การปลูกและการดูแลหม่อนหิมาลายัน ดูแลง่าย เริ่มต้นจากการ

เลือกต้นพันธุ์ที่ดีและหม่อนหิมาลายันไม่ต้องการน้ำมาก ปลูกโดยการใช้วงบ่อ หรือขุดหลุมดินกว้าง 50 เซนติเมตร ใช้เปลือกถั่วหรือขุยมะพร้าว หรือใบไม้แห้ง รองก้นทำดินโคนต้นให้พูนขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำขังเวลารดน้ำ สำหรับท่านที่มีพื้นที่น้อย และไม่ต้องการปลูกลงดิน ก็ใส่กระถางได้ ขั้นตอนการปลูกก็เหมือนกันที่ต้องรองก้นกระถาง ข้อดีก็คือ ดูแลและควบคุมการให้น้ำได้ ตัดแต่งกิ่งเป็นไม้ประดับได้สวยงาม

หลังจากนั้น ก็จะตัดแต่งกิ่ง และปล่อยให้แตกใบอ่อน ประมาณต้นฝนก็จะเริ่มให้ผลอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม จะเก็บเกี่ยวได้เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม โดยการตัดยอดที่แตกทิ้งไป (เคล็ดลับการเร่งให้ออกผล) ก็จะแตกผลอ่อนออกมา ผลอ่อนจะมีลักษณะเป็นขุย เหมือนหนอนบุ้งและยาวเรียว พอเริ่มแก่ขนอ่อนก็จะหายไป จะเป็นตุ่มเล็กๆใสๆ และมีสีม่วงแดง และขาวตามสายพันธุ์ ก็จะทำให้ต้นหม่อนหิมาลายันดูสวยงาม น่ารับประทานและดกเต็มต้น เพราะลักษณะผลฉ่ำน้ำตาล ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว

การดูแลต้นและผลผลิต
ต้นหม่อนหิมาลายัน จะมีความสูงได้มาก 10-15 เมตร ตามสายพันธุ์ แต่ที่สวนจะบังคับความสูง เพื่อการเก็บเกี่ยวและการดูแล ให้มีความสูงประมาณ 2 เมตร กว่าๆ ต้องทำค้างค้ำยันเพื่อไม่ให้ต้นล้ม

“ที่สวนผมปลูกไว้ประมาณ 20 ต้น โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น จะเก็บผลผลิตทุกวันในช่วงที่ออกผล ผลหม่อนจะสุกไล่เลี่ยกัน มีผลหม่อนหิมาลายันให้รับประทานทุกวัน ถ้าเหลือผมก็นำมากวนเก็บไว้ แต่ที่สวนมีคนมาเยี่ยมมาเยือนและชิมทุกวัน” อาจารย์บอก

ข้อแนะนำสร้างรายได้
เก็บผลสด… ถ้าขายผลสด ต้องรักษาความสดให้ได้ จะดูน่ารับประทาน การขายก็แล้วแต่สถานที่แต่ละที่ ส่วนมากอาจารย์ขายผลสด กิโลกรัมละ 100 บาท เฉลี่ยทั้งหมดประมาณ 4,000-6,000 บาท ต่อครั้ง ให้ผลผลิต 2 ครั้ง ต่อปี นอกจากนั้น ก็ให้ผลผลิตเรื่อยแต่ไม่มาก เป็นบางต้น แต่ก็ขึ้นกับการที่เราดูแลเรื่องน้ำเรื่องการจัดการ หรือตัดแต่งกิ่ง

