การผลิตแตนเบียน ควรเพาะหนอนข้าวสาร (แทนหนอนหัวดำ)

สำหรับใช้เป็นอาหารของแตนเบียน การเพาะหนอนข้าวสาร จำเป็นต้องใช้รำ ปลายข้าว ไข่ผีเสื้อ หมักไว้รวมกัน จากนั้นเมื่อได้หนอนข้าวสาร ก็นำมาวางไว้ให้เป็นอาหารของแตนเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนแตนเบียน กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงได้แตนเบียนตามจำนวนที่ต้องการ ใช้ระยะเวลา 45 วัน

ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวตัวฉกาจ ยังไม่หมดไป แต่ก็พบได้น้อยมาก

เทคนิคการดูแลมะพร้าวอื่นๆ ปราชญ์มะพร้าวท่านนี้ แนะนำไว้ ดังนี้

ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน ขึ้นอยู่กับความสะดวก ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสุกร นำไปพ่นที่ใบมะพร้าวทุกเดือน ช่วยป้องกันแมลงรบกวนได้ดีระดับหนึ่ง

เทคนิคที่คุณวิชาญใช้และเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย คือ การทำให้ต้นมะพร้าวแข็งแรง การป้องกันโรคจากการใช้สารชีวภาพ และการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ รวมถึงการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเกิดภาวะแล้ง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้มะพร้าวให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน

แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และมองข้ามการใช้แตนเบียนกำจัด คุณวิชาญ วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมในการหาอุปกรณ์ผลิตแตนเบียน รวมถึงการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในตำบลเดียวกันที่ยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะการผลิตแตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการกำหนดวันเวลาที่ทำไว้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจำนวนแตนเบียนที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอ รวมถึงขณะนั้นเกษตรกรเห็นว่ามีพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า จึงไม่ให้ความสำคัญกับการทำสวนมะพร้าว

นอกเหนือจากหนอนหัวดำแล้ว ศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ยังมีด้วงแรดและด้วงงวง ที่จัดว่าเป็นศัตรูพืชที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถกำจัดด้วงเหล่านี้ได้

คุณวิชาญ ไม่ได้เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกาจไปทุกสิ่ง ปัญหาด้วงแรดและด้วงงวงก็ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่เพราะการทำการเกษตรด้วยปัญญา ทำให้ปัญหาต่างๆ ทุเลาลง

“ตัวร้ายจริงๆ คือ ด้วงงวง ที่เข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว แต่ถ้าไม่มีด้วงแรด ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ได้ เพราะด้วงแรดเป็นตัวกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดังนั้น หากกำจัดด้วงแรดได้ ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว ปัญหาด้วงก็หมดไป”

เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ซื้อสารฟีโรโมน เป็นตัวล่อ ผูกล่อไว้กับถังน้ำ เมื่อด้วงได้กลิ่นก็บินเข้ามาหาที่ถังน้ำ เมื่อบินลงไปก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ เป็นการกำจัดด้วงแรด แต่ประสิทธิภาพการกำจัดด้วงแรดด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายใช้ก้อนเหม็นแขวนไว้ตามยอดมะพร้าว ใช้กลิ่นไล่ด้วงแรด แต่ลูกเหม็นก็ไม่สามารถวางกระจายได้ครอบคลุมทั่วทั้งสวน

วิธีหนึ่งที่คุณวิชาญแนะนำ คือ การหมั่นบำรุงรักษาต้นมะพร้าว โดยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มะพร้าวแข็งแรง นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตต้นทุกระยะ โดยเฉพาะระยะ 3-4 ปี เป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชชอบมากที่สุด เพราะมะพร้าวกำลังแตกใบอ่อน หากพบให้ทำลายด้วยวิธีชีวภาพหรือกำจัดด้วยมือตามความสามารถที่ทำได้

