การวิจัยยังพบว่าสมุน ไพรบางชนิดมีประโยชน์ที่จะสามารถลดน้ำตาล

ขณะที่บางชนิดเป็นโทษ ดังนั้น การปลูกสมุนไพรใช้ในครัวเรือนจึงช่วยส่งเสริมสุขภาพและลดค่าใช้จ่ายจากยา แต่การดูแลรักษาที่สำคัญที่สุดคือ ตัว ผู้ป่วยเอง

หากประชาชนที่ต้องการหนังสือและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคไต ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่ fmednft@yahoo.com และ facebook Prasit Futrakul

ผู้นำเข้าอินเดียแห่ซื้อผลไม้ไทย ทั้ง “มังคุด-เงาะ-ลำไย-ฝรั่ง-มะขามหวาน-มะพร้าวอ่อน” ทำยอดพุ่งกว่า 60% เผย อุปสรรคใหญ่ซัพพลายเออร์-เกษตรกรไทยไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จี้หาทางแก้ไขเร่งด่วน

นางจิตตรา ปัญญาชัย เจ้าของและผู้จัดการ บริษัท มาตาโปรดักส์ จำกัด เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงกรณีที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้นำเข้า ผลไม้รายใหญ่ จำนวน 12 บริษัท กับผู้ประกอบการของไทยในจังหวัดตราด จันทบุรี และภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางจำนวน 20 บริษัท ว่า บริษัทมาตาเปิดตัวบริษัททำธุรกิจรับซื้อผลไม้สดและผลไม้แปรรูปส่งออกมา 5 ปี ที่ผ่านมาได้ส่งผลไม้เข้ากรุงนิวเดลีอยู่แล้ว และการเจรจาครั้งนี้ได้ลูกค้าจากเมืองมุมไบเพิ่มขึ้น เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดผลไม้อินเดียเติบโตอย่างรวดเร็ว เพิ่มจาก 30% เป็น 60% โดย ผลไม้สดที่ได้รับความนิยม เช่น มังคุด เงาะ ลำไย ฝรั่ง มะขามหวาน มะพร้าวอ่อน

“ตอนนี้ต้องเร่งทำให้คนอินเดียรู้จักผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น เช่น ทุเรียนคนอินเดียไม่สนใจเพราะไม่รู้จัก กลุ่มลูกค้าจีนกับอินเดียต่างกัน ตลาดจีนจะไม่สั่งลำไยในช่วงฤดูร้อน (กรกฎาคม-กันยายน) แต่อินเดียขายได้ตลอดปี ส่วนต้นทุนการส่งออกจะใกล้เคียงกัน คือ ตลาดจีนจะสั่งสินค้าลอตใหญ่ๆ สัปดาห์ละ10 ตัน และเข้มงวดต้องเป็นเกรดพรีเมี่ยมตามสเป็ก แต่สามารถขนส่งทางเรือ ทางรถยนต์ได้ ทำให้ต้นทุนไม่สูง แม้จะซื้อผลไม้ราคาแพงกว่า แต่ตลาดอินเดียสั่งสินค้าครั้งละไม่มาก อาจจะสัปดาห์ละ 5 ตัน สินค้าไม่เน้นเกรดพรีเมี่ยม แต่ต้องขนส่งทางเครื่องบินเท่านั้น แม้จะซื้อผลไม้ราคาต่ำกว่าแต่ค่าขนส่งแพง ทำให้ต้นทุนไปตลาดจีน-อินเดีย ไม่ต่างกันมาก ที่สำคัญตลาดอินเดียชำระเงินล่าช้ากว่าประมาณ 30 วันหลังจากส่งสินค้า”

