การปลูกไม้แดงนั้นไม่ยุ่งยาก แต่กลับมีประโยชน์มากมาย

ต่อระบบนิเวศน์ในสวนผลไม้ สามารถเป็นไม้ใหญ่รับแรงลมพายุฝนได้ เป็นร่มเงาให้สวนร่มรื่น และถ้าปลูกรอบๆ สวน จะเป็นแนวคันสวนได้เป็นอย่างดี

ไม้แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบ เทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้นเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม

ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ปลายใบแหลมมน ดอกสีเหลือง ขนาดเล็กขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่มๆ ดอกจะออกราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม แล้วเป็นฝัก ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอมีส่วนปลาย ฝักแข็งยาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา

ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียว ทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี

ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และมีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม้แดงมีความทนทานสูงมาก ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทำให้สามารถนำไปใช้งานกลางแจ้งได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมนำไม้แดงไปใช้ในการก่อสร้าง เป็นโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน ทำเป็นพื้นบ้านไม้แดง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องมือทางเกษตร และทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำไม้แดงไปใช้ในการทำปาร์เก้ได้รับความนิยมรองจากไม้สักปาร์เก้ ใช้ทำเสา รอดตง ขื่อ ฝา ทำกระดานข้างเรือ เรือใบ เรือสำเภา คราด ครก สาก กระเดื่อง ส่วนต่างๆ ของเกวียน ทำสะพาน หมอนรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือต่างๆ แกะสลักก็ได้ ประโยชน์ของไม้แดงทางสมุนไพร เช่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิต และโรคกษัย แก้พิษ โลหิต และอาการปวดอักเสบของฝีต่างๆ เปลือกมีรสฝาดใช้สมานธาตุ ดอกผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ดรับประทานได้ เหล่านี้คือประโยชน์ของไม้แดง ซึ่งยังมีมากมายนัก

คุณนนท์ เล่าถึงที่มาที่ไปของการนำไม้แดงเข้ามาปลูกในพื้นที่สวนว่า เมื่อ 7 ปีที่แล้วไปเที่ยวน้ำตกที่จังหวัดกาญจนบุรี ไปเห็นไม้แดงบริเวณน้ำตกสังเกตุลำต้นดูตรง ยิ่งต้นใหญ่ๆ ก็เหมาะที่จะนำลำต้นมาแปรรูปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้ จึงศึกษาเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ปรับให้เข้ากับสภาพสวน ที่สำคัญพบว่าไม้แดงโคนถูกน้ำท่วมก็ไม่ตาย

คุณนนท์ บอกว่า แรกๆ พยายามศึกษาหาข้อมูล แต่หาไม่ค่อยได้ จึงต้องทดลองปลูกเอง โดยซื้อกิ่งพันธุ์ไม้แดงมาปลูก ไปซื้อตามตลาดนัดต้นไม้บ้าง ที่ร้านขายพันธุ์ไม้แถวอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ ซื้อมากว่า 400 กว่าต้น ความสูงกิ่งพันธุ์ประมาณ 1 ฟุต

“จริงๆ แล้วไม้แดงนั้นมีการทดลองปลูกได้ผลมาแล้ว แต่ตอนนั้นองค์ความรู้ยังไม่มีการเผยแพร่กันออกมา ผมเลยต้องทดลองปลูกเอง” เมื่อได้กิ่งพันธุ์ไม้แดงมาก็วางแผนลงปลูกรอบๆ สวนประมาณ 80 ไร่ ทำเป็นคันดินกว้างลงปลูกพร้อมกับพันธุ์ปาล์มด้านนอก ด้านในสลับกัน ใช้ระยะปลูกห่างประมาณ 4 เมตรต่อต้น เมื่อต้นโตจะเป็นแนวไม้ใหญ่ล้อมรอบสวนผลไม้ที่มีอยู่ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ไผ่ และไม้ผลอื่นๆ

