การพามาศึกษาดูงานจึงถือเป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพที่มูลนิธิฯ

ให้ความสำคัญ เพราะการเรียนรู้แนวคิดแบบ Satoyama และ Satoumi ในครั้งนี้ คล้ายคลึงกับการโครงการต้นกล้าชุมชนที่มูลนิธิฯ ดำเนินอยู่อย่างมาก เราคาดหวังว่าน้องๆ ต้นกล้าฯ จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แล้วนำความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม กลับไปปรับใช้เพื่อพัฒนากิจกรรมของชุมชน สังคม ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป”

ด้าน คุณสำรวย ผัดผล ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้โจโก้ เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน นักพัฒนาชุมชนรุ่นพี่ที่ร่วมเดินทางกล่าวว่า “การมุ่งหาความสะดวกสบายด้วยการทำงานในเมืองใหญ่เป็นค่านิยมของสังคมโลก สำหรับเมืองไทย คนหนุ่มสาวที่เลือกทำงานในถิ่นบ้านเกิด ผู้ใหญ่มักจะมองว่าเรียนมาสูงทำไมต้องกลับมาอยู่บ้าน

แต่ในประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่น ค่านิยมที่ผลักคนหนุ่มสาวออกจากครอบครัวและชุมชน กลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ที่มีความพยายามอย่างมากที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ ด้วยการลงทุนทั้งการวิจัย ทุ่มงบประมาณ ให้ความรู้ด้านต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งญี่ปุ่นระดมความร่วมมือทั้งนักวิชาการ องค์กรท้องถิ่น และมหาวิทยาลัย เพื่อเร่งสร้างฐานเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าในชุมชนให้เกิดขึ้น เพื่อหวังให้คนรุ่นใหม่ตระหนักและเห็นคุณค่าของชุมชนแล้วกลับมาพัฒนาบ้านเกิด

ในประเทศไทยก็ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน แต่ยังโชคดีที่มูลนิธิฯ เห็นความสำคัญ และริเริ่มโครงการต้นกล้าชุมชน ทำให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสให้คนหนุ่มสาวได้กลับไปทำงานในบ้านเกิดได้อย่างภาคภูมิใจ ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่โอกาสในการเปิดโลกทรรศน์ พวกเขาจะได้บทเรียนที่นำกลับไปเทียบเคียงกับเรื่องที่ตัวเองกำลังทำอยู่ในชุมชน ถือว่าเป็นการลงทุนพัฒนาคน สร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ที่ดีวิธีหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นกล้าฯ ชุมชน และประเทศในระยะยาว”

ต้นกล้าพลอย พิไลวรรณ จันทร์แก้ว ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 3 บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมหิดลเจ้าของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านงานศิลปะสื่อสารเพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก กล่าวถึงความประทับใจว่า “เป็นโอกาสที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต ที่จะนำความรู้และประสบการณ์กลับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและองค์กร โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของตัวเอง และเน้นการทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น คิดรูปแบบการตลาดให้พิถีพิถันกว่าเดิม ใช้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เรามีความถนัดเข้ามาต่อยอดให้น่าสนใจ ไม่ได้ขายแค่ความสวยงาม แต่ต้องทำให้สังคมตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก ถือเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และชุมชนต่อไป”

ด้าน ต้นกล้าโจ องอาจ มิเง ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 3 บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เจ้าของโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า โดยชุมชนบ้านยางเปา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ครั้งนี้เป็นการเดินทางต่างประเทศครั้งแรกในชีวิตของผม การได้เจอผู้คน แนวคิด กระบวนการทำงานใหม่ๆ ทำให้ผมได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ว่ามีมาตรฐานหรือมีคุณภาพแบบญี่ปุ่นไหม แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ ก็ใส่ใจทุกรายละเอียด และสิ่งสำคัญที่สุดคือการได้เรียนรู้แนวคิดแบบ Satoyama และ Satoumi ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผมชอบมาก เพราะสอดคล้องกับโครงการที่ทำอยู่ ทำให้ผมสามารถนำมาปรับใช้และต่อยอดได้

ผมตั้งใจว่าจะกลับไปขยายแนวคิดนี้ โดยเริ่มจากแบ่งปันประสบการณ์ให้เพื่อนที่กลับมาทำงานในชุมชนด้วยกันก่อน เพื่อผลักดันการพัฒนาแปลงเกษตรให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และมีแผนยกระดับชุมชนให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อให้พร้อมขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ การศึกษาดูงานทำให้เรามั่นใจว่า ชุมชนเราก็สามารถทำได้ ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่มอบโอกาสดีๆ ให้ผมและชุมชนครับ”