ทุกวันนี้ เฉลี่ยมะพร้าวแกงที่เก็บจำหน่ายได้ในสวนของคุณวิชาญ อยู่ที่ 1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ไม่เคยน้อยไปกว่านี้ ซึ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวของคุณวิชาญและครอบครัวรวมกัน กว่า 100 ไร่ ผลมะพร้าวแกงที่เก็บได้ มีพ่อค้าเข้ามาเก็บถึงสวน ราคาขายหน้าสวน ลูกละ 17 บาท

ดูเหมือนการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีข้างต้น จะเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จดีในระดับหนึ่ง แต่คุณวิชาญก็ยังไม่วางใจ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบทิ้งขว้าง เพราะมีรายได้จากพืชชนิดอื่นในสวนมากกว่า และหากทำได้ คุณวิชาญ จะใช้เวลาว่างเท่าที่มีเข้าไปส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรที่ทำสวนมะพร้าวอย่างไม่กังวล ทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ปลอดภัยกับเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ปราชญ์มะพร้าว บางละมุง ท่านนี้พร้อมถ่ายทอดให้ข้อมูล หากเกษตรกรสวนมะพร้าวท่านใดต้องการ สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 062-956-3629 ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

ผมเป็นชาวต่างประเทศ กลุ่มละตินอเมริกา ประเทศเอลซัลวาดอร์ แต่มาเจอญาติตระกูลพันธุ์ต้นมะกอกที่เมืองไทย เนื่องจากมีนักวิชาการเกษตรชื่อ ท่านปัญญา เอกมหาชัย ไปดูงานที่ประเทศโคลัมเบีย และได้นำเมล็ดเข้ามาทดลองปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ตอนนั้นก็ไม่ได้เด่นดังอะไรเพราะเห็นว่าปลูกเป็นไม้โตเร็ว ให้ร่มเงาได้ดี

ทนแล้ง ทนดินแห้งภาคอีสานได้ แต่เรียกชื่อซะเลิศเลอว่า “พฤกษาสวรรค์” จากคำที่เขียนว่า Paradise Tree ผมจึงรู้สึกว่าเหมือนเป็นต้นไม้ในฝันอยู่บนสวรรค์ แต่ไม่ใช่ประเภทในป่าหิมพานต์ หรือป่าในไตรภูมิกถา นะครับ

ต่อมา ท่านปัญญา เอกมหาชัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ อีกหลายแห่ง

รวมทั้งที่ขอนแก่น ก็มีการเรียกชื่อผมว่า “ต้นเอกมหาชัย” เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านที่นำผมเข้ามาปลูก ผมยิ่งภูมิใจและรู้สึกว่าเป็นชาวไทยมากขึ้น เพียงแต่ขำตัวเองว่า ลงมาจากสวรรค์ อยู่เมืองนอกแล้วมาเป็นชาวอีสานหนุ่มขอนแก่น แต่มีชื่อใหม่เป็นชาว “เมืองสมุทร” เพราะเคยได้ยินเพลง “ท่าฉลอมกับมหาชัย” ผมจึงอยากเรียกชื่อตัวเองว่า “เอก-มหาชัย” เพื่อจะได้ปกป้อง “สาวมหาชัย” ไม่ให้ “หนุ่มท่าฉลอม” ว่ายน้ำข้ามมาจีบสาวอีก

ผมเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เนื่องจากมีการนำเมล็ดไปวิเคราะห์พบสรรพคุณมากมาย โดยมีรายงานจาก อาจารย์แฉล้ม อาจารย์นิวัฒน์ มาศวรรณา จากศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ตั้งแต่ ฉบับที่ 435 วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 รวมทั้งที่ ท่านประพันธ์ ผลเสวก ก็ได้เขียนถึงผม ในฉบับที่ 433 วันที่ 15 มิถุนายน 2551 เช่นกัน ผมจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายจากศูนย์วิจัยพืชไร่ และนำไปปลูกอีกตั้งหลายจังหวัด ตอนนี้แผ่ร่มเงาซะครึ้มเต็มทุกที่ไปแล้ว