กวนหรือทำแยม…อัตราส่วน ถ้าไม่ต้องการหวานมาก ผลหม่อนหิมาลายันสด 1.5 กิโลกรัม น้ำตาล 0.50 กิโลกรัม น้ำมะนาว 1 ผล แบะแซ 1 ช้อนแกง เกลือ 1 ช้อนกาแฟ นำหม่อนสด 1 กิโลกรัม ไปปั่นให้ละเอียด ส่วนอีก 0.50 กิโลกรัม หั่นหยาบ นำส่วนผสมหม่อนหิมาลายันปั่น และน้ำตาล แบะแซ น้ำมะนาว ไปกวนในกระทะไฟอ่อนๆ กวนไปจนงวดและพอข้น ยกลงเก็บใส่ภาชนะ เช่น ขวด (ให้นำไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อน) เก็บไว้รับประทานได้ ส่วนการกวนหิมาลายันก็คนต่อไปเรื่อยๆ จนข้นและแห้งไม่ติดกระทะก็ใช้ได้

“การปลูกหม่อนหิมาลายัน นอกจากปลูกเป็นรายได้เสริมแล้ว บางท่านที่มีพื้นที่น้อย อาจจะปลูกไว้ดูเล่นเป็นไม้ประดับสักต้นสองต้น ก็ทำให้มีผลไม้ได้รับประทานทุกเช้าและยังเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

อาจารย์วิเชียร บุญเกิด ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 161/2 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ถือว่าเป็นปราชญ์พื้นบ้าน ที่ทุกท่านที่ได้รู้จักและสัมผัสในวิสัยทัศน์ของท่าน ต้องยอมเรียกว่า อาจารย์วิเชียร ที่ได้ลองผิดลองถูก และคร่ำหวอดอยู่กับต้นไม้มานานหลายปี ในวัยของท่านตอนนี้ก็กว่า 70 ปี แต่ไฟในตัวของอาจารย์ปราชญ์พื้นบ้านท่านนี้ไม่ได้หมดไปตามวัย มีแต่การคิดค้นและพัฒนาพืชเศรษฐกิจให้มีรายได้ที่ยั่งยืน และพัฒนาต่อยอดของพันธุ์พืชใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าของพื้นเมืองและคุณภาพดี โดยการนำมาเสียบยอด โดยใช้พันธุ์พื้นเมืองเป็นต้นตอ ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อโรคพืช และหาอาหารได้ดี ดังเช่น ต้นหม่อนหิมาลายัน มัลเบอรี่ ซึ่งมีรสชาติหวานและขนาดของผลยาว 3-4 นิ้ว

อาจารย์คิดอย่างไร ถึงได้ปลูกผลไม้ชนิดนี้
“ผมคิดว่า การมีผลไม้ใหม่ๆ ที่มีรสชาติดีๆ ทุกครั้งเจอแต่เปรี้ยว ต้องสุกจริงๆ ถึงจะมีรสหวานอมเปรี้ยว แต่ก็อร่อยไปอีกแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่พบเจอในบ้านเราจะค่อนข้างเปรี้ยว แต่ดกเต็มต้น ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี และโตเร็วมาก ผมก็เลยคิดว่า ถ้านำมาเป็นต้นตอ โดยผมได้เสาะแสวงหาพันธุ์ที่มีรสชาติหวาน และผลขนาดยาวกว่าพันธุ์พื้นเมือง และยังมีสีสันสวยงาม ลักษณะฉ่ำน้ำ ก็คือ พันธุ์หิมาลายันมัลเบอรี่ ซึ่งอยู่แถบเขตหนาว และให้ปรับตัวอยู่ในเขตร้อนได้ ผมจึงนำมาเสียบยอดกับต้นตอ พันธุ์พื้นเมือง เชียงใหม่ 60 ก็เจริญงอกงามดี และให้ผลผลิตอย่างที่เห็นครับ” อาจารย์บอก

อาจารย์สร้างรายได้จากการทำสวนอย่างไร
“ที่สวนผมปลูกพืชผสมผสานหลากหลาย ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปีครับ ผมมีเนื้อที่ 17 ไร่ มีละมุดยักษ์ทูอินวัน ที่มีลักษณะผลกลมและรีอยู่ในต้นเดียวกัน มีมะเดื่อฝรั่ง หรือฟิก มะนาวแป้นดกพิเศษกำแพงเพชร มะยงชิด มะขามป้อมยักษ์ ส้มโอแดงบางนรา และส้มโอแดงฮานอย ชมพู่อี้เหวิน ดำ แดง และเขียว และยังมีลำไยขาวพวงใบเตย ที่เมล็ดลีบ และออกลูกทั้งปี เป็นลำไยทะวาย เป็นต้น…ตามความคิดของผมนะครับ ถ้าเราทำสวนไม้ผล ในเนื้อที่ไม่มาก ผมแนะนำให้ทำสวนผสม จะได้มีรายได้ทั้งปีครับ เพราะว่าผลไม้แต่ละอย่างให้ผลต่างกันในแต่ละเดือน

