การห่อผลมะม่วงในระยะที่เหมาะสม การจะทำให้ผลมะม่วงน้ำ

น้ำดอกไม้มีสีเหลืองสวยงาม หรือมะม่วงสายพันธุ์อื่นที่มีเปลือกสีเขียว เช่น มะม่วงอาร์ทูอีทู เขียวใหญ่ แก้วขมิ้น เป็นต้น จะต้องห่อผลโดยใช้ถุงห่อคาร์บอน (แบบ 2 ชั้น) ของ บริษัท ชุนฟง ซึ่งเป็นถุงห่อที่มีคุณภาพดี โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะเริ่มห่อผลที่มีความยาว 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้วฟุต หรือขนาดเท่าผลไข่ไก่ หรือระยะหลังการหลุดร่วงของผลสิ้นสุดลงในช่อดอก

แต่ถ้าเป็นสวนมะม่วงขนาดใหญ่ๆ ซึ่งมีจำนวนต้นและมีการติดผลจำนวนมาก สวนใหญ่ๆ ก็จะวางแผนห่อผลที่มีขนาดเล็กกว่านั้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ห่อผลมะม่วงได้ทันเวลา โดยให้เหตุผลว่าการห่อผลมะม่วงที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อย เนื่องจากผิวจะเหลืองสวย ไร้รอยโรคและแมลงมากกว่าที่ห่อมะม่วงขนาดผลที่ใหญ่ อีกอย่างหนึ่งจะได้ห่อผลทันเวลา การห่อผลมะม่วงด้วยถุงห่อคาร์บอน นอกจากจะทำให้ผิวมะม่วงมีสีสวยแล้ว ยังสามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ได้ แล้วยังลดการใช้สารเคมีฉีดพ่นแมลงได้เป็นอย่างมาก รวมถึงช่วยให้ผลมะม่วงปลอดภัยจากสารเคมีที่ฉีดพ่นได้แล้ว

อีกอย่างการห่อผลจะทำให้เกษตรกรนั้นสามารถคาดการณ์ผลผลิตของสวนตัวเองได้ค่อนข้างแม่นยำ เพราะคำนวณจากจำนวนถุงห่อที่ได้ใช้ไป คูณกับน้ำหนักผลมะม่วง 1 ผล (สายพันธุ์ที่ตัวเองปลูก ว่ามีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 1 ผล คร่าวๆ เท่าไร)

การห่อผลมะม่วงในอดีต ชาวสวนหรือท่านที่ปลูกไว้กินตามบ้านจะนิยมห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการทำลายของแมลงศัตรูโดยเฉพาะแมลงวันทอง ผลมะม่วงที่ห่อผิวจะสวยเพราะไม่มีแมลงรบกวน ลดการสูญเสียจากการขีดข่วนกับกิ่งที่จะทำให้เกิดแผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการผลิตถุงห่อก้าวหน้าขึ้น นอกจากจะผลิตถุงห่อเพื่อป้องกันแมลงแล้ว ยังทำให้สีผิวของผลมะม่วงสวยงามขึ้น ด้วยการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้ จะนิยมห่อเพื่อขนาดผล ประมาณ 2-3 นิ้วฟุต (ขนาดประมาณไข่ไก่) ถ้าห่อผลเล็กกว่านี้ จะพบปัญหาผลหลุดร่วงได้ง่าย แต่ถ้าห่อผลโตกว่าจะพบปัญหาสีของผิวผลมะม่วงไม่ค่อยสวยงามเท่าที่ควร

ถุงห่อที่เกษตรกรนิยมใช้ห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้ จะเป็นถุงห่อคาร์บอน หลังจากห่อแล้วประมาณ 40-45 วัน สามารถเก็บผลผลิตสีสันสวยงามได้ มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เมื่อห่อด้วยถุงคาร์บอน อายุห่อ 45 วัน เมื่อเก็บเกี่ยว สีผิวของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองสวยงาม ตลาดมีความต้องการมาก แต่ถ้าเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ห่อด้วยกระดาษคาร์บอน ผิวจะออกเป็นสีทองเข้ม สวยงามมาก สีผิวของมะม่วงที่ห่อกระดาษคาร์บอนจะเนียนสวยสม่ำเสมอเป็นเงางาม ปัจจุบัน ถ้าสวนไหนไม่ห่อผล พ่อค้าแม่ค้าจะไม่ค่อยซื้อ หรือซื้อราคาจะถูกกว่ามะม่วงที่ห่อมาก

