การวางแผนปลูกพืชหมุนเวียนผสมผสาน ไม่เสี่ยงต่อราคา

ผลผลิตตกต่ำทำให้ คุณสีไพร แก้วสุวรรณ เกษตรกรอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีรายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และยังได้ผลผลิตดีเป็นที่ต้องการของตลาด และการเลือกใช้ปุ๋ยดีมีคุณภาพอย่างปุ๋ยตรากระต่าย ก็ทำให้มีผลผลิตเต็มไร่ ได้คุณภาพชัวร์ เด๊ะ เด๊ะ ใครอยากรู้ว่าจริงไหม ต้องลองใช้!

อาจารย์ประทีป กุณาศล นักวิชาการพืชสวนอิสระ อดีตข้าราชการกรมวิชาการเกษตร และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการพืชสวน ของ “นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้แนะนำให้ผู้เขียนไปเยี่ยมชม “สวนคุณปาน รีสอร์ทเขาใหญ่” ที่โดดเด่นในเรื่องเทคนิคการผลิตองุ่นแบบประณีต เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตองุ่น ตามคำแนะนำของ ดร. ชินพันธ์ ธนารุจ สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนประสบความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาด ทำให้สวนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องการจัดการสวนองุ่นอย่างมืออาชีพ

จากเส้นทางถนนธนะรัชต์ ขับผ่านแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง “ปาลิโอ เขาใหญ่” ก่อนถึงด่านเก็บเงินขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยมาประมาณ 7 กิโลเมตร ขับตรงไปเรื่อยๆ ผ่านคีรีมายากอล์ฟรีสอร์ทแอนด์สปาเขาใหญ่ และครัวกำปั่น ประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงสถานที่ตั้งของสวนองุ่นแห่งนี้ สังเกตด้านขวามือ มีบ้านทรงไทยหลังใหญ่ ด้านหน้ามีป้ายขนาดใหญ่ ติดชื่อ “สวนคุณปาน รีสอร์ทเขาใหญ่” สวนแห่งนี้อยู่ก่อนทางเข้าหมู่บ้านคลองเดื่อ

ปัจจุบัน “สวนคุณปาน รีสอร์ทเขาใหญ่” ตั้งอยู่เลขที่ 8/3 หมู่ที่ 6 บ้านคลองเดื่อ ถนนทางหลวงชนบท นม. 3052 ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. (089) 801-4679 และ (092) 569-8638 เจ้าของสวนแห่งนี้ ชื่อ “คุณปานนภา ปาซ่อนกลิ่น” วัย 47 ปี ต้อนรับพวกเราด้วย “น้ำองุ่นสดแช่เย็น” รสหวาน ดื่มแล้วชื่นใจและดีต่อสุขภาพ

คุณปาน เล่าเส้นทางชีวิตของเธอให้ฟังว่า เธอเกิดในครอบครัวเกษตรกร ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาคุณพ่อได้ย้ายครอบครัวมาตั้งรกรากที่อำเภอปากช่อง เธอเรียนรู้อาชีพการทำสวนทำไร่จากคุณพ่อ เมื่อเติบโตคุณพ่อก็แบ่งที่ดินให้ทำกิน เธอปลูกพืชเศรษฐกิจมาแล้วหลายชนิด ทั้งปลูกฝ้าย ปลูกน้อยหน่า แตงกวา มะเขือเทศ มะขามหวาน มะม่วง ลำไย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ

จนกระทั่ง ปี 2552 คุณปาน ได้หันมาทดลองปลูกองุ่นพันธุ์แบล็คโอปอล บนเนื้อที่ 1 ไร่ ปรากฏว่า มีดแรก สวนองุ่นทำเงินไม่ได้ เพราะเธอขาดความรู้และประสบการณ์เรื่องการปลูกดูแลองุ่น เธอไม่ท้อ อาศัยเรียนรู้เรื่องการทำองุ่นแบบครูพักลักจำ จากการเยี่ยมชมสวนองุ่นในพื้นที่อำเภอปากช่อง และนำมาประยุกต์ใช้ในสวนองุ่นของตัวเอง จนพัฒนาฝีมือดีขึ้น