ทำให้มีรายได้ไม่ขาด มีหมุนเวียนตลอดครับ เช่น เดือนมีนาคมมีละมุดออกก็ได้รายได้จากละมุด เดือนเมษายนมีมะเดื่อฝรั่งออก ก็ได้จากมะเดื่อ จะพยายามบริหารจัดการเรื่องการปลูกของพืชแต่ละอย่าง ค่อยๆ ทำไปครับ ถ้าเกษตรกรหรือท่านที่สนใจจะปลูกพืชเหล่านี้ ผมยินดีแนะนำครับ ติดต่อสอบถามได้ครับ ผมยินดีที่จะให้ความรู้จากประสบการณ์ตรงของผม และผมต้องการเผยแพร่เคล็ดลับต่างๆ ให้ชนรุ่นหลังได้นำไปปฏิบัติ ความรู้นี้ถ้าผมไม่เผยแพร่ก็จะตายไปกับผม ไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง นี่คือ ปณิธานของผมครับ” อาจารย์บอก

ต้นหม่อนหิมาลายัน นอกจากเหมาะสำหรับปลูกเป็นรายได้เสริมแล้ว บางท่านที่มีพื้นที่น้อยอาจจะปลูกไว้ดูเล่น สักต้นสองต้น ก็จะทำให้มีผลไม้ให้รับประทานทุกเช้า และยังเป็นไม้ประดับสวนเล็กๆ ได้อีกด้วย ถ้าสนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ อาจารย์วิเชียร บุญเกิด โดยตรงที่เบอร์โทร. 085-244-1699

น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ปักธงความสำเร็จ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว มุ่งสู่เส้นชัยเศรษฐกิจฐานรากยั่งยืน

นับเป็นเวลา 90 วัน ของปฏิบัติการ ‘สร้างความมั่นคงทางอาหาร’ ในสถานการณ์ ‘โควิด’ ซึ่ง ‘กรมการพัฒนาชุมชน’ (พช.) ริเริ่มผลักดัน ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา กระทั่งเสร็จสิ้นภารกิจด้วยความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทั่วประเทศ เพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ ผ่านการเพาะเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าสู่ผืนแผ่นดิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางออกของประเทศ ไม่เพียงจากภาวะโรคระบาด หากแต่รวมถึงวิกฤตภัยแล้งซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ

โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาประพฤติปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการ องค์การปกครองท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายรวมถึงองค์กรทางศาสนา แม้ตัวเลข 12 ล้านครัวเรือน (ไม่รวมในเขต กทม.) คือเป้าหมายที่ค่อนข้างท้าทาย ในระยะเวลา 90 วัน ทว่า ในวันนี้ได้เกิดขึ้นจริงด้วยกลยุทธ์และความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ส่งสัญญาณถึงการเข้าใกล้เส้นชัย “เศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงและชุมชนพึ่งตนเอง” อันป็นหมุดหมายความสำเร็จสูงสุดของ พช.