ก่อนการห่อผล 1 วัน เกษตรกรจะต้องพ่นสารกำจัดโรคและแมลง โดยเน้นศัตรู 2 ชนิด คือ

โรคแอนแทรกโนส ให้ใช้สารโพรคลอราช หรือฟลิ้นท์ + แอนทราโคล เป็นต้น
เพลี้ยแป้ง จะต้องฉีดพ่นสารมาลาไธออน ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ก่อนห่อผล ไม่เช่นนั้นเวลาเก็บผลผลิตจะมีเพลี้ยแป้งเข้าไปอาศัยอยู่เต็มถุงห่อ ขายไม่ได้ราคา ถ้าไม่นับประโยชน์จากลำไผ่ที่นำมาใช้สร้างบ้าน เครื่องใช้ไม้สอยแล้ว “ใบ” ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของไผ่ที่สามารถนำมาใช้ทำเป็นชาดื่มได้ แต่ดูเหมือนว่า ชาใบไผ่ ในยุคแรกมักจะดื่มกันอยู่ในวงจำกัด

กระทั่งเมื่อมีการศึกษาแล้วพบว่า ในใบชามีสารสำคัญที่เป็นคุณต่อร่างกาย จากนั้นจึงทำให้ผู้คนตื่นตัวหันมาดื่มชาจากใบไผ่กันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจผลิตชาใบไผ่ที่เหมาะสม สร้างความน่าเชื่อถือนั้น เจ้าของธุรกิจควรรู้จักธรรมชาติของต้นไผ่อย่างลึกซึ้ง หรือถ้าลงมือปลูกด้วยตัวเองได้ยิ่งดี

อย่างรายของ คุณกฤษณ หอมคง ได้คลุกคลีกับไผ่มายาวนานนับหลายสิบปี เพราะมีสวนไผ่เป็นของตัวเองจนมองเห็นถึงคุณค่าที่เกิดจากไผ่ นำมาสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจชาใบไผ่ แบรนด์ “ภูมิใจ” พร้อมกับต่อยอดใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากต้นไผ่ทุกชนิดมาสร้างมูลค่าด้วยการผลิตเป็นผงไผ่ปรับสภาพดิน, น้ำหมักจุลินทรีย์ผงไผ่และผงไผ่หมัก แต่ก่อนที่จะไปสัมผัสกับธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไผ่ ลองไปฟังความเห็น พร้อมมุมมองของมิติไผ่จากชายผู้นี้ก่อน

ถึงแม้ คุณกฤษณ จะเป็นคนรุ่นใหม่ แต่เขาก็ไม่ใช่เพิ่งรู้จักกับไผ่ เพราะครอบครัวของเขายึดอาชีพค้าขายไม้ไผ่ส่งให้ชาวประมงในชลบุรีมาตั้งแต่รุ่นคุณย่าที่จังหวัดเพชรบุรีบ้านเกิด แล้วย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่อีกครั้งที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งที่มีป่าไผ่จำนวนมาก เนื่องจากจำนวนไผ่ที่เพชรบุรีเริ่มลดลง แล้วยังคงดำเนินธุรกิจเดิมต่อไป

ความใกล้ชิดกับไผ่ของคุณกฤษณเริ่มต้นจากเมื่อได้รับมอบหมายจากคุณพ่อให้ไปตระเวนหาซื้อไผ่แถวจังหวัดทางภาคเหนือเพื่อส่งไปขายที่จังหวัดชลบุรี จากจุดนั้นเลยทำให้ต้องคลุกคลีกับต้นไผ่มาจนถึงทุกวันนี้

พอปี 2549 เริ่มเห็นทิศทางความชัดเจนของไผ่มากขึ้น ด้วยการสามารถควบคุมอายุของไผ่ในแปลงปลูกให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งเดิมทีแล้วไผ่ป่ามีข้อจำกัดในเรื่องฤดูกาล เพราะหากไม่ใช่หน้าฝนก็ไม่มีผลผลิต จึงไปกระทบและไม่สอดคล้องกับการวางแผนการลงทุน

สร้างสวนไผ่ ชื่อ “ภูมิใจ”

ใช้เป็นสวนต้นแบบ เพื่อผลิตไผ่คุณภาพ

ดังนั้น คุณกฤษณ จึงมองไปถึงการส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาปลูกไผ่กันมากๆ เพื่อตัดวงจรพ่อค้าคนกลางออกไปแล้วทำให้เหลือเพียงคนปลูกกับคนใช้เท่านั้น อีกทั้งยังชี้ว่าถ้าผลดีของการควบคุมการเจริญเติบโตของไผ่ได้ ก็สามารถชะลอหรือถ่วงเวลาการนำไผ่เข้าสู่ตลาดได้ในระยะเวลา 5 ปี หากราคายังไม่เป็นที่พอใจ โดยไม่สร้างปัญหาหรือผลกระทบแต่อย่างใด