เมื่อมั่นใจว่า อาชีพการปลูกองุ่น สร้างเงิน สร้างงาน ที่มั่นคงเพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัวได้ เธอจึงลงทุนทำสวนองุ่นอย่างเต็มตัว โดยลงทุนสร้างโรงเรือนพลาสติกสำหรับปลูกองุ่น เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิต ทำให้องุ่นรุ่นต่อมามีคุณภาพดีขึ้น ทำให้มีกลุ่มลูกค้าขาประจำแวะเวียนเข้ามาซื้อสินค้าถึงสวนอย่างไม่ขาดสาย ขายดีจนสินค้าไม่ทันกับความต้องการของตลาด

ต่อมา คุณปาน จึงตัดสินใจยื่นขอกู้เงินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาปากช่อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขยายโรงเรือนพลาสติกสำหรับปลูกองุ่น และก่อสร้างบ้านพักสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักผ่อนในอำเภอปากช่อง

คุณปาน บอกว่า ในระยะแรกเธอบริหารจัดการสวนองุ่นแบบเก่า แบบเดียวกับที่ใช้ในสวนองุ่นของอำเภอบ้านแพ้ว ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง มีทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ใช้แรงงานจำนวนมาก ช่วงนั้นเธอยังตัดองุ่นไม่เป็น ต้องเสียค่าจ้างคนงานจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 บาท

นับเป็นความโชคดีของเธอ ที่มีโอกาสรู้จัก “ดร. ชินพันธ์ ธนารุจ” นักวิชาการสาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. (089) 264-2853 อีเมล greenlanna@yahoo.com ดร. ชินพันธ์ ได้แนะนำให้เธอได้เรียนรู้เทคนิคการบริหารจัดการสวนองุ่นรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า การจัดการองุ่นแบบประณีต เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ที่ ดร. ชินพันธ์ ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานด้านการผลิตไม้ผลชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และนิวซีแลนด์

ทั้งนี้ หลักการทำการเกษตรอย่างประณีต (Intensive) นั้น ดร. ชินพันธ์ ส่งเสริมให้เกษตรกรดูแลเอาใจใส่การผลิตทุกขั้นตอน เพื่อเพิ่มปริมาณและเพิ่มคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้นในพื้นที่จำกัดแล้ว วิธีนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนและปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงานและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรเองและผู้บริโภค การบริหารจัดการลักษณะนี้ จะทำให้ทิศทางการผลิตเป็นแบบชีวภาพ (Bio control) แบบผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM) และพัฒนาไปถึงระบบเกษตรอินทรีย์ได้ในอนาคต

ดร. ชินพันธ์ ได้แนะนำให้เกษตรกรเจ้าของสวนองุ่นหลายแห่ง ใช้เทคนิคการจัดกิ่งองุ่น แบบ “กิ่งก้างปลา” โดยเลี้ยงกิ่งให้มีขนาดและความยาวที่สม่ำเสมอ เป็นการจัดกิ่งคล้ายกับก้างปลา ซึ่งเป็นการจัดการกิ่งอย่างประณีต เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้นและผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น ปรับระยะปลูกให้ห่างขึ้น เพื่อความเหมาะสมต่อการปลูก “องุ่น” ซึ่งเป็นผลไม้เมืองหนาวที่ปลูกเขตร้อนอย่างประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการจัดกิ่งองุ่น แบบ “กิ่งก้างปลา” ช่วยให้ต้นองุ่นสามารถเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น โดยทั่วไปต้นองุ่นส่วนใหญ่เป็นการเจริญเติบโตทางกิ่งใบแต่จะให้ผลผลิตน้อยโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีความแข็งแรงมากๆ เช่น พันธุ์เฟลมซีดเลสส์ (Flame Seedless) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีกลิ่นและรสชาติหวาน กรอบ และถูกปากคนไทยมากพันธุ์หนึ่ง ปัจจุบันสามารถผลิตได้ในพื้นราบเขตเชียงใหม่ ลำพูน นครราชสีมา และอีกหลายจังหวัด ที่ผ่านมามีสวนองุ่นหลายแห่งที่นำหลักการของ ดร. ชินพันธ์ ไปใช้จนประสบความสำเร็จอย่างน่าสนใจ ยกตัวอย่าง เช่น สวนสุชาดา ในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