คุณนนท์ บอกด้วยว่า หลังจากวางแผนการปลูกแล้ว ก็เริ่มต้นด้วยการขุดหลุมปลูกเหมือนกับปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป ไม่ต้องกำหนดอะไรให้ยุ่งยาก ขุดหลุมลึกพอสมควรก็เอากิ่งพันธุ์ออกจากถุงดำแล้วลงปลูกในหลุม กลบดินปากหลุมให้แน่นตามด้วยรดน้ำจนชุ่ม เรื่องปุ๋ยไม่ต้องกังวลเลยสบายใจได้ ไม้แดงลองระบบรากเจริญดีแล้วต้นไม่ตายง่ายๆ ทนร้อน ทนฝน ทนหนาว “ไม้แดงทนได้”

ช่วง 1 – 2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไรเลย “คุณนนท์ สุขแก้ว” บอกว่า ถ้าเราใส่ปุ่ยในช่วงต้นยังอ่อนอยู่จะทำให้ลำต้นอ่อน พอฝนตกลงมาดินชุ่มมาก ๆ ลำต้นจะเอียงได้ ทางที่ดีปลูกแล้วปล่อยไปก่อน จะมาเพิ่มปุ๋ยให้ตอนช่วงปีที่ 3 ช่วงนี้ไม้แดงโตเร็วมาก ปีแรกต้นสูงเมตรกว่าแล้ว พอปีที่ 3 ต้นสูงใหญ่

“ของผมใช้วิธีให้ปุ๋ยมะพร้าว ไม้ผลในสวนก็หว่านให้ไม้แดงไปด้วย พอปีที่ 4 ต้นจะพุ่งสูงขึ้น คราวนี้กลายเป็นแข่งกันพุ่งขึ้นที่สูง เขาจะหนีต้นมะพร้าวในสวน ยอดจะพุ่งสูงกว่าไม้อื่น ๆ ในส่วนช่วงนี้สูงราว 10 เมตรกว่าแล้ว”

คุณนนท์ ยังบอกด้วยว่า การจะให้ต้นไม้แดงพุ่งสูงขึ้น และลำต้นใหญ่ขึ้นจะต้องมีเทคนิคกันบ้าง กล่าวคือ ช่วงปีที่ 3 ต้นฝนจะต้องกรีดเปลือกที่ลำต้นออก การกรีดเปลือกก็ใช้มีดคมๆ กรีดที่เปลือกให้เป็นทางยาวจากที่สูงลงด้านล่าง กรีดเปลือก 3 – 4 แนวรอบต้น แนวหนึ่งกว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จะช่วยให้ต้นขยายออกจากเปลือก

ปีต่อไปต้นจะเบ่งเนื้อไม้ออกจากรอยกรีดที่เปลือก ทำให้ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น ในทางธรรมชาติเปลือกไม้แดงจะแตกออกจากลำต้นเอง เพื่อขยายเนื้อไม้ให้กว้างออกแต่จะช้ามาก สู้เราช่วยกรีดเปลือกให้ไม่ได้ ต้นจะโตเร็วมากในปีต่อ ๆ ไป

ไม้แดงอายุ 7 ปี ได้ขนาดหน้า 6 หน้า 7 แล้ว ไม้แดงอายุ 6 ปี สามารถตัดมาทำเสา ทำตอหม้อสะพานได้ แต่ถ้าให้ดีควรปลูกให้ได้อายุ 15 ปี จะได้ไม้หน้า 9 – 10 นิ้ว

“ที่สวนผมอายุ 7 ปี ได้หน้ากว้าง 82 เซนติเมตรแล้ว ที่บ้านผมเป็นสวนป่า นกมาอยู่อาศัยมากมาย ถือว่าที่นี่เป็นแหล่งออกซิเจนของตำบลก็ว่าได้ ปลูกต้นไม้ไว้ 5 พันกว่าต้น ทั้งไม้ป่ายืนต้นและไม้ผล มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้มีประมาณ 3 พันกว่าต้น ความหวานหอมหายห่วง ส่งประกวดได้รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดและระดับภาค”