แถมในช่วงเวลาระหว่างที่รอคอยอาจมีต้นไผ่ใหม่เติบโตขึ้นอีกหลายรุ่น ยิ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรเต็มที่ พร้อมกับยังมองต่ออีกว่าหากต้นไผ่มีจำนวนมากขึ้นแล้ว การสร้างประโยชน์ในเชิงการค้าคงไม่จำกัดเพียงการขายลำเท่านั้น แต่ควรสร้างความยั่งยืนในระยะยาวจากการใช้ประโยชน์จากไผ่ทั้งต้น

ในที่สุด คุณกฤษณ จึงตัดสินใจภายหลังที่ศึกษาความเป็นไปได้อย่างรอบคอบ ตามความรู้ที่ร่ำเรียนมาทางด้านบริหารธุรกิจจับมือกับเพื่อนเพื่อนำไผ่มาสร้างประโยชน์ในด้านต่างๆ พร้อมกับสร้างสวนไผ่ที่ชื่อ “สวนภูมิใจ” ขึ้น โดยสวนแห่งนี้มีการวางแผนการปลูกไผ่ด้วยแนวทางใหม่ที่แตกต่างจากชาวบ้านปลูก กล่าวคือ มีการกำหนดระยะปลูกเพื่อให้สามารถนำเครื่องจักรเข้าไปทำงานในสวนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อช่วยลดต้นทุนและแก้ปัญหาการจ้างแรงงาน

โดยวิธีหรือแนวทางกำหนดว่าจะต้องเว้นช่องระหว่างต้น เพื่อให้เครื่องจักรเข้าไปทำงานได้ ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกไผ่ จำนวน 44 ไร่ ของคุณกฤษณใช้แรงงานเพียง 3 คน เท่านั้น เป็นไผ่ซางหม่นราชินี และไผ่รวก โดยส่วนมากเป็นซางหม่น ส่วนไผ่รวกเป็นไผ่ที่นำมาจากน่าน ปลูกแซมไว้ จำนวน 5 ไร่ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งไปที่ชลบุรี

เจ้าของธุรกิจรายนี้มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณภาพของต้นไผ่ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่ต้นไผ่ของชาวบ้านปลูกอยู่นั้น บริเวณแถวริมด้านนอกสุดมักมีความสมบูรณ์กว่ากอด้านใน เพราะได้รับแสงแดดกับกระแสลมเต็มที่ ข้อเท็จจริงเช่นนี้พิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์

ดังนั้น จึงได้หยิบมาเป็นแนวทางในการนำมาใช้ในสวน จากเดิมที่เคยใช้ระยะปลูก 4 คูณ 4 เมตร ได้ปรับให้ห่างขึ้นโดยให้จำนวนกอมีเท่าเดิม กล่าวคือ จะปลูกเป็นแถวคู่ ห่างกัน 2 เมตร แล้วเว้นไป 6 เมตร แต่ระยะต้นในแถวยังคงเป็น 4 เมตร

อีกทั้ง แถวที่ 1,2 ต้องสลับปลูกแบบฟันปลา จึงทำให้ไผ่แย่งกันเจริญเติบโต เพราะได้รับทั้งแสงและลมเข้าไปช่วย นอกจากนั้น ในร่องที่เว้นห่าง 6 เมตร ยังปล่อยให้เศษไผ่ที่ตัดกองไว้เพื่อปล่อยให้เป็นปุ๋ย ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนแรงงานขนย้าย นอกจากนั้นแล้ว กองเศษไผ่เหล่านี้จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยภายในเวลา 1 ปี เพราะฉะนั้นทฤษฎีนี้จึงถูกนำมาใช้ในสวนภูมิใจด้วยเช่นกัน

คุณกฤษณ ให้รายละเอียดการดูแลบำรุงต้นไผ่ในแปลงว่า อย่างแรกต้องไม่ใช้สารเคมีชนิดใดเลย เพราะไม่มีความจำเป็น ดูอย่างไผ่ป่ายังเจริญเติบโต แข็งแรง มีอายุยาวนาน เพียงแต่ใส่มูลวัว ใส่กอละ 1-3 กิโลกรัม ต่อปี และใส่ในช่วงต้นฝน

นอกจากนั้น ยังให้เป็นปุ๋ยน้ำไผ่หมักทางท่อเพื่อช่วยกระตุ้นธาตุอาหารในดินที่เป็นอาหารของไผ่ให้เพิ่มขึ้น และภายหลังที่ได้นำปุ๋ยน้ำไผ่หมักมาใช้ แล้วพบว่า ช่วยลดปริมาณการใช้มูลวัวลงไปได้มาก โดยในปัจจุบันใช้มูลวัวเพียงปีละไม่เกิน 500 กระสอบ