เนื่องจาก คุณปาน มีพื้นฐานความรู้ด้านการเกษตรอยู่ก่อน เมื่อได้รับคำแนะนำด้านวิชาการจาก ดร. ชินพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล ทำให้เธอสามารถนำองค์ความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้า จนกิจการสวนองุ่นเติบโตก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ มีฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน สวนองุ่นแห่งนี้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการสวนองุ่นแบบมืออาชีพ ที่ผู้สนใจแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการและแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการบริหารจัดการสวนองุ่นกับคุณปานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี หากใครสนใจต้นองุ่นและวิธีปลูกดูแล ติดต่อดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ ได้ที่ สวนแห่งนี้ คุณปานยินดีแนะนำการปลูกให้ฟรีๆ

คุณปาน บอกว่า เกษตรกรและผู้สนใจมักแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการและซักถามเรื่องเทคนิคการตัดแต่งกิ่ง การโน้มกิ่ง ฯลฯ เทคนิคการจัดกิ่งองุ่น แบบ “กิ่งก้างปลา” ช่วยให้การบริหารจัดการสวนองุ่นได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่เคยจ้างแรงงาน 14 คน ดูแล ปัจจุบันสวนองุ่นของเธอใช้แรงงานคนในครอบครัวแค่ 3-4 คน ช่วยกันตัดแต่งกิ่งต้นองุ่น เสร็จภายในวันเดียว

จากครั้งแรกที่ลงทุนปลูกองุ่นเพียงแค่ 1 ไร่ เมื่อธุรกิจเติบโต คุณปานก็ขยายพื้นที่ปลูกองุ่นพันธุ์แบล็คโอปอลเพิ่มขึ้นเป็น 5 ไร่ และปลูกองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาอีก 2 ไร่ ปัจจุบันสวนแห่งนี้ปลูกองุ่นหลากหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์แบล็คโอปอล พันธุ์บิวตี้ ซีดเลสส์ พันธุ์เฟรมซีดเลสส์ (ช่อยาว หวานกรอบ) พันธุ์เพอร์เร็ท พันธุ์คาดินัล ฯลฯ

จุดเด่น-ด้อย ขององุ่นแต่ละสายพันธุ์

คุณปาน บอกว่า ตอนนี้ เธอปลูกองุ่นหลายพันธุ์อย่างละนิดอย่างละหน่อย หากดูแลจัดการดีๆ ก็ได้ผลดก หากอยากได้องุ่นพันธุ์ไหน ก็แค่เอายอดองุ่นพันธุ์ใหม่ไปเปลี่ยนเอา องุ่นแต่ละสายพันธุ์มีเทคนิคการดูแลใช้ปุ๋ย ใช้ยาฮอร์โมนที่แตกต่างกัน

สำหรับองุ่นพันธุ์แบล็คโอปอลของสวนแห่งนี้ โดดเด่นในเรื่องรสชาติหวาน กรอบ และมีขนาดผลเล็ก ซึ่งคนไทยบางคนเจอองุ่นผลเล็กแบบนี้มักเรียกผิดว่าเป็น “องุ่นไข่ปลา” ความจริงแล้ว เป็นองุ่นคนละสายพันธุ์กัน ที่เรียกว่า องุ่นไข่ปลา คือองุ่นพันธุ์ไข่ปลาคาเวียร์ ซึ่งสวนคุณปานไม่ปลูกองุ่นพันธุ์นี้ เพราะดูแลจัดการยาก เนื่องจากเป็นพวงองุ่นผลเล็ก การซอยผลทำได้ยาก

