การป้องกัน ป้องกันผลมะม่วงกระแทกกับกิ่งเป็นรอย โดยการตัด

แต่งกิ่งในทรงพุ่มให้โปร่ง ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ , ในช่วงอากาศร้อน ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ด และยากลุ่มน้ำมัน เพราะจะทำให้ผิวแตกได้ง่าย , ปลูกต้นไม้โตเร็ว เช่น กล้วย , ไผ่เลี้ยง ฯลฯ เป็นแนวกันลมเพื่อไม่ให้ลมมีความแรงมากพอที่จะพัดผลมะม่วงเขียวเสวยกระแทกกับกิ่งหรือลำต้น

ชา เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บผลผลิตจากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย ได้ผลิตภัณฑ์จากชาออกมาหลายประเภท ซึ่งชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป โดยผลิตภัณฑ์ “หงชา” เป็นชาของมูลนิธิโครงการหลวง ผ่านกระบวนการหมักช่วยลดปริมาณคาเฟอีน

คุณสุภาพ ชาวนา นักวิชาการชา มูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า หงชา เป็นชาที่ออกสู่ตลาด โดยเป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมัก 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนชาวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นพันธุ์ชาอู่หลงเบอร์ 12 สำหรับกระบวนการแปรรูปเริ่มจากเก็บใบชาสด 1 ยอด 2 ใบ หรือ 1 ยอด 3 ใบมา แล้วนำใบชาสดมาผึ่งให้ความชื้นลดลง จากนั้นนำใบชาที่ผึ่งแล้วมานวดจนเซลล์เนื้อเยื่อในใบชาแตก ม้วนขดใบชาให้ยาวเป็นเส้น แล้วนำไปวางในชั้นหมักและเข้าสู่กระบวนการหมัก โดยผ่านกระบวนการอ็อกซิเดชั่น (oxidation) หมักจนได้สีและกลิ่นที่ต้องการ แล้วทำการอบแห้งใบชา จากนั้นคัดคุณภาพของชาและอบชาซ้ำอีกครั้ง เพื่อไล่กลิ่นความชื้นและกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ก่อนออกจำหน่าย

การหมักชาเต็มที่อาจทำให้ปริมาณสารต่างๆ ในใบชาลดน้อยลง โดยนักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าหงชามีคุณค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ในหงชามีปริมาณคาเฟอีนน้อย จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการปริมาณคาเฟอีนที่น้อย ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ลดน้ำตาลและคอลเลสเตอรอลในเลือด และกรดไขมันในเลือด ลดปริมาณไกลโคเจน(glycogen) ในตับ ช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้เล็ก ชะลอความชราของร่างกาย ช่วยบำรุงสมองป้องกันโรคพาร์คินสันและอัลไซเมอร์

วิธีการชงที่ให้ได้รสชาติที่อร่อย ตักชาลงในกาชงชาประมาณ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของกาชงชา เติมน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 90-95 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที รินใส่ในกาพักชา แล้วจึงรินดื่ม ชาในกาชงชาสามรถเติมน้ำร้อนได้อีก 2 ครั้ง หรือจนกว่ารสชาติจะเจือจาง

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ มูลนิธิโครงการหลวง โทรศัพท์ 0-5381-0765 ต่อ 104 หรือ 108 หรือ คุณสุภาพ ชาวนา โทร.08-1951-6019

“ชมพู่” จัดเป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนใต้ และได้มีการแพร่กระจายสายพันธุ์มาปลูกมากในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่มีชื่อเสียงในการปลูกชมพู่และมีชมพู่สายพันธุ์ดีๆ ก็คือประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นต้น ที่ผ่านมาชมพู่ที่มีชื่อเสียงในบ้านเรา อาทิ “พันธุ์ทับทิมจันท์” ได้มีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย

หรือแม้แต่ “พันธุ์เพชรปฐม”ได้สายพันธุ์มาจากหมู่เกาะมลายู ประเทศมาเลเซีย ชมพู่ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Water Apple” และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ที่อินโดนีเซียเรียกว่า jambu air, ที่มาเลเซียเรียก Rose apple,ที่ฟิลิปปินส์เรียก “wax apple” และที่ไต้หวันเรียกว่า “bell fruit” เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยพันธุ์ชมพู่ที่มีการปลูกในอดีตมาถึงปัจจุบันแทบจะไม่มีใครปลูกกันแล้วหรือรู้จักกันน้อยมาก เช่น “ชมพู่มะเหมี่ยว” เป็นชมพู่ที่มีขนาดลำต้นใหญ่ ใบกว้างหนาเป็นมันดอกออกบริเวณกิ่งและมีสีแดงสด เมื่อผลแก่จะมีสีแดงเข้มและมีกลิ่นหอมเหมือนดอกกุหลาบลักษณะของเนื้อนุ่มและฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและมีเมล็ดใหญ่ เป็นที่สังเกตว่าในขณะนี้เริ่มมีเกษตรกรไทยหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกชมพู่ม่าเหมี่ยวกันมากขึ้น ดูได้จากร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ได้มีการนำต้นชมพู่เพาะเมล็ดมาจำหน่ายในราคาต้นละ 40-50 บาท

ในหนังสือ คู่มือการทำสวนชมพู่อย่างมืออาชีพ เรียบเรียงโดย คุณสุพจน์ ตั้งจตุพร (สำนักพิมพ์นาคา) ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชมพู่ม่ะเหมี่ยวไว้ว่าเป็นชมพู่ที่มีต้นสูงใหญ่ ความสูงประมาณ8-10 เมตร ปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี จะเริ่มออกดอกติดผลและมีการออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน