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ และยังคงมุ่งมั่นต่อยอด สนับสนุนต้นกล้าชุมชนทุกคนให้เติบโตเป็นนักพัฒนารุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นต้นแบบในการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนหรือชุมชนอื่นๆ ในการกลับมาพัฒนาชุมชนบ้านเกิด เพราะเชื่อว่าไม่มีใครรู้จักชุมชนดีไปกว่าคนในชุมชนเอง

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์พบว่า ข้าวพันธุ์ กข 43 เป็นข้าวเพื่อสุขภาพ แม้แต่นายกรัฐมนตรีก็พูดถึงหลายครั้ง แต่ไม่ทราบว่าดีต่อสุขภาพอย่างไร หากผมทราบข้อมูลแล้ว ก็จะซื้อมารับประทานบ้าง ผมจึงขอรบกวน คุณหมอเกษตร ช่วยอธิบายด้วยครับ

ตอบ คุณวรพจน์ เกียรติ์อุดมสุข

ข้าวพันธุ์ กข 43 เป็นข้าวเจ้า ได้จากการผสมระหว่าง ข้าวหอมสุพรรณ กับ สุพรรณบุรี 1 ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ข้าวพันธุ์ กข 43 เป็นข้าวชนิดไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวเพียง 95 วัน แป้งข้าวมีประมาณอมิโลสต่ำ เฉลี่ย 18.82 เปอร์เซ็นต์ ข้าวหุงสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม ให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 561 ถัง ต่อไร่

จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้ มีแป้งข้าวสารที่มีโมเลกุลมีขนาดใหญ่กว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว การย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลก็จะช้ากว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ดังนั้น ข้าวพันธุ์ กข 43 จึงเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่เป็นโรคเบาหวาน ขณะนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของไทย กำลังเร่งผลิตเพื่อทำการส่งออก ในแบรนด์ของข้าวเพื่อสุขภาพ

ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ไวแสงและไม่ไวแสง มีความแตกต่างกัน ข้าวพันธุ์ไวแสง จะออกดอกในช่วงที่พระอาทิตย์ลับฟ้าเร็ว หรือดวงอาทิตย์ให้แสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ในหนึ่งวัน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และไปเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ก็อยู่ในข้าวชนิดนี้ด้วย ส่วนข้าวพันธุ์ไม่ไวแสง หรือไม่ตอบสนองต่อช่วงแสง ข้าวชนิดนี้บางท่านเรียกว่า ข้าวพันธุ์อายุ เป็นข้าวชนิดที่ใช้ปลูกในช่วงฤดูใดก็ตาม เมื่อครบกำหนด เช่น อายุ 100 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมื่อปลูกไปแล้วครบ 100 วัน ข้าวชนิดหลังนี้ปลูกได้ดีทั้งนาปีและนาปรัง

หอการค้าประเมินความเสียหายพิษโซนร้อนปาบึกถล่มใต้ ชี้ภาคท่องเที่ยวขยายตัวตามเป้า เกษตรกระทบระยะสั้น ส้มโอ-ทุเรียน ผลผลิต ส่วน ยาง-ปาล์ม ขยับขึ้น จี้รัฐจัดแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ย 0% หนุนผู้ประกอบการรายย่อยฟื้นฟูธุรกิจ

นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) วันที่ 9 ม.ค. จะปรับประมาณการตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจจากเดิมช่วงธันวาคม 2561 จีดีพี ประเทศ ปี 2562 จะขยายตัว 4-4.3% อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจว่ารายได้ภาคการท่องเที่ยวในปีนี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากเดือนมกราคมเป็นฤดูการท่องเที่ยว จากการตรวจสอบยอดจองโรงแรมช่วงไตรมาส 1 ยังคงมีทิศทางที่ดี ส่วนผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึกไม่กระทบกับการท่องเที่ยวมากนัก เพราะคลี่คลายเร็ว

นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ สภาหอการค้าไทย เปิดเผยว่า พายุโซนร้อนปาบึกที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบในระยะสั้นไม่เกิน 3-4 เดือน ในส่วนของภาคการเกษตรยางและปาล์มไม่ได้เสียหายจากพายุมากนัก ส่วนผลไม้ เช่น ทุเรียนและส้มโอทับทิมสยาม