คุณปาน บอกว่า ตอนแรกที่เธออยากทำสวนองุ่น ก็ไม่รู้ว่าองุ่นพันธุ์ไหนดีกว่ากัน สังเกตว่า “แบล็คโอปอล” เป็นสายพันธุ์องุ่นที่เกษตรกรนิยมปลูกกันทั่วไป เพราะดูแลจัดการง่าย จึงสั่งต้นพันธุ์มาปลูก ปรากฏว่า เจอปัญหาผลผลิตล้นตลาด เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกองุ่นพันธุ์แบล็คโอปอล อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรดูแลจัดการต้นแบล็คโอปอลให้มีผลผลิตคุณภาพดี รสชาติอร่อย องุ่นพันธุ์นี้ก็ยังเติบโตได้เรื่อยๆ

ส่วนองุ่นเขียวพันธุ์ไวท์มะละกา คุณปาน บอกว่า เป็นองุ่นเขียว มีเมล็ด ผลดก ช่อใหญ่ พวงยาว ทนแล้ง ปลูกที่ต่ำได้ ใบไม่สวย องุ่นพันธุ์นี้มี 2 สายพันธุ์หลัก คือชนิดผลกลม และผลยาว ให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง วางขายในท้องตลาดทั่วไป นิยมปลูกแพร่หลายในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว สำหรับองุ่นพันธุ์คาร์ดินัล ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง ช่อผลใหญ่ ผลมีสีม่วงดำ รสชาติหวาน กรอบ เปลือกบาง จุดอ่อนคือ หากเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ทัน เสี่ยงเจอปัญหาผลแตกได้ง่าย โดยทั่วไปสามารถเก็บผลผลิตได้ 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 ปี

เคล็ดลับความสำเร็จ

การทำสวนองุ่นให้ประสบความสำเร็จ คุณปาน บอกว่า 80% เจ้าของต้องมีเวลาดูแลสวนด้วยตัวเอง และคนงานต้องมีใจให้เราด้วย หากคนงานทำงานแค่วันๆ เพื่อรอเงินเดือน เขาจะไม่รู้ ไม่ถาม ไม่ตาม เรื่องที่เราทำ ผลผลิตก็ได้น้อย หากคนงานสนใจ ทำตาม เจอปัญหาก็ถาม ช่วยกันแก้ไขไม่ดูดาย ผลผลิตก็ได้ดีตามที่เราต้องการ

ผู้เขียนใช้เวลาพูดคุยและเยี่ยมชมสวนของเธอถึง 2 ชั่วโมง คุณปานเป็นคนที่คุยสนุก มีเรื่องราวน่ารู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการสวนองุ่นที่น่าสนใจมากมาย จึงขอแบ่งปันสาระน่ารู้เกี่ยวกับสวนองุ่นแห่งนี้ มานำเสนอท่านผู้อ่านอีกครั้งในฉบับต่อไป

อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากตัวอำเภอเมืองยะลาตามเส้นทางลงไปสู่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใต้สุดแดนสยาม อันเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่แม้อำเภอบันนังสตาจะไม่ได้ถูกจดจำว่ามีการเกษตรชนิดใดโดดเด่นเป็นหลัก แต่เมื่อถึงฤดูที่ทุเรียนให้ผลผลิต ก็มีทุเรียนหมอนทองจำนวนไม่น้อยที่ออกจากพื้นที่นี้ไป

คุณอาลี บือแน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พาเราเข้าพื้นที่ไปดูแปลงทุเรียนหมอนทอง ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเองการันตีว่า หมู่ที่ 2 เป็นแปลงปลูกทุเรียนหมอนทองแปลงใหญ่ที่สุดของอำเภอบันนังสตา