ในวงการนักขยายพันธุ์ชมพู่บอกว่าการเสียบยอดชมพู่พันธุ์ดีบนต้นตอชมพู่ม่ะเหมี่ยวจะได้ต้นชมพู่ที่แข็งแรงและมีอายุยืน “ชมพู่สาแหรก” จัดเป็นชมพู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชมพู่ม่ะเหมี่ยว ต่างกันตรงที่ผลของชมพู่สามีสีแดงอมชมพู และมีริ้วจากขั้วมาที่ก้นผล เนื้อมีสีขาวนุ่มรสชาติหอมหวาน ลำต้นและใบคล้ายกับชมพู่มะเหมี่ยว แต่กิ่งแขนงจะตั้งฉากกับลำต้น

และ “ชมพู่น้ำดอกไม้” จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์โบราณของไทยหารับประทานได้ยากมาก ลักษณะของผลถ้าไม่บอกจะไม่รู้เลยว่าเป็นชมพู่ลักษณะของผลถ้าไม่บอกจะไม่รู้เลยว่าเป็นชมพู่เหมี่ยว ในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียลักษณะผลจะออกกลมมีสีขาวอมเหลืองอาจจะมีสีชมพูปนบ้าง จัดเป็นชมพู่ที่มีเนื้อบางกว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นแต่มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นดอกกุหลาบและเมล็ดใหญ่ ื้อบางกว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นแต่มีรสชาติ

ลักษณะต้นของชมพู่น้ำดอกไม้จัดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มขนาดกลาง ใบเล็กเรียวยาวมีสีเขียวเป็นมัน ดอกมีสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นหอม จัดเป็นชมพู่แปลกและหายากในปัจจุบัน

สายพันธุ์ชมพู่ที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย

ในอดีตที่ผ่านมาชมพู่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย คือ “พันธุ์เพชรสายรุ้ง” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงและมีการปลูกมากในเขต จ.เพชรบุรี ชมพู่พันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนานคาดว่ามีการนำพันธุ์มาปลูกที่ จ.เพชรบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2375 ปัจจุบันยังมีปลูกอยู่บ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม ลักษณะเด่นของชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งคือ ขนาดของผลใหญ่ ทรงผลรูประฆังคว่ำ เมื่อผลแก่จะมีสีขาวอมชมพู่ รสชาติหวานกรอบและภายในผลจะมีเมล็ด 1-3 เมล็ด

“พันธุ์ทูลเกล้า” จัดเป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมและครองตลาดมายาวนานสายพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าประวัติความเป็นมาของชมพู่สายพันธุ์นี้เป็นอย่างไรบ้างก็ว่าเป็นชมพู่ที่เกิดการกลายพันธุ์ที่ อ.สามพรานหรือมีคนนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะเด่นของชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าก็คือ ออกดอกและติดผลง่าย ออกทะวายตลอดทั้งปีและไม่เลือกพื้นที่ปลูก มีการขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ลักษณะของผลจะเป็นทรงยาวเมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง เป็นชมพู่ที่มีความหวานไม่มากนัก ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกน้อยลง

“พันธุ์ทับทิมจันท์” หลังจากที่ อ.ประเทือง อายุเจริญ นำพันธุ์ชมพู่พันธุ์ “ซิต้า” มาจากประเทศอินโดนีเซีย นำมาปลูกเป็นครั้งแรกที่ จ.จันทบุรี เมื่อต้นชมพู่พันธุ์ซิต้าที่นำมาปลูกเริ่มให้ผลผลิตพบว่า เป็นชมพู่ที่ผลสีแดงเข้มและมีผลขนาดใหญ่ เนื้อแน่นมีน้ำหนักผลเฉลี่ย 120-130 กรัม เนื้อแน่นและรสชาติหวานมากไม่มีเมล็ด มีคุณสมบัติที่ดีกว่าชมพู่พันธุ์การค้าอื่นๆหลายสายพันธุ์ อ.ประเทือง อายุเจริญ จึงได้ตั้งชื่อว่า “พันธุ์ทับทิมจันท์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ จ.จันทบุรี และในปี พ.ศ. 2541 อ.ประเทืองได้เริ่มขยายพันธุ์กิ่งชมพู่ทับทิมจันท์ออกจำหน่ายได้รับความนิยม มีการนำไปปลูกกันทั่วประเทศ

ช่วงที่ผลผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ออกสู่ตลาดใหม่ๆจะมีราคาแพงมากราคาถึงผู้บริโภคสูงกว่ากิโลกรัมละ100 บาท จากที่ได้กล่าวมาแล้วเมื่อมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากทำให้ราคาตกลง นอกจากสายพันธุ์ชมพู่ที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีสายพันธุ์ชมพู่อีกหลายสายพันธุ์ที่เกษตรกรนำพันธุ์มาปลูก อาทิ พันธุ์เพชรสามพราน, พันธุ์เพชรน้ำผึ้ง, พันธุ์เพชรจินดา ฯลฯ แต่ไม่มีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากนักและเป็นที่รู้จักน้อยกว่าพันธุ์ทูลเกล้าและพันธุ์ทับทิมจันท์

สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรที่คิดจะปลูกชมพู่ในเชิงพาณิชย์จะต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพของผลผลิต การปลูกชมพู่ในพื้นที่มากๆ อาจดูแลไม่ทั่วถึง การให้ปุ๋ยและการจัดการสวนชมพู่เป็นเรื่องสำคัญมาก ฝนเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรที่ปลูกชมพู่โดยเฉพาะในช่วงกำลังติดผล จะพบปัญหาผลแตก ชมพู่เป็นไม้ผลที่ต้องการแรงงานในการห่อผลเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเกษตรกรที่คิดจะปลูกชมพู่ควรจะยึดหลัก “ทำน้อย ได้มาก” คือปลูกและสามารถจัดการสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาถึงปัจจุบันดูเหมือนว่าในวงการผู้ปลูกชมพู่จะเงียบเหงาลง จนกระทั่งได้เริ่มมีการนำเอาสายพันธุ์ชมพู่ยักษ์จากประเทศไต้หวันออกมาเผยแพร่และขายกิ่งพันธุ์ในราคาสูงมาก แต่ยังไม่เคยเห็นผลผลิตว่าปลูกในประเทศไทยแล้วให้ผลผลิตเป็นอย่างไร

ทำความรู้จักกับชมพู่ยักษ์ไต้หวันที่ให้ผลผลิตแล้ว

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่ไต้หวัน ดูงานการเกษตรหลายอย่างที่โดดเด่นที่สุด ก็คือการปลูกกล้วยไม้ฟาแลนนอฟซีสที่ไต้หวันได้ชื่อว่าผลิตเพื่อการส่งออกมากที่สุดในโลก ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการดูงานในครั้งนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตลาดขายพันธุ์ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของไต้หวันซึ่งมีไม้ผลหลากหลายชนิด จะต้องยอมรับกันว่าสายพันธุ์มะม่วงไต้หวันที่มีการนำพันธุ์มาปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาหาซื้อพันธุ์จากที่นี่ อาทิ มะม่วงพันธุ์หยู่เหวิน เบอร์ 6, พันธุ์งาช้างแดง, พันธุ์หงจู ฯลฯ

ผู้เขียนได้ซื้อชมพู่มาต้นหนึ่งราคาต้นละ 500 เหรียญไต้หวันซึ่งเมื่อคิดเป็นเงินไทยประมาณ 500 บาท (ราคาแลกเปลี่ยนเงินตราเงินไต้หวันกับเงินไทยใกล้เคียงกัน) รายละเอียดที่ติดมากับชมพู่ต้นนั้นเป็นภาษาจีนและเมื่อแปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า “ชมพู่น้ำหอมที่ใหญ่เท่ากับฝ่ามือ”

ผู้เขียนได้นำกิ่งพันธุ์ชมพู่ไต้หวันมาเลี้ยงให้ต้นเจริญเติบโตและได้นำยอดมาเสียบบนต้นชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร ได้ปลูกไว้เพื่อบริโภค 2 ต้น และมีอายุต้นประมาณ 5 ปี ได้เสียบยอดชมพู่ไต้หวันบนต้นชมพู่ทับทิมจันท์เพียงต้นเดียว เลี้ยงยอดชมพู่ไต้หวันที่แตกออกมาเป็นเวลาประมาณ 2 ปี และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้น มาทางผู้เขียนเห็นว่าต้นชมพู่ไต้หวันแตกทรงพุ่มใหญ่เห็นว่าควรใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อบังคับให้ต้นชมพู่ออกดอกติดผลนอกฤดู

ในการบังคับให้ต้นชมพู่ออกนอกฤดูนั้นผลปรากฏว่า ต้นชมพู่ได้ออกดอกมาเพียง 1-2 ช่อเท่านั้น ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นมากได้พยายามบำรุงรักษาเป็นอย่างดีเพื่อดูว่าผลชมพู่จะมีขนาดผลใหญ่จริงหรือไม่ ในขณะที่ต้นชมพู่เลี้ยงผลอยู่เพียง 1-2 ช่อนั้น พอเข้าเดือนมีนาคม 2555 ผลปรากฏว่าต้นชมพู่ไต้หวันที่เสียบไว้ทยอยออกดอกทั้งต้น ถึงทุกวันนี้เดือนพฤษภาคม ก็ยังมีดอกออกมา อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาได้มีการฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนสะสมมาโดยตลอด

หลังจากที่ห่อผลชมพู่ไต้หวันไปได้ประมาณ 25-30 วัน (โดยเริ่มห่อในระยะที่ผลชมพู่ถอดหมวกหรือผลใหญ่ขนาดนิ้วโป้ง) พบว่า ผลชมพู่ไต้หวันที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีขนาดของผลใหญ่กว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ผู้เขียนพบมาโดยมีคุณสมบัติของผลดังนี้

“ผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักผลประมาณ 200 กรัม หรือ 5 ผลต่อกิโลกรัม ผิวผลมีสีขาวอมชมพูหรือสีชมพูอมแดง ลักษณะของผลเป็นรูประฆังคว่ำใหญ่ มีความกว้างของผลเฉลี่ย 7 เซนติเมตรและความยาวของผลเฉลี่ย 9-10 เซนติเมตร เนื้อหนามากและเป็นชมพู่ไร้เมล็ด รสชาติหวานกรอบมีความหวานประมาณ 11-12 บริกซ์ ถ้าผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งจะมีความหวานสูงกว่านี้ จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์หนึ่งที่ออกดอกและติดผลดกมาก”

ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จึงได้ตั้งชื่อชมพู่ไต้หวันสายพันธุ์นี้ว่า “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” ผู้เขียนมีความเชื่อที่ว่าชมพู่ยักษ์ไต้หวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการปลูกชมพู่ในประเทศไทยเพราะมีความโดดเด่นในเรื่องขนาดผลและความอร่อยไม่แพ้ชมพู่พันธุ์การค้าสายพันธุ์อื่น

คุณพนม อศรีโศก หรือที่ชาวบ้านแถวโป่งตาลองเรียกติดปากว่า “ป๋าพนม” บ้านเลขที่ 66/1 ม.7 ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร. 086-2524285 ได้รับการยกย่องจากเกษตรกรชาวสวนมะม่วงในเขตนั้นให้เป็นเซียนมะม่วงคนหนึ่งของเมืองไทยเพราะมีความรอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการทำมะม่วง อีกทั้งยังคอยให้คำแนะนำแก่เพื่อนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงด้วยกันทั้งในเขตใกล้เคียงหรือแม้แต่เกษตรกรที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ คุณพนมจะให้คำแนะนำและข้อคิดอย่างไม่มีการปิดบัง

เริ่มปลูกมะม่วงเขียวเสวย แรด และฟ้าลั่น แต่จบที่น้ำดอกไม้ คุณพนม เริ่มต้นอาชีพการทำสวนมะม่วงประมาณพ.ศ. 2527-2528 ในช่วงนั้นการทำสวนมะม่วงจะนิยมปลูกมะม่วงหลายๆ สายพันธุ์ที่ปลูกกันมากก็ได้แก่ เขียวเสวย แรด ฟ้าลั่น หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ ฯลฯ โดยเฉพาะเขียวเสวยเป็นที่นิยมกันมากเพราะตลาดมีความต้องการสูง

มะม่วงเขียวเสวย มีข้อเสีย คือ ดึงช่อดอกยาก ออกดอกติดผลได้ปีละ 1 ครั้ง คุณพนมจึงมองหามะม่วงพันธุ์ที่ออกดอกง่ายก็มาพบมะม่วงน้ำดอกไม้ ในช่วงแรกๆ จะมีแต่พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และต่อมาก็มีพันธุ์สีทองออกตามมา

คุณพนม มองว่า มะม่วงน้ำดอกไม้นั้นเป็นพันธุ์ที่ออกดอกง่าย สามารถทำให้ออกนอกฤดูได้ดีปีหนึ่งสามารถทำผลผลิตได้ 2 รุ่นและที่สำคัญลงทุนน้อยกว่ามะม่วงแรดและเขียวเสวย จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนพันธุ์มะม่วงในสวนทั้งหมดเป็นพันธุ์น้ำดอกไม้ (มีทั้งน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และสีทอง)

เคล็ดลับในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพดี

สูตรของคุณพนม ในการที่จะผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ให้มีคุณภาพดีนั้นคุณพนมมีเคล็ดลับหลายประการที่จะแนะนำให้ชาวสวนมะม่วงทดลองนำไปศึกษาดังนี้ ศึกษาสภาพอากาศแวดล้อม จะต้องดูว่าในเขตพื้นที่ของเรานั้นฝนจะเริ่มตกเมื่อไร และตกชุกที่สุดช่วงไหน ฝนเว้นช่วงไหน และหยุดตกช่วงไหน เพื่อประกอบการกำหนดเวลาในการผลิตมะม่วง จะต้องพยายามให้ดอกมะม่วงออกมาโดนฝนน้อยที่สุดหรือออกมาในช่วงที่ฝนตกไม่หนาแน่นนัก เพราะหากดอกมะม่วงบานในช่วงที่ฝนตกชุกโอกาสเสียหายจะมากและเกษตรกรจะต้องฉีดพ่นยาเชื้อราบ่อยครั้งทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น

ที่สวนคุณพนมหรือพื้นที่ใกล้เคียงในเขต ต.โป่งตาลอง จะนิยมตัดแต่งกิ่งมะม่วงตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน เพื่อให้สามารถดึงดอกได้ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ดอกมะม่วงจะบานประมาณกลางเดือนกรกฎาคมไปจนถึงสิ้นเดือน ในช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ฝนตกไม่หนาแน่นนัก

เคล็ดลับการดูแลมะม่วงก่อนแต่งกิ่ง

ก่อนตัดแต่งกิ่งประมาณ 15-20 วัน จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 15-0-0 (แคลเซียมไนเตรท) ต้นละประมาณ 1-2 กิโลกรัม โดยใส่แล้วฝังกลบแล้วรดน้ำตามทันทีให้ปุ๋ยละลายจนหมด ข้อนี้คุณพนมย้ำมากเพราะหากใส่ปุ๋ยแล้วไม่รดน้ำให้ปุ๋ยละลาย ปุ๋ยก็จะสูญเสีย ปุ๋ยไปโดยเปล่าประโยชน์ คุณพนมเคยเห็นเกษตรกรบางคนใช้วิธีหว่านปุ๋ยรอฝน คือเมื่อเห็นฝนทำท่าจะตกก็ใส่ปุ๋ยรอถ้าฝนตกปุ๋ยละลายหมดก็ไม่เป็นไรแต่บางครั้งใส่แล้วฝนก็ไม่ตกปุ๋ยก็สูญเสียเหมือนเราหว่านทิ้งหว่านขว้างเสียมากกว่า