นายสันใจ อโรร่า (Sanjay Arora) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท IG Internationnal Pvt. จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีศูนย์กระจายผลไม้ในเมืองใหญ่ ๆ 16 เมืองที่นำเข้าผลไม้ร่วม 10 ชนิด ส่วนใหญ่เป็น แอปเปิ้ล แพร์ และผลไม้อื่นๆ กีวี องุ่น เชอร์รี่ อะโวกาโด ส้ม พลัม บลูเบอร์รี่ ส่วนไทยนำเข้ามะขามหวาน โดยอินเดียไม่มีผลไม้บริโภคตลอดทั้งปีเหมือนประเทศไทย ช่วงที่มีผลไม้หลากหลายชนิดมากคือ เดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ และช่วงที่ผลไม้น้อยส่วนใหญ่คือเดือนมีนาคม-กรกฎาคม จะมีเพียงมะม่วงบริโภค จึงต้องการนำเข้าผลไม้ไทย โดยผลไม้ที่สนใจคือมังคุด เงาะ ลำไย ระยะแรกจะสั่งมังคุดสด สัปดาห์ละ 1,500 กิโลกรัม ส่งทางเครื่องบิน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ราคาขายในอินเดียจะสูงกว่าไทย 120-130% ถ้าราคามังคุดไทยกิโลกรัมละ 70-80 บาท จะขายประมาณ 200 บาท ข้อดีผลไม้ไทยบางอย่างเสียภาษีน้อยกว่า

นางสาวริยา กูเซน (RIYA GUSAIN) ผู้จัดการฝ่ายนำเข้า บริษัท DEV BHUMI COLD CHAIN จำกัด กล่าวว่า สนใจสั่งซื้อผลไม้ไทย 4-5 อย่าง คือ ลำไย มังคุด เงาะ ฝรั่ง มะขามหวาน รวมทั้งสับปะรด มะม่วงและมังคุดอบแห้ง ซึ่งบริษัทนำเข้าอยู่แล้วในรูปของผลสด ครั้งนี้ต้องการทดลองตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ประเภทผลไม้อบแห้ง ที่ผ่านมามีการเจรจาจับคู่ธุรกิจการค้าทำการตลาดผลไม้กับไทย แต่ปัญหาคือเมื่อแลกนามบัตรกันแล้วติดต่อกลับมา ซัพพลายเออร์ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษหรือตอบคำถามให้ชัดเจนได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้าได้ ปัญหาตรงนี้ต้องการให้มีการแก้ไข

รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ปรึกษาศึกษาความต้องการสินค้าเกษตรและจับคู่เจรจาธุรกิจ โครงการส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรกล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการนำเข้ารายใหญ่ จากเมืองเศรษฐกิจหลัก 4 เมือง คือ กรุง นิวเดลี เมืองมุมไบ เชนไน กัลกัตตา มาพบผู้ประกอบการไทย โดยอินเดียมีความต้องการบริโภคผลไม้ 100 ล้านตัน/ปี แต่ผลิตได้เพียง 80 ล้านตัน/ปี จึงเป็นโอกาสของผลไม้ไทย แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งทำคือ 1) รุกการทำประชาสัมพันธ์ให้รู้จักการบริโภคผลไม้สด-แปรรูป 2) ปัญหาผู้ผลิตและเกษตรกรไทยไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษและเข้าไม่ถึงการส่งออก 3) สร้างความมั่นใจตลาดอินเดียให้กับผู้ประกอบการไทย

ธปท.มองเศรษฐกิจฟื้นตัวดีตั้งแต่ต้นปี ทั้งการส่งออกและนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งออกดีขึ้น แต่เกษตรยังฟื้นตัวเปราะบางเหตุหนี้ครัวเรือนสูง หวังนโยบายรัฐหนุนเกษตร-ผู้มีรายได้น้อยฟื้น ห่วง คนไม่เข้าใจเทคโนโลยีคริปโตแล้วซื้อขาย

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีการฟื้นตัวดีขึ้น จากการส่งออกที่ไตรมาสแรกขยายตัวสูง ซึ่งกระจายตัวในหลายอุตสาหกรรม และกระจายตัวในผู้ประกอบการหลายระดับ ทั้งนี้ ยังพบว่าตัวเลขการนำเข้าปรับดีขึ้นโดยเฉพาะในด้านวัตถุดิบขั้นกลางเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามว่ามีการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร มากน้อยเพียงใด เพราะจะสะท้อนถึงการลงทุนเอกชนและการบริโภคเอกชน อย่างไร ก็ตาม มีบางภาคส่วนในกลุ่มภาคเกษตรและผู้มีรายได้น้อยที่ยังฟื้นตัวอย่างเปราะบาง เพราะมีระดับหนี้ครัวเรือนสูง ซึ่งภาครัฐได้มีนโยบายและทำงบประมาณที่มีงบกลางปีที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ความช่วยเหลือ คาดว่ากลุ่มนี้จะทยอยฟื้นตัวดีขึ้น