คุณอาลี บอกว่า เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกยางพารา มีอาชีพกรีดยางขาย เป็นหลัก แต่เมื่อราคายางตกต่ำ ชาวบ้านหลายรายคิดเปลี่ยนอาชีพ ที่มองเห็นช่องทางของรายได้ขณะนั้นคือ การปลูกทุเรียน เพราะไม่มีปีใดที่ทุเรียนราคาถูก ทำให้มีเกษตรกร จำนวน 114 ราย โค่นยางพาราและปลูกทุเรียนหมอนทอง เฉลี่ยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทอง ประมาณ 5 ไร่ ต่อราย รวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยในจำนวนนี้ มีเกษตรกรคุณภาพ 13 ราย

การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ระบุว่า เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถต่อรองราคาผลผลิต มีหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้และคำแนะนำ ซึ่งเกษตรกรยินดีและพึงพอใจมาก

ผลผลิตทุเรียนหมอนทองของกลุ่มเกษตรกรหมู่ที่ 2 จะเก็บเกี่ยวทุเรียนเมื่อความสุกที่ 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สุกเมื่อถึงมือผู้บริโภคพอดี และได้ทุเรียนที่มีความแก่จัด ไม่ถูกตำหนิว่าเป็นทุเรียนไม่ได้คุณภาพ

ผลผลิตทั้งหมดที่เก็บได้ จะนำไปส่งยังตัวจังหวัดยะลาให้กับผู้ค้ารายใหญ่ ซึ่งทุกปีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ และเท่าที่รู้ ทุเรียนหมอนทองของอำเภอบันนังสตาแห่งนี้ ถูกกระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บรรจุลงกล่องส่งไปจำหน่ายที่มาเลเซียเป็นส่วนใหญ่

คุณฮามะ ตรอแซ ชาวบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ผู้ปลูกทุเรียน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ หมอนทอง พวงมณี ชะนี และ ก้านยาว บนพื้นที่ 10 ไร่ ที่ลาดเชิงเขา ให้ข้อมูลว่า เดิมทำสวนยางพารา เมื่อราคายางตกต่ำ จึงโค่นยางพาราทิ้งและลงปลูกทุเรียนทั้ง 4 สายพันธุ์ไว้ เพราะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อสายพันธุ์ทุเรียนทั้งหมดมาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

“ที่เลือกปลูกทุเรียน เพราะเป็นที่ลาดเชิงเขา และดินไม่เหมาะกับไม้ผลชนิดอื่น เริ่มจากการทดลองปลูกเพียง 5 ไร่ เมื่อได้ผลผลิตดี ราคาซื้อขายดี จึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 10 ไร่”

คุณฮามะ ปลูกทุเรียนมานานกว่า 30 ปี ถือว่าเป็นเกษตรกรยุคแรกๆ ที่เริ่มโค่นยางและตัดสินใจปลูกทุเรียนเต็มแปลง แม้จะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกไม้ผลมาก่อน แต่เพราะมีความสนใจใฝ่รู้ ความรู้เรื่องการดูแลรักษาทุเรียนจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณฮามะ

เมื่อได้ต้นพันธุ์ทุเรียนมา ควรขุดหลุมปลูกความลึก 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหลุมปลูก 1 เมตร เมื่อนำต้นพันธุ์ลงปลูกให้กลบแล้วพูนโคนรอบต้น ระยะปลูก 10×10 เมตร เหตุที่ต้องมีระยะปลูกมาก เพราะเป็นที่ลาดเชิงเขา ทรงพุ่มของต้นทุเรียนชิดกันมากเกินไปได้ เมื่อระยะปลูกเช่นนี้ ทำให้ปลูกทุเรียนได้จำนวน 20 ต้น ต่อไร่

การให้ปุ๋ย ใช้สูตร 15-15-15 ให้ 3 เดือน ต่อครั้ง ครั้งละกำมือหรือมากกว่า ให้พิจารณาจากอายุของต้นทุเรียน การให้น้ำ เมื่อทุเรียนเริ่มติดผล ควรให้นาน 10 นาที หากฤดูแล้งควรเพิ่มเวลาให้น้ำเป็น 15-20 นาที ทุกวัน ยกเว้นฤดูฝนที่ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หากไม่แน่ใจให้ดูจากความชื้นของดิน