นางสาววาริน ชิณวงศ์ กรรมการสภาหอการค้าไทย และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า ขณะนี้ส้มโอทับทิมสยาม จ.นครศรีธรรมราช และทุเรียน มังคุด กำลังออกผล ทำให้ร่วงหล่นเกิดความเสียหายจากลมแรง แม้ผลผลิตอาจลดลง และจะมีการแย่งซื้อผลไม้หน้าสวน ราคาก็อาจขยับขึ้นเล็กน้อย เพราะส่วนใหญ่ทำสัญญาสั่งจองและตกลงราคากันล่วงหน้า ผู้ได้รับผลกระทบหลักคือเกษตรกรที่ขายผลผลิตได้น้อยลง หากเป็นสวนทุเรียนที่ได้รับการติดต่อซื้อเหมาสวนจะกระทบไม่มาก

ด้านนายพิชัย มะนะสุทธิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จ.ตรังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง มีเพียงฝนตกทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ส่งผลให้ขาดรายได้ และที่ผ่านมากำลังซื้อประชาชนน้อยอยู่แล้ว เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ

เช่นเดียวกับ นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ ผู้จัดการกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรผู้ผลิตแปรรูปยางพารา จ.พัทลุง ที่ระบุว่า คาดว่ายางจะหายไปจากตลาดหลายหมื่นตัน จากปกติผลิตยางได้กว่า 10,000 ตัน/วัน ทำให้ราคากระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะยางรมควันขยับขึ้น 5 บาท/กก. เนื่องจากบริษัทส่งออกยางแย่งซื้อเพื่อส่งมอบให้ได้จากการซื้อขายล่วงหน้า

สำหรับภาคประมง นายชุมพล แซ่ลิ้ม นายกสมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ห้องเย็นหลายแห่ง รวมถึงชาวประมงได้เตรียมพร้อมช่วงพายุเข้า หลังพายุสงบสินค้าประมงในตลาดท้องถิ่น ตามร้านอาหาร ราคาขยับขึ้นเล็กน้อยช่วงสั้นๆ และขณะนี้เรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่เริ่มกลับสู่ทะเลอีกครั้ง แต่ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทั้งหมด

ขณะที่นายกรกฎ เตติรานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า บริเวณ อ.เมือง ปากพนัง ทุ่งสง และท่าศาลา ได้รับผลกระทบจากโกดังสินค้าเสียหายจำนวนมาก เช่นเดียวกับภาคเกษตร ประมง ห้องเย็น และแพปลา รัฐจึงควรจัดหาแหล่งเงินให้ผู้ประกอบการกู้ปรับปรุงซ่อมแซม โดยคิดดอกเบี้ย 0% และผ่อนปรนเงื่อนไขเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยฟื้นตัว

ดร.กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากกรณีที่พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้ส่งผลให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่ม เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรลุ่มต่ำ ส่งผลให้พื้นที่นาในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี พัทลุง และชุมพร ได้รับผลกระทบจากน้ำไหลผ่านและท่วมขัง ซึ่งต้นข้าวในระยะการเติบโต โดยได้ส่งผลกระทบต่อนาข้าว ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

ซึ่งจากข้อมูลจากศูนย์อำนวยการและบัญชาการสถานการณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีพื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบภัย จำนวน 14 จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่การทำนา ได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 25,596 ไร่ ทางกรมการข้าวได้มอบหมายให้ ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี เร่งดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างเร่งด่วนทันทีหลังน้ำลด

นายพีรพล รัตนะ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง กล่าวว่า จากการที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจพร้อมพบปะเยี่ยมเยียนพี่น้องชาวนา และให้คำแนะนำให้ชาวนาเร่งระบายน้ำออกจากแปลงนาที่ถูกน้ำท่วม เพื่อลดระยะเวลาการสุกแก่ของข้าวและลดการสูญเสียคุณภาพข้าวด้านต่างๆ เนื่องจากเมล็ดข้าวจะแช่น้ำนานเกินไป ทำให้เปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวที่ได้จากการขัดสีลดลง ซึ่งถ้าหากชาวนาจะปลูกข้าวใหม่ แนะนำให้ใช้พันธุ์ กข 59, กข 55, ปทุมธานี 1, กข 49, กข 41, กข 29 และพันธุ์สังข์หยดพัทลุง โดยเฉพาะพันธุ์สังข์หยดพัทลุงจะต้องปลูกไม่เกิน 25 มกราคม 2562