การปลูกไม้แดงเสริมในพื้นที่สวนเหมาะมาก เพียงแค่ลงมือปลูก ไม่นานโตทันใจ ใช้เวลาปลูก 7 ปี ตัดขายได้ ไม้แผ่นยาว 4 วา หน้า 20 นิ้ว ราคา 2 – 3 หมื่นบาท อีก 10 ปีข้างหน้า ราคาไม้กระดานไม้ปลูกบ้านหลังหนึ่งราคาเป็นล้านบาท หากลงทุนปลูกไม้เองวันนี้ กว่าจะตัดเราก็ได้ประโยชน์จากธรรมชาติมหาศาล

คุณนนท์ บอกอีกว่า ไม้แดงในพื้นที่ดอนปลูกได้ดีแต่พื้นที่นาต้องทำคันยกร่องจะดีกว่า อย่าให้ไม้แช่น้ำแฉะเกินไป ธวัชร กิตติปัญโยชัย ชาวนาในพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม สมาชิกกลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ เครือข่ายสามพรานโมเดล เลือกที่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำเกษตรเคมี มาสู่ระบบอินทรีย์ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ สร้างตลาดเป็นของตัวเอง และกำหนดราคาขายได้เอง สร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับครอบครัว

ในอดีต ธวัชร เคยตกอยู่ในสภาพเดียวกับชาวนาทั่วไปที่ต้องนำผลผลิต เข้าระบบการจำนำ การประกันราคาข้าว ตามมาตรการของรัฐในยุคต่างๆ แม้จะขายข้าวได้ราคา แต่ไม่มีเงินให้เหลือเก็บ เขาจึงเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง หันกลับไปสู่การทำเกษตรแบบผสมผสานด้วยระบบอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ธวัชร เล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีตที่ดินทำกินแห่งนี้เคยปลูกส้มโอทั้งหมด โดยใช้ปุ๋ยและยาเคมีในการผลิต มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ทำให้หน้าดินเสื่อมอย่างหนัก หลังน้ำท่วมใหญ่ในปี2554 ได้เปลี่ยนมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำนาอยู่ตรงกลางแล้วใช้สวนล้อมรอบ เข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล เพื่อเรียนรู้วิถีการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ

การทำนาอินทรีย์ หากไม่มีความมานะ อดทน ประสบความสำเร็จยาก ธวัชร เล่าว่า รอบแรกของการทำนาเจอปัญหาเรื่องวัชพืช เพราะการทำนาหว่านจะไม่สามารถคุมหญ้าได้ ข้าวกับหญ้าจะขึ้นและโตไปพร้อมกัน บางครั้งหญ้าเบียดข้าวจนเล็กแกร็นได้ผลผลิตน้อย จึงทดลองเปลี่ยนมาทำนาโยน ก็ได้ผลดีเพราะต้นกล้าจะมีความแข็งแรงและต้นพันธุ์โตกว่าหญ้า เมื่อโยนไปแล้วปล่อยน้ำเข้านา แล้วใช้แหนแดงคลุม แหนแดงจะช่วยปิดแสงไม่ให้หญ้าเติบโตได้ ขณะเดียวกันแหนแดงจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นปุ๋ยไนโตรเจนชั้นดีให้กับต้นข้าวอีกด้วย

ธวัช บอกว่า หัวใจสำคัญการทำเกษตรอินทรีย์ขั้นตอนการเตรียมดิน ถือว่าสำคัญที่สุด ถ้าดินดี ข้าวก็จะเจริญเติบโตดี ผลผลิตที่ได้ก็จะดี จึงต้องหมักดินกับปุ๋ยคอกให้ได้ที่ก่อน ดูแลกำจัดวัชพืช โดยใช้วิธีหมักสมุนไพร ซึ่งมีส่วนผสมของเหล้าขาว บอระเพ็ด ขมิ้นชัน พริกแห้ง น้ำส้มสายชู นำน้ำไปฉีดพ่นในนาข้าวเพื่อป้องกันเพลี้ย และผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ขึ้นใช้เองโดยซื้อหัวเชื้อมาเพาะกับข้าวเปลือก เริ่มจากใช้วิธีหุงข้าวเปลือกแบบดงข้าวแล้วเหยาะเชื้อไตรโคเดอร์มา ลงไปหมักทิ้งไว้ 2 วัน เชื้อจะมีสีเขียว นำข้าวเปลือกมาล้างน้ำ เอาน้ำไปฉีดต้นข้าวทำให้รากข้าวแข็งแรง เมื่อรากแข็งแรงต้นข้าวจะโตและสูง ส่วนข้าวเปลือกก็นำไปใส่โคนต้นอีกที