นายวิรไท กล่าวว่า ส่วนกรณีผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นและอาจจะกระทบกับเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ขณะนี้สภาพคล่องในตลาดการเงินไทยมีสูง แม้ว่าจะมีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นบ้าง แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ประกอบการที่มีการใช้เงินกู้ต่างประเทศต้องมีการบริหารจัดการเพราะแนวโน้มต้นทุนการเงินจะปรับเพิ่มขึ้น

นายวิรไท กล่าวอีกว่า เรื่องสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี่) นั้นยอมรับว่า ธปท.มีความกังวล หากประชาชนไม่เข้าใจเพราะเป็นเรื่องเทคโนโลยีใหม่และเข้าไปลงทุน ซึ่งราคาจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอาจจะมีกรณีการหลอกลวงแบบแชร์ลูกโซ่ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.), คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และล่าสุด ได้หารือร่วมกับ พล.ต.อ. วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ. วิระชัย เป็นกรรมการในคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับของ ธปท. ซึ่งปกติจะมีการหารือกันเป็นระยะอยู่แล้ว

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของธนาคาร ใน ไตรมาสแรก ปี 2561 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี มาอยู่ที่ระดับ 40.2 ตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่ระดับ 39.6 หรือเพิ่มขึ้นจากระดับ 35.5 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ปรับตัวดีขึ้นมาจากทั้งความ เชื่อมั่นด้านรายได้อยู่ที่ 49.2 สูงสุดในรอบ 5 ปี และดีขึ้นในทุกภูมิภาค ความกังวลด้านต้นทุนลดลง แต่มีความกังวลในเรื่องต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ปรับขึ้นในเดือนเมษายนนี้ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้นสูงขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวของเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ รายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้น ภาคการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าของเอสเอ็มอีที่ขยายตัว และการจ้างงานที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น หากสามารถรักษาระดับได้ ภาวะเศรษฐกิจของเอสเอ็มอีจะมีทิศทางที่สดใสตลอดทั้งปี

ตรัง – นายประยุทธ์ หลูหลำ ปธ.กลุ่มผู้ปลูกผักไร้ดิน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กล่าวว่า เกษตรกร 15 คน ได้รวมตัวปลูกผักไร้ดิน 13 แปลง ซึ่งใช้น้ำน้อยแล้ว และใช้เวลาปลูก 28-35 วัน เพื่อให้เก็บขายได้เร็ว แถมดูแลน้อย โดยเน้นปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ผักที่ปลูกมีทั้งคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักบุ้ง และผักสลัดต่างๆ และให้สมาชิกขับรถตระเวนขายรอบหมู่บ้าน ถุงละ 20 บาท ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับที่ดีมาก เนื่องจากประชาชนตื่นตัวในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ แปลงผัก 1 แปลง กว้าง 2 เมตร และ ยาว 5 เมตร จะได้กำไรแปลงละ 1,100-1,200 บาท ต่อรอบ หรือกว่า 16,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกแล้ว ยังนำรายได้นี้ไปต่อยอดปลูกผักอื่นๆ หมุนเวียนกันไปตลอด และมีเกษตรกรจากพื้นที่ต่างๆ มาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทางกลุ่มกำลังนำพืชผักเมืองหนาวมาทดลองปลูก ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่อีกด้วย เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้หาประสบการณ์และต่อยอดแนวความคิดให้กว้างไกลมากขึ้น