‘ผู้นำทำก่อน’ จากก้าวแรกสู่เส้นชัย 12 ล้านครัวเรือน. 12,601,491 ครัวเรือน คือจำนวนที่ร่วมปลูกผักสวนครัว จากเป้าหมาย 12,977,039 ครัวเรือน คิดเป็น 97.11% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563)ไม่เพียงสะท้อนความสำเร็จอย่างรวดเร็วในเชิงปริมาณเท่านั้น หากแต่ยังพิสูจน์ผลลัพธ์ที่น่าพอใจยิ่งจากการดำเนินรอยตาม ‘โก่งธนู โมเดล’ ที่ พช. ได้ส่งพัฒนากรจากทั่วประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำร่องไว้ในพื้นที่ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มาขยายผลเพื่อความยั่งยืนจนเกิดปฏิบัติการทั่วประเทศในที่สุด โดยมีถึง 18 จังหวัด ที่มีการปลูกผักครบถ้วน 100% จากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ตาก อุบลราชธานี พัทลุง สุโขทัย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สกลนคร ชัยภูมิ ตราด บึงกาฬ เพชรบุรี มุกดาหาร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม และ ภูเก็ต นับเป็น 90 วัน ที่เสมือนการจุดพลุเบิกฤกษ์ให้ผู้คนในประเทศหันกลับมาปลูกผักสวนครัวมากขึ้น อันจะเป็นรากฐานเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคตอันใกล้

ย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้น ตั้งแต่ 15 วันแรกหลังคิกออฟ ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลยุทธ์สำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในวันนี้ คือ ‘ผู้นำ ต้องทำก่อน’ ซึ่ง สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดี พช. เป็นต้นแบบในการเปลี่ยนสนามหญ้าหน้าบ้านให้เป็น ‘แปลงผักสวนครัว’ ปลูกพืชนานาชนิด ทั้งคะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง กะเพรา สะระแหน่ และอีกมากมาย ก่อนส่งไม้ต่อให้รองอธิบดี พัฒนากรจังหวัด และข้าราชการ แล้วขยายสู่ท้องถิ่น ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าฯ หอการค้าจังหวัด นายก อบจ. เทศมนตรี ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อีกทั้งผู้นำทุกกลุ่ม จนถึงชุมชนและชาวบ้าน

“ปัจจัยความสำเร็จของทุกจังหวัด เริ่มต้นที่พ่อเมืองซึ่งต่างลงสวนด้วยตัวเอง เป็นตัวอย่างให้ผู้อยู่ใต้ปกครอง ทั้งระดับอำเภอ ตำบล จนถึงชุมชนหมู่บ้าน ในจวนผู้ว่าฯ หรือบ้านพักนายอำเภอ มีแปลงผักภายในบ้าน แล้วค่อยกระจายสู่ชุมชนและครัวเรือน ซึ่งการปลูกผักสวนครัวในบ้าน นอกจากได้อาหารที่ปลอดภัยแล้ว ยังเป็นกิจกรรมครอบครัว สีสันของพืชผักแต่ละชนิด ทำให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง และเก็บไปทำอาหารก็อร่อย” อธิบดี พช. กล่าว

นับล้าน ‘เมล็ดพันธุ์’ ผลลัพธ์แห่งการผนึกความร่วมมือ ไม่เพียงความสำเร็จในจำนวนครัวเรือนที่ร่วมกันปลูกผักสวนครัวทั่วประเทศ หากแต่ปฏิบัติการนี้ ยังสะท้อนถึงความสำเร็จในด้านการผนึกความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่มี พช. เป็นผู้ประสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้มาซึ่ง ‘เมล็ดพันธุ์’ โดยภาคเอกชน สถานศึกษา รวมถึงวัดวาอารามต่างพร้อมใจกันสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชั้นนำของประเทศไทย อย่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ศรแดง’ ซึ่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักกว่า 1 แสนซอง, บริษัท เจียไต๋ จำกัด มอบเมล็ดพันธุ์กว่า 5 แสนซอง, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว รวมถึงกลุ่มโอท็อปของแต่ละจังหวัด ที่กระจายเมล็ดพันธุ์ไปสู่ครัวเรือนทั่วประเทศ พร้อมด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่ลงขันช่วยซื้อเมล็ดพันธุ์ในแต่ละจังหวัด โดยแม่บ้านสมาชิกกองทุนฯ เป็นหัวขบวน