ปัจจุบัน ธวัชแบ่งที่ดิน 20 ไร่ ทำนาปลูกข้าวหอมปทุม และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ส่งขายโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ผ่านโครงการสามพรานโมเดล ในราคาเกวียนละ 18,000 บาท และขายเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่ชาวนาในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่ขายปลีกกิโลกรัมละ 80-100 บาท ภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ “น้ำฟ้า” วางขายที่ตลาดน้ำดอนหวาย อีก 10 ไร่ ล้อมรอบนา ปลูกพืชผสมผสานทั้ง ส้มโอ กล้วยมะนาว มะพร้าวน้ำหอม ขนุน พืชเหล่านี้ให้ผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี

หากใครสนใจอยากเรียนรู้ เคล็ดลับความสำเร็จการทำนาข้าวอินทรีย์ กับ ธวัชร กิตติปัญโยชัย และ ชาวนากลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ เครือข่ายสามพรานโมเดล สามารถหาคำตอบได้ในงานสังคมสุขใจ “เท่นอกกรอบ…ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์สู่ชีวิต ที่ สมดุล” ตั้งแต่ศุกร์ที่ 7 ถึง อาทิตย์ที่ 9 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่ เวลา 09.00-17.00 น. ที่ สวนสามพราน จ.นครปฐม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่

ความเปรี้ยวที่เป็นจุดเด่นของมะขามถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา ทั้งด้านการปรุงอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม หรือล่าสุดได้รับความนิยมมากในวงการความงาม ด้วยเหตุนี้มะขามเปรี้ยวจึงถูกมองว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก

“มะขามเปรี้ยว” จัดเป็นไม้พื้นถิ่นที่เกิดและเติบโตได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพดิน เป็นไม้ผลที่ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมาก มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เนื้อไม้แข็งแรงจนมีการนำมาใช้ทำเป็นเขียง หรือใช้ไม้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หรือปลูกสร้างบ้านเรือน ทุกพื้นที่ของประเทศก็สามารถปลูกมะขามเปรี้ยวได้ จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะขามเปรี้ยวกันเพิ่มขึ้น ทั้งที่ปลูกไว้ตามบ้าน หัวไร่ปลายนา หรือแม้แต่ปลูกเป็นสวนเชิงการค้า ผลผลิตของมะขามเปรี้ยวสามารถเก็บขายได้หลายแบบหลายช่วง เช่น เก็บยอดอ่อน เก็บมะขามฝักเปรี้ยวได้รับความนิยมปลูกกันมากขึ้น โดยพันธุ์ที่ได้รับความสนใจแล้วกำลังมาแรง คือ “มะขามเปรี้ยวยักษ์”