สะสมอาหารดีดอกจะสมบูรณ์

หลังจากราดสารแล้วจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งการสะสมอาหาร สูตรที่ใช้คือ 8-24-24 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม(ใส่แบบฝังกลบเหมือนเดิม) ส่วนทางใบนั้นจะใช้สูตรนูตราฟอส ซุปเปอร์-เค อัตรา 40 กรัม ผสมกับ โฟแมกซ์ คัลเซียมโบรอน อัตรา 10 ซีซี. และ น้ำตาลทางด่วน (เกรดดี) 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 วัน

เปิดตาดอกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ปกติแล้วเราจะเปิดตาดอกมะม่วงหลังจากราดสารแล้วประมาณ 45 วัน ในการเปิดตาดอกเกษตรกรหลายรายนิยมใช้สารไทโอยูเรียในปริมาณที่สูงการออกดอกจะเร็วและออกดอกมาก แต่บางครั้งพบว่าแม้จะใช้สารไทโอยูเรียในปริมาณที่สูงดอกมะม่วงก็ยังไม่ออก หรือออกก็พบปัญหาดอกไม่สมบูรณ์ ในส่วนนี้คุณพนมแนะนำให้ใช้โปรแตสเซี่ยมไนเตรท อัตรา 400 กรัม ผสมกับ ไทโอยูเรีย อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ส่วนเกษตรกรบางท่านอาจจะใส่ฮอร์โมนจำพวกสาหร่ายสกัดก็สามารถใส่เพิ่มได้

การใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรทในการเปิดตาดอก จะทำให้ดอกออกเสมอและสมบูรณ์กว่า ถ้าเกษตรกรท่านใดมีปัญหามะม่วงออกดอกยาก ลองใช้วิธีนี้ดูรับรองได้ผล

ระยะช่อดอกต้องดูแลเต็มที่ เมื่อสังเกตเห็นมะม่วงเริ่มแตกตาดอกคุณพนมจะเน้นการฉีดสารเพิ่มความสมบูรณ์ให้ช่อดอกอย่างเต็มที่โดยใช้ โฟแมกซ์ คัลเซี่ยมโบรอน อัตรา 10 ซีซี. ผสมกับ น้ำตาลทางด่วน อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น อโรไซด์ หรือ แอนทราโคล สารกลุ่มนี้จะใช้ในกรณีที่ฝนไม่ตก อากาศเปิดแต่ถ้าเป็นช่วงที่ฝนตก อากาศครึ้มจะต้องเปลี่ยนมาใช้สารแซดคลอราชหรือโวเฟ่น หรือสารอมิสตา

การบำรุงช่อดอก

จะต้องฉีดพ่นอย่างน้อย 3 ครั้งก่อนถึงระยะดอกบาน เมื่อดอกบานดอกจะสมบูรณ์ ติดผลง่าย คุณพนมยังย้ำว่าช่วงดอกบานเป็นช่วงที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโรคที่จะมาพร้อมกับน้ำฝน บางครั้งดอกบานฝนตกทุกวันก็ต้องหาเวลาที่ฝนเปิดฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราเพราะหากเราไม่ฉีดพ่นดอกมะม่วงจะเสียหายหมด กรณีฝนตกชุกคุณพนมจะใช้แอนทราโคล 30 กรัมร่วมกับสารแซดคลอราซ 20 ซีซี. ฉีดสลับกับสารอมิสตาอัตรา 5 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ในการฉีดแต่ละครั้งจะเว้นระยะห่างกันประมาณ 3-5 วันแล้วแต่ช่วงเวลาที่ฝนตก ถ้าฝนตกชุกจะฉีดถี่ขึ้น

เมื่อช่อดอกแทงยาวประมาณ 2 นิ้ว จะมีหนอนมาทำลายเราก็จะฉีดยาฆ่าหนอน อาจจะใช้ยากลุ่มเมทโทมิล หรือ เซฟวิน-85 ก็ได้ ฉีดพ่นประมาณ 1-2 ครั้ง หนอนก็จะไม่ทำลาย หรือในระยะดอกบานเพลี้ยไฟจะระบาด ทางราชการเขาให้งดการฉีดพ่นสารเคมีเพราะจะไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสรแต่จริงๆ แล้วถ้าเราไม่ฉีดเพลี้ยไฟกินดอกมะม่วงเราหมดก่อนแน่ก็ต้องฉีด

แต่การฉีดจะต้องเน้นใช้ยาที่ไม่ทำลายดอก เช่น กลุ่มยาผงอย่างสารโปรวาโด ส่วนยาน้ำมันที่ลงท้ายด้วย EC ให้พยายามหลีกเลี่ยงเพราะเป็นยาร้อนจะทำให้ดอกแห้ง เวลาฉีดก็ควรฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นห้ามฉีดเวลากลางวันเพราะอากาศร้อนจัด แต่ก็อาศัยประสบการณ์ทั้งลองผิดลองถูกมาโดยตลอดซึ่งประสบการณ์จะสอนเราได้ดีจนมาถึงวันนี้ ทุกคนจะต้องรู้ว่าตัวยาดังกล่าวสามารถฉีดพ่นได้หรือไม่ มีระยะเวลาตกค้างกี่วัน ฉีดแล้วกี่วันจึงจะเก็บผลิตได้ ถ้าเรารู้อย่างนี้แล้วจะทำให้ชาวสวนมะม่วงไม่ผิดพลาดในการใช้สารเคมี จะได้ไม่เสียโอกาส โดยถ้าส่งออกได้เราจะขายมะม่วงน้ำดอกไม้ได้ถึงกิโลกรัมละ 80-90 บาท แต่ถ้าเราพลาดไม่มีความรู้ในการใช้สารเคมีมะม่วงถูกตรวจพบสารตกค้าง มะม่วงของเราก็จะเหลือกิโลกรัมละ 40 – 50 บาท ราคานี้เกษตรกรก็ยังพอได้ แต่ปีไหนช่วงไหนราคาไม่ดี มะม่วงราคาถูก มะม่วงชุดดังกล่าวอาจจะเหลือเพียงกิโลกรัมละ 20-30 บาทเท่านั้น