อย่าหวังเพียงแค่ขายลำ แต่ควรเพิ่มมูลค่าทั้งต้น เพื่อหวังผลระยะยาว

คุณกฤษณ มองว่า ความจริงแล้วการปลูกไผ่ทางภาคเหนือมีคุณภาพมาก ทั้งนี้ควรเน้นให้ความสำคัญกับการปลูกเพื่อขายเนื้อไม้มากกว่าการขายลำ อีกทั้งควรส่งเสริมด้านการตลาดให้ผู้ปลูกทางภาคเหนือขายเนื้อไม้ เพราะจะได้ราคาดีกว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไผ่จะใช้เนื้อไม้มากกว่าลำ และถ้าตอบโจทย์เช่นนี้ได้แล้วตลาดรับซื้อไผ่จะมุ่งไปทางภาคเหนือทันที

ภายหลังเมื่อตกผลึกทางความคิดจึงชักชวนชาวบ้านร่วมกันปลูกไผ่ ในรูปแบบสหกรณ์ มีชื่อว่า “สหกรณ์การเกษตรผู้ปลูกไผ่จังหวัดกาญจนบุรี” โดยวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป็นสหกรณ์นี้เพื่อเป็นการวางฐานรากในอนาคตข้างหน้าว่า หากตลาดไผ่โตขึ้นจำนวนไผ่อาจไม่เพียงพอ อีกทั้งต้องการสร้างคุณภาพมาตรฐานของไผ่ควบคู่ไปด้วย ปัจจุบัน สหกรณ์มีจำนวนสมาชิกประมาณ 500 คน ลงมือปลูกไผ่แล้ว จำนวน 500 ไร่ ทั้งนี้ ได้ส่งเสริมให้แก่สมาชิกในเครือทางภาคเหนือด้วย เพราะที่นั่นชาวบ้านปลูกกันมายาวนานแล้ว

สำหรับสวนภูมิใจมีการวางกรอบและทิศทางเอาไว้คือ มาคิดว่า ควรนำทุกส่วนของไผ่มาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่า จึงเริ่มต้นวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกด้วยการทำชาใบไผ่ก่อน ซึ่งการทำชาใบไผ่นั้นจะต้องเลือกใบไผ่ที่มีอายุไม่เกิน 2 เดือน เนื่องจากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีความเหมาะ เพราะในใบไผ่มีไบโอซิลิก้าที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง เป็นคุณสมบัติเด่นทำให้เกิดกลิ่นหอม

ขั้นตอนการทำชาไผ่ เริ่มด้วยการทยอยเก็บใบไผ่ที่มีอายุ 2 เดือน เก็บทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 กิโลกรัม ที่เป็นใบสด แต่เมื่อนำมาทำใบชาแล้ว จะได้น้ำหนักเพียง 4 กิโลกรัม

เมื่อได้ใบไผ่มาแล้วจัดการล้างทำความสะอาด นำมาผึ่งไว้ในร่มเพื่อให้แห้ง เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) นำไปหั่น ให้มีขนาด 2 เซนติเมตร จากนั้นนำไปเข้าเครื่องอบ เพื่อให้มีความชื้นไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำมาใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีด้วยกัน 2 แบบ คือ ชาไผ่ ที่ชงดื่มแบบต้องใช้อุปกรณ์ กับชาไผ่ชนิดซอง ซึ่งในแบบซองนี้ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและรสชาติที่ญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย

ต่อยอดด้วยผลิตภัณฑ์จากไผ่

ผลิตภัณฑ์ต่อมาเป็นสารปรับสภาพดินที่ทำจากเศษไม้ไผ่สับ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เกิดจากแนวคิดภายหลังจากที่พบว่าในแปลงปลูกไผ่ที่เสร็จจากการจัดระเบียบความสะอาดแล้ว จะเกิดเศษวัสดุจากไผ่ที่หลุดร่วงจากต้น หรือบางส่วนที่ไม่เกิดประโยชน์มีจำนวนมาก จึงได้นำมาสับแล้วผสมกับมูลวัวทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเพื่อให้เป็นปุ๋ย

แนวทางนี้มีต้นแบบจากคราวที่คุณกฤษณได้มีโอกาสเดินทางไปดูไร่สับปะรดที่อินโดนีเซีย แล้วพบว่า ผลผลิตในไร่นี้ลดลง จึงมีการนำเศษวัสดุจากไผ่ที่ปลูกไว้เพื่อยึดดินตามแนวขอบบ่อน้ำมาผสมกับมูลวัวที่เลี้ยงไว้ จากนั้นได้นำมาใส่ในไร่สับปะรดในช่วงเตรียมดิน ด้วยการหว่านและไถสลับไป-มา เพื่อให้วัสดุจากไผ่ลงไปอยู่ในดินที่มีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร จากนั้นพบว่าผลผลิตสับปะรดสูงขึ้นมากทันที แล้วยังมีคุณภาพดีทุกผล ทั้งน้ำหนักและรสชาติสามารถขายได้ทั้งแบบส่งโรงงานหรือรับประทานผลสด