สรรพคุณผมไม่ได้เป็นเพียงไม้โตเร็ว คู่แข่ง “ต้นตะกู” แต่ได้ถูกจัดให้เป็น “พันธุ์ไม้ลดโลกร้อน” และเป็น “พืชพลังงานทางเลือกใหม่” ด้วย เพราะเมล็ดให้น้ำมัน ให้ไขมันสูงกว่า

เมล็ดน้ำมันปาล์ม ทานตะวัน และดอกคำฝอย แล้วยังใช้ผลิตเอทานอลได้ดี แปรรูปเป็นอาหารคนก็ได้ กากทำปุ๋ย ทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้ในอุตสาหกรรมทำสี ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนสรรพคุณทางยา เภสัชสมุนไพรก็ใช้ได้ทั้งใบ เปลือกไม้ ดอกผล มีสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อเซลล์มะเร็ง ทำยารักษาโรคลำไส้ ต้านไวรัส ทำเครื่องสำอาง เพาะผมด้วยเมล็ด โตได้ 10-15 เมตร 5-6 ปี ก็ให้ผลแล้ว ให้ผลนาน 60-70 ปี เพราะอายุผมอยู่ได้เป็น 100 ปี ผลสีน้ำตาลเป็นพวงกินได้ พบผมได้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ และศูนย์วิจัยพืชไร่ทุกจังหวัด นะเด้อ

ชื่อผมเหมือนอยู่ในโลกแห่งความฝัน แต่ยืนยันที่จะสร้างประโยชน์ให้ผู้บริโภคในโลกแห่งความเป็นจริง…! บัตเตอร์นัท เป็นผลไม้กลุ่มสควอช (Cucurbita moschata) รูปทรงคล้ายน้ำเต้า เป็นฟักทองเทศที่เติบโตเป็นเถา รสชาติหวาน มัน มีสีเหลืองอ่อนและส้ม โดยที่แกนเมล็ดอยู่ด้านล่างของผล เมื่อผ่าออกมาแล้ว จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มเข้มขึ้นและจะมีรสหวานขึ้น

เริ่มแรกที่คิดจะปลูกฟักทองบัตเตอร์นัทเป็นพืชเสริม เพราะไปเห็นที่อื่นเขาปลูก และเห็นว่ารูปทรงแปลกๆ น่ารักดี ตอนนั้นก็ยังไม่รู้รสชาติว่าเป็นยังไง จึงคิดแค่นำมาปลูกไว้ประดับสวนให้สวยงาม

ฟักทองบัตเตอร์นัท เป็นพืชสร้างรายได้หลักเข้ามาในขณะนี้ เพราะสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนจะติดดอกน้อย หน้าร้อนจะติดดอกได้ดีและมีลูกดกกว่า ถ้าเป็นหน้าหนาวระยะเก็บเกี่ยวจะนานกว่าหน้าร้อนไปสักหน่อย แต่ก็สามารถปลูกได้ทุกฤดู

ขั้นตอนการปลูกไม่ยุ่งยาก
เริ่มจากการปรับปรุงดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีการตากดินกวนดินตีดินเหมือนการปลูกพืชทั่วๆ ไป แต่ที่สวนพี่นิเป็นการทำแบบประณีต ทำเป็นแปลงเล็ก ใช้รถพรวนเล็กๆ และมีการใช้ปุ๋ยหมัก…ปุ๋ยหมักจะทำเอง โดยการนำเศษวัชพืช แกลบดิบ และวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาหมักทิ้งไว้ จะทำไว้ใช้เองข้ามปี เอามาผสมในดินที่จะใช้เตรียมปลูก

การเตรียมดิน เตรียมดินตากไว้ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ปรับสภาพดินด้วยการใส่ปูนขาว พร้อมใส่ปุ๋ยหมัก ขี้ไก่ ตีพรวนดินให้ละเอียดขึ้น และยกแปลงตามที่เราต้องการปลูก ในดินหลักๆ ปุ๋ยที่ใช้คือ เป็นขี้ไก่อัดแท่ง เพราะขี้ไก่จะผ่านกระบวนการหมักของโรงงานมาแล้ว อาจจะเป็นดูดมาจากบ่อหมักแก๊ส

ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1.20 เมตร ปลูกเป็นแถวเดี่ยวยกร่อง มีการปูพลาสติกคลุมดิน และวางระบบน้ำหยด

ปุ๋ย ให้ปุ๋ยเคมีละลายน้ำ เมื่อลงปลูกได้ 1 สัปดาห์ ต้นจะเริ่มโต ระหว่างนี้ไม่ต้องทำอะไรกับต้นมาก ให้หันมาเตรียมปักค้าง การปักเว้นระยะ 3-4 ต้น ปักไม้ 1 ท่อน ไม้ที่ปักเป็นไม้ไผ่ ยาวประมาณ 1.50 เมตร แล้วขึงเชือกขวางเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้นไปตามเชือก

ระบบน้ำ เป็นระบบน้ำหยดตอนต้นเล็กๆ ให้น้ำวันละครั้ง เมื่อโตขึ้นให้เพิ่มความถี่ เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จะไม่ให้ครั้งเดียวเยอะๆ จะทำให้สิ้นเปลือง น้ำจะไหลนองพื้นปล่อยทิ้งไปเสียเปล่า

ปุ๋ย ใส่แบบการคำนวณต่อต้น พื้นที่ 1 ไร่ แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ปลูกประมาณ 2,000-2,500 ต้น ในช่วงแรกจะให้ปุ๋ย 1 กรัม ต่อต้น ต่อวัน เมื่อต้นโตขึ้นจะมีการปรับให้ปุ๋ยมากขึ้นตามความเหมาะสม

โรคแมลงที่พบ
ปลูกแบบขึ้นค้างจะพบโรคแมลงได้น้อยกว่าการปลูกเลื้อยดิน ส่วนมากที่พบจะคล้ายกับพืชตระกูลแตงทั่วไป คือโรคราน้ำค้าง ราแป้ง โรคต้นเน่าโคนเน่าพบได้น้อย ค่อนข้างทนกว่าพืชตระกูลแตงทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นจะกำจัดด้วยสารเคมีในระยะที่ยังไม่ติดดอกออกผล เมื่อต้นเริ่มแข็งแรงจะงดใช้สารเคมีทันที

ปลูกแบบขึ้นค้าง เทคนิคสำคัญเพิ่มผลผลิต ประหยัดพื้นที่ รูปทรงสวยงาม

การปลูกแบบขึ้นค้าง มีข้อดีหลายข้อด้วยกัน คือ

1. ประหยัดพื้นที่กว่าการปล่อยให้เลื้อยตามดิน เพราะเราสามารถควบคุมการเลื้อยของต้นได้
2. ต้นไม่เบียดเสียดสีกัน ทำให้รูปทรงผลและผิวสวยงาม
3. แมลงรบกวนน้อย
4. ได้ผลผลิตและจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้น หลังลงปลูก 10 วัน เริ่มปักไม้และขึงเชือก 12-14 วัน ผูกเชือกเพื่อยกยอดแต่ละต้นให้ไต่ขึ้นไปตามเชือกในแนวตั้ง

หลังปลูก 25-30 วัน ดอกตัวเมียพร้อมผสม ช่วยผสมโดยนำเกสรตัวผู้จากดอกตัวผู้มาแต้มที่ดอกตัวเมียที่มีลักษณะผลเล็กๆ ที่ขั้ว จะช่วยทำให้ติดผลดีและดกกว่าปล่อยให้ติดลูกเอง หลังจากผสมเกสร 7-10 วัน ก็จะติดลูกให้เห็นชัดเจน

ผลเมื่อแก่เต็มที่ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลส้ม ขั้วสีเขียวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน อายุนับจากผสมเกสร ประมาณ 40-50 วัน

หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วผลผลิตเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องแช่เย็น 2 เดือน ปลูก 3 เดือน เก็บผลผลิตได้
ฟันรายได้หลักแสน
ฟักทองบัตเตอร์นัท เป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก แต่ต้องอาศัยการดูแลและเอาใจใส่ ช่วงหน้าร้อนและหน้าฝนตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยว ใช้เวลา 80-90 วัน หน้าหนาว 100-110 วัน

มีพื้นที่ปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท 1 ไร่ จะใช้วิธีการปลูกแบบสลับแปลง แบ่งซอยเป็นรุ่นๆ ให้มีผลผลิตออกต่อเนื่องทุกเดือน ปลูกฤดูฝนให้ผลผลิต 1-3 ลูกต่อต้น หน้าร้อน 3-5 ลูกต่อต้น เฉลี่ยกิโลครึ่งต่อต้น…1 ไร่ เก็บผลผลิตได้ประมาณ 2.5 ตัน 1 รอบการปลูก ทั้งขายผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ 1 ตัน สร้างรายได้ 80,000 บาท…2 ตัน เป็นเงินแสนกว่าบาท ต้นทุนหลักหมื่น
รายได้หลักแสน
ผู้เขียนถามกับพี่นิว่า…ผลตอบแทนดีขนาดนี้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายเยอะตามไปด้วยไหม

พี่นิ บอกว่า มาเดี๋ยวพี่อธิบายให้ฟัง คือ 1 ไร่ ปลูกได้ 2,500 ต้น ถ้าเราคิดทุกอย่าง ค่าเมล็ดพันธุ์ เมล็ดละ 2 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท ปุ๋ย 1 รอบการปลูก ใช้ 3 กระสอบ กระสอบละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาทต่อไร่ ค่าน้ำไม่เสียเพราะดูดจากสระ ค่าไฟ 500 บาท ค่าแรงจ้างมาเตรียมดิน รวมแล้วเกิน 10,000 บาท ไม่มาก แต่ถ้าเริ่มปลูกครั้งแรกจะมีค่าไม้ปักค้างและเชือกขึงค่อนข้างหลายบาท แต่รุ่นต่อไปจะสบายละ เพราะสามารถใช้ได้นานนับปี

ในช่วงนี้สถานการณ์โควิดเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่บ้านเรากำลังรับมือ จึงทำให้การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลในช่วงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยต้องไม่อยู่ในพื้นที่แออัดที่มีผู้คนมากจนเกินไป พร้อมกับหมั่นใช้แอลกอฮอล์เจล หรือหมั่นล้างมืออยู่เสมอ ก็จะช่วยป้องกันโรคโควิค-19 ได้ สำหรับเรื่องอาหารในการบริโภคนั้น ประชาชนในหลายพื้นที่ค่อนข้างให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก บางท่านประกอบอาหารทานเพราะมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จึงมีกิจกรรมหลายอย่างให้ได้ลงมือทำด้วยกัน ส่งผลให้มีความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างนี้ หรือบางครอบครัวมีกิจกรรมทางการเกษตรทำร่วมกัน เพื่อให้มีวัตถุดิบอย่างเช่นพืชผักสวนครัว มาประกอบอาหารเองโดยที่ไม่ต้องออกไปนอกพื้นที่บ้าน เพื่อเสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด

ดร. คณิต สุขรัตน์ อาศัยอยู่ที่ ซอยรามอินทรา 8 แยก 24 แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัว และไม้ผลต่างๆ ในพื้นที่รอบบ้านมาก่อนที่โรคระบาดโควิดจะเกิดขึ้น เมื่อในเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีการอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงทำให้การเกษตรที่ทำไว้อยู่ก่อนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถมีผลผลิตไว้ทานเองและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ตลอดไปจนถึงผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นที่มีมากเกินไป ก็สามารถจำหน่ายสร้างรายได้อีกด้วย