การใช้สารเคมี มีความสำคัญมาก ยกตัวอย่างการใช้ยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน-85 สามารถใช้ก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน หรือจะเป็นยาป้องกันเชื้อรา “โพรคลอราซ” ก็ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 14 วันเป็นต้น ต้องทำความเข้าใจในการเลือกใช้สารเคมีต้องดูถึงเปอร์เซ็นต์ของตัวยาด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยตัวยาเดียวกันแต่ราคาต่างกันถึงเท่ากัน แต่เมื่อพิจารณาถึงเปอร์เซ็นต์ยาแล้วพบว่ายานี้ขายถูกๆ ก็มีเปอร์เซ็นต์ยาเพียง 20–30% เท่านั้นแล้วเขาขายเพียงขวดละ 500-700 บาท แต่ยาที่ขายแพงขวดละ 1,000–1,400 บาทนั้น มีเปอร์เซ็นต์ยาสูงถึง 50%

เมื่อเรานำมาใช้ยาที่มีเปอร์เซ็นต์ตัวยาสูงย่อมใช้ได้ผลดีกว่าแน่นอน อีกประการต้องเลือกใช้สารเคมีจากบริษัทนี่เชื่อถือได้ เท่านั้นไม่มีการผสมตัวยาอื่นต้อง ถูกต้องตามฉลากที่เขาระบุไว้ บางบริษัทข้างขวดเขียนว่า “อะบาเม็กติน” แต่พอเราไปใช้ผลปรากฏว่ามะม่วงของเราตรวจพบ “สารคลอไพริฟอส” นั้นทำให้เกษตรกรเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เสียโอกาสเป็นอย่างมาก รายได้ของชาวสวนมะม่วงจะหายไปครึ่งหนึ่งทีเดียวแถมเราเองก็เสียชื่อเสียง

ระยะดูแลผล

เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อนจะต้องฉีดปุ๋ยทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและลดปัญหาผลร่วงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเหลวสูตรเสมอหรือสูตรตัวหน้าสูงร่วมกับน้ำตาลทางด่วน ข้อดีของการใช้ปุ๋ยเหลวคือจะช่วยทำให้ผลมะม่วงโตเร็วและลดปัญหาผลแตกสะเก็ด ซึ่งถ้าใช้ปุ๋ยเกล็ดบางครั้งจะพบปัญหาผลแตกสะเก็ดขายไม่ได้ราคา ส่วนเรื่องเชื้อราในระยะนี้จะใช้สารแอนทราโคลฉีดป้องกันไว้ตลอดจนถึงระยะห่อผลจึงหยุดใช้ยาเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก

ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ต้องห่อผล

ทุกวันนี้ถ้าเราปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ไม่ว่าจะเป็นน้ำดอกไม้สีทองหรือน้ำดอกไม้เบอร์4 เพื่อการส่งออกหรือขายในประเทศก็ต้องห่อผลให้ผิวมะม่วงมีสีสวย ยกตัวอย่างตลาดในบ้านเราไม่ว่าจะเป็นตลาดไท,ตลาดสี่มุมเมือง ถ้ามะม่วงของเราไม่ห่อผลเขาก็จะไม่รับซื้อ หรือซื้อก็จะถูกตีราคาเป็นมะม่วงยำ ส่วนการห่อมะม่วงก็มีปัญหาที่เกษตรกรพบบ่อย คือ เพลี้ยแป้งที่อยู่ในถุงห่อมะม่วง ซึ่งก่อนนั้นเราก็เจอปัญหาเพลี้ยแป้งมาก่อน แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ พบว่าแก้ไขปัญหาเพลี้ยแป้งนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่เราต้องรู้จักการใช้สารเคมีคือใช้ยากลุ่ม “มาลาไธออน” ฉีดสลับกับ “เมทโทมิล” ซึ่งเป็นยาที่ค่อนข้างถูก ไม่แพงแต่อย่างใด

ในช่วงที่เราฉีดพ่นมะม่วงระยะสะสมอาหาร ก็จะเริ่มมีการใช้ยากลุ่มนี้ไปด้วย จะเป็นการกำจัดและป้องกันเพลี้ยแป้งไว้แต่ต้นพบว่าเพลี้ยแป้งจะบางเบาจนเกือบจะไม่มีเลยทีเดียว แต่การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งให้ได้ผลดีที่สุดก็ต้องย้อนไปกำจัดจุดเริ่มต้นของเพลี้ยแป้งคือกำจัด “มด” โดยเฉพาะมดดำ ที่มันจะคาบเอาเพลี้ยแป้งที่มันอาศัยอยู่บริเวณใต้ใบหญ้าใต้โคนต้นมะม่วงขึ้นไปบนต้นมะม่วงเพื่ออาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้ง จึงทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งในมะม่วงนั้นเอง ดังนั้นชาวสวนต้องเริ่มที่กำจัดมดให้ได้เสียก่อน ก่อนที่มดจะคาบเพลี้ยแป้งขึ้นต้นมะม่วง ตัวยาที่ฉีดได้ผลดีมากคือ ยาเซฟวิน-85 ฉีด ทั้งต้นมะม่วงและบริเวณดินโคนต้นมะม่วง เมื่อมดหมดไปเพลี้ยแป้งก็น้อยมาก ทำให้เราฉีดยากลุ่มมาลาไธออนและเมโทมิลน้อยลง เวลานี้แทบจะไม่เจอปัญหาเพลี้ยแป้งอีกเลย