ผลผลิตแต่ละต้นจะให้จำนวนไม่เท่ากัน หากอายุต้นทุเรียน 15-17 ปี ควรไว้ผลทุเรียนเพียง 50 ผล จึงจะทำให้ผลทุเรียนมีความสมบูรณ์มากเพียงพอ

เมื่อผลผลิตออกจำนวนมาก จำเป็นต้องจ้างแรงงานโยงกิ่ง ปัจจุบันค่าจ้างแรงงานโยงกิ่งต่อต้น วันละ 200 บาท

การตัดแต่งกิ่ง จะทำก็ต่อเมื่อ เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องทำ เมื่อถามถึงรสชาติ เพราะแน่นอนว่า ทุเรียนในภาคตะวันออกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คุณฮามะ กล่าวว่า รสชาติทุเรียนแต่ละถิ่นไม่เหมือนกัน ของอำเภอบันนังสตา แม้จะไม่โด่งดังเช่นภาคอื่น แต่ก็มีความหวานมัน และที่สำคัญไม่ใช้ยาฆ่าแมลงในการดูแลรักษา ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ปัญหาหนอนเจาะลำต้นและในผลทุเรียน ซึ่งทั้งสองปัญหา ยังไม่สามารถแก้ได้

ในปีที่ผ่านมา ทุเรียนแปลงใหญ่ของหมู่ที่ 2 นี้ สามารถเก็บผลผลิตส่งจำหน่ายได้มากถึง 2 ตัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่น้อย และแม้จะไม่ได้มีเทคนิคการดูแลทุเรียนมากเป็นพิเศษ แต่ก็สามารถทำทุเรียนได้คุณภาพตามตลาดต่างประเทศต้องการ ด้วยการปลูกแนวธรรมชาติ ใช้สารเคมีบ้างตามความจำเป็น เน้นการใช้ธรรมชาติดูแลมากกว่า

หากเกษตรกรในภาคใต้รายใดสนใจศึกษาดูงานการทำทุเรียนแปลงใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา แห่งนี้ ติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา โทรศัพท์ 073-289-229 ในวันและเวลาราชการ

พบเห็นกระท้อนปลูกอยู่ใกล้บ้านน้อย ให้เดาคงเป็นเพราะขั้นตอนบางอย่าง ยุ่งยากกว่าจะได้ลิ้มชิมรสโดยเฉพาะการห่อ แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงสำหรับผู้ปลูก กระท้อน หากตั้งใจจริง

หากสนใจปลูกกระท้อน ก็แวะไปตามร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ เขามีให้เลือก อาจเป็นสายพันธุ์อีล่า หรือปุยฝ้าย ทุกวันนี้เขาไม่มีพันธุ์ปลอม เพียงแต่อีล่า อาจหายากสักหน่อย เขาอาจถามกลับมาว่า ปุยฝ้ายได้ไหม หากพอใจก็ซื้อมาปลูกได้

หลังปลูกผ่านปีที่ ๓-๔ ไปแล้ว กระท้อนก็จะเริ่มให้ผลผลิต

ปลูกกระท้อน เมื่อมีผลผลิตหากไม่ห่อไม่ได้กินแน่ เพราะแมลงวันทองจะวางไข่ ตัวหนอนชอนไช ในผลเสียหายแมลงวันทองเริ่มวางไข่เมื่อผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง

ดังนั้น ควรห่อผลตั้งแต่กระท้อนมีขนาดเท่ามะนาว วิธีการห่อใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษถุงปูนซีเมนต์ หรืออาจเป็นใบต้องแห้งก็ได้ ผู้ที่ปลูกมากๆ เป็นการค้า ก่อนห่อเขาจะใช้สารเคมีหรือสารสกัดชีวภาพฉีดพ่นให้ แต่หากปลูกแบบมือสมัครเล่น ไม่จำเป็นต้องพ่นก็ได้