ดร. คณิต เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อปี 2556 ได้ซื้อที่ดินในย่านนี้ไว้ เป็นที่ดินประมาณ 148.9 ตารางวา ซึ่งพื้นนี้เมื่ออยู่ในกรุงเทพมหานครแล้ว ก็ถือว่าสามารถนำมาทำการเกษตรได้หลายอย่าง โดยจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญด้านหลังพื้นที่มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ จึงสามารถนำน้ำมาทำการเกษตรในพื้นที่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำประปาเพื่อมารดให้กับพืชที่ปลูก

“ช่วงแรกที่เราได้พืชที่มา เราก็มองว่าส่วนใหญ่แล้วเราทานอะไร เพราะอย่างข้าว เราไม่สามารถปลูกเองได้ ก็เลยได้ลงมือปลูกพืชผักสวนครัวเป็นหลัก ที่เราต้องใช้กินเป็นประจำ และแบ่งอีกโซนหนึ่งปลูกพวกไม้ผลเล็กน้อย ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงไก่ชน ไก่ไข่ และก็ยังสามารถเลี้ยงปลาในบ่อน้ำที่ติดอยู่กับที่ดินได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งโซนปลูกเช่นนี้ พอทำได้ลงตัวแล้วก็ทำให้เรามีผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ช่วงแรกเราทำไม่ได้ มองว่าจะเกิดรายได้ไหม เพียงแต่ทำเพื่อใช้ชีวิตของเรามากกว่า เพื่อให้มีพืชผักปลอดสารพิษได้ทานเอง” ดร. คณิต เล่าถึงที่มาของการทำเกษตรรอบบ้าน

ในส่วนของไม้ยืนต้นที่ปลูก ก็จะมีมะนาว มะกรูด มะม่วง ปลูกตามความเหมาะสมได้อย่างละ 2-3 ต้น และนอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่ อย่างละ 5 ตัว และสัตว์เลี้ยงที่ช่วยเป็นกิจกรรมแก้เหงาอีกหนึ่งชนิดนั้นก็คือ ไก่ชน โดยเพาะพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์เพื่อจำหน่าย เกิดเป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งช่องทาง

โดยการปลูกพืชผักและการทำเกษตรรอบบ้านนั้น ดร. คณิต บอกว่า จะใช้แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ โดยพืชผักและไม้ผลต่างๆ จะเน้นใช้ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ก็คือมูลจากไก่ที่เลี้ยงนั่นเอง จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลยในการปลูก จึงทำให้ดินในพื้นที่ทำเกษตรนอกจากไม่เสียแล้ว ยังได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มั่นใจว่าปลอดสารเคมี จากสองมือที่ลงมือทำด้วยตนเอง

“พอผลผลิตเราเริ่มมีมากขึ้น เพื่อนบ้านที่รู้ว่าเราทำเกษตรแบบอินทรีย์ ก็จะมาติดต่อขอซื้อพืชผักสวนครัวจากสวนเรา เรียกได้ว่าทุกอย่างภายในสวนสามารถขายเป็นรายได้เสริมได้ อย่างไข่ไก่ ไข่เป็ด ที่มีจำนวนมาก เราทานไม่ทันก็นอกจากแจกจ่ายเพื่อนๆ แล้ว เราก็สามารถนำมาขายไปพร้อมกับพืชผักสวนครัว และสัตว์เลี้ยงอย่างไก่ชน นอกจากความเพลิดเพลินที่เราได้แล้ว พอมีคนที่ชอบเหมือนๆ กันรู้ว่าเราเพาะพันธุ์ ก็ติดต่อเข้ามาขอซื้อ ทำให้แต่ละเดือน เราก็มีรายได้จากสิ่งที่เราทำรอบบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟเล็กๆ น้อยๆ ได้ดีทีเดียว และอย่างตอนนี้สถานการณ์โควิดกำลังระบาด ทุกคนต้องอยู่กับบ้าน การออกไปนอกบ้านค่อนข้างเสี่ยง ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรของผมที่ทำอยู่นี่ถือว่าตอบโจทย์มาก ทำให้เราไม่ต้องออกไปนอกบ้านเลย แต่สามารถนำพืชผักสวนครัวมาประกอบอาหารทานเองได้” ดร. คณิต บอก