คุณพนมกล่าวทิ้งท้ายว่า การจะทำสวนะม่วงให้ประสบความสำเร็จเราจะต้องเป็นคนช่างสังเกต ต้องหมั่นดูรายละเอียดทุกระยะว่าเกิดอะไรขึ้นกับมะม่วงของเรา จะต้องรู้ว่าระยะไหนมะม่วงต้องการอะไร ระยะไหนศัตรูอะไรจะมาทำลายแล้วหาวิธีป้องกันถ้าทำได้ก็ประสบความสำเร็จ

จริงๆแล้วมะขามเปรี้ยว ตีคู่มาพร้อมกับมะขามหวาน แต่มะขามหวานทำเป็นการค้าจริงจังมากกว่า ชื่อเสียงของมะขามเปรี้ยวจึงเงียบไป

ตามท้องถิ่นในชนบท จะพบมะขามเปรี้ยวต้นขนาดใหญ่ เติบโตมาจากเมล็ด บางคราวเจ้าของเลื่อยทำเขียง แต่ส่วนใหญ่แล้วเก็บผลผลิตมาทำเป็นมะขามเปียกไว้ปรุงอาหาร มีมากก็จำหน่าย

วงการมะขามเปรี้ยวมาฮือฮา เมื่อมีการเปิดตัวมะขามฝักกระดาน ของพลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง เสียบยอดมะขามเปรี้ยว เหมือนมะขามหวาน ทำให้ลักษณะพันธุ์เดิมยังคงอยู่

มะขามเปรี้ยวของพลโทรวมศักดิ์ ได้รับความนิยมมาก โดยเริ่มปลูกที่จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นก็ขยายไปยังจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอื่นๆ

นอกจากสายพันธุ์มะขามเปรี้ยวของพลโทรวมศักดิ์แล้ว มีการศึกษาพันธุ์มะขามเปรี้ยวของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร ต่อมามีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกแล้ว

มีมะขามเปรี้ยวสายพันธุ์ “สะทิงพระ” ถิ่นกำเนิดอยู่จังหวัดสงขลา ผู้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังคือพันเอกวินัย พุกศรีสุข หัวหน้ากองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 กรมการสัตว์ทหารบก ซึ่งมีที่ตั้งอยู่จังหวัดกาญจนบุรี

พันเอกวินัยเล่าว่า ตนเองศึกษาสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่มียศเป็นร้อยเอก เพราะเห็นว่าฝักใหญ่ ฝักดิบที่โตเต็มที่ เคยชั่งได้ 4-5 ฝักต่อกิโลกรัม กรณีนี้ เจ้าของไม่ปล่อยให้ฝักดกมากนัก สายพันธุ์อื่นก็ใกล้เคียงกัน

มะขามเปรี้ยวสะทิงพระ เมื่อฝักสุก หากน้ำหนักมะขาม 1 กิโลกรัม แกะเปลือกและเมล็ด ออกแล้ว…จะเหลือน้ำหนัก 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีมาก

พันเอกวินัยบอกว่า มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์โดยทั่วไป เมื่อต้นอายุ 10 ปี จะได้น้ำหนักมะขาม 300 กิโลกรัมต่อต้น บางปีอาจจะน้อยกว่านี้ เพราะมะขามจะไม่ดกทุกปี

วิธีการขยายพันธุ์มะขามเปรี้ยว นิยมการทาบกิ่ง หรือไม่ก็ปลูกต้นตอในแปลงแล้วเสียบยอดพันธุ์ดีเข้าไป คล้ายมะม่วง

ระยะปลูกมะขามเปรี้ยว ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 25 ต้น เวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกคือต้นฝน

โดยทั่วไป มะขามเปรี้ยวชอบปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก แต่หากทำเป็นการค้าและสังเกตเห็นว่ามะขามติดผลผลิตมาก หลังเก็บเกี่ยวนอกจากปุ๋ยคอก ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ก่อนออกดอกสร้างตาดอกด้วยปุ๋ยสูตร 8-24-24 จำนวน 1 กิโลกรัมต่อต้น ช่วงพัฒนาผลผลิต ใส่สูตร 15-15-15 อีกครั้งหนึ่ง ราว 1 กิโลกรัมต่อต้น

ปริมาณปุ๋ยที่ให้ ขึ้นอยู่กับผลผลิตบนต้น ขนาดของต้น และจำนวนผลผลิตที่มะขามติดฝัก

กรณีปลูกเป็นไม้รอบบ้าน อาจจะไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีก็ได้

เมื่อฝักเริ่มแก่แต่ยังไม่สุก สามารถนำฝักมะขามมาแช่อิ่มจำหน่าย ฝักสุกแกะเนื้อขายเป็นมะขามเปียก ตลาดต้องการอย่างต่อเนื่อง