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ มะขามเปรี้ยว เป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยอดอ่อนจนถึงฝักแก่ ส่วนของเนื้อมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ มีกรดทาร์ทาริกสูง ประมาณ 12-14 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์หลายชนิด จึงทำให้มีรสเปรี้ยว ทั้งยังมีสารพวก “แพคติน” และ “กัม” อยู่ด้วย สารประเภทนี้ คือ antraquinone มีฤทธิ์เป็นยาระบาย และช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกายได้ด้วย เนื้อมะขามเปรี้ยวฝักยักษ์เวลาสุกมีรสเปรี้ยวมากกว่ามะขามเปรี้ยวธรรมดา 2 เท่า ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร อ่อน เก็บฝักดิบ ทำแช่อิ่มหรือเข้าโรงงานดองมะขาม เก็บเป็นมะขามเปียก แม้กระทั่งเมล็ดมะขามก็ยังสามารถขายได้ และมะขามเปรี้ยวยังใช้ส่วนต่างๆ ในการเข้าสู่วัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น มะขามยา เครื่องใช้ในครัวเรือน และยังทำเป็นในรูปอุตสาหกรรมได้อีก เช่น โรงงานน้ำพริก เครื่องปรุงน้ำพริกมะขามเปียกสำเร็จรูป สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ เครื่องสำอาง ไวน์ แยม ซอสมะขาม ลูกอม เครื่องดื่ม ชามะขาม เยลลี่ ยาระบาย ยาลูกกลอน เป็นต้น ย่อมส่งผลต่อความต้องการที่มากและต่อเนื่องในแต่ละปี

“มะขามเปรี้ยวยักษ์” เป็นพืชทนแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นพื้นที่เขา ค่อนข้างแห้งแล้ง การปลูกมะขามของที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่มีระบบน้ำอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก ธรรมชาติของมะขามมีความแข็งแรงทนทานมาก มะขามเปรี้ยวจะเริ่มสลัดใบในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในช่วงหน้าร้อนยิ่งแล้งก็ยิ่งร่วง แต่หลังจากที่รับน้ำในต้นฤดูฝน มะขามเปรี้ยวก็จะแตกใบอ่อน และในการแตกใบอ่อนก็จะออกดอกติดฝักมะขามจะออกหลายชุดในปี แต่ในหนึ่งชุดนั้นจะมีหลายชุด ประมาณ 10-20 ชุด

ชุดแรกจะออกในช่วงต้นฝนประมาณเดือนพฤษภาคมแต่ก็ยังติดไม่มากนัก บางครั้งเจอลมเจอฝนออกก็อาจจะร่วง ส่วนชุดถัดไปจะเริ่มติดมากขึ้นในแต่ละรุ่นการสุกก็จะอยู่ไล่เลี่ยกัน ใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงฝักแก่ก็ประมาณ 3-4 เดือน เลยทีเดียว แต่ถ้าจะเก็บฝักดิบในการนำไปแช่อิ่ม จะอยู่ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ชุดแรกฝักแก่ประมาณเดือนธันวาคมแล้วก็ไล่ไปเรื่อยจนถึงชุดสุดท้าย อาจเก็บฝักแก่ประมาณเดือนมีนาคม

วิธีจะดูว่าฝักมะขามจะเก็บได้หรือยัง ในฝักแก่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า มะขามกอก เราจะสังเกตจากสีของเปลือกมะขามจะมีสีน้ำตาลนวลๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลเหลือง เวลาสุกให้ใช้นิ้วดีดเบาๆ จะมีเสียงออกกลวงๆ แต่ถ้ายังไม่สุกเสียงในการดีดฝักจะออกแน่นๆ ในฝักที่สุกแล้วใช้นิ้วขูดที่ผิวของฝักจะไม่เป็นริ้วรอย เนื้อจะแห้งยุบตัวแยกออกจากเปลือก

ทรงพุ่มต้นรูปทรงกลมแบน กิ่งมีมุมกว้างค่อนข้างกระจายทั่วทรงพุ่ม ใบย่อยขนาดค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร เริ่มออกดอกชุดแรกประมาณเดือนมกราคม-เมษายน ระยะเวลาการบานของดอกแรกถึงดอกสุดท้ายในช่อดอก ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน ฝักค่อนข้างแบนและโค้งเล็กน้อยคล้ายดาบ ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ฝักดก ลักษณะเด่นของมะขามเปรี้ยวยักษ์ จะเจริญเติบโตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกได้เมื่ออายุ 3 ปี หลังปลูก และในต้นอายุ 5-6 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยในแต่ละปีสูงถึง 500 กิโลกรัม ต่อต้น ฝักมีขนาดใหญ่ ความยาวของฝักประมาณ 20-25 เซนติเมตร คิดเป็นน้ำหนักฝัก 5-8 ฝัก ต่อกิโลกรัม เมื่อนำมาแกะเปลือกมะขามสด 10 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักเนื้อมะขามเปรี้ยว ประมาณ 7-8 กิโลกรัม ทีเดียว