นอกจากนี้ ยังได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับเมล็ดพันธุ์ผักจาก พช. และประทานต่อให้แก่วัดทั่วประเทศ ทั้งยังอนุญาตให้ประชาชนใช้พื้นที่ดินวัดปลูกผักสวนครัว ซึ่งทางคณะสงฆ์ก็ตื่นตัวเปิดพื้นที่วัดในการปลูกพืชผักสวนครัวและช่วยรณรงค์ให้ญาติโยมปลูกพืชผักสวนครัวทุกครัวเรือนด้วย

จากความร่วมมือเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาของปฏิบัติการนี้ นอกจากไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ ในด้านการจัดหาเมล็ดพันธุ์แม้แต่เพียงบาทเดียว ยังเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงการผสานความร่วมแรงร่วมใจในภารกิจเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ พช. มุ่งมั่นจนสัมฤทธิ์ผลในวันนี้

‘ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก’ เกือบ 3 หมื่นสมาชิก 42 ประเทศ พื้นที่สีเขียว ในโลกออนไลน์ นอกเหนือจากการลงแปลงผักในรั้วบ้าน ตลอด 90 วัน ของปฏิบัติการ ยังสร้างความตื่นตัวแก่ประชาชนทุกภูมิภาค ก่อเกิดสังคมออนไลน์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคการปลูกผักอย่างคึกคักผ่านเฟซบุ๊ก ‘ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” ซึ่งมีสมาชิกกว่า 30,000 คน ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งคนไทยทั่วประเทศ ขยายสู่คนไทยในต่างแดนจาก 42 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งคือ สื่อต่างชาติได้ให้ความสนใจกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในวิถีไทย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค (NHK) ที่ลงพื้นที่ถ่ายทำรายการในจังหวัดที่ปลูกผักได้ 100% อีกทั้งปรากฏในเว็บไซต์ข่าว The Japan Agricultural News ซึ่งช่วยกระตุ้นให้คนญี่ปุ่นปลูกผักสวนครัวมากขึ้นอีกด้วย

‘ไม่ใช่แค่ 90 วัน แต่ต้องยั่งยืนถาวร’ ภารกิจที่ต้อง ‘ไปต่อ’ แม้ภาพความสำเร็จจากปฏิบัติการ 90 วัน จะฉายขึ้นอย่างแจ่มชัด ทว่า พช. ยังเดินหน้าสู่ความ ‘ยั่งยืน’ ต่อไป โดยมองการณ์ไกลถึงเป้าหมายในระยะยาว “ไม่ใช่แค่ 90 วัน แต่ต้องทำให้ยั่งยืนถาวร ทำให้ 12 ล้านครัวเรือน มีพืชผักสวนครัวมากชนิดเพื่อบริโภคได้ตลอดปี และขยายผลดูแลชุมชน ด้วยการเอื้อเฟื้อ แจกจ่าย ช่วยเหลือครัวเรือนที่พื้นที่น้อย นอกจากจะปลูกผักครบทุกครัวเรือนแล้ว จำนวนพืชผักจะต้องมากขึ้น ปลูกหลากหลายชนิดมากขึ้น

ลดรายจ่ายได้มากขึ้นและประชาชนสามารถมีรายได้จากการปลูกผัก ซึ่งผมมีแนวคิดว่าจะจัดให้มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ในชุมชน ส่วนระยะยาวอาจจะต้องเชิญชวนให้แต่ละชุมชน แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล รวมตัวกันนำผลิตผลจากครัวเรือนให้กลายเป็นความมั่นคงทางด้านอาหารประจำอำเภอ ประจำจังหวัด และในเชิงเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พช. หวังว่าการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารประจำครัวเรือน จะนำไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อนำผลิตผลมารวมกัน เกิดการแปรรูปหรือส่งขายในจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าอีกมากมายมหาศาล” อธิบดี พช. กล่าว พร้อมย้ำว่า ‘เพียงจุดเล็กๆ ของการปลูกผักสวนครัว นำมาซึ่งประโยชน์มากมาย หากครัวเรือนทั่วไทยร่วมใจปลูกผักสวนครัว เท่ากับเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ต่อให้มีวิกฤตอื่นใดเข้ามา คนไทยก็ไม่มีวันอด’