นอกจากนั้น เกษตรกรในกลุ่มเดียวกันนี้ยังนำปุ๋ยนี้ไปใส่ในสวนกล้วยหอม แล้วพบว่า ผลผลิตที่ได้มีจำนวนหวีต่อเครือมากกว่าเดิม กล้วยมีขนาดผลใหญ่ สวย ได้ราคาดีเมื่อส่งขายต่างประเทศ และที่สำคัญมีอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิม

แนวคิดดังกล่าวถูกมาปรับใช้ในสวนไผ่ แล้วบอกกล่าวต่อไปยังเกษตรกรในเครือข่ายที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่ที่ยโสธรให้ลองทำดู หรือให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนำเศษไผ่สับมากองไว้ที่แปลงนาสัก 2 เดือน แล้วหลังจากนั้นให้จัดการปรับปรุงเตรียมดินเพื่อเตรียมปลูกข้าว และภายหลังทราบข่าวว่าทั้งมันสำปะหลังและข้าวได้ผลผลิตดีกว่าเดิม

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำเสนอคือ น้ำหมักจุลินทรีย์ย์ผงไผ่ โดยเป็นการมองในเรื่องการสร้างความเหมาะสมในการนำไปใช้กับพืช เพราะเมื่อต้องการให้ปุ๋ยทางใบ จึงนำผงไผ่ไปผสมกับโมลาส ทิ้งไว้ 15-20 วัน แล้วนำมาผสมกับน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ลิตร จึงนำไปพ่นทางใบ

คุณกฤษณ เผยว่า ได้ลองนำน้ำหมักจุลินทรีย์ผงไผ่ ไปใช้กับการเลี้ยงปลาทับทิมในแม่น้ำแม่กลอง โดยการใช้น้ำหมักผสมกับน้ำแล้วเทใส่ลงในอาหารปลาก่อน เพื่อให้ซึมเข้าไปในอาหารปลา จากนั้นจึงค่อยนำไปหว่านลงในบ่อหรือกระชังเพื่อให้ปลา

ผลจากการใช้พบว่า กระชังปลาที่อยู่ติดกันเกิดอาการช็อกน้ำปลาตายเรียบ แต่ปลาทับทิมในกระชังที่ใช้น้ำหมักตายเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น จึงถือว่ามีความแข็งแรง สุขภาพดี เพราะขี้ปลามีลักษณะยาว ที่สำคัญจุลินทรีย์ที่ปลาขับถ่ายออกมายังช่วยในการบำบัดน้ำเสีย

เจ้าของธุรกิจรายนี้ชี้ว่า ตลอดเวลาที่อยู่กับไผ่พบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือชาวบ้านยังมีความรู้ ความเข้าใจ ในวงแคบ อีกทั้งบางส่วนยังนิยมใช้สารเคมีอยู่ เพราะมองว่าสะดวก รวดเร็ว ดังนั้น การเปลี่ยนความคิดของชาวบ้านคงต้องใช้เวลาควบคู่ไปกับการพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นถึงประโยชน์ของไผ่ที่สามารถสร้างรายได้ให้จริง มองไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือก เพราะไผ่จะสร้างรายได้ไปนาน แล้วยังสามารถสร้างรายได้หลายทาง

นอกจากนั้น ยังแนะนำว่าชาวบ้านที่ต้องการปลูกไผ่เพื่อสร้างรายได้นั้นควรรวมกลุ่มกันดีกว่า เพราะสามารถสร้างฐานกำลังที่มั่นคงได้ ทั้งนี้ชาวบ้านแต่ละรายอาจปลูกกันจำนวนไม่มาก และปลูกพืชอื่นร่วมด้วย แต่เมื่อนำทุกคนในกลุ่มมารวมกันแล้ว ควรมีเนื้อที่สัก 200-500 ไร่ เพราะง่ายต่อการบริหารจัดการ

ไม่เพียงการเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ไผ่ยังเป็นพืชที่ช่วยอนุรักษ์โลกได้อย่างดี ปลูกเพียงแค่ 2 ปี สามารถเจริญเติบโตเป็นป่าได้ สามารถดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันคายออกซิเจนมากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ คุณสมบัติเด่นเหล่านี้จึงจัดได้ว่า ไผ่ เป็นพืชที่รักษ์โลก

