พีทผสมพีทมอสส์ และก็ใส่เพอร์ไลต์ลงไปเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่มหลังจากนั้น ใช้ปากกาหรือตะเกียบจิ้มลงไปให้เป็นรู เอาเมล็ดที่มีรากลงไปฝังและรดน้ำให้ชุ่ม น้ำก็เหมือนเดิม ต้องเป็นน้ำที่มีกรดอ่อนๆ 6.3-68 วัสดุพวกนี้ที่ดีเพราะว่ามันต้องมีอาหารไม่มากตอนเล็กๆ ไม่จำเป็นต้องมีอาหารมากมาย ถ้าเราเก็บอนุบาลด้วยแสงหลอดไฟ อาจจะต้องมีแอปพลิเคชั่นไว้วัดค่าแสง 150-300 PPFD 18 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นแสงแดดธรรมชาติจะอันตราย ต้องมีการพรางแสงด้วยซาแรนและความชื้นด้วย ต้องไม่ให้รับแสงโดยตรง ไม่ให้ร้อนด้วย แล็บของผมเป็นแล็บที่ประหยัด กระถางที่ใช้ปลูก ผมก็ใช้แก้วกาแฟ มาเจาะก้นใส่พีทมอสส์ลงไปให้ต่ำกว่าแก้ว ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วก็ทำรูปลูกลงไปแล้วฝัง ทำไม ต้อง 2-3 เซนติเมตร เพราะเวลาที่โตขึ้นมามันจะยาว เราจะถมวัสดุลงไปเรื่อยๆ จนถึงใบเลี้ยง

การเตรียมวัสดุปลูก

หลักการง่ายๆ ของวัสดุปลูกของผมง่ายๆ คือ ต้องร่วนซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ PH 5.6-6.5 เป็นกรดนิดๆ วัสดุเป็นอะไรก็ได้ แต่อย่าให้มีพิษ ผมโดนถามบ่อยครั้งว่า ทำไมต้องใช้วัสดุปลูก ทำไมไม่ปลูกกลางแจ้งเหมือนในอดีต เพราะว่าดินในอดีตกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ผมจึงพยายามคิดวิธีปลูกโดยจะได้ดินหรือวัสดุปลูกโดยที่ไม่ต้องไปปลูกที่อื่น วัสดุปลูกผมก็หาความรู้จากอินเทอร์เน็ต

พีทมอสส์ (Peat moss) คือ ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นเวลาหลายร้อยปี ซึ่งเราสามารถใช้ซากพืชของเราที่ทับถมกันได้ แล้วมันดีอย่างไร พวกนี้จะไม่ทำให้เกิดช่องว่าง อากาศไม่เข้าไปในดินจนทำให้ดินร่วนซุย เก็บความชื้นได้ดี อุ้มน้ำแต่ไม่แฉะมาก

เพอร์ไลต์ (Perlite) คือ หินภูเขาไฟเนื้อแก้ว สมัครสโบเบ็ต สารที่มีน้ำหนักเบา มีความพรุนสูง และมีลักษณะคล้ายหิน รักษาความสมดุลระหว่างปริมาณน้ำและอากาศใต้ดิน คุณสมบัติฉนวนช่วยรักษาอุณหภูมิของดิน ช่วยดูดซึมสะสมยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี

ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก หรือปั่นให้ใยละเอียดเป็นขุยๆ ละเอียด ประมาณเม็ดทราย แห้งสนิท (ไม่ใช่เปลือกสับ) มีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดี และเก็บความชื้นได้นาน

หินพัมมิช (Pumice) เนื้อหินร่วน เม็ดคล้ายน้ำตาลทราย มีรูพรุนสูง พบปะปนหิน เพอร์ไลต์สีเขียว

เวอร์มิคูไลท์ ( Vermiculite) คือ แร่พบในรูป Aluminum Iron – Magnesium Silicate มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม น้ำหนักเบา เป็นกลาง ไม่ละลายน้ำ ดูดซับน้ำได้ดี

ปุ๋ยที่สำคัญกับกัญชาในช่วงที่ทำใบ คือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (Vermicompost) คือ เป็นเศษซากอินทรียวัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนเดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นภายในลำไส้ของไส้เดือนดิน แล้วจึงขับถ่ายเป็นมูล มีลักษณะร่วนละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุน ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูงและมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงมาก

มูลค้างคาว จะมีแร่ธาตุสูงแต่เหมาะช่วงทำดอก มูลค้างคาวจะมีสองแบบ คือแบบเก่าและใหม่ ต้องใช้แบบเก่าเท่านั้น กระถางผ้า (Smart pot) คือ กระถางผ้า ระบายน้ำได้ดี ไม่ทำให้น้ำขังจนอาจจะเกิดรากเน่า มีน้ำหนักเบาอากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น และดูดซับสารอาหารได้มากขึ้นพืชเจริญเติบโตได้ดี

แอร์พอต (Air pot) คือกระถางพลาสติกที่มีรูรอบๆ กระถางทำให้ ระบายน้ำได้ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น สามารถเปลี่ยนกระถางได้ง่ายมาก เพียงแกะตัวล็อกออกมา

ถ้าจะประยุกต์ใช้เข่งพอตก็ได้ เพราะราคาถูก หลักการเดียวกัน ใช้ได้เหมือนกัน หลักการง่ายๆ ให้ด้านข้างแลกเปลี่ยนความชื้นกับอากาศได้