เลย – นางสมคิด อิสระ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรเลย กล่าวถึงการผลิตชาเชียงดากับ หญ้าหวานว่า ผักเชียงดานั้นมีสรรพคุณมีฤทธิ์ลดน้ำตาล และช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลิน โดยไปฟื้นฟูเบต้าเซลล์ในตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลิน ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและไม่พึ่ง ผักเชียงดาสามารถใช้เป็นยารักษาเบาหวานแทนยาปัจจุบันได้ ในบางรายถึงกับสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาได้ผลว่าใบของผักเชียงดาสามารถลดระดับน้ำตาลในเส้น เลือดได้ ปัจจุบันทางศูนย์ได้นำมาทำเป็นชาชงดื่มผสมกับใบหญ้าหวานใช้สำหรับชงรับประทาน ได้รับความสนใจจาก ผู้บริโภคในขณะนี้

ยโสธร – นายบำรุง คะโยธา ประธานคณะกรรมการจิตอาสาประชารัฐ จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวภายหลังร่วมกับเครือข่ายชุมชนคนรักษ์ป่า จังหวัดกาฬสินธุ์ และเครือข่ายเกษตรพอเพียง ฯลฯ จัดคาราวาน จิตอาสาเก็บเมล็ดพันธุ์ยางนา เพื่อนำมาเพาะปลูกและขยายพันธุ์ในพื้นที่ ที่ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดยโสธร ว่า เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตามแนวพระราชดำริที่ได้ร่วมกันดำเนินมาตั้งแต่ปี 2550 นอกจากนี้ ยังเป็นอีกภารกิจหนึ่ง ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาคประชาสังคม จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือการปลูกต้นไม้ในใจคน และหลักการปลูกไม้สามอย่างประโยชน์ สี่อย่าง ได้แก่ ไม้ใช้สอย ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ

ด้าน นายธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนา จังหวัดกาฬสินธุ์ (ศปจ.กส.) กล่าวว่า ได้ประสานค่ายบดินทรเดชา ขอเข้าเก็บเมล็ดยางนา ซึ่งปีนี้มีเมล็ดดกและตกหล่นจำนวนมากเพื่อนำมาขยายพันธุ์ เป็นการกระตุ้นจิตสำนึกสาธารณะด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะเยาวชน ที่เปรียบเป็นต้นกล้าพลเมือง ให้หันมาเห็นความสำคัญของป่าไม้ และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาได้ 1 แสนเมล็ด จะนำไปทำการเพาะพันธุ์ในถุงดำ และปลูกในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน ต้นกล้ายางนาจะมีอายุที่พอเหมาะในการปลูกลงดิน

คำตอบนำมาจากเว็บไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล www.pharmacy.mahidol .ac.th ภญ. กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร เขียนบทความเรื่อง กลอย ไว้ว่า กลอย (Wild Yam) เป็นพืชชนิดหนึ่ง บางพื้นที่เรียกว่า มันกลอย กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว กลอยนก กลอยไข่ ซึ่งคนทั่วไปก็มักจะรู้จักเมื่อมันถูกแปรรูปเป็นอาหารแล้ว

เช่น กลอยทอด ข้าวเหนียวหน้ากลอย กลอยแกงบวด ข้าวเกรียบกลอย เป็นต้น พบตามธรรมชาติได้ทั่วไปในป่าฝนเขตร้อน บริเวณที่ลุ่มต่ำ ที่รกร้าง ป่าเต็งรัง ป่าผสม ป่าดงดิบ

กลอยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dioscorea hispida Dennst. อยู่ในวงศ์ Dioscoreaceae เป็นไม้เถาล้มลุก ไม่มีมือเกาะ ลำต้นกลมมีหนาม หัวใต้ดินส่วนมากรูปร่างกลมรี บางทีเป็นพู มีรากเล็กๆ กระจายทั่วทั้งหัว เกิดใต้ผิวดิน เปลือกสีฟางหรือเทา เนื้อขาวหรือเหลืองอ่อนอมเขียว เป็นพิษ ใบเรียงสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน เมล็ดกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ด

ในหัวกลอยมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก และมีสารพิษที่ชื่อว่า ไดออสคอรีน (dioscorine) โดยปริมาณสารพิษจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่เก็บ กลอยจะมีพิษมากในช่วงที่ออกดอก คือช่วงหน้าฝนประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม และพิษจะลดลงเมื่อกลอยเริ่มลงหัวในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายน