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จของปฏิบัติการปลูกผักสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ริเริ่ม ขับเคลื่อนและผลักดันโดยกรมการพัฒนาชุมชนจนขยายผลสู่ความหวังอีกมากมายในวันพรุ่งนี้

สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กับภารกิจในการดำเนินงานต่อจากระบบชลประทานหลักสู่การพัฒนาระบบชลประทานในไร่นา เป็นการแพร่กระจายน้ำให้ทั่วถึงทุกแปลงและมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและงานจัดรูปที่ดิน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญของเกษตรกร หากเรามีการบริหารจัดระบบน้ำที่ดี มีการจัดรูปที่ดินที่เหมาะสม จะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยได้
การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม เป็นการจัดระบบชลประทานจากทางน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำอื่นใดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งการจัดสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา

เป็นการดำเนินงานพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมให้สมบูรณ์ทั่วถึงที่ดินทุกแปลง เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการผลิต โดยการรวบรวมที่ดินหลายแปลงในบริเวณเดียวกันเพื่อจัดผังจัดรูปที่ดินเสียใหม่ ให้มีการจัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา การปรับระบบดิน บำรุงดิน การวางแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลการเกษตร รวมถึงการแลกเปลี่ยน การรับโอนสิทธิ์ในที่ดิน การให้เช่าซื้อที่ดิน และการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ในการดำเนินงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและงานจัดรูปที่ดินนั้น ย่อมมีผลประโยชน์ และมีผลกระทบเกิดขึ้น ดังนี้

ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและงานจัดรูปที่ดิน
สามารถรับน้ำและระบายน้ำได้ตามต้องการ ช่วยให้ประหยัดน้ำ มีทางสำหรับการลำเลียงวัสดุทางการเกษตรที่สะดวกขึ้น ส่งผลให้สามารถใช้เครื่องจักรกลได้ ทำให้ที่ดินมีคุณค่าและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและงานจัดรูปที่ดิน นั่นก็คือ
การควบคุมการใช้ที่ดิน มิให้ใช้ทำอย่างอื่นที่มิใช่เกษตรกรรม เว้นแต่ได้รับการอนุญาต เจ้าของที่ดินต้องสละที่ดิน อย่างน้อย 1% แต่ไม่เกิน 7% เพื่อใช้ในการก่อสร้างพื้นที่สาธารณประโยชน์ อาทิ ระบบชลประทาน ถนนทางลำเลียงและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เจ้าของที่ดินทุกแปลงได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการตั้งคณะกรรมการชุมชน เพื่อกำหนดแนวคูและผังแปลง ในการดำเนินงานนั้นต้องมีค่าใช้จ่าย โดยจัดเก็บ 10-20% แต่สามารถนำราคาประเมินที่ดินมาหักลบได้

เชอรี่หวานออสเตรเลีย หรือ อะเซโรล่าเชอรี่

หลายท่านอาจจะเคยเห็น ผลไม้ทรงกลมป้อม เล็กสีแดงสด เมื่อสุกจัดจะมีสามสีอยู่บนต้น คือ เขียว จะเริ่มสู่สีส้มอมเหลือง พอแก่จัดก็จะเป็นสีแดงสดสวยงาม ประดับอยู่บนต้นทรงพุ่มเตี้ย ที่ดกเต็มต้น ตัดกับสีเขียวเข้มของใบ ดูแล้วสวยงาม

ผลไม้ชนิดนี้หลายคนอาจจะส่ายหน้าไม่รู้จัก แต่ถ้าเห็นแล้วก็จะทราบว่าเป็นผลไม้เมืองร้อนทั่วไป พันธุ์พื้นเมืองบ้านเราก็มี ลักษณะเหมือนกัน ต่างกันที่รสชาติ ของไทยเราจะเปรี้ยวจัด ต้องจิ้มพริกเกลือ แต่พันธุ์จากออสเตรเลีย จะหวานอมเปรี้ยวรับประทานผลสดได้เลย