การห่อผลนอกจากจะป้องกันแมลงวันทองทำลายแล้ว สมัครเล่นคาสิโน ยังช่วยให้ผลไม้มี ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ๕-๒๐ เปอร์เซ็นต์อีกด้วย การห่อเป็นการหลีกเลี่ยงสารเคมีได้อย่างดี ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างต่อเนื่อง ในปี 2563-2564 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย รวมทั้งตลาดสินค้าเกษตรของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกษตรกรทั่วประเทศต้องปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน ในรูปแบบ New Normal ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งในวันนี้และในอนาคต

“มะม่วง” หนึ่งในไม้ผลส่งออกสำคัญของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เช่นเดียวกัน คุณสายันต์ บุญยิ่ง นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย (โทร. 081-887-1964) กล่าวว่า ชาวสวนมะม่วงยังรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ เพราะเครือข่ายชาวสวนมะม่วงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการผลิต-ตลาด สามารถบริหารจัดผลผลิตให้เข้าสู่ตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสมได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม หากชาวสวนมะม่วงได้รับการสนับสนุนด้านระบบโลจิสติกส์และสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากหน่วยงานภาครัฐ ก็เชื่อว่ามะม่วงไทยยังสามารถเติบโตในเวทีตลาดโลกได้อย่างสบาย

ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงโดยรวมประมาณ 2 ล้านไร่ โดยพื้นที่รอยต่อจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร และนครสวรรค์ คือแหล่งปลูกมะม่วงผืนใหญ่ของประเทศไทย เนื้อที่ปลูกโดยรวม 250,000 ไร่ ผลผลิตโดยเฉลี่ย ไร่ละ 1 ตัน

คุณสายันต์ กล่าวว่า ในปีนี้แหล่งปลูกมะม่วงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีผลผลิตป้อนเข้าตลาดไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน สำหรับผลผลิตมะม่วงที่ปลูกในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ จะถูกรวบรวมมาขายในพื้นที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ในช่วงฤดูการผลิต เดือนมีนาคม-เมษายน มีรถตู้คอนเทนเนอร์วิ่งรับส่งผลผลิตเข้าออกในอำเภอสากเหล็กไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 ตัน

ทุกวันนี้ อำเภอสากเหล็กเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกในโซนภาคเหนือตอนล่าง โดยผลผลิตส่วนใหญ่ 50-60% ส่งออกไปขายประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน รวมทั้งส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้รถตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งมะม่วงจากจังหวัดพิจิตรขนส่งผ่านชายแดนไปยังประเทศคู่ค้า

เช่น ประเทศเวียดนาม และ สปป.ลาว ใช้เวลาขนส่งสินค้าประมาณ 10 กว่าชั่วโมง ส่วนประเทศมาเลเซียจะขนส่งสินค้าผ่านด่านสะเดาและด่านสุไหงโก-ลก โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 ชั่วโมง ผลผลิตที่เหลืออีก 40% ส่งขายตลาดภายในประเทศ ผ่านช่องทางตลาดค้าส่ง เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ห้างโมเดิร์นเทรด คุณสายันต์ กล่าวว่า เกษตรกรชาวสวนมะม่วงมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างชาวสวนมะม่วงทั่วประเทศ ทำให้รู้ข้อมูลข่าวสารว่า มีแหล่งผลิตอยู่ที่ไหน มีผลผลิตออกมาเท่าไรในแต่ละเดือน ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้ว่า ควรมีผลผลิตออกมาในช่วงไหน ให้ขายได้ราคาดีและมีคู่แข่งน้อย

พื้นที่ภาคกลาง มีฤดูมะม่วงปี ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ในอดีตเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ปลูกมะม่วงนอกฤดู มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดในช่วงเดียวกับจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ทำให้ขายสินค้าไม่ได้ราคา เพราะลูกค้าไม่อยากเดินทางไกลไปซื้อสินค้าในภาคเหนือ