การเก็บกลอยนิยมทำกันในหน้าร้อน เพราะจะมีหัวใหญ่ โผล่พ้นดินและเถาแห้งตาย ทำให้เก็บง่าย กลอยที่นำมารับประทานมีอยู่ 2 ชนิดคือ กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบมีสีเขียว เนื้อในหัวมีสีขาวนวลและหยาบ

อีกชนิดคือกลอยข้าวเหนียว เถามีสีน้ำตาลอมดำ เนื้อในหัวมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว รสชาติดีกว่ากลอย ข้าวเจ้า แต่กลอยทั้งสองชนิดก็มีพิษพอๆ กัน ดังนั้นต้องกำจัดพิษออกเสียก่อน

วิธีการคือใช้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะสารไดออส คอรีนละลายได้ดีในน้ำ ขั้นตอนกำจัดพิษเริ่มจากปอกเปลือกกลอยออกแล้วฝานเนื้อเป็นแผ่นบางๆ นำไปตากแห้ง ซึ่งจะทำให้เก็บไว้ได้นาน ก่อนนำมาประกอบอาหาร ให้เอากลอยแห้งใส่ในภาชนะโปร่งแช่ในน้ำไหล 1 วัน 1 คืน แล้วนำมานวด ให้นุ่ม

จากนั้นผึ่งแดดพอหมาดๆ นำกลอยไปใส่ภาชนะแช่น้ำเช่นเดิม ทำซ้ำๆ กัน 2-3 ครั้ง จนกลอยนุ่มดีแล้วจึงนำไปประกอบอาหาร หรือในพื้นที่ชายทะเล หั่นกลอยเป็นแผ่นบางๆ แล้วแช่น้ำทะเลเพื่อให้เกลือช่วยทำลายพิษ แต่ต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาแช่สลับประมาณ 7 วัน นำไปตากแห้งจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อจะนำมาประกอบอาหารก็แช่น้ำอีก 1 หรือ 2 คืน แล้วคั้นน้ำทิ้ง

อย่างไรก็ตาม วิธีการกำจัดพิษดังกล่าวควรทำโดยผู้ที่มีความชำนาญ คนทั่วไปไม่ควรลองทำเอง เพราะอาจกำจัดพิษออกไม่หมด หรือพิษยังคงอยู่ครบถ้วน โดยควรเลือกซื้อเลือกกินจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ที่สำคัญหากรับประทานแล้วเกิดความผิดปกติกับร่างกาย รีบพบแพทย์ทันที

ผลจากการได้รับพิษของสารไดออสคอรีน อาการแสดงคือ ใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า อึดอัด เป็นลม ตัวเย็น อาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมาคือ กดระบบประสาทส่วนกลาง หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการชักและเสียชีวิตได้

วันที่ 30 เม.ย. น.ส.จันทนา เสี่ยงสลัก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.ตราด เปิดเผยว่า เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ จ.ตราด ได้ทำเรื่องการของโรงเรียนทุเรียน พัฒนาทุเรียนคุณภาพ หลังประสบปัญหาเรื่องคุณภาพทุเรียนอ่อน หรือทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาด เพื่อเป็นการแก้ไขและพัฒนาทุเรียนให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ซื่อสัตย์ต่อชาวสวนเองและผู้บริโภคด้วย

“ทำให้ในปีนี้ทางศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.ตราด ได้จัดตั้งร้านทุเรียนคุณเรียนตราด บริเวณด่านท่าจอด ถนนสุขุมวิม ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทานทุเรียนแก่ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่มีคุณภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากชาวสวนทุเรียนประมาณ 100 สวน ในเขตอ.เขาสมิง จ.ตราด แบ่งทุเรียนจากการส่งให้กับลังแล้ว แบ่งทุเรียนที่มีคุณภาพคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ มาวางขายให้กับนักท่องเที่ยวที่กำลังเดินทางออกจากจังหวัดตราด” น.ส.จันทนา กล่าวถึงการตั้งร้าน