ตัวอย่างเกษตรกร ผู้ใหญ่บ้านนิเวศน์ เชื้อหงษ์ บ้านวังไทรทองเหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. 080-506-8863, 091-841-8261 ผู้ใหญ่นิเวศน์ เล่าว่า ตนเองปลูกมะขามหวานมานาน เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นแหล่งปลูกมะขามหวานได้ดี จะเริ่มเก็บผลผลิตมีรายได้ช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมของทุกปีเป็นต้นไป และมีสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอีกจำนวนหนึ่งซึ่งจะมีรายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี ส่วนมะขามเปรี้ยว ปลูกมานานกว่า 12 ปี ซึ่งมะขามเปรี้ยวตอนนี้มีจำนวน 60 ต้น ที่ให้ผลผลิต ในปีที่ผ่านมาให้ผลผลิตมากกว่า 15 ตัน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ของทุกปี

ผู้ใหญ่นิเวศน์ เล่าว่า เริ่มต้นปลูกมะขามเปรี้ยวเพราะตนเองเป็นเกษตรกรปลูกมะขามหวานอยู่แล้ว แล้วมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวอำเภอเขาค้อ และเห็นว่าทางอำเภอเขาค้อมีมะขามเปรี้ยวแช่อิ่มขายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่น่าสนใจมาก ซึ่งได้ลองซื้อรับประทานก็พบว่ามะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มรับประทานอร่อยมาก และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากในการซื้อกลับไปเป็นของฝาก ก็เกิดความสนใจที่จะลองปลูกมะขามเปรี้ยวดู ก็ได้หากิ่งพันธุ์มะขามเปรี้ยวยักษ์มาปลูกครั้งแรก 100 ต้น แต่เมื่อหลายปีก่อนเกิดพายุลม ทำให้ต้นหักโค่นจำนวนมาก ตอนนี้ต้นที่ให้ผลผลิตเต็มที่มีราวๆ 60 ต้น ก็มาปลูกซ่อมช่องว่างที่เหลือหมดแล้ว ก็กำลังให้ผลผลิตเช่นกัน และอนาคตก็จะปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์เพิ่มอีก ซึ่งมะขามเปรี้ยวยักษ์จะได้เก็บเกี่ยวฝักสด ฝักสุก (มะขามเปียก) หรือนำไปแปรรูปก่อนที่มะขามหวานจะออก เกษตรกรก็จะมีรายได้ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวมะขามหวาน

“อย่างมะขามเปรี้ยวยักษ์นั้น จะเริ่มออกดอกช่วงหน้าแล้ง คือราวๆ เดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี ถ้าต้องการให้ได้ราคา หมายถึงให้ออกดอกเร็วกว่าปกติเล็กน้อยจะได้ทันราคาสูง อย่างพอเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ควรจะต้องรีบตัดแต่งกิ่งมะขามให้เสร็จ การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และควรตัดแต่งรักษาทรงไม่ให้สูง (แบบต้นเตี้ย) เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดกิ่งเบียด กิ่งแห้ง กิ่งแน่นทึบ ในทรงพุ่มออก”

จากนั้นต้องรีบใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้กลับมาสมบูรณ์ให้ดีที่สุด เช่น ใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมนทางใบ สร้างใบใหม่ให้ต้นมะขามเปรี้ยวได้สะสมอาหารอย่างเต็มที่เสียก่อน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง อย่างเดือนมีนาคม เราจะฉีดพ่นสารเอทิฟอน โดยใช้อัตราสารเอทิฟอน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ใบมะขามเปรี้ยวร่วง หลังฉีดพ่นสารเอทิฟอนได้ราว 5-7 วัน ใบมะขามเปรี้ยวจะเริ่มแห้งและร่วง ราวๆ 15 วัน ใบมะขามก็จะร่วงหมดต้น