เป็นพืชเอนกประสงค์ ใบอ่อนนำมาปรุงอาหารได้ พุ่มใบมีความสวยงาม ปลูกหน้าบ้าน หรือรอบบ้านให้ความร่มเย็น

ผู้มีที่ว่างรอบบ้าน ควรพิจารณาปลูกมะขามเปรี้ยวสักต้น บ้านสวนเมล่อน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สวนเมล่อนขนาด 4 ไร่ ที่ใครๆ ก็ต้องมาลองชิมเมล่อนสักครั้ง ด้วยเอกลักษณ์พิเศษของสายพันธุ์เมล่อนที่มีทั้งหวานกรอบ และหวานเนื้อนุ่ม รวมถึงการปลูกที่ใส่ใจและปลอดภัยจากสารเคมี 100% นางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ (แก้ว) เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) เจ้าของสวน “บ้านสวนเมล่อน” ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของสวนแห่งนี้ว่า เกิดจากความต้องการปลูกเมล่อนให้สามี จึงลงมือปลูกและลองผิดลองถูกด้วยตนเองจากการเสิร์ชกูเกิลตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างโรงเรือนจนถึงการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมล่อนจนกระทั่งค้นพบวิธีการสร้างโรงเรือนและการปลูกเมล่อนที่เหมาะสม ทำให้มีผลผลิตเมล่อนสำหรับขายมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ขยายการปลูกเมล่อนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 โรงเรือนแล้วในระยะเวลาเพียง 2 ปี ทั้งนี้บ้านสวนเมล่อนไม่ได้ปลูกแค่เมล่อนเท่านั้น แต่เป็นสวนผสมผสานมีทั้งพืชผักสวนครัวและพืชอื่นๆ ที่เจ้าของสวนชื่นชอบ อาทิ ตะไคร้ ใบกระเพรา ถั่วฝักยาว มะเขือเทศราชินีเหลือง ข้าวโพดหวาน
ฮอกไกโด เห็ด ฯลฯ ปลูกร่วมด้วยเสมือนว่ามีตู้เย็นธรรมชาติอยู่ในบ้าน

ในกระบวนการผลิตของสวนบ้านเมล่อนจะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช แต่เน้นการป้องกันศัตรูพืชโดยการปลูกพืชผักในโรงเรือนและใช้สารชีวภัณฑ์ทั้งเชื้อรา​บิวเวอเรียและเชื้อรา​ไตร​โค​เด​อร์มา​อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้าทุกท่านมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่นี่ปลอดสารเคมี 100%

อย่างไรก็ตามการเป็นเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคุณแก้ว funlok.com เพราะไม่มีความรู้หรือเป็นเกษตรกรมาก่อน อีกทั้งที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินเค็ม น้ำเค็มทำให้ทั้งสวนต้องใช้น้ำประปารดต้นไม้ อีกทั้งเพื่อนบ้านทั้งหมดทำบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จึงไม่ค่อยมีเกษตรกรให้คำปรึกษาในการทำเกษตร จนกระทั่งคุณแก้วตัดสินใจไปขึ้นทะเบียนเกษตรกร ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโพธิ์ จึงมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ช่วงกลางปี 2561 จึงทำให้พบเครือข่ายเกษตรกร YSF และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรซึ่งกันและกัน และทำให้คุณแก้วกลายเป็นวิทยากรในการสอนเรื่องการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดฉะเชิงเทรา

การเป็น YSF ทำให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาแผนธุรกิจ คุณแก้วจึงได้พัฒนาสวนเมล่อนของตนเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่กระจายรายได้สู่ชุมชน โดยมีจุดเด่นในการท่องเที่ยวคือ “โครงการกลับมาเยี่ยมลูกเมล่อน” โดยให้ลูกค้ามาจับจองเมล่อนโดยการสลักชื่อไว้ที่ผลก่อนเก็บเกี่ยวเมล่อนประมาณ 1 เดือน และทางสวนจะดูแลต่อให้จนถึงวันที่เก็บผลผลิตลูกค้าก็สามารถมาตัดเมล่อนได้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ยังจัดตั้งสหกรณ์พืชผัก ผลไม้ ปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรของเครือข่าย ซึ่งเป็นสินค้ามาตรฐาน GAP ทั้งหมด อาทิ เมล่อน ถั่วฝักยาว คะน้า เห็ด มะพร้าว มะม่วง โดยมีตลาดหลักคือ การบินไทย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านสวนเมล่อนประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร คือ การใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียในการจัดการการผลิตและการตลาด โดยบ้านสวนเมล่อนได้เข้าร่วมโครงการติดตั้งเครื่องมือเทคโนโลยี (Internet of Things : IoT) ตามความร่วมมือของกรมส่งเสริมการเกษตร ดีแทค และเน็คเทค โดยเครื่องมือดังกล่าวสามารถบอกค่าความชื้นอากาศ อุณหภูมิ ความเข้มแสง และความชื้นในดินได้ ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทำให้เจ้าของสวนสามารถจัดการกับปัจจัยแวดล้อมและปรับให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกได้ รวมถึงประหยัดแรงงานในการดูแลสวนด้วย ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างก่อนและหลังใช้เทคโนโลยีดังกล่าว พบว่า 1. ลดการสูญเสียผลผลิต (เมล่อน)จาก 26.6% เหลือเพียง 6.6% ต่อโรงเรือน 2. เมล่อนมีน้ำเพิ่มขึ้นจาก 352 กก. เป็น 448 กก. ต่อโรงเรือน