นางจำเนียร เจียมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง กล่าวว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกพบปะเยี่ยมเยียนชาวนา ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว และเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในเขตอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอหัวไทร, อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยแนะนำให้เกษตรกรและตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการถูกน้ำท่วม โดยให้ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์การเกษตร เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่อาจจะเกิดความเสียหายจากความชื่น สัตว์พาหะและแมลงที่อาจมีมากในช่วงนี้ โดยให้ขนย้ายเมล็ดพันธุ์ข้าวเก็บไว้ในที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

กยท. ไฟเขียวเยียวยาชาวสวน 3 พันบาท/ราย – พร้อมสงเคราะห์พื้นที่เสียหายตามจริง 1.6 หมื่นบาท/ไร่ แจ้งเกษตรกรเร่งขึ้นทะเบียนตรวจสอบครบจ่ายเงินทันทีใน 3 วัน
เยียวยาชาวสวนยาง 3 พันบาท/ราย – นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท. ได้ลงพื้นที่สำรวจจำนวนชาวสวนยางพารา ที่ประสบภัยพายุปาบึกวันแรก ณ 8 ม.ค. 2562 เพื่อที่ กยท. จะได้เยียวยา และช่วยเหลือ ล่าสุดสรุปการช่วยเหลือชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนชาวสวนไว้กับ กยท. ออกเป็น 2 กรณี คือ กยท. จ่ายเงินเยียวยา รายละ 3,000 บาท และส่วนที่ 2 คือสงเคราะห์ ช่วยเหลือตามสภาพความเสียหาย แต่ไม่เกินไร่ละ 16,000 บาท จากการสำรวจพบ ชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่ กยท. ได้รับความเสียหายจากพายุปาบึก มีครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคใต้ จำนวน 5,475 ราย จำนวน 17,397 ไร่

“กยท. เพิ่งเริ่มสำรวจความเสียหายของยางพารา เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา และได้เปิดให้เกษตรกรมาลงทะเบียนและแจ้งความเสียหาย หากตรวจสอบพบความถูกต้องทั้งจำนวนและเกษตรกร ภายใน 3 วัน กยท. จะจ่ายเงินให้กับเกษตรกรชาวสวนอย่างเร่งด่วน โดยเงินที่ใช้เยียวยาและสงเคราะห์ จะได้จากเงินตามพระราชบัญญัติยางพารา 2558”

นายณกรณ์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งเป็นภาคใต้ตอนบน มี จ.สุราษฎร์ธานี มีความเสียหาย 53 ราย พื้นที่ 85 ไร่ ภาคใต้ตอนกลาง เสียหาย 5,395 ราย รวมความเสียหาย 17,312 ไร่ แบ่งเป็น จ.นครศรีธรรมราช 5,395 ราย จำนวน 16,912 ไร่ ตรัง ความเสียหายยังไม่ทราบจำนวน แต่เบื้องต้นพื้นที่เสียหาย 250 ไร่ และพัทลุง จำนวนผู้เสียหายยังไม่รู้แต่จำนวนพื้นที่เบื้องต้นเสียหาย 150 ไร่ ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ นราธิวาส สงขลา ยะลา ปัตตานี พบผู้เสียหายมาขึ้นทะเบียนไว้ 27 ราย แต่พื้นที่เสียหายยังไม่สามารถสรุปได้

ส่วนจังหวัดที่ได้รับรายงานว่า พื้นที่เกษตรไม่ได้รับความเสียหายจากพายุปาบึก ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ชุมพร กระบี่ พังงา ภูเก็ต และสตูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทรนด์รักสุขภาพถือได้ว่ากำลังมาแรง จะเห็นได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สูงอายุ หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจฟิตเนสต่างๆ กำลังได้รับความนิยม และยังส่งผลมาถึงธุรกิจขายอาหารเพื่อสุขภาพ คนหันมาใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น

ผักผลไม้ ถือเป็นเมนูโปรดที่คนรักสุขภาพนึกถึงเป็นอันดับแรก ส่งผลให้ตลาดหันมานิยมและมีความต้องการผักสลัดมากขึ้น เกษตรกรที่ติดตามข่าวสารหลายท่านได้ช่วงชิงโอกาสจากกระแสต่างๆ เหล่านี้ คิดผลิตเป็นรายได้ หันมาปลูกผักสลัดส่งตลาดกันยกใหญ่ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าทำเกษตรแล้วไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ต้องคำนึงถึงพื้นที่ ดิน ฟ้า อากาศ ใครอดทน ขยัน หมั่นพัฒนา และหมั่นหาการตลาดก็รอด…ครั้งนี้ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จะพาท่านมารู้จักการปลูกผักปลอดสารให้ได้ผล ที่สวนผักครูสรรเสริญ ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