ทั้งนี้ ดร. คณิต ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า จากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นการทำเกษตรรอบบ้าน จึงเป็นบททดสอบที่ทำให้เห็นว่าเกษตรกรรมไม่ว่าจะทำเล็กหรือน้อย ก็สามารถพึ่งตนเองได้ เพราะถ้าต้องกักตัวอยู่กับบ้านไม่ต้องออกไปไหน พืชผักและสัตว์เลี้ยงต่างๆ ก็ยังให้ผลผลิตอยู่เสมอ ดังนั้น การทำเกษตรไม่ว่าจะทำมากหรือน้อยก็ให้ประโยชน์กับผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น

“การทำเกษตรสำหรับคนที่คิดอยากจะทำ อย่างแรกต้องสร้างทัศนคติก่อนว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ เราต้องคิดแบบนี้เสมอ อย่าไปสร้างภาพลบว่าเรามีพื้นที่น้อยจะทำไม่ได้ ทุกวันนี้แม้แต่คนอยู่คอนโดฯ เขาก็ปลูกพืชผักทานเองได้ ปลูกในกะละมังต่างๆ ขอให้ทุกคนเปิดใจการทำเกษตร อย่างน้อยถ้าลงมือทำมันไม่ได้แค่ผลผลิตที่ได้อย่างเดียว แต่มันได้ความสุขที่เกิดจากสองมือของเราที่ได้ลงมือทำเอง” ดร. คณิต แนะนำ

สำหรับท่านใดสนใจในเรื่องของการทำเกษตรรอบบ้านในพื้นที่น้อย หรืออยากทราบเทคนิคการเลี้ยงไก่ชน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร. คณิต สุขรัตน์ หมายเลขโทรศัพท์ (081) 567-3935

สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ ในช่วงที่ราคายางและปาล์มสูง เกษตรกรมีความสุข เดิมทีการกรีดยางในระยะแรก ใช้แรงงานครอบครัวกรีดยางกันเอง ต่อมามีแรงงานชาวอีสานหันมารับจ้างกรีดยาง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ ระหว่างเจ้าของสวนยางกับแรงงานอยู่ที่ 60 : 40 เป็นมาตรฐาน โดยเจ้าของสวนได้ 60% คนกรีดได้ 40% อาจมีแตกต่างกว่านั้นแล้วแต่ตกลงกัน

เมื่อชาวอีสานเริ่มปลูกยางได้ ก็พากันกลับบ้าน สมัคร GClub คนงานต่างด้าวซึ่งเป็นชาวพม่าเข้ามาแทนที่ ในจังหวะที่ราคายางสูงลิบ ทั้งคนงานและเจ้าของสวนต่างมีความสุขดี เมื่อเจอภาวะยางราคาตก ชาวพม่าค่อยๆ หนีไปทำงานก่อสร้างในเมือง ทิ้งให้ชาวสวนยางกรีดกันเอง เมื่อเจ้าของสวนลงมือกรีดยางเอง จึงพบว่า ช่วงที่ราคายางแพงนั้น ลูกจ้างชาวพม่าเอายาเร่งน้ำยางทามีดกรีดเพื่อให้ได้น้ำยางเยอะๆ ต้นยางจึงโทรมเร็ว ไม่สามารถกรีดได้ครบ 25 ปี จึงเกิดวลีคำหนึ่งว่า “พม่ากรีด ไทยตัด” คือหลังพม่ากรีดยางแล้ว ไทยต้องโค่นยางทิ้งปลูกใหม่ เพราะต้นยางโทรมมาก