มารู้จักที่มาของ อะเซโรล่าเชอรี่ และผลของการวิจัย

อะเซโรล่าเชอรี่ (Acerola Cherry) สมัครเว็บบาคาร่า อยู่ในพืชตระกูล Malpighiaceae ที่มีลำต้นเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 6 เมตร ออกดอกและผลเป็นช่อๆ ลักษณะคล้ายผลเชอรี่ เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1.25-2.5 เซนติเมตร มีผิวที่บางและช้ำง่ายมาก รสชาติหวานอมเปรี้ยว ผลไม้ขนาดกลมป้อมนี้ มีวิตามินสูง จึงมีบริษัทอาหารเสริมต่างๆ ใช้เป็นส่วนผสม เพื่อชะลอวัย แต่วันนี้ได้นำพืชชนิดนี้มาเสนอให้ทุกท่านเลือกปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้ที่บ้าน โดยการปลูกเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งสดชื่นและคุณค่าทางวิตามินซีสูงชนิดหนึ่ง ที่สามารถจับต้องได้

เราได้อะไรจาก อะเซโรล่าเชอรี่ บ้าง

อันดับแรกพบว่า จากขนาดอะเซโรล่าเชอรี่ จำนวน 100 กรัม จะให้พลังงานเพียง 59 กิโลแคลอรี เท่านั้น ทำให้เหมาะมากสำหรับเป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก แต่พร้อมกันนี้จะพบว่า ผลอะเซโรล่าเชอรี่ เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวิตามินซี และวิตามินเอ ในต่างประเทศพบว่า อะเซโรล่าเชอรี่ เป็นหนึ่งในผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงมาก จึงทำให้โครงสร้างผิวและคอลลาเจนในผิวแข็งแรง รวมถึงวิตามินเอที่มีมากและให้ประโยชน์ในด้านการรักษาบาดแผล และรวมถึงการปกป้องกันผิวจากแสงแดด ซึ่งอะเซโรล่าเชอรี่ ให้วิตามินซีสูงถึง 1,644 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่ร่างกายต้องการหลายเท่า เช่นเดียวกับวิตามินเอ ที่ได้รับถึง 752 หน่วย และเนื่องจากวิตามินทั้ง 2 ตัวนี้ จึงมีผลต่อการกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว

แม้จะดูเหมือนว่า อะเซโรล่าเชอรี่ จะมีผลดีมากในด้านการให้วิตามินซี แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะรับประทานได้ทุกคนอย่างไม่มีข้อควรระวัง เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงมาก วิตามินซีอาจทำปฏิกิริยากับยาในกลุ่มควบคุมการแข็งตัวของเลือด และอาจลดประสิทธิภาพของยาลงได้ และสำหรับวิตามินที่สูงมากก็อาจมีผลต่อการทำงานของไต ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่แล้ว การบริโภคอะเซโรล่าเชอรี่ควรอยู่ในการควบคุมหรือให้คำแนะนำของแพทย์ด้วย จึงจะปลอดภัยในการบริโภค

ทั้งหมดนี้คือ อะเซโรล่าเชอรี่ ผลไม้ที่ให้ประโยชน์ด้านการเสริมสร้างคอลลาเจนและความงามของผิวพรรณ จากวิตามินซีและวิตามินเอที่สูง แต่อยู่ในรูปแบบของสารสกัด (ขอบคุณ ที่มา : ifit4health.com)

เชอรี่หวาน หรือ อะเซโรล่าเชอรี่ เป็นหนึ่งในผลไม้ที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่ามีปริมาณวิตามินซีอันอุดมสมบูรณ์ที่สุด ชนิดหนึ่งของโลก โดยมีวิตามินซีมากกว่าส้มถึง 50 เท่า นอกจากนั้น ยังมีสารอาหารตามธรรมชาติ ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกว่า สารพฤกษเคมี (Phytofactors) นิยมนำมาผลิตอาหารเสริมบำรุงผิว