อาจารย์สงบ เพียรทำดี เลขที่ 72 หมู่ที่ 13 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จาก ผอ. ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร เล่าว่า ตนจบการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ หลังจากนั้นได้บรรจุเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี สอนทางด้านสัตวศาสตร์ จนกระทั่งรับตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ซึ่งเป็นวิทยาลัยเกษตรเฉพาะการ หมายความว่าโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานการอาชีวศึกษากับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร และ ศปก. ดำรงตำแหน่งนาน 17 ปี ได้ลาออกก่อนเกษียณ 1 ปี เพื่อมาทำเกษตร

อาจารย์สงบ หรือคนเกษตรรู้จักกันดีในนามครูสงบ ลาออกก่อนเกษียณ 1 ปี เพื่อมาปลูกผักปลอดสาร จุดเริ่มต้นคือ ทำเพื่อเอาไปใช้เอง

“ก่อนหน้านั้น เราทำบาร์สลัดในห้างโมเดิร์นเทรด บิ๊กซี โลตัส ทำตั้งแต่โลตัสที่แม่สายถึงบิ๊กซีปัตตานี ก็ต้องใช้ผักเยอะวัตถุดิบเยอะ เกิดปัญหาได้วัตถุดิบไม่ตรงต่อความต้องการของเรา ผักถือเป็นวัตถุดิบตัวแรกที่จำเป็นในบาร์สลัด เพราะฉะนั้นคุณภาพ ปริมาณ ต้องเพียงพอ เมื่อเกิดปัญหาซ้ำบ่อยๆ จึงตัดสินใจที่จะออกมาปลูกเอง พูดง่ายๆ ว่า จุดเริ่มต้นเกิดจากไฟท์บังคับเรื่องวัตถุดิบไม่ตรงต่อความต้องการของเรา” อาจารย์สงบ เล่า

เตรียมแปลงปลูก ปรับปรุงสภาพดิน จากพื้นที่ใช้สารเคมีมาก่อน

อาจารย์สงบ เล่าว่า พื้นที่ตรงนี้เริ่มจากการปลูกพืชไร่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย จึงมีการใช้สารเคมีในปริมาณมากมาก่อน แต่สาเหตุที่มาเลือกพื้นที่ปลูกตรงนี้ เพราะเมื่อก่อนตนเป็นอาจารย์สอนด้านสัตวบาล สอนทางด้านโคเนื้อ โคนม มาตลอด เวลามาดูงาน หรือมีลูกศิษย์ส่วนใหญ่แล้วเขามีพื้นเพอยู่แถวนี้กันทั้งนั้น จึงเกิดความคุ้นเคยกับที่นี่ ช่วงมาใหม่ๆ มีปัญหามาก เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือ ปลูกผักปลอดสารบนดิน แต่พื้นที่ตรงนี้มีการใช้สารเคมีเยอะ พื้นที่ถูกใช้มานาน และถูกใช้ไม่ตรงงานหลัก จึงเริ่มวางแผนปรับปรุงดินยกใหญ่ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ ขี้ไก่หมัก ขี้วัว ผสมปรับให้ดินร่วนซุ่ยขึ้น มาใหม่ๆ ดินแข็ง รดน้ำไม่ได้เลย ทำแบบนี้อยู่หลายเดือน จนเริ่มปลูกผักได้ดีขึ้น

ปลูกผักสลัด ปลอดสารทุกชนิด บนเนื้อที่ 27 ไร่

ปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งหมด 47 ไร่ แบ่งปลูกผักปลอดสาร 27 ไร่ เนื่องจากว่าพื้นที่ตรงนี้อากาศถ่ายเท ระดับความสูงจากน้ำทะเล ประมาณ 300-400 เมตร สภาพดินหลังปรับปรุงมีช่องอากาศ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี เหมาะกับการปลูกผัก

ที่นี่เริ่มจากการปลูกผักสลัดปลอดสาร มีทั้ง กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ฟิลเล่ เรดคอรัล บัตเตอร์เฮด ไอซ์เบิร์ก คอส เบบี้คอส