คุณชาตรี แสงทอง เกษตรกรชาวสวนยาง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ 086-497-7665 คุณชาตรีเป็นเกษตรกรชาวสวนยางโดยกำเนิด เพราะตั้งแต่ลืมตามาก็เห็นพ่อทำสวนยางพารา ในสมัยเด็กได้มีโอกาสช่วยพ่อแม่ทำสวนยาง จึงซึมซับความเป็นเกษตรกรมาโดยไม่รู้ตัว

ปัจจุบัน คุณชาตรียังทำอาชีพสวนยางตามบรรพบุรุษ โดยปลูกและกรีดยางเองทั้ง 17 ไร่ ความจริงแล้ว 1 ครอบครัว ดูแลพื้นที่สวนยางได้ประมาณ 15 ไร่ กำลังพอดี ไม่น้อยและมากเกินไป ในช่วงที่ราคายางกิโลกรัมละ 100 ชาวสวนยางยิ้มแย้มได้ เศรษฐกิจภาคใต้เฟื่องฟู หลังเจอปัญหาราคายางตกต่ำ คุณชาตรีก็ไม่ได้มีผลกระทบมากเหมือนคนอื่นเขา เพราะน้ำยางที่ได้ราคาเท่าไรก็เข้ากระเป๋าตัวเองเองทั้งหมด

คุณชาตรีมีโอกาสเข้าอบรมศึกษาดูงานสวนยางในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในจังหวัดพังงา จังหวัดใกล้เคียง และมีโอกาสดูงานในพื้นที่ภาคกลาง ได้เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ จึงเกิดแนวคิดทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองในสวนยางพารา เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ที่ผ่านมา พื้นที่ทำกินมีต้นยางเก่าที่หมดอายุจำเป็นต้องโค่นทิ้ง คุณชาตรีตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้ง เพื่อนำไปปลูกพืชชนิดอื่น เหลือพื้นที่สวนยางเพียงแค่ 7 ไร่เนื่องจากแปลงปลูกสวนยางดังกล่าวเป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำ รากต้นยางไม่ค่อยแข็งแรง ในช่วงหน้าฝนที่มีลมแรง ต้นยางมักโค่นล้มจนต้องปลูกแซมกันบ่อยครั้ง คุณชาตรีอยากให้รากต้นยางแข็งแรง จึงใช้วิธีเสริมรากต้นยางพารา เช่นเดียวกับการปลูกทุเรียนเสริมราก

คุณชาตรีถอนต้นยางพันธุ์พื้นบ้าน ขนาดลำต้นประมาณนิ้วชี้ อายุประมาณ 1 ปี จำนวน 2 ต้น นำมาปลูกใกล้ๆ กับต้นยางพันธุ์ 600 หรือ 251 ซึ่งเป็นต้นยางติดตาพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคใต้ รอเวลาประมาณ 6 เดือน ให้ต้นยางทั้ง 3 ต้น เติบโตดี หลังจากนั้น ใช้มีดคมๆ ปาดต้นยางพันธุ์และต้นยางพันธุ์พื้นบ้าน ให้มีรอยแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 นิ้ว จากนั้นนำรอยแผลของต้นยางพื้นบ้านที่ใช้เสริมรากมาทาบตรงรอยแผลของต้นยางพันธุ์ หมายถึงต้นยางพันธุ์จะถูกปาด 2 รอย เพราะต้องเอายางเสริมมาทาบ 2 ต้น หลังจากนั้น เอาผ้าเทปสำหรับตอนกิ่งพันให้แน่น ไม่ให้น้ำเข้า ใช้เวลาปลูกดูแลประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในช่วงนั้นให้นำเชือกมาผูกรวบโคนยางทั้ง 3 ต้นให้โน้มเข้าหากัน เพื่อกระชับไม่ให้แผลเปิดอ้า เมื่อรอยแผลประสานติดกันดีแล้ว ให้ตัดยอดต้นยางเสริมจากรอยแผลขึ้นมา 1 นิ้ว และหมั่นปลิดยอดยางเสริมออก ถ้ามียอดแตกออกมา