น.ส.จันทนา ยังกล่าวอีกว่า จะเป็นการยืนยันว่าทุเรียนจังหวัดตราด จะไม่มีทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพออกไปสู่ตลาดภายนอกอย่างแน่นอน เพราะทุเรียนทุกลูกที่วื้อจากร้านทุเรียนคุณเรียนตราด มีป้ายแสดงกำกับชัดเจน หากทุเรียนลูกไหนที่ผู้บริโภคซื้อไปแล้วกินไม่ได้ จะเปลี่ยนลูกใหม่ให้ทันที และขอฝากไปเจ้าของสวนหรือพ่อค้าแม่ค้า ที่ขายทุเรียนให้ขายทุเรียนที่มีคุณภาพ เมื่อมาคุณภาพแล้ว ผู้บริโภคยอมเสียเงินเพื่อได้ทานของดีมีคุณภาพอย่างแน่นอน ดีกว่าขายของถูกแล้วไม่มีคุณภาพ

สำหรับราคาทุเรียนที่ร้าน พวงมณี เริ่มต้น 130 บาทต่อกิโลกรัม หมอนทอง ราคาเริ่มต้น 120 บาทต่อกิโลกรัม และชะนี เริ่มต้นที่ 70 บาทต่อกิโลกรัม แนวทางกำจัดขยะที่ลอยอยู่บนผืนน้ำโดยการสร้างมูลค่า แปลงผักตบชวาให้เป็นพลังงานทดแทน เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกเมื่อปี 2558 ด้วยการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และพันธมิตรที่สำคัญ

ได้แก่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ซึ่งเริ่มต้นที่ หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 34 (นพค. 34) จังหวัดพิษณุโลก บุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนสำคัญและร่วมเผยแพร่ “สถานีก๊าซผักตบชวา เพื่อประชาชน” คือ พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ อดีต ผู้บังคับหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 34 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งปัจจุบัน พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ ที่ปรึกษาศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ เล่าถึงที่มาของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) หรือที่ประชาชนรู้จักกันดีในนาม “นักรบสีน้ำเงิน” ว่า หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย (บก. ทท.) ภารกิจของ นทพ. คือการพัฒนาประเทศ เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ สนับสนุนภารกิจของรัฐบาล ในการพัฒนาชาติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากภัยพิบัติและช่วยเหลือประชาชนในวิธีต่างๆ เราจะทำการพัฒนาคน ชุมชน และพื้นที่ ให้มีการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีความสมดุล นอกจากนั้น เราจะทำให้พี่น้องประชาชนมีความรักชาติ รักสถาบัน เกื้อกูลต่อการป้องกันประเทศ

หน่วยของเรามีหน่วยย่อยๆ ที่ดูแลประเทศไทยอยู่ทั้งหมด 30 หน่วยทั่วประเทศ เราจะเน้นไปที่ตำบลชายแดน ซึ่งมีความล่อแหลมกับเรื่องความมั่นคง เราเข้าไปเพื่อไปพัฒนาพี่น้องประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ขึ้น อะไรก็ตามที่พี่น้องยังขาดแคลนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทาง เรื่องแหล่งน้ำ การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนหรือการให้คำแนะนำความรู้ เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน พวกเราจะเข้าไปทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตรงจุดที่เราคิดว่ายังไม่สมบูรณ์ ให้มีความสมบูรณ์และมีความสมดุล และก็มั่นคงแบบยั่งยืนด้วย นี้คือภาพกว้างๆ

สำหรับพื้นที่เป้าหมายของ นทพ. นั้นอาจจะไม่ใช่ตำบลชายขอบทั้งหมด จุดไหนที่มีความล่อแหลม ในเรื่องความมั่นคง ซึ่งความมั่นคงมิติปัจจุบัน ไม่ใช่ความมั่นคงในการสู้รบ ระหว่างประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ แต่เป็นความมั่นคงในเรื่องความเป็นอยู่ สภาพการดำเนินชีวิต การที่ประชาชนยังทุกข์ยากอยู่ คิดว่าทางรัฐบาลก็ดี หรือทางผู้นำกองทัพก็ดีคงไม่มีความสุข