อีกทั้งยังมองว่า ไผ่ เป็นพืชทดแทนที่ยั่งยืน เพราะสามารถนำไปผลิตทดแทนพลาสติกได้ หรือนำไปใช้ทดแทนไม้ในวงการก่อสร้างได้ ดังนั้น จึงสรุปว่าไผ่เป็นพืชทดแทน แล้วสามารถขายได้ทั่วทุกแห่งทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นทางภาครัฐควรช่วยสนับสนุนและมองเห็นความสำคัญของไผ่ด้วยการยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง พร้อมไปกับช่วยผลักดันให้พืชชนิดนี้มีอนาคตที่กว้างไกล

รู้จักหน้าตาและคุณค่าของผักหวานป่า
ผักหวานป่าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ต้นที่โตเต็มที่สูงถึง 13 เมตร ที่พบ ทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้พุ่มใหญ่อายุหลายปี เนื่องจากมีการตัดแต่งกิ่งการหักกิ่งเด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบผักหวานป่า มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ เนื้อมาก ขอบใบเรียบ ปลายใบป้าน ฐานใบเรียว สอบถึงแหลม ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 x 6-12 เซนติเมตร ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 115 มิลลิกรัม และพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

ผักหวานป่าในประเทศไทยสามารถปลูกและพบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ แต่ในธรรมชาติยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายผักหวานป่า พืชชนิดนี้มีเมล็ด 3-6 เมล็ด รับประทานยอดอ่อน และมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น มะยมป่า ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น มีลักษณะยอดอ่อนเหมือนผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอและเมื่อกินผักชนิดนี้เข้าไปจะออกฤทธิ์กับระบบประสาททำให้เกิดอาการเมา พืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Urobotrya siamensis Hiepko คนลำปางเรียก แกก้อง หรือ นางแย้ม เชียงใหม่เรียก นางจุม จันทบุรี เรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรี และชลบุรี เรียก ผักหวานดง สระบุรี เรียก ผักหวานเมา หรือ ซ้าผักหวาน ภาคอีสานเรียก เสน หรือ เสน ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์ เรียก ดีหมี

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตต้นและใบที่แก่จะมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดหลายอย่างเช่น เนื้อใบสดผักหวานป่ากรอบเปราะ เมื่อบีบด้วยอุ้งมือจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบ ส่วนผักหวานเมาเนื้อใบนุ่มเหนียวไม่หักง่าย ผิวใบด้านบนผักหวานป่ามีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผักหวานเมาผิวใบสีเขียวเข้มผิวด้าน ปลายใบผักหวานป่ามนหรือบุ๋มมีติ่งตรงปลาย แต่ผักหวานเมาแหลมถึงป้านเล็กน้อย ส่วนผลของผักหวานป่า เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่ผลผักหวานเมา เมื่อสุกมีสีส้มถึงแดงจัด เลือกดูให้ดีก่อนนำมารับประทาน

จากการพูดคุยกับแม่ค้าที่ขายผักหวานป่าโดยตรง พบว่าราคาผักหวานป่าค่อนข้างดีมาตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยราคาผักหวานป่าจะแพงมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม หลังจากนั้นราคาจะเริ่มตกลงเล็กน้อย และมีราคาทรงตัวจนไปถึงช่วงเดือนพฤษภาคมราคาจะลดลงไปอีก เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่มีผลผลิตผักหวานป่าออกมามาก และจากข้อมูลราคาผักหวานป่าของตลาด 4 มุมเมืองพบว่า ราคาโดยเฉลี่ยของผักหวานป่าในปี 2553 อยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนในปี 2554 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 123 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าราคาดีพอสมควรเลยนะคะ ส่วนต้นกล้าผักหวานป่าก็มีราคาดีไม่แพ้กัน ราคาต้นกล้าสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ขายอยู่ที่ราคาต้นละ 15-20 บาท แล้วแต่ฤดูกาล

เมื่อมีราคาดีผักหวานป่าจึงเป็นพืชที่มีคนสนใจกันมากทำให้ต้นผักหวานป่ามีราคาสูง สิ่งหนึ่งที่ทำให้ต้นผักหวานป่าราคาสูงก็เพราะพืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้ยากมากๆ ปกติแล้ววิธีการขยายพันธุ์ให้ได้ต้นผักหวานป่ามีหลายวิธี ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาจุกจิกกวนใจและให้ผลผลิตน้อย เช่น การตอนกิ่งผักหวานป่าต้องใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่นคือต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป การออกรากก็จะไม่ออกมากเหมือนพืชชนิดอื่น ส่วนการตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากต่ำมาก นอกจากนั้นยังมีวิธีขยายพันธุ์ผักหวานป่าแบบซาดิสม์ที่เรียกว่าวิธีการสกัดราก ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นผักหวานป่า ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีต้นผักหวานป่าที่มีอายุหลายปีแล้ว และมีรากบางส่วนโผล่ขึ้นมาบนดินใช้สันมีดหรือจอบทุบลงไปบนรากที่โผล่ขึ้นมาให้เปลือกที่หุ้มรากแตก ประมาณ 1 เดือนต้นผักหวานป่าจะแตกขึ้นมาเป็นต้นใหม่ได้