ช่วงนี้หากใครมีระบบน้ำจะดีมากๆ จะช่วยให้ใบมะขามแตกออกมาเร็วและสม่ำเสมอดีมาก แต่ที่สวนแถบนี้ไม่มีระบบน้ำก็อาศัยธรรมชาติของท้องถิ่นที่ค่อนข้างเย็นไม่ร้อนมากนักในช่วงเดือนเมษายน มีความชื้นจากแนวเขาก็พอสามารถทำให้ต้นมะขามก็จะแตกใบใหม่ออกมาพร้อมๆ กันทั้งต้น และการแตกใบใหม่จะมาพร้อมกับการออกดอกด้วยเช่นกัน แล้วดอกจะบานในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากสวนมะขามแถบนี้ไม่มีระบบน้ำ เราก็ต้องฉีดพ่นปุ๋ยทางใบช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้แทน แต่ถ้าเห็นว่ามีฝนก็จะใส่ปุ๋ยทางดินช่วยอีกทางก็จะดีมาก การผลิตมะขามที่นี่ก็จะเน้นฉีดพ่นไปที่ปุ๋ยทางใบสูตรเสมอ ซึ่งจะเน้นใช้ปุ๋ยทางใบสูตรน้ำและฮอร์โมนอาหารเสริมกลุ่มสาหร่ายสกัด ฮิวมัสเป็นหลักเพื่อช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่มะขาม พอเดือนพฤษภาคมก็จะเป็นช่วงมะขามติดฝักอ่อน

ตลอดช่วงที่มะขามแตกใบออกมาก็ต้องเฝ้าระวังแมลงศัตรู เช่น หนอน และแมลงกินใบ พอช่วงออกดอกก็ต้องระวังหนอนเจาะดอก สังเกตดูก่อนที่หนอนเจาะดอกระบาดจะมีผีเสื้อกลางคืนบินอยู่ในสวน แสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาณที่หนอนจะเริ่มการระบาด ต้องฉีดสารเคมีป้องกันหนอนเอาไว้ก่อน ส่วนยาที่ฉีดจะต้องเน้นกลุ่มยาเย็น หรือยาที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน เนื่องจากมีดอก ยาที่ฉีดจะต้องไม่ทำลายหรือสร้างความเสียหายกับดอกมะขามเปรี้ยวด้วย ส่วนเชื้อราก็สำคัญในช่วงดอกก็เน้นยาเชื้อราพื้นๆ ทั่วไป อย่างสารคาร์เบนดาซิมที่เป็นยาดูดซึมจะควบคุมเชื้อราทั่วไปในช่วงดอกได้ดี แต่ข้อดีอย่างหนึ่งคือ มะขามเปรี้ยวไม่ได้เก็บช่วงผลสุก แต่เราเก็บผลดิบขายเป็นหลัก ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องเชื้อรามากเท่ากับมะขามหวานที่มักจะมาสุกแก่ในช่วงที่แถบนี้ยังมีฝนอยู่

ถ้าสรุปส่วนระยะการให้ผลผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวงจรการผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์ออกสู่ตลาด มะขามเปรี้ยวยักษ์นั้นจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากตามธรรมชาติในหน้าแล้งของทุกปีต้นมะขามจะทิ้งใบแล้วพอสร้างใบใหม่ก็จะแตกใบใหม่พร้อมกับการออกดอก จากนั้น 40 วัน หลังจากใบมะขามร่วงหมดต้น ก็จะเริ่มเป็นมะขามฝักอ่อนขนาดเล็ก จากนั้นอีก 45 วัน จะเข้าสู่ช่วงมะขามอ่อนหรือมะขามน้ำพริก จากนั้นอีก 90 วัน จะเข้าสู่ช่วงมะขามแช่อิ่ม และต่อมาอีก 75-80 วัน จะเข้าสู่ช่วงมะขามเปียก