จากผักสลัด ก็มองเห็นว่าน่าจะปลูกผักชนิดอื่นที่นำไปใช้ประกอบกันได้ ประกอบกับเคยอ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เรื่องต้นอ่อนทานตะวัน จึงเป็นการจุดประกายให้เริ่มปลูกเพิ่มอีกชนิด ใหม่ๆ จินตนาการว่าเหมือนถั่วงอก ลองล้อมคอกเลี้ยง และความที่ไม่คุ้นชินกับผักประเภทนี้ ไปซื้อเมล็ดมาก็ไม่งอก ทำแล้วก็ทิ้ง จึงเริ่มแกะรอยตามนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน แล้วนึกถึงหลักความจริง ในเมื่อมีสีเขียว ต้องมีแสง ก็ดูเรื่องแสง สุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ

และอีกประการที่เราเรียนรู้จากการปลูกต้นอ่อนทานตะวันคือ เมื่อปลูกถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ต้องมีเทคนิค เราเคยอ่านมาว่าให้ใช้กรรไกรตัด จริงๆ แล้วถ้าใช้กรรไกรตัดรากจะช้ำ ส่งผลให้เน่าเร็ว พอช้ำเก็บไว้ไม่ได้นาน ส่งไปที่บาร์สลัด เก็บไว้ได้เพียง 1-2 วัน ก็เสีย จากจุดนั้นจึงเริ่มศึกษาว่าเกิดจากอะไร และได้คำตอบมาว่า

การตัด
อุณหภูมิ ความชื้น เมล็ดพันธุ์ เราค่อยศึกษา เปลี่ยนจากการตัดด้วยกรรไกรเป็นมีด แต่ต้องเป็นมีดที่คมกริบ และยึดความสะอาดเป็นสำคัญ
จนกระทั่งทุกวันนี้ ต้นอ่อนทานตะวันของอาจารย์เรียกได้ว่าอยู่แนวหน้าในเรื่องของคุณภาพ หากแช่ตู้เย็น อยู่ได้ 1 สัปดาห์ แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากการปลูกผักสลัดและต้นอ่อนทานตะวัน อาจารย์สงบได้มีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้มีแปลงปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ แปลงถั่วพู มะระ และแตงกวาญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นมา เรียกได้ว่ากำลังไปได้ดีในทุกผลผลิตที่ทำ

เลิกทำสลัดบาร์ หันมาปลูกผัก ส่งร้านอาหารแทน

อาจารย์สงบ เล่าว่า หลังจากทำธุรกิจสลัดบาร์ตามห้างโมเดิร์นเทรดเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี เริ่มเกิดปัญหาค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น สู้ไม่ไหว จึงหยุดทำธุรกิจสลัดบาร์ ช่วงที่เลิกทำเกิดความกลุ้มใจว่า จะนำผักที่ปลูกจำนวนมากขนาดนี้ไปส่งที่ไหน แต่ด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น และบวกกับเงินที่ลงทุนไปเยอะแล้ว จึงไม่เสียกำลังใจ อย่าง ต้นอ่อนทานตะวัน รับช่วงต่อจากพ่อค้าเดิม ส่วนผักสลัดก็ส่งตามร้านอาหาร โอท็อป แต่ส่วนมากแล้วนำสินค้าไปเสนอที่ไหน ไม่ค่อยมีคนปฏิเสธ เพราะของมีคุณภาพ ขายไปขายมาไม่น่าเชื่อว่าต้องตัดต้นอ่อนขาย วันละ 80-100 กิโลกรัม รวมกับผักชนิดอื่นที่ต้องตัดส่งด้วย วันหนึ่งแล้วต้องตัด วันละ 300-400 กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่พอขาย

ปลูกผักปลอดสารลงดินไม่ยาก

อาจารย์สงบ เล่าถึงการผลิตว่า ขั้นตอนการเตรียมดิน ไถพรวนหน้าดิน ตากแดดไว้ประมาณ 7-14 วัน ทุกครั้งที่ปลูกจะรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เน้นขี้ไก่หมักเป็นหลัก เพราะในขี้ไก่มีแกลบเยอะ ทำให้ดินร่วนซุย ช่วยเติมช่องอากาศในดิน ทำให้ระบายน้ำดี พืชผักได้รับอากาศที่เหมาะสม

หลังจากรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์เสร็จ ให้ใช้รถไถโรตารี่ ทำแปลงให้เหมาะกับอุปกรณ์ของเรา ขับถอยหลังเข้าไปร่องหนึ่งใช้เวลาไม่เกิน 2-3 นาที หลังจากนั้น ใช้คนแต่งให้เป็นร่องสวยงาม