ส่วนการชำรากเป็นวิธีที่เหมาะกับผักหวานป่าที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการเปิดหน้าดินแล้วตัดรากขนาดใหญ่เป็นท่อนๆ นำไปเพาะในถุงดำ ประมาณ 1-2 เดือน รากจะแทงรากใหม่แล้วแทงยอดขึ้นมาเป็นต้นกล้า หรืออีกใช้การขยายพันธุ์แบบแยกหน่อ คือการตัดรากขนาดใหญ่ให้เป้นแผลแล้วทาแผลด้วยปูนกินหมากเมื่อปูนแห้งจึงกลบดินกลับเหมือนเดิม รดน้ำสม่ำเสมอ ประมาณ 1-2 เดือน ก็จะมีหน่อผักหวานแทงขึ้นมา เมื่อหน่อโตก็ให้ขุดย้ายมาชำในถุงต่ออีก แต่วิธีการขยายพันธุ์โดยใช้รากทั้งหลายที่บอกมาเกษตรกรจะต้องมีต้นแม่พันธุ์ในปริมาณมาก จึงจะขยายพันธุ์ได้มาก และการขยายพันธุ์ด้วยรากแบบนี้อาจทำได้ไม่มาก เนื่องจากจะทำให้ต้นแม่พันธุ์โทรมเร็วและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

การขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเป็นอีกวิธีที่นิยมทำกัน ผลของผักหวานป่าเป็นผลเดี่ยวที่มีรูปไข่ ถึงค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว มีนวลเคลือบโดยรอบต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้มเมื่อแก่ เปลือกบาง เนื้อฉ่ำน้ำ มีเมล็ดเดี่ยว วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่าโดยทั่วไปคือ ใช้เมล็ดผักหวานป่าที่สุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลืองสด นำมาเอาเนื้อของผลผักหวานป่าออก แล้วเพาะในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 2 เดือนจึงจะเริ่มงอก

ปัญหาจากการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยการใช้เมล็ดก็คือ เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ นอกจากนั้นการที่รากผักหวานเจริญเติบโตได้เร็วจะทำให้รากผักหวานป่าโค้งงอภายในภาชนะที่ใช้เพาะชำ ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลเสียอย่างมากเมื่อนำผักหวานป่าไปปลูกในสภาพแปลง เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานาน

ที่กาญจนบุรีมีนักวิชาการท่านหนึ่งคือ ว่าที่ร้อยตรีสมยศ นิลเขียว นักวิชาการเกษตรของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ประยุกต์ใช้วิธีง่ายๆ ในการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่า

“ผมพบว่าการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยเมล็ดในขวดน้ำพลาสติกใส นอกจากจะเป็นการช่วยโลกนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่และช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการเพาะขยายพันธุ์พืชชนิดนี้ด้วย”

เทคนิคการเพาะเมล็ดผักหวานป่าของคุณสมยศ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ อุปกรณ์

ขวดน้ำพลาสติกใสขนาด 1.5 ลิตร
เมล็ดผักหวานป่าเท่ากับจำนวนของขวด
ดินผสมที่ใช้ในการเพาะ(ดินร่วน 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน)
มีดปอกผลไม้
ตะปูหรือเหล็กแหลมเพื่อใช้ในการเจาะรู
วิธีการเพาะ

นำผลสุกมาแช่น้ำไว้ 1-2 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำให้เปลือกและเนื้อของเมล็ดผักหวานหลุดออกได้ง่าย
ล้างน้ำขยี้เปลือกและเนื้อของผลเททิ้งให้เหลือเฉพาะเมล็ดลักษณะคล้ายเมล็ดบัว
ล้างให้สะอาดอีกครั้งเพื่อความมั่นใจว่าเนื้อลอกออกไปหมดแล้วเพราะเนื้อผลผักหวานมีรสหวาน มดแมลงชอบเข้ามากัดกินทำให้เมล็ดไม่สมบูรณ์ อีกอย่างก็คือ เชื้อรา ถ้าเกิดเชื้อราแล้วเมล็ดจะไม่ค่อยงอกหรืออาจจะเสียได้
นำเมล็ดที่ล่อนแล้วไปผึ่งลมให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้ 15 วัน (ห้ามโดนแดด)
ผสมวัสดุปลูกให้เข้ากัน
ทำการเจาะรูที่บริเวณก้นขวดเพื่อให้มีการระบายน้ำ และใช้มีดปาดที่คอขวดแต่ไม่ให้ขาดเพื่อจะได้ทำการใส่ดินให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
นำดินที่ผสมดีแล้วใส่ลงไปในขวดจนถึงบริเวณคอขวดที่ตัดแล้วทำการรดน้ำให้ชุ่ม
นำเมล็ดลงปลูกลงในขวดฝังให้แค่พอมิดรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 1 เดือนรากของเมล็ดผักหวานป่าจะงอก
เมื่อต้นผักหวานป่ามีอายุได้ประมาณ 2.5 -3 เดือน สามารถที่จะนำไปปลูกลงแปลงได้
ข้อได้เปรียบของการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกใส

คุณสมยศ เล่าว่า ข้อดีของการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดพลาสติกมีหลายอย่าง นอกจากจะเป็นการรียูธ เอาขวดพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ช่วยลดขยะแล้ว สิ่งสำคัญที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์จากการขยายพันธุ์ผักหวานป่าวิธีนี้ คือ การเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดพลาสติกใสทำให้รากไม่งอ เพราะการเพาะเมล็กผักหวานป่าในถุงเพาะชำสีดำที่เราเคยชินนั้น เราจะมองไม่เห็นรากว่าเจริญเติบโตไปขนาดไหนแล้ว

ผักหวานป่าเป็นพืชป่าที่มีระบบรากแข็งแรงและลงรากลึกเมื่อเพาะเมล็ดจนงอก แล้วรากของผักหวานจะเจริญได้เร็วหากมีสิ่งกีดขวางจะทำให้รากคดงอทำให้เกิดปัญหา เมื่อนำไปปลูกลงดินในสภาพสวนเพราะจะเจริญเติบโตช้า แต่การเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกใสจะมองเห็นการเจริญของราก ซึ่งจะช่วยลดปัญหารากคดงอไปได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้นการที่มีคอขวดเป็นฝาปิดจะช่วยปกป้องต้นอ่อนผักหวานป่าไม่ให้โดนแมลงมารบกวนได้อีกทางหนึ่งด้วย

เจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในสภาพแปลง

“ผมมีแปลงผักหวานป่าที่ปลูกไว้ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ สมัคร GClub เป็นต้นผักหวานป่าที่ได้จากการเพาะเมล็ดในขวดน้ำพลาสติกทั้งหมด ซึ่งพบว่ามีการเจริญเติบโตดีในสภาพแปลงปลูกที่ปล่อยให้เป็นลักษณะธรรมชาติไม่ต้องมีการดูแลรักษามากนัก”

“ผมทดลองการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกมาหลายปีแล้วพอจะสรุปผลได้ว่า เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผลในเรื่องการแก้ปัญหางอกยาก รากงอ โตช้า ของผักหวานป่า ใครที่สนใจจะนำวิธีการนี้ไปใช้ก็ได้ไม่ว่ากัน”

ความสำเร็จในเส้นทางชีวิตเกษตรกรที่เลือกวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของ ครูอินสอน สุริยงค์ เริ่มต้นจากความล้มเหลวในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและไม้ผลเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา เมื่อครู ปกศ. เงินเดือน 720 บาท รายนี้ ต้องไปกู้เงินซื้อที่ทำไร่ ซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จนนำไปสู่การขายที่ดินเพื่อใช้หนี้ในที่สุด ความผิดหวังจากสารเคมีทำให้ครูหันหน้ามาเพิ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน เลิกใช้สารเคมี ญาติยังหัวเราะไม่ใช้เคมีจะอยู่ได้ไง ครูอินสอน พยายามศึกษาค้นคว้า ภูมิปัญญาเกษตรคือครูคนแรกจริงๆ ครูอินสอน ทุ่มเทให้กับการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์อย่างเต็มที่ ลงมือปฏิบัติทันทีเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ ด้วยตัวเอง

“หลักของผมคือ ททท. (ทำทันที) ได้ผลอย่างไรก็จดบันทึกและเพิ่มเติมความคิดของผมเข้าไปด้วย เช่น การเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เราได้แนวคิดมาบ้าง ก็เอามาปรับใช้ให้ดีขึ้นมา ประยุกต์ใช้ รู้แล้วฝึกปฏิบัติทันที ใช้หลัก 3 ท. คือ ทำทันที พอได้ผลเราก็เอาข้อมูลต่างๆ ไปเผยแพร่”

ปัจจุบัน ครูอินสอน เปิดบ้านเป็นศูนย์เกษตรธรรมชาติแม่ออน ในพื้นที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2530 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมธรรมชาติ เปิดเผยทุกขั้นตอนของการทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ทั้งการผลิตอาหารพืช อาหารสัตว์ เพื่ออยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุล ลงมือปฏิบัติเรื่องจุลินทรีย์อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการแปรความหมายของเกษตรกรทฤษฎีใหม่สู่เกษตรธรรมชาติจนประสบความสำเร็จ