ระยะพักตัว ในช่วงนี้ตามธรรมชาติของฤดูกาลจะอยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นช่วงที่ไม่มีน้ำไม่มีความชื้น อากาศร้อน ใบมะขามจะทยอยร่วงหมดต้นประมาณเดือนเมษายน ยิ่งใบมะขามร่วงมากเท่าใด ยิ่งจะทำให้ต้นมะขามออกดอกติดฝักมากเท่านั้น

ระยะดอก หลังจากที่ต้นได้รับความชื้นหรือน้ำก็จะแตกใบออกมาช่วงนี้ topgoo.net หากมีการฉีดปุ๋ยทางใบอย่างสูตรเสมอหรือฮอร์โมน เช่น สาหร่ายสกัดช่วยให้การแตกใบดียิ่งขึ้นและแตกใบมาทั่วทั้งต้นพร้อมๆ กัน จากระยะใบอ่อนจนถึงเริ่มเป็นใบเพสลาด ดอกก็จะตามออกมา ขั้นตอนนี้ระยะนานสุดไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งระยะนี้การผสมเกสรที่สมบูรณ์จะมีธาตุอาหาร 2 ชนิด ที่มีบทบาทสำคัญมาก คือ แคลเซียมและโบรอน ช่วยให้เกิดการงอกของละอองเกสรเป็นไปอย่างสมบูรณ์ โอกาสที่จะผสมติดจึงมีมาก

การใช้แคลเซียมและโบรอน ให้ฉีดพ่นก่อนดอกมะขามจะบานเรื่อยมาจนถึงระยะฝักโต ทำให้ได้ฝักที่สมบูรณ์ มีการติดเมล็ดสม่ำเสมอ ลดปัญหามะขามไม่ติดฝัก หรือมีมะขามข้อมาก ระยะฝักอ่อนได้ดีมาก จากการสังเกตถ้าช่วงปีไหนดินฟ้าอากาศเหมาะสม มะขามเปรี้ยวยักษ์จะติดฝักเป็นพวงช่อ

แต่ถ้าช่วงนั้นแห้งแล้งมาก มะขามก็จะติดแบบฝักเดี่ยวมากกว่า ในระยะฝักอ่อนถ้าต้นมะขามที่ปลูกมีเส้นผ่านศูนย์กลางยังไม่ถึง 7-8 เซนติเมตร เราไม่ควรจะเอาฝักไว้มากๆ ควรช่วยเด็ดออกในระยะนี้ แต่ก็สามารถขายเป็นมะขามฝักอ่อนได้ ระยะนี้ตั้งแต่ออกดอกจนเก็บขายได้ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน

ระยะฝักดิบ นับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนกลายเป็นฝักดิบนี้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้จะใช้เวลาเก็บไม่เกิน 2 เดือน หลังจากนั้นฝักจะเริ่มสุกแก่เกินที่จะนำไปดองหรือแช่อิ่มแล้ว

ระยะฝักแก่ ช่วงนี้จะเป็นระยะสุดท้ายที่จะเก็บผลผลิตขายกันส่วนใหญ่ ถ้าสวนที่เน้นการขายฝักดิบก็จะเหลือมะขามตกเกรดไว้บนต้น เช่น ฝักสั้น ขายให้กับคนที่ซื้อฝักไปแกะเปลือกเป็นเนื้อมะขามเปียก ระยะนี้จะปอกเปลือกมะขามง่ายมาก

เนื้อมะขามสีก็สวย รสชาติความเปรี้ยวก็เป็นสองเท่าของมะขามเปรี้ยวพื้นบ้าน อัตราการได้เนื้อก็ดี มะขามฝักแก่ 1 กิโลกรัม แกะได้เนื้อมะขามเปียก 5-6 ขีด (แกะแบบเอาเปลือกและเมล็ดออก เหลือแต่เนื้อกับใย) ถ้าเปรียบเทียบกับมะขามธรรมชาติที่ขึ้นตามบ้านทั่วไปแล้วเทียบกับมะขามเปรี้ยวยักษ์ไม่ได้เลยในเรื่องของน้ำหนักเนื้อที่ได้